เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Feb 21, 2009
บูชาคนที่ควรบูชา
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
(ภาพ/เรื่อง)
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สูตรสำเร็จในชีวิตข้อต่อไปนี้คือ
การบูชาคนที่ควรบูชาพอได้ยินคำว่า "บูชา"
ก็คงนึกถึงดอกไม้ธูปเทียนขึ้นมาทันทีใช่ไหมครับ
เราเคยไปวัดกับคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า
คุณตาคุณยาย เห็นท่านเอาดอกไม้ไปประดับที่แท่นพระ
จุดเทียนสองเล่มธูปสามดอกยกจบศีรษะ แล้วทำปากขมุบขมิบว่าอะไรไม่รู้
แล้วท่านก็หันมาบอกเราว่า
เอ้าบูชาพระเสียลูกนี่คือความหมายของการบูชาที่เราได้ทราบ
การบูชาคนที่ควรบูชา ก็คงหมายถึงเอาดอกไม้ธูปเทียนไปไหว้ท่านเหล่านั้น
ไม่น่าจะเป็นอย่างอื่นช้าก่อนโยม การบูชานั้นมีหลายอย่าง
อย่างที่ว่ามานั้นก็ใช่แต่ยังไม่หมด
การบูชาสามารถแสดงออกได้ 3 ทาง คือยกย่อง
เช่น เรายกย่องคนดี (ปัคคหะ) เป็นการบูชาอย่างหนึ่ง
บูชาด้วยสิ่งของ (สักการะ) ก็เป็นการบูชาอีกอย่างหนึ่ง
นับถือ (สัมมานะ) ก็เป็นการบูชาอีกอย่างหนึ่ง
จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้เรียกว่า "บูชา" เหมือนกันหมด
แต่ละอย่างต้องใช้ให้ถูกต้อง เช่น
ติ่งพูดกับต้อยว่า "ต้อยสุดบูชาของพี่" หมายความว่า
ติ่งยกย่องให้เกียรติ (ปัคคหะ) สาวคู่รัก
ไม่ใช่จุดธูปเทียนบูชานายเหลี่ยมบูชาพระรัตนตรัย
หมายความว่า นายเหลี่ยมจุดธูปเทียนสักการะพระรัตนตรัย (สักการะ)
นายเหลี่ยมเป็นคนบูชาตัวเอง หมายความว่า เขานับถือตัวเอง (สัมมานะ)
เพราะฉะนั้น การบูชาคนที่ควรบูชา ก็หมายถึง ยกย่อง เชิดชู
คนที่ควรบูชานั้นแลแจ้งจางปางแล้วใช่ไหมครับ
บุคคลที่ควรบูชาระดับสูง
คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยะสงฆ์
รองลงมาคือ อุปัชฌาย์ อาจารย์ บิดา มารดา พระมหากษัตริย์
วัตถุที่ควรบูชา คือ ธาตุเจดีย์ (พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุของพระสาวก)
บริโภคเจดีย์ (สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ปรินิพพาน และต้นพระศรีมหาโพธิ)
ธรรมเจดีย์ (คัมภีร์พระไตรปิฎกและคำสอนที่จารึกในใบลานหรือจารึกในแผ่นศิลา เป็นต้น)
และอุทเทสิกเจดีย์ (พระพุทธรูป รอยพระพุทธบาท และรูปอรหันต์สาวก)
การที่ใครๆ ยกย่องบูชาคนดีคนที่ควรเคารพนับถือบูชาบ่อยๆ
เป็นการถ่ายเทหรือซึมซับเอาความดีของบุคคลนั้นมาไว้ในตนโดยไม่รู้ตัว
อย่างเช่นเด็กที่นิยมความกล้าหาญบูชานักรบผู้กล้า
เช่น พระนเรศวรมหาราช ก็อาจรับมรดกความกล้าหาญมาสู่ตัวโดยอัตโนมัติน่าอัศจรรย์
