Custom Search

Sep 4, 2007

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์


From T2
ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์



“ดิฉันได้เรียนรู้ว่า ชีวิตคือการต่อสู้” ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์

ศรัญยา
สกุลไทย ฉบับที่ 2436 ปีที่ 47 ประจำวัน อังคาร ที่ 26 มิถุนายน 2544













      เสน่ห์ พิชัยชาญณรงค์ 
     (บิดาของ ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์) 

 


สุภาพสตรีวัยทำงาน แต่งกายด้วยผ้าไหมไทย
สีเข้าชุดกันสวยงาม เปิดประตูหน้าห้อง
“รองอธิบดี” ที่อาคารออกมาต้อนรับ
ทีมงานสกุลไทยในวันนั้น
ด้วยรอยยิ้มอย่างเป็นกันเอง

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์

คือสุภาพสตรีที่กำลังนั่งอยู่ตรงหน้าเรา
นามของเธอเป็นที่จับตามอง
ในฐานะ ‘รองอธิบดีกรมพละศึกษา’ คนปัจจุบัน
ซึ่งเธอได้เข้ามารับตำแหน่ง
ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑
มีหน้าที่กำกับดูแลงานด้านยุวกาชาด
และสำนักพัฒนาสุขศึกษาและพลานามัย

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ รองอธิบดี กรมพละศึกษากระทรวงศึกษาธิการ เกิดเป็นคนต้องต่อสู้...ไม่ว่าเราจะทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด



หากมองย้อนกลับไปที่ประวัติชีวิต
จะเห็นความน่าสนใจไม่น้อยของ
ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
ตั้งแต่เรื่องราวในครอบครัวการปลูกฝังอบรมบ่มนิสัย
จากบิดามารดาชีวิตที่อยู่อย่างมีแบบแผนตลอดจน
การศึกษาเล่าเรียนที่อาศัยทั้งความมุมานะเพียร
พยายามจากคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย






ครอบครัว “พิชัยชาญณรงค์”
ในสมัยหนึ่ง“พวกเราดูแลกันและกันเป็น
อย่างดี มีความผูกพันกันมาก”




จนกระทั่งจบปริญญาเอกอักษรศาสตร์
ดุษฎีบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
สาขาวรรณกรรมการละครที่
มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส
และพ่วงประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านการออกแบบแสง-เสียง
และกำกับการละครด้วยลำพังเงินเดือนข้าราชการอย่างเดียวของผู้เป็นบิดา
ในสมัยเมื่อเกือบสามสิบปีที่แล้ว
ที่ส่งเสริมเธอมาจนกระทั่งสำเร็จการศึกษางดงาม
และมีความรักความมุ่งมั่น
ในงานรับใช้ราชการแผ่นดินนับจากจบการศึกษาเป็นต้นมา

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เป็นดังตัวแทนของคนที่ดำเนินชีวิต
บนครรลองความถูกต้องเสมอมา เธออาจจะจัดอยู่ในกลุ่มคนจำนวนน้อยในสังคม
ที่แทบไม่เคยเพลี่ยงพล้ำให้แก่อุปสรรคหรือปัญหาใดๆ ที่ผ่านเข้ามา
ทั้งๆ ที่หลายครั้งหลายคราเธอรู้สึกว่า “ชีวิตมิได้ปูด้วยกลีบกุหลาบ”


“ดิฉันเป็นลูกคนที่สี่ในจำนวนพี่น้องห้าคน คุณแม่เป็นแม่บ้าน

คุณพ่อรับราชการตำแหน่งสุดท้ายในหน้าที่การงานของคุณพ่อ
คือรองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง”

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เริ่มต้นเรื่องราวแห่งชีวิตของเธอ
“พวกเราดูแลกันและกันเป็นอย่างดี มีความผูกพันกันมาก
คุณพ่อ คุณแม่จะวางกรอบชีวิตไว้ให้ลูก ว่าจะต้องเรียนหนังสือที่ไหน
เรียนวิชาสาขาอะไร และต้องวางตัวอย่างไร รวมไปถึงการไปเรียนต่อต่างประเทศ

ดิฉันก็ได้ทำตามแนวทางที่ท่านแนะนำทุกอย่าง
โดยเฉพาะคุณแม่อยากให้ดิฉันเป็นกุลสตรี ท่านนำดิฉันเข้าเรียนที่โรงเรียนราชินี

กระทั่งจบชั้นประถม จึงให้ไปสอบเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนสตรีวิทยา
เรียนไปได้สามปี คุณแม่วางแผนล่วงหน้าว่าอยากให้ดิฉันสอบเข้าเรียน
ในระดับมหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดิฉันจึงต้องย้ายไปเรียนที่
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
และคุณแม่ยังบอกอีกว่าเป็นลูกผู้หญิงต้องสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์

พอสำเร็จปริญญาตรี ท่านส่งดิฉันไปเรียนต่อต่างประเทศ เรียนจบกลับมา
คุณพ่อ คุณแม่อยากให้รับราชการ

คุณพ่อสอนดิฉันว่าทำงานข้าราชการ เงินเดือนน้อยก็ไม่เป็นไร

เหมือนน้ำซึมบ่อทราย เพราะเราไม่ได้ร่ำรวย แต่เราจะมีความสุขไปตลอดชีวิต
มีการงานที่มั่นคง มีเกียรติยศ ดิฉันก็ทำตามที่ท่านบอก”
การได้รับการวางแผนชีวิตจากบิดามารดา
และการเชื่อฟังคำแนะนำของผู้ปกครองทุกประการ
เธอคิดว่านี่คือความถูกต้องในชีวิต


“เมื่อเห็นท่านดีใจ ดิฉันก็รู้สึกว่าเราทำถูกแล้ว
อาจจะเป็นเพราะครอบครัวของเราถูกฝึกมาอย่างนี้
พ่อแม่สอนว่าอย่างไร เราก็ควรทำตาม อย่างเช่นท่านสอนว่า
อย่าพูดปด การโกหกนั้นไม่ดี การเป็นคนพูดจริงทำจริงย่อมดีกว่า


โดยเฉพาะด้านการศึกษาเล่าเรียน เธอกล่าวว่าบิดาคือผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

“คุณพ่อมีอิทธิพลต่อดิฉันมากในเรื่องการเรียน
ท่านหล่อมหลอมให้ดิฉันเป็นคนที่มีความตั้งใจสูงกับเรื่องนี้

เพราะว่าท่านมาจากครอบครัวทหาร มีระเบียบวินัยชัดเจน

นอกจากนั้นท่านมีพี่น้องหลายคน จึงต้องต่อสู้ด้วยตัวเอง
ในสายตาของดิฉันท่านเป็นบุคคลที่มีความพยายามสูงมาก
ท่านชอบเรียนหนังสือ ไขว่คว้าหาความรู้อยู่ตลอดเวลา และรักความอดทน

ยกตัวอย่าง ตอนที่ท่านได้เป็นนักเรียนทุนไปเรียนต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ประ
เทศญี่ปุ่น
ท่านไม่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่นเลย หากท่านก็พยายามฝึกฝน
ในช่วงนั้นมีสงครามด้วย ไม่มีกระดาษเขียนหนังสือ

คุณพ่อจะเขียนลงบนกระดาษชำระ และใช้ทั้งสองหน้า

เพื่อที่จะพลิกท่องทบทวนความรู้ และท่านก็เรียนจนสำเร็จ” 





คำว่า ‘เกิดเป็นคนต้องต่อสู้ ต้องตั้งใจเรียนให้มาก ต้องอดทนให้มาก’
เป็นคำที่ ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ได้รับการปลูกฝัง

และถูกฝึกฝนมาตั้งแต่อายุย่างเข้า ๒-๓ ขวบ เมื่อได้ยินอย่างนี้
คนฟังอาจจะรู้สึกถูกบีบคั้น แต่ความรู้สึกดังกล่าวกลับตรงกันข้ามกับเธอ

“ดิฉันออกจะผิดจากเด็กคนอื่น คนอื่นอาจจะมองว่าดิฉันถูกเลี้ยงดูมาอย่างถูกบีบคั้น

แต่ดิฉันเองพอใจที่ครอบครัวเป็นอย่างนี้

ดิฉันไม่เคยโดดเรียน ไปเที่ยว เล่นสนุก หรือไปร่วมกิจกรรมอื่นๆ

เพราะคุณพ่อท่านไม่ชอบ ท่านมักพูดเสมอว่าอยากให้เรียนอย่างเดียว
ซึ่งก็ไม่ค่อยตรงกับทฤษฎีการศึกษาในสมัยนี้

แต่สมัยนั้น ดิฉันเรียนพิเศษทุกวิชา และต้องท่องหนังสือมาก

ตีห้าทุกเช้าจะตื่นมาอ่านหนังสือและ นอกจากตั้งหน้าตั้งตาเรียนแต่หนังสือ
คุณพ่อ คุณแม่ยังสนับสนุนให้ลูกๆ รู้จักการออกกำลังกาย

