เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Mar 11, 2009
แก้ลำ! โจรเอทีเอ็ม ใช้ชิพแทนแม่เหล็ก
สกู๊ปหน้า 1
ไทยรัฐ
12 มี.ค. 52
ยุคเทคโนโลยีติดจรวด เอทีเอ็ม นอกจากจะเป็นตู้กดเงินได้แล้ว ยังเป็นภัยสำคัญ กลายเป็นตู้ดูดเงินให้กลุ่มมิจฉาชีพ
หลายครั้งหลายครามีข่าวเตือนให้ระวัง...โจรไฮเทคดูดรหัส
ไม่ว่าจะเป็นบัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต ด้วยเครื่องมือทันสมัย
นำไปถอนเงินจนเกลี้ยงบัญชี
จับตาวิธีไฮเทค...หลักๆแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ
แบบแรก แอบติดตั้งกล้องขนาดจิ๋วซ่อนไว้ในจุดที่คาดไม่ถึง อาทิ
กล่องใส่เอกสารบริการต่างๆ เมื่อลูกค้าเข้าไปกดบัตรเอทีเอ็ม
กล้องจะบันทึกการกดรหัสเอาไว้
จากนั้นเป็นขั้นตอนต่อไป ที่จะต้องขโมยข้อมูลในบัตรให้ได้ด้วย
การใช้เครื่องสแกนอ่านค่าในบัตรไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ
หรือใช้กลยุทธ์อื่นๆเพื่อให้ได้ข้อมูลมาทั้งหมด
แบบที่สอง จะมีการสร้างเครื่องอ่านรหัสบัตรเอทีเอ็ม
และเอาไปสวมไว้ที่ช่องเสียบบัตร โดยตกแต่งหน้าตาให้
เหมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของที่เสียบบัตร เมื่อลูกค้าเอาบัตรมาถอนเงิน
เครื่องก็จะอ่านค่าทั้งหมดในบัตร เก็บเอาไว้อีกเช่นกัน
สนนราคาเครื่องดูดรหัส...ไม่กี่พันบาท หาซื้อได้ในมาเลเซีย
เทคนิคนี้ เรียกว่า สกิมมิ่ง คือการที่คนร้ายลักลอบใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก
สำหรับอ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็กบนตัวบัตร
เพื่อคัดลอกข้อมูลส่วนตัวที่บันทึกในแถบแม่เหล็กบนบัตรเครดิต
บัตรเดบิต หรือบัตรเอทีเอ็ม จากนั้นจึงถ่ายโอนข้อมูลเหล่านั้นลงในบัตรปลอม
เมื่อได้รหัสข้อมูลบัตรทั้งหมดแล้ว ก็จะเอารหัสทั้งหมดไปถ่ายโอนทำเป็นบัตรปลอม
นำไปถอนเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในบัญชีเงินฝากได้ทันที
ประเด็นสำคัญ การโจรกรรมข้อมูลเอทีเอ็มแบบนี้ ถ้าผู้ใช้บริการไม่สังเกตให้ดีๆ
จะไม่รู้เลยว่า อุปกรณ์ต่อพ่วงที่เสริมเข้ามาเป็นกลลวงของขบวนการขโมยข้อมูลบัตร
ที่สำคัญอีกอย่าง...ตู้เอทีเอ็ม ไม่สามารถเช็กได้ว่า
บัตรเอทีเอ็มที่สอดเข้าไปถอนเงินเป็นบัตรจริง...บัตรปลอม
ราวปีที่แล้ว ข้อมูลที่ถูกโพสต์ส่งต่อกันในอินเตอร์เน็ต
เกิดขึ้นกับตู้เอทีเอ็มค่ายสีเหลือง เป็นรูปแบบการโจรกรรมที่ถือว่าแนบเนียนมากที่สุด
จนผู้อ่านหลายคนแสดงความเห็นว่า...ไม่น่าเชื่อจะเกิดขึ้นได้
โปรดทราบ! เวลากดเงินที่ตู้เอทีเอ็ม กรุณาสังเกตแป้นพิมพ์
และช่องที่เสียบบัตรเอทีเอ็มด้วย ถ้าผิดปกติเหมือนมีอะไรครอบอยู่
อย่ากดเงินเด็ดขาด ไม่อย่างนั้น บัญชีท่านอาจจะถูกลักลอบถอนเงินได้
อุปกรณ์ที่กลุ่มมิจฉาชีพเพิ่มเข้าไปในตู้เอทีเอ็ม
ทำเพื่อขโมยข้อมูลจากบัตรผู้ที่มาใช้บริการ...
นำมาทำสำเนาใช้เบิกเงินภายหลัง
วิธีนี้เจ้าของบัญชี เจ้าของเงินจะถูกขโมยเงินจากบัญชี
โดยที่เจ้าของบัญชีไม่ได้เป็นผู้เบิก และสูญเงินโดยไม่รู้ตัว
วิธีการที่น่าสนใจ ใช้หลักการเดิม ดักจับรหัส
คัดลอกข้อมูลโดยใช้เครื่องบันทึกแถบแม่เหล็ก
เพียงแต่ว่าการดักจับรหัสไม่ได้ใช้กล้อง
แต่ใช้แป้นที่สอดทับไว้กับปุ่มกดรหัสตัวจริงของตู้เอทีเอ็ม
ส่วนข้อมูลต่างๆ เมื่อบัตรเอทีเอ็มถูกสอดเข้าไป
สกิมเมอร์ที่ทำเลียนแบบที่ติดเสริมตรงช่องเสียบบัตรของจริง
ก็จะบันทึกข้อมูลบัตรที่อยู่ในแถบแม่เหล็กทันที
ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับบัตรเอทีเอ็ม
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปี 2549 มีรายงานการโจรกรรมเกี่ยวกับบัตรเอทีเอ็ม
เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับสถิติในปี 2548
รวมมูลค่าความเสียหายเกือบ 100 ล้านบาท
เทคโนโลยีโจรกรรมรหัสข้อมูล พัฒนาไกลไปถึงขั้นใช้เครื่องสกิมเมอร์
รวมถึงมีการใช้กล้องวงจรปิด ร่วมแอบดูตามตู้เอทีเอ็ม เพื่อช่วยโจรกรรม
ถึงขั้นการปลอมแปลงบัตรแต่ละใบ เดิมทีใช้เวลานานนับเดือน
แต่ในวันนี้...ใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น
ถ้าเอาแบบง่ายๆ โจรกรรมกันแบบซึ่งหน้าขึ้นมาหน่อย
แต่จุดหมายปลายทางยังเหมือนเดิม มิจฉาชีพจะพยายามหลอกล่อเหยื่อทุกวิถีทาง
เพื่อขอดูบัตรเอทีเอ็ม
ทำทีเป็นให้ความช่วยเหลือ หรือขอความช่วยเหลือเหยื่อ
เมื่อเหยื่อตายใจส่งบัตรให้ ก็จะใช้สกิมเมอร์ขนาดเล็ก
ดูดข้อมูลบัตรออกไปทั้งหมดได้ ภายในเวลาไม่ถึงนาที
กรณีนี้ ผู้ร่วมขบวนการไม่ได้ติดตั้งสกิมเมอร์ไว้กับตู้เอทีเอ็ม
แต่เอาเครื่องไว้กับตัว เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับเด็กปั๊มย่านถนนแจ้งวัฒนะ
ที่รับจ้างดูดข้อมูลบัตรลูกค้าที่มาเติมน้ำมันหัวละ 300 บาท
แทบทุกคนอาจคิดไม่ถึงว่า คนร้ายจะลงทุนทำบัตรปลอม
สารพัดธนาคารไว้แล้วทำทีเป็นผู้หวังดี
แต่ประสงค์ร้ายเข้ามาช่วยเหลือในกรณีบัตรของคุณมีปัญหากับตู้เอทีเอ็ม
ซึ่งคนร้ายอาจจงใจ...ทำให้เกิดปัญหาไว้แล้วล่วงหน้า
การเข้ามาช่วยเหลือก็แสดงวิธีการใช้ พร้อมทั้งจดจำรหัสผ่านบัตรเอทีเอ็มของเหยื่อไว้
พอเหยื่อเผลอ ก็นำบัตรปลอมที่เตรียมไว้มาคืน แล้วโจรกลุ่มนี้ก็เก็บบัตรจริงไว้กดเงิน
ข้อแนะนำป้องกันภัยขโมยข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม
ข้อแรก ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น อย่ามอบบัตรเอทีเอ็มให้คนแปลกหน้าเด็ดขาด
ข้อต่อมา อย่าให้ใครมองเห็นมือขณะกดรหัสเอทีเอ็ม
ควรใช้มืออีกข้างหรือตัวบังไว้ หากรู้สึกว่าคนที่ยืนต่อคิวอยู่ข้างหลังขยับเข้ามาชิดมากเกินไป
ก็อย่า เกรงใจที่จะขอให้ช่วยถอยห่างออกไป
กรณีบัตรเอทีเอ็มติดอยู่ในตู้ให้แจ้งธนาคารทันที อย่าทิ้งบัตรไว้ในเครื่อง
โดยไม่ทำอะไรเลย วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือใช้โทรศัพท์ติดต่อธนาคารเพื่อแจ้งอายัดบัตร
ข้อที่สาม อย่ารับความช่วยเหลือจากคนที่อาสานำบัตรที่ติดอยู่ในเครื่องเอทีเอ็มออกให้
และอย่ากดรหัสเอทีเอ็ม ต่อหน้าบุคคลอื่นเมื่อบัตรติดอยู่ในเครื่อง
แต่ให้แจ้งธนาคารผู้ออกบัตรทันที
ข้อที่สี่ เมื่อทำรายการเสร็จแล้ว ให้เก็บสลิปไว้และทำลายทิ้งในที่ปลอดภัย
เพราะมิจฉาชีพบางกลุ่มในยุคนี้ มีความสามารถสูงพอที่จะใช้ข้อมูลในสลิป
เอาไปเจาะระบบ เข้าถึงข้อมูลและเงินในบัญชีของคุณได้
ข้อสุดท้าย ที่ลืมไม่ได้ ควรสังเกตตู้เอทีเอ็มว่ามีอุปกรณ์ที่ติดตั้งแบบผิดปกติ
ไม่ชินตาบ้างหรือเปล่า ถ้าไม่แน่ใจก็ให้เลี่ยงไปใช้ตู้ที่มั่นใจว่าปลอดภัยที่สุด
การโจรกรรมข้อมูล รหัสบัตรเอทีเอ็มความสูญเสียไม่มากเกินกว่าเงินในบัญชี
แต่ถ้าเป็นบัตรเครดิต ความสูญเสียจะมีมากกว่าเป็นเท่าทวีคูณ
ที่ผ่านมาการทุจริตผ่านบัตรเครดิต เป็นปัญหาที่ขยายวงกว้างขึ้นทั่วโลก
วิธีที่พบบ่อยที่สุดในเมืองไทย คือการปลอมบัตร การแอบอ้างเป็นผู้ถือบัตรจริง
รวมถึงการคัดลอกข้อมูลจากบัตรหรือที่เรียกว่า สกิมมิ่ง (Skimming)
เช่นเดียวกับการโจรกรรมบัตรเอทีเอ็ม
ปัญหามีว่า บัตรเครดิตไม่จำเป็นต้องขโมยรหัสก็นำไปรูดใช้จ่ายได้อย่างอิสระ
ความเสียหายจึงมีมากกว่า การโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต
วิธีการจึงซับซ้อนน้อยกว่า
คนร้ายสามารถปลอมบัตรขึ้นมาโดยบรรจุเอาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือบัตรที่ได้มา
อย่างผิดกฎหมาย จากแหล่งต่างๆ เช่น สลิปบัตร สแปมเมล
หรืออีเมลที่ส่งมาแบบสุ่ม เพื่อหวังข้อมูลบัตรเครดิตของผู้รับ
หรือไม่ก็ส่งผ่านมาทางเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย
โดยคนร้ายที่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร
อาจใช้ข้อมูลที่ขโมยมา เพื่อซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตหรือทางโทรศัพท์
บทสรุป การโจรกรรมข้อมูลบัตรแถบแม่เหล็กของธนาคารด้วย
เครื่องสกิมเมอร์เกิดขึ้นมานานแล้ว เพราะเงินออกจากตู้เอทีเอ็มเท่านั้น
วันเวลาผ่านไป เมื่อธนาคารพัฒนาบัตรเดบิตใช้แทนเงินสดขึ้นมา
นำไปรูดซื้อของได้ทันที โดยไม่ต้องใช้รหัสเอทีเอ็ม
ก็ไม่จำเป็นต้องขโมยรหัสกันอีกต่อไป
เพียงแค่ก๊อบปี้ข้อมูลจากแถบแม่เหล็กให้ได้
เอาไปทำบัตรปลอมก็พอ
บัตรปลอมไม่จำเป็นต้องทำให้เหมือน เลขนูนก็ไม่ต้องทำ เพราะบัตรแท้ไม่ทำ
โจรจะเอาไปซื้อมือถือ ซื้อของในห้าง จะมีแคชเชียร์สักกี่คน
ที่ตรวจสอบเลขบนบัตรกับเลขบัตรในสลิปอย่างละเอียด
แทนที่จะป้องกันให้ขโมยเงินยากขึ้น กลับอำนวยความสะดวกให้โจรมากขึ้น
เกิดอะไรขึ้นมาก็ให้ลูกค้ารอคืนเงินข้ามเดือน
ข้อเสนอทิ้งท้าย...มีข้อเดียว จะแก้ปัญหาโจรสกิมมิ่งได้อย่างมั่นใจ
คงต้องเปลี่ยนระบบการเก็บข้อมูลบัตรจากการใช้แถบแม่เหล็กมาเป็นชิพ.
การ์ตูน ชัย ราชวัตร 07/06/52