Custom Search

Jul 26, 2021

"เทนนิส" พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ นักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิก (Olympic Games Tokyo 2020)

 




#ทุกความสำเร็จมีที่มา

"ที่ร้องไห้ตอนรับเหรียญ ขณะที่ฟังเพลงชาติ

เพราะนึกถึงความยากความลำบาก และทุกสิ่ง

ที่เราทุ่มเทมากว่าจะถึงวันนี้ ซ้อมเหนื่อยแทบตาย

เตะกับนักกีฬาชาย โดนยำมาตลอด"

"โค้ชเช บอกซ้อมหนักก็ไม่ต้องร้องไห้

เก็บน้ำตามาร้องไห้ด้วยความยินดีในวันที่สำเร็จดีกว่า

ถึงวันนี้ ก็ร้องไห้จริง"

"เทนนิส" พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ

ผู้หญิงที่สวยที่สุดในเมืองไทยตอนนี้

#เหรียญทองโอลิมปิก  磊

Jul 21, 2021

การแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ ๒๖ เรื่อง "สานสร้างทางไทย" โดยอาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี)


สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร


การแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ ๒๖

เนื่องในงานวันศิลปี พีระศรี ประจำปี พ.ศ.๒๕อ๔
เรื่อง "สานสร้างทางไทย"
โดยอาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) ประจำปี พ.ศ.๒๕๔๖
อาจารย์และสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี
วันพุธที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพ ฯ

การสืบทอดผ่านครูและศิษย์

คำว่าครูในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงความเป็นครูในแบบที่มีตัวตนอย่างเดียว งานสถาปัตยกรรมไทยไม่ได้มองแค่ปัจจุบัน จะเรียกว่าเป็นงานที่มีต่อเนื่องกันมา มีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน ฉะนั้นจึงเป็นศิลปะประจำชาติของไทยเรา ถึงเรียกว่า ‘สถาปัตยกรรมไทย’ ฉะนั้นที่เรียกว่าครู งานที่ยังใช้ประโยชน์มาแต่ดั้งเดิมไม่ว่าจะเหลือแต่ซาก หรืองานสถาปัตย์อยู่ ก็จะเป็นครูทั้งนั้น

ประเทศไทยเราไม่มีตำรา ไม่มีงานที่จดบันทึกเอาไว้แต่โบราณ ฉะนั้นเราจะต้องศึกษาจากก้อนอิฐ จากซากต่างๆ นั่นคือครู แต่ว่าในปัจจุบันที่มีการเรียนการสอนจากครูที่มีตัวตน เป็นผู้ที่นำความรู้ที่ได้จากครูมาสอนศิษย์อีกทีหนึ่ง ฉะนั้นจะเรียกว่าสืบทอดผ่านครู อย่างเช่น กรมพระยานริศ หรือพระพรหมพิจิตร ท่านก็ศึกษาผ่านครูเหมือนกันซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ครูที่มีตัวตนเพียงอย่างเดียว เป็นครูที่เป็นโบราณสถานหรือโบราณวัตถุท่านก็ศึกษา แล้วท่านเอามาสอนลูกศิษย์ต่ออีกที 

Jul 13, 2021

13 กรกฎาคม 2564 วันคล้ายวันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอฯ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

 


สภาสถาปนิก Architect Council of Thailand

ดูให้รู้ (Dohiru) : บุลลีจะหมดไปจากโลกได้หรือไม่ ?


คุณคิดว่าบุลลีจะหมดไปจากโลกได้หรือไม่ ?
ฟูจิเซ็นเซ จะพาไปหาคำตอบและวิธีการแก้ปัญหา
หากใครกำลังโดนบุลลี
หรือ กำลังบุลลีใคร เพราะบุลลี
เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
ในหลายปีมานี้ คำว่า “บุลลี (BULLY)” เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
จากข่าวในโลกอินเทอร์เน็ต
เรื่องราวของการบุลลีหรือการกลั่นแกล้งรังแกกัน
ทั้งทางร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ในบางประเทศรุนแรงขนาดว่า ทนโดนแกล้งไม่ได้
ฆ่าตัวตายหนีปัญหาก็มีไม่น้อย
และแน่นอนว่าในญี่ปุ่นหรือเมืองไทยบ้านเราก็มีเหมือนกัน

 


Jul 11, 2021

ทฤษฎีแมลงสาบ (Cockroach Theory)

 


ทฤษฎีแมลงสาบ (Cockroach Theory)