ท่านส่งดิฉันไปฝึกเรียนว่ายน้ำและตีเทนนิส และยังจ้างครูมาสอนดนตรีแก่ลูกๆ ด้วย
ทั้งดนตรีไทย ดนตรีสากล ดิฉันได้มีโอกาสเรียนดนตรีสากลอย่างจริงจัง

จนสามารถเล่นเปียโนออกคอนเสิร์ต ได้รับรางวัลที่หนึ่งของประเทศไทย
ถัดจากปีของคุณณัฐ ยนตรรักษ์ รางวัลนี้เกิดจากคำสั่งสอนของคุณพ่อว่า
ไม่ว่าเราจะทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด


เชื่อกันว่าคำสอนจากน้ำคำแห่งบุพการีนั้นเปรียบได้ดังพรอันประเสริฐล้ำ
มีค่าสูงกว่ารางวัลใดๆ ดังเรื่องราวที่เราประจักษ์จากครอบครัว ‘พิชัยชาญณรงค์

อันมีนายเสน่ห์และนางประจง พิชัยชาญณรงค์ เสมือนหางเสือของลูกรัก

“คุณพ่อ คุณแม่ของดิฉันไม่ใช่คนที่มีฐานะร่ำรวย คุณแม่บอกกับลูกบ่อยๆ
ว่าเรามีแค่เงินเดือนข้าราชการของคุณพ่อที่พอจะเลี้ยงตัวได้
เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะให้แก่ลูกได้ก็คือความรู้ ความรู้มันไม่มีดอกเบี้ย

มันจะอยู่กับเราอย่างไม่มีวันหมด ต่อให้เราไม่มีสมบัติ
เราสามารถใช้ความรู้ที่เรามี ทำมาหากินได้
และดิฉันก็คิดว่าสิ่งที่คุณแม่สอนนั้นเป็นเรื่องจริง
ท่านพยายามปลูกฝังอยู่เสมอว่าอย่าไปนิยมของนอกกายมากมายนัก

อยู่อย่างสมถะดีกว่า แต่ความรู้เท่านั้นที่เราควรต้องหาเพิ่มขึ้นโดยอย่านิ่งนอนใจ
คุณพ่อเคยบอกดิฉันว่ารู้ไหมไอน์สไตน์ สมองของเขาฉลาดกว่าลูกเยอะ

พอไอน์สไตน์ตายไปแล้ว แพทย์ผ่าสมองออกมาวิเคราะห์ดู

พบว่ายังมีที่เหลืออีกตั้งมากที่จะจดจำ เพราะฉะนั้น
เมื่อลูกไม่ใช่ไอน์สไตน์ ก็อย่าปล่อยให้สมองว่างมากนัก
เดี๋ยวจะกลายเป็นคนโง่
คุณพ่อของดิฉันเสียชีวิตเมื่อปี ๒๕๔๒ รวมอายุแปดสิบกว่าปี

ท่านถือว่าเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ดี ท่านเก่งภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมัน
แต่สมบัติอย่างอื่นท่านไม่มีอะไรเหลือเลย เพราะท่านไม่ยึดติด”
เมื่อด้านหนึ่งของชีวิตเชื่อมั่นในปณิธานของบิดาว่าการไขว่คว้าหาความรู้ย่อมไม่มีวันจบสิ้น
สองวันหลังจากที่ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ รับพระราชทานปริญญาบัตร

ด้วยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เธอจึงได้รับโอกาสและการสนับสนุนจากครอบครัวให้เดินทางไปศึกษาต่อ

ในระดับปริญญาโทและเอก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส


“สาเหตุที่ดิฉันได้มีโอกาสไปเรียนต่อ ก็เพราะว่าน้องชายได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนต่อ
ที่อเมริกา คุณแม่ยังพูดว่า ดีนะ ที่น้องได้ทุน เพราะว่าเรามีเงินอยู่เท่านี้
ไม่อย่างนั้นดิฉันกับน้อง คงจะต้องแบ่งกัน หรือคนหนึ่งได้ อีกคนหนึ่งไม่ได้

เนื่องจากคุณพ่อคงส่งไม่ไหว เผอิญว่าน้องชายได้ทุนไปก่อน เท่ากับว่าเงินที่คุณพ่อมี
ก็มาส่งให้ดิฉันคนเดียว คุณแม่ท่านตักเตือนด้วยว่าจงตั้งใจเรียนให้ดี รีบเรียนให้จบไวๆ
มิเช่นนั้นเงินจะหมด เพราะครอบครัวเรายากจน

ถ้าเงินเดือนของคุณพ่อหมด ก็ไม่มีเงินจะส่งอีก”

หากทว่าทุนรอนสำหรับการเล่าเรียนต่อในต่างประเทศครั้งนี้

แม้จะเป็นเรื่องใหญ่ แต่ยังมิได้สร้างความกังวลใจให้แก่เธอเท่ากับ
การที่ต้องไปเผชิญชีวิตห่างไกลจากผู้เป็นที่รักในรูปแบบใหม่ด้วยตัวเองเพียงลำพัง


“อันที่จริงการตัดสินใจไปเรียนในฝรั่งเศส จะคิดว่าเป็นการตัดสินใจผิดก็ได้

หรือตัดสินใจถูกก็ได้ เพราะเป็นประเทศที่ดิฉันเลือกไปเอง
เนื่องจากจบเอกภาษาฝรั่งเศส ในประเด็นที่คิดว่าผิด
ก็คือระบบการเรียนของฝรั่งเศสไม่เหมือนของไทยเลย
ระบบการศึกษาของเมืองไทยจะคล้ายคลึงกับอเมริกามากกว่า

วิธีการเรียนการสอนของฝรั่งเศสเขามักจะออกข้อสอบให้นักศึกษาเขียนเป็นคำบรรยาย

ให้คิดวิเคราะห์หาเหตุผล เพียงแต่เขาจะแนะแนวทางหรือทฤษฎีแก่เราเท่า
นั้น
ในหกเดือนแรกที่เรียนอยู่เคยคิดฆ่าตัวตายตั้งหลายหน
เพราะเราฟังเราอ่านภาษาฝรั่งเศสไม่รู้เรื่องเลย
พยายามคิดย้อนในสิ่งที่คุณพ่อสอนไว้ว่าถ้าเราตั้งใจและมีความพยายาม

เราก็จะเกิดความรู้และเข้าใจ แต่ดิฉันตั้งใจเรียนแล้ว อ่านมากๆ แล้ว
กลับไม่เข้าใจเอาเสียเลย พูดกับใครก็ไม่รู้เรื่อง กินก็ลำบาก

อาจารย์สั่งงานให้วิเคราะห์ตัวละคร วิเคราะห์งานวรรณกรรม
ยังไม่ทันต้องวิเคราะห์ ก็อ่านไม่เข้าใจเสียก่อน
ไม่เหมือนกับที่เราเคยเรียนในเมืองไทย


เรื่องการใช้ชีวิตทั่วไป ค่อนข้างลำบากมาก เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ
ก็ไม่ค่อยมี ไปที่ไหนมักถูกดูถูกว่าเป็นคนเอเชีย เลยยิ่งทำให้หัวใจเรารู้สึกห่อเหี่ยว

ร้องไห้ทุกวัน น้ำหนักลดลงสิบสองกิโล คุณพ่อคุณแม่ถึงขนาดเอ่ยปากว่า
ให้กลับบ้านมาก่อนเถอะ อย่างนี้เขาเรียก home sick เพราะคิดถึงบ้าน
จนอยู่ที่นั่นไม่ได้ ดิฉันก็กลับมา คุณพ่อ คุณแม่ท่านไม่พูดอะไรอีก
จนกระทั่งใกล้ถึงเวลากลับ คุณแม่พูดกับดิฉันว่า ลองคิดดู
เด็กคนไทยเขาไปเรียนจบกันมากี่พันคนแล้ว

คนเหล่านั้นที่ไปเรียน เขาแตกต่างจากลูกตรงไหน ทำไมเขาจึงเรียนกันได้

แล้วลูกเป็นอะไร ทำไมจึงจะเรียนไม่ได้ เพราะฉะนั้น กลับไปเรียนให้จบ”


เพียงถ้อยคำของมารดาที่กลั่นจากความรักและหวังดี เปรียบดั่ง ‘ลม’

ที่หนุนให้ ‘ว่าว’ เช่นเธอ หวนลอยขึ้นไปติดลมบนอีกครั้งครา

“ดิฉันกลับไปเรียนจนสำเร็จ โดยจบปริญญาโท สาขาวรรณกรรมการละครภายในหนึ่งปี
และเรียนต่อปริญญาเอกในสาขาเดียวกันอีกสามปี...ที่เล่ามาทั้งหมด

