เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Feb 11, 2009
พยากรณ์เศรษฐกิจไทย.....ใจเย็นๆก็ได้
วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชน
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ได้ยินคำพยากรณ์เศรษฐกิจไทยของปี 2552 ของเหล่า
บรรดา "ผู้รู้" หรือ "โหร (น) เศรษฐกิจ"
แล้วรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของ "ผู้พอรู้"เรื่องเศรษฐกิจ
ที่จะต้องออกมาแสดงความเห็นเพื่อไม่ให้สาธารณชน
รู้สึกสับสนจนขาดความเชื่อมั่นมากกว่าที่เป็นอยู่
ในพื้นฐานผมไม่เชื่อว่าท่าน "ผู้รู้" 3-4 คน
ที่ออกมาพยากรณ์อย่างน่ากลัวนั้นมีความประสงค์ร้าย
เพียงแต่ว่าต้องการแสดงความเป็นผู้รู้
แต่บังเอิญมันล้ำเส้นแห่งความมีเหตุมีผลมากไปหน่อยเท่านั้น
ท่านหนึ่งบอกว่า "เศรษฐกิจไทยปี 2552 มีโอกาสติดลบถึง 4%
อีกท่านบอกว่าติดลบ 1% อีกท่านหนักหน่อยบอกว่าจะ ติดลบ 4.05%
ซึ่งถือว่าติดลบมากที่สุดในโลก"ว่าเข้าไปนั่น
สิ่งที่ต้องพูดกันให้ชัดเจนก็คือ "ติดลบ" หมายถึงอะไร
ตัวที่อ้างอิงถึงกันก็คือ จีดีพี (GDP) หรือผลผลิตมวลรวมในประเทศ
ซึ่งก็คือผลรวมของรายได้ที่เกิดขึ้นจากการผลิตของทุกคน
ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ประเทศหนึ่งในเวลาหนึ่งปีโดยไม่สนใจว่า
ผู้ก่อให้เกิดการผลิตนั้นมีสัญชาติอะไรพูดง่ายๆ
จีดีพีก็คือรายได้รวมของทุกคนในประเทศ แต่ที่ต้องระวังหน่อยก็คือ
จีดีพีที่พูดถึงกันนี้โดยแท้จริงแล้วเป็นตัวเลขที่อยู่บนพื้นฐานของราคาคงที่
โดยเป็นเรื่องเทคนิคว่าใช้ราคาของ ปีหนึ่งในอดีตเป็นปีฐาน
เพื่อจีดีพีจะได้วัดผลผลิตจริงๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ
หรือวัดรายได้จริงของผู้คนในประเทศ
โดยไม่มีอิทธิของราคาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยถ้าไม่ใช้เทคนิคเรื่องปีฐาน
บางปีตัวเลขก็จะโด่งสูงมากหากปีนั้นมีเงินเฟ้อสูง
โดยที่ไม่มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใดเมื่อจีดีพีมีความหมายดังนี้แล้ว
มันจะมีค่าติดลบได้อย่างไร คำตอบก็คือมันติดลบไม่ได้แน่นอน
แต่ที่พูดกันว่าติดลบนั้นก็เพราะผู้คนพูดกันอย่างไม่กระชับและไม่ถูกต้อง "ติดลบ"
ในความหมายนี้หมายถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
หรืออัตราการขยายตัวของจีดีพีที่ว่านี้มันเป็นลบ
กล่าวถึงแทนที่จะขยายตัวเป็นอัตราบวก เช่น ร้อยละ 4-5 ดังเคย
(ซึ่งหมายถึงว่าจีดีพีมีขนาดใหญ่โตขึ้น) กลับหดตัว
หรือขยายตัวในอัตราลบ (ซึ่งหมายถึงว่าจีดีพีมีขนาดเล็กลง)
กล่าวโดยสรุปก็คือ "ติดลบ" หมายถึงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นลบ
ซึ่งหมายถึงว่าจีดีพีมีขนาดเล็กลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
เช่น สมมุติว่าปลายปี 2551 มีขนาด 100 ล้านๆ บาท
แต่ปลายปี 2552 มีขนาด 96 ล้านๆ บาท
ก็หมายความว่าเศรษฐกิจในปี 2552 "ติดลบ" 4%
ข้อพึงระวังเรื่องจีดีพีก็คือมันรวมเฉพาะรายได้
อันเกิดจากการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีการซื้อขายผ่านตลาดเท่านั้น
ดังนั้น งานแม่บ้าน มูลค่าข้าวหรือผักผลไม้ที่ปลูกกินกันเอง
โดยไม่มีการซื้อขาย ฯลฯ จึงไม่อยู่ในจีดีพีนอกจากนั้น
จีดีพียังรวมเฉพาะสิ่งที่ถูกกฎหมายอีกด้วย
ดังนั้น มูลค่ายาบ้า บริการโสเภณี การผลิต CD เถื่อน ฯลฯ
จึงไม่รวมอยู่ในจีดีพีด้วยการนับ
ในลักษณะนี้ของจีดีพีตัวเลขการขยายตัวของจีดีพี
จึงไม่สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในประเทศของเรา
เพราะบ้านเรามีอะไรที่เถื่อนๆ
แต่สร้างรายได้อยู่เป็นอันมากขอกลับมาเรื่องพยากรณ์จีดีพีอีกครั้ง
จีดีพีเป็นตัวเลขประมาณการ
ไม่ใช่ตัวเลขลงตัวแน่นอนโดยมีหลักฐานหรือเอกสารประกอบยืนยัน
