เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Jul 26, 2009
สติ สมาธิ ปัญญา : ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม
ประวัติ
ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ที่กรุงเทพมหานคร
สนใจฝึกสมาธิภาวนาตามหลักพระพุทธศาสนา
เนื่องจากอ่านหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบเซ็น
คือ เรื่องกุญแจเซ็น และปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ
เกิดความประทับใจว่าการฝึกสมาธิและการอยู่อย่างมีสติสามารถทำให ้
พ้นทุกข์ได้ จึงศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังจากพระราชวุฒาจารย์
(หลวงปู่ดูลย์อตุโล) และพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
ค้นพบองค์ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของจิตหลักการฝึกจิตและผลของการฝึกจิต
แล้วนำมาเผยแพร่ โดยการพิมพ์และแปลหนังสือธรรมะของครูบาอาจารย์
และถ่ายทอดความรู้โดยการอบรมให้แก่ครู – อาจารย์
นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป
ซึ่งเป็นแนวทางแก้ปัญหาสังคมไทย ให้พ้นภัยวิกฤติด้านต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน
ดร.ดาราวรรณ ถือกำเนิดในครอบครัวที่นับถือศาสนาอิสลาม ประพฤติ
ปฏิบัติตามหลักของศาสนาอย่างเคร่งครัด
เป็นครอบครัวที่อบอุ่นมีบิดามารดาเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความซื่อสัตย์
และความขยันหมั่นเพียร มีคุณปู่เป็นผู้นำศาสนาอิสลาม (อิหม่าม)
อุปนิสัยส่วนตัวชอบความสงบ ชอบพิธีกรรมทางศาสนา
โดยเฉพาะการสวดมนต์ภาวนาทางบ้านได้ส่งให้เรียนในโรงเรียนศาสนา
ในระดับชั้นประถมศึกษาและเรียนพิเศษด้านศาสนาตอนเย็นหลังเลิกเรียน
จึงมีความรู้ศาสนาอิสลามแตกฉานได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนโรงเรียน
เข้าแข่งขันตอบปัญหาและปาฐกถาธรรมทางศาสนาได้รับรางวัลชนะเลิศ
และรองชนะเลิศ
แม้จะมีความรู้และศรัทธาในศาสนาอิสลาม
แต่ก็เก็บความสงสัยในคำสอนหลายเรื่องที่หาเหตุผลไม่ได้และไม่สามารถถามผู้รู้ได้
เนื่องจากเป็นข้อห้ามของศาสนา ต่อมาได้อ่านหนังสือ
เกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบเซ็นอยู่ ๒ เล่ม คือเรื่องกุญแจเซ็น
และปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอของท่านติช นัท ฮันท์ พระภิกษุชาวเวียตนาม
แล้วเกิดความประทับใจว่า การปฏิบัติสมาธิและการอยู่อย่างมีสติสามารถทำให้พันทุกข์
เมื่อศึกษาและปฏิบัติแล้วพบว่า ถูกกับอุปนิสัย
จึงมีความเลื่อมใสศรัทธาที่พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์
มีเหตุผลและเน้นสอนให้เราพึ่งตนเองและเชื่อหลักธรรม
ดร.ดาราวรรณ ได้เริ่มการศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
เมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยเริ่มจากการปฏิบัติจิตภาวนา
ได้ฝึกฝนกับอุบาสิกาสะอาด เกษมสันต์ ที่วัดน้อยนพคุณ กรุงเทพฯ
จากนั้นเมื่อย้ายมารับตำแหน่งศึกษาสิเทศก์
กรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 11 ที่จังหวัดนครราชสีมา
ได้เข้าอบรมกรรมฐานกับคุณ
แม่สิริ กรินไชย 2 ครั้ง ๆ ละ 7 วัน
ใน ปี พ.ศ. 2523 – 2526 ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ โดยไปรายงานผลการปฏิบัติ
และซักถามปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
แนวทางที่หลวงปู่อบรมให้เน้นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามดูจิต
ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกจริตมากที่สุด ปี พ.ศ. 2526 ก่อนหลวงปู่มรณภาพ
ประมาณ 2 เดือน
ท่านสั่งให้ไปสอนผู้อื่นเพราะจิตชำนาญแล้ว
นอกจากการสอนอบรมแล้วยังได้แปลธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
เรื่อง “จิตคือพุทธะ” เป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่ให้นักปฏิบัติต่างชาติ
