รายได้ผู้เขียนมอบให้มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย
"เรื่องสะเทือนไต" เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์จริงของคุณปิยา วัชระสวัสดิ์ ในช่วงที่เธอเข้ารับการรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน และหลังจากนั้นเธอได้ศึกษาข้อมูลของโรคไตอย่างละเอียด เพื่อนำพาตนให้ห่างจากโรคไต ด้วยความรักและหวังดีจึงก่อเกิดเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้น ผ่านภาษาที่เป็นกันเองและความน่ารักของภาพการ์ตูน จึงทำให้เพิ่มอรรถรสในการอ่านและน่าติดตามจนวางไม่ลง ไตวายเฉียบพลันในครั้งนั้น สามารถเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนพฤติกรรมการกินของเธอได้ เพราะไตวายเฉียบพลันสอนให้เธอได้รู้ซึ้งกับคำว่า "การไม่มีโรคถือเป็นลาภอันประเสริฐ" นอกจากความรักและหวังดีที่อยากบอกเล่าเรื่องราวที่สะเทือนไต สะเทือนไปทั้งตัวเธอแล้ว... เธอยังมอบโอกาสดีๆ แก่ผู้ป่วยโรคไต โดยมอบค่าลิขสิทธิ์ของหนังสือเล่มนี้ให้มูลนิธิไตแห่งประเทศไทยอีกด้วย
- ข้อมูลส่วนตัว
1. ประสบการณ์ตรง
2. ผลเลือดปรากฏ
3. ฟอกเลือด
4. ข่าวดี
5. รู้จักไตมากขึ้น
6. ถ้าไตไม่ทำงานตลอดไป
7. ขอบคุณนะโรคไต
- บทพิเศษ
"การเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ต้องการพบ แต่บ่อยครั้ง ก็เป็นการยากที่จะหลบเลี่ยง"
-- นพ.สุธี ลีละเศรษฐกุล --
"หนังสือเล่มนี้ได้เล่าถึงประสบการณ์จริงของผู้เขียนที่เคยป่วยจากภาวะไตวายเฉียบพลัน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเหมือนมาเล่าให้ฟังผ่านมุมมองของผู้ป่วยเอง ด้วยหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ เพราะ" ไตวาย "นั้นไม่จำเป็นต้อง" ตายไว "เสมอไป"
-- นพ.ธานินทร์ ศิริมงคลรัตน์ --
"ทำไมผมตกใจ... เพราะผมเชื่อว่าถ้าลูกจะต้องเป็นไตวายถาวร ครอบครัวเรา วิถีชีวิตของผมและครอบครัวคงต้องเปลี่ยนไปอย่างมากมาย เพื่อรับกับชะตากรรมอันโหดร้ายนี้... โหดร้ายอย่างไรท่านลองอ่านหนังสือเล่มนี้ดูแล้วท่านจะรู้..."
-- อรุณ วัชระสวัสดิ์ --
พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ "ไต" รวมถึงปัญหาของ "โรคไต" ที่เป็นภัยเงียบ เพื่อกระตุ้นในคนตระหนักถึงความสำคัญของ "โรคไต" จึงเป็น "จุดกำเนิดของวันไตโลก"
- ข้อมูลส่วนตัว
1. ประสบการณ์ตรง
2. ผลเลือดปรากฏ
3. ฟอกเลือด
4. ข่าวดี
5. รู้จักไตมากขึ้น
6. ถ้าไตไม่ทำงานตลอดไป
7. ขอบคุณนะโรคไต
- บทพิเศษ
"การเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ต้องการพบ แต่บ่อยครั้ง ก็เป็นการยากที่จะหลบเลี่ยง"
-- นพ.สุธี ลีละเศรษฐกุล --
"หนังสือเล่มนี้ได้เล่าถึงประสบการณ์จริงของผู้เขียนที่เคยป่วยจากภาวะไตวายเฉียบพลัน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเหมือนมาเล่าให้ฟังผ่านมุมมองของผู้ป่วยเอง ด้วยหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ เพราะ" ไตวาย "นั้นไม่จำเป็นต้อง" ตายไว "เสมอไป"
-- นพ.ธานินทร์ ศิริมงคลรัตน์ --
"ทำไมผมตกใจ... เพราะผมเชื่อว่าถ้าลูกจะต้องเป็นไตวายถาวร ครอบครัวเรา วิถีชีวิตของผมและครอบครัวคงต้องเปลี่ยนไปอย่างมากมาย เพื่อรับกับชะตากรรมอันโหดร้ายนี้... โหดร้ายอย่างไรท่านลองอ่านหนังสือเล่มนี้ดูแล้วท่านจะรู้..."
