ธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่อยากมัดใจลูกค้าได้ต้องมี
"ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์"หรือที่เรียกว่า
คอลเซ็นเตอร์ยิ่งบริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง
ไม่มีวันหยุดยิ่งดี เพราะปัญหาของลูกค้าเกิดขึ้น
ได้ทุกนาที เป็นเรื่องน่ายินดี
เมื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
เปิดโอกาสรับผู้พิการทางสายตา
เป็นพนักงานให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ๒ คน
โดยมีโปรแกรมอ่านหน้าจอภาษาไทย
ช่วยให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่องแคล่ว
ซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการ"ไอไซท์ แล็บ"
ที่ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย)จำกัด
(มหาชน) สนับสนุนให้นักวิจัย
ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พัฒนาขึ้น เพื่อเปิดโอกาสผู้พิการทางสายตา
เข้าถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
ดร.อติวงศ์ สุชาโต ผู้ช่วยคณบดีด้านสารสนเทศ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เล่าถึงโปรแกรม ดังกล่าวว่า
ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสื่อสาร
และค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
รวมถึงใช้คอมพิวเตอร์ได้โดยลำพัง
ไม่ต้องอาศัยผู้ช่วยในต่างประเทศมี
โปรแกรมลักษณะนี้ใช้กันอย่างแพร่หลาย
หากไทยต้องการใช้จะต้อง
เสียค่าลิขสิทธิ์ซึ่งราคาแพง
ทำให้ผู้พิการส่วนใหญ่
ขาดโอกาสในการเรียนรู้
และพัฒนา อาชีพ
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดสนับสนุน
ครบทั้งอุปกรณ์วิจัยเทคโนโลยี
และงบประมาณปีละ ๓ หมื่นดอลลาร์
หรือประมาณ ๑ ล้านกว่าบาท
ระยะ เวลาดำเนินโครงการ ๓ ปี
เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๐
สิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน ๒๕๕๓
ปัจจุบันโปรแกรมช่วยอ่านหน้าจอพัฒนาแล้วเสร็จ
พร้อมทั้งปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานใน
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์
โดยมีพนักงานที่พิการทางสายตา ๒ คน
เริ่มทดลองงานใช้งานโปรแกรม
โปรแกรมช่วยอ่านหน้าจอพัฒนาขึ้น
จากโปรแกรมระบบเปิดหรือ
โอเพ่น ซอร์ส โดยใช้ชื่อโปรแกรมว่า เอ็นวีดีเอ
(Non Visaul Desktop Access)
ทำหน้าที่มองจอภาพแทนตา
และส่งสัญญาณเสียงตอบกลับว่า
บนหน้าจอมีลักษณะอย่างไร มีข้อมูลอะไรบ้าง
เพื่อให้ผู้พิการสามารถป้อนคำสั่ง
ที่ต้องการผ่านคีย์บอร์ดได้ทันที
ในรูปแบบแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูด (Text to Speech)
" เมื่อผู้พิการกดแป้นแท็บ (Tab) บนแป้นพิมพ์
จะมีสัญญาณเสียงบอกให้ทราบ
ตำแหน่งที่เคอร์เซอร์กะพริบอยู่
เช่น คอมพิวเตอร์ของฉัน ( My Computer)
เอกสารของฉัน (My Document) ถังขยะ
หรือขณะที่ผู้พิการคลิกเปิดโฟลเดอร์
ก็จะมีเสียงแจ้งว่า
"กำลังเปิดเอกสารของฉันเป็นต้น"
ดร.อติวงศ์ หนึ่งในทีมพัฒนาโปรแกรมกล่าว
การพัฒนาโปรแกรมช่วยอ่านหน้าจอ
สำหรับผู้พิการทางสายตา
ได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กร
โดยเฉพาะสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
และสมาคมคนตาบอดเพื่อการวิจัย
ที่ร่วมทดสอบโปรแกรมตลอดจน
พัฒนาแก้ไข กระทั่งสามารถใช้งานได้สูงสุด
ตรงความต้องการของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง
" การติดตั้งใช้งานโปรแกรมใน
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
จะนำร่องให้ทุกคนเห็นถึงศักยภาพของ
โปรแกรมว่า สามารถใช้งานได้จริง
ก่อนที่จะพัฒนาต่อให้มีความแม่นยำ
ตลอดจนพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมให้เหมาะสม
กับการใช้งานในแต่ละประเภท
ในลักษณะโปรแกรมเสริมต่อไป"
นักพัฒนาโปรแกรม กล่าว
ด้าน นายแอชลีย์วีซีย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
สายงานสารสนเทศและปฏิบัติการ
ธนาคารสแตน ดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)
กล่าวว่า ธนาคารพิจารณาถึง
ประโยชน์ของโครงการดังกล่าว
เนื่องจาก โปรแกรมช่วยอ่าน
ของภาคเอกชนที่จำหน่ายในตลาด
มีราคาแพงและยังไม่มีภาษาไทย
หากสามารถพัฒนาเป็นภาษาไทยได้
และแจกจ่ายให้ผู้พิการทางสายตา
นำไปใช้โดยไม่ต้องซื้อในราคาแพง
จะเป็นประโยชน์ทั้งแก่
ผู้พิการทางสายตาและสังคมโดยรวม
( คมชัดลึกออนไลน์ ๔ มค. ๒๕๕๒ )