Custom Search

Jul 26, 2020

เฮได้!ไม่ย้ายบขส.กลับหมอชิตเก่าแล้ว

ภาพจาก นสพ.สยามรัฐ





© สนับสนุนโดย เดลินิวส์
26 ก.ค. 2563
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัทขนส่งจำกัด(บขส.) เปิดเผยว่า ได้หารือนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เรื่องแผนรื้อย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 กลับไปอยู่สถานีขนส่งหมอชิตเก่า ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต พื้นที่ 120,000 ตารางเมตร ที่คาดว่าปีนี้เริ่มดำเนินการและเปิดใช้อีก 5 ปีข้างหน้าหรือปี 68เพื่อคืนพื้นที่ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อที่จะแล้วเสร็จในปี 64 รวมทั้งมีแผนดำเนินการศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
ทั้งนี้ผลการหารือมีความเห็นร่วมกันว่าสถานีหมอชิต2ของบขส. ควรอยู่ที่เดิมประชาชนจะได้ประโยชน์กว่า เนื่องจากเดินทางสะดวกมากขึ้น และไม่เกิดภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สามารถเชื่อมต่อระบบรางและระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ ที่อยู่รายรอบสถานีกลางบางซื่อได้ โดยบขส. สามารถเจรจาต่อรองกับรฟท.เพื่อบริหารจัดการเช่าพื้นที่ให้มีขนาดเล็กลงเพื่อลดต้นทุนจากปัจจุบันเช่าพื้นที่ 73 ไร่ลดเหลือ 58 ไร่ ด้วยการทำสัญญาเช่ากันใหม่ให้เกิดความชัดเจนตามกฎหมายมากขึ้น เนื่องจาก บขส. เช่าพื้นที่หมอชิต 2 ตั้งแต่ปี 2541 โดยจ่ายค่าเช่าราคาเดิมเพราะไม่มีสัญญาที่ชัดเจน ทำให้ รฟท. ไม่ได้ประโยชน์ และไม่กล้าลงทุน ดังนั้นควรร่วมมือกันพัฒนาสถานีขนส่งแห่งนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งด้านรถโดยสารของประเทศให้เกิดความทันสมัยได้
เบื้องต้นเรื่องเจรจาจัดทำสัญญาใหม่นี้ได้หารือนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. ในหลักการเห็นด้วยแล้ว ซึ่งนายศักดิ์สยามได้มอบหมายให้หารือในข้อสรุปแล้วกลับมารายงานให้ทราบต่อไป เพราะเกี่ยวข้องกับ 3 รัฐวิสาหกิจ โดยมีองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร่วมด้วยเพราะเดิมที ขสมก. เช่าพื้นที่ รฟท. ทำอู่หมอชิตอยู่ 22 ไร่ ปัจจุบันลดเหลือ 16 ไร่ ขสมก. จ่ายค่าเช่า รฟท. ราคาเดิมตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งไม่มีสัญญาเช่าที่ชัดเจนเหมือนกัน ดังนั้นถ้ามีสัญญาเช่าชัดเจน มีพื้นที่เหลือ รฟท. นำไปบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์พยุงกิจการขององค์กรได้ เบื้องต้นควรทำสัญญา 5 ปีก่อน จากนั้นสัญญาเช่าในระยะยาวค่อยพิจารณาอีกครั้ง
นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า หากหมอชิต 2 ยังอยู่ที่เดิมได้คิดแผนเชื่อมการเดินทางให้ประชาชน 2 ระยะ คือ ระยะแรกบขส. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมกัน (MOU)กับ ขสมก. ที่มีแผนจัดเช่ารถเมล์ไฟฟ้า (อีวี) ไร้มลพิษมาให้บริการประชาชนอยู่แล้ว บขส.อาจจ้าง ขสมก. นำรถมาใช้เป็นซัตเติ้ลบัสวิ่งวนรอบสถานีกลางบางซื่อ-หมอชิต2-อู่หมอชิต-ตลาดนัดจตุจักร-สถานีรถไฟฟ้าใกล้เคียง และระยะ 2 ก่อสร้างทางเดินลอยฟ้า (สกายวอร์ก) เชื่อมจากหมอชิต 2-สถานีกลางบางซื่อ ระยะทาง 800 เมตร โดยต้องสะอาด ปลอดภัย บริการได้ 24 ชม.ทั้งนี้แผนงานทั้งหมดจะนำไปหารือในที่ประชุมบอร์ดบขส.เห็นชอบในหลักการจากนั้นให้รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ (เอ็มดี) บขส.ทำหนังสือถึง ผู้ว่า รฟท. ก่อนทำหนังสือรายงานกระทรวงคมนาคมเพื่อให้เจรจาร่วมทั้ง 3 ฝ่าย โดยมีกระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานกลางพิจารณาอีกครั้ง จากนั้นให้ทั้ง 3 หน่วยงานนำไปปฏิบัติต่อไป ตอบส่งต่อ