Custom Search

Oct 20, 2019

ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี #4

1) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8.html
2) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-2.html
3) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-3.html
5) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-5.html
6) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-6.html
ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี
10 ตุลาคม 2019 เขียนโดย Workpoint News




เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเฮงด้วย อายุเป็นเพียงตัวเลข
เพราะคนวัย 80 อย่างเจ้าสัวธนินท์
ยังรับความรู้ใหม่ๆ ได้เรื่อยๆ โดยมีเทคนิคคือต้องเปิดใจกว้าง
และมองว่าคนที่จะสำเร็จได้
ต้องมีทั้งความเก่งและเฮงประกอบกัน
“เราเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องบวกเฮงด้วย
บวกโอกาสด้วยทุกคนมีโอกาส เพียงแต่โอกาสมากหรือน้อย
โอกาสมาเร็วหรือช้า บางคนอายุ 60 แล้วถึงจะเจอโอกาส
เรื่องอย่างนี้ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ผมเจอโอกาสมาเร็ว
แล้วผมก็ทุ่มเท สู้ ผ่านวิกฤติ ผ่านปัญหา
ยิ่งผ่านวิกฤติมากก็ยิ่งเก่งขึ้นมาก
คนที่ประสบความสำเร็จเหมือนกัน
แต่คนนึงผ่านวิกฤติมาก่อนอีกคนราบรื่น
คนผ่านวิกฤติมาเก่งกว่าเยอะ
ดังนั้น ผมเข้าใจคนหนุ่ม ผมอายุ 21 ก็ทำงานแล้ว
แต่วันนี้คนหนุ่มที่จบมาอายุ 22 จบมหาวิทยาลัยมา
ความรู้มากกว่าผมเยอะแยะ เพียงแต่เขาขาดโอกาส
ผมคิดว่าการเรียนนี่ไม่ต้องถึง 4 ปีหรอก
มหาวิทยาลัยเรียนมากไปแล้วครับ
ถ้าจะเรียน 4 ปี เรียนไปทำงานไปดีกว่า
ออกมาเรียนครบ 4 ปี เป็นผู้จัดการได้เลย
การปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ รู้จริง
อย่าไปเสียเวลาอ่านทฤษฎี
เคสบางเคสเราเอามาใช้จริงไม่ได้
เพียงแต่เอามาเป็นไกด์ไลน์ เป็นข้อมูลได้
จริงๆ แล้วต้องทำไปแก้ไป
พวกสตาร์ทอัพที่สำเร็จมีตำราที่ไหน อย่าง “แจ็ค หม่า”
ไม่มีตำรา ทำไป แก้ไป เปลี่ยนแปลงไป พัฒนาไป”
ทำเรื่องใหม่ต้องใช้คนใหม่
เพราะลูกวัวไม่กลัวเสือ เจ้าสัวธนินท์กล่าวถึง
การทำเรื่องใหม่ๆ ว่า ที่จริงคนเก่าก็ใช้ได้
แต่ช้ากว่าใช้คนใหม่ คนเก่ารู้เรื่องเก่า ถ้ารู้ยิ่งลึก
เปลี่ยนยิ่งยาก แต่คนใหม่นั้นเหมือน “ลูกวัวไม่กลัวเสือ”
กล้าคิดกล้าทำ “เรื่องใหม่ต้องใช้คนใหม่
ผมเคยพูดอยู่คำนึงว่า ลูกวัวไม่กลัวเสือ คนเก่า
เวลาจะให้เปลี่ยนทำเรื่องใหม่ กลายเป็นว่า
เขาเคยทำเรื่องนี้สำเร็จ ทำได้ผลมาก
แต่พอไปทำเรื่องใหม่นี่ เขาไม่รู้ ไม่เคยทำ
ถ้าไม่เคยทำ อย่าเพิ่งทำ บัวช้ำน้ำขุ่น เอาคนใหม่มาทำ
แล้วไม่ต้องเสียเวลาไปล้างสมองเขา
คนเก่าติดความเคยชินเดิม แต่ถ้าเราเอาคนใหม่ทำของใหม่
แล้วทำให้คนเก่าเห็น อันนั้นเปลี่ยนได้
