เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Jul 15, 2009
หนี้ท่วมเมฆ ชาวโลกลอยคอ?
วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชน
วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เมื่อพ้นวิกฤตเศรษฐกิจของโลกครั้งนี้แล้ว หนี้สาธารณะของแต่ละประเทศ
โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นสูงมากเป็นพิเศษ
ปรากฏการณ์นี้มีนัยยะสำคัญหลายประการที่สาธารณชนพึงรับทราบ
ไม่ใช่แต่ประเทศไทยเท่านั้นที่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ หนี้สาธารณะ
(หนี้ที่รัฐบาลเป็นลูกหนี้เนื่องจากกู้มาใช้ เช่น
กู้จากประชาชนด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล กู้จากสถาบันการเงินต่างประเทศ ฯลฯ)
จะเพิ่มจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ ประมาณร้อยละ 40 ของ GDP เป็น 50 เป็น 60
หรือแม้แต่ 70 หากยังดื้อยาอย่างยิ่งจนต้องกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบด้วยรายจ่ายมหาศาล
(ขออย่าให้เกิดขึ้นจริงเลย เพราะไม่ใช่เรื่องสนุกแม้แต่น้อย แต่ก็จำต้องทำ)
นิตยสาร Economist ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ได้นำตัวเลขต่างๆ รวมทั้งที่ IMF
ได้คำนวณไว้มาเปิดเผยอย่างน่าสนใจ ขอนำข้อมูลบางส่วนมาใช้ในข้อเขียนนี้
10 ประเทศที่รวยสุดของโลก จะมีหนี้สาธารณะรวมกันเพิ่มจากร้อยละ 78 ของ GDP
ในปี 2007 เป็นร้อยละ 106 ในปีหน้า และเป็นร้อยละ 114 ในปี 2014
โดยเฉลี่ยประชากรแต่ละคนจะมีหนี้เฉลี่ยคนละ 50,000 เหรียญสหรัฐ (เกือบ 2 ล้านบาท)
สาเหตุที่หนี้เพิ่มมากมายระหว่างปี 2007 ถึง 2010 รวมกันถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ก็เนื่องมาจากรายจ่ายที่จำเป็นของภาครัฐในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ
ที่มีสาเหตุจากเรื่องการเงิน (เช่น อุ้มสถาบันการเงิน อุ้มอุตสาหกรรมที่จะล้ม
อุ้มบริษัทยักษ์ใหญ่ ฯลฯ) ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ขอยกตัวเลขของบางประเทศในเรื่องหนี้สาธารณะที่น่าสนใจระหว่างยอดปี 2007
และปี 2014 เช่น ญี่ปุ่นจะเพิ่มจากร้อยละ 170.6 ของ GDP เป็นร้อยละ 234.2
สหรัฐอเมริกาจะเพิ่มจากร้อยละ 62.9 เป็น 106.7 เยอรมันนีจากร้อยละ 65.5
เป็น 91.0 อังกฤษจากร้อยละ 46.9 เป็น 87.8 เกาหลีใต้จากร้อยละ 28.9
เป็น 51.8 สเปนจากร้อยละ 42.7 เป็น 69.2 ฯลฯ
สำหรับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจมาแรงใหม่ ตัวเลขพยากรณ์ระหว่าง 2009 ถึง 2014 นั้น
มีแนวโน้มจะกลับมาเกือบเท่าเดิมคือร้อยละ 40 ของ GDP
หากสถานการณ์เป็นปกติและหากสถานการณ์เลวร้ายที่สุดก็จะอยู่ประมาณ
เกือบร้อยละ 45 ของ GDP ส่วนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในสถานการณ์ปกติ
จะอยู่ที่ร้อยละ 115 ของ GDP ในปี 2014
และในสถานการณ์เลวร้อยสุดจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 150 ของ GDP
กล่าวโดยสรุปก็คือในระยะเวลาปานกลางคือ 2009-2014
หลับตาลงก็จะเห็นแต่หนี้ๆ ๆ ๆ สาธารณะในเกือบทุกประเทศ
คำตอบก็คือแล้วมันจะทำให้เกิดอะไรขึ้น?
