Custom Search

Jan 31, 2020

คุยการเมืองกับ "เสรีพิศุทธ์" ปม "ปารีณา" เปิดใจเรื่องจัดซื้อมอเตอร์ไซค์ไทเกอร์ l Workpoint Today (Jan 25, 2020)





ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV)


ภาควิชาจุลชีววิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1410


            การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) ที่ ก่อโรคปอดอักเสบ (pneumonia)  ในเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑลหูเป่ย (Hubei) ประเทศจีน เริ่มจากช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 จนถึงปัจจุบัน
            ในช่วงแรกคาดว่า เป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน เมื่อมีข่าวการระบาดนี้ ทั่วโลกก็เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะมีประสบการณ์มาจากโรคทางเดินหายใจร้ายแรงที่เกิดจากไวรัสโคโรน่า ได้แก่ โรคซาร์ (severe acute respiratory syndrome, SARS) ที่ระบาดในช่วงปี ค.ศ. 2002-2003 ซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ SARS-CoV ที่เป็นไวรัสโคโรน่าข้ามสปีชีส์จากค้างคาวผ่าน civet cat (ชะมด) มาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดจากประเทศจีนและกระจายไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อกว่าแปดพันคน อัตราการตายร้อยละ 10 และเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ในผู้สูงอายุ 
            ต่อมาในปีค.ศ. 2012-2014 ก็มีการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ชื่อ Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) ที่เป็นไวรัสโคโรน่าข้ามสปีชีส์จากค้างคาวผ่านอูฐมาติดเชื้อในคน เริ่มจากผู้ป่วยในประเทศซาอุดิอาราเบีย มีผู้ติดเชื้อรวม 1,733 คน อัตราการตายร้อยละ 36
            ไวรัสโคโรน่า เป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ และมีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรทเป็นปุ่มๆ (spikes) ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ทำให้เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นเป็นเหมือนมงกุฎ (ภาษาลาติน corona แปลว่า crown หรือ มงกุฎ) ล้อมรอบ จึงเป็นที่มาของชื่อเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้ที่มีสมาชิกหลากหลาย ติดเชื้อก่อโรคได้ทั้งในคน และสัตว์หลายชนิด เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ม้า วัว แมว สุนัข ค้างคาว กระต่าย หนู อูฐ และสัตว์ป่าอื่นๆ) และสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู  ดังนั้น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ที่ก่อโรคในสัตว์ทั้งระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร อาจแพร่มาสู่คนและก่อโรคในคนได้ (zoonotic infection)
            ไวรัสโคโรน่าถูกแบ่งเป็น 4 ยีนัสคือ Alphacoronavirus, Betacoronavirus, Gammacoronavirus และ Deltacoronavirus โดยไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรคในคนที่ทำให้มีอาการของระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง และมักมีการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ จัดอยู่ในยีนัส Alphacoronavirus ส่วนไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรครุนแรงในคนและข้ามสปีชีส์มาจากสัตว์ เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV จัดอยู่ในยีนัส Betacoronavirus
            ไวรัสโคโรน่ามีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอจึงมีโอกาสกลายพันธุ์สูง และสามารถก่อการติดเชื้อข้ามสปีชีส์ได้มากขึ้นในสถานที่ที่นำสัตว์เหล่านี้มาอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ดังเช่น ในตลาดค้าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ SARS-CoV จาก civet cat สู่คน
            สถานการ์ณการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ 2019-nCoV จากประเทศจีน นับจากที่มีการรายงานครั้งแรกเมื่อ 31 ธันวาคม คศ. 2019 นั้น พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่รู้สาเหตุในเมืองอู่ฮั่นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้มีการรายงานเป็นทางการเมื่อ 3 มกราคม คศ. 2020 ว่าโรคปอดอักเสบที่ระบาดที่อู่ฮั่น มีสาเหตุจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) และพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้
