Custom Search

Apr 26, 2024

พี่ตั๋ม จาตุรนต์ เอมซ์บุตร

“กราบลา “พี่ตั๋ม จาตุรนต์ เอมซ์บุตร” (นักแต่งเพลง) ยินดีที่ได้ร่วมงานกับพี่ เพลงที่พี่แต่งไว้ให้ผม ผมยังร้องอยู่เลยครับ ขอบคุณที่สร้างผลงานดีๆให้กับพวกเรานะครับ- มอส ปฏิภาณ”

26 เมษายน 2567

Apr 24, 2024

ข้อดีของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย?

บทความให้ข้อคิดที่น่าสนใจ

ของอาจารย์วรัชญ์ ครุจิต

อ่านพบจาก facebook

ขออนุญาตแชร์ต่อครับ


ข้อดีของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย? 


ผมเห็นคนแชร์ภาพนี้เยอะพอสมควร ตั้งแต่ ver 1 ละ 

จริงๆผมก็ตามเพจนี้ และแชร์โพสต์เพจนี้บ่อยๆ 

ตอนแรกที่ผมเห็น ผมก็คิดจะแชร์เหมือนกัน แต่อีก 2 วินาทีต่อมา ก็คิดว่า ไม่แชร์ดีกว่า แต่ถ้าเป็น 10 ปีที่แล้ว ผมคงแชร์แล้วก็แซวกัดจิกอาชีพตัวเองแบบแสบๆ จนคนอ่านคงต้องรู้สึกเห็นใจอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างผม 


ผมเห็นภาพนี้แล้วก็ยิ้มขำๆเหมือนกัน และก็ไม่ได้เถียงว่ามันไม่จริง 


มันจริงครับ ... แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า มันจริงทั้งหมด กับทุกคนที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 


ไม่ใช่ว่าทุกคนที่เข้ามาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะต้องเจอกับสิ่งเหล่านี้ 


แล้วจะว่าไป สิ่งต่างๆเหล่านี้ มันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายอะไรนะผมว่า แทบทุกอย่างก็เป็นหน้าที่ที่อาจารย์ควรจะทำ ทั้งการดูแลนักศึกษา (ไม่ว่าจะป่วยโรคอะไรก็ตาม) การทำตำแหน่งวิชาการ (เพื่อพัฒนาตนเองและองค์กร) การขอทุนวิจัย (นี่ก็รายได้หลักอีกทาง) การคุมซ้อมรับปริญญา ก็เป็นหน้าที่ (หรือจะให้แม่บ้านทำให้?) หรือการร่วมกิจกรรมสถาบันใดๆ มันก็เป็นสิ่งที่สมาชิกองค์กรใดๆก็ควรทำใช่ไหม หรือแม้แต่สิ่งที่ดูขัดแย้งกับการเป็นอาจารย์ คือการหานักศึกษา แต่มันก็เป็นความจำเป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ในทุกๆอาชีพเหมือนกัน แม้แต่วัดยังต้องจัดกิจกรรมดึงดูดให้คนมาทำบุญเลย!  


เอาเป็นว่า ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมาประมาณ 20 ปี ทำงานมา 2 ที่ ม.เอกชน แล้วก็มา ม.รัฐ ผมไม่เคยเก็บสถิติจริงจัง แต่ผมเชื่อว่า ผมเห็นคนที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์กันจนเกษียณจำนวนมากกว่าคนที่ลาออกกลางคันไปทำงานอย่างอื่นนะครับ โดยเฉพาะอาจารย์ ม.รัฐ 


ดังนั้นอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย มันจะต้องมีดีอะไรเยอะพอสมควรแหละ ทั้งที่รายได้ก็ดูจะไม่ได้มากเหมือนผู้บริหารองค์กรเอกชนในอายุเท่าๆกัน 


ผมจะลองลิสต์ข้อดีของอาจารย์มหาวิทยาลัยดูบ้าง


เหนือภูเขาน้ำแข็ง (สิ่งที่คนทั่วไปเห็น)


