เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Mar 24, 2009
ศิลปะ และ วินัย
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552
สูตรแห่งความสำเร็จในชีวิตที่ผมจะกล่าวในอาทิตย์นี้มี 2 ข้อ
ด้วยกัน คือ ศิลปะ และวินัย
สิปปะ หรือ ศิลปะ คำนี้คนไทยสมัยนี้จะเข้าใจอย่างไร
ก็ช่างเถอะนะครับ แต่ในมงคล 38 ประการนี้
ท่านอธิบายเน้นหนักไปในทางการเป็นช่าง
หรืออีกนัยหนึ่งคือ "ทำเก่ง ทำเป็น" พาหุสัจจะ (ความคงแก่เรียน)
นั้นเป็นเรื่องของ "นักรู้" แต่สิปปะ หรือศิลปะ
เป็นเรื่องของ "นักทำ"
รวมสองอย่างเข้าด้วยกันเรียกว่า "ศิลปวิทยา" คนมีศิลปวิทยา
จึงหมายถึงคนที่รู้เรื่องนั้นๆ อย่างดีและทำได้อย่างดีด้วย
คนที่รู้เรื่องแกงส้มอย่างดี อธิบายบอกส่วนผสมปรุงแต่งฉอดๆ
แต่พอให้ทำแกงส้มดูบ้าง เงอะๆ งะๆ แถมยังรสชาติไม่เอาไหน
อย่างนี้เรียกได้เพียงว่า เป็นพหูสูตในเรื่องการทำแกงส้ม
อีกคนรู้ดีด้วยว่า แกงส้มต้องทำอย่างไร ใส่อะไรลงไปบ้าง
และสามารถแกงส้มออกมามีรสชาติเอร็ดอร่อยดีด้วย
อย่างนี้เรียกว่าเป็น "ผู้มีศิลปวิทยาในเรื่องแกงส้ม"
สุภาษิตบทหนึ่งว่า
"รู้อะไรให้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
ว่ากันว่าเป็นวาทะของสุนทรภู่ จริงหรือไม่จริงก็ช่างเถอะครับ
เอาเป็นว่าสุภาษิตอย่างนี้แหละจำกันได้ทั่วบ้านทั่วเมือง
สุภาษิตบทนี้มิได้หมายความเพียงการเรียนรู้อย่างเดียว
หากครอบคลุมถึงการทำด้วย เช่น รู้เรื่องแกงส้ม ต้องแกงส้มเป็น
และแกงได้อร่อยเหาะด้วย อย่างนี้เกิดผลแน่นอน
ขอให้ฝีมือดีเสียอย่าง
คุณจะไปหลบมุมตั้งร้านขายอยู่ในตรอกซอกซอยลึกขนาดไหน
ก็จะมีคน "ซอกแซก" และ "ซอกซอน" ตามไปกินจนได้นั่นแหละครับ
บางทีอยู่ไกลเป็นร้อยๆ กิโล ยังอุตส่าห์นั่งรถไปกินเลยครับ
ไม่เชื่อถาม "อาหม่อม" ถนัดศรีของผมดูสิครับ
ทำไมคนจึงต้องลงทุนขับรถไปกินไกลๆ เพื่อจะกินแกงส้มถ้วยเดียว
คำตอบคือ คนทำเขามี "ศิลปะ" ในเรื่องแกงส้ม เรื่องอื่นๆ ก็เหมือนกัน
(เดี๋ยวจะหาว่าได้สปอนเซอร์แนะนำแต่แกงส้ม)
เพราะฉะนั้น
ผู้รู้จึงกล่าวว่า สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิยาทิสกีทิสํ =
ขึ้นชื่อว่าศิลปะอย่างไหนก็ได้ดีทั้งนั้น