            ประเทศจีนได้ทำการสืบสวนหาแหล่งแพร่เชื้อของการระบาดในครั้งนี้ที่เมืองอู่ฮั่น จากผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกที่เป็นคนงานและลูกค้าของตลาดขายส่งอาหารทะเลฮั่วนาน (Huanan Seafood Wholesale Market)  โดยที่ตลาดสดนี้ นอกจากขายอาหารทะเลแล้ว ยังขายเนื้อสัตว์ และสัตว์ที่ใช้ทำอาหารที่ยังมีชีวิต เช่น เป็ด ไก่ ลา แกะ หมู อูฐ สุนัขจิ้งจอก งู แบดเจอร์ หนูอ้น เฮดจ์ฮอก แต่ระยะแรกตรวจไม่พบเชื้อ 2019-nCoV ในตัวอย่างตรวจจากสิ่งแวดล้อมและอาหารทะเลที่ได้จากตลาดขายส่งอาหารทะเลฮั่วนาน อย่างไรก็ดี พบผู้ป่วยที่มีประวัติว่าไม่ได้เข้าไปที่ตลาดแห่งนี้เลย
            รายงานผลการตรวจหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอส่วนเปลือก (glycoprotein spikes) ของเชื้อ 2019-nCoV (MN908947) ที่ได้จากผู้ป่วย พบว่าไวรัสนี้อยู่ในยีนัส Betacoronavirus ซึ่งเป็นยีนัสเดียวกับ SARS-CoV และ MERS-CoV ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาจากคนและสัตว์ต่างๆ จำนวน 271 สายพันธุ์ พบว่าเชื้อ 2019-nCoV เป็นไวรัสที่เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสโคโรน่าของค้างคาวกับไวรัสโคโรน่าของงูเห่า (Chinese cobra, Naja Atraจึงทำให้ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้แพร่เชื้อข้ามสปีชีส์จากงูเห่ามายังคนได้ โดยเริ่มแรกจากคนงานและลูกค้าในตลาดเริ่มติดเชื้อก่อน และต่อมาเชื้อมีการกลายพันธุ์มากขึ้น จึงสามารถติดต่อจากคนสู่คน
            รายงานถึงวันที่ 24 มกราคม คศ. 2020 มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในประเทศจีนจำนวน 571 ราย เสียชีวิต 18 ราย โดย 17 รายอยู่ในเมืองอู่ฮั่น และอีก 1 ราย เสียชีวิตนอกเมืองอู่ฮั่นที่มณฑลเหอเป่ย์ (Hebei)  ส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตเป็นผู้สูงอายุ
            รายงานการพบผู้ติดเชื้อ 2019-nCoV นอกประเทศจีนจำนวน 10 ราย คือจากประเทศไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า และล่าสุดจากสหรัฐอเมริกา โดยทั้งหมดมีประวัติการเดินทางจากเมืองอู่ฮั่น และในประเทศจีนเองก็มีการรายงานผู้ติดเชื้อ 2019-nCoV ที่เมืองอื่นนอกจากอู่ฮั่นแล้ว เช่น กวางตุ้ง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น
            จากการประชุมขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่  23 มกราคม คศ. 2020 ได้แถลงว่า ตอนนี้จะยังไม่ประกาศ Global health emergencies โดยให้มีการป้องกันระมัดระวังอย่างพิเศษในพื้นที่การระบาดของประเทศจีน ซึ่งทางประเทศจีนได้ประกาศปิด (lockdown) เมืองอู่ฮั่น ควบคุมการเดินทางจากเมืองนี้ และได้ขยายมาปิดเมืองหวงกาง (Huanggang) ที่อยู่ติดกับอู่ฮั่นห่างออกมาทางตะวันออก 30 ไมล์ และจะไม่มีการฉลองเทศกาลตรุษจีนในที่สาธารณะของกรุงปักกิ่ง
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ประกอบด้วย
            1. การหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังเมืองอู่ฮั่น
            2. หากไปประเทศจีนมาในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางด้วย
            3. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด ในที่ชุมชนควรสวมหน้ากากอนามัย
            4. อยู่ห่างจากผู้มีอาการของทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม
            5. หมั่นล้างมือด้วยสบู่และให้น้ำไหลผ่านอย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ
            6. ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
            สามารถติดตามสถานการ์ณการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ได้ที่ website ขององค์การอนามัยโลก (https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019)
                                                                                                                                 ข้อมูล 24 ม.ค. 63
เอกสารประกอบการเรียบเรียง
  1. https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019 cited on 23 January 2020.
  2. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov cited on 23 January 2020.
  3. Ji W, Wang W, Zhao X, Zai J, Li X. Homologous recombination within the spike glycoprotein of the newly identified coronavirus may boost cross-species transmission from snake to human. J Med Virol 2020; https://doi.org/10.1002/jmv.25682.





พระวิปัสสนาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ เกจิดังล้านนา อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง"หลวงปู่ทอง"อายุ 96 ปี พรรษาที่ 76 มรณภาพ


(21 กันยายน พ.ศ. 2466 -13 ธันวาคม พ.ศ. 2562)


https://www.facebook.com/ajarntong/posts/663168140377536/





สาธิตการปฏิบัติวิปัสสนาสติปัฏฐาน 4
สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร
ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่



Jan 29, 2020

หาเรื่อง(คุย): EP.6 เด็กรุ่นใหม่มันไม่โง่นะเฟ้ย!!




#อย่าหาว่าน้าสอน ทางแยกใหม่ของวัย “หลักสี่”


HTTPS://WWW.FACEBOOK.COM/NANAKE555/



#อย่าหาว่าน้าสอน ไฝ้วข้ามรุ่น!!! 15 ปะทะ 51


ป๋าเต็ดทอล์ก EP.4: ฟักกลิ้ง ฮีโร่

  • http://teetwo.blogspot.com/2016/04/blog-post.html






  • คิด with Dr.Kovit: ทำความเข้าใจศาสนาอิสลาม



    คิด with Dr.Kovit: ทำความเข้าใจศาสนาอิสลาม ตอน 1


    คิด with Dr.Kovit: ศาสนาอิสลามกับวิถีชีวิต 24 ชั่วโมง

    This Too Shall Pass








    The People : ย้อนความหลังในวันที่ตกต่ำที่สุดของ เบเกอรี่ มิวสิค - สุกี้ กมล สุโกศล แคลปป์


    ต้นและหรั่ง Silly Fools กับวัยเด็กของพวกเขา | DELETED SCENES #03 ป๋าเต็ดทอล์ก SS.2






    รวมเพลงฮิต silly fools มันโดนใจ【LONGPLAY】


    รวมโคตรฮิต silly fools


    Jan 28, 2020

    Suthichai live : เปิดใจชีวิต “เกือบไม่รอด” ของ “ป๋าเต็ด” ยุทธนา บุญอ้อม! 02/06/2562




    Perspective : ป๋าเต็ด - ยุทธนา บุญอ้อม [13 ธ.ค. 58]




    DELETED SCENE เรื่องเดียวที่ "ต้น Silly Fools" ยอม "ป้อม อัสนี" ไม่ได้ !!!

      https://www.facebook.com/yuthana.boonorm/





    Jan 27, 2020

    #ป๋าเต็ดทอล์ก








    Ep1   โต (อดีต) ซิลลี่ฟูลส์


     EP.2 ปัจจุบันและอนาคตของ “โต”


    EP.3 “ต้น”และ“หรั่ง” กับเส้นทางที่ไม่ง่ายของวงดนตรีที่มีชื่อว่า “Silly Fools”