-- อรุณ วัชระสวัสดิ์ --
4 เรื่องสะเทือน 'ไต' ใน 'วันไตโลก'
12 มีนาคม 2563 | โดย เบญจวรรณ บั้งจันอัด, กมลรัตน์ วงษ์คำ
ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870446
ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870446
นอกจากปัญหาโควิด-19 โรคระบาดที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจและป้องกันกันอย่างฉุกละหุก แต่อย่าลืมไปว่า ยังมีอีกหลายโรคที่ส่งผลต่อชีวิตไม่น้อยไปกว่า โควิด-19 ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ปัญหาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของไต องค์การอนามัยโลก จึงกำหนดให้วันพฤหัสบดีในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคมทุกปีเป็น “วันไตโลก” (World Kidney Day) ซึ่งปี 2563 ตรงกับวันที่ 12 มีนาคม
“คัดกรอง ป้องกัน รู้ทันโรคไต” จากคำขวัญข้างต้น ซึ่งเป็นคำขวัญ “วันไตโลก” ของปีนี้ โดยภายใต้คำขวัญจะชี้ให้เห็นว่า ไตมีความสำคัญกับชีวิตคนเราเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรที่จะละเลย เพราะมีอีกหลายคนหารู้ไม่ว่า สิ่งที่ทำเป็นกิจวัตรประจำวันนั้น จะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของไต และลามไปถึงการเกิดปัญหา “โรคไต”
ด้วยพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป ไม่เพียงแต่ที่พบโรคไตในผู้ใหญ่เท่านั้น ยังพบโรคไตในเด็กด้วย สาเหตุหนึ่งคือ การกินเค็มจากฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว โดยเฉพาะอาหารญี่ปุ่น เกาหลี ที่กำลังเป็นที่นิยม เช่น เนื้อหมัก หมูมักใส่ซอสปรุงรส เกลือ ผงหมัก รวมน้ำจิ้มแล้ว โดยรวมความเค็มมากกว่าอาหารปกติถึง 5-10 เท่า อาหารแช่แข็งมีความเค็มมากกว่าปกติถึงร้อยละ 30
จะเห็นได้ว่าทุกคนสามารถเป็นโรคไตได้ ไม่ว่าจะวัยไหนก็ตาม หลายคนคงยังไม่รู้ว่าโรคไตมีที่มาที่ไปอย่างไร? รวมถึงลักษณะอาการป่วยและการดูแลป้องกันอย่างไร? ไม่ให้ไตเสื่อมสภาพเร็ว
หน้าที่ไตมีอะไรบ้าง?
จะเห็นได้ว่าทุกคนสามารถเป็นโรคไตได้ ไม่ว่าจะวัยไหนก็ตาม หลายคนคงยังไม่รู้ว่าโรคไตมีที่มาที่ไปอย่างไร? รวมถึงลักษณะอาการป่วยและการดูแลป้องกันอย่างไร? ไม่ให้ไตเสื่อมสภาพเร็ว
หน้าที่ไตมีอะไรบ้าง?
