Custom Search

Oct 20, 2019

ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี #3


1) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8.html
2) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-2.html
4) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-4.html
5) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-5.html
6) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-6.html
ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี
10 ตุลาคม 2019 เขียนโดย Workpoint News




ถ้าตอนนั้นอันนี้ก็จะรักษาไว้ อันนู้นก็จะรักษาไว้
สุดท้ายล้มทั้งลำ ก็เหลือเฉพาะที่มีอนาคต
โดยเฉพาะที่พี่น้องสร้างเอาไว้
ยังไม่ทันขายเซเว่น ขายแค่แมคโคร, โลตัส เราก็ผ่านวิกฤติแล้ว” วิกฤติและโอกาสเป็นของคู่กัน:
ตอนมีอย่าเหลิง ตอนเจออย่าท้อ และอย่าตาย
เจ้าสัวธนินท์เป็นคนที่ชอบศึกษา และ “วิกฤติ”
ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าสัวศึกษาและได้บทเรียน 
“ความจริงวิกฤติเป็นโอกาสเหมือนกันนะ
ลองไปศึกษาให้ดีๆ ผมชอบศึกษาและเป็นบทเรียนของเราด้วย
อยากเตือนทุกท่าน ตอนที่ดีที่สุด
ตอนที่เรารุ่งเรืองที่สุดเราต้องคิดตลอดเวลาแล้วว่า
ถ้าเกิดมันมืดลงมาล่ะ เกิดวิกฤติมา เรารับไหวไหม
เราต้องทำการบ้านแล้วนะ อย่าเหลิง
แต่ตอนที่วิกฤติแล้วมืดที่สุด อย่าท้อใจ แสงสว่างจะมาแล้ว
ตอนวิกฤติ ตอนกำลังแย่ๆ นี่ อย่าตาย
ถ้าตายไปก็เอาคืนไม่ได้ หมดโอกาส
วิกฤติตามมาด้วยโอกาส โอกาสก็จะตามมาด้วยวิกฤติ อันนี้คู่กัน
เมื่อผ่านวิกฤติได้ต้องคิดแล้วว่า
หลังจากวิกฤติแล้วมีโอกาสอะไร เราต้องเตรียม”
คำนึงถึงพี่น้องและพนักงาน: ขายแล้วต้องขยายด้วย
แม้อยู่ในช่วงประสบวิกฤติเศรษฐกิจ
แต่เจ้าสัวก็ไม่ละเลยความรู้สึกของพี่น้องและพนักงาน
โดยให้พี่น้องอีก 3 คน ไปเที่ยวพักผ่อนให้สบายใจ
เพื่อจะได้เป็นคนที่ปวดหัวคนเดียวพอ
ซึ่งจะทำให้มีเวลาคิดแก้ไขปัญหา
และแม้ปัญหาจะถาโถม ก็ยังเลือกมองไปข้างหน้า
นอกจากขายบางอย่างเพื่อรักษาส่วนสำคัญให้รอดแล้ว
เจ้าสัวมองว่ายังต้องขยายด้วย
“เรื่องวิกฤติมีความน่าสนใจ
1. เรื่องพี่น้อง ถ้าเราไม่เครียดไม่ต้องมานั่งรับโทรศัพท์พวกเขา
เราจะมีเวลานั่งคิดแก้ปัญหา
2. เวลาเรืออับปาง ต้องโยนบางอย่างทิ้ง
3. แค่รักษาเฉยๆ ไม่ได้ ต้องขยายด้วย เพื่อหาเงินอื่นๆ เสริมมา
และเป็นเรื่องขวัญกำลังใจพนักงาน
อนาคตเราต้องขยายอีก ขยายธุรกิจที่เราเห็นว่าดี
ถ้าเราไม่ขยาย ก็กินของเก่าเท่านั้นก็ไม่ได้
โลกมันเปลี่ยนแปลง
ถ้าตอนนั้นใครมีเงินขยายก็จะได้เปรียบที่สุด
เพราะของถูกที่สุด” สนับสนุนคนเก่ง และสร้าง “ผู้นำ” ที่ดี
ซีพีเป็นองค์กรใหญ่มาก ทั่วโลกมีพนักงาน 3 แสนกว่าคน
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือการพัฒนาบุคลากร
โดยเฉพาะผู้นำ ซึ่งเจ้าสัวธนินท์ให้ความสำคัญกับการสร้าง
“ผู้นำ” เป็นอย่างมาก
และมอบเวลาส่วนใหญ่ให้กับสถาบันฝึกผู้นำของซีพีที่เขาใหญ่
โดยให้เด็กจบใหม่ฝึกปฏิบัติงานจริง
ด้วยการตั้งงบประมาณ 1 แสนบาท
ให้เด็กทำธุรกิจอะไรก็ได้ ขาดทุนไม่เป็นไร
ขอเพียงกล้าทำ โดยไม่มีอะไรครอบงำ
ให้เด็กนำเสนอเส้นทางที่จะพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ
แล้วเจ้าสัวจะตั้งคำถามถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ฝึกให้เด็กคิดแก้ไขปัญหา ต้องกล้าเอาปัญหามาพูด
ที่สำคัญคือต้องรู้กำไรขาดทุนทุกวัน
โดยเจ้าสัวจะเป็นคนคอยชี้แนะ แต่ไม่ชี้นำ
“ดีที่สุดในการพัฒนาคนคือต้องให้เขาลงมือทำ
ต้องให้อำนาจ แล้วเขาจะสนุก ต้องให้เขาคิดเอง ทำเอง
เราเพียงแต่ให้ข้อเสนอแนะ อย่าไปชี้นำ ทำผิดก็ถือเป็นค่าเล่าเรียน ให้เขารู้ว่าอันนี้เขาทำเสียหายไปแล้ว เขาผิดพลาดแล้ว
ก็ให้โอกาสทำต่อ การสนับสนุนคนเก่ง
ต้องให้อำนาจเป็นอันดับ 1 เพื่อให้เขาแสดงความสามารถ
อย่าไปกำกับ อย่าไปครอบงำเขา อย่าไปชี้นำ
ชี้แนะได้แล้วให้เขาทำ ให้เขาแสดงความสามารถ
และให้เกียรติ
ต้องมีตำแหน่ง ตามด้วย เงิน ทำงานมาก
เงินก็ต้องมากพอสมควร ผู้นำนี่สำคัญมาก
ต้องเอาผลประโยชน์ตัวเองอยู่เป็นที่ 3
ผลประโยชน์ที่ 1 ต้องเป็นบริษัท