    EP.4 ความเป็นโอ๊ต ปราโมทย์ | SEASON 3 | OAT PRAMOTE

    EP.7 ป๊อบ ปองกูล .. กับชีวิต 16 ปีในวงการเพลง 

    POP PONGKOOL




    EP.26 โอม ค็อกเทล (ตอนแรก) | OHM COCKTAIL PART 1 | 




    EP.27 โอม ค็อกเทล (ตอนจบ) | OHM COCKTAIL PART 2 | 



    EP.29 เขียนไขและวานิช 


    EP.31 โป่ง หินเหล็กไฟ | PONG SMF | 



    EP.32 เสือ ธนพล


    EP.44 มาโนช พุฒตาล


    EP.45 มาโนช พุฒตาล


    EP.46 FOET SLOT MACHINE 




    EP.52 แพท พาวเวอร์แพท | PAT - POWER PAT | 


    EP.58 เฮียฮ้อ อาร์เอส | HEREHOR RS |


    EP.113 (PART 1) จุดเริ่มต้นของ ' ไมโคร ' |​ MICRO|​


    (PART 2) จาก ‘ ร็อก เล็ก เล็ก ‘ ถึง ‘ เต็มถัง ‘ |​ MICRO |


    (PART 3 - ตอนจบ) ' โชคดีนะเพื่อน ‘ |​ MICRO |​ 


    #อย่าหาว่าน้าสอน สิ่งที่เราตามหา...อาจอยู่รอบข้างเรานี่แหละ!!!


    https://th-th.facebook.com/nanake555/

    #อย่าหาว่าน้าสอน “สินสอด” เค้ามีวิธีคิดยังไง?!?!


    https://th-th.facebook.com/nanake555/

    คนค้นฅน : 5 นาทีมีพลัง น้าเน็ก - เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ช่วงที่ 4/4 (8 ก.ย.62)




    Jan 26, 2020

    Kobe Bryant (1978-2020)

    2018 Oscar winner animation short film

     | dear basketball

    best heart touching animation film






    Kobe Bryant No.8 & No.24 Jersey Retirement In Los Angeles





    Jan 24, 2020

    ชีวิต ความคิด ความฝัน กับบทบาทในวันนี้ของ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล

    ที่มา https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/DR-Krisanaphong%20Poothakool





    ย้อนกลับไปเมื่อไม่นานมานี้ คนในวงการตำรวจคงได้ทราบข่าวว่า รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล นายตำรวจนักวิชาการผู้ซึ่งสร้างผลงานให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติไว้มากมาย ได้ยื่นใบลาออกจากการทำหน้าที่อาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ แม้บทบาทในรั้วสีกากีจะยุติลง แต่อุดมการณ์และความตั้งใจที่จะสานต่อเกี่ยวกับการปฏิรูประบบงานตำรวจยังคงอยู่ รวมทั้งยังทำหน้าที่ในบทบาทนักวิชาการที่ให้ความรู้และแนวคิดทางด้านอาชญาวิทยากับการนำไปใช้แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และล่าสุดกับภารกิจในบทบาทใหม่ของ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิต โดยเข้ามาดูแลในส่วนงานสำนักงานตำรวจแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานพัฒนาวินัยนักศึกษา และคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม

    บทบาทและภารกิจใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต
    รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวว่า การก่อตั้งฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิต เกิดขึ้นด้วยแนวนโยบายของท่าน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งท่านเป็นคนมีวิสัยทัศน์ เน้นทำงานเชิงรุก สิ่งที่ท่านคิดมิเพียงแต่อยากจะสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในรั้วมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงความสงบสุขของคนในชุมชน โดยมองว่ามหาวิทยาลัยไม่ควรเป็นเพียงแค่สถาบันการศึกษาในการให้ความรู้เท่านั้น แต่ควรเป็นแหล่งขุมพลังปัญญาของคนในประเทศ และต้องร่วมกันในการสร้างสังคมธรรมาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังนั้นองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นประโยชน์แก่ชุมชน สังคม และประเทศ
        “มหาวิทยาลัยรังสิตมีความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ กระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ แต่จากนี้ไป ความร่วมมือในการดำเนินงานก็จะมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพราะอย่างที่ทราบคือ ปัญหาอาชญากรรมมีความหลากหลาย สลับซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด ซึ่งตรงนี้ทางจังหวัดก็ได้ให้ความสำคัญ จากที่เคยให้ความเห็นทางวิชาการไว้ก่อนหน้านี้เรื่องการปฏิรูปตำรวจในแง่มุมของการป้องกัน จัดการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมในแง่ของการมีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อช่วยกันสอดส่อง ดูแล ป้องกันอาชญากรรม รักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชนเมืองเอก ทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย การร่วมออกตรวจตรารักษาความปลอดภัยให้แก่ชุมชน หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในด้านต่างๆ นอกจากนี้ ประชาชนยังถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดในการประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ และถือเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ เพราะประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายหรือการปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้ก่อตั้งส่วนงานฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิตขึ้น”

