เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Jan 10, 2009
เพื่อความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับหลักกรรม (๑๒) เราใหญ่กว่ากรรม
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552
พระท่านพูดเป็นหลักว่า กรรมที่ทำลงไปเปรียบ
เสมือนสุนัขไล่เนื้อ ไล่ทันเมื่อใดก็กัดเมื่อนั้น
ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า
คนเราเกิดมาต่างก็ "วิ่งหนี" กรรมกันทุกคน พ้นบ้าง
ไม่พ้นบ้างโอกาสไม่พ้นมีมากกว่า
แต่โอกาสพ้นก็มีไม่น้อยจะพ้นได้อย่างไร
นี่สิครับเป็นข้อที่ควรคิดแสดงว่าในช่วงที่ทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป
จนถึงกรรมให้ผลนั้นมันมี "ช่องว่าง" ให้เราสร้างเงื่อนไขใหม่ๆ
เข้ามาแทนที่ เงื่อนไขใหม่ๆ นี้แหละจะมีส่วนช่วยผ่อนคลาย
หรือขวางมิให้กรรมที่ทำนั้นให้ผลเต็มที่
หรือไม่ให้ผลเลยท่านพูดเป็นหลักไว้ดังนี้
1.กรรมบางอย่าง ทำลงไปแล้วให้ผลทันตาเห็น
คือชั่วชีวิตนี้ได้รับผลตอบสนองเห็นกันจะๆ เลยทีเดียว
2.กรรมบางอย่าง ทำลงไปแล้วไม่ให้ผลในชาตินี้ ไปให้ผลในชาติหน้า
3.กรรมบางอย่าง ทำลงไปแล้วไม่ให้ผลในชาติหน้า ไปให้ผลในชาติต่อๆ ไป
4.กรรมบางอย่าง ทำลงไปแล้วไม่มีโอกาสให้ผล กลายเป็น
"อโหสิกรรม" ไปเลยก็มี เหมือนเนื้อที่วิ่งหนีสุนัขสุดฤทธิ์
โชคดีหนีรอดชีวิตไปได้การพูดว่า
กรรมที่ทำลงไปมีโอกาสกลายเป็นอโหสิกรรมได้นี้เอง
แสดงให้เห็นว่าคนเรามีโอกาสที่จะจัดการกับชีวิตเราได้
ต้องการให้มันเป็นไปอย่างใด เราสามารถทำให้มันเป็นไปตามนั้นได้
หลายคนมักจะเสียอกเสียใจ หรือวิตกกังวลแต่กับอดีตที่ผ่านไปแล้ว
เช่น เคยผิดพลาดทำความไม่ดีอะไรบางอย่างมา
แล้วก็มานั่งวิตกกังวล หรือเสียใจกับการกระทำของตน
จนไม่เป็นอันกินอันนอน ไม่มีความสุข ทั้งๆ ที่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย
แทนที่จะคิดว่าสิ่งที่ทำไปแล้วทำคืนไม่ได้
คือจะแก้ให้ไม่เป็นอันทำนั้นไม่ได้
แต่เราสามารถตั้งใจไม่ทำอย่างนั้นอีกได้
และสามารถทำความดีอื่นแทนได้มีผู้ที่เคยพบกันท่านหนึ่งเล่าว่า
เคยได้เสียกับผู้หญิงคนหนึ่ง
แต่กลับได้มาแต่งงานกับน้องสาวของผู้หญิงคนนั้น
และตอนนี้ (คือขณะที่เล่าเรื่องราวนี้) มีบุตรสาวมาคนหนึ่ง
บุตรสาวก็โตขึ้นทุกวันๆ ผู้เป็นพ่อ (คือท่านดังกล่าว)
วิตกกังวลไม่มีความสุขเลย กลัวว่าบาปที่ตนทำไว้จะตกแก่ลูก
ครั้งถามว่า จะตกแก่ลูกในลักษณะใด ท่านผู้นั้นบอกว่า
กลัวลูกสาวจะถูกชายอื่นหลอกได้เสียฟรีโดยไม่ได้แต่งงาน
ปัญหานี้ไม่น่าเป็นปัญหา มีคนไม่น้อยที่รักกันแล้ว ไม่ได้แต่งงานกัน
กลับไปแต่งงานกับคนอื่น
ไม่น่าจะถือเป็นบาปเป็นกรรมอะไรนอกเสียแต่ว่า
ขณะที่เป็นแฟนกับคนพี่หมั้นหมายกันแล้วว่าจะแต่งงานกัน
แล้วลอบได้เสียกับน้องสาวคนรัก
ถ้าอย่างนี้พูดได้ว่า ทำผิดศีลข้อสาม ถึงกระนั้น
ถ้าจะได้รับผลของการกระทำนี้ ก็ไม่จำเป็นที่ผลกรรมจะต้องไปตกที่ลูกสาว
