Custom Search

Oct 3, 2009

คู่แข่งที่เป็นมิตร


คอลัมน์ แท็งก์ความคิด

นฤตย์ เสกธีระ

max@matichon.co.th

มติชน

วัน
ที่ 04 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หมู่นี้มีหนังสือน่าอ่านมากมายมากองอยู่ตรงหน้า

สำนักพิมพ์มติชนอีกแล้ว !
คราวนี้ออกหนังสือใหม่น่าอ่านอยู่มากมาย
ตั้งใจเอาไว้ว่าตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป
จะตั้งหน้าตั้งตาอ่าน
เพราะแลเหลือบ
ไปพบหนังสือน่าสนใจหลายหลาก

เล่มหนึ่งสะดุดตา เพราะชื่อคนเขียน
""ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์""
ดอกเตอร์จากนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ

สะดุดตาเพราะเป็นคนคุ้นเคย
ร่วมหลักสูตรของมูลนิธิอิศรามาด้วยกันหยกๆ

วันนี้หญิงงามวาดลวดลายเขียนหนังสือสไตล์เบา ๆ
แต่มีข้อคิด ชื่อ ""สำรับความคิด""

หยิบยกเอาของรอบตัวมาให้ข้อคิดดีๆ
แบบไม่ซีเรียส
อ่าน
แบบไม่คิด รวดเดียวจบ
แต่หากอยากได้แง่มุมความคิดก็ค่อยๆ
ละเลียดให้ครบสำรับ
อีกหลายเล่มก็เช่นกันครับ
หมายตาเอาไว้ว่า ช่วงลูกปิดเทอม
พ่อผ่อนคลาย
จะหาเวลาว่างๆ อ่านให้มากที่สุด
เล่มหนึ่งที่เล็งเอาไว้ ชื่อว่า ""แนนเนรมิต""
เขียนโดย ""เชตวัน""
นักเขียนดาวรุ่งประจำกองบรรณาธิการมติชน

หนังสือ เล่มนี้เรียบเรียงเรื่องราวของ
""ครูพี่แนน"
" อริสรา ธนาปกิจ
ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันสอนภาษา "เอ็นคอนเซ็ปท์" (Enconcept)"
สถาบันภาษาต่างประเทศที่เด็กๆ หลายคนอยากไปเรียนพิเศษ

สนใจเพราะอยากรู้ "ครูสอนพิเศษ"
เขาเติบโตขึ้นมาอย่างไร

หนังสือเรื่อง "ครูพี่แนน"
ช่วยบอกเล่าให้ฟังด้วยภาษาง่ายๆ เข้าใจดี

แถมยังสอดแทรก วิธีที่ประสบความสำเร็จในการเรียน
ทำอย่างไร "ครูพี่แนน"
ถึงสอบติดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ทำอย่างไร "ครูพี่แนน" ถึงเอ็นทรานซ์เข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ทำอย่างไรถึงเก่งกาจหลายภาษา
กระทั่งสถานทูตชิลีเชิญไปทำงาน

หนังสือเล่มนี้ได้บอกเล่าเอาไว้ "วิธีคิดหนึ่งที่รู้มา
"ครูพี่แนน" บอกว่า การอ่านหนังสือนั้น
สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ความสามารถในการอ่านของเรา
"
อ่านเร็ว-อ่านช้า ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือ
เราใช้เวลาเท่าไหร่ในการอ่าน

เพราะเมื่อเรารู้ว่าเราใช้เวลาอ่านหนังสือนานเท่าไหร่
เราก็จะคำนวณได้ว่า เราต้องเริ่มต้นอ่านหนังสือตั้งแต่เมื่อไหร่
ถึงจะอ่านหมด
นั่นหมายความว่า
หากเราจะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ

สิ่งหนึ่งที่เราควรจะประจักษ์ก็คือ
การรู้จักศักยภาพของตัวเอง
วิธีคิดเช่นนี้เป็นวิธีคิดที่ดีนะครับ
ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากตัวเอง เริ่มต้นจากการสังเกตตัวเอง
และเรียนรู้ว่าตัวเองมีศักยภาพระดับไหน

