เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Apr 3, 2009
ตามรอยสามก๊ก-ศึกยุทธการผาแดง เสียวเกี้ยว ชนวนเหตุนองเลือด!
โลกหลากวิถี
ไทยรัฐ
4 เม.ย. 52
วันก่อน บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้พาคณะสื่อมวลชนจากประเทศไทย
บินลัดฟ้าท่องเมืองอู่ฮั่นและเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ตามรอยสามก๊ก-ศึกยุทธการผาแดง
คงไม่มีใคร? ปฏิเสธว่าไม่รู้จัก “สามก๊ก”
วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ที่ถูกถ่ายทอดสู่สายตา
ทั้งทางจอเงินและบนแผ่นฟิล์ม
สามก๊ก ยังถูกรวบรวมและเขียนขึ้นหลายครั้ง
บางฉบับก็เน้นย้ำเชิดชูกลอุบายอันแยบยลของขงเบ้ง
ความมีคุณธรรมอันเปี่ยมล้นของเล่าปี่
ความโหดเหี้ยมและมักใหญ่ใฝ่สูงของโจโฉที่มุ่งหวังรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตก
เป็นก๊กเป็นเหล่าให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียว
บางฉบับก็เชิดชูความสามารถทางด้านการรบและการดนตรีของจิวยี่ แม่ทัพเอกของซุนกวน
แต่น่าเสียดายที่คนเก่งมากด้วยความสามารถอย่างจิวยี่
และมีภรรยาเลอโฉมที่งามที่สุดแห่งดินแดนกังตั๋ง
จะต้องมาจบชีวิตลงด้วยวัยเพียงแค่ 35 ปี
เสียวเกี้ยว ภรรยาของจิวยี่เป็นตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริง
ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก
เป็นบุตรีคนรองของเกียวก๊กโล
เป็นน้องสาวของไต้เกี้ยว ทั้งนางไต้เกี้ยวและเสียวเกี้ยว
ได้รับการกล่าวขวัญในเรื่องความงดงามไต้เกี้ยว ได้แต่งงานกับซุนเซ็ก แต่ต้องอาภัพเพราะแต่งได้
แค่เพียง 3 ปี ซุนเซ็กก็นำทัพบุกโจมตีเกงจิ๋ว
ที่สุดก็ถูกลูกเกาทัณฑ์ยิงตาย ไต้เกี้ยวต้องกลายเป็นม่ายตั้งแต่ยังสาว
ด้วยวัยเพียงแค่ 20 ปีเท่านั้น ส่วน เสียวเกี้ยว ผู้น้องวัย 16 ปี ได้แต่งงานกับจิวยี่
ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 24 ปี
เพราะความงามของ “เสียว-เกี้ยว” นี่เองกระมังที่นำหายนะมาสู่ทัพของโจโฉ!!!
ในปี ค.ศ.208 โจโฉอ้างคำสั่งของพระเจ้าเหี้ยนเต้ นำทหารกว่า 800,000 คน
และกองเรือกว่า 2,000 ลำ บุกง่อก๊กของซุนกวน หวังยึดครองดินแดนทั้งหมด
นอกเหนือจากหวังรวบรวมดินแดนจีนให้เป็นหนึ่งเดียวแล้ว
เนื้อแท้คือหวังครอบครองเสียวเกี้ยวสาวงามแห่งกังตั๋ง
ซุนกวนผู้ไม่เคยคิดจะรบกับโจโฉ!
เพราะรู้ดีว่ากองทัพมีกำลังน้อยกว่ามาก
การจะให้ซุนกวนร่วมรบก็ต้องโน้มน้าวจิวยีให้เห็นพ้องซะก่อน
ขงเบ้งผู้ชาญฉลาดจึงได้นำชื่อของเสียวเกี้ยวเข้ามาจุดชนวน
ทำให้จิวยี่โกรธแค้นประกาศไม่ขออยู่ร่วมแผ่นดิน
เดียวกับโจโฉ
นี่คือสาเหตุที่ทำให้ซุนกวนและจิวยี่ยอมร่วมมือ
กับเล่าปี่ตีทัพโจโฉที่ผาแดง
ศึกผาแดงครั้งนั้นทำให้ฝ่ายเล่าปี่และง่อก๊ก
ได้ครองดินแดนตอนใต้
และโจโฉครองดินแดนภาคเหนือ
แล้วประเทศจีนก็ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน
จนมีชื่อเรียกกันว่า “สามก๊ก”
เหตุใดสถานที่รบจึงเรียกว่าผาแดง?
