เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Jun 12, 2009
สู่การเจริญสติถ้วนหน้า (Mindfulness for All)
คอลัมน์ จิตวิวัฒน์
ประเวศ วะสี มติชน
ภาพ/เรื่อง www.thaissf.org http://twitter.com/jitwiwat
แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เรื่อง ที่หนีไม่พ้นคือ มนุษย์จะเจริญสติกันมากขึ้นๆ
จนในที่สุดเจริญสติกันถ้วนหน้า นั่นคือเจริญสติกันทั้งประเทศ
และเจริญสติกันทั้งโลก เพราะเหตุอย่างน้อย 3 ประการด้วยกันคือ
หนึ่ง มนุษย์สุดทางไป ไม่มีทางออกอย่างอื่น
อารยธรรมปัจจุบันได้นำมนุษย์มาสุดทางที่จะไปต่อในทางเดิมได้อีกแล้ว
เพราะกำลังเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นทุก ๆ ทางอย่างไม่มีทางออก
ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตสังคม วิกฤตสิ่งแวดล้อม
วิกฤตการเมือง และวิกฤตในตัวมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความเครียด
ความขัดแย้ง ความรู้สึกหมดหวัง
ทั้งนี้ เพราะเป็นอารยธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยอกุศลมูลทั้งสามคือ
โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะไม่วิกฤตนั้นจึงเป็นไปไม่ได้
จะเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจ-การเมือง-การศึกษา
ที่เชื่อมโยงกันนั้นตรงกับ โลภะ-โทสะ-โมหะ อย่างพอดี
ระบบเศรษฐกิจที่เอาเงินขนาดใหญ่เป็นตัวตั้งนั้นเป็นมหาโลภจริต
ส่วนการเมืองเรื่องอำนาจนำไปสู่ความรุนแรงนั้นก็คือโทสะ
ยิ่งการเมืองผูกอยู่กับเงินจำนวนใหญ่เท่าใด ความรุนแรงก็ยิ่งมากขึ้น
ระบบการศึกษาที่ไม่ก่อให้เกิดปัญญา
เพียงมีความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ศาสตร์ก็กลายเป็นศาตราใช้ทิ่มแทงกัน
ระบบการศึกษาที่ไม่สร้างปัญญาก็ยิ่งไปเพิ่มความรุนแรงของโลภะและโทสะ โมหะ หรือความไม่รู้ หรือความหลงไป
เป็นปัจจัยทำให้เกิดโลภะและโทสะ
มนุษย์จึงตกอยู่ในความครอบงำของระบบเศรษฐกิจ-การเมือง-การศึกษา
อันเป็นตัวแทนของอกุศลมูลทั้งสาม จึงเข้าไปสู่วิกฤตการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างเปลี่ยนแปลงไม่ได้
อย่าไปคิดว่าโอบามาซึ่งชูประเด็น CHANGE จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้มาก
เพราะอารยธรรมวัตถุนิยม บริโภคนิยมได้สร้างโครงสร้างไว้ในสมองของผู้คน
และโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจเรียบร้อยแล้ว
ไอน์สไตน์จึงกล่าวว่า "เราจะต้องมีวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง
ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้" แต่มนุษย์ก็เปลี่ยนวิถีคิดไม่ได้
เพราะสมองได้เกิดโครงสร้างที่ทำให้คิดอย่างเดิมๆ
ซ้ำรอยเดิมอยู่อย่างนั้น นอกจากเจริญสติ สติทำให้จิตเป็นกลาง
เกิดปัญญา และวิถีคิดใหม่ได้
