Custom Search

Mar 26, 2009

กอดทองคำไว้กับบ้าน


วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชน
วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552

วิกฤต ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมที่ขาดเหตุขาดผลอย่างผิดปกติ
จนทำให้เกิดวิกฤตแก่ตนเอง หนักยิ่งขึ้น
ผมกำลังพูดถึงวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้
ที่คนอเมริกันจำนวนไม่น้อยกำลังมี
พฤติกรรมเกี่ยวกับทองคำที่แปลกประหลาดจนอาจเป็นอันตรายแก่ตนเองได้
ทองคำ เป็นสิ่งมีค่าที่มนุษย์เชื่อถือมาไม่ต่ำกว่า 4,000-5,000 ปี
จนอาจเป็นโลหะชนิดแรกที่มนุษย์ใช้ในการประดับและประกอบพิธีกรรม
คำจารึกอียิปต์ในพีระมิดบันทึกไว้ชัดเจนถึงความสำคัญ
และเราก็ได้เห็นสิ่งงดงามที่ทำด้วยทองคำในหลุมฝังศพโบราณ
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันจีนก็ ผลิตเหรียญทองคำสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า Ying Yuan
และชาวโรมันก็รู้จักวิธีสกัดทองคำจากสินแร่จนผลิตได้เป็นกอบเป็นกำ
และตลอดประวัติศาสตร์ทองคำเป็นตัวแทนของความมั่งคั่งเพราะเป็นสิ่งที่ทุกคน
พร้อมใจยินดีรับเป็นตัวแทนของอาหาร หนี้สิน สิ่งตอบแทน ค่าจ้าง ฯลฯ
เชื่อกันว่าทองคำที่ผลิตกันออกมาทั่วโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
หากรวมกัน ทั้งหมดแล้วก็จะมีขนาดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมกว้างยาวและสูง 20.2 เมตร
หนัก 158,000 ตัน ทองคำมีความอัศจรรย์อย่างหนึ่งคือ
มีลักษณะกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneous)
ในคุณภาพซึ่งต่างจากโลหะ หรือเพชร หรืออัญมณีอื่นๆ
ซึ่งมีคุณภาพแตกต่างกันมากตั้งแต่ ค.ศ.1880 เป็นต้นมา
ประเทศแอฟริกาใต้เป็นแหล่งผลิตทองคำที่ใหญ่สุดของโลก
ร้อยละ 50 ของทองคำทั้งหมดที่ผลิตกันออกมามีที่มาจากแอฟริกาใต้
(ในปี 1970 ผลผลิตจากแอฟริกาใต้สูงถึง 1,000 ตัน
ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 79 ของผลผลิตโลก)
ในปี 2007 ผลผลิตของแอฟริกาใต้มีประมาณ 272 ตัน
จึงถูกแซงโดยจีนที่ผลิตได้ 276 ตัน
การแซงหน้าครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีประเทศอื่นแย่งการเป็นแชมป์
ผลิตทองคำของโลกไปนับตั้งแต่ ค.ศ.1905 เป็นต้นมา
ผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ในโลกปัจจุบันคือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย เปรู
(เหมืองในรัฐเนวาดา และเซาท์ดาโกตา ของสหรัฐอเมริกา
สัพพลาย 2 ใน 3 ของทองคำที่ใช้กันในสหรัฐอเมริกา)
มีผู้พยายามผลิตทองคำจากน้ำทะเล
แต่ยังไม่สำเร็จเนื่องจากมีเนื้อทองคำอยู่ต่ำมากคือ (1-2 ส่วนต่อ 10 พันล้านส่วน)
ในขณะที่เหมืองทองคำบนดินมีเนื้อทองคำต่ำสุดคือ 5,000 ส่วนต่อ 10 พันล้านส่วน
หรือครึ่งกรัมต่อน้ำหนักหินที่ขุด 1,000 กิโลกรัมทองคำ
เป็นสินแร่ที่ขาดแคลนเพราะมีผู้ต้องการใช้มากกว่ามีให้ใช้
ดีมานด์ของทองคำพุ่งสูงขึ้นเมื่อจีนและอินเดียมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นมาก
และในประเทศเหล่านี้ทองคำเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีและวัฒนธรรม
วิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2008
ทำให้เกิดความไม่แน่นอนจนช่วยผลักให้ความต้องการทองคำพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก
ราคาทองคำจึงสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งว่ากันว่าต้นทุนโดยเฉลี่ยของ
