มติชน ชมพูนุท นำภา ภาพ/เรื่อง วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552 หนานเย็น ในการอยากพบปะพูดคุยกับผู้ชายคนนี้ "รังสรรค์ ไชยา" แต่ เพราะ "งานเพลง" แนวแปลกๆ จะว่าล้านนาก็ไม่ใช่ จะโมเดิร์นก็ไม่เชิง ฟังแล้วสำเนียงคุ้นหู แต่ก็ดูล้ำกว่านั้น บทเพลงเสียงดนตรีที่ไม่เหมือนใครนี่เอง กลายเป็นแรงดึงดูดอยากให้ทำความรู้จัก และค้นหา ซึ่งในเวลาต่อมาระยะทางเกือบแปดร้อยกิโลทำหน้าที่ เป็นสะพานเชื่อมให้เดินทางไปสัมผัสชีวิตของเขาคนนี้ ... บ่ายวันนั้น...ที่บ้านหลังน้อยละแวกซอยวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ มอเตอร์ไซค์คันเก่าวิ่งช้าๆ เข้ามาจอดที่หน้าบ้าน คนขี่ถอดหมวกกันน็อคออกแล้วหันมาพยักหน้ายิ้มทักทาย ดูจากบุคลิกที่ พบเห็นในยามนั้น ถ้าไม่เคยรู้จักผลงานเพลงของเขามาก่อน เชื่อแน่ว่าใครก็นึกไม่ถึงว่าชายวัย 40 ต้นๆ ผู้นี้ ในชุดเสื้อยืดกางเกงยีนส์ขะมุกขะมอม จะเป็นนักดนตรีมือรางวัล ทั้งยังพ่วงตำแหน่งโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินอีกหลายต่อหลายคน ตั้งแต่ศิลปินเมืองไปจนถึงวงร็อคอินดี้หน้าใหม่ แล้วเขาคงเห็นอะไรบางอย่างจากสีหน้า จึงเอื้อนเอ่ยสีหน้ายิ้มๆ... "เราอย่าตัดสินด้วยการมองแป๊บเดียวสิ เห็นนี่ไหม (ชี้ไปที่ห้องหลังเล็กๆ ข้างบ้าน) โกโรโกโสอย่างนี้แต่เป็นห้องอัดเสียงนะ..." แล้ว ต่อด้วย "เหมือนงานของเราไปตัดสินจากปกซีดี หรือแค่ชื่อเพลงไม่ได้หรอก หรือเห็นหน้าแก่ๆ อย่างนี้ (ชี้ตัวเอง) โอ๊ย...ย...มันขนผักแน่นอน" กล่าวปนหัวเราะอย่างอารมณ์ดี "รังสรรค์ ราศีดิบ" หรือชื่อจริงตามบัตรประชาชน "รังสรรค์ ไชยา" มีชื่อเล่นเรียกขาน "โจ้" เขา คนนี้คลุกคลีในแวดวงดนตรีกลางคืนมานานนม จึงรู้จักกันดีในเมืองเชียงใหม่ แต่สำหรับคนทั่วไปเริ่มรู้จักเขาเมื่ออัลบั้มชุดแรก "การเดินทางของตะกร้า" ได้รับรางวัลสีสันอวอร์ด เมื่อปี 2544 อัลบั้มแรกนั้นสร้างความแปลก ใหม่ให้ผู้ฟังอย่างชัดเจน โจ้บอกว่า อัลบั้มแรกเหมือนเป็นงานทดลองที่ได้เพื่อนๆ ฝีมือดีเข้ามาช่วยกันจนเสร็จเป็นรูปเป็นร่าง มีการทดลองเอาเครื่องดนตรี พื้นเมืองของล้านนามาผสมร่วมกับเสียงเครื่องดนตรี สากล สอดแทรกด้วยเสียงอิเล็กทรอนิกส์อีกนิด ให้คนหลายชาติหลายภาษามาร่วมขับร้อง ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ภาษาปกาเกอญอ ภาษาคำเมือง ผสมผสานกันจนลงตัว และน่าฟัง บางเพลงก็แฝงด้วยปรัชญาให้คนฟังได้ขบคิดจินตนาการกันต่อ "รังสรรค์ " เป็นคนเชียงรายโดยกำเนิด จบปริญญาตรี คณะพืชสวนประดับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับดนตรีแม้แต่น้อย แต่ด้วยใจรักในช่วงวัยรุ่นเขาจึงมุมานะหัดกีตาร์ด้วยตัวเอง และได้รับคัดเลือกให้อยู่วง "เดอะ คาวบอย" วงดนตรีประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หลัง เรียนจบรังสรรค์ตระเวนเล่นดนตรีกลางคืนหาประสบการณ์ตามร้านอาหารในเชียงใหม่ จนบัดนี้หลายร้านปิดตัวไปแล้ว แต่หลายร้านที่เขาเล่นดนตรีร้องเพลงก็ยังอยู่ อาทิ ร้านคีย์เฮ้าส์ ร้านรีเวอร์ไซต์ ร้านบลาสเซอรี่ มาเบิ้ล ร้านมะปราง ร้านสุดสะแนน เป็นต้น หากจะไถ่ถามเขาเกี่ยวกับเรื่องพืชสวนคงยากหน่อย เพราะตั้งแต่เรียนจบ เขาบอกว่าเคยรับจ้างจัดสวนแค่สองปีเท่านั้นที่เหลือคลุกเคล้าอยู่กับเสียงกีตาร์มาตลอด ในการสร้างสรรค์อย่างไรโจ้-รังสรรค์ มีอัลบั้มของตัวเอง 2 ชุด คือ "การเดินทางของตะกร้า" และ "วาดเวลา" ระหว่างนั้นทำหน้าที่โปรดิวซ์ให้กับศิลปินอีกหลากหลาย ส่วนงานตัว เอง ขณะนี้ร่วมกับเพื่อนนักดนตรีประกอบด้วย "ทศ พนมขวัญ" (กลอง) "แอ๊ด-ภานุทัต อภิชนาธง" (เครื่องพื้นเมือง) "บอย เหนือเมฆ" (เปียโน) "ธวัชชัย แย้มสำรวล" (เบส) ร่วมมือทำดนตรีอีกครั้ง ในนาม "ราศีดิบ โปรเจ็กต์" เป็นดนตรีบรรเลงโดยมีเครื่องดนตรีหลัก 3 ชิ้น ผสมผสานกับเครื่องดนตรีล้านนา นอกจากงานดนตรีแล้ว หน้าที่หลักอีกอย่างของรังสรรค์ คือช่วยภรรยาขายข้าวแกงชื่อ "ครัวแม่ชะเอม" ขายอาหารปักษ์ใต้ เพราะภรรยาเป็นคนใต้ หาเลี้ยงครอบครัวซึ่งมีสมาชิกอีกสองชีวิต คือ ลูกสาวชื่อ "ชะเอม" วัย 3 ขวบ และลูกชายชื่อ "ข้าวนึ่ง" วัย 7 เดือน ชีวิตธรรมดาสามัญของนักดนตรีคนเมืองเชียงใหม่เป็นเช่นไรได้แรงขับ "หาคำตอบได้จากปากของหนุ่มอารมณ์ดีคนนี้เอาเอง" เรียนรู้เรื่องของดนตรีได้อย่างไร? ใช้วิธีถามเพื่อนบ้าง พี่บ้าง แล้วลองผิดลองถูกเอาเอง แต่ส่วนหนึ่งอาจเป็น เพราะว่าฟังเพลงและอ่านหนังสือเยอะมาก แนวไหน? ชอบ ฟังบลูส์ แล้วก็ฝึกกีตาร์ จริงจังมากนะ ซ้อมวันละหลายๆ ชั่วโมง อย่างแกะเพลงก็พยายามศึกษาวิธีคิดของเขาว่าเขาทำยังไง ไม่ใช่ว่าแกะได้เล่นเสร็จก็จบ แต่จะพยายามหา เช่น ทำไมเขาใช้ทางคอร์ดแบบนี้ พยายามตีความวิธีคิดของเขา แบบนี้มันสนุกกว่า เพราะถ้าแกะเพลงอย่างเดียวมันจะเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร สมัยนี้สบายแล้วมียูทูบให้ดู