เพียงเฉพาะบางส่วนของ จีดีพีเท่านั้น เช่น การใช้จ่ายภาครัฐ การส่งออก
นำเข้าที่พอมีหลักฐานยืนยัน ส่วนการลงทุน
การบริโภคของประชาชนนั้นต้องใช้การประมาณการหรือการเดาอย่างมีเหตุผล
(guesstimae = guess+estimate) ประกอบ
ตัวเลขจีดีพีจึงเป็นตัวเลขที่ถกเถียงกันได้
บางครั้งก็ "ตกแต่ง" กันหนัก ยิ่งจีดีพีรายไตรมาสแล้วยิ่งปวดหัว
เพราะกิจกรรมการผลิตมันเกิดขึ้นตลอดเวลา
จะตัดตรงใด ให้รวมไว้ในไตรมาสใด
และยิ่งจีดีพีจังหวัดแล้วยิ่งหนักเข้าไปอีก
บ่อยครั้งส่วนประกอบของ guess นั้นมากกว่า estimate
ประเด็นสำคัญก็คือไม่มีใครบอกได้ว่าตัวเลขจีดีพีนั้นผิดหรือถูก
เนื่องจากการตรวจสอบทำได้ทางอ้อมเท่านั้น
ด้วยการสอบยันกับมูลค่าการใช้จ่ายรวมของประเทศ
บางประเทศเล่นกลกับตัวเลขจีดีพี
เพื่อจะแต่งให้มันขยายตัวสูงด้วยการเปลี่ยนปีฐานของราคาเสียใหม่
ซึ่งก็จะได้มูลค่าจีดีพีใหม่ ปัจจุบันไม่ค่อยมีประเทศไหนกล้าทำแล้ว
เพราะมีคนรู้ทันกันแยะและอาจสั่นคลอนความเชื่อถือได้
ทั้งหมดนี้คือประเด็นเกี่ยวข้องของจีดีพี
ที่สาธารณชนพึงระวังมิให้ถูกหลอก
และเพื่อเข้าใจสิ่งที่อยู่เบื้องหลังอย่างแท้จริงในเชิงวิชาการ
การพยากรณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต้อง
อาศัยการสร้างโมเดลขนาดใหญ่มีตัวแปรนับร้อยประกอบวิชาสถิติขั้นสูง
แต่ผลที่ออกมาก็ดังที่รู้กัน มันถูกต้องในขอบเขตหนึ่ง
ถ้าไม่มีปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกมากระทบอย่างรุนแรงมาก
ดังเช่นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรืออุกกาบาตลูกใหญ่พุ่งสู่โลก ฯลฯ
การที่ท่าน "ผู้รู้" ออกมาพยากรณ์หรือ
จินตนาการว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเป็นเท่านั้นเท่านี้เปอร์เซ็นต์
โดยไม่มีโมเดลชั้นเลิศอยู่ที่บ้านและไม่รู้ชัดแจ้งล่วงหน้าหลายเดือน
ว่าการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของโลกจะออกหัวหรือออกก้อย
จึงเป็นเรื่องของการล้ำเส้นแห่งความมีเหตุมีผล
แพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดของโลก
ของสหรัฐอเมริกาจำนวน 800,000 กว่าล้านเหรียญ
ยังไม่ผ่านสภาทั้งสองออกเป็นกฎหมาย และยังไม่ได้ใช้สักเหรียญ
ยังไม่รู้ว่าปัญหาขาดแคลนเงินสดของธนาคารสหรัฐ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น
ตลอดจนบริษัทยักษ์ของโลกคลี่คลายไปหรือยัง
และจะมีบอมบ์ลูกใหม่ระเบิดออกมาอีกหรือไม่
แผนกระตุ้นเศรษฐกิจไทยก็ยังไม่ผ่านเป็นกฎหมายและยังไม่ได้ใช้สักบาท
แต่ท่าน "ผู้รู้" ทั้งหลายพยากรณ์ได้เลยว่าจะติดลบเท่านี้เปอร์เซ็นต์
และแถมมีจุดอีกด้วยที่ "ข้ามเส้น"
ที่สุดก็คือบอกได้ด้วยว่าไทยจะติดลบมากที่สุดในโลก
ทั้งๆ ที่โลกประกอบด้วย 200 กว่าประเทศ
จะพยากรณ์ถูกว่าไทยติดลบแย่สุดสุด
ในโลกก็หมายความว่าต้องพยากรณ์ของทั้ง 200 กว่าประเทศถูกต้องด้วย
มิฉะนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าเศรษฐกิจไทยติดลบมากที่สุดในโลก
ภายใต้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกปัจจุบันยังแกว่งอย่างไม่รู้ทิศทาง
การบอกใบ้หวยยังง่ายกว่าพยากรณ์เศรษฐกิจไทยปีหน้าเลยครับว่า
อัตราขยายตัวจะเป็นบวกหรือลบ
สำมะหาอะไรกับจะรู้ว่าจะขยายหรือหดกี่เปอร์เซ็นต์
ในขณะนี้ช่วยกันประคับประคองความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยกันไว้ดีกว่า
จนกว่าพอชัดเจนและมั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร
จึงค่อยแสดงความเห็นกันอย่าลืมว่าปี 2552
ยังเหลืออีกกว่า 10 เดือน ไม่มีใครรู้ว่าจะมีระเบิดระดับโลกเกิดขึ้นอีกหรือไม่
และวิกฤตโลกซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมากนั้น
จะคลี่คลายได้มากน้อยเพียงใดใน 3-4 เดือนข้างหน้า
หน้า 6