เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Jul 28, 2009
น้ำตาล คือพิษที่ร้ายแรงอันดับสี่ของมนุษยชาติ
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
มติชน
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ผู้เขียนมักเริ่มการสอนวิชาการเมืองการปกครอง
สหรัฐอเมริกาด้วยการพูดว่า
" มีคำกล่าวที่น่าเชื่อถือว่านอกจากยาเสพติด, แอลกอฮอล์
และยาสูบแล้ว น้ำตาลเป็นสารที่มนุษย์โหยหามากเป็น
อันดับสี่อันจัดเป็นอันตรายต่อร่างกาย
อย่างร้ายแรงที่สุดอย่างหนึ่ง"
น้ำตาลเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับ มนุษย์ในเชิง
โภชนาการแม้แต่น้อย แบบว่าไม่กินน้ำตาลเลยตลอดชีวิต
ก็ไม่เป็นไร เนื่องจากน้ำตาลไม่มีอะไรเลย
นอกจากคาร์โบไฮเดรต (แป้ง) เท่านั้น
แท้ที่จริงแล้วการกินน้ำตาลเข้าไปมาก
ก็จะทำให้คนกินฟันผุและอ้วนตุ๊ต๊ะ
และก็จะเป็นโรคภัยนานาชนิด อาทิ เบาหวาน
ซึ่งก็จะก่อให้เกิดต้อนานาชนิดที่ดวงตาและไตวายในที่สุด
ประวัติ ศาสตร์ของน้ำตาลนี่จริงๆ นะ เป็นเรื่องราวที่เป็นโศกนาฏกรรม
ของประวัติศาสตร์โลกแท้ๆ พอจะพูดได้ว่าหากไม่มีความต้องการน้ำตาลแล้ว
โลกมนุษย์ใบนี้ก็จะเป็นโลกที่น่าอยู่อย่างมากเลยทีเดียว
เริ่มแรกที เดียวอ้อยที่ใช้ทำน้ำตาลนั้นมีต้นตออยู่ที่บริเวณหมู่เกาะในประเทศ
อินโดนีเซียปัจจุบัน และมีการทำน้ำตาลบริโภคกันบ้างแล้ว
ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลโน่นและได้แพร่ไป ที่อินเดียในราว 510 ปี
ก่อนคริสตกาลจักรพรรดิ แดเรียสแห่งเปอร์เซียได้รุก
เข้าไปในอินเดียและได้มีบันทึกว่า
"มีต้นอ้อยชนิดหนึ่งที่ให้น้ำผึ้งโดยไม่มีตัวผึ้งอยู่"
อ้อยเป็นพืชเมืองร้อนนะ
กว่าชาวยุโรปจะได้รู้จักและลิ้มรสน้ำตาลจาก
อ้อยก็ตกเข้าไปในคริสต์ศตวรรษที่ 11
และหลักฐานบันทึกถึงน้ำตาลจากอ้อยในเกาะอังกฤษคือ
เมื่อ ค.ศ.1099 และหลังจากนั้นการค้าระหว่างประเทศ
ในยุโรปตะวันตกกับทวีปเอเชียก็ขยาย ตัวอย่างรวดเร็ว
มีหลักฐานบันทึกว่าในตลาดกรุงลอนดอนมีน้ำตาลขายในราคา 2 ชิลลิ่ง
ต่อน้ำตาล 1 ปอนด์ เมื่อ ค.ศ.1319 ซึ่งเป็นสินค้า
ที่ราคาแพงมากเหลือเกินในสมัยนั้น
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีโรงงานน้ำตาลที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี
ซึ่งผลิตได้ปริมาณที่น้อยมาก และใน ค.ศ.1493 นี้ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
ได้นำเอาต้นอ้อยไปทดลองปลูกในหมู่เกาะอินเดียตะวันตกของทวีปอเมริกาที่เขา
เพิ่งค้นพบ ปรากฏว่าอ้อยเจริญเติบโตเป็นอย่างดี
และอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ทำจากอ้อยของโลก
ใหม่ก็พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
ตอนนี้แหละที่เกิดปัญหาที่เป็นโศก นาฏกรรมอันยิ่งใหญ่
ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
เพราะว่าการทำไร่อ้อย ตั้งแต่การปลูก การดูแลการตัดอ้อย
และขนส่งอ้อยเข้าสู่โรงงาน และกระบวนการทำน้ำตาล
จากน้ำอ้อยนั้นล้วนแล้วแต่ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก
และเป็นงานที่หนักและเป็นอันตรายมากเช่นกัน
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการค้าทาสมาเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมน้ำตาล
ในหมู่เกาะในทะเล แคริบเบียนนี้ และท่านผู้อ่านเชื่อไหมว่า
มีการขนส่งทาสผิวสีจากทวีปแอฟริกามายัง
ทวีปอเมริกาอย่างน้อย 10 ล้านคนในช่วง ค.ศ.1550-1835
เนื่องจากน้ำตาลเป็นสินค้าที่มีราคาสูงสร้างความมั่งคั่งให้แก่รัฐบาลและคน
ยุโรปและชาวอเมริกันผิวขาวอย่างมหาศาล
บนความทุกข์ระทมของทาสผิวสีนับล้านๆ คน
(ในประเทศไทยเราเองนี้ในช่วงต้นของทศวรรษกึ่งพุทธกาลก็มีไร่นรกหลายแห่งที่
ปลูกอ้อยทำน้ำตาลแถวจังหวัดชลบุรีจับคนไปเป็นทาสในไร่อ้อยมาแล้วเหมือนกัน)
ชาวอเมริกันที่ประกาศอิสรภาพจากอังกฤษก็เนื่องจากความขัดแย้ง
ในเรื่องการค้าน้ำตาลและค้าทาสนี่แหละ
เสรีภาพ ที่พวกอเมริกันอ้างถึงคือเสรีภาพในการค้าทาสและค้าน้ำตาล
โดยไม่ต้องเสียภาษี ให้กับรัฐบาลอังกฤษต่างหาก
หลักฐานก็ดูจากภาษีน้ำตาลที่รัฐบาลอังกฤษเก็บได้ใน ค.ศ.1781
(หลังจากที่สหรัฐอเมริกาประกาศเอกราชจากอังกฤษแล้ว 5 ปี)
เป็นเงิน 326,000 ปอนด์สเตอร์ลิง และเพิ่มขึ้นใน ค.ศ.1815
เป็นถึงสามล้านปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งเป็นเงินมหาศาลเมื่อ 200 ปีมาแล้ว
แรงบันดาลใจให้เขียนบทความนี้ขึ้นมาเนื่องจากได้อ่านข่าว 2 ข่าว
โดย ข่าวแรกจากศูนย์ควบคุมโลกแห่งชาติ สหรัฐอเมริการายงาน
การศึกษาผู้ป่วยจากเชื้อหวัดชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ที่เราเรียกว่าหวัด 2009
นั่นแหละ ที่มีภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง
ในโรงพยาบาลมิชิแกน 10 รายพบว่าผู้ป่วย 9 ราย เป็นโรคอ้วน
ซึ่งเช่นเดียวกับผู้ป่วยจากหวัด 2009 ของไทยที่มีผู้เสียชีวิต 5 ราย
จาก 26 ราย มีน้ำหนักตัวเกิน 100 กิโลกรัม
ซึ่งโรคอ้วนนั้นเกิดจากการกินน้ำตาลมากเกินไป
เลิกกินน้ำตาลเสียได้ ก็จะดี
นอกจากนี้ยังสลดใจเมื่ออ่านข่าว พบว่าประเทศไทยเรานั้นเป็น
แหล่งผ่านแหล่งใหญ่ของการค้ามนุษย์ในยุคปัจจุบัน
ซึ่งน่าอาจจริงๆ นะ
หน้า 6