จากการศึกษา 14 วิกฤตร้ายแรงของสถาบันการเงินในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา
Carmen Reinhart แห่ง University of Maryland และ
Ken Rogoff แห่ง Harvard University พบว่า
(ก) มีการไม่สามารถใช้หนี้คืนบางครั้งเกิดขึ้น
(พันธบัตรครบอายุแต่ไม่มีเงินจ่ายเงินต้นหรือดอกเบี้ย
จนต้องต่ออายุออกไปหรือมีวิธีการแก้ไขอื่นๆ)
(ข) เกิดเงินเฟ้อที่รุนแรง
(ค) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวในเวลาต่อมา
ที่ขอขยายความก็คือ "ข้อ (ข) เงินเฟ้อที่รุนแรง"
รัฐบาลบางประเทศเมื่อเก็บภาษีไม่ได้เพียงพอกับรายจ่าย
ก็มักจ่ายด้วยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหา
(หากเงื่อนไขทางการเมืองเหมาะสม
มีอำนาจบังคับธนาคารกลางของประเทศซึ่ง
เป็นผู้ควบคุมปริมาณเงินให้พิมพ์ธนบัตรเพิ่ม ฯลฯ)
เมื่อมีปริมาณธนบัตรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างไม่สอดคล้อง
กับการเพิ่มขึ้นของสินค้าและบริการ ราคาสินค้าก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
เงินเฟ้อรุนแรงก็อาจเกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ดี "เงินเฟ้อรุนแรง" ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเกิดจากความจงใจ
ของภาครัฐที่จะลดภาระหนี้สาธารณะ
กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นมูลค่าหนี้สาธารณะที่แท้จริงก็ลดลง
หรืออธิบายอีกอย่างว่าเมื่อเกิดเงินเฟ้อขึ้น GDP ที่เป็นตัวเงินก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สัดส่วนหนี้สาธารณะก็จะลดลงเพราะยอดหนี้สาธารณะไม่ได้เปลี่ยนแปลง
หรืออาจอธิบายว่าเมื่อมีเงินเฟ้อรัฐก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น
การลดภาระหนี้สาธารณะก็ทำได้สะดวกขึ้น
สำหรับวิกฤตครั้งนี้ เมื่อมีหนี้จนล้นออกมาทางใบหู
แล้วจะมีอะไรเกิดขึ้นในระยะปานกลางสำหรับบ้านเรา?
คำตอบก็คือ
(ก) ปัญหาเรื่องไม่มีเงินจ่ายเมื่อพันธบัตรครบอายุ มีความเป็นไปได้ต่ำ
เพราะรัฐบาลมีลูกเล่นได้ตลอดเวลา เช่น
อาจออกพันธบัตรมาทดแทนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเก่ามาก
คนถือเดิมก็คงพอใจเพราะหากไม่อยากถือต่อไปก็ขายได้ราคาดี
(ข) อัตราดอกเบี้ยมีทางโน้มที่จะสูงขึ้นเพราะรัฐบาลได้
แย่งชิงเงินออมของประชาชนไปจากภาคเอกชนที่ต้องการลงทุนเหมือนกัน
เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นสองภาคนี้ก็จะแย่งชิงกันชัดเจนขึ้น
ต่างก็ต้องเสนอให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเดิม
จนสร้างแรงกดดันให้อัตราดอกเบี้ยขยับตัวขึ้น
(ค) ต้องระวังเงินเฟ้อจากต่างประเทศเพราะประเทศรวยอาจ
ใช้วิธีลดภาระหนี้ด้วยการจงใจให้ราคาสินค้าทั่วไปสูงขึ้นดังได้กล่าวถึงแล้ว
การจงใจนี้อาจทำทีละเล็กน้อยหรือมีตัวช่วยคือราคาน้ำมันจะขยับสูงขึ้น
(สูงขึ้นแน่นอนในอนาคต สูงขึ้นเท่าใดและเมื่อใดเท่านั้น)
เมื่อประเทศใหญ่มีเงินเฟ้อขึ้น ก็ต้องมีผลกระทบต่อบ้านเรา
ในทิศทางเดียวกันมากบ้างน้อยบ้างเป็นธรรมดา
มูลค่ามีความเป็นไปได้สูงที่อสังหาริมทรัพย์จะขยับตัวตามทิศทางนี้
(ง) หากรัฐบาลแย่งชิงทรัพยากรการเงินมากเกินไป
ก็จะมีเหลือให้ภาคเอกชนเอาไปลงทุนได้น้อย
สถานการณ์นี้จะกระทบอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวได้
เนื่องจากโดยทั่วไปการลงทุนของภาครัฐมีผลิตภาพ (productivity)
ต่ำกว่าของภาคเอกชน ซึ่งการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ต่ำ
จะนำไปสู่สารพัดปัญหาต่อไป เช่น การว่างงาน การเก็บภาษีได้ต่ำ
การไม่สามารถลดภาระหนี้สาธารณะ
มาตรฐานการครองชีพของประชาชนซึ่งวัดโดยรายได้ที่แท้จริงต่อหัวไม่สูงขึ้น ฯลฯ
หนี้ในรูปแบบใดไม่ว่าหนี้สาธารณะหรือหนี้เอกชน หรือหนี้ส่วนตัว ล้วนไม่ดีทั้งนั้น
เพราะเมื่อยืมมาแล้วต้องใช้คืน
และความสามารถในการใช้คืนในอนาคตนั้นไม่มีความแน่นอน
อย่างไรก็ดี บางครั้งก็เป็นสิ่งจำเป็น
ดังเช่นกรณีของหนี้สาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
และเพิ่มพูนศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในอนาคต
ประเด็นที่ต้องแน่ใจก็คือหนี้เหล่านี้จะต้องมีคุณค่าดังที่ได้ตั้งใจไว้
ไม่ใช่รั่วไหลเป็นน้ำพริกไหลไปตามสายน้ำ
หน้า 6