เรื่องอะไรก็ตามขอให้เชี่ยวชาญเถิดมีประโยชน์ทั้งนั้น
อาชีพที่สุจริตอะไรก็ได้ครับ ทำให้เก่งให้เชี่ยวชาญแล้วจะเจริญแน่นอน
แต่อย่าใช้ไปในทางทุจริตเบียดเบียนคนอื่นล่ะ
นั่นมันทางฉิบหายครับ
บุรุษเปลี้ย (คนแคระ) คนหนึ่งดีดก้อนกรวดเก่งมาก
ดีดใส่ใบไม้บนต้นไม้ฉลุเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ได้สวยงาม
แกอาศัยศิลปะนี้เลี้ยงชีพอย่างสบาย
วันหนึ่งพระราชาทรงนำเขาเข้าวัง ซ่อนไว้หลังม่าน
ให้ดีดขี้แพะใส่ปากปุโรหิตพูดมากคนหนึ่งโดยเขาไม่รู้ตัว
กว่าจะรู้อะไรเป็นอะไรก็กลืนขี้แพะจนเต็มพุง
ตั้งแต่นั้นมา ปุโรหิตปากมากกลายเป็นคนพูดน้อย
"จอมยุทธ์แคระ" ได้รับพระราชทานรางวัลมากมาย
ชายคนหนึ่งเรียนศิลปะนี้จากจอมยุทธ์แคระ
ด้วยความคะนองมือ ดีดกรวดเข้าหูพระปัจเจกพุทธองค์หนึ่ง
ก้อนกรวดเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา แม่นยังกับจับวาง
พระปัจเจกพุทธปรินิพพาน (ในที่นี้แปลว่าตาย)
ในเวลาต่อมา ไอ้หมอนั่นยังไปคุยว่า
ตัวเองดีดกรวดแม่นมากเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาท่านนี้ไม่ทิ้งร่องรอยอะไรไว้เลย
ถ้าไม่บอกไม่มีใครรู้นะว่าท่านนี้ตายเพราะตน
เลยถูกประชาชนประชาทัณฑ์ตาย สมน้ำหน้า
แค่กรวดธรรมดาๆ ถ้าดีดเก่งชำนาญอย่างจอมยุทธ์แคระก็เอาตัวรอดได้
แต่ถึงจะเก่งกาจอย่างไร
ถ้าใช้ความเก่งนั้นในทางที่ผิดก็ประสบหายนะ
ดุจดังชายคนที่สองในนิทานนี้แล
สูตรแห่งความสำเร็จในชีวิตข้อต่อไปคือ
วินัยที่ศึกษาดีแล้ว คำว่า "วินัยที่ศึกษาดีแล้ว"
มิใช่เพียงการเรียนรู้เกี่ยวกับระเบียบวินัย ว่ามีอะไรบ้าง
แต่หมายถึงการฝึกอบรมตนให้มีระเบียบวินัยด้วย
คำว่า "ศึกษา" คำนี้มักจะมีปัญหาสำหรับคนไทย
คือมักแปลกันว่า "การเล่าเรียน"
ที่จริงแล้ว ความหมายของคำเดิมหมายเอาการปฏิบัติการลงมือกระทำ
หรือการฝึกฝนอบรมตน เพราะฉะนั้น
เมื่อพูดถึงวินัยที่ศึกษาดีแล้ว
จึงมุ่งไปที่วินัยที่ฝึกฝนอบรมดีแล้ว
หรือความมีวินัยนั้นเอง
พูดถึงวินัยก็นึกถึงอีกคำหนึ่งที่มักใช่คู่กันคือ ศีล
สองคำนี้คล้ายกัน แต่ขอบเขตกว้างแคบไม่เท่ากัน
ศีล หมายเอาข้อห้าม ข้อบังคับ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สิกขาบท"