เรียนรู้ได้เร็วหรือช้า อ่านหนังสือได้ช้าหรือเร็ว
เป็นคนหยาบหรือละเอียด เป็นคนใจเย็นหรือใจร้อน
ทุกอย่างเริ่มต้นจากตัวเอง "การรู้จักตัวเอง
ทำให้เราคิดต่อไปได้ว่า เรามีเป้าหมายอะไรในชีวิต"

เรามีเป้าหมายในชีวิต เราก็จะค้นหาวิธีการที่นำไปสู่เป้าหมาย
เมื่อเราเริ่มทำ ก็เท่ากับมีโอกาสประสบความสำเร็จ
และประสบความล้มเหลวพอๆ กัน
แต่ถ้าไม่เริ่มทำ
เรามีแต่โอกาสล้มเหลวเพียงอย่างเดียว
ใช่ไหม?
ขณะที่เราเริ่มทำ สิ่งที่เราจะต้องต่อสู้แข่งขันไม่ใช่ใครอื่นที่ไหน
"ตัวเราเองนี่แหละครับที่เป็นคู่แข่งที่ดีที่สุดของตัวเรา"
ตัวเรานี่แหละที่เป็นคู่แข่งกับเราในทุกเรื่อง อย่างเรื่องการเรียน
หากเราตั้งเกณฑ์เอาไว้ว่า ปีนี้จะต้องดีกว่าปีที่ผ่านมา
หรือตั้งเป้าการอ่านหนังสือท่องตำราว่า
ปีนี้จะต้องมากกว่าหรือเท่ากับปีที่ผ่านๆ มา

"ถ้าเราทำได้ก็เท่ากับว่าเราชนะตัวเอง"
หรือเรื่องการงาน เราอาจจะตั้งเป้าเอาไว้ว่า
จะต้องทำผลงานให้ได้ทุกปี ปีละ 1 ชิ้น

หากเราทำได้ตามที่กำหนดไว้ตามศักยภาพที่เรามีอยู่
แค่นี้ก็เท่ากับได้ชัยชนะ ชนะใครหรือ?
ก็ชนะตัวเองไงล่ะ เรื่องการแข่งขันกับตัวเอง
ยังมีตัวอย่างอีกมากมาย
ในด้านการกีฬา
กีฬาที่มีชื่อว่า "กอล์ฟ"
แม้ในการแข่งขันจะมีผู้เข้าร่วมแข่งขันหลายคน

เรียกกันว่า "ก๊วน" แต่เมื่อถึงเวลาแข่งขันจริงๆ
นักกอล์ฟแต่ละคนต้องต่อสู้กับจิตใจตัวเอง

คนที่สามารถคว้าชัยชนะในกีฬากอล์ฟได้
ก็คือคนที่สามารถชนะใจตัวเอง

นอกจากนี้ ในการประกวดแข่งขันชิงรางวัล
ด้านการพัฒนาหลายๆ รางวัล

กรรมการที่ตัดสินก็ใช้เกณฑ์การตัดสิน
ด้วยการแข่งขันกับตัวเอง
ใครสามารถพัฒนาตัวเอง
หรือยกระดับองค์กรไปได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

องค์กรนั้นก็เอารางวัลไปเลย
เฉกเช่นเดียวกับการมอบเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม
มอบเครื่องหมายไอเอสโอต่างๆ

เขาก็ใช้หลักวิธีการเดียวกัน
นั่นคือ การให้องค์กรต่างๆ แข่งขันกับตัวเอง
ดูแลและพัฒนาตัวเองให้เข้ากรอบกติกาที่กำหนด
องค์กรไหนทำได้ก็ได้รับเครื่องหมายไปเป็นรางวัล
การแข่งขันเช่นนี้ ไม่ว่าผลที่ออกมาจะชนะหรือแพ้
รับรองได้ว่าไม่มีฝ่ายใดบาดเจ็บล้มตาย
มีแต่พัฒนาตัวเองได้หรือไม่ได้เท่านั้น
เพราะคู่แข่งที่เราต้องเอาชนะไม่ใช่ใครอื่น
แต่เป็นใจของเราเอง ดังนั้น
คู่แข่งคนนี้จึงเป็นคู่แข่งที่เป็นมิตร

แข่งกับคู่แข่งคนนี้
มีแต่หนทางเจริญๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป

สวัสดี
หน้า 17