อาจจะได้รับผลในรูปแบบอื่นก็ได้จึงไม่ควรด่วนวิตกทุกข์ร้อน
ถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับหรือพูดอีกนัยหนึ่ง
การที่ทุกข์ร้อนกินไม่ได้นอนไม่หลับนั้น
อาจเป็นผลของกรรมดังกล่าวนั้นก็ได้
ลองนึกดูว่าตัวเองไม่เป็นสุข เพราะเรื่องนี้มากี่ปีกี่เดือนแล้ว
ถ้าเป็นมาตลอดหลังจากได้ทำสิ่งนี้ขึ้น
ก็เท่ากับว่าได้รับผลกรรมนั้นแล้วจึงไม่ควรคิดกลุ้มอีกต่อไป
ฝึกทำใจเสียใหม่ ตั้งใจแน่วแน่ว่าตั้งแต่นี้ต่อไป
เราจะทำบุญทำทานให้มาก
ทำบุญทุกชนิดเท่าที่โอกาสจะอำนวยสิ่งที่ทำใหม่นี้
จะเป็นเงื่อนไขใหม่ ช่วย "ล้าง" กรรมชั่วที่ทำมาแล้วละลายหายไป
หรือผ่อนคลายลง
พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีอยู่ 4 เรื่องที่ปุถุชนมีกิเลสไม่ควรนำมาคิดให้ปวดสมอง
เพราะคิดยังไงก็ไม่เข้าใจ ขืนคิดมากจะเป็นบ้า เปล่าๆ 4 เรื่องนั้น คือ
1.เรื่องของโลก เช่นโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะแตกดับเมื่อใด
(ถึงจะมีคนพูดว่ามีสิ่งนั้นสิ่งนี้สร้าง ไปๆ ก็กลายเป็นว่า "คิดเอาเอง" ทั้งนั้น)
2.เรื่องของฌานสมาบัติ คนที่ได้ฌานสมาบัติมีฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์
บางคนได้ฌานขั้นสูง เขาจับฝังดินเป็นเวลา 7-8 วัน
งัดขึ้นมายังไม่ตาย มันเป็นไปได้อย่างไร
สุดที่คนธรรมดาสามัญจะหยั่งรู้ได้
3.เรื่องการให้ผลของกรรม กรรมมันมีกฎเกณฑ์อะไรของมัน
มันให้ผล ไม่ให้ผล ให้ผลเร็ว ให้ผลช้า
เพราะอะไร ไม่มีใครคาดเดาได้
4.เรื่องของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างไร
ทรงเป็นมนุษย์เหมือนคนทั่วไป แต่มีอะไรพิเศษกว่ามนุษย์ทั่วไป
เพราะอะไร เรื่องอย่างนี้ปุถุชนคนธรรมดาไม่สามารถคิดรู้ได้ทั้งหมดที่กล่าวมา
ไม่ใช่วิสัยของปุถุชนจะคิดจะรู้ได้
พระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะทรงรู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด
อย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการให้ผลของกรรม
กรรมใดจะให้ผลเมื่อใดอย่างไร พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงรู้
เพราะทรงรู้ พระองค์จึงทรงช่วยเหลือมิให้คนบางคนถลำทำกรรมหนัก
หรือบางครั้ง คนคนหนึ่งจะต้องถึงแก่ความตายก็เสด็จไปช่วยเหลือ
ให้รอดพ้นจากความตายพูดอีกนัยหนึ่ง
เสด็จไปประทานโอกาสสุดท้ายให้เขาได้สร้างเงื่อนไขที่ดี
เพื่อผ่อนคลายกรรมเก่า หรือตัดกรรมเก่าด้วยตัวเขาเองจะ
ขอยกตัวอย่างสักสองเรื่อง ดังนี้
1) เรื่องที่หนึ่ง คงรู้กันทั่วไปคือ เรื่ององคุลิมาลโจร
เดิมที มหาโจรคนนี้ก็เป็นคนดี แต่เพราะได้อาจารย์ไม่ดี
ยุยงให้ไปฆ่าคนหลอกว่าจะถ่ายทอดวิชาพิเศษ
ซึ่งตนไม่เคยถ่ายทอดให้ใคร ด้วยความอยากได้วิทยาการพิเศษนั้น
หนุ่มน้อยคนนี้จึงไปฆ่าคนจนกระทั่งกลายเป็นมหาโจรลือชื่อ
