Custom Search

Oct 20, 2019

ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี #1


2) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-2.html
3) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-3.html
4) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-4.html
5) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-5.html
6) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-6.html

ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี
10 ตุลาคม 2019 เขียนโดย Workpoint News


คนฉลาดชอบทำเรื่องง่าย แต่ผมชอบทำเรื่องยาก

ยากแบบมีอนาคต ยิ่งไม่รู้ ยิ่งต้องศึกษา
“เสี่ยง 30 ชนะ 70 ถ้าความเสี่ยงนั้นไม่ทำให้เราล้มละลาย
ผมพร้อมจะเสี่ยง”
วิกฤติกับโอกาสเป็นของคู่กัน: ก่อนวิกฤติอย่าเหลิง
เจอวิกฤติอย่าท้อและอย่าตาย เลือกทิ้งบางอย่าง
รักษาส่วนสำคัญให้รอด
ซีพีไม่ได้ผูกขาด แต่ทำก่อน เหมือนขึ้นเวทีต่อยมวยคนเดียว
สะดุดขาล้มไปนับ 10 ตื่นขึ้นมาก็เป็นแชมป์ เพราะไม่มีคู่ต่อย
การทำงานคือการไปเที่ยว แต่ทำงานแล้วต้องพัก:
หลักการ 8-8-8-8 (สี่แปด) กิน 80%, นอน 8 ชั่วโมง,
เดิน 8,000 ก้าว, ดื่มน้ำให้ได้ 8 แก้ว
และกินไข่ไก่วันละ 2 ฟอง
ดีใจกับความสำเร็จได้วันเดียว
และให้เวลาเสียใจกับความล้มเหลวได้วันเดียวเช่นกัน
มีคนวัย 80 ปี จำนวนน้อยมากที่ยังแข็งแรง
และมีจำนวนน้อยกว่า ที่นอกจากแข็งแรงแล้ว
ยังไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเองเลยสักวัน
หนึ่งในนั้นคือ “เจ้าสัวธนินท์” หรือ
ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์
หรืออาณาจักรซีพี ซึ่งตระกูลเจียรวนนท์
ยังคงเป็นตระกูลมหาเศรษฐีของไทย
ที่ครองความร่ำรวยเป็นอันดับ 1 ประจำปี 2562
จากการรายงานของนิตยสารฟอร์บส์
ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 2.95 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
หรือราว 9.41 แสนล้านบาท
ใครๆ ก็คงอยากรู้แนวความคิดการทำธุรกิจ
ของแม่ทัพใหญ่แห่งซีพีอย่าง “เจ้าสัวธนินท์”
ไปจนถึงเรื่องการดูแลสุขภาพและการใช้ชีวิต
ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมีโอกาสได้ฟังจากตัวเจ้าสัวเอง
แต่เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา
“เจ้าสัวธนินท์” ได้มาร่วมพูดคุย
บนเวทีทอล์กแห่งปี
“Exclusive Talk ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
เกี่ยวกับหนังสือเล่มแรกที่เขียนเอง
“ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” โดยใช้เวลาถึง 8 ปี
ในการรวบรวมแนวคิดปรัชญาการทำงานกว่า 50 ปีที่ผ่านมา
รวมทั้งเรื่องราวชีวิตไว้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด
ณ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 24
ห้อง The Portal Ballroom อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ดำเนินรายการโดย “หนุ่มเมืองจันท์”
สรกล อดุลยานนท์ นักเขียนและคอลัมนิสต์ชื่อดัง
ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง
ที่เจ้าสัวธนินท์ได้มาพูดคุยเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ
และน่าศึกษาจากชายวัย 80ปีคนนี้อย่างยิ่ง
“ทีมข่าวเวิร์คพอยท์”
จึงได้นำสาระประโยชน์แบบจัดเต็มมาฝากผู้อ่านทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้