...อ่านแล้วได้ข้อคิดดีครับ

A speech by Sundar Pichai, CEO Google -
an IIT-MIT Alumnus and Global Head Google Chrome:
ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่ง
ขณะที่ นั่งจิบกาแฟอย่างสงบ
อยู่ๆก็มีแมลงสาบ
บินจากไหนไม่รู้
บินเข้ามาเกาะผู้หญิงโต๊ะข้างๆแบบไม่ทันตั้งตัว
ผู้หญิงคนนี้กรีดร้องกระโดดโลดเต้น
โหวกเหวก โวยวาย สะบัดไม้ สะบัดมือหวังให้แมลงสาบ
บินออกไป
ในตอนนั้นท่าทางที่เธอแสดงออกมา ทำให้เพื่อนๆที่นั่งด้วยกัน
รู้สึกตกใจและหัวเสียเป็นอย่างมาก
หลังจากเธอใช้ความพยายามสักครู่หนึ่งแมลงสาบก็บินออกไป
แต่เดี๋ยวนะ!!!
แมลงสาบมันไม่ได้ไปไหนไกลเลย
มันแค่เปลี่ยนเป้าหมายไปเกาะผู้หญิงข้างๆแทน
ทันทีที่แมลงสาบเริ่มเกาะอีกคนนึงเหตุการณ์
ทุกอย่างเหมือนเดิมเป๊ะผู้หญิงคนใหม่ร้องโหวกเหวกโวยวาย
กระโดดโลดเต้นพยายามทำทุกวิถีทาง
สลัดแมลงสาบให้หลุดออกไปเหมือนคนก่อน
เด็กเสิร์ฟเห็นเข้า ก็ตกใจรีบวิ่งตรงดิ่งมาที่โต๊ะลูกค้าทันที
เหมือนแมลงสาบจะรู้ว่าเหยื่อรายใหม่กำลังมา
แล้วมันเลยบินออกจากตัวผู้หญิงคนที่สอง
แล้วมาเกาะที่เด็กเสิร์ฟคนนั้นแทน
เหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น......
แทนที่เด็กเสิร์ฟจะสะบัดแมลงสาบตัวนั้นทิ้งในทันที
เขากลับยืนมองนิ่งๆ
เฉกเช่นเพื่อนที่คุ้นเคยกัน
สังเกตุพฤติกรรม
การเคลื่อนไหวของแมลงสาบบนเสื้อเขา
เมื่อเด็กเสิร์ฟมั่นใจในทิศทางการเคลื่อนที่ของแมลงสาบแล้ว
เด็กเสิร์ฟ จึงค่อยเอามือคว้าแมลงสาบอย่างรวดเร็ว
พร้อมกับนำออกไปโยนทิ้งนอกร้านในทันที
สิ่งที่ CEO Google คนนี้ตั้งคำถามคือ
แมลงสาบคือต้นเหตุของความโกลาหลครั้งนี้รึป่าว?
ถ้าใช่...แล้วทำไมเด็กเสิร์ฟคนนี้ถึงยืนนึ่งๆ
พร้อมกับรับมือกับเจ้าแมลงสาบตัวนี้ได้อย่างสบายๆ
ในขณะที่หญิงสาวสองคนนั้นถึงกระโดดโลดเต้น
วิ่งไปมา
เพื่อให้แมลงสาบ
บินออกไป
จริงๆแล้วปัญหา
มันอาจไม่ใช่อยู่ที่ "แมลงสาบ"
แต่มันอยู่ที่ความสามารถ
ในการรับมือกับปัญหา
ที่เข้ามารบกวนมากกว่า
Sundar Pichai
เลยเริ่มตระหนักว่า....
ที่ผ่านมา...
สิ่งต่างๆที่ทำให้ตัวเค้า
หัวเสีย
ไม่ว่าจะเสียงบ่น
จากเจ้านาย พ่อแม่ ลูกค้า หรือ คนใกล้ตัว
หรือความเครียดต่างๆ
ที่เกิดขึ้นกับเขา
จริงๆแล้วมันอาจจะไม่ใช่ปัญหาเลยก็เป็นได้
อารมณ์ หรือ ความรู้สึกต่างๆเหล่านั้นเกิดจากเราเอง
เรานี้แหละ ที่ไม่สามารถรับมือกับสิ่งต่างๆเหล่านั้นได้
เพราะจริงๆแล้วเราคือคนที่เลือกเองว่า
จะรู้สึกยังไงกับสิ่งรบกวนเหล่านั้น
มันไม่ใช่เพราะรถติด
แล้วทำให้เราหัวเสีย
แต่มันคือปฏิกิริยาของเราที่ใช้ในการรับมือกับปัญหาต่างหาก
บางทีถ้าไม่มีสติ
เราอาจหงุดหงิด อารมณ์ร้อนมากยิ่งขึ้น
พอรถยิ่งติด
เรายิ่งรีบ
สุดท้ายบานปลาย
นำไปสู่อุบัติเหตุรถชน
หรือในกรณีของแมลงสาบ ยิ่งพยายามปัดออกจากเสื้อ
สุดท้าย มันอาจบิน
มาเกาะหน้า หรือ
บินเข้าปาก
ยิ่งไปกว่านั้น
ถ้าคุณพยายามวิ่งหนี
คุณอาจสะดุดล้ม
เป็นแผลใหญ่โตก็ได้
ดังนั้น จงจำไว้ว่า...
ยิ่งวิธีการรับมือที่ไม่ถูกต้อง ยิ่งทำให้ปัญหา
ยุ่งเหยิงใหญ่โต
สิ่งสำคัญคือ
ไม่ใช่แค่การ
#React หรือแค่ตอบสนองปัญหาด้วยสัญชาตญาณ
แต่มันต้องเป็นการ #Respond หรือรับมือด้วกระบวนการคิดที่ถูกต้อง
ผ่านการใช้สมองไตร่ตรอง เพื่อควบคุมต้นตอของปัญหา ไม่ให้มันบานปลายเกินแก้ไข
คนที่มีความสุข ไม่ใช่เพราะทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต
มีแต่เรื่องที่ถูกต้องตามแผนที่วางไว้หรอกนะ
แต่ที่เขามีความสุข เพราะสติและทัศนคติที่ดี
ที่มีต่อปัญหาต่างๆในชีวิตมากกว่า
คุณเลือกเอาเองละกันว่าอยากรับมือกับปัญหา
แบบ React หรือ Respond
Copy​ จาก​ FB​ เพื่อนหนุ่ม​ T. R.
ขอบคุณคนคิด​ คนเขียนครับ

Jul 8, 2021

บิ๊กจ๊ะ สาธิต กรีกุล



ที่มา http://sakulthaionline.com/magazine/reader/2478

สีสันความสนุกในเกมกีฬา นอกจากผู้เล่นที่มีวิธีการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามได้ชาญฉลาด คนเชียร์ที่ต่างคอยส่งเสียงให้ผู้ที่ตนชื่นชอบเป็นกำลังสำคัญ อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไปเสียไม่ได้ก็คือ นักพากย์ที่มีความรอบรู้ในเกมกีฬาตรงหน้าและพูดด้วยลีลาที่สนุกสนานเร้าใจให้ติดตามไปจนจบรายการ


“มืออาชีพ” ฉบับนี้ขอพาไปพบกับผู้คร่ำหวอดในวงการนักพากย์กีฬาคนหนึ่งของเมืองไทย แม้คนที่ไม่เคยติดตามหรือเล่นกีฬาจริงจัง ก็เชื่อว่า ต้องเคยได้ยินชื่อของชายไว้หนวดสวมแว่นตาคนนี้อย่างแน่นอน... บิ๊กจ๊ะ-สาธิต กรีกุล


ก่อนจะมาเป็นนักพากย์กีฬาชื่อดังทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งที่ผ่านมาในอดีตของบิ๊กจ๊ะซึ่งส่งผลดีต่ออาชีพการงานทุกวันนี้ก็คือ การเป็นนักอ่าน โดยเฉพาะหนังสือกีฬา

“ตอนเด็กๆ สมัยประถม นอกจากชอบเล่นกีฬาแล้ว ผมจะชอบอ่านหนังสือกีฬาโดยเฉพาะสยามกีฬา เพราะสนใจเกี่ยวกับข้อมูลสถิติต่างๆ จำได้ว่า คุณพ่อเคยนำหนังสือมาวางไว้ที่หัวเตียงในวันเกิดปีหนึ่งเป็นของขวัญที่ท่านซื้อให้ครับ หลังจากนั้นผมก็จะซื้อมาตลอด ซื้อมาตั้งแต่ยังเป็นรายเดือนจนออกมาเป็นรายปักษ์ รายสัปดาห์ และรายวันครับ... อ่านมาเรื่อยจนกระทั่งเรียนจบจากคณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด ปี ๒๕๒๕ ก็ไปสมัครงานที่บริษัทสยามสปอร์ต จำกัด ช่วงแรกเขาก็ให้ทำเป็นนักข่าว ทำสกู๊ปกีฬา ผมทำอยู่ในส่วนของข่าวกีฬาต่างประเทศ ก็จะมีแปลข่าว เขียนคอลัมน์ด้วย...


หลังจากนั้น ทางสยามสปอร์ตมีรายการ Hotline Star Soccer ที่ออกอากาศทางช่อง ๓ เลยเป็นจุดเชื่อมที่ให้ได้มาทำงานกับทางช่อง ๓ และได้มีโอกาสพากย์การแข่งขันฟุตบอลโลกปี ๑๙๘๖ เป็นงานพากษ์ออกทางโทรทัศน์ครั้งแรกเลยครับจนกระทั่งได้รับการติดต่อจากทางช่อง ๓ ให้พากย์กีฬาด้วย หลังจากทำงานอยู่ ๘ ปี ก็ถูกส่งไปเป็นนักข่าวกีฬาประจำอยู่ที่อังกฤษ ๒ ปี ทำข่าวฟุตบอลเป็นหลัก เดินเข้าออกสนามบอลเพื่อรายงานข่าว เป็นช่วงแรกที่มีการส่งผู้สื่อข่าวคนไทยออกไปทำข่าวต่างประเทศ...


พอกลับมาเมืองไทย ก็มีหลายช่องติดต่อให้ไปทำงานด้วย แต่ก็เลือกมาช่อง ๓ เพราะผมเคยพากย์ที่นี่มาก่อนแล้ว อีกอย่างคือเหมือนเรามาบุกเบิกเสริมทีมพากย์กีฬาให้ช่องด้วย เป็นงานที่ท้าทาย ทำให้มีโอกาสเต็มที่กับงานนี้มากครับ จนถึงวันนี้ก็ทำมาครบ ๓ ทศวรรษพอดีสำหรับการพากย์และครบ ๒๐ ปี สำหรับการเป็นผู้ประกาศข่าวกีฬา” (ยิ้ม)


พากย์กีฬาโดยเฉพาะฟุตบอลมาหลายปีจนเป็นที่รู้จัก แต่หลายคนอาจนึกไม่ออกว่า ในการทำงานขณะนั้นต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง บรรยากาศเป็นเช่นไร กูรูคนนี้มีคำตอบ


“จริงๆไม่มีอะไรมากครับ เราเข้าไปนั่งในห้องพากย์เสียง ตรวจเช็คอุปกรณ์เบื้องต้น แต่สำคัญที่สุดคือ เราต้องเตรียมข้อมูลไว้ก่อน เป็นไปไม่ได้ที่เราจะจำทุกอย่างในสมอง แต่สิ่งที่อยู่ในสมอง ผมคิดว่ามันคืออาวุธเด็ดที่แต่ละคนมีและแตกต่างกันไป เวลาเราอยากพูดถึงนักกีฬาคนนี้ตอนนี้ เราก็หยิบขึ้นมาพูดได้เลย รายชื่อนักฟุตบอลมีกี่คน ชื่ออะไร มีลูกเล่นอย่างไร ตรงจุดนี้ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวของนักพากย์ ต้องจำตัวผู้เล่นให้ได้มากที่สุด สังเกตจากลักษณะท่าวิ่ง ตำแหน่งที่เล่น บุคลิกลักษณะท่าทางของผู้เล่น แต่ก็มีที่พากย์ยากคือ ตัวผู้เล่นเป็นที่รู้จักน้อยกับชื่อผู้เล่นออกเสียงยาก นอกจากนี้เวลาพากย์ก็ต้องถ่ายทอดออกมาให้ผสมผสานพอดี ไม่ใช่นั่งอ่าน ถ้าการแข่งขันยังไม่สนุกเท่าไรก็อาจจะต้องสอดแทรกข้อมูลที่เตรียมไว้ แต่ถ้ามีอะไรตื่นเต้นเราก็อิงไปกับเกมด้วย จะเรียกว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ผสมรวมกันก็คงได้ครับ”


นักกีฬาย่อมมีเทคนิคการเล่นของตัวเอง เฉกเช่นเดียวกับนักพากย์กีฬาก็ต้องมีกลเม็ดการทำงานที่มีลูกเล่นลีลาแพรวพราวไม่ต่างกัน


“การพากย์กีฬาฟุตบอล คนดูหวังจะเห็นความสนุกตื่นเต้น ไฮไลท์ที่สุดอยู่ที่การทำประตู แต่นอกเหนือจากการทำประตูแล้ว ก็ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นลูกหวาดเสียว ขณะที่บางคู่จบลงด้วยคะแนน ๐-๐ แต่ในระหว่าง ๙๐ นาทีนั้นมีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่า น่าตื่นเต้นมาก ซึ่งจะทำให้คนดูสนุกลุ้นไปด้วยหรือไม่นั้นก็อยู่ที่เราพากย์ให้เป็นไปตามเกมนั้นได้หรือเปล่า คือ เกมสนุกเราก็ต้องสนุกไปด้วย เหมือนเป็นผู้ดูที่ต้องเป็นผู้บรรยายไปพร้อมกัน ถ้าเกมฟุตบอลสนุกอยู่แล้ว เราก็ต้องพากย์ให้สนุกตามไปด้วย แต่ก็มีบางครั้งหรือบ่อยครั้งที่เกมไม่สนุก แต่จะทำอย่างไรให้คนดูไม่รู้สึกเบื่อ บางครั้งก็ต้องงัดมุกตลกขำๆมาสอดแทรก หรือดึงข้อมูลที่น่าสนใจมาดึงคนดู อาจต้องพยายามพูดให้เห็นว่า คู่นี้นะ ถ้าใครยิงได้จะเข้ารอบ ใครพลาดก็ตกรอบ ทำให้คนดูลุ้นว่าเดี๋ยวจะต้องมีการยิงประตูแน่ หรือยกตัวอย่างว่า ทีมเอเจอกับทีมบีมาสิบครั้งแล้วแพ้มาตลอดทั้งสิบ แต่เกมนี้ยังไม่แพ้หรือกลายเป็นทีมนำ ก็ต้องพูดให้คนดูรู้สึกว่า เดี๋ยวจะทำลายอาถรรพ์ที่จะต้องแพ้หรือไม่ ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือเปล่า...


เดี๋ยวนี้มีพากย์เป็นคู่ด้วย ซึ่งมีข้อดีคือ พอผมพากย์นำ อีกคนก็จะเป็นผู้วิเคราะห์เกม เพิ่มเติมข้อมูลเข้าไป ตัวเราเองก็เหนื่อยน้อยลง ถ้าทำงานคู่กันไปสักพัก คุ้นเคยกันแล้วก็จะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร จะรู้จังหวะกันและจะเข้าใจยอมรับบทบาทกับเนื้อหาของแต่ละคนกันดี...


ส่วนเรื่องน้ำเสียง โทนเสียงก็มีส่วนสำคัญ จังหวะจะโคนในการพูด การมีอารมณ์ร่วมไปด้วย ช่วงตรงไหนที่ตื่นเต้น สนุกก็ต้องเสียงสนุกตื่นเต้น ตรงไหนเศร้าก็ต้องเสียงนิ่ง ต้องเป็นไปตามที่เห็น ที่ลืมไม่ได้คือ การออกเสียง อักขระคำควบกล้ำเป็นสิ่งสำคัญเวลาเราพูดภาษาไทย ถ้าปล่อยปละละเลยจะไม่เป็นผลดี แต่ก็ใช่ว่าเวลาพากย์จะต้องออกเสียงชัดที่สุด แต่ก็ต้องพูดให้มีออกเสียงควบกล้ำให้ถูก คำไหน ร.เรือ คำไหน ล.ลิง อย่างน้อยที่สุด ก็ฟังดูดีกว่าการพูดไม่มีคำควบกล้ำเลย ซึ่งผมมองว่า ภาษาไทยสละสลวย ต้องพยายามช่วยกันรักษาไว้ ทุกคนควรใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องในงานของตนเองถ้ามีโอกาสถ่ายทอดออกมา”


บิ๊กจ๊ะบอกว่า ปัญหาที่เกิดจากการพากย์นั้นถือว่ามีเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการเป็นผู้ประกาศข่าวที่อยู่หน้ากล้องสดๆ


“เมื่อก่อน การพากย์จะไม่มีบท พากย์ไปตามที่เราเห็น ตามข้อมูลที่เรามี แต่ก็ต้องให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพด้วยนะครับ แต่การพากย์ในปัจจุบัน จะมีการเข้าช่วงผู้พากย์พูดหน้ากล้องก่อนเริ่มพากย์ ตรงนั้นเราก็ต้องมีข้อมูล รับผิดชอบตัวเองเต็มที่ทั้งสีหน้าและคำพูด บางทีคิวอาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นก็ต้องปรับสีหน้า หรือเวลาอ่านข่าวต้องอ่านตาม script บางครั้งภาพที่ออกหน้าจอสั้นกว่าบทที่เขียน ทำให้ไม่ทันกัน หรือข้อมูลนั้นผิด คนดูมองออก แต่ที่เขาไม่รู้ว่าเป็นเพราะ script ผิดมาตั้งแต่ต้นแล้ว ซึ่งคนอ่านข่าวทุกคนกลัวตรงจุดนี้กันมาก โดยส่วนตัวผมแล้วจะขอตรวจทานแก้ไขถ้ามีตรงไหนไม่ถูกต้อง”


นักพากย์หนวดงามกล่าวว่า ในชีวิตการทำงานของตนแล้ว มีอยู่ครั้งเดียวที่ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่เจ้าตัวให้คำจำกัดความไว้ว่า “หลุดโลก” และไม่เคยปรากฏอีกเลย


“เกมนั้นเป็นเกมที่ทีมชาติไทยแข่งกับทีมเกาหลีใต้ในฟุตบอลเอเชียนเกมส์ปี ๑๙๙๘ ไทยเราเป็นเจ้าภาพ แข่งกันที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ไทยเราเหลือผู้เล่นแค่ ๙ คน แล้วสมัยนั้นมีกฎ Golden Gold คือ ใครยิงเข้าก็ชนะไปเลย นัดนั้นผมเป็นผู้พากย์คนเดียวครับ พากย์ในสนามฟุตบอลเลย ปรากฏว่าหลังจาก ดุสิต เฉลิมแสน เขี่ยบอลให้ ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล ยิงเข้าประตู ซึ่งเป็นลูกที่สวยงามมาก ทำให้เราชนะไป ๒ ต่อ ๑ แฟนบอลทุกคนกระโดดดีใจจนตัวลอย ผมเองขนาดใส่ Head Phone ก็กระโดดขึ้นมาทั้งอย่างนั้น มีอารมณ์ร่วมไปกับกองเชียร์ด้วย เรียกว่าตื่นเต้นดีใจเสียงหลงกันเลยครับ”


การทำงานทุกชนิด หากไม่มีใจรักเสียแล้ว ก็ยากนักที่ผลของงานนั้นจะบรรลุไปได้ดังหวัง บิ๊กจ๊ะระบุว่า งานที่ทำจากใจย่อมให้คุณค่าสูงต่อชีวิต


“การพากย์กีฬา เราต้องมีใจรักและสนใจในเรื่องนี้ก่อน อย่างผมพากย์ฟุตบอล ก็เพราะมีใจรักและสนใจฟุตบอล ตอนเด็กผมเคยเป็นนักฟุตบอลมาก่อนด้วยไงครับ ก็ทำให้เรามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเล่นกีฬาชนิดนี้ และอย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับผู้เล่น กฎ กติกาการเล่น ยิ่งรู้เยอะมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นผลดีครับ ถ้าเป็นการพากย์ที่ออกมาในลักษณะที่เรารู้จริง เสียงที่ออกมาก็จะฟังดูเป็นธรรมชาติ มีเท่าไรก็เตรียมมาให้พร้อม แต่สิ่งสำคัญคือ จะถ่ายทอดออกมาอย่างไร บางคนรู้เยอะแต่พูดไม่เก่งก็มี แต่ก็อย่างที่หลายคนพูดกันว่า อาจจะต้องมีทั้งพรสวรรค์และพรแสวง บางคนมีพรสวรรค์มากก็โชคดีไป แต่ผู้ที่มีน้อยก็ต้องอาศัยความพยายามพัฒนาตนเอง เรียนรู้ข้อมูลต่างๆในสิ่งที่จะทำครับ...


ทุกวันนี้ เวลาจะพูดอะไรออกไป ต้องระมัดระวัง สมองเราต้องกลั่นกรองทุกคำพูดที่พูดออกไปและต้องรับผิดชอบไปด้วย นี่คือสิ่งสำคัญ สิ่งที่พูดไปอาจไม่ตรงใจคนทั้งหมด แต่ผมต้องมั่นใจก่อนว่า ภาพที่เราเห็นแล้วพูดออกไปกับสิ่งที่คนดูทางหน้าจอซึ่งส่วนใหญ่มีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ ต้องคิดเหมือนเรา ซึ่งถ้าพวกเขาเข้าใจยอมรับสิ่งที่เราพูดไว้ ผมถือว่างานนั้นบรรลุเป้าหมายแล้วครับ”


ลีลาการเล่นที่สนุกสนานตื่นเต้นบนสนามใหญ่ กองเชียร์หลากสีสัน ยังคงเป็นบรรยากาศอันน่าจดจำของผู้ชม เช่นเดียวกับเสียงบรรยายที่เร้าใจ มีข้อมูลและรู้ทิศทาง บ่งบอกถึงการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีของผู้ทำหน้าที่ “นักพากย์กีฬา”


“สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ของการพากย์ คือ การออกเสียงคำควบกล้ำอักขระ ต้องพูดให้ชัดเจน ภาษาไทยเป็นภาษาที่สละสลวย ทุกคนควรใช้ให้ถูกต้องในงานที่ทำ”


(ตีพิมพ์เมื่อ ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๑๒)



ประวัติ

เกิด 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 

พื้นเพเป็นชาวจังหวัดภูเก็ต

มีนามปากกา ว่า  “บิ๊กจ๊ะ”

จบการศึกษาระดับมัธยมจาก  โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

จากนั้นเข้าเรียนที่

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ทว่าต่อมาย้ายไปศึกษา

ในภาควิชาการตลาด

คณะบริหารธุรกิจ

ของวิทยาลัยกรุงเทพ

(ปัจจุบัน คือมหาวิทยาลัย

กรุงเทพ)

เป็นรุ่นที่ 16 เนื่องจากบิดาเป็น

นักธุรกิจ จึงสนับสนุน

ให้ศึกษาในสายนี้

เมื่อจบการศึกษาในปีพ.ศ. 2525

ก็เริ่มงานกับแผนกการค้าระหว่างประเทศ

ธนาคารไทยพาณิชย์

อยู่ระยะหนึ่ง

จากนั้นจึงเข้าทำงานกับ

บริษัท สยามสปอร์ต

ซินดิเคท จำกัด

ด้วยความที่รู้จักกับ ย.โย่ง เอกชัย นพจินดา และ

น้องหนู ธราวุธ นพจินดา

โดยเริ่มจากการเป็นผู้สื่อข่าว นักแปลและคอลัมนิสต์ก่อน

ในปี พ.ศ. 2525

ต่อมาเริ่มงานพากย์กีฬาครั้งแรก คู่กับจักรพันธุ์ ยมจินดา

ในศึกฟุตบอลโลก 1986

ที่เม็กซิโก คู่ระหว่างเยอรมนีตะวันตก กับอุรุกวัย

สาธิตชื่นชอบฟุตบอลมาตั้งแต่เด็กๆ

โดยทีมที่ชอบมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม

คือแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เอกลักษณ์ประจำตัวของเขาคือ

