Custom Search

Dec 29, 2022

เปิดประวัติ "เปเล่" ราชาลูกหนังโลก เจ้าของแชมป์ "เวิลด์ คัพ" 3 สมัย ผู้ล่วงลับ


เปิดประวัติ "เปเล่" ตำนานลูกหนังโลกชาวบราซิลผู้ล่วงลับ หลังมีการยืนยันจากครอบครัวว่า
ตำนานกองหน้าทีมชาติบราซิล และเจ้าของแชมป์ฟุตบอลโลก 3 สมัยเสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 82 ปี
ก่อนหน้านี้ เปเล่ ต่อสู้กับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มาตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายนปี 2021
และเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เปเล่ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล
โดยที่ก่อนเข้ารับการรักษาตัวเขาติดเชื้อ โควิด-19 ด้วย ทว่าเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ตกเป็นข่าว
ถูกย้ายไปแผนกฉุกเฉินเป็นการด่วน (การดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้าย)
ภายหลังที่ทีมแพทย์หยุดทำเคมีบำบัดหลังร่างกายไม่ตอบสนองเพื่อต่อสู้กับมะเร็งลำไส้
หลังจากที่ตำนานวัย 82 ปี เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล
ซึ่งเมื่อสองวันก่อนมีกระแสข่าวออกมาว่าอาการของ เปเล่ กำลังอยู่ในขั้นวิกฤติก่อนที่จะจากไปแบบไม่มีวันกลับในวันนี้ (30 ธ.ค. 65)

ประวัติ เปเล่

ชื่ออย่างเป็นทางการ : แอดสัน อารันเตส โด นาสซิเมนโต

เกิดวันที่ : 23 ตุลาคม 1940 (อายุ 82 ปี)

สถานที่เกิด : เตรส โคราซอส, ประเทศบราซิล

ส่วนสูง : 1.74 เมตร (5 ฟุต 8 นิ้วครึ่ง)

ทีมชาติ : บราซิล (แขวนสตั๊ดแล้ว)

ตำแหน่ง : กองหน้า

ผลงานในระดับสโมสร

1956 - 1974 ซานโตส : ลงเล่น 636 นัด 618 ประตู

1975–1977 นิวยอร์ก คอสมอส : ลงเล่น 64 นัด 37 ประตู

รวมผลงานในระดับสโมสร : ลงเล่น 700 นัด 655 ประตู

ผลงานในระดับทีมชาติ

1957–1971 ทีมชาติบราซิล : ลงเล่น 92 นัด 77 ประตู

เกียรติประวัติสำคัญ

แชมป์ ฟุตบอลโลก 3 สมัย ปี 1958, 1962, 1970

แชมป์ ลีกบราซิล 6 สมัย

แชมป์ โคปา ลิเบอร์ตาดอเรส 2 สมัย 

รางวัล นักเตะยอดเยี่ยมแห่งศตวรรษของฟีฟ่า

รางวัล ลูกบอลทองคำฟุตบอลโลก 1970

- รางวัลลอรีอุส เวิลด์ สปอร์ต อวอร์ดส์ : ปี 2000

- เจ้าของสถิตินักเตะที่คว้าแชมป์ ฟุตบอลโลก ที่อายุน้อยที่สุดด้วยวัย 17 ปี 239 วัน