โดยได้พิมพ์แจกทันงานพระราชทานเพลิงศพของปู่ดูลย์ อตุโล
ในปี พ.ศ. 2527
ช่วง ปี พ.ศ. 2523 – 2542 ได้ศึกษาและ
ปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิดกับพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
ซึ่งท่านได้ให้คำสอนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติอย่างละเอียดมาก
ได้รับการไว้วางใจให้จัดทำหนังสือธรรมะเผยแพร่มาตลอดปีละ 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ
10,000 – 50,000 เล่ม ได้แก่ ธรรมวิสัชนาหลวงพ่อสอนธรรม ฐานิยปูชา
มอบธรรม นำพร เป็นต้น
การศึกษาจิต : องค์ความรู้แห่งการดับทุกข์
สิ่งที่ ดร.ดาราวรรณ ได้ค้นพบความจริงแห่งการดังทุกข์ คือ“จิต”
ซึ่งเป็นพลังแฝงอยู่ในกาย มีหน้า ที่สั่งกาย และบันทึกผลงาน
การทำ พูด คิด ไว้เป็นประจุกรรม (พลังกุศลกรรม และอกุศลกรรม)ซึ่งเป็นข้อมูล
หรือหน่วยความจำที่มีปริมาณมหาศาล จิตเป็นอมตธาตุ
เป็นธาตุที่ไม่ตาย เมื่อกายตาย จิตจะทิ้งกายไปหาที่อยู่ใหม่ (ภพภูมิ)
ตามพลังขับเคลื่อนของจิตว่าจะไปทางฝ่ายกุศลหรืออกุศล จะทำให้จิตมีสิ่งรู้
ทำสติให้มีสิ่งระลึกต้องฝึกจิตหรือการทำสมาธิภาวนา
ครูดาราวรรณได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลวงพ่อพุทธ ฐานิโย ซึ่งแยก
สมาธิเป็น ๒ แบบ คือ
๑. สมาธิในวิธีการ หมายถึง การปฏิบัติสมาธิที่มีรูปแบบ เช่น
การนั่งกำหนดลมหายใจบริกรรมภาวนา การเดินจงกรม เป็นต้น
ซึ่งเป็นการปฏิบัติอยู่วงจำกัด เมื่อมีเวลาเป็นส่วนตัว
๒. สมาธิในชีวิตประจำวัน หรือ สมาธิสาธารณะ
เป็นการปฏิบัติสมาธิในชีวิตประจำวันด้วยการกำหนดสติอยู่กับปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด
ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ทำได้ทุกสถานการณ์ ทุกกาลเวลา และทุกสถานที่
เมื่อฝึกจิตได้แล้ว จิตจะมีพลังสติสัปชัญญะมากจะก่อให้เกิดปัญหาในระดับต่าง ๆ
กล่าวคือ
- ปัญญาระดับสูง การรู้เท่าทันกิเลส ตัณหา อุปาทาน
จนสามารถตัด อาสวกิเลสได้
- ปัญญาระดับกลางการรู้เท่าทันจิต มีภูมิต้านทานต่อสิ่งยั่วยุ
สิ่งกระทบต่าง ๆ เมื่อมีสิ่งยั่วยุ (จากภายในหรือภายนอกก็ตาม) ให้ทำ
- ปัญญาระดับต้น เป็นความชาญฉลาดทางสติปัญญาที่ใช้
ในการเรียนการงานต่าง ๆ ทำให้ประสบผลสำเร็จสูง มีความผิดพลาดน้อย
การที่ ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม เป็นบุคคลผู้ทรงภูมิปัญญา
ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี
เป็นผู้สร้างสรรค์และสืบสานภูมิปัญญาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง
จนเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาในการจัดการศึกษา
ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม อายุ ๕๑ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔
ที่กรุงเทพมหานครเป็นบุตรของ ร.ต.มุขและนางเกยูร เด่นอุดม
สถานภาพโสด
ที่อยู่ปัจจุบันบ้านเลขที่ 256 ถนนมิตรภาพ
ซอย 15 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
การศึกษา
- ปริญญาตรี อักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2512 - 2515)
- ปริญญาโท อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (251? - 2521)
- ปริญญาเอก Ph.D ภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย Grenoble ประเทศฝรั่งเศส
(252? - 2529)
เกียรติคุณที่ได้รับ
- พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัล “เสมาธรรมจักร”
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาสาขาส่งเสริมผู้ปฏิบัติธรรม
จากกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2545 ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 2 ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี
จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี