เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Mar 8, 2009
สร้างความดีเป็นทุนเดิม
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2552
สูตรแห่งความสำเร็จในชีวิตประการหนึ่งในจำนวน ๓๘ ประการ
คือ ปุพฺเพกตปุญฺญตา
ซึ่งขออธิบายไว้ให้เข้าใจง่ายๆ
ดังนี้มาว่าถึงความหมายของคำก่อน ปุพฺเพ แปลว่า ปางก่อน + กต
แปลว่า กระทำแล้ว + ปุญฺญตา แปลว่า ความมีบุญ
ดังนั้น "ปุพฺเพกตปุญฺญตา ก็แปลว่า ความมีบุญอันกระทำไว้แล้วในปางก่อน"
หรือ "มีความดีเป็นทุนเดิม"ความดีงามที่เคยสะสมไว้ในจิตใจของเรามากๆ
เป็นพื้นฐานเกื้อหนุนให้เราเจริญก้าวหน้าในชีวิต พูดเช่นนี้บางท่านอาจสงสัยว่า
ถ้าคนเราสะสมความดีงามแต่ชาติปางก่อนได้จริง
ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรในชาตินี้สิ เช่น คนเก่งภาษาบาลีในชาติก่อน
มาชาตินี้ก็ไม่จำเป็นต้องมาเรียนให้เมื่อยอยู่ๆ ความรู้บาลีก็คงผุดขึ้นมาเอง
แต่คนอย่างนี้ไม่เคยมีปรากฏถ้าไม่คิดให้ลึกก็ไม่เข้าใจ
ขอยกตัวอย่างทางรูปธรรมให้เห็นเพื่อเข้าใจง่าย ดูร่างกายเรานี่เป็นตัวอย่าง
เรากินอาหารสารพัดวันละหลายมื้อ กินมาตั้งหลายสิบปีแล้ว หมูเห็ดเป็ดไก่
ทั้งมังสวิรัติ ไม่มังสวิรัติว่ากันเรียบวุธ หมดเปลืองเงินทอง
เพราะการกินเป็นจำนวนมากนี้เรียกว่าร่างกาย "สะสม"
อาหารถ้ามีคนถามว่า เมื่อร่างกายมันสะสมอาหารเช่นนี้แล้ว
เราจะกินอีกทำไม ท่านจะตอบอย่างไร ก็ต้องตอบว่า มันสะสมอาหารจริง
แต่มิใช่สะสมไว้ทั้งดุ้น อาหารที่กินลงไปมันได้ถูกย่อยไปหล่อเลี้ยงร่างกาย
กลับกลายเป็นเนื้อหนังมังสาไปหมดแล้ว ถ้าเราไม่กินอาหารอย่างต่อเนื่อง
ร่างกายก็จะหมดการสะสม ไม่เจริญเติบโต อาจถึงตายได้ฉันใดก็ฉันนั้น
จิตใจเราก็ "สะสม" ความดีงามไว้เป็นคุณสมบัติ
สะสมไว้มากเท่าใดก็จะเก็บกักตุนไว้ "เป็นทุนเดิม" มากเท่านั้น
เมื่อมีทุนเดิมแห่งความดีในจิตใจมากๆ ก็จะเกื้อหนุนส่งเสริมให้คนๆ
นั้นประสบความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตได้
ใครได้เคยสะสมความดีไว้มากน้อยแค่ไหนในอดีตชาติเรารู้ไม่ได้
เพราะเรื่องของบุญกรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งเกินสติปัญญาของคนธรรมดาจะรู้ได้
แต่เราก็เห็นอยู่ในชีวิตเราๆ ท่านๆ นี่เองว่า
ผลแห่งความดีที่กระทำไว้มีจริงย่ำโคลนขี้ควายมาด้วยกัน
ไปๆ มาๆ กลายเป็นรัฐมนตรีไปแล้ว
ในขณะที่อีกหลายคนยังคงหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินอยู่เหมือนเดิม
เณรน้อยหัวขี้กลากอยู่บ้านนอกเมื่อหลายสิบปีก่อน
เผลอๆ อ้าว! กลายเป็นสมเด็จพระราชาคณะ
เป็นที่เคารพนับถือของคนจำนวนมากไปแล้ว
อะไรล่ะครับที่ทำให้สองคนที่กล่าวมานี้ประสบความสำเร็จถึงระดับนี้
ถ้ามิใช่เพราะมี "บุญเก่า"
เป็นทุนเดิมคอยหนุนที่พระพุทธเจ้าทรงวางสูตรแห่งความสำเร็จในชีวิต
ข้อนี้ไว้ข้อหนึ่งในจำนวน ๓๘ ข้อ
คงมิใช่ให้มานั่งฝันถึงความหลังว่าชาติก่อนเราได้ทำบุญมากน้อยแค่ไหน
(เพราะมันผ่านไปแล้วช่วยอะไรไม่ได้)
แต่คงจะมุ่งหมายให้เราเชื่อมั่นว่า ความดีเป็นพื้นฐานช่วยให้คนเจริญสุขจริง
ความดีนั้นสะสมได้จริง สักวันหนึ่งความดีที่สะสมไว้นี้
จะช่วยเกื้อหนุนส่งเสริมเราได้จริงคนที่เชื่อเช่นนี้แล้ว