    “ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต” แห่งแรกในประเทศไทย
    ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย ม.รังสิต กล่าวเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิตว่า โดยที่ท่านอธิการบดีเห็นความสำคัญของความสงบเรียบร้อยภายในชุมชนเมืองเอก และต้องการให้เป็นชุมชนต้นแบบในการสนับสนุน ช่วยเหลือ หน่วยงานภาครัฐ และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม จึงได้ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยซึ่งทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในรั้วมหาวิทยาลัยเข้ารับการฝึกฝน อบรม และพัฒนาองค์ความรู้ในการเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจ มีการวางแผนออกตรวจโดยสนธิกำลังร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองในการช่วยเหลือ ดูแล รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษา และผู้ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองเอก โดยตำรวจมหาวิทยาลัยคือผู้ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจตามกฎหมายซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการปัญหาอาชญากรรมของตำรวจทั่วโลก
         มหาวิทยาลัยรังสิต ถือเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบในด้านการจัดการความปลอดภัยที่เห็นว่าการจัดการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมจะประสบความสำเร็จได้นั้น ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชนเป็นสำคัญ ที่จะร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งนี้ จากผลการสำรวจสถิติการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ชุมชนเมืองเอกหลังจากที่มีการจัดตั้งตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิตในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 ปีเศษ ผลการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า ปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ลดลงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์

     “นอกจากนี้ ในระยะแรก ได้มีการจัดทำแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ RSU Police i lert u ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นแรกในประเทศไทย ที่ร่วมมือกันระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานเอกชน มหาวิทยาลัยรังสิต และชุมชนซึ่งให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป สามารถแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น สมาร์ทโฟน โดยขอความช่วยเหลือจากสำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งสามารถส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ โดยการส่งข้อมูลส่วนตัว ภาพถ่าย เวลา และพิกัดที่เกิดเหตุ จะมีบุคลากรที่รับเรื่องและประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ เข้าช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมงและให้บริการได้ทันท่วงที ซึ่งเป็นการสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากในชุมชนเมืองเอกซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวนนักศึกษา และคนในชุมชนมีไม่น้อยกว่า 50,000 คน แต่จำนวนตำรวจสายตรวจในเขตพื้นที่มีเพียงแค่ 2 นาย ซึ่งสัดส่วนไม่สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสากลในการป้องกันอาชญากรรม และระงับเหตุที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การแจ้งเบาะแส และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผู้แจ้งก็อาจจำเป็นที่จะต้องระบุตัวตนของตนเอง เช่น ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูลที่แจ้งในเบื้องต้น หลังจากนั้นสำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิตก็จะประสานงานกับตำรวจ และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เพื่อทำงานร่วมกับคนในชุมชน”
    “ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางระจัน มีความรัก สามัคคี ร่วมกันต่อสู้กับข้าศึกศัตรูที่มารุกรานประเทศเรา ลักษณะงานนี้ก็เช่นเดียวกันที่เราจะสร้างชุมชนต้นแบบ มีการบูรณาการทำงานกันอย่างเป็นรูปธรรมกับทางมหาวิทยาลัย ทั้งมิติของการป้องกันอาชญากรรม การรับแจ้งเบาะแสจากภาคประชาชน รวมทั้งการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ซึ่งตรงนี้ทางกระทรวงยุติธรรมก็กำลังดำเนินการร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัยรังสิตด้วย” รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวเพิ่มเติม