- แฮตทริกมากที่สุดตลอดกาล 92 ครั้ง

- นักฟุตบอลแห่งศตวรรษ : ปี 2000

"เปเล่" ไว้อาลัยมาราโดน่าหลังเสียชีวิตวัย60ปี



ภาพจาก Creator: EPA
26 พฤศจิกายน 2020 

เปเล่ ตำนานนักฟุตบอลทีมชาติบราซิล ร่วมแสดงความไว้อาลัยต่อการจากไปของ ดีเอโก้ มาราโดน่า
ตำนานกัปตันทีมชาติอาร์เจนตินา หลังจากที่ "เสือใต้" เสียชีวิตกะทันหันในวัย 60 ปี ด้วยอาการหัวใจวาย
เมื่อวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ มาราโดน่า เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดรักษาอาการลิ่มเลือดในสมอง
และได้รับอนุญาตให้กลับไปพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านมาตลอด จนกระทั่งล่าสุดเจ้าตัวมีอาการหัวใจหยุดเต้น
และถึงแม้ทีมแพทย์พยายามยื้อชีวิต แต่ก็ไม่เป็นผล ทำให้สุดยอดแข้งในตำนานชาวอาร์เจนไตน์จากโลกใบนี้ไปอย่างสงบ
สร้างความโศกเศร้าให้กับแฟนบอลทั่วโลก
อดีตยอดนักฟุตบอลเจ้าของฉายา "ไข่มุกดำ" ที่นำ บราซิล คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 3 สมัยในปี  1958, 1962, 1970
ยอมรับว่าตนเสียใจที่สุดที่ต้องสูญเสียเพื่อนที่แสนดีไปแล้ว "นี่เป็นข่าวที่สุดเศร้าที่สุด
ผมได้สูญเสียเพื่อนที่แสนดี และโลกลูกหนังได้สูญเสียตำนานไปแล้ว มีเรื่องมากมายที่อยากจะพูด
แต่สำหรับตอนนี้ พระเจ้าจะมอบความเข้มแข็งให้กับครอบครัวของเขาทุกๆ คน
แน่นอนว่าซักวันหนึ่งเราจะได้ร่วมเตะฟุตบอลด้วยกันบนสวรรค์"

สุดยอดแค่ไหน เช็กสถิติ "มาราโดนา" สมัยค้าแข้งทั้งสโมสรและทีมชาติ


26 พฤศจิกายน 2020 

มาดูกันว่าสุดยอดแค่ไหนกับผลงานสถิติการทำประตูของ "ดีเอโก มาราโดนา"
สุดยอดตำนานแข้งชื่อดังของโลกที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อกลางดึกคืนวันพุธที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา
วันที่ 26 พ.ย. 63 ความเคลื่อนไหวหลังจากที่ ดีเอโก มาราโดนา
ตำนานนักฟุตบอลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในแข้งที่เก่งที่สุดตลอดกาลเพิ่งเสียชีวิตจากสภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
เมื่อช่วงค่ำคืนวันพุธที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นั่นทำให้บรรดาคนในวงการลูกหนังทั้งนักเตะ, โค้ช รวมถึงแฟนบอลทั้งโลก
ต่างรู้สึกช็อกและเศร้าโศกกับการจากไปแบบไม่มีวันกลับของตำนานวัย 60 ปีผู้นี้
ซึ่งผลงานในระดับสโมสร ดีเอโก มาราโดนา ลงสนามไป 491 นัด ทำไปได้ 259 ประตู กับหลายทีมชั้นนำอย่าง
โบคา จูเนียร์, บาร์เซโลนา, นาโปลี, เซบีญา, นีเวลล์ โอลด์ บอยส์
ขณะที่ในนาม "ฟ้าขาว" ทีมชาติอาร์เจนตินา ลงสนามไปทั้งหมด 91 นัดทำได้ 34 ประตู
พร้อมพาทีมคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้ในปี 1986 ซึ่งได้ถือกำเนิด "หัตถ์พระเจ้า" (Hand of God)
จากเหตุการณ์ที่ตัวเขาใช้มือปัดบอลเข้าประตูในเกมที่เอาชนะ "สิงโตคำราม" ทีมชาติอังกฤษ 2-1 ในเกมรอบ 8 ทีมสุดท้าย
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ปี 1986 ที่เมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก
นอกจากนี้  อัลแบร์โต แฟรนันเดซ ประธานาธิบดีของอาร์เจนตินา ประกาศให้มีการไว้ทุกข์ทั่วประเทศเป็นเวลา 3 วัน
เพื่อแสดงความอาลัยเพื่อเป็นเกียรติและยกย่องสรรเสริญให้กับคุณงามความดีที่ทาง ดีเอโก มาราโดนา
เคยทำไว้ให้ทั้งโลกจดจำอีกด้วย



Dec 27, 2022

ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน (Wit Sittivaekin,Ph.D.)

 

SG Alumni Association สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล #SGTALK


ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้นําเนินรายการ ศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียลเลขประจำตัว 15788


ดร.วิทย์ฯ จบปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ1)

หลังจากนั้นไปศึกกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาทฤษฎีการเมือง London School of Economics (LSE)

มหาวิทยาลัยลอนดอน และระดับปริญญาเอกสาขาทฤษฎีการเมือง University of Southampton

ประเทศอังกฤษ เคยร่วมงานกับบริษัทระดับประเทศ และนานาชาติมากมายอาทิเช่น ตำแหน่ง

ผู้อ่านวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บริษัทบีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จํากัด

และผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน)

ปัจจุบัน ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน เป็นผู้ดำเนินรายการ "เช้านี้ประเทศไทย"

