คอลัมน์ แท็งค์ความคิด
นฤตย์ เสกธีระ
มติชน
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552
ภาพ: I_AM_SUD_YOD
สัญญากับครอบครัวเอาไว้ว่า จะหาเวลาว่าง
พาไปเที่ยวชมหิ่งห้อย ณ อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
กันผัดวันประกันพรุ่งกันมาหลายครั้ง
กระทั่งสัปดาห์ที่แล้ว จึงมีโอกาสได้ทำตามสัญญา
ห้าชีวิตขับรถฝ่าแดดมุ่งตรงไปอัมพวาช่วงบ่ายๆ วันศุกร์
ใช้เวลาไม่นานก็ถึงเป้าหมาย"โฮมสเตย์ชื่อ
"บ้านแม่อารมณ์" คือที่พักของพวกเรา"
ที่นั่นเป็นบ้านริมน้ำ เจ้าของเป็นลูกๆรวม 7 คนของคุณแม่อารมณ์
แต่ละคนมีงานมีการทำแล้วล่ะครับ
แต่เปิดบ้านแม่เป็นโฮมสเตย์เพื่อรวมตัวพี่น้องทั้ง 7
ให้แวะมาเจอะเจอหน้าค่าตากันบ้าง
"บ้านแห่งนี้ได้จดทะเบียนเป็นมรดกแห่งเอเชียไปเมื่อปี 2551"
ดังนั้น ใครที่เข้ามาแวะพักที่บ้านแห่งนี้ต้อง "ปรับตัวเข้าหาบ้าน"
พวกเราเลยทำตัวเป็นเหมือนเจ้าของบ้านหิวน้ำก็ไปกดน้ำกินกันเอง
อยากกินโอวัลติน-ชา-กาแฟ ก็ต้องเดินไปชง และหยอดเงินในกระปุก
หากใครหิวข้าวตอนกลางดึก มีมาม่า ไวไว โจ๊ก ไว้บริการ"แต่ต้องมาทำเอง
ไม่มีบริกรให้บริการ"เสร็จแล้วก็หยอดเงินใส่ตู้ตกเย็นมีตลาดน้ำยามบ่ายของอัมพวา
เปิดบริการชาวบ้านพายเรือมาขายอาหาร ขนม น้ำ และอื่นๆ ราคาสุดถูก
ก๋วยเตี๋ยว-ข้าว จานละ 10 บาท มะพร้าวสวนหวานชื่นใจลูกละ 10-15 บาท
ราคาถูกๆ แบบนี้ ทำให้ต้องจดจำเอาไว้ว่า
มาคราวหน้า
อย่าพก"แบงก์ใหญ่" แตก "แบงก์ยี่สิบ"
หรือพกเหรียญสิบมาเยอะๆ ท่าจะดีกว่าพออาทิตย์ลับขอบฟ้า
มีกิจกรรมไฮไลต์คือ ล่องเรือดูหิ่งห้อยแม้ว่าตอนที่ไปเยือนอัมพวา
ถือเป็นเวลาที่ไม่เหมาะเท่าใดนักเพราะเป็นคืนข้างขึ้น น้ำก็ขึ้นไม่สูง
ทำให้เรือเข้าไปไม่ใกล้ฝั่ง
"แต่ก็สามารถเห็นความงามของหิ่งห้อยบนต้นไม้เยอะแยะ"
ลุงตือเจ้าของบ้านที่ทำหน้าที่ไก๊ด์บอกว่า
ชาวอัมพวาต้องช่วยกันรักษาน้ำให้สะอาดเพราะหิ่งห้อยไข่ในน้ำ
ถ้าน้ำสกปรก หิ่งห้อยก็ไม่ไข่ จำนวนหิ่งห้อยก็ลดลงสถานที่แห่งนี้
ก็จะไม่ได้รับความนิยมเหมือนอย่างที่เป็นอยู่
ตอนเช้าตรู่มีพระภิกษุพายเรือออกบิณฑบาตผ่านชานหน้าบ้าน
ตรงนั้นจะมีถังบรรจุข้าวสารอาหารแห้งเตรียมไว้ให้ใส่บาตร
ใครใส่เท่าไหร่ก็จำไว้ แล้วมาจ่ายเงินให้เจ้าของบ้านทีหลังได้
"ใช้ระบบซื่อสัตย์สุจริต !"
ตกสายหน่อยมีบริการขับขี่รถจักรยาน
ท่องเที่ยววัดวาอาราม
สวนลิ้นจี่
ศูนย์อนุรักษ์แมวไทย
ศูนย์ผลิตเครื่องเบญจรงค์
ระหว่างทางมีลูกหลานชาวบ้านละแวกนั้น
ใช้เวลาว่างเป็นไก๊ด์นำเที่ยวแบ่งเงินค่า
เช่ารถจักรยานไปเป็นค่าขนมบ่ายโมงกว่าๆ
ได้เวลากลับ
พกพาเอาความประทับใจมาเต็มกระเป๋า
แถมยังได้รู้สำนึกระลึกได้ว่า
บางทีคนเราก็คุ้นเคยของมีค่ารอบๆ ตัว
จนมองไม่เห็นค่าของมัน
เหมือนไก่ได้พลอย เหมือนวานรได้แก้ว
"ทำให้เราพลาดโอกาส !"
ไม่เหมือนชาวชุมชนอัมพวาที่มองเป็นสิ่งรอบๆ ตัวว่า
มีค่ามองเห็นวิถีริมคลองที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ทุกวี่ทุกวันว่า
มีค่ามองเห็นว่า
แม่น้ำลำคลองเป็นธรรมชาติที่สมควรบำรุงรักษาให้สะอาด
ไม่เน่าเหม็น
มองเห็นคุณค่าหิ่งห้อยที่ส่องแสงวับวับ
ในยามค่ำคืนเห็นคุณค่าวัดวาอาราม
สวนเกษตร และผลิตภัณฑ์ชุมชน
"คนเราพอเห็นค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเราก็จะเห็นโอกาสตามมา"
เมื่อเห็นโอกาสก็สามารถนำพาโอกาสนั้น
ไปทำอะไรต่อมิอะไรได้อีกเยอะครับตัวอย่างเช่น
ชาวชุมชนอัมพวาเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัว
ชาวชุมชนอัมพวาจึงเห็นโอกาสร่วมกันชักชวนนักท่องเที่ยวให้มาแวะ
เพื่อสัมผัสธรรมชาติและวิถีชุมชนนำเงินเข้าชุมชนจำนวนมหาศาล
ดังนั้น ชุมชนไหนจะเอาเป็นแบบอย่างก็ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆ
ขอเพียงให้มองไปรอบๆ
แล้วค้นหาของดีมีคุณค่าในชุมชน
ซึ่งมีอยู่เยอะแยะบางแห่งมีธรรมชาติสวยงาม
บางแห่งมีวัดวาอารามเก่าแก่
บางแห่งมีพืชพรรณมากหลาย
บางแห่งมีประวัติศาสตร์มายาวไกล
บางแห่งเป็นต้นกำเนิดของผู้มีชื่อเสียง
บางแห่ง....บางแห่ง... บางแห่ง.... มีสารพัด
"ชุมชนใดสามารถเห็นคุณค่าของสิ่งรอบข้าง ชุมชนนั้นก็จะเห็นลู่ทางและโอกาส"
มันก็เหมือนกับการทำงานของพวกเราอีกนั่นแหละรอบๆ ตัวเรา
มีเพื่อนร่วมงานหลากหลายใช่ไหม
แต่ละคนล้วนมีความสามารถที่แตกต่าง
บางคนเก่งงานวิชาการ
บางคนเชี่ยวชาญงานบริหาร
บางคนถนัดด้านบันเทิง
บางคนขยันเป็นนักปฏิบัติ
ขณะที่อีกหลายคนชอบคิดชอบวางแผน
"ทุกคนล้วนมีคุณค่าของตัวเอง"
เพียงแต่บางครั้งเรามองข้ามคุณค่าของคนรอบๆข้างของเราไป
บางครั้งเราไปเห็นคุณค่าของ "คนนอก" มากกว่า "คนใน"
ทำให้เราเสียโอกาส
ดังนั้นอย่ามัวเสียเวลา เสียโอกาสกันอยู่เลยครับ
ลองมองไปที่เพื่อนร่วมงานของเรานี่แหละ
มองพวกเขาจนค้นพบคุณค่า
แล้วเราก็จะพบว่า
โอกาสสู่ความสำเร็จมันไม่ได้อยู่ไกลเกินเอื้อม
"แค่คืบนี่เอง!"
"สวัสดี"
หน้า 17