เพราะมนุษย์จะไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง”
เราทำทุกเรื่องไม่ได้ ต้องเลือก และทำสิ่งที่ถนัด
เพราะเป็นคนเก่งที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก
จึงมีโอกาสต่างๆ พุ่งเข้าหาเจ้าสัวธนินท์อย่างมหาศาล
แต่เจ้าสัวไม่เลือกที่จะคว้าไว้ทั้งหมด
แต่เลือกที่จะทำธุรกิจที่จำกัดความได้ 2 อย่าง คือ
อาหารสมอง และ อาหารอิ่มท้อง “มีอะไรที่อยากทำอีกเยอะ
แต่มันไม่ไหวหรอกครับ ต้องเลือกทำ
เพราะพลังเราก็มีจำกัด แล้วเราไม่ใช่เก่งทุกเรื่อง
เราต้องเลือกอะไรที่เราถนัด แต่สำคัญต้องเลือกที่มีอนาคต
เราทำธุรกิจทุกเรื่องไม่ได้หรอก คนมองว่าเราไปเรื่องโทรศัพท์
ไปเรื่องทีวีทำไม
ผมตั้งว่าเป็นเรื่อง “อาหารสมอง”
มนุษย์จะขาด 2 เรื่องไม่ได้
คือ ความรู้ซึ่งเป็นอาหารสมอง ดูทีวี ฟังเพลง เป็นความสุข
ก็เป็นอาหารสมอง ได้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
ก็จากอาหารสมอง ซีพีทำ 2 เรื่อง
อีกเรื่องก็ “อาหารอิ่มท้อง”
แต่อาหารอิ่มท้องสำคัญกว่าอาหารสมองอีก
สองตัวนี้คู่กันกับมนุษย์ แต่ถ้าให้เลือกก็ต้องมีชีวิตไว้ก่อน
ฉะนั้น การเลือกธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญคู่กับมนุษย์
นอกเหนือจากนี้เราไม่ทำ
ของซีพีอย่างค้าปลีกนี่มันต่อเนื่องจากการขายสินค้าอาหาร
การให้ความสะดวกเป็นเรื่องจำเป็นของมนุษย์ประจำวัน
ที่ซีพีทำมามันต่อเนื่อง ต่อไปธุรกิจทุกเรื่องมันต้องต่อเนื่องกัน
มันจะเอื้อกันมากขึ้น อย่างรถยนต์มีชิ้นส่วน 4-5 พันชิ้นส่วน
เขาต้องมาผนึกกำลังอยู่ที่เดียวกัน เพื่อลดขั้นตอนขนส่ง
ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ”
ค่านิยม 6 ข้อ ของซีพี
“ข้อที่ 1 ทำอะไรต้องเป็นประโยชน์ 3 ส่วน
คือ ประโยชน์ต่อชาติ ต่อประชาชน และต่อบริษัท 
ข้อที่ 2 ต้องเร็วและต้องมีคุณภาพ
ข้อที่ 3 ต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
ข้อที่ 4 ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ข้อที่ 5 ต้องทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เรื่องนี้สำคัญมาก
เพราะคนฉลาดชอบทำของง่ายๆ คนฉลาดต้องเก่ง
ถ้าคนฉลาดกว่าต้องเลือกทำของยากๆ ทำให้มันง่ายขึ้น
อย่างผมต้องเอาของยากที่สุด
เพราะพอผมทำของยากนี่คนเก่งไม่มา
เพราะคนเก่งคนฉลาดจะมองว่า
อย่างนี้มันไม่มีทางสำเร็จหรอก เราก็เจอปัญหาเหมือนกัน
เหมือนการต่อยมวย ขึ้นต่อยมวยคนเดียว
สะดุดขาล้มไปนับ 10 ตื่นขึ้นมาก็เป็นแชมป์
เพราะไม่มีคู่ต่อย ถ้าเราสำเร็จเมื่อไหร่
คนค่อยมาตาม ก็สายไปแล้ว
ซีพีถึงถูกมองว่าผูกขาด เราผูกขาดที่ไหน เราทำก่อน
อย่างเช่นสินค้าเกษตรเอย เซเว่นเอย
ทุกคนมองว่าขาดทุน จนเราสำเร็จค่อยมาตาม
ข้อที่ 6 เห็นโอกาสก่อน เริ่มต้นก่อน
โดยเฉพาะเริ่มต้นในสิ่งที่คนคิดว่ายาก
แล้วพอเราทำสำเร็จ คนจะตามก็ยาก”