ลือชื่อขนาดพระเจ้าแผ่นดินส่งกองทัพย่อยๆ ออกไปปราบ
มารดารู้ว่าลูกชายจะถูกฆ่า จึงรีบเดินทางล่วงหน้าไปหาลูกชายเพื่อบอกให้รู้ตัว
แต่พระพุทธเจ้าทรงรู้ว่า ถึงตอนนี้แล้วองคุลิมาลฟั่นเฟือนแล้ว
พบหน้าใครก็จะฆ่าถ่ายเดียว ถ้าปล่อยให้สองแม่ลูกพบกัน
องคุลิมาลจะต้องถลำทำบาปหนักขั้น "อนันตริยกรรม" คือฆ่าแม่บังเกิดเกล้าของตน
จึงเสด็จไปดักหน้าก่อนองคุลิมาลเห็นพระพุทธเจ้าก็วิ่งไล่
เพื่อฆ่าเอานิ้วมือ แต่พระพุทธองค์ทรงกลับใจเธอให้สำนึกผิดชอบชั่วดี
จนทูลขอบวชเป็นสาวกของพระองค์
กลายเป็นพระอรหันต์ดังที่ทราบกันดีแล้ว
ถ้าไม่ได้พบพระพุทธเจ้าองคุลิมาลก็จะฆ่ามารดาทำกรรมหนัก
ตัดมรรคผลนิพพาน แต่เพราะได้พบพระพุทธเจ้า
องคุลิมาลจึงมี "โอกาส" สร้างเงื่อนไขใหม่ที่ดี
และมีพลังจนกระทั่งผลักดันให้กรรมเก่า (ฆ่าคนมาเป็นร้อย)
กลายเป็นอโหสิกรรมไปเลยเรื่องอย่างนี้
พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงรู้ และทรง "แก้ไข" ได้
2) อีกเรื่องหนึ่ง ทรงรู้ว่าชาวนาคนหนึ่งจะถูกจับและ
ถูกยัดข้อหาขโมยทรัพย์ของคนอื่น เช้าตรู่วันนั้น
ขณะที่ชาวนาคนดังกล่าวไถนาอยู่
พระองค์พร้อมกับพระอานนท์พุทธอนุชาได้ไปยังที่นั้น
พระองค์ตรัสถามพระอานนท์ดังๆ ว่า "อานนท์ เธอเห็นอสรพิษไหม"
พระอานนท์กราบทูลว่า "เห็น พระเจ้าข้า อสรพิษตัวใหญ่เสียด้วย"
พอพระพุทธองค์และพระอานนท์ผ่านไปสักครู่
ชาวนาคนนั้นจึงถือไม้ตรงไปยังที่นั้น ด้วยหมายใจจะฆ่าอสรพิษตัวนั้นเสีย
แต่กลับเห็นถุงเงินวางอยู่
ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงเอาถุงเงินนั้นไปซุกไว้อีกที่หนึ่ง
ชาวบ้านพากันตามรอยโจรมาพบถุงเงินเข้า
จึงจับชาวนาคนนั้นไปขึ้นศาล
ขณะถูกจับไปชาวนาคนนั้นพร่ำรำพัน
แต่คำพูดโต้ตอบกันของพระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ว่า
"อานนท์ เธอเห็นอสรพิษไหม"
"เห็น พระเจ้าข้า อสรพิษตัวใหญ่เสียด้วย"
จนพระเจ้าแผ่นดินทรงเอะพระทัย
ไปกราบทูลถามพระพุทธองค์
พระพุทธองค์ทรงเล่าให้พระเจ้าแผ่นดินฟัง
พร้อมตรัสว่า ชาวนาคนนั้นมิใช่โจร
แกจึงรอดตายอย่างหวุดหวิดยกทั้งสองเรื่องมาให้ฟัง
เพื่อให้แง่คิดว่ากลไกของกรรมและการให้ผลของกรรม
ไม่มีใครสามารถรู้ได้ นอกจากพระพุทธเจ้านี้ประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง กรรมที่ทำลงไปแล้ว เรามีโอกาสที่จะผ่อนคลาย
หรือแก้ไขให้มันให้ผลช้าลง เบาลง
หรือแม้กระทั่งไม่ให้มันมีโอกาสให้ผลเลย (ในกรณีกรรมชั่ว)
หรือเรามีโอกาสเสริมให้มันให้ผลดีมากขึ้นกว่าเดิมก็ได้ (ในกรณีกรรมดี)
เพราะเรามีเวลาสร้าง "เงื่อนไข" ใหม่ขึ้นมาในระหว่างได้
เช่น เคยทำชั่วบางอย่างไว้ เราก็งดทำเช่นนั้นอีก
ทำแต่บุญกุศลเพิ่มขึ้นๆ เรื่อยๆ ดังนี้เป็นต้นอนาคตแห่งชีวิตจึงอยู่ในกำมือของเรา
เราจะบันดาลให้มันเป็นไปอย่างไรก็ย่อมได้
อย่างนี้ไม่เรียกว่าเราใหญ่กว่ากรรม
จะให้เรียกว่าอะไรเล่าครับ
หน้า 6