เขียนถึงบรรณาธิการมติชน
ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
ฉบับวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2551
สงกรานต์กุลี สงสารผู้ดี
เรียน บรรณาธิการมติชน
สมัยจอมพลสฤษดิ์
พวกนี้ไม่มีสิทธิสาดน้ำใส่ชาวบ้านบนถนน
โดยไม่ขออนุญาตเจ้าตัวนะครับท่านผู้อ่าน
ไม่มีจิ๊กโก๋แซวหญิง ไม่มีฆ่าข่มขืน
ไม่มีผรุสวาทในสภา
ไม่มีจาบจ้วงผู้หลักผู้ใหญ่ของแผ่นดิน
บริหารประเทศแบบเด็ดขาด
ที่พวกบ้าลัทธิคอมมิวนิสต์เรียกว่า เผด็จการ
ทั้งๆที่คอมมิวนิสต์เองก็เผด็จการ
และลูกหลานคอมมิวนิสต์เองก็หนีเผด็จการคอมมิวนิสต์
ที่ขับไล่กษัตริย์ มาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภารแล้ว
ก็ดัดจริตคิดขับไล่กษัตริย์ไทย
จะให้เป็นคอมมิวนิสต์บ้างซะอย่างนั้น
คอมมิวนิสต์เหล่านี้ใช้ขบวนการประชาธิปไตยบังหน้า
เรียกร้องให้รากหญ้ามีสิทธิ
เท่าเทียมคนที่เสียภาษี โดยไม่ต้องเรียนหนังสือ ท่องได้แค่
ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน แล้วชนชั้นล่างก็กร่างมาจนวันนี้
จากนั้นมาการเล่นสงกรานต์ก็หมดความสวยงาม
จัณฑาลก็กร่างเต็มถนน
บนเทศกาลที่เคยสวยงามโดยอ้างประเพณี
ที่มีสิทธิจะลามปามใครก็ได้
เป็นวันเดียวที่สิทธิเท่าเทียมกัน
เฉกเช่นวันลงคะแนนเสียง
ปัญหามาจากผู้ดีทั้งหลาย ที่ยอม เพราะแหยครับ
การศึกษาไทยทำให้คนแหยยิ่งเรียนยิ่งแหย
เพราะสถาบันศึกษาไม่เคยเพาะบ่มความกล้า
กุลีไม่เรียน ก็ไม่โดนไม้เรียว ไม่โดนกดขี่ทางความคิด
ไม่โดนครูบาอาจารย์ตวาด ไม่โดนเช็คชื่อ
ก็ขาแข็งกว่าบัณฑิต กล้ากว่า
ทั้งๆที่โง่กว่า
สังคมใดที่คนโง่กล้า มีบทบาทและ
จำนวนมากกว่าคนมีการศึกษาที่ขี้ขลาด
สังคมนั้นต้องล่มสลายในที่สุดครับ
ทางแก้ ไม่ใช่การทำคนโง่ที่กร่างให้ฉลาดและเจียมตัว
เพราะเป็นไปไม่ได้ในระบอบดัดจริตนี้
ที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งต้องเลี้ยงไข่
ให้กุลีโง่ไว้เพื่อใช้ซื้อเสียง
แต่ทางแก้ที่ถูกต้องคือ
การทำคนที่เรียนหนังสือให้กล้าซึ่ง
ยากยิ่งกว่าการแก้รัฐธรรมนูญซ้ำซากอีกครับ
สำหรับเมืองพุทธ ที่สอนให้คนยอมอย่างเดียวมายาวนาน
ตั้งแต่อัลไตโน่น
เพราะการศึกษาของเราสอนผิดให้คิดว่า
คนมีการศึกษาต้องไม่กร้าวร้าว
ก็กลายเป็นแหยไปเลยไงครับ
การกร้าวร้าวกับผู้ที่ไร้มารยาท
เป็นคุณสมบัติของบัณฑิตยุโรปที่สอนกันเป็นพันปีต่อเนื่องมา
พาให้หลายชาติเป็นมหาอำนาจในอดีต
ที่บัณฑิตใช้แส้คุมกุลีลงเรือมายึดเมืองขึ้นแถบบ้านเราได้
สิงคโปร์เองยังใช้ระบบนี้จนถึงวันนี้ ที่อังกฤษปลูกฝังไว้ให้
คือ ขับไล่กุลีออกจากประเทศ นำเข้ามาใช้งานเป็นครั้งคราว
แล้วตะเพิดออกไปคืน ประชากรสันดานกุลี
ที่เหลือในประเทศต้องเรียนหนังสือถ้าดื้อ เฆี่ยน
ยุโรปตะวันตกใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีการเลือกตั้ง
โดยยังมีสถาบันกษัตริย์ เพราะใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ไม่ใช่ทุนนิยม จึงไม่มีนายทุนคอยชักใยให้ล้มสถาบันกษัตริย์
นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ อารยันทั้งนั้นครับ เผ่าเดียวกันนี้
ที่ล่องเรือไวกิ้งไปทั่วโลก ไม่กินแป้งเพราะอยู่บนเรือตลอด