ใช้เวลานานไหมที่เล่นตามร้านอาหารแล้วมาเป็นอย่างทุกวันนี้ เริ่ม จากเล่นตามร้านอาหารได้สัก 10 ปี ก็เริ่มเบื่อเลยไปทำร้านคอมพิวเตอร์แป๊บนึง ก็เลิกแล้วมาทำห้องอัด พอไม่เวิร์กก็ไปจัดสวนกับเพื่อน กลับไปกลับมาอย่างนี้ ทำอะไรก็ไม่ค่อยดี สะเปะสะปะ ก็เลยทำอัลบั้มชุดแรกโดย ไปขอใช้ห้องเพื่อนกิน-นอนอยู่ที่นั่น จนอัลบั้มสำเร็จซึ่งถือว่า โชคดีมีเพื่อนฝูงฝีมือดีมาช่วยเยอะ เมื่อเห็นว่าทำแบบนี้เราสนุกกว่าก็เลยรักที่จะอยู่กับมัน จนถึงทุกวันนี้ ยุคนั้นถือว่าเป็นใต้ดินหรือเปล่า? ไม่รู้ แต่ว่าเราก็เป็นไปตามธรรมชาติ อย่างผมจะไปขายหน้าตาเหรอ (หัวเราะ) เดี๋ยวเฮียเขาเจ๊ง เออ... แต่ว่าฝรั่งแก่ๆ เขาก็ยังทำออกมาสนุกสนานเฮฮากัน คุณลุงๆ ทั้งหลายก็ยังอยู่ดีอยู่ แต่ผมไม่ได้คิดไปรองรับตลาดตรงนั้น แค่อยากเห็นว่าถ้าเอาพิณเปี๊ยะมาใส่ในเพลงเรกเก้มันจะเป็นยังไง มันเหมือนงานทดลอง เวลาทำเสร็จก็ไรต์ขายเองพักหนึ่ง แต่ละเพลงจะคิด อยู่ในหัวนานแล้ว บางทีนั่งรถอยู่ก็คิด อย่างเพลงแก้วมาลูน ก็คิดว่าถ้าเป็นแบบเพลงบ้านนอก แต่มีอารมณ์สะวิงเข้ามาใส่ให้มันดูหรูหราหน่อย กระฉับเฉงหน่อย มีซึงมาแจม ก็คงจะเวิร์ก เอ๊...แล้วจะเอาซึงมาใส่ตรงไหน ก็จะคิดแล้วเก็บใส่ลิ้นชักไว้เวลาจะทำงานก็เอามาใช้ ผลงานชุดแรกได้รางวัล ก็ ดีนะ เป็นที่รู้จักขึ้นเยอะแต่ผมอ่อนเรื่องการตลาด การขาย ส่วนมากจะใช้วิธีฝากขาย ที่กรุงเทพฯ อย่าให้พูด บางร้านก็ไม่จ่ายเงินเราเลย แต่บางร้านก็ดี คนซื้อก็คงอยากจะฟังแปลกๆ ใหม่ๆ บ้าง คือผมพยายามทำเพลงให้น่าสนใจ ต้องมีสารในเพลงบ้าง ชีวิตคนเมืองเชียงใหม่เนิบๆ อะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้ทำงานเพลง อืม... มันหลายอย่างมาก มันเหมือนกับเราต้องเดินทาง บางทีสิ่งที่เราเจอระหว่างทาง แล้วเรารู้ว่าเรื่องนี้มันกระทบกับเรา เรื่องนี้เรารู้สึก บางทีอ่านบ้าง ฟังบ้าง คนเราแต่ละคนมันจะมีเรื่องราวที่ไม่เหมือนกัน เป็นการบันทึกเรื่องราวโดยสายตา ของแต่ละคน เหมือนห้องอัดนี้ถ้าไม่บอกก็ไม่มีใครรู้ว่าเป็นห้องอัด คือ เราใส่ใจกับสารข้างในก่อนแล้วค่อยทำข้างนอก ปกติชอบเดินทาง การ เดินทางของผมคือการออกจากตัวเอง ไม่จำเป็นที่จะต้องเดินทางข้ามทวีป แค่เราออกไปสัมผัสผู้คน เรื่องราว แล้วก็อ่านหนังสือ ดูข่าวสาร แล้วก็มาย่อยว่าอันไหนเรารู้สึก อันไหนจริง ไม่จริง สัมผัสมัน รู้สึกกับมัน อันไหนดีก็ให้กระตุ้นเรา อันไหนไม่ดีก็ปล่อยผ่านไปเสีย ต้องเรียนรู้ ศึกษา