ร่วมกับ พันตรีหญิง ชลรัศมี งาทวีสุข ออกอากาศทาง ททบ. 5



Dec 19, 2022

Argentina won the 2022 World Cup final against France 🏆


Argentina’s Lionel Messi lifts the World Cup trophy alongside teammates as they celebrate after winning the FIFA World Cup. | Photo Credit: REUTERS


FIFA World Cup 2022 Final: Lionel Messi’s Argentina beat France 4-2 on penalties

December 19, 2022 - Updated 08:57 pm IST | LUSAIL, Qatar, December 18

Dec 17, 2022

Argentina vs France, FIFA World Cup 2022


  Argentina vs France will be played on Sunday 18 December 2022







อธิษฐานจิต ถวายพระพรให้ “เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา” ทรงหายจากพระอาการประชวร

 ที่มาของภาพพระฉายาลักษณ์ : https://ch3plus.com/news/royal/morning/325203

ทหารร่วมสวดมนต์อธิษฐานจิต ถวายพระพรให้ “เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา” ทรงหายจากพระอาการประชวร

เผยแพร่: 16 ธ.ค. 2565 09:58   ปรับปรุง: 16 ธ.ค. 2565 09:58
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) กองทัพภาคที่ 1 และหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน และกองพันทหารอากาศโยธิน
กองบินทั่วประเทศ ร่วมสวดมนต์บูชาธรรม อธิษฐานจิตส่งกำลังใจถวายพระพรให้ “เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา” ทรงหายจากพระอาการประชวร
วันนี้ (16 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก “Wassana Nanuam” ของ น.ส.วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหาร
ได้ออกมาโพสต์ภาพทหาร ทุกหน่วยของกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) กองทัพภาคที่ 1
ร่วมสวดมนต์บูชาธรรม อธิษฐานจิตถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ถวายพระพรให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวรในเร็ววัน
และนอกจากนี้ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน และกองพันทหารอากาศโยธิน กองบินทั่วประเทศ ร่วมสวดมนต์บูชาธรรม
อธิษฐานจิตถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ถวายพระพรให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวรในเร็ววัน
เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 ตามแถลงการณ์สำนักพระราชวัง ลงวันที่ 15 ธ.ค. 2565
เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ทรงพระประชวร หมดพระสติ ด้วยพระอาการทางพระหทัย คณะแพทย์ประจำพระองค์ได้เชิญเสด็จเข้ารับการรักษาพระองค์
ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อถวายการตรวจพระวรกายอย่างละเอียด และประทับรักษาพระองค์
ทั้งนี้ พล.อ.อ.อลงกรณ์ วัณณรถ ผบ.ทอ. มีคำสั่งให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และทหารกองประจำการ
สังกัด ทอ.ร่วมกันกราบถวายพระพร ขอให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว
ด้วยการตั้งจิตอธิษฐาน และการสวดมนต์ บูชาธรรม ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ห้วงเวลาหลังการเคารพธงชาติ หรือพิจารณาในห้วงเวลาอื่นเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
ตามบทสวดโพชฌังคปริตร

“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ”
โพชฌังโค สะติสังขาโตธัมมานัง วิจะโย ตะถา วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตาภาวิตา
พะหลีกะตา สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ
เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตวาโรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ
เอกะทา ธัมมะราชาปี เคลัญเญนาภิปีพิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ
สาทะรัง สัมโมทิตวา จะอาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ


Dec 11, 2022

ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต


ผู้เขียน: ทะไลลามะ

สำนักพิมพ์: โกมลคีมทอง

หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสและศักยภาพของจิตในวาระสุดท้ายของชีวิต

รวมทั้งความจำเป็นในการเตรียมตนฝึกฝนใจเพื่อรับมือกับความตายและวิธีการช่วยเหลือ

ทางจิตใจแก่ผู้ใกล้ตาย ซึ่งแม้รายละเอียดแตกต่างไปจากทัศนะแบบเถรวาท

แต่ในภาพรวมแล้วก็ไม่ได้ขัดแย้งกัน

Roundfinger Channel




 

Dec 9, 2022

ตอนใกล้ตายมีความรู้สึกอย่างไร






“ตอนใกล้ตาย” มันมีความรู้สึกอย่างไร?

