Custom Search

Jun 11, 2009

ศ. พญ.แสงสุรีย์ จูฑา สตรีไทยคนแรกของโลกกับบทบาทนายกสมาคมโลหิตวิทยานานาชาติ


เป็นที่ยอมรับว่าปัจจุบันผู้หญิงก้าวเข้ามามีบทบาท
ในด้านการบริหารมากขึ้นมีสิทธิและเสียง
ในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ มากมาย

รวมทั้งในวงการแพทย์ก็เช่นกัน
เร็ว ๆ
นี้จะมีแพทย์หญิงจากประเทศไทย
ก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารระดับ
ใน
"สมาคมโลหิตวิทยานานาชาติ"
บุคคลที่เรากำลังกล่าวถึงนี้คือ ". พญ.แสงสุรีย์ จูฑา"Chairman of Councils คนแรกของไทย
และสตรีคนแรกของโลก
ในเดือนตุลาคม 2552 ที่จะถึงนี้". พญ.แสงสุรีย์ จูฑา"จะเข้ารับตำแหน่ง Chairman of Councilsนายกสมาคมโลหิตวิทยานานาชาติอย่างเป็นทางการ
ด้วยเหตุนี้นิตยสารวงการแพทย์จึงรีบขอคิวนัดสัมภาษณ์
ถึงบทบาทที่ น่าภาคภูมิใจนี้
รวมทั้งพูดคุยถึงชีวิตส่วนตัว ครอบครัวที่แสนอบอุ่น และการทำงานที่มุ่งมั่นแม้จะอยู่ในวัยเกษียณแล้วก็ตาม เชื่อว่าท่านผู้อ่านจะได้ข้อคิดดี ๆจากบทสัมภาษณ์ในครั้งนี้อย่างแน่นอน
บทสนทนาแรกเริ่มต้นโดย . พญ.แสงสุรีย์ได้เล่าถึงประวัติส่วนตัว และการทำงานให้เราฟังว่า "ดิฉันจบปริญญาตรีวิทยาศาสตร บัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล หลังจากทำหน้าที่แพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 1 ปี ได้ไปศึกษาต่อทางด้านอายุรศาสตร์ที่สหรัฐอเมริกา ได้ Diplomat, American Board of Internal Medicine หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อทางด้านโลหิตวิทยาที่ Vamderbilt University Hospital, Nashville, Tennessee, USA เมื่อจบการศึกษาจึงกลับมารับราชการที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนกระทั่งได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ โดยเป็นผู้ก่อตั้งโครงการปลูกถ่ายไขกระดูกที่โรงพยาบาลรามาธิบดี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้า ภาควิชาอายุรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2547-2549นอกจากนี้ยังได้ทำงานให้สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทยมาตลอด ส่งผลให้ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการของสมาคมปี พ.ศ.2540-2542ในปีต่อมาได้เลื่อนเป็นอุปนายกสมาคมจนถึงปี พ.ศ.2545 และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทยในปีพ.ศ.2545-2551"
. พญ.แสงสุรีย์ จูฑา มีความสนใจในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (CML) เป็นพิเศษ ได้ทำการศึกษาโรคนี้อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 10 ปี มีผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารเกือบ 70 เรื่อง ในปีนี้ได้รับเชิญให้เป็น Panelist ในการพิจารณา NCCN guideline, Asian version ด้วย ซึ่งมีการประชุมร่วมกันไปแล้วในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และก่อนหน้านี้ได้ศึกษาความผิดปรกติของเม็ดเลือดของผู้ป่วยมาลาเรีย ซึ่งผลงานเหล่านั้นเป็นส่วน