เพราะบริษัทไม่มีวิญญาณตัวผู้นำต้องใส่วิญญาณให้บริษัท

ถ้าเขาเห็นแก่ตัว บริษัทล้มละลายแน่
ต้องเห็นแก่บริษัทก่อน แล้วก็พนักงาน
เพื่อนร่วมงาน จะเป็นผู้นำได้
ตัวเองต้องอยู่ที่ร้อนได้ แม้จะเป็นธุรกิจตัวเอง
คุณก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อบริษัทที่ตั้งขึ้นมา
แล้วก็เพื่อพนักงาน พนักงานต้องมาก่อนคุณ
เพราะถ้าไม่มีเพื่อนร่วมงานช่วยทำ
คุณคนเดียวจะสำเร็จได้ยังไง” เคารพคนเก่งด้วยความจริงใจ
มองจุดเด่น อย่ามองจุดอ่อน
วิธีเรียนลัดของเจ้าสัวธนินท์คือการไปพบคนเก่ง
เพื่อให้คนเก่งเป็นอาจารย์ โดยไม่ต้องมองเรื่องอายุ
หรือจุดด้อย จุดอ่อน ให้มองที่จุดเด่น
และเคารพนับถือเขาด้วยความจริงใจ
“เราต้องยอมรับของใหม่ๆ ผมไม่ได้ดูถูกคนที่จบใหม่เลย
ที่ผมสร้างอยู่นี่ (สถาบันฝึกผู้นำ) รับรองปีนึงเขาเป็นผู้จัดการได้ เผลอๆ เก่งกว่าผู้จัดการอีก เพราะทำจริง
ไปสัมผัสจริง เราเพียงแต่ชี้แนะ
แล้วคนเก่งในโลกนี้โผล่ขึ้นมาเรื่อย
เราเรียนลัดที่สุดคือไปคุยกับเขา
ไปยอมให้เขาเป็นอาจารย์ อย่างผมพอมีชื่อเสียง
ถ้าผมยอมไปเคารพเขา ผมว่าคนเก่งในโลกนี้
ไม่มีใครปฏิเสธคนที่มาเรียนรู้กับเขา มาเคารพเขา
มีความจริงใจกับเขา ยกย่องเขา ผมชอบยกย่องคนอื่น
คนเก่งอยู่ที่ไหน ผมไม่เคยไปมองความด้อยเขาเลย
ถ้าจะดูความด้อย ทุกคนก็มีจุดอ่อน พนักงานก็เหมือนกัน
เพื่อนร่วมงานก็เหมือนกัน
ผมต้องมองว่าความเก่งเขาอยู่ตรงไหน
หาจุดเด่นของเขาให้เจอ
แล้วเราก็จะเคารพนับถือเขาด้วยความจริงใจ
ถ้าเราไปมองจุดอ่อนเขา คุยกับเขาแล้วบางทีก็ดูถูกเขาแล้วล่ะ
แต่ความจริงเขามีจุดแข็งกว่าเราเยอะบางอย่าง
ฉะนั้น ผมจึงชอบเรียนรู้ ทุกวันนี้ผมก็ยังเรียนรู้
แล้ววันนี้ผมมีข้อดีอยู่ว่า ผมเคารพนับถือคนหนุ่มสาว
เด็กเพิ่งจบ เพราะผมรู้ว่าเด็กทุกคนเก่ง แล้วผมก็คัด
บริษัทก็คัดหัวหน้านักเรียน พวกทำกิจกรรมมา
แล้วก็ให้โอกาสเขา ให้เป็นเถ้าแก่น้อย เลย
ทำไมให้เป็นเถ้าแก่ เพราะผมก็เคยทำเถ้าแก่เล็ก
ทุกอย่างต้องรู้หมด ต้องรู้เรื่องบัญชี
การเงิน รู้จักจัดซื้อ รู้จักขาย เพราะเรายังเล็ก
ไปจ้างคนเก่งๆ เขาก็ไม่มา
ถ้าไปจ้างคนไม่เก่งก็สู้เราไม่ได้
ฉะนั้น คำว่า “เถ้าแก่” ต้องรู้ทุกเรื่อง
แต่พอธุรกิจใหญ่ขึ้น เราก็ต้องหาผู้เชี่ยวชาญ
ชำนาญเรื่องนี้โดยเฉพาะ เราก็จ้างเขาไหว
เขาก็อยากจะมา ดีทั้งคู่ ตอนที่เรายังเล็กอยู่
คนเก่งเราก็จ้างเขาไม่ไหว
มันก็เล็กเกินไปสำหรับความสามารถเขา
ดังนั้น ผมตั้งเป็นเถ้าแก่น้อย
พอ 6 เดือนขึ้นมาเป็นเถ้าแก่เล็กแล้ว
ปีนึงเป็นเถ้าแก่กลางได้แล้ว ถ้ามีผลงาน”