ก่อนอื่นต้องรู้จักหน้าที่ของไตก่อน อย่างแรกไตช่วยปรับสมดุลน้ำในร่างกาย ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมการขับหรือเก็บน้ำไว้ในร่างกาย เมื่อร่างกายขาดน้ำ เช่น อากาศร้อนจัด เสียน้ำทางเหงื่อมาก ร่างกายจะปรับดุลน้ำโดยจะมีการกระหายน้ำดื่มน้ำมากขึ้น เป็นการทดแทนน้ำที่เสียไป
ต่อมาปรับสมดุลเกลือแร่และกรดด่างๆ โดยไตปกติสามารถขับเกลือแร่ส่วนที่เกินความต้องการออกมาในปัสสาวะ เช่น การกินอาหารเค็มจัด ร่างกายจะปรับเกลือแร่นี้ โดยรู้สึกกระหายน้ำ ดื่มน้ำมากขึ้น และขับเกลือแร่ส่วนเกินที่ค้างอยู่ออกจากร่างกายทางปัสสาวะได้
กำจัดของเสียออกจากร่างกาย ร่างกายมีกระบวนการขับของเสียออกจากร่างกายได้หลายวิธี เช่น ขับออกทางอุจจาระ ทางลมหายใจ ทางเหงื่อ และทางปัสสาวะ การเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนออกจากร่างกาย ของเสียประเภทนี้เรียกว่า “ยูเรีย” และ “ครีเอตินิน” ซึ่งหากของเสียเหล่านี้ คั่งค้างอยู่ในร่างกายมากๆ จะทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ
สุดท้ายไตยังช่วยสร้างฮอร์โมนหลายชนิด ผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนเรนิน ช่วยในการควบคุมความดันโลหิตของร่างกาย และการดูดซึมของเกลือแร่ที่ไต ฮอร์โมนอิริโทรพอยอีติน เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นในการกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง และวิตามินดี ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซียมจากอาหาร และช่วยในการเสริมสร้างกระดูก
อาการของโรค สังเกตไม่ยาก
ต่อมาปรับสมดุลเกลือแร่และกรดด่างๆ โดยไตปกติสามารถขับเกลือแร่ส่วนที่เกินความต้องการออกมาในปัสสาวะ เช่น การกินอาหารเค็มจัด ร่างกายจะปรับเกลือแร่นี้ โดยรู้สึกกระหายน้ำ ดื่มน้ำมากขึ้น และขับเกลือแร่ส่วนเกินที่ค้างอยู่ออกจากร่างกายทางปัสสาวะได้
กำจัดของเสียออกจากร่างกาย ร่างกายมีกระบวนการขับของเสียออกจากร่างกายได้หลายวิธี เช่น ขับออกทางอุจจาระ ทางลมหายใจ ทางเหงื่อ และทางปัสสาวะ การเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนออกจากร่างกาย ของเสียประเภทนี้เรียกว่า “ยูเรีย” และ “ครีเอตินิน” ซึ่งหากของเสียเหล่านี้ คั่งค้างอยู่ในร่างกายมากๆ จะทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ
สุดท้ายไตยังช่วยสร้างฮอร์โมนหลายชนิด ผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนเรนิน ช่วยในการควบคุมความดันโลหิตของร่างกาย และการดูดซึมของเกลือแร่ที่ไต ฮอร์โมนอิริโทรพอยอีติน เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นในการกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง และวิตามินดี ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซียมจากอาหาร และช่วยในการเสริมสร้างกระดูก
อาการของโรค สังเกตไม่ยาก
“โรคไต” ถือเป็นภัยเงียบอย่างหนึ่ง เพราะในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการเตือนให้ทราบ จะมีอาการออกมาเมื่อไตเสื่อมไปมากแล้ว ซึ่งกว่าจะรู้ตัวและหาทางรักษาอาจสายเกินไป แต่หากมีอาการเหล่านี้บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคไต
อาการบวม หน้าบวม เท้าบวม ใช้นิ้วกดแล้วมีรอยบุ๋ม เพราะเมื่อไตทำงานลดลง ความสามารถในการขับน้ำและเกลือจะลดลง จนทำให้เกิดอาการบวมต่างๆ
ปวดหลังและเอว ปวดบริเวณบั้นเอวหรือชายโครงด้านหลังและปวดร้าวไปถึงท้องน้อย ขาอ่อน และอวัยวะเพศ มักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง
ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะเป็นฟอง เกิดจากการมีโปรตีนรั่วออกมา คนปกติเวลาปัสสาวะอาจมีฟองได้บ้างเล็กน้อย แต่ถ้ามีฟองมาก จนกดโถปัสสาวะแล้วก็ยังไม่หมด แสดงว่าน่าจะมีโปรตีนรั่วออกมามาก ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคไตอักเสบ
ปัสสาวะที่เป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือสีชาแก่ ซึ่งปัสสาวะเป็นเลือด ส่วนปัสสาวะขัดเช่น ปัสสาวะลำบาก กะปริบกะปรอย เจ็บ สะดุด และไม่พุ่ง และปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ทั้งหมดนี้เป็นปัสสาวะที่ผิดปกติ
ความดันโลหิตสูง เป็นโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
ใครเสี่ยงเป็นโรคไต
ใครเสี่ยงเป็นโรคไต
ผู้ป่วยเบาหวาน เป็นสาเหตุของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายราว ๆ 30% ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อเป็นมาราว ๆ 10-15 ปี ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ไต โดยเฉพาะที่หลอดเลือดของไต มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ ต่อไปก็จะเกิดไตเสื่อม ไตวายเรื้อรัง และไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด
โรคเบาหวานยังมีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อไตอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะและกรวยไตอักเสบ ซึ่งถ้าเป็นบ่อยๆ และหรือรุนแรง ก็มีผลทำให้ไตเสื่อม ไตวายได้
ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงจะมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สำคัญ คือ หัวใจ หลอดเลือด ไต และสมอง คนที่มีความดันโลหิตสูงนาน ๆ จะมีผลทำให้ไตเสื่อมลง การรักษาควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะทำให้การเกิดโรคไตช้าลงหรือไตเสื่อมช้าลงได้ ความดันโลหิตสูงนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นสาเหตุของไตวายเรื้อรัง ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายประมาณ 30-50%
คนอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป สมรรถภาพการทำงานของไตจะเสื่อมไปตามอายุ นอกจากนี้ในผู้ชายผู้สูงอายุมีโอกาสสูงที่จะเป็นต่อมลูกหมากโต อาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ ทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงได้ การรับประทานยาหรือฉีดยาต่าง ๆ ที่มีพิษต่อไตจำเป็นต้องลดขนาดลงด้วย มิฉะนั้นก็อาจทำให้เกิดไตวายได้
ดูแลไตไม่ให้เสื่อมไว
การดูแลรักษาไตไม่ให้เสี่ยมไว ต้องรักษาสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายโดยมีวิธีการดูแลไตดังต่อไปนี้
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ไม่ใช่แค่รสเค็มจัด แต่รวมไปถึงอาหารรสหวานจัด เผ็ดจังและมันจัด
ออกกำลังสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที
ดื่มน้ำให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานหนักเกินไป และไม่เครียด
ลดการทางอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวกล่องตามร้านสะดวกซื้อ หรืออาหารกระป๋อง
รับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ต้องตรวจเลือดและปัสสาวะอย่างน้อยปีละครั้ง
การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเจ็บป่วยไม่เข้าใครออกใคร เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราจะป่วยวันไหน เพราะฉะนั้น หากเราเริ่มต้นจากการดูแลสุขภาพให้ดีก็จะลดความเป็นไปได้ของการป่วยน้อยลง และทุกอวัยวะในร่างกายสำคัญกับเราทุกชิ้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต หมั่นสังเกตร่างกายของตัวเองให้ดีๆ หากมีความผิดปกติควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และดำเนินการรักษาต่อไป
การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเจ็บป่วยไม่เข้าใครออกใคร เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราจะป่วยวันไหน เพราะฉะนั้น หากเราเริ่มต้นจากการดูแลสุขภาพให้ดีก็จะลดความเป็นไปได้ของการป่วยน้อยลง และทุกอวัยวะในร่างกายสำคัญกับเราทุกชิ้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต หมั่นสังเกตร่างกายของตัวเองให้ดีๆ หากมีความผิดปกติควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และดำเนินการรักษาต่อไป
ที่มา: สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์