หนึ่งของงานวิจัยที่ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นของสภาวิจัยแห่งชาติ เป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่ได้รับรางวัลมหิดล บีบราวน์ (Mahidol B.Brown)หากย้อนไปถึงแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนแพทย์นั้น
. พญ.แสงสุรีย์ ได้เปิดเผยว่า "จริง ๆ ต้องบอกว่าไม่ได้อยากเรียนแพทย์ตั้งแต่ต้น เนื่องจากตอนเด็ก ๆ ไม่สบายบ่อยมาก จึงฝังใจว่าตัวเองสุขภาพไม่ดี คงเรียนแพทย์ไม่ไหว แต่ส่วนตัวเป็นคนที่ ชอบภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์มาก จึงสอบชิงทุนโคลัมโบได้ไปเรียนคณิตศาสตร์ที่ประเทศออสเตรเลีย ที่อยากไปเพราะได้เรียนคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษที่ชอบ แต่คุณพ่อไม่อยากให้ไป ท่านก็เกลี้ยกล่อมไม่ให้ไป จริง ๆ แล้วจะบอกว่าไม่อยากเรียนแพทย์เสียทีเดียวก็คงไม่ได้ ก็อยากเรียนแพทย์ แต่อยากเรียนเป็นภาษาอังกฤษ และพอดีตอนนั้นที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดสอนเป็นรุ่นแรก แรกๆ ก็ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองจะได้อยู่โรงเรียนแพทย์ที่นี่หรือไม่ เพราะเขาคัดเฉพาะหัวกะทิเท่านั้นจึงจะสามารถมาเรียนที่นี่ได้ ผลสุดท้ายก็ได้เรียนอย่างที่ตั้งใจ พอได้เริ่มเรียนไปสักพักก็รู้ว่าเราน่าจะเรียนได้ จึงทำให้เกิดความสนุกกับการเรียนที่นี่ ช่วงแรกๆ ที่เรียนก็ยอมรับว่าลำบากนิดหน่อย เพราะไม่เคยเรียนเลกเชอร์เป็นภาษาอังกฤษเลย แต่พอได้ลองเรียนไปสักพักก็รู้สึกสนุก ซึ่งตรงนี้ทำให้เรามีความสุข"
. พญ.แสงสุรีย์ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของความสนใจในด้านโลหิตวิทยาว่า "เนื่องจากตอนที่ยังเป็นนักเรียนแพทย์ปี 4 นั้น ในช่วงที่ต้องมาเรียนดูแลผู้ป่วย ซึ่งแบ่งเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 6 อาทิตย์ โดยช่วงแรกนั้น อยู่ที่แผนกตา หู คอ จมูก ช่วงที่ 2 อยู่ที่ Elective ในตอนนั้นเราเพิ่งเริ่มเรียนเพียงช่วงเดียว จึงยังไม่รู้ว่าเราควรจะเลือกเรียนอะไร บังเอิญตอนก่อนหน้านี้ในช่วง Pre-Clinic ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 วิชาโลหิตวิทยา ก็เลยชวนเพื่อนสนิทคนหนึ่งไปลงเรียนโลหิตวิทยาดีกว่า ก็ได้มาเรียนกับ ศ.เกียรติคุณ พญ.ถนอมศรี ศรีชัยกุล ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านโลหิตวิทยาคนเดียวในขณะนั้น พอได้เรียนแล้วก็รู้สึกสนุก และได้สนิทกับอาจารย์มาโดยตลอด จนกระทั่งอาจารย์ชักชวนให้มาเรียนก็เลยตัดสินใจเลือกเรียนโลหิตวิทยา"