เนื่องจากอยากสะท้อนว่าพ่อแม่ทุกคนมีอิทธิพลกับชีวิตของลูกมาก
ด้วยประโยคของคุณแม่ที่บอกแก่ดิฉันว่า รีบเรียนเข้านะลูก เงินเดือนคุณพ่อใกล้จะหมดแล้ว

ทำให้เรามีแรง บอกกับตัวเองว่าตั้งใจเรียนเข้า เงินใกล้หมดเต็มที
มันก็เลยเป็นแรงบันดาลใจให้ดิฉันทำได้ดีและจบเร็วอย่างที่ครอบครัวคาดหวัง”

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ยังกล่าวสืบต่อจากประเด็นที่ทิ้งท้ายไว้ก่อนหน้าถึง
มุมมองแห่งผลดีที่ตัดสินใจไปเรียนต่อยังประเทศฝรั่งเศสอีกว่า

“ส่วนประเด็นที่คิดว่าเป็นการตัดสินใจถูก ก็คือเมื่อเราสามารถเอาชนะภาวะตรงนั้นมาได้
เราจึงกลายเป็นคนที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค แม้ว่าเราจะตกไปอยู่ในที่ลำบากหรือมีภัย
หรือเกิดอะไรขึ้นในชีวิต เรามักจะหวนระลึกอยู่เสมอว่า เมื่อก่อนตอนเรียนอยู่ต่างแดน
เรายังทนได้เลย ที่นั่นไม่ใช่บ้านเกิดเมืองนอนของเรา เรายังอยู่ได้

และเมื่อเรากลับมาอยู่ที่บ้านเมืองของเราแท้ๆ เราจะไปกลัวอะไรละ
ประสบการณ์ที่ฝรั่งเศสทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ว่าชีวิตคือการต่อสู้”
ปริญญาเอก เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขาวรรณกรรมการละคร จากฝรั่งเศส

เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว ดูราวกับใบเบิกทางที่สวยหรู หากในความเป็นจริงเธอยอมรับว่า
แทบไม่เห็นช่องทางการทำงานที่เมืองไทยสักเท่าไร เธอไม่ค่อยแน่ใจนักในเรื่องนี้
แต่เหตุจูงใจที่เลือกเรียน ก็เพราะว่า...

“เรื่องของภาพยนตร์ เรื่องของละคร เรื่องของศิลปะการแสดง มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ อย่างที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่หกเคยรับสั่งว่า

ชีวิตมนุษย์เราก็เหมือนโรงละคร เราต้องเล่นบทนั้นบทนี้
และเรื่องราวในงานละครหรืองานวรรณกรรมต่างก็ให้คติสอนใจแก่เรามาก
ดิฉันจึงรู้สึกว่าดีถ้าเราเลือกเรียนต่อทางด้านนี้
เพราะนอกจากได้เรียนรู้งานวรรณกรรมระดับโลกแล้ว
เรายังได้เรียนรู้แง่มุมชีวิตมนุษย์ที่ย้อนมาสอนใจเราอีกด้วย"

"พอเรียนจบปริญญาเอกกลับมา คุณแม่แทบจะเป็นลม บ่นว่านี่เหรอลูก
ที่คุณพ่อเสียเงินตั้งเยอะ ลูกได้ด็อกเต้อร์วิชานี้มาเหรอ...

บังเอิญช่วงนั้นพ้องกับมีงานพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยปี
ท่านอธิบดีกรมศิลปากรสมัยนั้น คือท่านเดโช สวนานนท์

ซึ่งดิฉันเคยพบกับท่านแล้วเมื่อตอนที่เรียนอยู่จุฬาฯ
และต้องไปฝึกงานในโรงละครแห่งชาติ ท่านจึงชักชวน

และมอบโอกาสการทำงานให้แก่ดิฉันได้แสดงศักยภาพจากสาขาวิชาที่เรียนมาโดยตรง...
คุณแม่ของดิฉันก็ยังปรารภอีกว่า ดีนะที่ท่านอธิบดีเดโช

เมตตานำลูกเข้าไปทำงานในกรมศิลปากร”
นับว่านี่คือจุดเริ่มต้นแห่งโลกการทำงานของเธอ ซึ่งตรงกับช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๒๕
โดยได้รับการบรรจุให้เข้าทำงานเป็นข้าราชการรับใช้แผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอน

ในตำแหน่งหัวหน้างานช่างเทคนิค กองการสังคีต กรมศิลปากร
“ท่านอธิบดีเดโชถามดิฉันว่าเรียนจบมาทางนี้
ท่านจะให้ดิฉันไปทำงานศิลปะการแสดงแสง-เสียงที่วัดพระศรีรัตนมหาศาสดารามเป็น
โครงการแรก เนื่องในวาระฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ดิฉันจะทำได้ไหม
ดิฉันตอบท่านว่าทำได้ จากนั้นดิฉันจึงได้ร่วมงานกับท่าน

โดยท่านอธิบดีเดโชเป็นคนเขียนบทเอง และมอบหน้าที่ให้ดิฉันเป็นผู้บรรจุเรื่องราว

เรียงลำดับเนื้อหา และกำหนดคิว และยังมีผู้ร่วมงานอีกท่านหนึ่งคือคุณองอาจ อยู่โพธิ์
ในตอนนั้นคุณองอาจเป็นหัวหน้าของดิฉัน

คุณพ่อของท่านคือคุณธนิต อยู่โพธิ์ ปูชนียบุคคลของกรมศิลปากร
ในงานแสดงแสง-เสียงที่วัดพระแก้ว คุณองอาจเป็นเอ็นจิเนียร์

ดิฉันเป็นเหมือนอาร์ติสต์ ผู้ออกแบบไฟ แสง และเสียง
ส่วนท่านอธิบดีเดโช สวนานนท์ ท่านเป็นผู้ให้แนวทางในการทำงาน
แล้วเราก็มาคิดกันว่าแสงจะฉายมาจากทางไหน

เสียงจะมาอย่างไร ทำเอ็ฟเฟ็คท์อื่นๆ ประกอบด้วย พวกเราก็ทำกันได้ดี
เตรียมการกันเป็นอย่างดี และเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีศิลปะการแสดงแสง-เสียง”
อาจจะกล่าวได้ว่า ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ คือผู้นำสื่อการแสดงผ่านวิทยาการ
ทางวิทยาศาสตร์มิติใหม่มาถ่ายทอดให้คนไทยได้รู้จักในรูปแบบของ

ศิลปะการแสดงแสง-เสียงซึ่งถือเป็นทฤษฎีทางงานแสดง
ที่เรารับอิทธิพลมาจากอารยธรรมตะวันตก
“การแสดงแสง-เสียง คือการเล่าประวัติ ที่มา เรื่องราวต่างๆ
ในอดีตของสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยจะใช้แสง เสียง เพลง และคำบรรยายเป็นสื่อเล่า

เพื่อให้ผู้ชมใช้จินตนาการคิดฝันตามว่า ณ ที่ตรงนั้นมีเหตุการณ์ใดหรือสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง
แทนที่จะนั่งอ่านหนังสือว่าวัดพระแก้วมีความเป็นมาอย่างไร
เราก็ใช้กระบวนการแสดงแบบนี้เล่าเรื่อง แต่ไม่มีคนร่วมแสดง

เพราะอาจจะทำให้คนดูไม่สามารถจินตนาการตามได้
ซึ่งขัดกับรสนิยมการชมศิลปะการแสดงของคนไทยแต่ดั้งเดิมที่ชอบดูโขนกลางแจ้ง

ดูคนออกมาแสดงประกอบฉาก
ต่อมาดิฉันจึงต้องประยุกต์ให้มีคนออกมาแสดงประกอบด้วย
เนื่องจากเราต้องทำให้เข้ากับรสนิยมของคนไทย
การแสดงแสง-เสียงในบ้านเราจึงคล้ายกับการเล่นละครในโบราณสถานประกอบคน
แต่แท้จริงแล้วมันผิดทฤษฎี เพราะการแสดงลักษณะนี้
ต้องยกให้ตัวโบราณสถานเป็นผู้เล่าให้เราฟัง เหมือนก้อนอิฐกระซิบกันเอง”

หลังจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการแสดงแสง-เสียงภายในวัดพระศรีรัตนมหาศาสดาราม
ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ยังได้รับความไว้วางใจ
ให้เป็นผู้นำการจัดงานการแสดงด้วยศิลปะประยุกต์
ผสมผสานสื่อวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ภายในโบราณสถานสำคัญๆ
ของไทยอีกหลายแห่ง
เป็นต้นว่า
งานฉลองลายสือไทยครบ ๗๐๐ ปีที่จังหวัดสุโขทัย
ตราบจนกระทั่งจุดประกายให้เกิดการแสดงด้วยลักษณะดังกล่าวไป
สู่ผู้จัดการแสดงรุ่นใหม่ๆ ดังเช่น
พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งล่าสุด