    ความคิด ความฝัน และอุดมการณ์ที่ยังเดินต่อ
         นอกจากบทบาทของการเป็นผู้บริหาร ซึ่ง รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล รับหน้าที่ในการดูแลบริหารงานของฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิต โดยบริหารดูแลการดำเนินงานของสำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานพัฒนาวินัยนักศึกษา อีกทั้งยังเป็นประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม และเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยอีกด้วย เรียกว่าในทุกบทบาทและภารกิจที่ทำอยู่ล้วนแล้วแต่สร้างประโยชน์ในหลายส่วนงาน เหนือสิ่งอื่นใดคือ ยังคงยึดมั่นในอุดมการณ์เดิมในการที่จะมุ่งมั่นสานต่อเรื่องการพัฒนาระบบงานตำรวจ

     รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า คนเราหากจะทำความดี ไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งไหน ประกอบอาชีพใดก็สามารถทำได้ สำหรับผมวันนี้กับบทบาทหน้าที่ใหม่ ก็จะทำหน้าที่ในส่วนของงานบริหารและการเป็นอาจารย์ให้เต็มที่และดีที่สุด และเชื่อว่าองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับชุมชนจะเป็นส่วนสำคัญในการเป็นโครงการนำร่อง (Pilot Project) ให้กับชุมชนอื่นอีกหลายชุมชนในระดับประเทศ ขณะเดียวกันพื้นที่ศึกษาตรงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่จะตอบโจทย์เรื่องการปฏิรูปตำรวจทั้งในด้านการป้องกันอาชญากรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็จะมีการเก็บ รวบรวม เพื่อนำไปวิเคราะห์ร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ระดับชาติ และนานาชาติเพื่อความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการบริหารงานภาครัฐ (กพร.) ที่สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ ประยุกต์ใช้แนวคิดการทำงานเชิงรุกของภาคเอกชนเพื่อความสำเร็จของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

    จากเพชรเม็ดงามในรั้วสีกากี สู่นักวิชาการและนักบริหารในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต
         “แม้ว่าวันนี้จะถอดเครื่องแบบ ไม่ได้เป็นตำรวจแล้ว แต่จิตวิญญาณของความเป็นตำรวจยังคงอยู่ในดีเอ็นเอ ผมคิดตลอดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจเกิดการพัฒนา เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่คนในชุมชน สังคม และประเทศ ตำรวจต้องมีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และตอบสนองต่อทุกความเดือดร้อนของประชาชนอย่างแท้จริง ทุกข์ของตำรวจ และทุกข์ของประชาชนต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน หากวันนี้เราเพียงแค่คิดแต่ไม่ลงมือทำ เราก็จะไม่เห็นการพัฒนาอะไรที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน แต่ถ้าเราพัฒนาต่อยอดไปได้ เชื่อว่าปัญหาในหลายเรื่องจะแก้ไขได้ เพราะว่าหลักคิดของตำรวจทั่วโลกบอกว่า ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ไม่ได้เกิดขึ้นจากหน่วยงานภาครัฐแต่เพียงลำพังอีกต่อไป แต่ต้องมาจากการบูรณาการของทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกัน ประการสำคัญ การรักษาความสงบเรียบร้อยก็ถือเป็นนวัตกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวและพัฒนารูปแบบการทำงานเพื่อรองรับกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การจัดตั้งตำรวจศาล (Court Marshal) ในประเทศไทยซึ่งได้ดำเนินการแล้ว การบัญญัติกฎหมายผู้ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดูแลชุมชน สถานบริการต่างๆ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันอาชญากรรมเหมือนกับในต่างประเทศ เป็นต้น”

    “เค้าอาจจะหาว่าผมฝัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าผมฝัน ฝันที่อยากเห็นบ้านเมืองเราดีขึ้นเหมือนในหลายๆ ประเทศ ความสำเร็จตรงนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ลงมือทำ และความสำเร็จนี้จะทำเพียงลำพังไม่ได้ถ้าเราไม่ได้สร้างคนเพื่อมาช่วยกันสร้างชาติ” รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวทิ้งท้าย