- ได้รับการนับถือประมาณหนึ่ง (ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงและความสามารถส่วนตัว) 


- ได้การเรียกชื่อว่า "อาจารย์" ซึ่งสำหรับผม เป็นคำยกย่องที่สูงและน่าภูมิใจมากที่สุดคำหนึ่ง (สำหรับผมมันมากที่สุดแล้ว)


- ได้โอกาสในการไปรับจ๊อบโน่นนี่นั่นที่เขาเชิญไป เป็นที่ปรึกษาบ้าง กรรมการบ้าง ให้สัมภาษณ์สื่อบ้าง โดยอาศัยชื่อเสียงและโควต้าการเป็น "นักวิชาการ" (ทั้งที่จริงๆอาจจะไม่ได้เก่งอะไรมากหรอก 55)   


ใต้ภูเขาน้ำแข็ง (สิ่งที่คนที่ไม่ใช่อาจารย์อาจจะไม่รู้)


- เป็นอาชีพที่ค่อนข้างมั่นคง แม้ว่าปัจจุบันจะมีการต่อสัญญา แต่ถ้าคุณไม่ทำตัวเหลวไหลจริงๆ มันค่อนข้างยากที่จะโดนไล่ออก ไม่ต้องกังวลอนาคตเท่าไหร่ (ม.เอกชน อาจจะมีโอกาสถูกบีบบ้าง แต่ก็ไม่น่าเท่าบริษัทเอกชน) และโอกาสที่ ม.รัฐจะยุบนั้นไม่มี ม.เอกชนก็ยาก


- ข้อนี้ก็สำคัญ คืออาชีพอาจารย์ น่าจะเป็นอาชีพประจำที่เวลาเข้างานยืดหยุ่นที่สุดแล้วมั้ง แทบจะเหมือน freelance เลย โดยเฉพาะ อ.ม.รัฐ เข้าเฉพาะจำเป็นต้องเข้าก็ได้ ไม่ต้องตอกบัตร เซ็นชื่อ รับผิดชอบตัวเองเรื่องการสอน การประชุม (อ.โดดสอนก็ได้ยินบ่อย ในระดับ ป.ตรี) ดังนั้นสามารถลาไปเที่ยวแบบยาวๆได้สะดวกกว่าทำงาน บ.เอกชนมาก  


- พอเวลาเข้างานยืดหยุ่น แถมคนเชิญไปทำโน่นนี่ ก็เลยมีโอกาสหารายได้เพิ่มเติม ทั้งจากการวิจัย ประชุม เป็นกรรมการโน่นนี่ ชดเชยกับรายได้ที่น้อยกว่าเอกชน จนรวมๆแล้วก็ไม่น่าจะน้อยเหมือนกันถ้าขยัน และยังมีค่าตอบแทนของต้นสังกัดในการเขียนบทความ ทำตำแหน่งวิชาการ รีวิวบทความ และงานพิเศษอื่นๆอีก


- ได้รับสิทธิในการพูดให้คนอื่นฟัง ให้เป็นคนเดียวในห้องที่ถือไมค์ ไม่ว่าจะพูดอะไร คนในห้องก็ต้องฟัง เรื่องนี้ดูเหมือนติงต๊อง แต่ถ้าใครเคยมีโอกาสสอนหนังสือ จะรู้ว่า บางทีมันก็เป็นเรื่องที่สร้างความมั่นใจ และฝึกทักษะการพูดของตัวเองด้วย 


- เป็นหนึ่งในไม่กี่อาชีพมั้ง ที่มีโอกาสให้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา (จนพัฒนากันไม่ไหวเลย) โดยไม่ได้หวังต้องทำกลับมาทำกำไรให้องค์กร (อาจยกเว้น ม.เอกชนบางที่) ทั้งการสอน การทำวิจัย การไปอบรม คือไอเดียว่า ถ้าอาจารย์เก่งขึ้น ก็น่าจะสอนนศ.ได้ดีขึ้นไปด้วย ทำให้เราได้กระตุ้นเซลสมองตลอดเวลา ถึงจะเหนื่อยที่ต้องไล่ตามความรู้ใหม่ๆ แต่ก็เป็นการบังคับให้เรา "ต้องฉลาดขึ้น" ตลอดเวลา ซึ่งผมว่ามันก็คงเป็นเรื่องดีใช่ไหม 


