บทความ วิกฤตต้มยำกุ้ง
- https://teetwo.blogspot.com/2019/09/suthichai-live.html
- https://teetwo.blogspot.com/2020/01/suthichai-live-02062562.html
- http://teetwo.blogspot.com/2019/01/suthichai-live.html
วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง
เป็นช่วงวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน
ผลกระทบของวิกฤตการณ์ดังกล่าวกินเวลาไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2541
ในปีเดียวกันนั้น อย่างไรก็ตาม จนถึงปี พ.ศ. 2542
นักวิเคราะห์ได้มองเห็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจเอเชียกำลังเริ่มฟื้นตัว
เป็นช่วงวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน
ผลกระทบของวิกฤตการณ์ดังกล่าวกินเวลาไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2541
ในปีเดียวกันนั้น อย่างไรก็ตาม จนถึงปี พ.ศ. 2542
นักวิเคราะห์ได้มองเห็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจเอเชียกำลังเริ่มฟื้นตัว
สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง อาจแบ่งได้ 5 สาเหตุดังนี้
1. หนี้ต่างประเทศ
ประเทศไทยเกิดการขยายตัวทางระบบการเงิน เกิดการก่อหนี้ และการกู้เงินจากต่างประเทศ
2. การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ประเทศไทยมีการพัฒนาการผลิตเพื่อส่งออก ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเกิดการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง เพราะการส่งออกที่หดตัว
3. ฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
อาจเรียกว่าการลงทุนที่เกินตัว โดยช่วง พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2539 กิจการอสังหาริมทรัพย์เติบโตมาก แต่มีการกู้ยืมเงินต่างประเทศ และการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อมาลงทุน ต่อมาราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงเข้ามาลงทุนกันจำนวนมากเพื่อเก็งกำไร ก่อให้เกิด “ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่”
4. การดำเนินงานของสถาบันการเงิน
5. การโจมตีค่าเงินบาท
โดยนักลงทุนต่างชาติ มีการจัดตั้งกองทุน “Hedge Funds” เพื่อโจมตีค่าเงินบาทไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนำเงินทุนสำรองถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาปกป้องค่าเงินบาท
เมื่อเงินสำรองมีน้อยลง ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศ “ลอยตัวค่าเงินบาท”
เมื่อ 2 ก.ค. 2540 เป็นการเริ่มต้นวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
โดยนักลงทุนต่างชาติ มีการจัดตั้งกองทุน “Hedge Funds” เพื่อโจมตีค่าเงินบาทไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนำเงินทุนสำรองถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาปกป้องค่าเงินบาท
เมื่อเงินสำรองมีน้อยลง ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศ “ลอยตัวค่าเงินบาท”
เมื่อ 2 ก.ค. 2540 เป็นการเริ่มต้นวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
1. เศรษฐกิจประเทศแย่มาก- คนว่างงานเพิ่ม (ปี 2541 มี 1.13 ล้านคน)- รายได้ต่อหัวลดลง
2. การพัฒนาประเทศช้ากว่าที่เคยคาดไว้
3. สวัสดิการทางสังคมน้อยลง
ผลกระทบในด้านต่างๆ
1. ด้านเศรษฐกิจ
บริษัทต่างๆไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้า จากสาเหตุอำนาจซื้อที่ลดลงของประชาชน และด้วยสาเหตุนี้เองที่ส่งผลลูกโซ่ต่อการผลิตและการซื้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องอัตโนมัติ แม้ว่าวิกฤตครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ผลเสียหายที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุดคือผลกระทบกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก นอกจากปัญหาการล้มละลายหรือการปิดกิจการของภาคธุรกิจทุกขนาดแล้ว ปัญหาหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากจาก วิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ.2540 คือ ปัญหาการว่างงานทั้งจากสาเหตุการถูกปลดออกจากการเป็นพนักงานบริษัท และปัญหาการไม่มีตลาดแรงงานรองรับนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ เมื่อพิจารณาในระดับมหภาคจะพบว่าวิกฤต 2540 ได้ส่งผลต่อภาวการณ์คลังของประเทศ คือ การเก็บภาษีอาการได้น้อยลง ซึ่งได้ส่งผลต่อเนื่องสู่การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้น้อยลงตามไปด้วย