คุณหัชชา ณ บางช้าง เคยค้นคว้าเรื่องนี้มาเขียนใน “ภาวะหลังตาย”

และเล่าว่า “กระบวนการตาย” ในระยะต่าง ๆ นั้นเป็นเช่นไร

ท่านบอกว่ามันมี 4 ขั้นตอนอย่างนี้

๑. ระยะแรก เป็นระยะที่ธาตุดินเริ่มสลายตัว

กลายเป็นน้ำ ผู้ตายจะรู้สึกอ่อนระโหย

ไม่มีแรง การมองเห็นต่าง ๆ เริ่มเสื่อม

มองอะไร ๆ ก็ไม่ชัด ทุกอย่างดูมัว ไปหมด

ทุกอย่างที่เห็น เหมือนมองไปกลางถนน

ขณะแดดจัดๆภาพต่างๆจะเต้นระยิบระยับ

เต็มไปหมด

๒. ระยะที่น้ำจะกลายเป็นไฟ ช่วงนั้น

น้ำในร่างกายเริ่มแห้งลง จะรู้สึก ชา ๆ ตื้อ ๆ

เริ่มหมดความรู้สึก ไล่จากปลายเท้าขึ้นมา

ประสาทหูเริ่มไม่รับรู้คือเริ่มไม่ได้ยินเสียง

อะไร มองไปทางไหนก็เห็นแต่ควัน

๓. ระยะนี้ไฟเปลี่ยนเป็นลม

หูจะไม่ได้ยินอะไรอีกเลย รู้สึกหนาว

จับใจ ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ หยุดหมด

ลมหายใจอ่อนลงเรื่อย ๆ

จมูกเริ่มไม่รับความรู้สึกเรื่องกลิ่น

๔. ระยะนี้ ธาตุลมจะเปลี่ยนเป็นอากาศธาตุ

ตอนนี้ เจตสิกทุกอย่าง รวมทั้งการหายใจ

จะหยุดหมดพลังงานทั้งหลายที่เคย

ไหลเวียนอยู่ในร่างกายจะไหลกลับคืนไปสู่

ระบบประสาทส่วนกลางหมด ลิ้นแข็ง

ไม่รับรู้เรื่องรสชาติใดๆความรู้สึกสัมผัส

หมดไป ความรู้สึกอยากโน่น อยากนี่ต่าง ๆ

ที่เคยมีก็หมดไป มีความรู้สึกเหมือน

อยู่กับแสงเทียนที่กำลังลุกโพลงอยู่เท่านั้น

ท่านบอกว่าตอนนี้แหละที่แพทย์จะประกาศว่า

ผู้ป่วยในความดูแล “ถึงแก่กรรม” แล้ว (clinical death)


นั่นก็คือจุดที่ “เวทนา” ทั้งหมดดับไป สมองและระบบไหลเวียนต่าง ๆ

ของร่างกายหยุดทำงานหมด แปลว่ารูปและนาม หรือเบญจขันธ์ ตายไปแล้ว

ก็ต้องถกกันต่อไปว่า ถ้าเราเชื่อว่า วิญญาณยังอยู่ต่อเมื่อร่างกายสลายไป จะไปอยู่ที่ไหนอย่างไรต่อไป

อ่านเจออีกแหล่งหนึ่งเรื่อง “ลักษณะการตาย” ตามแนวคิดแบบ “เซน”

ที่คุณ “โชติช่วง นาดอน” เคยรวบรวมไว้ในหนังสือ “จิตคือพุทธะ” เมื่อนานมาแล้ว

ท่านบอกว่าคนเราตายได้สองลักษณะ คือ “ตายอย่างปราศจากที่พึ่ง” และ

“ตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่ง”

คนที่ตายย่างแรกนั้นเวลาใกล้จะสิ้นลม มีอารมณ์ผิดไปจากปกติ

จิตใจกลัดกลุ้มยุ่งเหยิง เรียกว่า “จิตวิการ”

ซึ่งหมายถึงจิตเกิดความปวดร้าวทรมานเพราะ

ยัง “ยึดติด” กับหลายเรื่อง

หรือที่เรียกว่า “ไม่ยอมตายทั้ง ๆ ที่ต้องตาย” นั่นคือจิตใจยังติดข้องกับอุปาทาน ๔ ประการคือ