ไว้หนวดเหนือริมฝีปากมาจนปัจจุบันนี้

โดยได้รับอิทธิพลมาจาก จอร์จ เบสต์ อดีตกองกลาง

ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด,

อัล ปาชิโน ดาราฮอลลีวูด และแบร์รี กิบบ์ นักร้องวงบีจีส์

ทั้งนี้ เขาเคยโกนหนวดมาครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2542

หลังจากประกาศไว้หากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

สามารถชนะเลิศฟุตบอล 3 รายการใหญ่ คือพรีเมียร์ลีก,

เอฟเอ คัพ และยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก

นอกจากนั้นยังประกาศอีกว่าจะโกนหนวดออกตลอดชีวิต

หากทีมชาติไทย ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก

ปัจจุบันสาธิตเป็นผู้ประกาศข่าวกีฬา

และผู้บรรยายกีฬาทางช่อง 3 (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534),

ผู้บรรยายกีฬาทางซีทีเอชและทรูวิชันส์

รวมถึงเป็นพิธีกรประจำรายการ บิ๊กจ๊ะ เจาะกีฬา

ซึ่งออกอากาศสด ในทุกคืนวันจันทร์ เวลา

21:00 - 22:00 น. ทางช่องสยามสปอร์ตนิวส์

ทรูวิชันส์ช่อง 114

และปัจจุบันรายการนี้ได้ออกอากาศเป็นบันทึกเทป

ในทุกคืนวันจันทร์ เวลา 20:30 - 21:00 น.

ทางช่องทีสปอร์ตส์ แชนแนล


Jul 4, 2021

4 ก.ค. 2564 ถวายพระพร สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

 


โบราณนานมา


"...หวังว่าจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนคนไทย ตอนนี้เราโดนโควิดเอามาก ๆ เลย ถ้าเราไม่แก้ไขตอนนี้ เกรงว่า คนไทยจะได้รับความทุกข์ทรมานมากกว่านี้ หนูก็ขอร้องทุกท่านให้ทำการรักษา ทำการป้องกัน อย่างที่ให้เต็มอัตรา แล้วหนูจะคอยฟังผลว่าที่หนูให้ไปนี้ จะได้รับประโยชน์จากมันอย่างไรบ้าง..."


พระดำรัสของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานแก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสที่พระราชทานวัคซีนซิโนฟาร์ม เพื่อนำไปจัดสรรกระจายฉีดให้แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ที่มีรายได้น้อย และชุมชนในพื้นที่เสี่ยง เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๔

น้ำ ปริษา ปานะนนท์

ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพ อดีตดาราดังยุค 90 ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 2 ยังจำกันได้ไหม

ที่มา https://women.kapook.com/view243411.html

กลายเป็นไวรัลดังบนโลกออนไลน์ไปแล้วตอนนี้

ชาวเน็ตให้ความสนใจภาพในอดีตของ น้ำ ปริษา ปานะนนท์

อดีตดาราเบอร์ต้น ๆ ยุค 90 ที่ใคร ๆ คุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดีจาก

โฆษณาดังจาก เมืองไทยประกันชีวิต หลงใหลในความสวยออร่ากัน

ทั้งโซเชียลและปัจจุบันยังคงดูสวยเหมือนเดิม


เปิดบ้านแห่งรักของ “ปริษา ปานะนนท์ – ภูเดษ จันทรางกูร”




หากเข้าถึงและเข้าใจ เชื่อว่าหลายครอบครัวคงจะพบว่า ความสุขในชีวิตทุกวันนี้อาจไม่ต้องการสิ่งเติมแต่งใด ๆ เพิ่มเติม แค่มีครอบครัวดี สามีภรรยาเข้าใจและให้เกียรติกัน ลูก ๆ เป็นเด็กดี น่ารัก รับผิดชอบการเรียน ญาติพี่น้องอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ก็น่าจะเพียงพอ เหมือนที่วันนี้ MGR Lite และ Life & Family มีโอกาสมาสัมภาษณ์ครอบครัวอบอุ่นอีกหนึ่งแห่งย่านพิบูลสงคราม ที่ซึ่งมีบ้าน (หรือควรจะเรียกว่าคฤหาสน์) 7 ชั้นตั้งอยู่ภายในพื้นที่เขียวครึ้ม และร่มเย็นไปด้วยแมกไม้ใหญ่น้อยนานาพันธุ์ แถมยังมีสุนัขตัวโตนับสิบคอยวิ่งเล่นอย่างสนุกสนาน ที่นี่อาจเรียกได้ว่าเป็นบ้านแห่งรักอีกหนึ่งหลังของ "คุณน้ำ - ปริษา ปานะนนท์" ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อดีตดาราพิธีกร-นักแสดงมากฝีมือ และ "คุณสาม - ภูเดษ จันทรางกูร" รักษาการผู้อำนวยการฝ่าย ระดับ P10 บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) เจ้าของโปรเจ็คเด่นสะดุดตาอย่าง "MaxNet" และอื่น ๆ อีกมากมาย

โดยคุณน้ำเล่าถึงที่มาของบ้านหลังนี้ว่า เกิดจากวิสัยทัศน์ของคุณพ่อที่มีลูกสาว 4 คน และไม่ต้องการให้ลูก ๆ ที่แต่งงานมีครอบครัวแล้วต้องย้ายออกไปสร้างครอบครัวให้ห่างไกลจากคุณพ่อคุณแม่ จึงเป็นที่มาของการสร้างบ้านหลังมหึมา 7 ชั้น พร้อมสระว่ายน้ำ และเรือนที่พักแม่บ้านอย่างเป็นสัดเป็นส่วน ให้ลูก ๆ สามารถสร้างครอบครัวของตนเองได้ในพื้นที่เดียวกันนั่นเอง

สำหรับชีวิตคู่ ทั้งคุณน้ำและคุณสาม ยอมรับว่ามีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันสุดขั้ว ระหว่างคุณสามหนุ่มนักเรียนนอก (ที่เจ้าตัวและคนรู้ใจยอมรับว่าเคยเป็นอดีตหัวโจกแบดบอยกันเลยทีเดียว) กับสาวสวยดีกรีเกียรตินิยมจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเพียบพร้อมทั้งความสามารถและมีชื่อเสียงในวงการบันเทิงพ่วงท้าย ซึ่งก่อนจะมาพบรักและแต่งงานกันได้นั้น ต่างคนต่างมีโลกของตัวเองที่หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็อาจเป็นเรื่องยากที่จะได้พบเจอกัน โดยคุณน้ำเล่าย้อนความหลังไปถึงช่วงนั้นว่า

“ตอนเรียนหนังสือที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มีงานถ่ายโฆษณาเข้ามาบ้าง แต่เหมือนงานอดิเรกมากกว่า เพราะไม่ได้เบียดเบียนเวลาเรียน และเมื่อจบมาแล้ว ก็ลองเข้ามาค้นหาตัวเองหน่อย ด้วยการทำงานในวงการบันเทิงอย่างจริง ๆ จัง ๆ ซึ่งยอมรับว่างานในวงการบันเทิงเป็นสิ่งที่รักมาก และทำให้เราได้เรียนรู้อะไรเยอะพอสมควร แต่พี่ก็ยังรู้สึกว่า เราควรจะเรียนต่อปริญญาโท ก็เลยไปเรียนที่ศศินทร์ ซึ่งยากมาก เจอบัญชีเกือบตาย (หัวเราะ) แต่ก็ผ่านมาได้ พอเรียนจบก็รู้สึกว่าต้องทำงานประจำ เพราะอุตส่าห์ไปเรียนมา เราก็อยากนำความรู้มาใช้ประโยชน์ ก็เลยเริ่มงานที่ยูทีวี (ชื่อในอดีตทรูวิชั่นส์) เป็นผู้จัดการดูแลรายการ 30 กว่าช่อง และได้พบกับพี่สามที่นี่ แล้วก็แต่งงานกันค่ะ”