วินัย หมายถึง ระบบทั้งหมด ที่ฝึกหัดอบรมคนอันครอบคลุมถึงศีล
หรือสิกขาบทด้วย อย่างในกรณีของพระภิกษุ
ถ้าพูดถึงศีล (หรือสิกขาบท) ของภิกษุ ก็หมายถึงข้อห้าม 227 ข้อ
แต่ถ้าพูดถึงวินัยของพระภิกษุก็หมายถึงข้อบังคับ 227 ข้อนั้นด้วย
ทั้งระเบียบแบบแผนอื่นๆ ที่พระสงฆ์จะพึงปฏิบัติเพื่อให้เหมาะ
แก่การเป็นบรรพชิตที่ดีงามด้วย
ขอโทษที่ต้องอธิบายศัพท์แสงยืดยาว
เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจร่วมกัน
เรื่องของพระของเจ้าก็ยุ่งยากอย่างนี้แหละ
ถ้าไม่ตกลงกันก่อนว่า คำนี้หมายถึงอย่างนี้
เดี๋ยวจะกลายเป็นการพูดคนละเรื่องเดียวกัน
ผู้รู้ท่านหนึ่งพูดว่า วินัยก็คือ "แบบ"
ที่หล่อหลอมให้คนเป็นคนดีมีคุณค่าในสังคมเห็นว่า
ท่านพูดเข้าท่าดีจึงขอจำฝีปากท่านมาขยายให้ฟัง
ดินเหนียวตามท้องไร่ท้องนา
มันก็คือดินธรรมดาๆ หาค่าอันใดมิได้
แม้เศษดินเพียงนิดเดียวติดเท้าขึ้นมาเรือนใคร
เขาก็รังเกียจหาว่าทำให้บ้านเรือนเขาสกปรก
แต่ถ้าเอาดินเหนียวนั้นมากดเข้าไปในแบบที่เขาทำไว้
เช่น แบบตุ๊กตา แล้วแกะออกมาเป็นตุ๊กตาที่งาม น่ารัก
ใครเห็นใครก็อยากได้ ได้ไปแล้วนำไปตั้งอวดใครต่อใครอย่างภาคภูมิใจ
มันก็ดินเหนียวที่เคยรังเกียจนักหนานั่นแหละ
แต่ทำไมคราวนี้จึงกลายเป็นของมีค่า น่าดู น่าชมได้ถึงขนาดนั้น
หรือเศษโลหะที่คนเขาเอาโยนทิ้งตามที่ต่างๆ
ครั้นช่างหล่อเขาเอาไปหลอมเข้ากับแบบออกมา
เป็นพระพุทธรูปสวยสดงดงาม
ใครเห็นใครก็กราบไหว้บูชา เดิมก็เศษเหล็กไร้ค่านั่นเอง
แต่ทำไมจึงกลายเป็นวัตถุเคารพอันทรงคุณค่า
เพราะ "แบบ" ใช่ไหม ที่ทำให้ดินเป็นตุ๊กตา
ทำเศษโลหะให้เป็นพระปฏิมา ฉันใดก็ฉันนั้นแหละครับ
วินัยนับว่าเป็นแบบที่ทำคนให้มีคุณค่า
วินัยนี่แหละที่ทำให้พลเรือนเป็นทหาร
วินัยนี่แหละที่ทำให้ลูกหลานชาวบ้านเป็นเณรเป็นพระ
แม้คนเหล่านี้จะมีอายุน้อยปูนลูกปูนหลาน
ญาติโยมแก่ๆ ยังยกมือไหว้ อย่าว่าแต่สามัญชนเลย
แม้องค์พระมหากษัตริย์ยังเคารพ
นี่มิใช่อิทธิพลของวินัยดอกหรือ
อยากเป็นคนมีคุณค่าและประสบความสำเร็จในชีวิต
ก็จงทำตนให้มีระเบียบเถอะครับ
พระก็รักษาวินัยของพระ คฤหัสถ์ก็รักษาวินัยของคฤหัสถ์
อย่าให้ผิดเพศภาวะเข้าก็แล้วกัน
หน้า 6