๑. ติดอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง

๒. ห่วงใยอาลัยในสิ่งที่เป็นรูป และอรูป

โดยเห็นว่าเป็นของเที่ยง

๓. มีนิวรณ์ความวุ่นวาย ฟุ้งซ่าน

มาห้ามจิตมิให้บรรลุความดี

๔. มีความดูแคลนเมินเฉยในคุณพระรัตนตรัย

เขาบอกว่าคนส่วนใหญ่ตายลักษณะอาการ

อย่างนี้ เรียกว่าตายอย่างอนาถา

ส่วนการตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่งนั้น

แปลว่าคนใกล้ตายมีสติอารมณ์ผ่องใส

ไม่หวั่นไหว และซาบซึ้งในวิธีของมรณกรรม และยึดหลัก ๔ ประการคือ

๑. มีอารมณ์เฉย ๆ

ซาบซึ้งถึงกฎธรรมดาแห่งความตาย

๒. ซาบซึ้งถึงสภาพการณ์สิ่งในโลกของ

ความไม่เที่ยง ไม่เป็นแก่นสาร

๓. รำลึกถึงกุศลกรรมที่ได้ผ่านมาในชีวิต

และเกิดปิติปลาบปลื้ม

๔. ยึดมั่นเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

อยู่ตลอดเวลาจนสิ้นลมหายใจ

ด้วยเหตุนี้แหละ, จึงเห็นว่าการ

“ฝึกตายก่อนตาย”ดั่งที่ท่านพุทธทาส หรือ.. หลวงพ่อ หลวงปู่ ครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะ..

หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ท่านเคยสอนเรานั้น

เป็นเรื่องที่ประเสริฐสุดแล้ว

แต่คนส่วนใหญ่กลัวตาย แม้จะเอ่ยถึงคำว่าตายก็รับไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการ “แช่ง”

ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครหนีความตายได้แม้แต่คนเดียว

การเรียนรู้ “มรณาอุปายะ” หรือ “ฝึกตายก่อนตาย” นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ทำให้มันสนุกเสีย ให้มันเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นน่ายินดี ก็จะทำให้ความทุกข์ระหว่างมีชีวิตอยู่นั้น

ลดน้อยถอยลง และเมื่อถึงเวลาที่ต้องจากโลกนี้ไปก็ไม่ตกใจ

ไมตื่นเต้น ไม่รันทดและทรมานเพราะ..

ความกลัวและความไม่ต้องการที่จะจากไป

ชาวพุทธที่ฝึกปฏิบัติธรรมในสาระจริง ๆ (ไม่ใช่แค่ทำบุญแล้วนึกว่าจะต้องไปสวรรค์

โดยไม่ต้องปฏิบัติธรรม) ก็จะเข้าใจว่า.. “ขันธ์ทั้งห้า” ล้วนไม่เที่ยง ไม่มีความแน่นอน

เปลี่ยนแปลงและทรุดโทรม และท้ายสุดก็แตกดับไป และระหว่างที่มรณกาลมาถึงนั้น

ขันธ์ห้าก็ย่อมจะแปรปรวน จึงควรจะเตรียมตัวและเตรียมใจไว้

เมื่อความตายมาถึง, เราก็จะได้ไม่ทุรนทุราย และตายอย่างมีสติ

และ “รู้เท่าทันความตาย” ซึ่งเป็นสุดยอดของการมีชีวิตอยู่นั่นเอง...

#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ





บทอธิษฐานขออโหสิกรรม ถอนคำสาบาน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)



วง รวิวhttps://www.youtube.com/@Duang_Reviws


สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

“กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจะกัมมัง อะสัญจิจะกัมมัง ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม” กรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้ทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ทั้งโดยตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ในภพชาติใดก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโปรดยกโทษให้เป็นอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อกันอีกเลย แม้แต่กรรมใดที่ใครๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน ขอจงดลใจให้เขาเหล่านั้นกลับมีเมตตาจิต คิดเป็นมิตรกับข้าพเจ้า เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อกันตลอดไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าพร้อมทั้ง ครอบครัว ตลอดจนวงศาคณาญาติ ผู้มีอุปการคุณของข้าพเจ้า พ้นจากความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจความทุกข์อย่าได้ใกล้ ความเจ็บไข้อย่าได้มี ขอได้มีความสุขสวัสดีมีชัย เสนียดจัญไรและอุปัทวันตรายทั้งหลาย จงเสื่อมสิ้นหายไป นึกคิดปรารถนาสิ่งใดที่เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยธรรมแล้ว ขอให้สิ่งนั้นจงพลันสำเร็จ ลงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จเทอญ


“จิตสุดท้ายก่อนตาย”

 


อมตะธรรม หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ


“จิตสุดท้ายก่อนตาย” 

สำคัญก็จริง แต่

“จิตหลังความตาย 20 นาทีแรก”

ก็มีความสำคัญในการเปลี่ยนภพด้วย

“การศึกษาทางประสาทสรีรวิทยา นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน พบว่าหนูที่ตายใหม่ๆ หัวใจหยุดทำงาน