- งานอาจารย์นั้นจะว่าไปแล้วไม่น่าเบื่อ ไม่ซ้ำซากจำเจ โอเค บางคนอาจจะสอนหลายกลุ่ม พูดเรื่องเดิมๆ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับตัวเอง ในการออกแบบการสอน หรือทำกิจกรรมต่างๆให้ไม่เหมือนเดิม รวมทั้งงานอื่นๆก็มีหลายแบบ ทั้งทางวิชาการ การสอน การพรีเซนต์งานวิจัย (การทำวิจัยก็ได้ไปลงพื้นที่ก็คลายเครียดได้ดี) การดูแล นศ. กิจกรรมต่างๆที่ดูเหมือนเป็นภาระนั่นแหละ แต่ก็ทำให้มีความหลากหลายเหมือนกัน คือเป็นการราชการที่ไม่ routine


- จากประสบการณ์ของผม อาชีพอาจารย์ เป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยจะ toxic มากนะ ไม่ค่อยเสี่ยงที่จะโดนด่าเหมือนโดนจากลูกค้า หรือผู้จ้างโรคจิต เพื่อนร่วมงานส่วนมากก็มีการศึกษา (แม้ไม่ใช่จะดีไปหมด แต่ก็ยังมีขอบเขตในการแสดงออกบ้าง) และงานก็เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เพื่อการพยายามหากำไรสูงสุด มองแต่ยอดขายหรือราคาหุ้น ความกดดันและความเครียดก็น่าจะถือว่าน้อยกว่ามาตรฐานอาชีพเอกชนทั่วไป


- แล้วก็เป็นหนึ่งในไม่กี่อาชีพ ที่ทำให้มีโอกาสไปต่างประเทศได้บ่อยๆ แม้จะไม่ได้ร่ำรวยอะไร อย่างน้อยก็ปีละครั้งถ้าขยันทำวิจัย เพราะสามารถเบิกได้ในการไปนำเสนอผลงานวิจัย และก็อาจจะรวมถึงการไปดูงานอื่นๆอีกด้วย 


- และข้อที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุด ก็คือ การเป็นอาจารย์ ทำให้มีลูกศิษย์ มีความผูกพัน เหมือนเลี้ยงลูก เรารู้สึกเหมือนค่อยๆปั้นคนขึ้นมา และเห็นพวกเขาประสบความสำเร็จ ได้ดิบได้ดี มันทำให้ใจฟูนะ เออ CEO คนนั้นเคยเป็นลูกศิษย์เรา หรือไม่ต้องประสบความสำเร็จ แต่ถ้าทำช่วยส่งถึงฝั่ง เรียนจบได้ หรือเรามีส่วนช่วยแก้ปัญหาชีวิตของคนๆหนึ่งได้ มันเป็นความรู้สึกที่ดีนะ และตราบใดที่เป็นอาจารย์ ก็จะมีโอกาสแบบนี้ทุกวัน ในทุกข้อความที่สื่อสารกัน และการรู้ว่ามีคนมองเราด้วยความชื่นชม หรือสิ่งที่เราทำไปมันมีประโยชน์ มันทำให้ชีวิตแต่ละวันมีความหมาย ซึ่งสิ่งนี้เอาเงินซื้อไม่ได้ (แม้ปัจจุบัน นศ. จะคาดหวังมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเคารพเราทุกคน แต่ส่วนใหญ่เมื่อแลกกันแล้วก็ยังคุ้มค่าอยู่ดี) และนศ. หลายๆคนที่จบออกไป ก็ยังจำเราได้ คิดถึงเรา และกลายเป็นเพื่อน ยังทักทายมาในโอกาสต่างๆ นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายๆคน ยังรักการเป็นอาจารย์ แม้ว่าจะต้องทำสิ่งต่างๆในรูป ที่มากกว่าการสอน แต่ทั้งหมดก็ช่วยประกอบให้เราเป็น "อาจารย์" ได้อย่างเต็มตัว ที่ไม่ใช่มีหน้าที่สอนอย่างเดียว 