จะไม่งอมืองอเท้าคอยกินบุญเก่ามีแต่จะพยายามสร้างความดีต่อไป
เมื่อครั้งผมเป็นสามเณรอยู่กับหลวงพ่อเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดทองนพคุณ
(สมณศักดิ์ท่านสมัยนั้น คือ พระกิตติสารโศภน)
มีคหบดีท่านหนึ่งนำพระสุโขทัยสวยงามมากองค์หนึ่งมาถวายท่าน
บอกว่า ตั้งแต่ได้พระองค์นี้มาคนในบ้านไม่สบายกันบ่อย
หมอเข้าทรงบอกว่าให้นำพระไปถวายวัดเสียเมื่อเขาไปแล้วหลวงพ่อพูดว่า
พระพุทธรูปนั้นดีทุกองค์ แต่ที่อยู่กับเขาไม่ได้
เพราะเขาไม่มีความดีพอที่จะรองรับ บุญไม่ถึงที่จะได้ของดีเป็นสิริมงคลมาอยู่ด้วย
มันก็มีอันให้ร้อนใจอย่างนี้แหละ"คงไม่เคยไหว้พระสวดมนต์
ทำบุญทำกุศลอะไรเลย พระท่านจึงไม่อยู่ด้วย"
หลวงพ่อสรุปอยากได้เพชรมาทำแหวน ก็ต้องหาเรือนแหวนมารองรับเพชร
และเรือนก็ต้องสวยงามมีค่าพอที่จะรองรับเพชรเม็ดโตได้ฉันใด
อยากมีความสุขความเจริญ ก็ต้องมีความดีที่สะสมอบรมไว้
เป็นฐานรองรับหรือเกื้อหนุนส่งเสริมให้เจริญฉันนั้น
ไม่ใช่อยู่ๆ จะให้เจริญก้าวหน้าโดยไม่เคยทำอะไรไว้เลย
ย่อมเป็นไปไม่ได้ถึงมี "บุญหล่นทับ" ก็รักษาไว้ไม่ได้
ดังที่ชาวบ้านเรียกว่า วาสนาบารมีไม่ถึง ดังนิทานจะเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้
ณ เทวาลัยนอกเมืองพาราณสี มีไก่หลายตัวอาศัยอยู่
คืนวันหนึ่งไก่สองตัวทะเลาะกัน
สาเหตุมาจากตัวที่นอนอยู่ข้างบนขี้ใส่หัวตัวที่นอนอยู่ข้างล่าง
"ไอ้ตัวไหนขี้รดหัวกูวะ" ตัวอยู่ข้างล่างตะโกนด่า
"ทานโทษไม่ทันเห็น นึกว่าไม่มีใครอยู่ข้างล่าง แต่ไม่เป็นไรดอก
ขี้ฉันไม่ใช่ขี้ธรรมดานะ" ตัวอยู่บนพูดยวนทำให้ตัวข้างล่างโมโหหนักขึ้น
"เอ็งรู้ไว้เสียด้วย ถ้าใครได้กินข้า จะได้กหาปณะพันหนึ่งในวันนี้ทันที"
ไก่ตัวล่างตะโกนอวด
"กระจอก รู้ไว้เสียด้วย ถ้าใครได้กินเนื้อสันของข้า จะได้เป็นพระราชา
ใครกินเนื้อติดหนังจะได้เป็นเสนาบดี ถ้าเป็นหญิงจะได้เป็นมเหสี
ถ้าใครกินเนื้อติดกระดูกจะได้เป็นขุนคลัง
ถ้าเป็นพระจะได้เป็นพระอาจารย์พระเจ้าแผ่นดิน
เห็นหรือยังว่าข้าแน่ขนาดไหน"
ไก่ตัวบนคุยทับคนหาฟืนที่หลบมานอนอยู่ใกล้เทวาลัยได้ยินเข้า
จึงแอบเอาไก่ตัวบนไปฆ่าย่างอย่างดี
ชวนภรรยาไปอาบน้ำชำระร่างกายก่อนกินไก่
อาบน้ำพลางครึ้มอกครึ้มใจที่จะได้เป็นพระราชามหากษัตริย์
ขณะนั้นเอง ถาดใส่ไก่ย่างถูกลมพัดแรงลงแม่น้ำลอยไปตามกระแสน้ำ
สองสามีภรรยาเลยชวดกินนายควาญช้างอาบน้ำให้ช้างอยู่ทางใต้น้ำ
เห็นเข้าจึงนำไปให้ภรรยาที่บ้าน
ดาบสผู้คุ้นเคยกับควาญช้างรู้เห็นเหตุการณ์ล่วงหน้า
ได้ไปยังบ้านควาญช้างพอดี เขาจึงนำไก่ย่างตัวนั้นไปถวายดาบส
ดาบสฉันเนื้อติดกระดูก แบ่งเนื้อสันให้นายควาญช้าง
และเนื้อติดหนังให้ภรรยานายควาญช้าง กล่าวเป็นปริศนาว่า
โยมทั้งสองจะโชคดีในไม่ช้านี้ แล้วลากลับสามวันต่อมา
มีข้าศึกมาล้อมเมืองพาราณสี พระราชาทรงคิดพิสดารอะไรไม่รู้
คือ ทรงให้นายควาญช้างแต่งกายเป็นพระองค์
ส่วนพระองค์แต่งตัวเป็นทหารแล้วออกรบ สิ้นพระชนม์ในสนามรบ
พอสงครามสงบ เหล่าเสนาอำมาตย์และประชาชน
ได้ยกนายควาญช้างขึ้นเป็นพระราชาปกครองประเทศ
สืบแทนองค์ก่อนตำแหน่งใหญ่โตรออยู่ข้างหน้า
คนหาฟืนแกอดได้เป็น อย่างนี้ทางพระท่านเรียกว่า
ไม่มีปุพฺเพกตปุญฺญตา ครับ
หน้า 9