เลือดหยุดไปเลี้ยงสมอง แต่คลื่นสมองยังคงอยู่ในภาวะ “ตื่นตัวขั้นสูง” บ่งบอกถึงการมีสติสัมปชัญญะของคนเมื่อหัวใจหยุดเต้น”

ดังนั้น ทางการแพทย์บอกว่า “ตาย” แต่สมองยังทำงานอยู่ เป็น “การสร้างภาพจากสังขารจิต 

20 นาที” ว่าจะไปภพภูมิใด ถ้าเราเห็นโลกตามความ

เป็นจริงด้วยวิปัสนาญาณ จะรู้ว่า 31 ภพภูมิ อยู่ในจิต

ของเราหมดเลย ไม่ได้อยู่ภายนอกที่ใหนอยู่ในใจของเรา

จิตมีความโลภ จิตก็เป็นเปรตในร่างมนุษย์ ตายตอนนั้น

ก็ไปเสวยความเป็นเปรตเลย จิตมีความโกรธ ก็เหมือน

ตกนรกทั้งเป็น ลองสังเกตเวลาเราโกรธก็เหมือนถูกไฟ

เผาในใจของเรา ตายตอนนั้น จิตออกจากร่าง 

ก็ถูกความร้อนแผดเผาอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา 

ไม่สามารถเปลี่ยนอารมณ์ได้ เพระไม่มีกายสังขารแล้ว

มีความสุขเข้าถึงสภาวะธรรมตามลำดับขั้นชั้นต่างๆ

ก็เป็นเทวดา เป็นพรหม ในร่างมนุษย์ ตายตอนนั้น

ก็เสวยวิหารธรรมความสุข เป็นเทวดา พรหม

ตามลำดับขั้นชั้นต่างๆ ตาม กำลังของจิตที่ได้ฝึกมา

( เกิดขึ้นได้จากการปฎิบัติธรรม เจริญสติ )

ดังนั้น จึงควร “เหนี่ยวนำ ไม่ให้นิมิตมาหลอกหลอน 20 นาที หลังหัวใจหยุดเต้น (กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต)

การเข้าสู่ความมืด(ภวังคจิต) ต่อให้ก่อนตายญาติและคนไข้ได้เตรียมตัวเหนี่ยวนำจิตเป็นอย่างดี จนตายไปแล้ว (ก็คือหัวใจหยุดทำงาน)

สมองก็ยังเหนี่ยวนำสิ่งที่ทำก่อนตายอยู่ เช่น ถ้ากำลังสวดมนตร์ภาวนา

ตายไปแล้วจิตและสมองก็ยังหมกมุ่นอยู่กับการสวดมนต์ภาวนา ดวงจิตก็ย่อมเปลี่ยนภพภูมิไปที่ดี 

แต่หากสมมติว่า ก่อนตายเตรียมตัวดีมาก แต่เมื่อตายไปแล้ว ญาติๆ ร้องไห้ระงมเสียงดังลั่น หรือ

ลูกหลานทะเลาะแย่งสมบัติด้วยเสียงแซ่งแซ่ บรรยากาศเหล่านั้น

ก็จะเหนี่ยวนำให้สมองครุ่นคิดตรงนั้นและก็นำพาดวงจิตไปสู่ภพภูมิไม่ดีได้นั่นเอง

ดังนั้น สิ่งที่ควรทำหลังความตาย 20 นาทีแรก คือ สวดมนต์ เมื่อรู้ว่ามีคนตาย ก็หยิบขวดน้ำมนต์เย็นๆ ในตู้เย็นติดมือไป

และหยดน้ำมนต์ที่ตาที่สาม (จักระ 6) ตรงหน้าผากหว่างคิ้ว เพื่อให้ความเย็นของน้ำไปส่งสัญญาณให้สมองที่ตรงกลางข้างใน

ซึ่งยังทำงานอยู่ได้ตื่นตัวฟังเสียงสวดมนต์หรือบังสุกุล แต่ถ้าใครไม่มีน้ำมนต์ ก็ให้ใช้น้ำเย็นธรรมดาก็ได้