ยก “แจ็ค หม่า” เป็นอาจารย์ แต่ไม่ลงทุนกับ
“อาลีบาบา” เจ้าสัวธนินท์ ยกให้ “แจ็ค หม่า” เป็นอาจารย์
แต่เพราะไม่เข้าใจรูปแบบการทำงานของ
“อาลีบาบา” จึงไม่ลงทุน
“ผมได้ฟังคนเก่งๆ อย่าง แจ็ค หม่า แห่ง อาลีบาบา
ผมยกเขาเป็นอาจารย์ แต่ฟังเขาพูดแล้วผมไม่กล้าลงทุน
เพราะยังไม่เข้าใจเรื่องรูปแบบ ความสำเร็จของผม
หรือของซีพี คือเราต้องเห็นก่อนว่า
เรื่องนี้เขาสำเร็จมายังไง เรามีโอกาสไหมที่จะเอามาต่อยอด
แต่ไปคุยกับแจ็ค หม่า นี่ฟังไม่รู้เรื่อง
ทั้งที่ไปเข้าคอร์สอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ต ที่ฮ่องกง
ก็ยังไม่เข้าใจ ตอนนั้นเราไปหาแจ็คหม่าเองเลย
เขาไม่ได้ชวนเราลงทุน แต่เราไปหาเขาเอง
เราก็รู้ว่าเทรนด์มันจะมาแบบนี้ แต่ไปฟังเขาแล้วไม่เข้าใจ
เพราะเขาไม่มีรูปแบบให้เห็นว่าจะเป็นยังไง
เรายังชินกับว่ารูปแบบนี้สำเร็จแล้ว
เราเอามาต่อยอดกับประเทศที่กำลังพัฒนา
เขาบอกว่ารู้จักผมตั้งแต่เขายังเด็ก
แต่ผมไม่รู้จักเขา มารู้จักตอนเขาดังแล้ว
ตอนนั้นถ้าไปลงทุนกับเขาก็ได้กำไรหลายร้อยเท่านะครับ
แต่ไม่กล้า มองไม่ชัด คิดไม่ออกว่าจะสำเร็จได้ยังไง
แต่เขาดันมีความเชื่อมั่นของเขา
ผมเชื่อมั่นว่าเขามองเห็นแล้วล่ะ
แต่เรามองไม่เห็น
เขามองเห็นภูเขาเป็นทองทั้งภูเขา
แต่เรามองเห็นต้นไม้กับหินกับดิน ก็ยังไม่กล้าลงทุนกับเขา”


กำเนิด “เซเว่น อีเลฟเว่น” ในเมืองไทย: ลงทุนกับสิ่งที่เห็นชัดว่าสำเร็จแน่นอน
แค่ข้อแรกก็เริ่มเห็นแนวคิดการทำธุรกิจเบื้องต้น
ของเจ้าสัวธนินท์กันแล้วว่า
แม้ธุรกิจบางอย่างจะมีโอกาสสำเร็จสูง
แต่หากไม่เข้าใจธุรกิจนั้นจริงๆ
มองไม่เห็นภาพความสำเร็จ เขาจะไม่ลงทุน
สิ่งที่เหมือนกันของ “เจ้าสัวธนินท์” กับ “แจ็ค หม่า”
คือ การมองเห็นภาพความสำเร็จที่ชัดเจน
เจ้าสัวธนินท์มองไม่เห็นโอกาสของอาลีบาบา
แต่มองเห็นโอกาสของ “เซเว่น อีเลฟเว่น”
ที่ฝรั่งทำสำเร็จมาแล้วในอเมริกา
และแม้ฝรั่งจะค้านหัวชนฝาว่าไม่ควรลงทุนในเมืองไทย
แต่เจ้าสัวธนินท์คิดต่าง
“ผมเห็นว่าเขาทำสำเร็จแล้วในอเมริกา
ผมก็ศึกษาแล้วว่า ถ้าเรามาทำที่เมืองไทย
ผมเห็นชัดว่าผมสำเร็จแน่นอน ฝรั่งบอกเมืองไทยไม่พร้อม
รายได้ประชากรน้อยกว่าอเมริกาตั้ง 10 กว่าเท่า
ไม่คุ้มที่จะลงทุน แต่เคล็ดลับของผมที่เขาคาดไม่ถึงคือ
เขานี่ 1 คนมาซื้อ เท่ากับเราตั้ง 15 คน มาซื้อ
จำนวนเงินนะครับ รวมแล้วถึงจะได้ต่อบิลเท่ากับเขา
ดูแล้วยังไงก็ไม่คุ้ม
แต่เขาลืมคิดว่าค่าใช้จ่ายเราก็ถูกกว่าเขา 15 เท่าเหมือนกัน
แล้วถ้าคิดเฉลี่ยจริง มองลึกลงไปอีก อาจจะ 10 คนก็พอ
เราจ้างพนักงงานกับเราเปิดร้าน
ต้นทุนเราถูกกว่าเขา 10 กว่าเท่าเหมือนกัน มันก็เจ๊ากัน”