“ช่วงนั้น ผมยอมรับเลยว่าผมเป็นเพลย์บอยนะ (หัวเราะ) ซึ่งเป็นช่วงที่ผมสำเร็จการศึกษากลับมาเมืองไทย และเริ่มเข้ามาทำงานที่ยูทีวีเช่นกัน แต่เมื่อผมได้เจอน้ำ ผมก็บอกตัวเองว่า ผู้หญิงคนนี้ใช่ ผมอยากมีลูก อยากมีครอบครัว ก็เลยตัดสินใจทิ้งความเสเพลทั้งหลาย และแต่งงาน ซึ่งทุกคนแปลกใจมากเพราะไม่คิดว่าผมจะแต่งงานเร็ว คิดว่าอายุ 30 กว่าถึงจะแต่ง แต่ผม 25 - 26 ก็แต่งแล้ว”

เมื่อต้องหลอมรวมเป็นครอบครัวเดียวกัน ทั้งสองคนยอมรับว่า สิ่งที่ยึดโยงความต่างเข้าด้วยกันได้ก็คือ ความไว้ใจ เชื่อใจ และให้เกียรติกัน ซึ่งเป็นพรจากท่านองคมนตรี พลเอกวิจิตร กุลละวณิชย์ ประธานในพิธีแต่งงาน

"ตอนพี่น้ำแต่งงาน ท่านองคมนตรี พลเอกวิจิตร กุลละวณิชย์ เป็นประธานในพิธี ซึ่งท่านได้อวยพรว่า ถ้าแต่งงานแล้วจะต้องมีความไว้ใจ เชื่อใจและให้เกียรติกัน เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าหากัน ซึ่งพี่ก็ยึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิตมาตลอด ถึงแม้ที่ผ่านมาจะมีเหตุให้ไม่เข้าใจกันบ้าง แต่สุดท้ายก็ผ่านไปด้วยดี โดยเฉพาะตอนนี้ เราสองคนมีวัตถุประสงค์หลักร่วมกันคือลูก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ศูนย์รวมจิตใจเราก็คือลูกค่ะ"

ฟังคุณแม่คนสวยเล่าถึงเคล็ดลับในการครองเรือนแล้ว หันมาฟังคุณพ่อสามเล่าถึงชีวิตคู่ที่ผ่านมากันบ้าง "ถ้าถามผมว่า ชีวิตคู่คืออะไร ชีวิตคู่ก็คือการที่คนสองคนรักกันและมาอยู่ร่วมกัน แต่แน่นอนว่าเรื่องผิดพลาดก็ต้องมีบ้าง แต่พอเราปรับตัวปรับใจได้ ให้อภัยกัน ในที่สุดมันก็เข้าใจกัน ลูกเท่านั้นที่เราใส่ใจกันมากกว่า ทุกวันนี้ น้ำเขาก็จะรับหน้าที่ไปรับ - ส่งลูกอยู่เสมอ แต่ผมจะถามน้ำตลอดว่า เขามีเวลาไหม ถ้าไม่ ผมสละได้" พร้อมยืนยันหนักแน่นว่า จะไม่ยอมให้ชีวิตครอบครัวต้องสูญเสียไปเพียงเพราะว่าพ่อและแม่มีหน้าที่การงานใหญ่โตเป็นอันขาด

เคล็ดลับแบ่งเวลา..รักษาความรัก

ในฐานะที่เป็นผู้บริหาร การแบ่งเวลาเพื่อครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน โดยคุณน้ำเล่าว่า นอกเหนือจากการไปรับไปส่งลูกแล้ว ก็จะพยายามหาเวลาอยู่ดูแลลูก ๆ เสมอในวันหยุดสุดสัปดาห์

"พี่น้ำเป็นแม่ที่ไม่ค่อยได้เรื่อง ไปส่งลูกก็แค่ดรอปลูกลงที่หน้าโรงเรียน แต่เห็นคุณแม่คนอื่น ๆ ที่เขาเข้าไปคุยกับครู ก็รู้สึกเหมือนกันค่ะว่า ทำไมชั้นไม่ทุ่มเทขนาดนั้น (หัวเราะ) แต่ว่าเราก็ทำในสิ่งที่เราทำได้ เวลาที่เรามีร่วมกันก็พยายามส่งเสริมเขาในสิ่งดี ๆ เช่น พาเขาไปวัด ไปทำบุญตักบาตร ก็คิดว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ชีวิตลูกในระยะยาว”

"ลูก ๆ ก็มีเรียนพิเศษบ้างค่ะ พาไปเรียนภาษาอังกฤษ เรียนแบดมินตัน เรียนว่ายน้ำ นอกจากนั้นก็ไปเดินช้อปปิ้งกันบ้าง หรือถ้าว่างก็ไปต่างจังหวัดกัน ครอบครัวเราจะมีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ ถ้าตื่นขึ้นมาแล้วอยากไปเที่ยวก็ไปกันเลย เรียกได้ว่าเก็บของเสร็จใน 10 นาที จุดหมายก็มีไปทะเลบ้าง ไปหาอะไรอร่อย ๆ ทานบ้าง"

เมื่อถามว่าเลี้ยงลูกเหนื่อยไหม ผู้บริหารสาวสวยตอบทันทีว่า ไม่เลย (แต่มีข้อยกเว้นอยู่ช่วงเดียวเท่านั้นก็คือ ช่วงสอนการบ้าน)

“เวลาพี่น้ำสอนการบ้านจะใช้พลังเยอะหน่อย (หัวเราะ) ขนาดเราบอกว่าลูกไม่ต้องเรียนเก่งก็ได้ แต่เวลาสอนการบ้าน เราจะแบบ...ทำไมทำไม่ได้อ่ะ (เสียงสูง) ด้วยความที่พี่อาจจะเป็นคนเรียนดีมาก่อน ก็เลยจะมีหงุดหงิดกันบ้าง ซึ่งพี่สามเขาก็จะคอยบอกให้ใจเย็น”

พอถึงจุดนี้คุณพ่อสามอธิบายเสริมว่า “เพราะคุณตาคุณยายเลี้ยงลูกได้ดีมาก ๆ ลูกสาวสี่คนได้ดิบได้ดีทุกคน เรียนเก่งทุกคน เข้าจุฬาฯ ได้ทุกคน ลูก ๆ เรา ก็เลยอยากเรียนเก่งเหมือนคุณแม่ ซึ่งตรงข้ามกับผมเลย ผมเรียนแค่จบ แค่เอาเกรดเรียนต่อปริญญาโทได้ แต่เมื่อต้องปรับใช้กับลูก น้ำเขาจะเข้ม ส่วนผมก็จะอ่อน คอยดึง ๆ กัน แต่ผมกับน้ำก็มองไปที่จุดเดียวกันคือ ลูกไม่ต้องเรียนเก่ง หรือต้องจบมหาวิทยาลัยท็อปเท็น ท็อปไฟว์ของโลกหรอก ขอให้เขามีความสุขกับการที่เขาได้เรียน นั่นคือสิ่งที่ผมกับน้ำต้องการแล้ว”