สรุปบรรยากาศในการเตรียมตัวก่อนตายและหลัง

ความตาย 20 นาที 

จะต้องปราศจากเสียงร้องไห้เศร้าโศก 

การทะเลาะเบาะแว้ง

หรือการพูดเรื่องไม่สบายใจ 

เพื่อให้คนตายได้เปลี่ยนภพภูมิที่ดีขึ้น 

แต่ทั้งนี้ ตอนที่มีชีวิตอยู่ก็ต้องทำความดี ละความชั่ว 

งดเว้นจากการเบียดเบียนไม่ทำให้ตนเอง และ ผู้อื่นเดือดร้อน บันทึกแต่สิ่งที่ดี สวดมนต์ ปฎิบัติธรรม

ฝึกฝนพัฒนากำลังของสติ ขัดเกลาจิตใจให้ผ่องใสด้วย 

( ผู้ที่ปฎิบัติดีแล้วจะไม่กลัวตาย ก่อนตายจะทรงสภาวะธรรม)

ที่ไม่กลัวเพระรู้ว่า ความตายเป็นการเคลื่อนจากภพนึง 

ไปสู่ภพนึงเท่านั้น เมื่อสร้างเหตุที่ดีไว้เต็มที่แล้วก็ไม่กลัว

เตรียมตัวไว้จะได้พร้อมเปลี่ยนภพภูมิได้ทุกที่ ทุกเวลา 

จิตใครเศร้าหมอง ก็สั่งจิตให้คลายความเศร้าหมอง ให้อภัยปล่อยวาง คิดซะว่ากฎหมายเอาผิดไม่ได้

แต่ก็หนีกฏแห่งกรรมไม่พ้น ปล่อยให้เป็นหน้าที่กฏแห่งกรรม 

เราไม่ต้องไปเอาคืนแก้แค้น เอาเวลามาทำจิตให้ผ่องใสเข้าสู่ความว่างดีกว่า

ผู้ใดเผยแผ่ ผู้นั้นได้สะสมบุญ บารมี



10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก
อันเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ ให้กับประชาชนชาวไทย


Dec 7, 2022

วันคล้ายวันประสูติ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา



“ประชาชาติธุรกิจ” เผยแพร่พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 7 ธันวาคม 2565

 
พระราชประวัติเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์โตในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทั้งทรงเป็นพระราชนัดดาพระองค์แรกใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อีกด้วย

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ขึ้น ในวันที่ 11 มกราคม พุทธศักราช 2522 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

ในพระราชพิธี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงจรดพระกรรบิดกริบพระเกศา และทรงเจิมพระขวัญ ตามราชประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติตามประเพณีไทยแต่โบราณ ซึ่งเป็นพิธีรับขวัญให้กับพระราชโอรส พระโอรส พระราชธิดา พระธิดาที่ประสูติใหม่

การศึกษา

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ทรงเริ่มศึกษาที่โรงเรียนราชินีในระดับอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ โรงเรียน Heathfield ในเมือง Ascot สหราชอาณาจักร ก่อนเสด็จกลับมาทรงศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ที่โรงเรียนจิตรลดา

ในระดับอุดมศึกษา ทรงศึกษาระดับปริญญาตรีในสองสาขา ในสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของไทยสองแห่งคือ ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทรงสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับสอง และปริญญารัฐศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยทรงสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

ตลอดระยะเวลาที่ทรงศึกษา ทรงปฎิบัติพระองค์เช่นเดียวกับนักศึกษาทั่วไป รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งทางด้านกีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ และอื่น ๆ อาทิ ทรงเข้าร่วมกิจกรรมฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ โดยทรงเป็นผู้อัญเชิญธรรมจักร ในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 54 (พ.ศ. 2541) ทรงเข้าร่วม แสดงในขบวนพาเหรดชุด “เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครบ 72 พรรษา” ในการแข่งขันกีฬาประเพณีครั้งที่ 55 (พ.ศ. 2542) เป็นต้น

ในปีเดียวกัน พระองค์ได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล เมืองอิทากา มลรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยกลุ่ม Ivy League อันมีชื่อเสียงของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทรงใช้เวลาศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ (LL.M.) เพียง 1 ปี จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ด้านนิติศาสตร์ (J.S.D.) และทรงศึกษากฎหมายที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาที่ประเทศไทยควบคู่กันไป

ด้วยพระอัจฉริยภาพและผลแห่งความพากเพียร ทำให้ทรงสำเร็จการศึกษาทั้งดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา และทรงเป็นเนติบัณฑิตไทย พร้อมกัน ในปี 2548

พระราชกรณียกิจ

จากนั้นทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักอัยการสูงสุด สู่รองอัยการจังหวัด และอัยการจังหวัด