เมื่อประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
“ดิฉันรู้สึกดีใจว่าการแสดงแสง-เสียงในบ้านเรา
ยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา
ค่อนข้างเป็นที่ชื่นชอบมาก
การเล่นกับแสงและเสียงช่วยให้การแสดงมีชีวิตชีวาขึ้น

โดยเฉพาะเสียงเป็นเทคนิคที่สร้างความตื่นเต้น
สื่อความหมายกับผู้ชมได้มากขึ้น ก็รู้สึกดีใจ

แต่เราต้องยอมรับว่าเราได้รับแรงบันดาลใจจากยุโรป
ในการใช้แสงเลเซอร์เขียนตัวอักษร

เมืองนอกเขาทำกันเยอะอย่างที่พระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส

แทนที่เขาจะฉายสไลด์ลงไปบนผนังตึกเก่าๆเขากลับใช้สายน้ำพุเป็นฉาก
แล้วฉายภาพปราสาทราชวังซ้อนทับลงไปประกอบการเล่าเรื่อง
ถ้าใครเคยไปดูจะรู้ว่าสวยงามมาก

ดิฉันอยากจะบอกต่อไปว่าปัจจุบันนี้โลกเราเล็กลงแล้ว
การแสดงด้านแสง-เสียงทำให้โลกตะวันตก
และตะวันออกแลกเปลี่ยนแรงบันดาลใจ

ซึ่งกันและกัน ใช่ว่าฝรั่งเขามาให้แรงบันดาลใจแก่เราฝ่ายเดียว
เราก็ไปให้แรงบันดาลใจแก่เขาเหมือนกัน
อย่างเช่น บางงานการแสดงของฝรั่ง

เขาจะมีฉากหนังตะลุง เป็นเงาๆ อยู่ข้างหลัง
หรือมีฉากเงาเป็นหนังใหญ่หรือโขน

เนื่องเพราะเขาได้รับอิทธิพลจากเรา
นี่คือการเคลื่อนไหวอย่างหนึ่งของมนุษย์

ซึ่งดิฉันถือว่าดี”
หลายปีต่อมา ราวๆ พุทธศักราช ๒๕๓๔
ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
ต้องอำลา

จากกรมศิลปากรตามวงจรวิถีของระบบราชการไทย
โดยไปรับตำแหน่งใหม่
เป็นหัวหน้าฝ่ายศิลปะการแสดง
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
“การทำงานที่นี่ ดิฉันดูแลเรื่องการจัดการแสดง
ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยโดยเฉพาะ

จึงต้องบริหารจัดวางโปรแกรมการแสดง
ในช่วงนั้นงานที่สำคัญของเราก็คือจัดการ

แสดงเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวและ
สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ

ครบห้ารอบมีคณะการแสดงที่ยิ่งใหญ่มาจากทั่วโลกมากมาย
พวกเราทำงานกันอย่างหนักต้อง
ประสานงานร่วมกับกระทรวงต่างประเทศ

และอีกหลายๆ กระทรวงเพราะนี่คือเกียรติยศของประเทศไทย

เราได้วางกรอบและแนวทางกันไว้ว่า
ประเทศที่จะเข้าร่วมการแสดงเทิดพระเกียรติ

ต้องเป็นประเทศที่พระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนินเยือน
และการแสดงจากต่างประเทศที่เข้ามา
ต้องยอดเยี่ยมจริงๆ ตัวอย่างเช่น

วงออเครสตร้ามิวนิค ฟิล ฮาร์โมนี ของประเทศเยอรมนี ฯลฯ
คณะทูตานุทูตจากแต่ละประเทศให้ความสนใจเป็นอันมาก
ปีนั้นทำให้ศิลปะการแสดงในบ้านเราตื่นตัวสูง”
จากนั้นอีกเพียงสองปี สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.)
แต่งตั้งให้เธอขึ้นสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนไทยนิทัศน์
รับผิดชอบหน้าที่บริหาร
การจัดการเรื่องการจัดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
ตามจังหวัดสำคัญๆ หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า

‘หอวัฒนธรรมนิทัศน์’ และจัดนิทรรศการในทุกเรื่องๆ
ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย

“สิ่งที่ดิฉันภูมิใจมากที่สุด ก็คือนิทรรศการเอกสารโบราณ ซึ่งสวช.
ได้ทำร่วมกับบริติช เคาน์ซิล และบริติช ไลบรารี่ของประเทศอังกฤษ

ได้พบว่าอังกฤษเขาเก็บเอกสารของไทยเราที่เก่าแก่ที่สุดไว้
เป็นลายมือของคนไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์

เขียนสั่งว่าจะซื้อสิ่งของอะไรบ้างจากอังกฤษ
เอกสารนี้อยู่ในห้องสมุดโบธเนน ไลบรารี่

มีอายุตั้ง ๓๐๐-๔๐๐ ปี
อังกฤษได้อนุญาตให้เรานำมาจัดแสดงที่กรุงเทพฯ
ยกของจริงมาเลย
เพราะในเชิงของการจัดแสดงนิทรรศการ
ถือกันว่าถ้าได้ของจริงมาแสดง จึงจะดี
และควีนอลิซาเบ็ธเสด็จมาเปิดงานด้วย พอเราจัดแสดงเสร็จ

อังกฤษเขาก็เอาเอกสารโบราณเหล่านั้นกลับคืนไป
แต่ว่าเราก็ได้ทำสำเนาเก็บไว้หมดเพื่อศึกษาเรียนรู้ต่อไป

ปัจจุบันนี้มีอยู่ที่สวช.และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ”

ทันทีที่การจัดแสดงนิทรรศการระดับชาติได้รับความสนใจจากประชาชนคนไทย
และได้รับเกียรติอย่างสูงจากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธแห่งเครือจักรภพอังกฤษ
เสด็จมาเป็นประธานเปิดงานที่ประเทศไทย
ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จดังกล่าว
ต้องเข้ารับ
ตำแหน่งใหม่อันทรงเกียรติซึ่งนับว่าเป็นเกียรติภูมิแห่งชีวิตเธอ
นั่นคือ การทำหน้าที่เป็นรองผู้แทนถาวรไทยประจำองค์กรยูเนสโก ประเทศฝรั่งเศส
“หน้าที่ของรองผู้แทนถาวรไทย
ก็คือตัวกลางระหว่างองค์กรยูเนสโกกับประเทศไทย
เพราะฉะนั้น ดิฉันต้องไปเข้าประชุมในคณะผู้แทนจากประเทศต่างๆ
เมื่อมีเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยในขอบข่ายของงานวิทยาศาสตร์
การศึกษา วัฒนธรรม เราจะต้องเป็นผู้รายงาน

สองปีที่ทำงานตรงนี้ ดิฉันได้ความรู้เยอะมาก
คิดว่าถ้าเราจะเรียนเหนือกว่าปริญญาเอก
คงต้อง
เรียนแบบนี้ เรียนแบบที่เขาเรียกว่าสหวิทยาการ
โดยเราไม่ต้องเข้าชั้นเรียน เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่
สุด
ทำให้ได้เรียนรู้ว่ากลุ่มมหาอำนาจในโลกเป็นอย่างไร
งานในลักษณะพหุพาคี เขาทำงานกันอย่างไร
วิธีการเจรจาในเชิงการทูตนั้นเป็นอย่างไร
การเข้าร่วมประชุมกับบุคคลที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเลย เราจะทำอย่างไร”

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เดินทางกลับสู่ประเทศไทย
เมื่อหมดวาระของการเป็นรองผู้แทนถาวรไทยฯ

เพื่อมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดี กรมพละศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ตราบถึงวันนี้
...รวม ๑๙ ปี
แห่งการทำงานรับใช้แผ่นดินไทยอย่างภักดี

แม้ว่างานในหน้าที่ปัจจุบันมิได้สอดคล้องกับทิศทางการศึกษาที่เล่าเรียนมา
หรือไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์การทำงานที่เคยได้รับ แต่เธอบอกว่า...
“ดิฉันก็ยึดหลักการอ่านมากๆ ค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้
และถามจากผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้เราได้ความรู้ดี