จึงกล่าวว่าเป็นเรื่องหนีไม่พ้นที่มนุษย์จะหันมาเจริญสติ
เพราะสุดทางที่จะไปตามทางเดิมแล้ว
สอง มีแรงจูงใจสูงสุดที่จะทำให้เจริญสติ แรงจูงใจที่สูงที่สุดคือความสุข
ถ้าทำอะไรแล้วมีความสุข มนุษย์ก็อยากจะทำสิ่งนั้นซ้ำๆ
การเจริญสติจะทำให้พบความสุขที่ไม่เคยเจอมาก่อน
เป็นความสุขอันประณีตลึกล้ำ มีความเบาสบาย เป็นอิสระ
หลุดพ้นจากความบีบคั้นทั้งปวง ทำให้สมองดี เรียนอะไรก็ง่าย
สุขภาพดี ไม่ค่อยเจ็บป่วยหรือถ้าเจ็บป่วยก็หายง่าย
ภูมิคุ้มกันเพิ่ม อายุยืน ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆดี
เป็นปัจจัยให้อยู่ร่วมกันด้วยความสุข และอาจนิรทุกข์โดยสิ้นเชิงก็ได้
การเจริญสตินำมาซึ่งความสุขราคาถูก (Happiness at low cost)
จึงเป็นไปได้สำหรับทุกคน และลดการทำลายสิ่งแวดล้อม
พระพุทธองค์ตรัสเรียกการเจริญสติว่า "ทางอันเอก" (เอกะ มัคโค)
พระพุทธองค์ทรงค้นพบทางอันเอกนี้มากว่า 2,500 ปีแล้ว
ฝรั่งเพิ่งจะมารู้จักเรื่องการเจริญสติเมื่อเร็วๆ นี้เอง
และพากันติดใจยกใหญ่ เพราะเมื่อเจริญสติแล้วอะไรๆ
ก็ดีขึ้นหมดดังกล่าวข้างต้น หนังสือที่ขายดีที่สุดในโลกขณะนี้คือตระกูลนี้
ในประเทศไทยก็มีการเจริญสติกันมากกว่าแต่ก่อนมาก
เป็นแนวโน้มใหญ่ชัดเจนว่าต่อไปมนุษย์จะพากันเจริญสติถ้วนหน้า
สาม สมองของมนุษย์ ธรรมชาติสร้างมาให้เหมาะแก่การเจริญสติ
(The Mindful Brain) เมื่อเจริญสติแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงในสมอง
ทั้งเชิงโครงสร้างและในการทำหน้าที่ เมื่อเจริญสติ
ส่วนต่างๆ ของสมองและร่างกายบูรณาการกันเข้ามา
และเกิดดุลยภาพ ทำให้เกิดสุขภาวะและความสงบระงับ
มีการหลั่งสารสุข (เอนดอร์ฟินส์ - Endorphins) ออกมามากขึ้น
ทำให้เกิดความสุขแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย
มีผลต่อสมองส่วนฮัยโปธาลามัส (Hypothalamus)
ซึ่งส่งผลต่อต่อมเอ็นโดครีน (Endocrine)
และภูมิคุ้มกันเหล่านี้เป็นต้น เพราะเหตุอย่างน้อย 3 ประการดังกล่าวมานี้
จึงกล่าวว่า สิ่งที่หนีไม่พ้นคือมนุษย์จะเจริญสติกันถ้วนหน้า
ฉะนั้น จึงควรมาช่วยกันดูว่าควรจะทำอะไรกันบ้าง
จึงจะเกิดการเจริญสติกันทั้งประเทศ ซึ่งขอเสนอดังต่อไปนี้
(1) แต่ละคน แต่ละครอบครัวที่รู้พากันขวนขวายศึกษา
และปฏิบัติในการเจริญสติ บางคนอาจทำได้เอง
บางคนอาจต้องการครูบาอาจารย์
(2) บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่เจริญสติเป็นแล้วและ
ได้รับผลดีจากการเจริญสติ พยายามแนะนำและ
ช่วยเหลือคนอื่นให้เจริญสติเป็น
(3) สื่อมวลชน นำเรื่องการเจริญสติและผลการเจริญสติมาเผยแพร่
เชิญอาจารย์ที่สอนเก่งมาสอนทางวิทยุและโทรทัศน์เป็นประจำ
(4) องค์กรต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนส่งเสริม
และสนับสนุนให้คนในองค์กรฝึกเจริญสติ
องค์กรจะได้ผลงานสร้างสรรค์มากขึ้นด้วย