นี่คือการเดินทางของผม เดินทางไปเรื่อยๆ คือ ถ้าอยู่กับตัวเองนานๆ จะรู้สึกว่าแก้วมันเต็ม เราก็ต้องหาอะไรมาเติม อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว บางทีแค่เพลงเพลงหนึ่ง เสียงเสียงหนึ่ง หรืออะไรสักอย่างที่ทำให้เรารู้สึก หรือเรื่องที่ผู้คนคิด มันจะเข้ามาหาเราเอง อยู่ที่เราจะมองยังไง ตีความยังไง โปรดิวซ์งานศิลปินคนอื่นด้วย ครับ เช่น ทำเพลงครบ 10 ปีให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรืออัลบั้มของ ชิ-สุวิชาน (ศิลปินชาวปกาเกอญอ) ซึ่งมี 12 เพลง ความยากของอัลบั้มนี้คือ ภาษา เครื่องดนตรี เรื่องราวของชาวปกาเกอญอ สามอย่างนี้เราอย่าตีความมั่ว เพราะมันจะกลายเป็นจับเขามายัดใส่ในบล็อคความคิดเรา ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้อง ยก ตัวอย่างเพลง เทาะแมป่า ผู้ที่เป็นบรรพบุรุษของปกาเกอญอ เราก็จะคิดถึงละครเวลาเปิดฉาก แต่เราต้องหาวิธีเปิดฉากแบบเอาเครื่องดนตรีมาใส่แทน ประมาณว่าส่องแสงให้เขา เขาโผล่มาจากที่มืด ผมเลือกเสียงคีย์บอร์ดเป็นแบ๊คกราวด์ แล้วให้กีตาร์ส่งให้ระยิบระยับขึ้นมาหน่อย แล้วก็มีเสียงอะไรบางอย่างให้รู้ว่าคนคนนี้มาแล้ว เช่น ใช้เคาะฆ้องกบ มันจะให้ความรู้สึกเหมือนกับย่องมาแล้ว หรือศิลปินรุ่นใหม่อย่างจุ๋ย จุ๋ย ก็ช่วยทำ เขาเล่นได้ทุกอย่าง อืมม...ประหลาด ป๊อป (หัวเราะ) ล่าสุด โปรดิวซ์ ให้วงร็อคอินดี้ "wild seed" เพลงสัตว์เลี้ยงของแวมไพร์ งานล่าสุด ตอน นี้ทำวงเล่นกับเพื่อน ใช้ชื่อว่า "ราศีดิบ โปรเจ็กต์" ทำวง 3 ชิ้นอยู่ เป็นเบส กลอง กีตาร์ ผสมกับซึงที่เครื่องดนตรีพื้นเมือง คงจะเป็นอัลบั้มใหม่เร็วๆ นี้ เป็นเพลงออกแนวบรรเลง ซ้อมวันละ 2-3 ชั่วโมง ไม่หนักมาก เพราะในวงจะรุ่นๆ ใกล้กัน หลักสี่อัพ (หัวเราะ) แต่ก็สนุกๆ แบ่งเวลากันมาเล่น คนแก่แล้วทำงานช้า (ยิ้ม) แล้วก็จะมีเพลงร้องอีก 1 ชุด เป็นชุดของผมเอง ใครสนใจติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.live.banleng.com นอกจากดนตรีแล้วชีวิตประจำวันทำอะไร บาง ทีก็ช่วยเสิร์ฟข้าวแกงให้แม่บ้าน ผมเคยไปจ่ายตลาด เดินผ่านหน้าผับตอนตี 4 เห็นคนเมากำลังออกจากผับ หันไปอีกฟากเห็นชีวิตคนที่กำลังทุบหัวปลา หั่นผัก ขายขนมกะทิ ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิง เรื่องพวกนี้เป็นแรงบันดาลใจเรื่องแต่งเพลงได้หมด แล้วก็ให้แง่คิดเราด้วย อยากรู้ต้องออกไปเดินตลาดตีสี่ตีห้า