ระหว่างทรงปฏิบัติราชการด้วยพระวิริยอุตสาหะ ได้ทรงริเริ่มโครงการกำลังใจ (Inspire) เมื่อปี 2550 เน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิง เด็กติดผู้ต้องขังหญิง และผู้ต้องขังที่ตั้งครรภ์ในเรือนจำ ทั้งในด้านวัสดุอุปกรณ์ การให้การฝึกอบรม การให้บริการทางการแพทย์ ตลอดจนการฟื้นฟูจิตใจ จนได้รับความสนใจจากนานาประเทศ

ต่อมาทรงโอนย้ายมาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ประจำคณะกรรมาธิการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555 สู่เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ได้แก่ สาธารณรัฐออสเตรีย ประเทศสโลวะเกีย ประเทศสโลวีเนีย ก่อนทรงกลับมารับตำแหน่งอัยการจังหวัด สู่อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 2 สำนักงานอัยการสูงสุด

ไม่เพียงทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจในหน้าที่ราชการแต่เพียงเท่านั้น หากทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจด้านอื่น ๆ เพื่อความผาสุกของอาณาประชาราษฎร์ ได้แก่ ทรงเป็นประธานกรรมการมูลนิธิอาสา เพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ในการสนับสนุนและเชื่อมโยงให้ภาครัฐและเอกชน มาร่วมกันเกื้อหนุนให้ประชาชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในยามทุกข์ยากจากภัยธรรมชาติที่รุนแรง

มูลนิธิ ณภาฯ ในพระดำริ ที่เน้นช่วยเหลือและให้โอกาสทางอาชีพกลุ่มผู้ด้อยโอกาส อันเกิดจากผลที่ได้รับทางกฎหมายและด้านสังคม

ทั้งการประทานทุนการศึกษาสำหรับผู้ต้องการศึกษาต่อปริญญามหาบัณฑิตด้านกฎหมาย ณ Cornell Law School มหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทรงจัดตั้ง “ทุนพัชรกิติยาภาเพื่อการศึกษากฎหมาย” ซึ่งรับสมัครเพื่อคัดเลือกจากผู้ที่จบปริญญาบัณฑิตด้านกฎหมาย และสอบไล่ได้เนติบัณฑิตของเนติบัณฑิตยสภาตามเงื่อนไขที่ทุนดังกล่าวกำหนดไว้ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาได้นำความรู้มาแก้ไขปัญหาของประเทศ ที่ต้องอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือ

ด้วยพระปรีชาสามารถและพระจริยวัตรอันงดงาม ส่งผลให้หลายองค์กรต่างทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลต่าง ๆ เช่น กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทูลเกล้าฯ ถวายตำแหน่ง “ทูตสันถวไมตรี” (Goodwill Ambassador) ในการต่อต้านความรุนแรงต่อสตรีด้านหลักนิติธรรม ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Medal of Recognition ในฐานะที่ทรงมีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติ

พระอิสริยยศ

เมื่อพระราชบิดาเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ได้ทรงสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์และเฉลิมพระนาม พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ทรงได้รับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ ใบมะตูม ทรงเจิม แล้วพระราชทานพระสุพรรณบัฏ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีวงศ์ และเหรียญรัตนาภรณ์ ร.10 ชั้นที่ 1

ต่อมาวันที่ 28 กรกฎาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา กับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

ต่อมาวันที่ 28 กรกฎาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา กับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

ต่อมาในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ทรงประดับพระยศพลเอกหญิง ให้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

พระยศทางทหาร

  • พ.ศ. 2543 – ว่าที่ร้อยตรีหญิง, ร้อยตรีหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2545 – ร้อยโทหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2551 – ร้อยเอกหญิง
  • พ.ศ. 2561 – พลตรีหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2562 – พลโทหญิง
  • พ.ศ. 2564 – พลเอกหญิง และทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
  • https://teetwo.blogspot.com/2020/12/7-2563.html

Dec 3, 2022

๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ วันสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม



 
 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม

พิธีสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม ได้จัดกิจกรรมพิธีสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม โดยในพิธีได้มีการดำเนินกิจกรรมอันเป็นสิริมงคล ได้แก่ กิจกรรมวางพานพุ่ม พิธีพราหมณ์ การแสดงรำเทิดพระเกียรติ กิจกรรมปล่อยปลา และปิดท้ายด้วยพิธีสงฆ์
 
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม
ศิวพงษ์ อ้อพงษ์ : รายงาน/ถ่ายภาพ