(5) วัดเจริญสติ ประเทศไทยมีวัดอยู่ประมาณ 3 หมื่นแห่ง
ชุมชนควรจะร่วมกับวัด ทำวัดให้ร่มรื่น สะอาด สงบ
และมีอาจารย์สอนการเจริญสติ
(6) ทุกชุมชนและท้องถิ่น พยายามให้ในพื้นที่ของตนมีผู้รู้ในการเจริญสติ
คอยแนะนำฝึกสอนให้คนในชุมชนและท้องถิ่นเจริญสติกันมากๆ
(7) โรงพยาบาลทุกแห่ง ควรมี "คลีนิคเจริญสติ"
มีแพทย์พยาบาลที่เจริญสติเป็นผู้คอยแนะนำอบรมคนไข้
และญาติให้เจริญสติเป็น โรงพยาบาลต้องแสวงหาเทคโนโลยีต่างๆ
มาใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคอยู่แล้ว
เทคโนโลยีเหล่านี้มักราคาแพง การเจริญสติก็เป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง
ที่ได้ผลมากแต่ราคาถูก สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
ควรสนับสนุนให้โรงพยาบาลทุกแห่งนำเทคโนโลยีการเจริญสติมาใช้
เพราะจะทำให้ค่าใช้จ่ายเรื่องสุขภาพลดลง
ในขณะที่คุณภาพชีวิตทั้งของผู้รับและผู้ให้บริการสูงขึ้น
(8) ระบบการศึกษาทั้งหมด ควรนำการเจริญสติ
เข้ามาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ควรสร้างครูอาจารย์
ที่เจริญสติเป็นให้มากที่สุด ขณะนี้บางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มี
หลักสูตร"จิตตปัญญาศึกษา" (Contemplative Education)
ซึ่งมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายน่าสนใจ
แต่หัวใจของการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา
ก็คือการดูจิตของตัวเองจนเกิดปัญญา ซึ่งก็คือการเจริญสตินั่นเอง
มหาวิทยาลัยที่ทดลองหลักสูตร "จิตตปัญญาศึกษา"
จนเกิดความชำนาญแล้วในระดับหนึ่ง
ควรจะคิดถึงการขยายผลสู่การเจริญสติถ้วนหน้า
ตามนัยที่กล่าวมาทั้ง 8 ข้อ หรือจะมีวิธีอื่นในนอกเหนือไปจากนั้นอีกได้ก็ยิ่งดี
(9) คณะรัฐมนตรีเจริญสติ
เรื่องนี้ผู้คนอาจจะหัวเราะขบขันเห็นว่าเป็นไปได้ยาก
แต่ถ้าเป็นไปได้ก็จะเกิดความดีงามตามมาอีกมาก
กิจกรรม (1)-(8) ที่กล่าวข้างต้น
จะผลักดันให้ ครม.เจริญสติ ครม.เจริญสติจะผลักดันให้เกิด (1)-(8)
เรื่องการเจริญสติแล้วเกิดผลดีเป็นอเนกประการนั้นไม่มีปัญหา อะไร
เพราะพิสูจน์กันมามากต่อมากด้วยการปฏิบัติ และด้วยการวิจัย
คำถามมีว่าทำอย่างไรสิ่งที่เรารู้ว่าดีจะเกิดกับคนทั้งประเทศ
นี่เป็นคำถามเชิงนโยบาย ประเทศไทยควรมีนโยบายเจริญสติถ้วนหน้า (Mindfulness For All = MFA)
และคนทั้งมวลร่วมกันขับเคลื่อนการเจริญสติ
(All For Mindfulness = AFM)
วิกฤตการณ์ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ วิกฤตอารยธรรม
ขออย่าได้ท้อถอยหรือหมดหวัง ทุกฝ่ายต้องช่วยกันป้องกันความรุนแรง
เพื่อให้เวลาประเทศไทยปรับตัวไปสู่วิถีการพัฒนาใหม่
อันเป็นวิถีแห่งบูรณาการและดุลยภาพ
การเจริญสติจะช่วยให้เข้าถึงวิถีแห่งบูรณาการและดุลยภาพ
อันจะยังให้เกิดศานติสุขอย่างแท้จริง
หน้า 9