จะได้รู้อีกรสชาติ ทำไมศิลปินชอบมาอยู่เชียงใหม่กัน อาจ เป็นเพราะบรรยากาศในการทำงาน มันไม่เหมือนกรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯมันวุ่นวาย มีปัญหาเรื่องการจราจรไปไหนทีครึ่งวันแล้ว กำลังคิดงานออกก็หายไปแล้ว ในสายตาเชียงใหม่ตั้งแต่ที่มาอยู่ถึงตอนนี้เปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน? เปลี่ยน ไปมาก การก่อสร้างเยอะขึ้น ฝุ่นควันก็เยอะ ปีที่แล้วนี้หนัก ก็หงุดหงิดบ้าง บางทีเราก็ส่งเสียงนิดหน่อย จะรวมกลุ่มกันภายในเชียงใหม่ ใครมีเรื่องอะไรก็ส่งสารกันไป อย่างซีดีชุดเชียงดาวของกลุ่มภาคีฮักเจียงใหม่ เขาอยากทำเพลง เราก็ช่วยเหลือให้แง่คิดเรื่องเพลง ทำเพลงได้ก็ทำไป ช่วยกัน อยากสื่อสารความเป็นล้านนาเพียวๆ ไหม? ผม ไม่ได้มาสายนี้โดยตรง ชอบที่จะประยุกต์มากกว่า มีเพื่อนฝรั่งเขาทำห้อง อยู่แถวสันกำแพงเขาบอกว่าดนตรีบ้านเราบางทีมันน่า เบื่อ ไม่น่าสนใจ ผมก็บอกว่าจริงๆ มันน่าสนใจนะ แต่คุณไม่สนใจเอง ผม บอกว่างั้นเดี๋ยวเราจะทำให้น่าสนใจ ตอนนี้หลายๆ คนก็ทำอยู่ แล้วคนที่เก่งเรื่องแบบแผนเดิมก็จะมีอยู่ แต่เราชอบที่จะเห็นว่าร่วมสมัยก็ไม่ใช่ จะว่าโมเดิร์นก็ไม่เชิง แต่อยากให้มันมีสีสันที่บางทีมันเป็นสีใหม่ๆ เช่น เสียงสะล้อแบบนี้ถ้าได้อยู่อีกบรรยากาศหนึ่งจะเป็นยังไง หรือถ้าเวลาได้ฟังก็จะคิดอยู่ตลอดว่ามันมีอะไรอยู่ในนั้น ซึ่งมันสนุก แสดงว่าพื้นเมืองยังมีอะไรให้เล่นอีก เยอะ ครับ ไม่ตัน ถ้าตันนี่คือเราตันเอง มันเหมือนเราไปบล็อควิธีคิดของเราว่ามันหมดแล้ว มีแค่นี้แหละ เหมือนคำพูดที่ว่าโลกนี้ไม่มีอะไรใหม่ มันก็จริงว่าไม่มีอะไรใหม่ แต่ถ้าไม่มีคนทำอะไรมาใหม่ๆ อีก มันก็จะหยุดนิ่ง แต่เราไม่ได้คิดเรื่องใหม่-ไม่ใหม่ เราคิดเรื่องมันเป็นไปได้หรือเปล่า เป็นคนรักในความเป็นล้านนาสูง เพราะ คุ้นกับเครื่อง กับเสียง-เสียงซอ สะล้อ ปี่ ซึง และตอนนี้เราสนใจจะกลับไปหา ในลักษณะเด็กนักเรียนต้องไปศึกษาจากผู้เฒ่าผู้ แก่ว่าเขาเล่นดนตรีกันมายังไง มีวิวัฒนาการมายังไง แต่อย่างว่าของที่เราสนใจมากที่สุดอาจจะไร้ค่าที่สุดสำหรับคนที่ไม่สนใจ หรือของที่มีค่าสำหรับคนอื่นเราอาจจะไม่รู้สึกอะไรเลยก็ได้ ตอนนี้คิดจะเข้าสู่ดนตรีกระแสหลักไหม? อืม...มม...คิดไหม... ก็คิดนะ คิดแบบสนุกๆ ว่า เฮ้ย...มาดังตอนแก่จะยุ่งนะเว้ย (หัวเราะ) "เดี๋ยวรับมือไม่ไหว" หน้า 17 |
เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search