เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Oct 3, 2009
พระพุทธจริยาวัตร 60 ปาง ปางห้ามมาร
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 04 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ทาง ด้านทิศบูรพาแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์
มีต้นไทรย้อยที่ร่มรื่นอยู่ต้นหนึ่ง
พวกเด็กเลี้ยงแพะชอบมาอยู่กัน จึงเรียกว่า
"อชปาลนิโครธ" พระพุทธองค์ได้เสด็จออกจากรัตนฆรเจดีย์
มาประทับใต้ต้นอชปาลนิโครธนี้
เพื่อเสวยวิมุติสุขต่อในสัปดาห์ 5
(ตามหลักฐานพระไตรปิฎก เป็นสัปดาห์ที่ 2 ดังกล่าวมาแล้ว)
วสวัตตีมาร เมื่อพ่ายแพ้พระพุทธองค์แล้ว
ก็นั่งเสียอกเสียใจที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หนีพ้นวิสัยแห่งตนไปเสียแล้ว
ขณะนั้นธิดาพญามาร 3 ตน มีนามว่า ตัณหา ราคา และอรดี ตามลำดับ
พากันมาปลอบโยนบิดามิให้เศร้าโศกเสียใจ
พวกตนอาสาจะไปยั่วยวนพระสมณะโคดม
นำกลับมาสู่วิสัยแห่งมารให้ได้
นางทั้งสามไปปรากฏกายต่อพระพักตร์พระ พุทธองค์
ขณะประทับอยู่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ ร่ายรำ
แสดงอาการยั่วยวนด้วยประการต่างๆ
เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงมีความยินดี
พระพุทธองค์ประทับนิ่ง ยกพระหัตถ์ทำนองห้ามปราม
ตรัสด้วยพระอาการอันสงบว่า
พุทธะ ใด เอาชนะกิเลสได้เด็ดขาดแล้ว
ปราศจากตัณหาดุจตาข่ายดักสัตว์ อันร้ายกาจแล้ว
พุทธะนั้น มีสัพพัญญุตญาณหาที่สุดมิได้
ไม่เดินตามทางของสรรพกิเลสแล้ว
พวกเธอจะนำพุทธะนั้นไปตามทางไหนเล่า
ธิดา มารทั้งสามยังไม่ยอมละความพยายาม
จำแลงกายเป็นหญิงวัยต่างๆ ตั้งแต่วัยกัลยาณีแรกรุ่น
เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงยินดี
แต่พระพุทธองค์ยังคงประทับนิ่งในสมาธิ
มิได้สนพระทัยไยดีแม้แต่น้อย
เมื่อเห็นพวกนางยังดื้อดึงอยู่
จึงทรงบันดาลให้ร่างสาวงามทั้งสามนั้น
กลายเป็นหญิงชรา ร่างกายเหี่ยวย่นน่าเกลียดขึ้นมาทันที
นางทั้งสามพากันตกใจ หายวับไปในทันใด
พระ พุทธรูปปางนี้ สร้างเป็นท่านั่งขัดสมาธิ
พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา
พระหัตถ์ขวายกขึ้นป้องเสมอพระอุระ
แสดงอาการห้าม เรียกกันว่า "ปางห้าม (ธิดา) มาร"
เมื่อมารหมายถึงกิเลสตัวเบิ้มทั้ง 3 คือ โลภ โกรธ หลง
ธิดามารก็คือกิเลสนั้นเอง ฟังแต่ชื่อก็รู้ว่ากิเลสตัวใด