Apr 20, 2024

Dance Vol.1 Music (GMM GRAMMY)


อัลบั้ม : Dance Vol.1 Music
ปี : พ.ศ. 2533 (1990)
ค่ายเพลง : บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
[GMM GRAMMY]
Executive Producer : เรวัต พุทธินันทน์
Mix Down : เรวัต พุทธินันทน์

Apr 19, 2024

"ในหลวง ร.10 " พระราชทานรางวัลการแข่งขันกีฬาเรือใบข้ามอ่าว "พระราชินี" ทรงนำทีมวายุชนะเลิศ


20 เม.ย. 2567 




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปทอดพระเนตรการแข่งขันกีฬาเรือใบ ในมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โอกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงร่วมการแข่งขันกีฬาเรือใบข้ามอ่าวโดยไม่มีสิ่งกีดขวางจากหาดชะอำ จ.เพชรบุรี ไปยังอ่าวเตยงาม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ระยะทาง 45 ไมล์ทะเลและทรง นำทีมชนะเลิศการแข่งขัน โดยใช้เวลาแล่นเรือใบข้ามอ่าว 4 ชั่วโมงครึ่ง


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปทอด พระเนตรการแข่งขันกีฬาเรือใบ ในมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โอกาสนี้ สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงร่วมการแข่งขันกีฬา เรือใบข้ามอ่าวในเส้นทางหาดชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ไปยังอ่าวเตยงาม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ระยะทาง 45 ไมล์ทะเล


ทั้งนี้  เมื่อเวลา 06.25 น. วันที่ 19 เม.ย. พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินี ประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เสด็จจากลานพระราชวังดุสิต ไปยังค่ายนเรศวร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ถึงเวลา 07.15 น. จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประทับรถยนต์ พระที่นั่งไปยังโรงแรมเดอะรีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท อ.ชะอำ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเปลี่ยน ฉลองพระองค์เป็นชุดนักกีฬาเรือใบ แล้วเสด็จฯไปยังอาคารคาซ่า มาเร่ ภายในโรงแรม ทรงรับฟังการถวายรายงานข้อมูลการแข่งเรือใบ ที่ต้องแล่นตัดกลาง อ่าวโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง


เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯไปยังชายหาดรีเจ้นท์ ชะอำ และทรงแวะทักทายประชาชนกับนักท่องเที่ยวที่มารอเฝ้าฯรับเสด็จบริเวณทางลงชายหาดของโรงแรม ก่อนประทับเรือออกจากชายหาดไปส่ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ลงเรือใบประเภท TP52 รุ่น IRC Zero ที่ทรงลงแข่งขันในทีมวายุ เลขที่เรือ THA72 โดยทรงทำหน้าที่หลัก คือ บังคับหางเสือเรือให้แล่นไปตามทิศทางที่ต้องการและจะสลับไปทรงชักใบเรือ ปรับใบเรือ เป็นต้น


จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ประทับเฮลิคอปเตอร์ไปยังค่ายนเรศวร ประทับเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้เสด็จมาทรงประกอบพิธีเจิมเรือเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2562 พระราชทานชื่อเรือว่า “เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช H.T.M.S. BHUMIBOL ADULYADEJ” ตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทอดพระเนตรสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงแข่งขันเรือใบข้ามอ่าว


กระทั่งเวลา 15.31 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวประทับเฮลิคอปเตอร์จากลานจอดเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ไปยังสนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ มีพลเรือตรี อภิชาติ ทรัพย์ประเสริฐ รอง ผบ.หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นายธวัชชัย ศรีทอง ผวจ.ชลบุรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าฯรับเสด็จ ขณะที่ในเวลา 15.18 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเสร็จสิ้น การทรงร่วมแข่งขันกีฬาเรือใบข้ามอ่าว โดยใช้เวลารวม 4.33 ชม. จากหาดชะอำมายังอ่าวเตยงาม โดยเรือใบทีมวายุเริ่มสตาร์ตในเวลา 10.45 น. และเป็นทีมชนะเลิศในการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าว


จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯไปยังอนุสรณ์ สถานราชนาวิกโยธิน พระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ฉาย พระบรมฉายาลักษณ์ ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และนักกีฬาเรือใบ THA72 เสร็จแล้ว ทรงลงพระปรมาภิไธยและทรงลงพระนามาภิไธยในสมุดที่ระลึก


สำหรับทีมแข่งขันเรือใบข้ามอ่าว มีทั้งหมด 8 ทีม จากประเทศต่างๆ อาทิ ออสเตรเลีย อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย ไทย และไต้หวัน รวม 115 คน ทั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงได้รับใบอนุญาตขับเรือ Motor boat license และ Sail boat license จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ RYA Coastal Skipper จากประเทศอิตาลี


เวลา 19.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ ห้องพิธี อาคารอเนกประสงค์ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้พลเรือเอกอะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานกรรมการจัดการแข่งขันฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตรและเหรียญที่ระลึกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลเรือเอกสมประสงค์ นิลสมัย นายกสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยฯ เฝ้าทูลละอองธุลี พระบาททูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตรและเหรียญที่ระลึกแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี


ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานกรรมการจัดการแข่งขันฯ กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานฯ และกราบบังคมทูลเบิกนายกสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานรางวัลนิรันดร หางเสือเรือพระที่นั่ง “เวคา” ของพระบาท สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร แล้วเชิญรางวัลนิรันดร หางเสือเรือพระที่นั่ง “เวคา”ฯ ไปประดิษฐานบนแท่นพิธี เสร็จแล้วกราบบังคมทูลรายงานผลการแข่งขันและเบิกผู้ชนะเลิศการแข่งขันฯ เข้ารับพระราชทานรางวัล


ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงเป็นผู้แทนทีมวายุ ที่เป็นทีมชนะเลิศการแข่งขันกีฬาเรือใบข้ามอ่าว เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานรางวัลนิรันดร หางเสือเรือพระที่นั่ง “เวคา” ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเข้าเส้นชัยที่อ่าวเตยงาม เป็นลำดับที่ 1 ด้วยเวลา 4.33 ชม. จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานรางวัลผู้ชนะเลิศ การแข่งขันเรือใบทางไกล ประเภท Over all ระยะทาง 15 ไมล์ แก่นายกัณฑ์ คชาชื่นและผู้ชนะเลิศการแข่งขันเรือใบทางไกล ประเภท Optimist ระยะทาง 7 ไมล์ แก่เด็กชายคริษฐ์ พราหมณี และพระราชทานเหรียญที่ระลึกแก่นักกีฬาเรือใบข้ามอ่าว


จากนั้นเสด็จฯไปทอดพระเนตรนิทรรศการสืบสาน รักษาและต่อยอด เพื่อพัฒนากีฬาเรือใบของประเทศไทย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลย เดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการทรงเรือใบและพระอัจฉริยภาพในการทรงต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการสืบสาน รักษาและต่อยอดกีฬาเรือใบ อันจะเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนไทยหันมาสนใจกีฬาเรือใบให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น สมควรแก่เวลา ทั้งสองพระองค์ประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯไปยังสนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เสด็จฯกลับกรุงเทพมหานคร


สำหรับการแข่งขันกีฬาเรือใบ ในมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว จัดขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยกองทัพเรือร่วมกับสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินการจัดมหกรรมการแข่งขันเรือใบเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 19 เมษายน 2567 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสืบสาน ทรงสนับสนุนและทรงส่งเสริมกีฬาเรือใบของชาติ เพื่อพัฒนาทักษะนักกีฬาเรือใบของประเทศไทย ให้สามารถเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติได้


อีกทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีทรงให้ความสำคัญและทรงสนพระราชหฤทัยที่จะทรงสืบสานกีฬาเรือใบ ด้วยการทรงร่วมการแข่งขันกีฬาเรือใบข้ามอ่าวครั้งนี้ ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถในด้านกีฬาเรือใบ กับน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเฉลิมพระเกียรติในพระปรีชาสามารถด้านงานช่างของพระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศรฯ ที่ทรงต่อเรือประเภท OK ด้วยพระองค์เอง ทรงใช้ชื่อ “เวคา” และทรงใช้เป็นพระราชพาหนะเสด็จฯข้ามอ่าวไทยเมื่อวันที่ 19 เม.ย.2509 จากวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มาขึ้นฝั่งที่หาดเตยงาม หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ระยะทางประมาณ 60 ไมล์ทะเล ทรงใช้เวลาถึง 17 ชั่วโมง และทรงนำธงราชนาวิกโยธินข้ามอ่าวไทยมาด้วย และทรงปักธงเหนือยอดก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดอ่าวนาวิกโยธิน นำมาซึ่งความปลื้มปีติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2510 ทรงเป็นนักกีฬาเรือใบตัวแทนประเทศไทย ชนะเลิศการแข่งขันเรือใบประเภท OK ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 แสดงถึงพระปรีชาสามารถในการทรงเรือใบให้เป็นที่ประจักษ์ และทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญรางวัลในโอกาสดังกล่าว ต่อมาได้พระราชทานหางเสือเรือพระที่นั่งเวคา เพื่อเป็นรางวัลนิรันดรแก่ผู้ชนะเลิศในการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวไทยประจำปีของสมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนถึงปัจจุบัน

Apr 16, 2024

พี่เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ กับ ผู้คนมากมาย



พี่เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ เป็นพรีเซนเตอร์ ซุปไก่สกัด "แบรนด์"
แสดงร่วมกับ วรานันท์ ยูสานนท์
Cr. Lak Supalak


คำถามจาก 'เต๋อ เรวัต' ทำไมร่วมทุกข์กันได้ แต่สุขร่วมกันไม่เป็น ? 
| HIGHLIGHT EP.113 | ป๋าเต็ดทอล์ก


สายเรียกเข้าจาก ‘เต๋อ เรวัต’ | HIGHLIGHT ‘OHM CHATREE’ | ป๋าเต็ดทอล์ก


พี่เต๋อ เรวัต มา Mix ให้ #พี่ปอนด์ธนา


เต๋อ เรวัต อัจฉริยะแห่งวงการเพลงไทย | Songman


'เต๋อ เรวัต' ไอดอลของ 'ติ๊ก กลิ่นสี' กับความทรงจำใน 'รั้วมหาวิทยาลัย'
รายการนักผจญเพลง REPLAY 







16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา

วลัญช์ สุภากร

16 เม.ย. 2024




ที่มา วันสังขานต์ล่อง วันเนา วันพญาวัน สามวันสำคัญของ
“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” (ประเพณีปีใหม่เมือง) ในวัฒนธรรมชาวเหนือ
หรือวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งหมายถึง “เทศกาลสงกรานต์”
ของภาคกลาง ชาวเหนือหรือชาวล้านนาดั้งเดิม
เรียก "เทศกาลสงกรานต์"
ว่า ประเพณีปีใหม่เมือง
หรือที่ออกเสียงตามสำเนียงพื้นถิ่นว่า
“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” ประกอบด้วยวันสำคัญ 3 วัน คือ

วันสังขานต์ล่อง
คือ วันแรก ของประเพณีสงกรานต์ หรือ
“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง”
คำว่า สังขานต์ คือคำเดียวกับ “สงกรานต์”
ในภาษาสันสกฤต
แปลว่า “ก้าวล่วงแล้ว”
วันสังขานต์ล่องในภาษาล้านนาตรงกับภาคกลางคือ
“วันมหาสงกรานต์” ถือเป็นวันสิ้นสุดปีเก่า
วันสังขานต์ล่อง คนล้านนาจะตื่นแต่เช้าตรู่
จุดประทัดทำเสียงดังเพื่อขับไล่เสนียด จัญไร
ให้ไหลล่องไปกับ “ปู่-ย่าสังขานต์”
ซึ่งจะแบกรับสิ่งไม่ดีไม่งามในชีวิตไปทิ้งที่มหาสมุทร
การไล่สังขานต์ด้วยเสียงดังแต่เช้าจะ
ทำให้ทุกคนตื่นขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนซัก
ที่นอนหมอนมุ้ง
อาบน้ำชำระร่างกายให้ผ่องใส