การทำงานคือการไปเที่ยว: มองอุปสรรคให้เป็นอาหาร 3 มื้อ

แม้วัยจะล่วงเลยมาถึง 80 และมีความพร้อมทุกอย่างแล้วในชีวิต
แต่เจ้าสัวธนินท์ยังสนุกกับการทำงานในทุกๆ วัน
โดยมอบหมายงานหลักแต่ละส่วนให้ผู้บริหารงานทำ
ส่วนตัวเจ้าสัวทำเรื่องใหม่ คือการใช้เงินเพื่อสร้างคนเก่ง 

“ผมถือว่าการไปทำงานคือการไปเที่ยว

ต้องคิดว่าเป็นเรื่องเล่นเกม ท้าทายตัวเอง
คือถ้าเราไม่ทำงาน วันนึงก็ผ่านไป
สมมติว่าผมไปเที่ยวสบายเลย
วันนึงก็ผ่านไป ปีนึงก็ผ่านไป 10 ปีก็ผ่านไป
แต่ถามว่าแล้วเราสนุกอะไรกับสิ่งที่เป็นความฝัน
เราไม่ได้อะไรเลย ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
แต่เราทำงานก็ต้องคิดว่าสนุก ไปเที่ยวเหมือนกัน
อย่าคิดว่าเป็นภาระ เจออุปสรรคก็คิดว่าเป็นอาหาร 3 มื้อ
เป็นเรื่องธรรมดาของนักธุรกิจ

มีปัญหาไหม มี อย่างผมก็ผ่อนถ่ายให้กับผู้บริหารทั้งหลาย

อะไรที่เรากลุ้มใจก็ให้คนอื่นไปกลุ้มใจเสีย
ก็ฝึกฝนเขาด้วย แล้วเราค่อยให้การสนับสนุน ให้ข้อคิด 
ผมไปออฟฟิศนี่มีความสุข
เจอปัญหาก็ท้าทาย เราต้องเปลี่ยนแปลงโลก
แล้วโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ปัญหาทั้งคน ทั้งการลงทุน
อะไรต่ออะไร งานส่วนใหญ่มีคนเก่งๆ
ทำอยู่แล้ว อย่าง 3 ธุรกิจหลักในเมืองไทยก็มี CPF
เป็นเรื่องอาหาร นี่เป็นธุรกิจเก่าแก่
เรื่องค้าปลีก เรื่องทรู ทรูนี่กำลังจะมาแซงซีพีออลล์แล้ว
อาหารสมอง กินไม่อิ่มน่ะ เราก็มีคนรับผิดชอบอยู่ 3 คน
ส่วนจีนกับญี่ปุ่น ต่างประเทศ ก็มีคนดูแล
หลักใหญ่จริงๆ ก็มีคนดูแลแล้ว 
ส่วนผมก็ทำเรื่องใหม่ เรื่องใช้เงิน
คือการเปลี่ยนแปลงมีปัญหาแน่นอน
การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เงิน
อย่างศูนย์ฝึกผู้ นำ เราต้องใช้เงิน
แล้วผมก็บอกเพื่อนร่วมงานทุกท่านว่า
ตรงนี้ให้คิดว่าเราลงทุนทำโรงงานที่ทันสมัยที่สุด
โรงงานผลิตของออกมามีค่า
แต่ศูนย์ผู้นำ ประเมินค่าไม่ได้ เราสร้างคนเก่งคนนึง
เขาจะสร้างธุรกิจให้เราอีกเป็นแสนล้าน
แต่ถ้าเราสร้างสินค้าออกมาก็จะมีราคาระบุว่า
นี่กิโลนึงราคาเท่าไหร่ ถ้าเราสร้างคนเก่ง ไม่มีมูลค่าที่เทียบ
ตรงนี้สำคัญที่สุด พ่อแม่เสียเงินส่งเสียให้คุณเรียนไปเท่าไหร่
กว่าจะเลี้ยงขึ้นมาจนโตอีก
แต่ธุรกิจโดยเฉพาะยุค 4.0
มันกำลังจะเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ
บริษัทใหญ่ๆ ล้มละลายได้
ถ้าไม่เปลี่ยนแปลง เชื่อผม ธุรกิจเปลี่ยนแปลง
แล้วพวกสตาร์ทอัพก็จะมานั่งเป็นผู้ใหญ่ อย่าง อาลีบาบา
เปิดมา 18 ปี แซงบริษัทที่ 100 ปีแล้ว”
ปัญหามาคู่กับการเปลี่ยนแปลง
“ไม่มีอะไรที่ไม่มีปัญหา เชื่อผม นอกจากเราไม่ทำ