แผนการศึกษาของลูก

สำหรับเรื่องของการศึกษา ครอบครัว “ปานะนนท์ – จันทรางกูร” เห็นพ้องกันว่า ควรเป็นที่ที่อบอุ่นและปลอดภัย นอกเหนือจากให้การศึกษาที่ดีมีคุณภาพ

“พี่น้ำจบจากโรงเรียนราชินีมา ก็อยากให้ลูกเรียนโรงเรียนที่เราจบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรามีลูกสาวด้วย เราก็ต้องเป็นห่วง อยากให้ลูกเรียนในที่ที่อบอุ่น ปลอดภัย แต่ติดปัญหาเรื่องการเดินทาง และคุณพ่อ (คุณตา) จะยึดหลักว่าโรงเรียนต้องใกล้บ้าน จะได้เดินทางสะดวก ก็เลยมีโรงเรียนราชินีบน ซึ่งก็เหมือนโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องกัน”

ด้านคุณพ่อสามเล่าด้วยว่า ตอนนี้อยู่ระหว่างการ (เริ่มต้น) ปรึกษากันถึงเรื่องการส่งลูกไปเรียนต่อต่างประเทศ “กะให้ลูกโตอีกหน่อย ถ้ามีปัญญาก็จะส่งไปเรียนเมืองนอก (หัวเราะ) เดี๋ยวนี้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ก็ไม่ได้แพงมาก พอจะจ่ายได้ ซึ่งอาจเป็นช่วงปริญญาตรี หรือหลังจากจบปริญญาตรีในเมืองไทยแล้ว”

วางอนาคตครอบครัว

หากเอ่ยถึงความมั่นคงของครอบครัวของคุณน้ำและคุณสามอาจกล่าวได้ว่ามาถึงจุดสูงสุด และมีความพร้อมอย่างมากแล้ว แต่สิ่งที่ครอบครัวยังยึดหลักเอาไว้ก็คือ การทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

“พี่น้ำจะยึดหลักทำปัจจุบันให้ดี อนาคตก็จะดีเอง ส่วนเรื่องลูก ถ้าเรามอบการศึกษาที่ดีให้แก่เขา อนาคตของเขาก็ย่อมที่จะดีด้วย รวมถึงการศึกษาธรรมะที่พี่พยายามใส่ให้เขา ก็อาจช่วยให้เขาเผชิญกับโลกภายนอกได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่สังคมเรากลัว ๆ กันอยู่ พวกยาเสพติด การติดเกม การพนัน แต่ถ้าเราสร้างปัจจุบันให้ดี อนาคตก็น่าจะดีตามค่ะ ส่วนตัวก็จะพยายามรักษาครอบครัวให้อยู่ไปได้ตลอด มีความมั่นคง พอแก่ตัวแล้วไม่ลำบากลูก”

“ผมเองก็ไม่ต่างกับน้ำ อยากเห็นลูกได้ดี เราเชื่อว่าเราเองก็สร้างรากฐานไว้ให้ลูกแล้ว คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายก็ให้ไว้แล้ว ส่วนตัวผมกับน้ำ ก็รักษาความรักและทุกอย่างไว้ให้นานที่สุด สิ่งที่ผิดพลาดก็อย่าไปทำมันอีก ที่สำคัญความเข้าใจ ความเชื่อถือ ความไว้วางใจ ผมให้น้ำเขาเต็มร้อย และน้ำเขาก็ให้ผมเต็มร้อยเช่นกัน” พร้อมกันนี้ คุณสามยังได้ฝากข้อคิดถึงทุกคู่รักที่กำลังจะสร้างครอบครัวด้วยว่า

“ฝากข้อคิดถึงทุกคู่เลย ให้รักกันบนพื้นฐานของความเป็นจริง เข้าใจกันให้มากที่สุด พยายามเป็นตัวตนของตัวเองให้มากที่สุดก่อนที่จะแต่งงาน ไม่ใช่ความรักทำให้คนตาบอด ส่วนพี่กับพี่น้ำที่แต่งงานกันมาขนาดนี้แล้ว อยากจะบอกไว้ว่า ให้อยู่กับความเป็นจริงให้มากที่สุด กับพี่น้ำเขาก็ยังเหมือนเดิม ผมยอมรับเลยว่า น้ำเป็นแม่ที่ดีมากคนหนึ่ง แล้วก็เป็นลูกน้องที่ดีมาก ๆ ของนายด้วย ทำงานก็เก่ง เขาค่อนข้างจะทุ่มเท ชีวิตนี้ได้แต่งงานกับเขาก็เป็นเรื่องที่โชคดี ยิ่งแก่ตัวลง ความรู้สึกเราก็ยิ่งรักเขา ปกป้องเขา เป็นพ่อที่ดีของลูก เป็นสามีที่ดีให้มากกว่าเดิม”

“สำหรับพี่น้ำ ความสุขในชีวิตก็คือ พยายามมีสติอยู่กับปัจจุบัน เวลาทำงานก็มีความสุขกับงาน กลับบ้านก็มีความสุขกับลูกกับครอบครัว วันธรรมดาก็กลับมากินข้าวกับคุณพ่อ พี่น้ำโชคดีที่แต่งงาน แล้วสามีแต่งเข้า ลูกทุกคนแต่งเข้าหมด มาอยู่ในบ้านที่คุณพ่อสร้างไว้ให้ พี่น้องสี่คนสี่สาวมีลูกมีหลานอยู่ในบ้าน เป็นครอบครัวใหญ่ค่ะ”

Jul 1, 2021

กำพล วัชรพล (2462 - 2539)

 


ที่มา : วิกิพีเดีย

จ่าโท กำพล วัชรพล

(27 ธันวาคม พ.ศ. 2462 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539)

ผู้ก่อตั้ง

-หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ,

-ข่าวภาพ,

-เสียงอ่างทอง และ

-มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

อีกทั้งยังเป็น ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐคนแรก

ประวัติ

นายกำพล วัชรพล เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2462 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม

ที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรคนที่สี่ (คนสุดท้อง)

ของนายหลี และ นางทองเพียร มีพี่น้องร่วมมารดา 3 คน คือ


นางนกแก้ว ทรัพย์สมบูรณ์,

นายสยม จงใจหาญ และ

นายวิมล ยิ้มละมัย


นายกำพล จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน

และไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อ เนื่องจาก

มารดามีอาชีพค้าข้าวเรือเร่ จำเป็นต้องพาลูกขึ้นเรือล่องไป

ตามแม่น้ำสายต่างๆ คือ

แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และ แม่น้ำแม่กลอง

และใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนเรือ


การงาน

ราวปี พ.ศ. 2477 เมื่ออายุได้ 15 ปี นายกำพล

เริ่มต้นการทำงานของตนเอง

โดยเป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร เรือเมล์ปล่องเขียว

วิงระหว่าง ประตูน้ำอ่างทอง ถึง ประตูน้ำภาษีเจริญ

ระหว่างนั้นได้คบหาเป็นเพื่อนสนิท กับ นายวสันต์ ชูสกุล

ต่อมา เมื่อนายกำพลสอบเป็นนายท้ายเรือได้

ก็เข้าทำงานเป็นนายท้ายเรือ ชื่อ “พันธุ์ทิพย์” 