วันเนา หรือ”วันเน่า”วันสังขานต์ล่อง
16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง
วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนาอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกจากพระวิหารลายคำ
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่
เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำในประเพณีปีใหม่เมืองแบบล้านนา
เมื่อ 13 เม.ย.2567 (credit photo: TAT Contact
Center เพื่อนร่วมทาง)
คือ วันแรก ของประเพณีสงกรานต์ หรือ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง”
คำว่า สังขานต์ คือคำเดียวกับ “สงกรานต์” ในภาษาสันสกฤต
แปลว่า “ก้าวล่วงแล้ว”
วันสังขานต์ล่องในภาษาล้านนาตรงกับภาคกลางคือ
“วันมหาสงกรานต์” ถือเป็นวันสิ้นสุดปีเก่า
วันสังขานต์ล่อง คนล้านนาจะตื่นแต่เช้าตรู่
จุดประทัดทำเสียงดังเพื่อขับไล่เสนียด จัญไร ให้ไหลล่องไปกับ
“ปู่-ย่าสังขานต์” ซึ่งจะแบกรับสิ่งไม่ดีไม่งามในชีวิตไปทิ้ง
ที่มหาสมุทร การไล่สังขานต์ด้วยเสียงดังแต่เช้าจะทำให้
ทุกคนตื่นขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดบ้านเรือน
ซักที่นอนหมอนมุ้ง อาบน้ำชำระร่างกายให้ผ่องใส

วันเนา หรือ”วันเน่า”
คือ วันที่สอง ของประเพณีสงกรานต์ หรือ
“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” วันเนายังไม่ถือว่าเป็นวันปีใหม่
เนื่องจากเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยังอยู่ระหว่างราศีมีน
กับราศีเมษโหราศาสตร์ถือเป็นวันไม่ส่งเสริมมงคล
เชื่อว่าหากใครก่อการทะเลาะวิวาทด่าทอ
จะเป็นอัปมงคลไปตลอดทั้งปี
ใน “วันเนา” ชาวล้านนาจะเตรียม สวยดอก(กรวยดอกไม้)
ตุง ข้าวตอก หมากเหมียง เพื่อใช้ในการทำบุญ ตลอดทั้งวัน
เด็กๆ คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าคนแก่ พากันไปขนทราย
ที่แม่น้ำเข้าวัด เพื่อก่อเป็นเจดีย์ทรายเล็กๆ เท่าจำนวนอายุ
หรือเท่าจำนวนสมาชิกในครอบครัว แล้วประดับด้วยตุง
สวยดอกให้สวยงามเป็นพุทธบูชา