แม้ในอดีตการศึกษาด้านโลหิตวิทยาจะไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากเนื้อหาที่เรียนนั้นยาก และต้องเรียนหนักมาก แต่ . พญ.แสงสุรีย์ ก็ยังไม่ล้มเลิกความตั้งใจนี้ สามารถเรียนจนสำเร็จเป็นแพทย์ด้านโลหิตวิทยาอย่างตั้งใจ
ทั้งนี้
. พญ.แสงสุรีย์ ได้อธิบายถึงขอบข่ายของโรค และการรักษาด้านโลหิตวิทยาว่า "โรคทางโลหิตวิทยามีทั้งโรคที่ใช่มะเร็ง และไม่ใช่มะเร็ง คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงโลหิตวิทยาก็จะนึกถึงมะเร็งทั้งนั้น แต่จริง ๆ ปัญหาใหญ่ของโลหิตวิทยาจะอยู่ที่โรคที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็งก็มีเยอะ เช่น โลหิตจาง จากสาเหตุต่าง ๆ ทั้งเม็ดเลือดขาวผิดปรกติ เกล็ดเลือดต่ำผิดปรกติ ฯลฯ โรคเหล่านี้เป็นปัญหาซึ่งเราเจอกันอยู่ทุก ๆ วัน แต่ที่หนักหนาสาหัสก็คือ โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา
ซึ่งถ้าเป็นในสมัยก่อนจะรักษาไม่หายขาด ทำได้แค่เพียงประคับประคองไปเท่านั้น แต่ในปัจจุบันต้องบอกเลยว่าการรักษามะเร็งด้านโลหิตวิทยานั้น พัฒนาขึ้นมาก หลายโรคเรียกว่าเกือบจะรักษาให้หายขาดได้ อาทิ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ปัจจุบันเรารักษาด้วยยาชนิดใหม่ ๆ ก็สามารถช่วยได้ ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเกือบเป็นปรกติเท่ากับคนทั่วไปเลยทีเดียว"

จากข้อมูลทราบมาว่าอาจารย์มีส่วนทำให้งานด้าน
โลหิตวิทยาเป็นปึกแผ่นมากขึ้น เป็นผู้บุกเบิกอะไรหลาย ๆ อย่างให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งนับเป็นการทำงานที่ภาคภูมิใจทั้งสิ้น
"ก็ รู้สึกภูมิใจในรามาธิบดีนะคะ ต้องบอกเลยว่าตัวเองนั้นเป็นลูกหม้อรามาฯ ตั้งแต่เกิด เพราะเรียนจบจากที่นี่ เป็นแพทย์ฝึกหัดที่นี่ และไม่เคยทำงานที่ไหนเลยนอกจากที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ในตอนที่กลับมาเดิมทีมีอาจารย์อยู่เพียง 3 ท่าน คือ ศ.เกียรติคุณ พญ.ถนอมศรี ศรีชัยกุล นพ.วิชัย อติชาตการ และตัวเอง สักพักหนึ่ง อ.ถนอมศรีท่านก็ได้ลาออกไป ทำให้เหลือกันอยู่แค่ 2 คน และด้วยงานหนักจึงไม่มีใครอยากมาทำ ชวนใครก็ไม่มีใครยอมมา ก็พยายามมองหาว่าแพทย์ประจำบ้านคนไหนหน่วยก้านดี ๆ ก็ชวนมา ซึ่งก็ภูมิใจว่าอาจารย์ทั้งหลายที่อยู่ ณ ตอนนี้ นอกจาก อ.วิชัย ซึ่งเป็นรุ่นพี่แล้ว ได้มาจากการชักชวนของเราทั้งสิ้น และทำให้หน่วยโลหิตวิทยาเป็นปึกแผ่นมาจนถึงวันนี้"
"นอกจากนี้ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ภูมิใจคือ ได้สร้างโครงการปลูกถ่ายไขกระดูกที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่ทำเป็นแห่งที่ 2 ในประเทศไทย ซึ่งเราก็ทำได้ประสบความสำเร็จไม่น้อยหน้าในต่างประเทศ มีผลงานดี ๆ ออกมามากมาย" คุณหมอคนเก่งกล่าว
สำหรับบทบาทการเป็นแห่งประเทศไทยมาตลอด 6 ปีนั้น เป็นที่ยืนยันได้ว่าคุณหมอมีความสามารถอย่างแท้จริง ซึ่ง ศ. พญ.แสงสุรีย์ อธิบายถึงหน้าที่นี้ว่า

"สำหรับบทบาทของนายกสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทยนั้น ขณะนี้หมดวาระไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา ทำหน้าที่มาทั้งหมด 6 ปี ในบทบาทของสมาคมโลหิตวิทยามีหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้ความรู้ในเรื่องของวิชาการด้านโลหิตวิทยา และพยายามสนับสนุนสมาชิกให้มีการทำวิจัยทางด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเราจะมีการให้ทุนวิจัยกับสมาชิก จำนวนหลายแสนบาทต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยที่มาจากหลายแหล่งทุน เนื่องจากต้องใช้ทุนค่อนข้างสูง แต่คุณภาพที่ได้จะดีกว่า หากมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับด้านโลหิตวิทยาเกิดขึ้นมาในสังคม เราก็จะออกมาให้ความรู้กับประชาชนได้อย่างทันท่วงที"นอกจากในประเทศจะมีสมาคมโลหิตวิทยาแล้ว

ทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มานานแล้วเช่นกันโดยมีการจัดตั้ง"สมาคมโลหิตวิทยานานาชาติ"(International Society of Hematology หรือ ISH) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1946 ซึ่งประกอบด้วย 3 divisions คือ
1. Asia Pacific Division (APD)
2. Inter American Division (IAD)
3. Euro African Division (EAD)

ทั้ง 3 divisions มีเลขาธิการดูแลแต่ละ division และเลขาธิการทั้ง 3 ท่านรายงานต่อ Chairman of Councils ซึ่งถือเป็นผู้บริหารสูงสุดของสมาคม ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ขึ้นไปเป็น Chairman of Councils มักจะมาจาก Secretary Generals ISH จะมีการจัดประชุมทางวิชาการเป็น World Congress of ISH ทุก ๆ 2 ปี โดยหมุนเวียนผลัดกัน ซึ่งในแต่ละ division ก็จะมีการจัดประชุม Regional meeting โดย IAD และ EAD มี Regional meeting ทุก ๆ 2 ปี แต่ APD จะมี Regional meeting ทุก ๆ 4 ปี
ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้รับตำแหน่ง Chairman คนต่อไปได้แก่ . พญ.แสงสุรีย์ จูฑา จากประเทศไทย ซึ่งคุณหมอได้เผยถึงที่มาของการได้รับเกียรตินี้ว่า "จากการที่ได้เป็นประธานจัดงาน 32nd World Congress of International Society of Hematology (ISH 2008) ในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีผู้เข้าร่วมประชุมเกือบ 1,500 คนโดยในฐานะประธานจัดการประชุมต้องทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์การจัดการประชุมให้สมาชิกโลหิตวิทยาทั่วโลกได้ทราบ ซึ่งเราเดินสายไปทั่วโลกเพื่อทำการโปรโมตงาน ไปทุก ๆ การประชุมของโลหิตวิทย พยายามไปทุกที่ที่จะไปได้ ซึ่งเราทำงานกันเป็นทีม แบ่งงานกันทำเต็มที่ จึงทำให้ ดร.ไซโต เลขาธิการของเอเชีย แปซิฟิก ได้เห็นถึงความตั้งใจจากการทำงานนี้ จึงเสนอชื่อดิฉันให้เข้ารับตำแหน่ง Chairman of Councils ในการประชุมธุรการ General Assembly ของ ISH ที่กรุงเทพฯ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศสมาชิกทั่วโลก (ซึ่งตามหลักแล้ว ดร.ไซโต คือบุคคลที่น่าจะต้องมารับตำแหน่งนี้) โดยคณะกรรมการท่านอื่น ๆ ได้มีมติลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้ดิฉันเป็น Chairman หญิงและคนไทยคนแรกของสมาคม"