บริษัทต่างๆไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้า จากสาเหตุอำนาจซื้อที่ลดลงของประชาชน และด้วยสาเหตุนี้เองที่ส่งผลลูกโซ่ต่อการผลิตและการซื้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องอัตโนมัติ แม้ว่าวิกฤตครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ผลเสียหายที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุดคือผลกระทบกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก นอกจากปัญหาการล้มละลายหรือการปิดกิจการของภาคธุรกิจทุกขนาดแล้ว ปัญหาหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากจาก วิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ.2540 คือ ปัญหาการว่างงานทั้งจากสาเหตุการถูกปลดออกจากการเป็นพนักงานบริษัท และปัญหาการไม่มีตลาดแรงงานรองรับนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ เมื่อพิจารณาในระดับมหภาคจะพบว่าวิกฤต 2540 ได้ส่งผลต่อภาวการณ์คลังของประเทศ คือ การเก็บภาษีอาการได้น้อยลง ซึ่งได้ส่งผลต่อเนื่องสู่การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้น้อยลงตามไปด้วย
2. ด้านสังคม
ในด้านสังคม เป็นที่ทราบกันดีกว่าหลังจากเกิดปัญหาวิกฤต 2540 คนไทยโดยเฉพาะระดับกลางและระดับล่างมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงเป็นอย่างมาก เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง จำนวนคนจนมีสูงขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้มีมากขึ้น ตลอดจนปัญหาด้านการศึกษาและปัญหาด้านสาธารณสุข
ในด้านสังคม เป็นที่ทราบกันดีกว่าหลังจากเกิดปัญหาวิกฤต 2540 คนไทยโดยเฉพาะระดับกลางและระดับล่างมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงเป็นอย่างมาก เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง จำนวนคนจนมีสูงขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้มีมากขึ้น ตลอดจนปัญหาด้านการศึกษาและปัญหาด้านสาธารณสุข
3. ด้านการเกษตร
ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อย
แต่จะได้ผลกระทบจากภาวะธรรมชาติ และราคาพืชผลมากกว่า
ได้เปรียบเพราะเงินบาทอ่อนตัว ราคาผลผลิตเกษตรไทยเลยดูถูกลง
ทำให้ส่งออกได้มากขึ้น ชนบทที่ไปทำงานนอกภาคเกษตร
กลับมาทำเกษตรมากขึ้น
4. เหมืองแร่
การผลิตแร่เชื้อเพลิง เช่น ก๊าซธรรมชาติ ขยายตัว การผลิตยิปซั่ม หินปูน ลิกไนต์ ที่ใช้ในการก่อสร้างลดลงอย่างมาก
การผลิตแร่เชื้อเพลิง เช่น ก๊าซธรรมชาติ ขยายตัว การผลิตยิปซั่ม หินปูน ลิกไนต์ ที่ใช้ในการก่อสร้างลดลงอย่างมาก
5. ด้านอุตสาหกรรม
วัตถุดิบและดอกเบี้ยจากต่างประทศราคาแพง (ค่าเงินบาทลด) ทั้งอุตสาหกรรมภายในและส่งออกชะลอตัวหมด ด้านสิ่งทอขยายตัวน้อย เพราะอยู่ในช่วงปรับการผลิตมาเป็นเครื่องจักรที่มีราคาสูง ค่าแรงแพงกว่าประเทศคู่แข่ง คือ จีน อินโดเนเซีย เวียดนาม
วัตถุดิบและดอกเบี้ยจากต่างประทศราคาแพง (ค่าเงินบาทลด) ทั้งอุตสาหกรรมภายในและส่งออกชะลอตัวหมด ด้านสิ่งทอขยายตัวน้อย เพราะอยู่ในช่วงปรับการผลิตมาเป็นเครื่องจักรที่มีราคาสูง ค่าแรงแพงกว่าประเทศคู่แข่ง คือ จีน อินโดเนเซีย เวียดนาม
6. การก่อสร้าง ลดลงอย่างมาก
7. การค้า ลดลงอย่างมาก
8. ด้านบริการ การท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศไทยจำนวนมาก
แนวทางของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปี 2541
1. รัฐเพิ่มงบประมาณขาดดุล
2. เร่งอุปสงค์ โดยเพิ่มสินเชื่อมากขึ้น
3. เปิดและจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น
- ให้สัญชาติไทยแก่ผู้เข้ามาลงทุน
- ปรับกฎหมายถือที่ดินของคนต่างด้าว
- ออก พรบ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
- ผ่อนปรนด้านภาษี
4. เร่งอุปทานโดยเพิ่มการผลิต โดยเฉพาะด้านเกษตร อุสาหกรรมขนาดเล็ก-ขนาดกลาง (SMEs) และการท่องเที่ยว
5. สร้างงาน – ด้านบริการและก่อสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ
6. เพิ่มการส่งออก และลดการนำเข้า
7. แก้ไขสภาพคล่องของสถาบันการเงิน
8. มีการจัดตั้งบริษัท TAMC (บริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ) เพื่อแก้ปัญหา NPL
ปี 2541 ดุลการค้าไทยเริ่มเกินดุล เพราะการชะลอตัวด้านการสั่งเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคแบบฟุ่มเฟือย