ตอนที่มาใหม่ๆ ดิฉันดูแลกองยุวกาชาด กองลูกเสือ
จึงรู้ว่ากองลูกเสือของบ้านเรานั้นเป็นสมาชิกองค์กรลูกเสือโลก
อยู่ภายใต้กรอบงานของสหประชาชาติ
เขาเรียกว่าองค์กรเอกชนสำหรับเยาวชนเพื่อกิจการลูกเสือ
ส่วนยุวกาชาดทำงานขึ้นตรงต่อสภากาชาดไทย
เราเป็นสมาชิกของสภากาชาดสากลด้วย
ดิฉันเอากรอบงาน เอามติมาอ่าน
ก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมาก
มาย
ดิฉันคิดว่าทั้งกิจกรรมลูกเสือและยุวกาชาดเป็นสิ่งที่ดีมาก
แต่ว่าเราจะไปให้ถึงข้อดีนั้นได้หรือ
เปล่า
โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของเด็ก
ดิฉันอยากให้เราตระหนักกันมากๆ
เวลาที่ผู้ใหญ่
พาเยาวชนออกไปเข้าค่าย
ต้องระวังความปลอดภัยให้เขาด้วย
และที่ต้องคำนึงอีกประการหนึ่ง
ก็คือผู้ใหญ่จะต้องเป็นแค่ตัวประกอบคอยสนับสนุนเด็กๆ
ผู้ใหญ่ต้องทำให้เด็กหรือเยาวชนได้รับประโยชน์มากที่สุด
จากการเข้าค่ายกิจกรรม พาเขาออกไปเรียนรู้วิธีการอยู่ค่าย
การอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอย่างถูกต้อง
และเรียนรู้ไปถึงการเข้าใจธรรมชาติ การรักษาธรรมชาติ
การได้รับประโยชน์จากธรรมชาติ
เพื่อเราและธรรมชาติจะได้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
เพราะการเรียนรู้เหล่านี้เป็นสิ่งที่ประเสริฐ
เป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับชีวิตคน
นับว่า
เป็นการฝึกให้เขาเป็นคนที่สมบูรณ์พร้อม”
นอกจากการทำงานด้านกองลูกเสือและยุวกาชาดดังที่กล่าวมาแล้ว

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
ยังมีหน้าที่ดูแลควบคุมสำนักพัฒนาสุขศึกษาและพลานามัย
อันเป็นงานวิชาการและงานวิจัย

เพื่อจัดตั้งหลักสูตรเกี่ยวกับวิชาพละศึกษา
โดยเธอมุ่งหวังอย่างยิ่ง
ว่าอยากให้ประชาชนคนไทย
เล็งเห็นประโยชน์ของการพละศึกษา สุขภาพพลานามัย
และมีความรู้เรื่องสุขภาพอนามัยที่ดี
ขณะนี้จึงอยู่ในช่วงสร้างสรรค์แผนงาน
และวางโครงการลงสู่เด็กกับเยาวชนซึ่งคือ
เป้าหมายใหญ่แห่งการพัฒนาสุขศึกษาและพลานามัยของคนในชาติ...

...เสียงประตูหน้าห้อง ‘รองอธิบดี’ ปิดลงเบาๆ
หากเสียงจากวาจาการสัมภาษณ์ ยังดังกังวานอยู่ในเบื้องความคิดคำนึง...

“เกิดเป็นคนต้องต่อสู้ ต้องตั้งใจเรียนให้มาก
ต้องอดทนให้มาก ต้องหาความรู้เพิ่มขึ้น

และไม่ว่าเราจะทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด”




ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
เป็นศิษย์เก่ารั้วจามจุรี
จบปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากนั้น ไปเรียนต่อ ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ได้เกียรตินิยม

อันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยซอร์บอน กรุงปารีส ฝรั่งเศส
ผ่านการอบรมหลักสูตรวิทยาลัย

ป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 46

เริ่มทำงานครั้งแรกที่กรมศิลปากร
ก่อนที่จะมาเป็นหัวหน้าฝ่ายศิลปะและการแสดงสังกัดสำนัก
งานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ก่อนจะออกเดินทางไปรับตำแหน่งเป็น
รองผู้แทนถาวร
ไทยประจำองค์การยูเนสโก
เข้าร่วมในการแก้ไขพิธีสาร
แนบท้ายอนุสัญญากรุงเฮก


เดินทางกลับเมืองไทยเมื่อปี 2541
ขึ้นรับตำแหน่งเป็นรองอธิบดีกรมพลศึกษาจนถึงปี 2545
เปลี่ยนตำแหน่งไปอยู่งานท่องเที่ยวคราวนี้

ได้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
อยู่ในตำแหน่งนี้ตั้งแต่ 2545-2548
ก่อนจะก้าวขึ้นรั้งตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬาจนถึงปัจจุบัน

นอกเหนือจากตำแหน่งงานในเมืองไทย ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ยังมีตำแหน่งเป็นประธาน
เจ้าหน้าที่อาวุโสการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน
และยังเป็นรองประธานคณะกรรมการภูมิภาคเอเซีย
ตะวันออกและแปซิฟิคขององค์การท่องเที่ยวโลกอีกด้วย


ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
ได้รับความเห็นชอบจากมติ ครม (4 กันยายน 2550)


ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวคนใหม่ สืบแทน
นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ซึ่งจะ

เกษียณราชการในวันที่ 30 กันยายนนี้
โดยจะขึ้นรับตำแหน่งปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและ
กีฬาอย่างเป็นทางการในวันที่ 1ตุลาคม 2550 นี้
ก็นับได้ว่า ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
เป็นผู้หญิงเก่งอีกคนหนึ่งในยุคปัจจุบัน




"ศศิธารา"นั่งปลัดท่องเที่ยวกีฬาคนใหม่

เมื่อวันอังคารที่ 4 กันยายน 2550 คณะรัฐมนตรี ได้ทำการแต่งตั้งปลัดกระทรวงคนใหม่ แทนที่ นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ โดยเป็น นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ตามคาด ซึ่งจะเข้าทำงานในตำแหน่งใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550
นางสาว
ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า
รู้สึกดีใจที่ได้รับการไว้วางใจจากนายสุวิทย์ ยอดมณี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงฯ คนใหม่
เพราะในจำนวนผู้อยู่ในเกณฑ์
ตนเป็นคนอายุน้อยที่สุดคือ 52 ปี
แต่ในด้านการทำงาน ก็มั่นใจว่าอายุงานไม่น้อย
โดยนโยบายเร่งด่วน นางสาวศศิธารา กล่าวว่า
จะเน้นเรื่องการวางมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
และการพัฒนาบุคลากร
เพื่อรอง รับการเปิดเสรีบริการในปี 2553
รวมทั้งสานต่อนโยบายต่างๆ
ทั้งด้านท่องเที่ยวและกีฬาของนายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ปลัดกระทรวงคนเก่า


สำหรับประวัติของ นางสาวศศิธารา
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโทและเอก อักษรศาสตร์
เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์
กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 46 (วปอ. 46)
เริ่มรับราชการที่กรมศิลปากร หลังจากนั้น
ปรับย้ายมารับผิดชอบงานฝ่ายข่าวสารและเผยแพร่
หัวหน้าฝ่ายศิลปะการแสดง
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
รองผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
และเป็นเลขานุการกลุ่มประเทศเอเชียและแปซิฟิก
ของคณะผู้แทนแห่งยูเนสโก
เมื่อกลับมาปฏิบัติราชการในประเทศไทย
ในปี 2541 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมพลศึกษา (2541-2545)
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(2545-2548)
รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2548-2550)
ปัจจุบัน เป็นประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน
และรองประธานคณะกรรมการภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
ขององค์การการท่องเที่ยวโลก




From T2

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ.2553

ถูกครม.นายกฯอภิสิทธิ์เด้งฟ้าผ่าเข้ากรุ

เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

ฝ่ายข้าราชการประจำตำแหน่งเลขที่ 1

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแต่

นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์

อดีตปลัดกระทวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ยืนยันชัดเจนว่า
ไม่เสียดายตำแหน่ง
แต่ไม่คาดฝันและไม่คิดลาออกแน่นอน

เพราะไม่เคยทำอะไรผิด หรือมีเรื่องทุจริต

และ มีอายุราชการเหลืออีก 5 ปี





ชื่อ-สกุล : ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์


วันเกิด : ปี พ.ศ.2498

การศึกษา : 

- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 46 (วปอ.46)
- ปริญญาเอก อักษรศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส


- ปริญญาโท อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส
- ปริญญาตรี อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสตรีวิทยา
- ชั้นประถมศึกษา โรงเรียนราชินีบน


การทำงาน /ตำแหน่งหน้าที่ :
- 1 ตุลาคม 2550 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นักบริหาร 11)
- 1 ตุลาคม 2548 รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

- 20 พฤศจิกายน 2545 ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
- 2540 รองอธิบดีกรมพลศึกษา (2540-2545)
- Rapporteur ในการแก้ไขพิธีสาร (Protocol) แนบท้ายอนุสัญญากรุงเฮก
(convention for the Cultural Property in the Event of Armed Conflict : the
Hague convention)
- เลขานุการกลุ่มประเทศเอเชียและแปซิฟิกของคณะผู้แทนแห่งยูเนสโก
- รองผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
- หัวหน้าฝ่ายศิลปะการแสดง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ฝ่ายข่าวสารและเผยแพร่

- กรมศิลปากร

ตำแหน่งอื่นๆ :
- 4 พฤศจิกายน 2551 กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
- 12 มิถุนายน 2551 กรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (กขต.)