โดยมีนายวสันต์ เป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร


เมื่อปี พ.ศ. 2483 นายกำพล เข้ารับราชการทหารเรือ

โดยเริ่มจากเข้าศึกษาที่ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ

จังหวัดสมุทรปราการ

ต่อมา ได้บรรจุเข้าประจำเรือหลวงสีชัง

นอกจากนี้ นายกำพล ยังได้เข้าร่วมรบ

ในราชการสงครามครั้งใหญ่ 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีน

ในกรณีพิพาทระหว่างเขตแดนของไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส

และ สงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2)

ในยุทธภูมิครั้งหลังนี้ ส่งผลให้ นายกำพล

ได้รับพระราชทาน “เหรียญชัยสมรภูมิ” เหรียญกล้าหาญ

และได้รับการเลื่อนยศขึ้นเป็น จ่าโท

จากนั้น นายกำพล ได้ลาออกจากราชการ

ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เมื่ออายุ 28 ปี


งานหนังสือพิมพ์

ราวเดือน มีนาคม พ.ศ. 2490 นายกำพล ได้เข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์หลักไทย ในสมัยที่

นายเลิศ อัศเวศน์ เป็นบรรณาธิการ อยู่ในระยะเวลาหนึ่ง

ระหว่างนั้นได้ถูกทดสอบให้เป็นพนักงานหาโฆษณา

ไปพร้อมกันด้วย

ต่อมา นายกำพล ได้ชวน นายเลิศ และ นายวสันต์

ออกหนังสือฉบับพิเศษ ชื่อ “นรกใต้ดินไทย”

ที่นายเลิศเขียนเป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์หลักไทย โดยใช้เงินลงทุน จำนวน 2,000 บาท

ที่มาจากทุนส่วนตัว รวมกับการหยิบยืม เมื่อพิมพ์จำหน่าย หักกลบลบหนี้แล้ว

แบ่งเงินกันเป็นสามส่วน นายกำพลยังมีเงินเหลือไว้เป็นกองกลางอีก 6,000 บาท

จากนั้น นายกำพล ปรึกษากับ นายเลิศ และ นายวสันต์ ว่า น่าจะออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์สักฉบับหนึ่ง

จึงไปจดทะเบียนหนังสือพิมพ์ กับกองบัญชาการตำรวจสันติบาล

ใช้ชื่อว่า “ข่าวภาพ” รายสัปดาห์ โดยใช้ตราเป็นรูป กล้องถ่ายภาพ สายฟ้า และ ฟันเฟือง

ซ้อนกันอยู่ในวงกลม เป็นสัญลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ที่นายกำพลเป็นเจ้าของตลอดมา

อุปสมบทในระหว่างทำหนังสือพิมพ์ “ข่าวภาพ” รายวัน นายกำพลได้เข้าอุปสมบท

ที่วัดลาดบัวขาว ถนนตก กรุงเทพมหานคร โดยมอบหมายให้ นางประณีตศิลป์ ภรรยา

และ นายวสันต์ ร่วมกันบริหาร และเมื่อลาสิกขาบทแล้ว ได้กลับเข้ามาบริหาร หนังสือพิมพ์ “ข่าวภาพ” ต่อไป


ข่าวภาพ → เสียงอ่างทอง → ไทยรัฐ


เกียรติยศ

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516,

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ

สมาชิกวุฒิสภา 3 สมัยติดต่อกัน

ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด

ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก เมื่อ พ.ศ. 2533

ได้รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสรรเสริญ ชั้นที่ 1


หนังสือ “เปเปอร์ ไทเกอร์ส” (Paper Tigers)

ที่เขียนโดย นายนิโคลัส โคลริดจ์ นักเขียน และ

นักหนังสือพิมพ์ ชาวอังกฤษ

กล่าวชื่นชม นายกำพล ไว้ในบทความเรื่อง

“25 คนหนังสือพิมพ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก

พร้อมวิถีทางแห่งชัยชนะ”


หนังสือ “ฮู’ ส ฮู อิน เดอะ เวิร์ลด์”

(Who’s Who in the World)

ที่จัดพิมพ์โดย บริษัท คิงส์ พอร์ท รัฐเทนเนสซี

สหรัฐอเมริกา ฉบับปี ค.ศ. 1976-1977

ได้นำประวัติของนายกำพลไปตีพิมพ์ พร้อมกันนี้

ได้มอบเกียรติบัตรในนามของคณะกรรมการการพิมพ์

มาร์ควิส อีกด้วย


นิตยสาร “อินเวสเตอร์” รายเดือน ภาษาอังกฤษ

ฉบับประจำเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2512 ได้กล่าวยกย่อง

นายกำพล ในบทความเศรษฐกิจเรื่อง

“กำพล วัชรพล: ลอร์ด ทอมสัน แห่งประเทศไทย”

มูลนิธิหนังสือพิมพ์แห่งเอเชีย ที่มีสำนักงานใหญ่

อยู่ใน กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เชิญ

นายกำพล ให้ร่วมเป็น กรรมการบริหารมูลนิธิดังกล่าว


วิสัยทัศน์

นายกำพล เป็นคนแรก ที่ตั้งอาคารริมถนนวิภาวดีรังสิต (ตั้งแต่ยังเป็น ถนนกรุงเทพฯ-สระบุรี)

เป็นการย้ายสำนักงานหนังสือพิมพ์ออกสู่ชานเมืองเป็นฉบับแรก

ส่งผลให้มีสำนักงานหนังสือพิมพ์ย้ายมาอยู่บนถนนสายนี้ อีกไม่น้อยกว่า 5 ฉบับ

นายกำพล ยังเป็นผู้บุกเบิกในด้านเทคโนโลยีการผลิตหนังสือพิมพ์หลายอย่าง

เช่น เครื่องพิมพ์ ระบบเรียงพิมพ์ การจัดจำหน่ายด้วยตนเอง เป็นต้น


มูลนิธิไทยรัฐ

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา


ครอบครัว

นายกำพล สมรสกับ คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล

(นามสกุลเดิม ทุมมานนท์) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2493 มีบุตร-ธิดา รวม 3 คน คือ


-นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล,

-นายสราวุธ วัชรพล และ

-นางอินทิรา วัชรพล


นอกจากนี้ นายกำพล ยังมีบุตร-ธิดา กับภรรยาอื่นอีก 5 คน คือ

-นายฟูศักดิ์ วัชรพล,

-นางนำพร วัชรพล,

-นายเกรียงศักดิ์ วัชรพล,

-นายพีระพงษ์ วัชรพล

-นางเพ็ชรากรณ์ วัชรพล


อนิจกรรม

นายกำพล เข้ารับการตรวจรักษาทั่วไปเป็นครั้งแรก

ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538

เนื่องจากมีอาการอึดอัดแน่นท้อง คณะแพทย์ตรวจพบเนื้องอกที่ไต

และได้เข้าผ่าตัดเนื้อร้ายทิ้งถึง 2 ครั้ง แต่อาการกลับทรุดลงตามลำดับ

จนถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 01.45 น.

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539

ขณะมีอายุ 76 ปี 1 เดือน 25 วัน