วันพญาวัน
คือ วันที่สาม ของ "ประเพณีปีใหม่เมือง" ถือเป็น วันเถลิงศก
เปลี่ยนศักราช เริ่มต้นปีใหม่ กิจกรรมในวันนี้มีการทำบุญ
ทางศาสนาตั้งแต่สรงน้ำพระพุทธรูป-เจดีย์
อุทิศส่วนบุญกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ หรือที่เรียกกันว่า
“ทานขันข้าว” ช่วงบ่ายไปรดน้ำดำหัวเพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่
พ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้มีบุญคุณ ผู้ซึ่งให้ความเคารพนับถือ
เนื่องจากปีที่ผ่านมาอาจทำให้ท่านโกรธเคือง
หรือได้ล่วงล้ำด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งที่พลาดพลั้งทำไปและมิได้
ตั้งใจ ข้าวของที่นิยมนำไปรดน้ำดำหัว ได้แก่ สวยดอก ธูปเมือง
ผ้านุ่ง (เสื้อ ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดตัว)
ขนม-อาหาร-ผลไม้มงคล
ในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ มีกิจกรรมแห่ ไม้ค้ำศรี
ออกเสียงอย่างล้านนาว่า “ไม้-ก๊ำ-สะ-หลี” ศรี
หมายถึง ต้นโพธิ์ ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับอาศัยร่มเงา
ในคืนที่ทรงพิจารณาสภาวธรรม
และก่อนการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม้ค้ำศรี มีลักษณะเป็นไม้ง่าม อาจทำจากไม้ประดู่ ไม้ฉำฉา
หรือไม้เนื้อแข็ง แกะสลักหรือประดับประดาให้สวยงาม
เนื่องจากบางวัดมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามากมาย
เป็นโอกาสที่จะได้ใช้ "ไม้ค้ำศรี" ยึดค้ำกิ่งก้านสาขา
ไม่ให้โน้มลงมาจนกิ่งหักได้ จึงเรียกอีกอย่างได้ว่า “ไม้ค้ำโพธิ์”
การทำ "ไม้ค้ำศรี" มีความหมายเป็นนัยว่า
เพื่อสืบต่ออายุพระศาสนา และค้ำชูอุดหนุนให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
พญาวัน ยังเป็นวันที่นิยมเริ่มต้นเรียนศาสตร์ศิลป์ต่างๆ
อาทิ มนต์คาถา สักยันต์ ทำพิธีสืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ ไหว้ครู




Apr 15, 2024

อิทธิ พลางกูร ให้มันแล้วไป อัลบั้มร็อคชุดแรกของ RS



guitarthai


อิทธิ พลางกูร มือกีตาร์จากวง "เดอะ เบลสส์" ผู้มีความชื่นชอบในสไตล์กีตาร์ Eric Clapton และวง Cream
วันนึงที่ช่วงที่กำลังทำหน้าที่ ร้องไกด์ให้กับศิลปินในสังกัด Rose Sound ของ ‘เฮียฮ้อ’ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์
ในเวลานั้นที่มีศิลปินอย่าง เรนโบว์ , บรั่นดี , ฟรุตตี้ และ คีรีบูน ซึ่งเป็นวงดนตรีสายป๊อปเท่านั้น
หลังจากนั้น เฮียฮ้อ จึงชักชวนมาทำอัลบั้มเดี่ยวในนามอิทธิ พลางกูล โดยเฮียให้ทำงานแบบเต็มรูปแบบ จนออกมาเป็นอัลบั้ม
ให้มันแล้วไป ในปี พ.ศ. 2531
ที่ผสมผสานกลิ่นอายความเป็นร็อค และ ส่วนผสมสำคัญอย่าง บัลลาดร็อค ที่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ของวงการเพลงไทย
และเป็นงานเพลงสไตล์ร็อคอัลบั้มเเรกของค่าย RS
อัลบั้มชุดนี้กลายเป็นอัลบั้มยอดฮิตที่มียอดขายสูงสุดของช่วงนั้น ถึง 700,000 ตลับ และมีเพลงฮิตมากมายอย่าง ให้มันแล้วไป ,
จบลงแล้ว , ยังจำไว้ , เก็บตะวัน, เจ็บคราวนี้ , หากคิดจะรัก..ก็รัก
และอัลบั้มชุดนี้ยังเป็นการรวมทีมสุดยอดนักดนตรีเมืองไทย ที่ได้ เต้ง ธนิต เชิญพิพัฒธนสกุล , หมู-ศิริศักดิ์ ศิริโชตินันท์
(คาไลโดสโคป) ,อุกฤษฏ์ พลางกูร และ
ตี่-กริช ทอมมัส (บาราคูดัส)
มาทำงานอัลบั้มชุดนี้ และยังได้ เสือ ธนพล มาเเต่งเพลงฮิตอย่าง
เก็บตะวัน ซึ่งเป็นการเเต่งเพลงเเรกในชีวิตของเสือ อีกด้วย