- 26 กุมภาพันธ์ 2551 กรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศและท่าอากาศยาน
- 16 ตุลาคม 2550 กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
- รองประธานคณะกรรมการภูมิภาคเอเชียตะวันออก

และแปซิฟิกขององค์การการท่องเที่ยวโลก
ประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน
(Chairperson of ASEAN Heads of NTOs)
- 13 กุมภาพันธ์ 2550 กรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์
จดหมายเหตุและตรวจรายงานการประชุม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญเชิดชูเกียรติ
*มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
*Chevalerie de l'Ordre de la Couronne ประเทศเบลเยี่ยม
*Médaille d'Or du Tourisme ประเทศฝรั่งเศส
*Chevalier dans l'Ordre National de la Légion d'Honneur
ประเทศฝรั่งเศส






วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ.2553
การประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล
เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
เป็นประธาน มีมติสำคัญเกี่ยวกับด้านกีฬา ได้แก่
การโยกย้ายและแต่งตั้งข้าราชการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คือ
การย้าย น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ไปเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี
นายยุทธพล อังกินันทน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวว่า หลังการปรับคณะรัฐมนตรีแล้วนั้น
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ต้องการได้ตัว

น.ส.ศศิธารา มาช่วยงานที่สำนักนายกรัฐมนตรี
โดยรัฐบาลมีความต้องการที่จะเพิ่มมูลค่าของการท่องเที่ยวและกีฬาให้มากขึ้น
การได้คนที่มีความสามารถอย่าง น.ส.ศศิธารา
เข้ามาร่วมงานนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี
ที่จะทำให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วนตำแหน่งปลัดกระทรวงที่ว่างอยู่นั้น จะมีการแต่งตั้งโดยเร็วที่สุด

ด้าน น.ส.ศศิธารา กล่าวว่า ไม่รู้ตัวมาก่อน แต่ก็ต้องยอมรับ
เพราะตนเองมีฐานะเหมือนลูกจ้างบริษัท เมื่อนายจ้างคือรัฐบาล
ตัดสินใจที่จะให้คนอื่นเข้ามาขับเคลื่อนงานได้ดีกว่า

ก็พร้อมที่จะทำหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายต่อไป
แต่ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา
ในการเป็นปลัดกระทรวงก็มีความภูมิใจมาก
และได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ เกี่ยวกับกีฬามากมาย
และยังมีงานกีฬาที่สำคัญอย่างน้อย 2 เรื่อง คือ
แผนยุทธศาสตร์กีฬาไทยสู่ความเป็นเลิศ 8 ปี
ที่รอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และ
โครงการ “รัฐวิสาหกิจรวมพลังกีฬาไทยเข้มแข็ง”
ซึ่งตั้งใจจะมีการเวิร์กช็อปในวันที่ 29 มกราคมนี้

หากทั้ง 2 โครงการนี้เป็นรูปธรรม
ก็จะทำให้วงการกีฬาไทยพัฒนาแบบครบวงจร

น.ส.ศศิธารา กล่าวต่อไปว่า มีความรู้สึกประทับใจวงการกีฬาไทย
และมองว่า ความขัดแย้งที่อาจจะมีอยู่นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ดี
เพราะเรื่องอะไรก็ตามที่ราบรื่นจนเกินไป
หรือการเห็นตามกันเหมือนกันหมด จะไม่ทำให้เกิดการพัฒนา
และ ไม่น่าจะเป็นวิถีของประชาธิปไตย
การพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงครั้งนี้
ไม่ใช่การสิ้นสุดของโลก

ตนยังเหลืออายุทำงานราชการอีก 5 ปี
พร้อมที่จะทำงานได้อีกตามที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนงานต่างๆ ทั้งเรื่องกีฬา และท่องเที่ยว ที่ยังค้างอยู่มาก
ก็ต้องให้ปลัดกระทรวงคนใหม่เข้ามาดำเนินการต่อไป

อนึ่ง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
มาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ในยุคที่ ร.ท.สุวิทย์ ยอดมณี
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
และทำงานกับ “รมต.กีฬา” อีก 2 คน ได้แก่ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์
และนายชุมพล ศิลปอาชา ก่อนจะพ้นตำแหน่งวันที่ 19 มกราคม 2553









19 มกราคม 2553
ครม. ไฟ เขียวย้ายปลัดท่องเที่ยวฯ 
เป็นที่ปรึกษานายกฯ"มาร์ค"อ้างดึงมาช่วยงาน"ไตรรงค์" 
โยน"ชุมพล"แจงเหตุเด้ง "ศศิธารา"เปิดใจทำงานเต็มที่ 
แต่ไม่รู้รมต.ต้องการอะไร 
เล็งตั้ง "อรรถชัย"รอง ผอ.สำนักงบฯแทน 

เมื่อวันที่ 19 มกราคม ที่ทำเนียบรัฐบาล
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้รับโอน
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ตำแหน่งนักบริหารระดับสูง มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ฝ่ายข้าราชการประจำ ตำแหน่งเลขที่ 1 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี ตามที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ เสนอ
และนายกฯ ได้มีบัญชาอนุมัติเรียบร้อยแล้ว

ซึ่ง การโอนย้ายครั้งนี้เป็นไปตามระเบียบ ข้อ 4 ของหนังสือ
สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 4 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552
กำหนดการดำเนินการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง และประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิไป
แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง
โดยแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม
และรับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม ให้ทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจาก ครม.
"ยืนยันว่าการโอนย้ายครั้งนี้
ไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาความขัดแย้งอะไร" นายวัชระ กล่าว

นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เปิดเผยว่า ระหว่างการพิจารณาเรื่องนี้
นายกฯ ได้สอบถามความเห็นของนายชุมพล ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
ซึ่งนายชุมพลระบุว่า ไม่ขัดข้องแต่อย่างใด

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.
ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงกรณีที่ ครม.มีคำสั่งโยกย้าย
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า
เป็นเหตุผลทางการบริหาร
ซึ่งทางนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา
จะเป็นคนชี้แจงรายละเอียด อย่างไรก็ตาม
น.ส.ศศิธาราก็จะมาช่วยงานที่ทำเนียบรัฐบาล
โดยนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี
จะเป็นคนที่ทำงานร่วมกับน.ส.ศศิธารา
เพราะต้องการที่จะใช้งาน
ซึ่งการโยกย้ายครั้งนี้ถือเป็นการโอนขาด
มาจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

นายชุมพล ให้สัมภาษณ์หลังเสร็จสิ้นประชุมครม.ว่า
การโอนย้ายครั้งนี้ มาจากเหตุผลเรื่องความเหมาะสม
เนื่องจากงานด้านการท่องเที่ยวและกีฬา
ขณะนี้มีแผนงานสำคัญหลายอย่าง ที่ต้องดำเนินการ
ต้องติดต่อประสานงานกับหลายหน่วยงาน
จำเป็นต้องมีคนมาช่วยประสานงาน
ซึ่งนางสาวศศิธาราเป็นคนมีความสามารถ
ผลงานที่ผ่านมาดี ไม่มีปัญหาอะไร
จึงมีความเหมาะสมที่จะมาทำงานในหน้าที่นี้
ส่วนคนที่จะมีดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
ก็มีมองไว้หลายคน ทั้งคนนอกและคนในกระทรวงฯ
คาดว่าจะประมาณ 1 สัปดาห์ น่าจะมีความชัดเจน

ผู้ สื่อข่าวถามว่า มีกระแสข่าวการโยกย้ายครั้งนี้
มาจากความต้องการของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เอง
เนื่องจากการทำงานของนางสาวศศิธารา
มีปัญหาความขัดแย้งกับฝ่ายการเมือง
และมีปัญหาเรื่องการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง
นายชุมพล กล่าวว่า “ยืนยันว่าไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง
และไม่มีปัญหาเรื่องทุจริตด้วย อีกทั้งการโอนย้ายลักษณะนี้
กระทรวงไม่มีอำนาจทำได้” นายชุมพล กล่าว

ที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ นางสาวศศิธารา
แถลงเปิดใจกรณีถูกปลดออกจากตำแหน่งว่า
เรื่อง นี้ถือว่ากระทันหัน ไม่รู้ตัวมาก่อน
มาทราบก็หลังจากเข้าสู่การพิจารณาของครม.แล้ว
ที่รู้เพราะคนรู้จักโทรมาบอก ซึ่งคนที่เสนอ
ก็คงจะมีอยู่คนเดียวที่มีอำนาจ คือ
นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ

" ไม่ทราบมาก่อนจริงๆ ว่าจะถูกย้าย
คนที่รู้คงมีอยู่คนเดียวคือ นายชุมพล
เพราะเมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมาก็มีการหารือกันอยู่เกี่ยวกับ
เรื่องของงบประมาณหน่วยงานใน
สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ท่านก็ไม่ได้พูดอะไร"
นางสาวศศิธารา กล่าวและแสดงความเห็นว่า
โอกาสจะได้ย้ายกลับมีน้อย
เพราะเมื่อย้ายไปแล้ว มีคนมาทำหน้าที่แทนก็ย้ายกลับมาไม่ได้
ส่วนตำแหน่งใหม่เป็นที่ปรึกษานายกฯนั้น
เป็นตำแหน่งลอยๆ ไม่มีหน้าที่อะไร
เหมือนย้ายไปนั่งเล่น ก็ดีจะได้ลดความอ้วน (พร้อมกับหัวเราะ)