เมื่อถามถึงความรู้สึกในฐานะที่เป็น
คนไทย และสตรีคนแรกที่ได้รับเกียรติ ให้รับตำแหน่ง Chairman of Councils . พญ.แสงสุรีย์ จูฑาได้เผยว่า "รู้สึกภูมิใจ และเป็นเกียรติอย่างมาก ไม่ใช่เพียงเป็นเกียรติแก่ตัวเองคนเดียว แต่เป็น เกียรติแก่สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย และประเทศชาติด้วย เพราะ ถ้าไม่ใช่การทำงานให้สมาคมโลหิตวิทยา ก็คงไม่มีใครเห็นผลงานของเรา ที่ผ่านมา ในตำแหน่งนี้นอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังไม่มีประเทศไหนในเอเชียเคยได้รับ ตำแหน่งนี้เลย โดยการทำงานจะดำรงตำแหน่งในวาระเป็นเวลาทั้งสิ้น 4 ปี”
"สำหรับนโยบายแรกที่วางแผนไว้ว่าจะทำหลังจากเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการคือ การผลักดันให้ทำ "วารสารของสมาคม" ซึ่งปรกติสมาคมทั่วไปในต่างประเทศก็จะมีวารสาร Official Journal ของสมาคมอยู่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ตั้งแต่เข้ามาทำงานกับสมาคมตลอด เวลา 8 ปี ได้มีการคุยกันถึงการทำวารสารมาตลอด แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยรูปแบบที่วางไว้คิดว่าจะทำวารสารแบบออนไลน์ เพราะถ้าทำเป็นรูปเล่มค่าใช้จ่ายจะสูงกว่า อีกอย่างเดี๋ยวนี้คนก็ไม่อยากได้เป็นเล่ม ๆ แล้ว หวังว่าจะทำให้สำเร็จให้ได้ภายใน 4 ปีที่อยู่ในวาระนี้" Chairman คนล่า
สุดกล่าว
การทำหน้าที่นายก
สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทยจะแตกต่างกับนายกสมาคมโลหิตวิทยานานาชาติอย่างไร . พญ.แสงสุรีย์ ได้ให้ความเห็นว่า "ต่างกันพอสมควร เนื่องจากในประเทศไทยเรามีองค์กรของเรา อยู่ มีคณะกรรมการ มีทุกอย่างค่อนข้างลงตัวและมั่นคงแล้ว เพราะดำเนินการมากว่า 30 ปี เมื่อจะต้องมีการจัดประชุมต่าง ๆ ก็มีเงินทุนรองรับ สามารถทำได้สะดวกกว่า แต่สำหรับสมาคมโลหิตวิทยานานาชาตินั้น ต้องบอกว่าตำแหน่งนี้ให้แต่เกียรติยศเพียงอย่างเดียว ไม่มีเงินสนับสนุนมาเลย ยกตัวอย่างในการประชุมอะไรก็ตามก็ต้องไปในฐานะนายกสมาคม แต่ทางสมาคมไม่มีเงินสนับสนุนให้ ฉะนั้นการจะทำเรื่องวารสารนั้น เหตุผลที่ทำไม่สำเร็จมาตลอดก็เพราะขาดปัจจัยการสนับสนุนตรงนี้"
เมื่อถามถึงหลักการทำงานส่วนตัวที่ทำให้ประสบความสำเร็จเช่นปัจจุบัน