“ชื่อปี้” หรือผาแดง ตั้งอยู่ห่างจากเมืองชื่อปี้ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 36 กิโลเมตร ริมฝั่งแม่น้ำแยงซีด้านใต้ ที่จริงแล้วชื่อเดิมคือเมือง “ผูฉี” อยู่ในมณฑลหูเป่ย เพิ่งได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “ชื่อปี้” เมื่อปี ค.ศ.1998 ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ในสงครามรบนั่นเอง
ได้มีโอกาสเข้าไปดูจุดที่ทัพพันธมิตรของซุนกวนและเล่าปี่ผนึกกำลัง
เข้าสู้รบกับทัพของโจโฉซึ่งนักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่า
เป็นบริเวณที่ตรงตามประวัติศาสตร์มากที่สุด สงครามครั้งนั้นทำให้หน้าผาแห่งนี้ปรากฏเป็นสีแดงเพลิง
จนได้รับการขนานนามว่า “ผาแดง” หรือชื่อปี้
ปัจจุบันผาแดงแห่งนี้ กำลังพัฒนาให้ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์มีสิ่งปลูกสร้างตามประวัติศาสตร์ เช่น แท่นเรียกลม หอบัญชาการรบ ฐานทัพของง่อก๊ก ส่วนอีกด้านหนึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อ สร้างเมืองจำลองของเล่าปี่ โดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ เริ่มสร้างเมื่อปี 2007 และมีกำหนดเสร็จในเดือนตุลาคม 2009
ส่วนด้านนอกขุดคลองล้อมรอบ เพื่อเตรียม พร้อมสำหรับการแสดงแสงสีเสียง ดึงดูดนักท่องเที่ยวในอนาคต พร้อมกับมีการสร้างรีสอร์ตที่พักรองรับนักท่องเที่ยว มีสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ภายในแบบครบวงจร
สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ต้องเอ่ยถึงเป็นอย่างยิ่งคือ “หวงเฮ่อโหลว”
หรือหอกระเรียนเหลือง บนเขางู (หรือเขาเสอซาน)
สัญลักษณ์ของเมืองอู่ฮั่น เป็น 1 ใน 3 หองามของเจียงหนาน
หอนี้สร้างในปี ค.ศ.223 ในยุคสมัย สามก๊กเช่นกัน มี 3 ชั้น สูง 92 ฟุต ส่วน ยอดทองเหลืองสูง 7 ฟุต รวมทั้งสิ้น 99 ฟุต
หอนี้ดำรงความสำคัญต่อเนื่องมาทุกราชวงศ์ มีการบูรณะปรับปรุงรวมทั้งก่อสร้างขึ้นใหม่หลายครั้ง
หอที่เห็นในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายเจดีย์ สูง 5 ชั้น
สร้างขึ้นใหม่ใน ค.ศ.1981 แล้วเสร็จใน ค.ศ.1985
ความสำคัญของหวงเฮ่อโหลว หรือหอกระเรียนเหลือง หาใช่อยู่ที่แค่ความงามเพียงอย่างเดียวไม่
หอกระเรียนเหลือง ซุนกวนเป็นผู้สร้างขึ้น ตั้งอยู่
ริมแม่น้ำฉางเจียงในเมืองอู่ชังทางด้านตะวันตก
จุดประสงค์หลักก็เพื่อใช้เป็นหอดูข้าศึก
แต่บางตำนานกล่าวว่า มีชายผู้หนึ่งอยู่ได้ด้วยการขายเหล้าเลี้ยงชีพ วันหนึ่งนักพรตเต้าหยินได้เข้ามานั่งดื่มเหล้าดับหนาว
ท้ายที่สุดไม่มีเงินจ่ายค่าเหล้า แต่ชายเจ้าของร้านก็ไม่เอาเรื่อง กลับให้เต้าหยินดื่มกินโดยไม่ต้องจ่ายเงินจนล่วงเวลา 1 ปีเต็ม
เต้าหยินได้มอบขลุ่ยให้เพื่อเป็นการตอบแทน พร้อมทั้งสอนวิธีเป่าขลุ่ยให้กับเจ้าของร้านเหล้าอีกด้วย ก่อนจากเต้าหยินได้หยิบเปลือกส้มที่ถูกทิ้งไว้บนพื้นดินขึ้น
มาวาดรูปนกกระเรียนบนกำแพง ด้วยสีของเปลือกส้ม
ทำให้นกกระเรียนมีสีเหลือง และนกกระเรียนเหล่านั้น
ก็กลายเป็นนกที่มีชีวิต โผบินออกมาจากกำแพง
เสมือนเชื้อเชิญแขกให้เข้ามานั่งดื่มเหล้า
นี่คือที่มาของหอกระเรียนเหลือง
ซึ่งความจริงนกกระเรียนมีแค่เพียงสีขาวและสีเทาเท่านั้น
ปัจจุบันด้านใน ได้ใช้เป็นที่จัดแสดงงานเขียนอักษรจีน
และภาพวาดจิตรกรรมอันงดงาม รวมถึงบทกวีอันโด่งดังของหลี่ไป๋ เมื่อมองออกไปจากบริเวณหอกระเรียนเหลือง
จะแลเห็นสะพานฉางต้าเฉียว ที่เชื่อมทางทิศเหนือใต้
ข้ามผ่านแม่น้ำฉางเจียงที่ยาวถึง 1,156 เมตร
เพื่อรองรับทั้งเส้นทางเดินรถและเส้นทางรถไฟ ที่นี่ไม่ใช่แค่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์สมัยสามก๊กเท่านั้น หากแต่ยังกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางเศรษฐกิจจนถึงยุคปัจจุบัน.