ส่วน ตำแหน่งอื่นๆที่ยังดำรงอยู่ในช่วงที่เป็นปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
เช่น ประธานยูเอ็นดับบลิวทีโอ และอาเซียนเอ็นทีโอ เป็นต้น
ก็ถือว่าสิ้นสุด จึงส่งผลให้การประชุม
ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอาเซียนที่จะมีขึ้นใน
เร็วๆนี้ก็ต้องยกเลิกไปด้วย

นางสาวศศิธารา กล่าวว่า การทำงานที่ผ่านมารู้สึกภูมิใจที่ได้ทำ
กลายเป็นผลงานของกระทรวงฯ และรัฐบาล
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในช่วงที่กลุ่มผู้ชุมนุมทางการ
เมืองปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จที่ส่งผล
ให้การท่องเที่ยวต่างชาติฟื้นตัวได้เร็ว เป็นต้น
ส่วนประเด็นเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมเชียงใหม่
ก็ไม่มีปัญหา ทุกอย่างดำเนินการด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ไม่อย่างนั้นคงถูกบริษัทเอกชนฟ้องร้องไปแล้ว
การสรรหาผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ที่ได้
นายสุรพล เศวตเศรนี เป็นผู้ว่าการคนใหม่ ก็ไม่มีปัญหา
และไม่มีการร้องเรียนเกิดขึ้นอีก ทุกอย่างโปร่งใส
"การจัดซื้อจัดจ้างได้แนบหลักฐานทุกอย่างครบ
จึงมั่นใจว่าไม่เคยทำอะไรผิดในเชิงทุจริต
ในชาติตระกูลไม่มีใครทำอะไรทุจริต
ถ้าบอกว่าทุจริต คงไม่มีใครเชื่อ"
นางสาวศศิธารา กล่าวและว่า ที่ผ่านมาทำงานเต็มที่
แม้แต่ในช่วงปิดสามบินที่ไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
ทำงานคนเดียว ก็ทำงานเต็มหน้าที่ ไม่มีอะไรค้าง
จะมีบ้างก็คงจะเป็นเรื่องของกีฬา
ยอมรับว่ามีอยู่เป็นจำนวนมากที่ค้างอยู่
เพราะทำหลายเรื่อง

นางสาวศศิธารา กล่าวว่า คาดการณ์ว่าการย้ายครั้งนี้
คงเป็นการย้ายขาด ยืนยันว่าไม่คิดน้อยใจ "
ที่ผ่านมาท่าน(นายชุมพล ศิลปอาชา) ก็ให้ความเมตตา
แต่ก็ไม่รู้ว่าท่านต้องการอะไร
ตลอดอายุการทำงานในกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
ตั้งแต่ปี 2525 รวม 28 ปี เป็นคนเชื่อฟังนาย
เชื่อมั่นในความถูกต้อง และไม่เคยมีปัญหากับรัฐมนตรีคนไหนเลย
แต่ยอมรับว่าการโยกย้ายในครั้งนี้ถือว่าแปลก
เพราะไม่ใช่ช่วงฤดูกาลโยกย้าย
และยังไม่ครบกำหนดวาระ 4 ปี "

นายยุทธพล อังกินันทน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
ได้เปิดแถลงข่าว โดยแจ้งว่านายชุมพลมอบหมาย
ให้แถลงข่าวการโยกย้ายนางสาวศศิธารา

นาย ยุทธพล กล่าวว่า การโยกย้ายครั้งนี้เป็นการเรียกตัวมาจาก
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทรวงการท่องเที่ยวฯไม่ได้เสนอไป
คาดว่า คงต้องการให้นางสาวศศิธารา
ช่วยงานเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับโลก
เพราะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเรื่องการท่องเที่ยว
ดังนั้น การถูกโยกย้ายไม่ใช่การทำโทษ
ผู้ส่วนที่จะทำหน้าที่แทนนางสาวศศิธารานั้น
อยู่ระหว่างการทาบทาม นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นระดับ 10 เท่ากัน
มาทำหน้าที่แทน เพราะเห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
ด้านการบริหาร ตำแหน่งนี้
ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการท่องเที่ยวและกีฬา ก็ได้
สังเกตจากคนเป็นรัฐมนตรีก็ไม่จำเป็นต้องจบท่องเที่ยวหรือกีฬา
ก็เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้

----------------------------------------------


ประวัตินางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์

ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรี อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท อักษรศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
มหาวิทยาลัยซอร์บอร์น ประเทศฝรั่งเศส
ปริญญาเอก อักษรศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
มหาวิทยาลัยซอร์บอร์น ประเทศฝรั่งเศส
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 46 (วปอ.46)

ประวัติการทำงาน
หัวหน้าฝ่ายศิลปะการแสดง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
รองผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
เลขานุการ กลุ่มประเทศเอเชีย และแปซิฟิกของคณะผู้แทนแห่งยูเนสโก
พ.ศ.2541 - 2545 รองอธิบดีกรมพลศึกษา
พ.ศ.2545 - 2548 ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
พ.ศ.2548 - 2550 รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
พ.ศ.2550 - 2553 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ก่อนถูกโยกย้าย)


ปัจจุบัน
ประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน
รองประธานคณะกรรมการภูมิภาคเอเชียตะวันออก
และแปซิฟิกขององค์การการท่องเที่ยวโลก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญเชิดชูเกียรติ
มติชน
20 มกราคม 2553


เอกชนค้านเด้ง"ศศิธารา"พ้นปลัดท่องเที่ยว ลั่นผลเจ๋ง นานาชาติยอมรับ
วอน"ชุมพล"ทบทวนใหม่

ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว17 สมาคมรวมตัวแถลงจุดยืนไม่เห็นด้วย
การย้าย"ศศิธารา"พ้นปลัดการท่องเที่ยว แจงผลงานดี
ช่วยฉุดท่องเที่ยวฟื้นและเป็นที่ยอมรับนานาชาติ
ถ้าต้องไปจริงกระทบแน่ เรียกร้อง"ชุมพล"ทบทวนใหม่

นายเจริญ วังอนานนท์ โฆษกสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (เฟตต้า)
ซึ่งประกอบด้วยสมาคมผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว 17 สมาคม เปิดเผย
เมื่อวันที่ 20 มกราคมว่า วันที่ 21 มกราคมนี้ สมาคมต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
จะร่วมแถลงข่าวเพื่อแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการโยกย้าย
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ออกจาก
ตำแหน่งปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ
เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินงานของน.ส.ศศิธาราที่ผ่านมา
ได้ช่วยเหลืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยมาอย่างต่อเนื่อง
จึงต้องการให้นายชุมพล ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ทบทวนเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง

"ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมากกับการโยกย้ายครั้ง นี้
จึงต้องการให้นายชุมพล เปลี่ยนใจใหม่ให้นางสาวศศิธารา
ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯต่อไป" นายเจริญกล่าว

นายเจริญ กล่าวว่า จากการสอบถามสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวรวม 10 สมาคม
ได้แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เสียดายที่น.ส.ศศิธาราถูกโยกย้าย
เพราะเป็นผู้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง
จนการท่องเที่ยวของไทยกำลังจะฟื้นตัวและเดินไปได้ด้วยดี
แต่กลับต้องถูกปลดออกจากตำแหน่งและเห็นว่าการท่องเที่ยวในช่วงนี้ไม่สามารถ
รอให้คนที่ไม่รู้งานมาเรียนรู้งานใหม่ได้
เพราะจะเสียโอกาส การให้คนที่มีความรู้ความสามารถเรื่องของการท่องเที่ยวอยู่แล้ว
เร่งผลักดันการดำเนินงาน จะส่งผลให้การท่องเที่ยวของไทยเดินทางไปได้เร็วมากกว่า