ทองคำจากการขุดและสกัดออกมาเป็นเนื้อทองอยู่ที่
ประมาณ 238 เหรียญสหรัฐต่อทรอยเอาซ์
(หน่วยของทองคำโดย 1 ทรอยเอาซ์ หนัก 31.1034768 กรัม
ดังนั้น 1 บาทของทองไทยจึงหนัก 0.4887 ทรอยเอาซ์)
แต่ก็ผันแปรพอควรโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของเหมืองและคุณภาพของสินแร่
อย่างไรก็ดี ราคาของทองคำปัจจุบันขึ้นไปใกล้ 1,000 เหรียญต่อทรอยเอาซ์
หรือประมาณเกือบ 16,000 บาทต่อหนึ่งบาทนับตั้งแต่ปี 1968 เป็นต้นมา
ทองคำมีราคาผันแปรอย่างมาก ต่ำสุดคือ 252.90 เหรียญต่อทรอยเอาซ์
ในปี 1999 ขึ้นไปถึง 850 เหรียญในปี 1980 และขึ้นไปสูงกว่า 1,000 เหรียญ
ในเดือนมีนาคม 2008ในสภาพการณ์
เศรษฐกิจปั่นป่วนทั่วโลกโดยมีสาเหตุมาจากการขาดธรรมาภิบาลของ
investment bankers ในสหรัฐอเมริกา
และการขาดการควบคุมกำกับดูแลที่ดีของทางการสหรัฐอเมริกาตลอด
จนความโลภโมโทสันของมนุษย์ทั่วโลกและความไม่รู้ว่าตนเองไม่รู้ (ignorance)
ในเรื่องการลงทุนใน ตราสารหนี้แบบใหม่ๆ
คนอเมริกันจำนวนมากเกิดความไม่ไว้วางใจสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
ไม่ไว้วางใจภาครัฐ ไม่ไว้วางใจธนาคาร ฯลฯผู้ซื้อทองคำแท่งและเหรียญ
ที่เป็นตัวแทนของความมั่งคั่งต่างๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ลงทุนในทองคำ
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ นักเก็งกำไร (speculators)
และนักเก็บ (hoarders) ประเภทแรกซื้อขายแบบปกติและในตลาดล่วงหน้า
ปัจจุบันประกอบธุรกรรมกันบนจอคอมพิวเตอร์ ไม่มีการถือครองทองคำจริง
พวกนี้หวังสร้างกำไรระยะสั้น ส่วนประเภทหลังต้องการทองคำของจริง
เพื่อเก็บไว้หากมีปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้น
ในอนาคตอันใกล้ปัจจุบัน "นักเก็บ" ประเภทหลังมีจำนวนมากขึ้นทุกที
เพราะไม่ไว้วางใจสถานการณ์ พวกเขาเชื่อว่า
โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโอบามาจะทำให้เกิดเงินเฟ้อ รุนแรง
หากถือทองคำไว้ก็จะไม่เจ็บตัวเพราะราคาจะปรับตัวตามเงินเฟ้อ
และหากการแก้ไขปัญหาล้มเหลว อย่างไรเสียก็ไม่หนีต้องพึ่งพาทองคำอีกที่
เลวร้ายกว่านี้ก็คือพวกเขาไม่ไว้ใจธนาคาร กลัวการลักขโมย
(ค่าเช่าเซฟธนาคารก็มีราคาสูงและหากประกันอีกก็จะสิ้นเปลืองเงินมาก)
กลัวการฉ้อฉลโดยธนาคารและ CEO (ตัวอย่างมีให้เห็นมากมาย)
กลัวว่าหากธนาคารมีปัญหาจะสกัดกั้นไม่ให้เขาเปิดตู้เซฟเอาทองคำออกมาได้ ฯลฯ
ทางออก ก็คือเอามาเก็บไว้ที่บ้านเพื่อความอุ่นใจ
ผู้คนจำนวนมากซื้อตู้เซฟมาเก็บทองคำแท่งและเหรียญจนตู้เซฟขายดีมาก
(บริษัทขายตู้เซฟโฆษณาว่า "มันเป็นธนาคารที่ไม่มีวันปิด")
โดยไม่สนใจที่จะเช่าตู้เซฟของธนาคารไว้เก็บทองคำและของมีค่า
ปรากฏการณ์ นี้ชี้ให้เห็นถึงความไม่ไว้วางใจของคนอเมริกันที่มีต่อสถาบันต่างๆ
ไม่หวังพึ่งคนอื่นนอกจากตนเอง เพราะมีบทเรียนที่เจ็บปวดให้เห็นตำตา
อย่างไรก็ดี สิ่งที่คนอเมริกันเหลานี้ไม่รู้จักก็คือ "กลุ่มไอ้หมูสกปรก"
ที่เจาะเซฟในประเทศไทยได้เงินไปนับร้อยๆ ล้านบาท
(น่าสงสัยอย่าง ยิ่งว่า
(ก) ทำไมคนบางคนจึงรวยกันได้ถึงขนาดนั้น
(ข) ทำไมจึงเก็บเงินสดไว้นับสิบๆ ล้านบาท โดยไม่หวังผลตอบแทนจากดอกเบี้ย? และ
(ค) เงินเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไรและมีการเสียภาษีกันครบถ้วนหรือไม่?
ถ้าเป็นบางประเทศ ป่านนี้สรรพากรตรวจสอบกันสนุกไปแล้ว)
ไม่หวังพึ่งใครและไม่ไว้วางใจคนอื่นก็ดีอยู่หรอก
แต่การกอดทองคำมูลค่ามากๆ ไว้กับบ้านก็เท่ากับ
เป็นการเชื้อเชิญอาชญากรเข้าบ้านโดยแท้
หน้า 6