บางทีกิริยาท่าทาง หรือคำพูดละม้ายคล้ายคนที่เขายกย่องบูชาสุดชีวิตจิตใจก็มี
เพราะฉะนั้นจึงควรยกย่องบูชาคนดีๆ เถอะครับ
แล้วสักวันหนึ่งเราจะกลายเป็นคนดีไปกับเขาด้วยข้อสำคัญขอให้ดูดีๆ
อย่าหลงยกย่องบูชาคนดีเทียมเข้าก็แล้วกัน
ในหนังสือ มังคลัตถทีปนี (หนังสือแต่งอธิบายมงคล 38)
พระสิริมังคลาจารย์ท่านเล่านิทาน คนบูชาผิดกาละเทศะ
แทนที่จะได้คุณกลับได้รับโทษถึงตาย อ่านแล้วขำดี ขอนำมาขยายให้ฟัง
เรียบเรียงสำนวนให้ฟังง่ายๆ สักสองสามเรื่อง
เรื่องที่หนึ่ง
สัญชีวมาณพเรียนมนต์เสกสัตว์ตายให้ฟื้นคืนชีพ
จากสำนักอาจารย์ดังแห่งหนึ่งมา
วันหนึ่งเดินผ่านป่าพร้อมเพื่อนๆ หลายคน
เห็นเสือโคร่งนอนตายอยู่ตัวหนึ่ง สัญชีวะบอกเพื่อนๆ ว่า
"ข้าจะเสกมนต์ให้เสือตัวนี้ฟื้น"
"ลูกพี่เก่งขนาดนั้นเชียวเรอะ"
เพื่อนอีกคนพูดเยาะ"ไม่ได้พูดเล่นนะ
ข้าเรียนมนต์นี้มาจริงๆ
ไม่เชื่อจะทำให้ดู" เขาพูดขึงขังจริงหรือไม่
"ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า"
พรรคพวกคิดแล้วก็ปีนขึ้นต้นไม้กันหมด
เหลือแต่มาณพคนเก่งคนเดียวบนพื้น
แกร่ายมนต์เป่าพรวดเข้าที่ร่างเสือพยัคฆ์ร้ายฟื้นคืนชีพขึ้นมา
ลืมตาขึ้นเห็นคนอยู่ข้างๆ จึงตะปบก้านคอล้มลงสิ้นชีวิตตรงนั้นทันที
เรื่องที่สอง
ปริพาชกคนหนึ่ง เป็นประเภทคนดีโง่บริสุทธิ์
เดินผ่านไปยังสถานชนแพะ
(คงคล้ายๆ ที่ชนวัว ตีไก่ อะไรทำนองนั้น)
ที่เมืองพาราณสี ที่มีคนสัญจรไปมาพลุกพล่านแพะตัวหนึ่ง
เห็นปริพาชกหัวเกรียน
ต้องการขวิดให้ถนัดจึงย่อตัวลง
"แหม! แพะตัวนี้ฉลาดจริง คนในที่นี้มากมายไม่รู้จักว่าข้าเป็นใคร
มีแพะตัวนี้ตัวเดียวรู้จักเคารพผู้ทรงศีลอย่างข้า"
ปริพาชกพูดพลางยิ้มปากกว้าง
"พระคุณเจ้า นั่นแพะจะขวิดท่าน รีบหนีไปเถอะ"
พ่อค้าคนหนึ่งเห็นเข้าตะโกนบอกเสียงดัง
"ไม่ใช่หรอกโยม แพะมันเคารพอาตมาต่างหาก"
ยังโอ่สำแดงความโง่ต่อไป
"สัตว์หน้าขนไว้ใจได้ที่ไหนท่าน รีบหลบๆ ไปเถอะน่า"
โยมผู้ปรารถนาดีเตือนซ้ำ คนเราลองให้มีมิจฉาทิฐิแล้ว
ใครจะบอกจะเตือนไม่สนใจทั้งนั้น
ปริพาชกแกก็ประคองอัญชลี (ประนมมือ) รับไหว้ตามธรรมเนียมที่ว่า
"ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ"
จริงดังที่พ่อค้าคนนั้นบอก
แพะตัวนั้นวิ่งมาโดยเร็วเอาเขาเสยปริพาชกล้มทั้งยืน
แกครวญครางก่อนตายอย่างน่าเวทนา
"ใครก็ตามบูชาคนที่ไม่ควรบูชา ผู้นั้นจะถูกคนชั่วร้ายนั้นทำร้ายเอา
เหมือนเราผู้โง่เขลา ยกมือไหว้แพะ
โดนแพะขวิดเอา นอนรอความตายอยู่บัดนี้"
กว่าจะรู้ว่ายกย่องบูชาคน (ความจริงสัตว์)
ผิดก็สายเสียแล้วครับ
หน้า 6