. พญ.แสงสุรีย์ ก็ยินดีเปิดเผยว่า "ส่วนตัวเป็นคนที่ทำงานเร็ว ปรกติมาทำงานโดยถึงโรงพยาบาลประมาณตี 5 ทุกวัน เรียกว่าเป็นคนเร็ว คิดเร็ว ตัดสินใจเร็ว ทำงานเร็ว เพราะฉะนั้นเมื่อเทียบกับคนอื่นที่ทำงานเหมือนกัน จะใช้เวลาน้อยกว่าคนอื่น ครึ่งหนึ่ง ก็เลยทำให้มีเวลาเยอะ จนบางครั้งรู้สึกว่าเหมือนตัวเองไม่มีงานทำ แต่จริง ๆ คือเราทำเสร็จแล้วนั้นเอง เช่น คิดไว้แล้วว่าพรุ่งนี้ต้องทำงานนั้นงานนี้เยอะแยะมากมาย คิดไปว่าไม่รู้จะทำทันหรือเปล่า แต่พอได้มาลงมือทำจริง ๆ เผลอแป๊บเดี๋ยว 7 โมงกว่าก็ทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทีนี้เวลาที่เหลือก็สามารถนำไปทำประโยชน์อื่น ๆ ได้อีก ถามว่าทำงานเยอะขนาดนี้เคยเหนื่อยเคยท้อบ้างไหม ตอบได้เลยว่าไม่เคยเหนื่อยหรือท้อเลย เพราะเราทำด้วยใจรัก"
อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้น นอกจากบทบาทการ ทำงานที่โดดเด่นและประสบ ความสำเร็จแล้ว ชีวิตครอบครัวก็แสนจะความอบอุ่น มีคู่คิดที่ประกอบวิชาชีพแพทย์เหมือนกัน ย่อมเข้าใจกันได้มากขึ้น และมีบุตรที่มีดีกรีความเก่งระดับประเทศ สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ โดยมีคะแนนสอบเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยถึง 2 คน
ซึ่งดูเหมือนชีวิตตอนนี้จะสมบูรณ์แบบทุกอย่างแล้ว แต่อนาคตยังอยากจะทำอะไรอีกหรือไม่. พญ.แสงสุรีย์ ก็ได้เผยว่า
"จริง ๆ ตอนนี้ก็ใกล้จะถึงจุดที่ต้องหยุดทำงานแล้ว ยังบอกกับหลาย ๆ คนว่า เสียดายที่เกิดมาเร็วไป 10 ปี คือโรคที่สนใจคือมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการรักษานั้นก้าว
หน้าไปมาก และคาดว่าคงจะไปอีกไกล แต่จะต้องหยุดทำงานเสียแล้ว ก็รู้สึกเสียดายตรงนี้ เพราะยังอยากทำตรงนี้ไปอีก 5-10 ปี เนื่องจากผู้ป่วยที่เราดูแลมีจำนวนมาก"
คำถามสุดท้ายที่ได้คำตอบแสนประทับใจ ที่ถามว่ารู้สึกพอใจ
กัชีวิตในปัจจุบันมากน้อยแค่ไหน ซึ่ง . พญ.แสงสุรีย์ ได้ตอบว่า"ภูมิใจที่ตัวเองสามารถมาถึงวันนี้ได้ เพราะไม่ใช่แค่ความสำเร็จในชีวิตการงานเท่านั้น ซึ่งเกือบจะสูงสุดเท่าที่ผู้หญิงหนึ่งที่สามารถจะทำได้ ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ เป็นหัวหน้าภาคอายุรศาสตร์ที่เป็นผู้หญิงคนแรก เป็นนายกสมาคมโลหิตวิทยา และนายกสมาคมโลหิตวิทยานานาชาติ เรียกว่าสูงสุดเท่าที่จะไปได้แล้ว ในขณะเดียวกันชีวิตครอบครัวก็ประสบความสำเร็จมาก ๆ ฉะนั้นคิดว่าชีวิตนี้สมบูรณ์หมดทุกอย่างแล้ว ไม่สามารถบ่นอะไรได้อีกแล้ว เหมือนที่ฝรั่งพูดว่า "I can"t complain"ทุกวันนี้มีความสุขมากที่สุดแล้ว มีความสุขที่ได้ทำอะไรให้สังคม ช่วยเหลือผู้ป่วย ช่วยใครก็ได้ที่เขามีความทุกข์"
รัก มั่นคง ศ.ดร.สายหยุด จำปาทอง อดีตอธิบดีกรมฝึกหัดครู เป็นประธานในงานเลี้ยงฉลองวันสละโสดระหว่าง พิมนารา บุตรี สุริยา-สมหมาย วัชรพิมลพันธ์ กับ ดร. เจน บุตร ศ.นพ.พยงค์-ศ.พญ.แสงสุรีย์ จูฑา ท่ามกลางบรรยากาศของความชื่นมื่น ที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล คํ่าวันก่อน 10/06/52