คอลัมน์ แทงก์ความคิด
นฤตย์ เสกธีระ มติชน max@matichon.co.th วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552 ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ไทย วันสงกรานต์...ครับ เทศกาลสงกรานต์มีตำนานเล่าขานว่า กาลครั้งหนึ่งมีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยแต่ไม่มีลูก เศรษฐีคนนี้อาศัยอยู่ข้างบ้านยาจก ยาจกคนนี้ ปากเสีย ชอบพูดจาดูถูกเศรษฐีเรื่องไม่มีลูกอยู่บ่อยๆ กระทั่งท่านเศรษฐีรู้สึกมีปมด้อย จึงทำพิธีบวงสรวงขอลูกจากพระผู้เป็นเจ้า จนในที่สุด พระอินทร์ส่ง "ธรรมบาลกุมารเทวบุตร" จุติลงมาเกิดเป็นลูกท่านเศรษฐี ธรรมบาลกุมารพอเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นเด็กฉลาด เรียนวิชาอาคมครบถ้วน แม้แต่ภาษานกก็สามารถฟังรู้เรื่อง ! ชื่อเสียงของธรรมบาลกุมารดังกระฉ่อน จนท้าวกบิลพรหมต้องการลองของ ท้าวกบิลพรหมเสด็จลงมาเยือนโลกมนุษย์ แล้วตั้งคำถาม 3 ข้อถามธรรมบาลกุมาร พร้อมทั้งวางเดิมพัน ถ้าธรรมบาลกุมารสามารถตอบคำถามทั้ง 3 ข้อได้ภายใน 7 วัน ท้าวกบิลพรหมจะตัดเศียรบูชาธรรมบาล แต่ถ้าไม่สามารถตอบคำถามได้ ธรรมบาลต้องบั่นศีรษะตัวเองออกมา ธรรมบาลกุมารรับคำท้า แต่คิดอย่างไร คิดอย่างไร ก็หาคำตอบไม่ได้ กระทั่งวันสุดท้าย บังเอิญที่ธรรมบาลกุมารได้ยิน "นก" พูดจากัน และเฉลยคำตอบทั้ง 3 ข้อ จนธรรมบาลกุมารสามารถนำคำเฉลยไปตอบคำถามท้าวกบิลพรหมได้ เมื่อธรรมบาลกุมารสามารถตอบคำถามได้ ท่านท้าวฯก็ต้องทำตามสัญญา แต่มาติดปัญหาตรงที่ เศียรของท่านท้าวฯ เมื่อหลุดจากร่างแล้วห้ามให้ไปตกอยู่ในที่ใด หากตกถึงพื้นดิน โลกก็จะลุกเป็นไฟ หากตกลงในน้ำ น้ำก็จะแห้งเหือดหมดโลก หากโยนขึ้นในอากาศ ฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล ที่สุด ท้าวกบิลพรหมได้เรียกลูกสาวของตัวเองมาหารือ แล้วบอกว่าหลังจากตัดเศียรออกแล้ว ให้ลูกสาวเอาพานมาคอยรองรับ จากนั้นให้นำไปแห่รอบเขาพระสุเมรุก่อนจะเอาไปเก็บไว้ในถ้ำ และให้ทำเช่นเดียวกันนี้ทุกๆ เดือนเมษายนของทุกปี เทศกาลสงกรานต์จึงมีกันในเดือนเมษายน ขณะเดียวกันลูกสาวของท่านท้าวฯมีด้วยกัน 7 คน เราจึงมีนางสงกรานต์รวม 7 คนกันไงครับ ฟังตำนานเรื่องเทศกาลสงกรานต์แล้วรู้สึกสนุกดีไหม ทีแรกนึกว่าธรรมบาลกุมารจะโชคร้าย แต่บังเอิญที่มี "นก" เป็นตัวช่วย ทำให้รอดชีวิตมาได้ ฟังแล้วน่าอิจฉาธรรมบาลกุมารที่มีวิชาฟังภาษานก ส่วนพวกเรามนุษย์นอกตำนาน ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ไม่มีทางฟังภาษานกได้รู้เรื่อง แต่แม้จะฟังภาษานกไม่ได้ มนุษย์ก็มีความสามารถทางอื่น ที่ทำให้รับรู้ "ข้อมูลข่าวสาร" จากสิ่งที่มนุษย์ฟังไม่รู้เรื่อง พวกเราเรียกความสามารถดังกล่าวว่า "การสังเกต" ครับ มนุษย์โลกคนใดรู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวจนค้นพบ "ข้อมูลข่าวสาร" จากธรรมชาติ ![]() มนุษย์ผู้นั้นก็มีโอกาสรุ่งเรืองละครับ อย่าง "ไอแซก นิวตัน" สังเกตเห็น ผลแอปเปิ้ลหล่นลงมาจากต้น แล้วสงสัยว่า สิ่งที่ทำให้ผลแอปเปิ้ลหล่นลงมา น่าจะเป็นสิ่งเดียวกันกับสิ่งที่ทำให้พระจันทร์อยู่ใกล้โลก จนในที่สุดเขาก็ค้นพบ แรงโน้มถ่วงของโลก หรืออ ![]() จนกระทั่งสรุปเป็นทฤษฎี เรียกว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการ อธิบายความเป็นมาของมนุษย์ สัตว์ และพืชบนโลกใบนี้ได้อย่างน่าทึ่ง นอกจากนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ท่านนี้แล้ว ยังมีปรากฏการณ์อื่นๆ ในโลกอีกมากที่เกิดขึ้นจากการสังเกต ไม่ว่าจะเป็นการกำเนิดเครื่องจักรไอน้ำ การรู้จักกระแสไฟฟ้า และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากการสังเกตทั้งนั้น จนอาจเรียกได้ว่า การสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ดังนั้น ใครที่อยากเริ่มต้นในการพัฒนา ไม่ว่าจะพัฒนาองค์กร พัฒนาผู้อื่น หรือพัฒนาตัวเอง ลองหันมาใช้วิธีการสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นก็ไม่เลวนะครับ เพราะสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา สามารถให้ "ข้อมูลข่าวสาร" สำคัญๆ เพื่อการพัฒนาแก่เราได้ อย่างน้อยที่สุด การเฝ้าสังเกตบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน เปรียบเทียบกับบุคคลที่ทำงานล้มเหลว ก็ทำให้เราพบเหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จและล้มเหลว อย่างน้อยที่สุด การเฝ้าสังเกตบุคคลที่มีความสุขในชีวิต เปรียบเทียบกับบุคคลที่มีความทุกข์ ย่อมทำให้เรามองเห็นเหตุปัจจัยแห่งความสุขและความทุกข์นั้น คนเราเมื่อมีรู้เหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จ รู้เหตุปัจจัยแห่งความสุข เราก็เริ่มมี "วิธีทำ" สำหรับชีวิต คนที่พบ "วิธีทำ" เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้น ใครที่อยากใช้เทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ไทย เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อพัฒนาชีวิต ลองเริ่มต้นด้วย "การสังเกต" ดูสิครับ...อาจจะช่วยท่านได้ สวัสดี หน้า 17 |
เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

Custom Search