Custom Search

Apr 13, 2024

สืบสานประเพณีสงกรานต์ 2567 เทศกาลปีใหม่ไทย

ที่มา : https://www.senate.go.th

วันสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่เก่าแก่ งดงาม และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจนโดยใช้ "น้ำ" เป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี 

คำว่า "สงกรานต์" หรือ “สํ-กรานต” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ก้าวขึ้น ผ่าน หรือการเคลื่อนที่ ย้ายที่ หมายถึง เวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากตีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งทุก ๆ เดือน เรียกว่า สงกรานต์เดือน ยกเว้นเมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ เมื่อใดก็ตามจะเป็นสงกรานต์ และเรียกชื่อพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามคติพราหมณ์ โดนเป็นการนับทางสุริยคติ (วิธีนับวันและเดือนโดยถือกำหนดตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก) ดังนั้น การกำหนดวันนับสงกรานต์จึงตกอยู่ในระหว่างวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน ซึ่งทั้ง 3 วันจะมีชื่อเรียกเฉพาะดังนี้

          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า มหาสงกรานต์ หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ผ่านการเข้าสู่ราศีอื่น ๆ แล้วจนครบ 12 เดือน

          วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าอยู่ราศีเมษประจำที่เรียบร้อยแล้ว

          วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า เถลิงศก หรือวันขึ้นศก คือวันที่เริ่มจุดเปลี่ยนศักราชใหม่ การที่กำหนดให้อยู่ในวันนี้นั้นเพื่อให้แน่ใจได้ว่าดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นอยู่ราศีเมษแน่นอนแล้ว อย่างน้อย 1 องศา

          สำหรับในวันสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ประจำปี 2567 ตรงกับวันเสาร์ ที่ 13 เมษายน เวลา 22 นาฬิกา 17 นาที 24 วินาที จันทรคติ ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือนห้า ปีมะโรง นางสงกรานต์ นามว่า "นางมโหธรเทวี" ทัดดอกสามหาว ทรงพาหุรัด อาภรณ์ด้วยแก้วนิลรัตน์ ภักษาหารคือเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา

คำว่า "สงกรานต์" หรือ “สํ-กรานต” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ก้าวขึ้น ผ่าน หรือการเคลื่อนที่ ย้ายที่ หมายถึง เวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากตีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งทุก ๆ เดือน เรียกว่า สงกรานต์เดือน ยกเว้นเมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ เมื่อใดก็ตามจะเป็นสงกรานต์ และเรียกชื่อพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามคติพราหมณ์ โดนเป็นการนับทางสุริยคติ (วิธีนับวันและเดือนโดยถือกำหนดตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก) ดังนั้น การกำหนดวันนับสงกรานต์จึงตกอยู่ในระหว่างวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน ซึ่งทั้ง 3 วันจะมีชื่อเรียกเฉพาะดังนี้

          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า มหาสงกรานต์ หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ผ่านการเข้าสู่ราศีอื่น ๆ แล้วจนครบ 12 เดือน

          วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าอยู่ราศีเมษประจำที่เรียบร้อยแล้ว

          วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า เถลิงศก หรือวันขึ้นศก คือวันที่เริ่มจุดเปลี่ยนศักราชใหม่ การที่กำหนดให้อยู่ในวันนี้นั้นเพื่อให้แน่ใจได้ว่าดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นอยู่ราศีเมษแน่นอนแล้ว อย่างน้อย 1 องศา

          สำหรับในวันสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ประจำปี 2567 ตรงกับวันเสาร์ ที่ 13 เมษายน เวลา 22 นาฬิกา 17 นาที 24 วินาที จันทรคติ ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือนห้า ปีมะโรง นางสงกรานต์ นามว่า "นางมโหธรเทวี" ทัดดอกสามหาว ทรงพาหุรัด อาภรณ์ด้วยแก้วนิลรัตน์ ภักษาหารคือเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา

คำว่า "สงกรานต์" หรือ “สํ-กรานต” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ก้าวขึ้น ผ่าน หรือการเคลื่อนที่ ย้ายที่ หมายถึง เวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากตีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งทุก ๆ เดือน เรียกว่า สงกรานต์เดือน ยกเว้นเมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ เมื่อใดก็ตามจะเป็นสงกรานต์ และเรียกชื่อพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามคติพราหมณ์ โดนเป็นการนับทางสุริยคติ (วิธีนับวันและเดือนโดยถือกำหนดตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก) ดังนั้น การกำหนดวันนับสงกรานต์จึงตกอยู่ในระหว่างวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน ซึ่งทั้ง 3 วันจะมีชื่อเรียกเฉพาะดังนี้

          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า มหาสงกรานต์ หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ผ่านการเข้าสู่ราศีอื่น ๆ แล้วจนครบ 12 เดือน

          วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าอยู่ราศีเมษประจำที่เรียบร้อยแล้ว

          วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า เถลิงศก หรือวันขึ้นศก คือวันที่เริ่มจุดเปลี่ยนศักราชใหม่ การที่กำหนดให้อยู่ในวันนี้นั้นเพื่อให้แน่ใจได้ว่าดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นอยู่ราศีเมษแน่นอนแล้ว อย่างน้อย 1 องศา

          สำหรับในวันสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ประจำปี 2567 ตรงกับวันเสาร์ ที่ 13 เมษายน เวลา 22 นาฬิกา 17 นาที 24 วินาที จันทรคติ ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือนห้า ปีมะโรง นางสงกรานต์ นามว่า "นางมโหธรเทวี" ทัดดอกสามหาว ทรงพาหุรัด อาภรณ์ด้วยแก้วนิลรัตน์ ภักษาหารคือเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา
นอกจากวันสงกรานต์แล้ว รัฐบาลยังกำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อให้ลูกหลานได้เล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นบุพการี ผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่ในชุมชนที่เคยทำคุณประโยชน์แก่สังคมนั้น ๆ มาแล้วและวันครอบครัว ส่วนวันที่ 14 เมษายน กำหนดให้เป็นวัน "วันครอบครัว" เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว ซึ่งผู้ที่ไปทำงานต่างท้องที่ก็จะได้มีโอกาสกลับไปยังถิ่นฐานตน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ และบรรพชนผู้ล่วงลับ 
ทั้งนี้ แนวทางที่พึงปฏิบัติในประเพณีสงกรานต์ เพื่อสืบสานเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย คือ 
          1) การบำเพ็ญกุศล ด้วยการตักบาตร หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัด รักษาศีล และสรงน้ำพระพุทธรูป ถือว่าเป็นการรักษากายใจ ให้สะอาดผ่องแผ้ว เพื่อเป็นสิริมงคล ทั้งยังเป็นการสืบทอดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา 
          2) การทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้แก่บรรพบุรุษ เพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว 
          3) การรดน้ำ เพื่อแสดงความเคารพและความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณ เช่น ลูกกับพ่อ-แม่-ปู่-ย่า-ตา-ยาย ผู้สูงอายุ พุทธศาสนิกชนต่อพระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น
          4) การเล่นรดน้ำและสาดน้ำ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างญาติ พี่น้องและมิตรสหาย ด้วยการเล่นอย่างสุภาพพร้อมกับกล่าวคำอวยพรให้มีความสุข คำนึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น ไม่เล่นสาดน้ำรุนแรง หรือเล่นเกินขอบเขต ไม่ดื่มสุรา ตลอดจนแต่งกายให้เหมาะสม 



อ้างอิง 
อมรินทร์ เทเลวิชั่น. นางสงกรานต์ 2567.  สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 https://www.amarintv.com/article/detail/61139
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, ประเพณีสงกรานต์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 จาก http://book.culture.go.th/songkran64/mobile/index.html#p=9
เรียบเรียงโดย : นางสาวศุภลักษณ์ ปรางนาคี วิทยากรชำนาญการ กลุ่มงานผลิตเอกสารเผยแพร่ สำนักประชาสัมพันธ์
นำเข้าข้อมูลสู่ระบบ : นางสาวสรินยา กุลสิวลี เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานผลิตเอกสารเผยแพร่ สำนักประชาสัมพันธ์