Custom Search

Mar 1, 2020

7 วิธีปฏิบัติ สำหรับผู้ที่กลับจากประเทศที่ “COVID-19” ระบาด โดย “หมอธีรวัฒน์”

ที่มา https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-425255




ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุข โพสต์เฟซบุ๊ค 






ภาพจาก Wall Street English 

ระบุ วิธีการปฏิบัติตน 7 ข้อสำหรับประชาชนที่เดินกลับทางกลับจากประเทศที่เป็นพื้นที่ ที่มี “COVID-19” ระบาดอย่างต่อเนื่อง

ไม่ให้ไปทำงาน

ไม่ใช่หมายความว่า ให้ไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ซึ่งถ้าติดเชื้อก็สามารถแพร่เชื้อได้ก่อนมีอาการด้วยซ้ำ และแม้มีอาการก็อาจน้อยนิด แต่ปล่อยเชื้อได้

ให้อยู่บ้าน

ไม่ใช่หมายความว่า อยู่พักผ่อนสังสรรค์กันในครอบครัวอย่างใกล้ชิดชวนเพื่อนมาจัดปาร์ตี้

แล้วอยู่บ้านอยู่ยังไง

แยกอยู่คนเดียวห่างจากผู้อื่นอื่นอย่างน้อย 2 เมตร ควรใส่หน้ากากอนามัย
ชนิดจริง ๆ ไม่ใช่ทำจากผ้า เพราะถือว่าขณะนี้ตนเองเป็นคนปล่อยเชื้อได้ แยกจานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ เมื่อเข้าห้องน้ำถ้าอยู่บ้านหรูหรา ก็ยึดห้องน้ำหนึ่งห้องไปเลยแต่ถ้าเราเป็นคนธรรมดาต้องใช้ห้องน้ำรวม รอให้คนอื่นเข้าจนเสร็จก่อนและเข้าคนสุดท้ายและจัดการทำความสะอาด ทุกสิ่งอย่างในห้องน้ำด้วยน้ำกับสบู่ หรือ ที่แน่นอนคือ น้ำยาฆ่าเขื้อ รวมทั้งอ่างน้ำ ก๊อก ชักโครก ลูกบิดประตู ด้วย

ถ้าอยู่บ้านคนเดียว แล้ว ต้องทำอะไรต่อ?

ถ้าคนอื่นทำงานนอกบ้าน คนที่ถูกกักเอาโทรศัพท์ไว้ข้างข้างตัว เกิดมีอาการอะไรจะได้โทรบอกคนอื่นได้ ไม่ใช่ถูกปล่อยทิ้งอยู่คนเดียวสลบไสล อยู่ไม่มีใครรู้

ถ้าเกิดมีอาการขึ้น ทำไงต่อ?

รถที่จะนำไปส่งโรงพยาบา ต้องแจ้งคนขับแท็กซี่ หรือถ้าจะใช้รถส่วนตัวต้องทำการล้างห้องโดยสารทั้งห้องอย่างสะอาดเอี่ยมอย่าขึ้นรถประจำทางสาธารณะ หรือไม่ก็โทรแจ้งโรงพยาบาลให้ส่งรถมารับ

เสื้อผ้าเครื่องใช้ ทำไง?

ต้องซักแยกต่างหากออกจากคนอื่น อย่างเด็ดขาด

จะเก็บกับตัวไปนานเท่าไหร่?

เอาตามมาตรฐานคือ 14 วัน แม้ว่าจะมีรายงานว่าระยะฟักตัวยาวถึง 24 หรืออาจถึง 27 วัน เอาเบาะๆแค่นี้ จะทำได้มั้ย









ภาพ จาก LINE TODAY

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

สำหรับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุขผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คือ จากองค์การอนามัยโลก ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค การสนับสนุนให้ยุติการใช้วัคซีนจากสมองสัตว์และเสนอวิธีทดแทนด้วยการใช้วัคซีนที่ปลอดภัย โดยการฉีดแบบประหยัด ซึ่งมีผลงานมากมาย รวมถึงงานทางด้านการวินิจฉัย พยาธิกำเนิดของโรค ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแพทย์ชั้นนำของโลก เช่น New England Journal of Medicine, Lancet, Lancet Neurology, Lancet Infectious Diseases, Neurology, Journal of Infectious Diseases, Annals of Neurology, Clinical Infectious Diseases และอื่นๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ยังได้รับเชิญให้เขียนบทความในตำราต่างประเทศหลายเล่ม จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ McGraw-Hill, Butterworth-Heinemann, Raven Press, Lippincott Williams and Wilkins และวารสาร Lancet Neurology และ Lancet Infectious Diseases เป็นต้น อีกทั้งยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมในการประชุมโรคติดเชื้อ และโรคสมองที่สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เป็นต้น พร้อมทั้งวารสาร Lancet ของอังกฤษเคยลงสัมภาษณ์ประวัติส่วนตัว
งานวิจัยของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เกี่ยวข้องกับการศึกษาโรคสมองอักเสบทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะจากพิษสุนัขบ้า และสมองอักเสบจากภาวะแปรปรวนทางระบบภูมิคุ้มกัน โดยเป็นการศึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่ลักษณะอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย การวินิจฉัยโรคด้วยวิธีใหม่ การเก็บส่งตัวอย่างเพื่อวินิจฉัยโดยไม่ต้องใช้ตู้เย็น ลักษณะพิเศษของเชื้อ กลไกการเกิดโรคและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในสมอง
อีกทั้งการศึกษาสายพันธุ์ของไวรัสพิษสุนัขบ้าทั่วประเทศ และการแบ่งกลุ่มของไวรัสที่มีความจำเพาะกับพื้นที่ รูปแบบการกระจายและทิศทางการแพร่ของเชื้อโรค เพื่อนำไปสู่การป้องกันและรักษา โดยศึกษาวางระบบแบบแผนการปฏิบัติเมื่อสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ศึกษาผลแทรกซ้อนของวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ทำจากสมองสัตว์ซึ่งควรยกเลิกและทดแทนด้วยวัคซีนอื่น และการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายถึง 80% โดยได้ผลักดันผลงานด้านการป้องกันและรักษาทั้งหมด จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน
การศึกษาพาหะนำโรคที่สำคัญอีกชนิด คือ ค้างคาว ขณะนี้ได้มีการสำรวจค้างคาวใน 8 จังหวัด และมีเป้าหมายที่จะสำรวจให้ครอบคลุมทั้งประเทศไทย เพื่อศึกษาสภาวะการติดเชื้อ และความสามารถของค้างคาวที่จะนำและแพร่เชื้อไวรัสในตระกูลพิษสุนัขบ้า และไวรัสนิปาห์ซึ่งเคยเกิดระบาดครั้งใหญ่ในประเทศมาเลเซียและออสเตรเลียมาแล้ว