ราคะก็คือราคะ (ความกำหนัดยินดีในกามารมณ์)
ตัณหาก็คือความทะยานอยาก
อรดีก็คือความขัดเคืองใจ หรือความพยาบาท
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เมื่อทรงนิพนธ์พุทธประวัติ ทรงสันนิษฐานว่า
พญามารที่มาผจญพระพุทธเจ้าคือกิเลส
การที่ทรงเอาชนะพญามารได้ก็คือ
ทรงชนะกิเลสทั้งหมดได้เด็ดขาดแล้ว
เมื่อมีฉากธิดามารมาผจญอีกหลังตรัสรู้แล้ว
ไม่ทรงแน่พระทัยว่าเหตุการณ์นี้
ทำไมจึงเกิดขึ้นหลังตรัสรู้กิเลสที่ทรงละได้ หมดแล้ว
จะกลับมายั่วยวนพระพุทธองค์ ย่อมไม่สมเหตุสมผล
"ข้อนี้ขอฝากผู้รู้พิจารณาด้วย" พระองค์ว่าอย่างนั้น
แต่ก็ไม่เห็นมี ใครรับฝาก คือ
ไม่มีใครหาเหตุมาอธิบายให้สมเหตุสมผล
ก็มีหลวงพ่อพุทธทาสนี่แหละครับที่ได้ให้คำวินิจฉัยไว้ ซึ่งผมว่าเข้าท่าดี
ท่าน ว่าธิดามารมาผจญหลังจากตรัสรู้แล้วนั่นแหละถูกต้องแล้ว
ธิดามารในที่นี้มิใช่กิเลส เพราะกิเลสทรงละได้หมดตอนตรัสรู้
แต่เป็นเพียงทรงรำลึกถึงความร้ายกาจของกิเลสที่เพิ่งชนะได้หยกๆ
ว่ามันช่างร้ายกาจจริงๆ ต้องต่อสู้เป็นกัปเป็นกัลป์กว่าจะละมันได้
การ ทรงหวนรำลึกถึงความร้ายกาจของกิเลสนี้
เพียงชั่วครู่เดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นในหนังสือจึงว่า
ธิดามารทั้งสามมาร่ายรำยั่วยวนพระพุทธเจ้าเพียงชั่วครู่
เมื่อเห็นว่าพระองค์ไม่สนใจไยดีจึงพากันหนีไปในทันที
ฉากธิดามารยั่วยวน จึงไม่นานมาราธอน
เหมือนตอนพญามารและกองทัพมาผจญ
คำอธิบายนี้ผมเห็นว่าสมเหตุสมผล น่ารับฟังเป็นอย่างยิ่ง
อนึ่ง ในขณะที่พระพุทธองค์ประทับ
ณ โคนต้นอชปาลนิโครธนี้ มีพราหมณ์คนหนึ่ง
มีอัสสมิมานะ (ความถือตัว) สูง ชอบตวาดคนอื่น
เข้ามาถามพระพุทธองค์ว่าท่านเป็นพราหมณ์หรือไม่
ทำนองว่าถ้าไม่ใช่พราหมณ์ก็ไม่คุยด้วยเพราะเป็นคนชั้นต่ำ
พระพุทธองค์ได้ตรัสให้ "นิยาม"
คำว่าพราหมณ์ เป็นคาถา (โศลก) ว่า
ผู้ ใดลอยบาป (คือ ละบาป) ได้แล้ว
ไม่ขู่ตวาดคนอื่นด้วยคำหยาบ หมดกิเลสเครื่องย้อมใจ
สำรวมถึงที่สุดแห่งพระเวท ถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์แล้ว
ผู้ที่ไม่มีกิเลสเหิมเกริมใดๆ จึงควรเรียกว่าพราหมณ์
คนทั่วไปมักนึกว่า การเกิดในวรรณะพราหมณ์
การเรียนจบไตรเพท เป็นคุณสมบัติของพราหมณ์
พระพุทธองค์ตรัสว่าเพียงแค่นั้นยังไม่ใช่
พราหมณ์ที่แท้จริงต้องละบาปได้ ละกิเลสได้
ไม่มีอัสสมิมานะ สงบสำรวมอยู่จบพรหมจรรย์
(คือประพฤติพรหมจรรย์จนบรรลุ มรรค ผล นิพพาน)
หน้า 6