ลงจากเรือแล้วก็กินสัตว์ใหญ่ ได้อะดรินาลินที่สัตว์ใหญ่หลั่งออกมา
ขณะถูกฆ่าทำให้ฮึกเฮิม ก้าวร้าว ผิดกับพวกที่กินแป้ง
ที่เอาแต่นอน อารยันเป็นเผ่าพันธุ์ที่แก้ไขทุกอย่างที่ขวางหน้าไม่ยอมจำนน
ประเพณีใดไม่เข้าท่า ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
วรรณะใดไม่เหมาะสมกับสังคม กำจัดและแก้ไขหมด
พัฒนาการจึงเกิดอย่างรวดเร็วในซีกโลกนั้น
ประกอบศาสนาที่ไม่สอนให้ยอม เป็นสำคัญ
ตรงกันข้าม เผ่าพันธุ์ที่กินแป้งเป็นหลัก ยอมจำนนทุกปัญหา
ไม่กล้าแก้ไข พัฒนาการจึงเป็นไปในทางลบ
ประเพณีที่สวยงามก็ถูกพวกหยาบช้า
นำมาทำเป็นบันเทิงในหมู่ที่ต่ำชาติตระกูล
เมื่อผู้ดีไม่มีความกล้า เพราะกินแป้งแล้วนอน
แผ่นดินก็อยู่ในมือจัณฑาล
ซึ่งอ้างว่าพวกมากกว่า
ประกอบกับระบอบประชาธิปไตยที่ใช้เสียงข้างมาก
ผู้ดีที่เสียงน้อยกว่า ก็ไร้น้ำยาไปโดยปริยายนั่นเองครับ
ประชาธิปไตยที่ใช้เสียงข้างมาก
จึงต้องใช้ในประเทศที่แน่ใจว่า
เสียงข้างมากนั้นมีคุณภาพก่อนเอาระบอบเข้ามาใช้ ไม่เช่นนั้น
จะมีแต่ตกต่ำ เพราะจัณฑาลจะกุมอำนาจแผ่นดินโดยเบ็ดเสร็จครับ
สงกรานต์เป็นเครื่องชี้วัดว่าวรรณะใดมีอำนาจเบ็ดเสร็จในแผ่นดินวันนี้
กุลีไหนสาดน้ำใส่ผมโดยไม่ขออนุญาต
ผมจะยิงสวนเพราะผมเป็นผู้ดีที่ไม่แหยครับ
เคยแหยตอนสงกรานต์แล้ว ไม่คุ้มครับ ปอดบวม
ผู้คนคิดว่าเป็นกระเทยไปโน่น
ถ้ายอมให้กุลีมีส่วนในจารีตที่สูงส่งระดับชาติไม่ว่าประเพณีหรือเลือกตั้ง
จะพังถึงของสูงในที่สุดครับ
(ตู้) จรัสพงษ์ สุรัสวดี
เพชฌฆาตความเครียด รายการโทรทัศน์ทางช่อง 9 ในช่วงปี พ.ศ. 2528-2529
เป็นรายการตลก ที่มาฉายประมาณหลังข่าว โดยกลุ่ม ซูโม่สำอาง
เช่น ซูโม่ตู้ (จรัสพงษ์ สุรัสวดี),ซูโม่เจี๊ยบ (วัชระ ปานเอี่ยม) ,
ซูโม่ตุ๋ย (อรุณ ภาวิไล) , ซูโม่เอ๋ (เกรียงไกร อมาตยกุล) ,
ซูโม่เป๊ปซี่ (ธีรวัฒน์ ทองจิตติ) , ซูโม่อิทธิ (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์) ,
ซูโม่โค้ก (สมชาย เปรมประภาพงศ์) , ซูโม่สุ่น , ซูโม่กิ๊ก (เกียรติ กิจเจริญ) ,
ปัญญา นิรันดร์กุล*, ภิญโญ รู้ธรรม*
ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อรายการเป็น
สูตรสำเร็จความเครียดโดยใช้กลุ่มนักแสดงชุดเดิม
ทีมงานส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าจาก
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"ภาษาไทยคำละวัน" ของ ปัญญา นิรันดร์กุล
(ล้อเลียนรายการ "ภาษาไทยวันละคำ" ของ อ. กาญจนา นาคสกุล)
"มุกเรียกแท็กซี่" ของซูโม่เป๊ปซี่ หรือ "มุกรอรถเมล์" "มุกสองเกลอ"
ของซูโม่เอ๋-ซูโม่อิทธิ และมุกอื่นๆ อีกมากมาย
ผู้ที่ตั้งชื่อรายการเพชฌฆาตความเครียดนี้คือ
ซูโม่ตู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มซูโม่สำอาง
เพื่อให้สื่อถึงการฆ่าความเครียดด้วยการดูรายการนี้
รายการ นี้เป็นต้นแบบแรกๆของวงการโทรทัศน์ไทยยุคใหม่
ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เข้ามา เป็นจุดเด่นของรายการ
มากกว่าความขึงขังน่าเชื่อถือแบบยุคต้นๆของการผลิตรายการทีวี
และทำให้ช่อง 9 ที่เคยเป็นเหมือนทไวไลท์โซน
คือขายโฆษณายาก (เหมือนช่อง 11) กลับฟื้นและอยู่ตัวมาจนถึงทุกวันนี้