นายเจริญ กล่าวว่า การโยกย้ายน.ส.ศศิธารา
จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทยอย่างแน่นอน
เพราะนอกจากจะขาดการสานต่องานที่รวดเร็วแล้ว
ยังอาจจะส่งผลถึงความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติด้วย
เนื่องจากน.ส.ศศิธารา เป็นผู้มีความรู้ความสามารถจนนานาประเทศให้การยอมรับ
และได้รับความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในเรื่องของการท่องเที่ยวด้วยดีตลอดมา
"ไม่เข้าใจนายชุมพล ไม่พอใจนางสาวศศิธาราเรื่องอะไร
ทั้งที่นางสาวศศิธาราคอยปกป้องนายชุมพลอยู่ตลอดเวลา
การที่นายชุมพลออกมาบอกว่านางสาวศศิธาราเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
จึงให้ไปช่วยงานที่สำนักนายกรัฐมนตรี ยิ่งไม่เข้าใจว่า
ในเมื่อมีความรู้ความสามารถแล้วปลดทำไม" นายเจริญ กล่าว
ด้าน น.ส.มัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศศ
นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.)
กล่าวว่า หลังทราบข่าวเรื่องดังกล่าวรู้สึกตกใจมาก
และรู้สึกเสียดายที่ต้องเสียคนเก่งไป ตั้งแต่ปี 2551-2552
น.ส.ศศิธาราทำงานมาด้วยกันตลอด
ทำในนามของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
ไม่ได้ทำในนามของตัวเองแต่อย่างใด
จนภาคเอกชนสามารถพึ่งพาหน่วยงานภาครัฐได้แล้ว
แต่ก็ต้องเกิดปัญหาขึ้นมาอีก

"ภาคเอกชนงงว่าเกิดอะไรขึ้น ทุกอย่างกำลังจะไปได้ดีก็ต้องมาสะดุดอีก
และอาจจะกระทบกับการท่องเที่ยวไทยด้วย
จึงอยากให้ท่านกลับมาเป็นปลัดอีก" น.ส.มัยรัตน์กล่าว

ขณะที่นายยุทธพล อังกินันทน์
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
กล่าวถึงกรณีการแต่งตั้ง
นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ซึ่งเป็นระดับ 10 ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งเป็นระดับ 11 ว่า
ขณะนี้ยังเป็นเพียงการทาบทามให้เข้ารับตำแหน่งเท่านั้น
ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นนายอรรถชัยร้อยเปอร์เซ็นหรือไม่
ส่วนกรณีที่หลายคนสงสัยว่าการแต่งตั้งระดับ 10 ขึ้นเป็นระดับ 11
ในช่วงนอกฤดูกาลโยกย้าย จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่นั้น
ในเรื่องนี้ยังตอบไม่ได้ คงต้องดูในแง่กฎหมายก่อน และคงต้องให้นายชุมพล
เป็นคนให้รายละเอียดในเรื่องนี้
มติชน
25 มกราคม 2553



ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ร่วมแสดงมุทิตาจิต ผู้เกษียณอายุราชการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๖ 
ในงาน"เกษมสานต์ วารเกษียณ" ๑๓ กันยายน ๒๕๕๖ ณ หอประชุมใหญ่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่
ซึ่งผู้เกษียณอายุราชการประกอบด้วน นางจรัสศรี ยงวนิช ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น
 นางสาวมาลินี หงษ์หยก ครูชำนาญการพิเศษ/

นางสาวยุเพ็ญ เอื้องอุดม ครูชำนาญการ/ นายสากล รัตนดวงแสง ลูกจ้างประจำ










Secretary General of the Office of the Vocational Education


เลขาฯใหม่กอศ. ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
ข่าวสดรายวัน
วันที่ 07 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ครม.มีมติ ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์

รับตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.)

จากที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 

ฝ่ายข้าราชการประจำสำนักเลขาธิการนายกฯ สลับเก้าอี้กับ 
พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา

การเมืองเรื่องสเป๊กวัสดุครุภัณฑ์ และบางเรื่องที่ตกลงกันไม่ได้ 

ส่งผลคนเก่าตกเก้าอี้ หลังถูกตามบี้มานาน
และอีกงานใหญ่ทำเป้าให้ 
สัดส่วนจำนวนนักเรียนสายอาชีวะเท่ากับสายสามัญ
นโยบายรัฐบาลที่ต้องการแก้ปัญหาตกงาน และแรงงาน

เกิด พ.ศ.2498 อายุ 55 ปี 

ปริญญาตรีอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ปริญญาโทและ 
ปริญญาเอกอักษรศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) 
มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ฝรั่งเศส 
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 46

เริ่มงานที่กรมศิลปากร เป็นหัวหน้าฝ่ายศิลปะการแสดง 

สำนักงานคณะกรรม การวัฒนธรรมแห่งชาติ

รองผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การยูเนสโก กรุงปารีส 

และเลขานุการกลุ่มประเทศเอเชียและแปซิฟิกของคณะผู้แทนแห่งยูเนสโก

กลับมาเป็นรองอธิบดีกรมพลศึกษา 


2545ปฏิรูป ระบบราชการ แยกกีฬาจากกระทรวงศึกษาธิการ 

ขึ้นเป็นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 
เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ตามด้วยรองปลัดกระทรวง 

1 ตุลาคม 2550 เป็นปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 


ทั้งยังเป็นรองประธานคณะกรรมการภูมิภาคเอเชียตะวันออก 

และแปซิฟิกขององค์การการท่องเที่ยวโลก 
แจ๊กพอตเมื่อต้นปี เด้งจากที่นั่งปลัดกระทรวงท่องเที่ยวฯ 
ไปเข้ากรุเก็บกระเป๋าทั้งที่งงๆ 


4 เดือนเศษ กลับถิ่นเสมา รับมือทั้งการอาชีวะและการเมือง 
หน้า 6



เลขาฯ"ศศิธารา"เดินหน้าแนวคิดจัดตั้ง"สถาบันการอาชีวศึกษา"




คมชัดลึก
วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2553

น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ว่าที่เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้หารือกับ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการเกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 
ซึ่ง รมช.ศึกษาธิการเห็นด้วย แต่ต้องยืนอยู่บนฐานความ 
ต้องการของภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ 
อีกทั้งต้องการให้ สอศ.ศึกษาและสรุปข้อมูลด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และความต้องการแรงงานในพื้นที่ให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ

น.ส.ศศิธารา กล่าวต่อว่า ได้มอบให้รองเลขาธิการ กอศ.ทั้ง 3 คน ไปดำเนินการ โดยนายกมล รอดคล้อย ไปทำความเข้าใจและรับฟังเสียงสะท้อน จากคนใน สอศ.ทั้งหมด 4.5 หมื่นคน 
เกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา มอบให้ นางศิริพร กิจเกื้อกูล ทำแผนด้านบุคลากรของสถาบันการอาชีวศึกษา 
รวมทั้งศึกษาด้วยว่า เมื่อจัดตั้งสถาบันแล้วแต่ละแห่งจะต้องลดหรือเปิดหลักสูตรใดเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมในพื้นที่ ส่วน นายประดิษฐ์ ระสิตานนท์ 
ให้ดูเรื่องการบริหารจัดการของสถาบันการอาชีวศึกษา

“หลังจากทำความเข้าใจกับคนของ สอศ.ทั้งหมด 4.5 หมื่นคนแล้ว 
จะไปคุยกับภาคเกษตร อุตสาหกรรมในพื้นที่ 
เพื่อเก็บข้อมูลมาทำเป็นฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่ทันสมัย 
ใช้เป็นฐานพิจารณาจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา
ภายในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ ทุกอย่างจะชัดเจน" น.ส.ศศิธารา กล่าว 




หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2553

นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พร้อมด้วย ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาในสังกัดพร้อมตั้งศูนย์"อาชีวะร่วมด้วยช่วยประชาชน" ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดที่ประสบภัย





16. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)



คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรง ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 11 ราย ดังนี้



1. นายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ



2. างสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ



3. นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ



4. นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ



5. นายอกนิษฐ์ คลังแสง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ



6. นายวิมล จำนงบุตร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ



7. นายสมบัติ แสงสว่างสัจกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ



8. นางสุทธศรี วงษ์สมาน รองเลขาธิการสภาการศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ



9. นางสาวจิรพรรณ ปุณเกษม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาการศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ



10. นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ



11. นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ



ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป







  ศ. ดร. สุชาติ ธาดาธำรงเวช



“ศศิธารา” รับรู้ตัวล่วงหน้าถูกโยกนั่ง
เลขาฯ สกศ.ยันไม่มีความขัดแย้ง
และเรียน วปอ.รุ่นเดียวกับ “พนิตา”
สนิทสนมกันดี เตรียมทำพิธีส่งมอบงานให้ 1 ตุลาคมนี้
เผย “สุชาติ” ให้เหตุผลว่า
อยากให้ไปช่วยทำแผนนโยบายการศึกษา

ขณะที่ “พนิตา”ไฟแรง บอกงานการศึกษาที่อยากทำมากที่สุด
คือ สร้างเยาวชนพันธุ์ใหม่แต่เตรียมพบ รมว.และ รมช.ศึกษาฯ
ขอทราบนโยบายการทำงานก่อน

วันนี้ (18 ก.ย.) น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
เปิดเผยภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
มีมติให้ นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
มาดำรงตำแหน่ง ปลัด ศธ และให้ น.ส.ศศิธารา
ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)
แทน นายอเนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ อดีตเลขาธิการ สกศ.
ที่ไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการ บมจ.อสมท
ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 ตุลาคม 2555
ว่า ทราบแล้วว่า ครม.มีมติดังกล่าว
โดยการปรับเปลี่ยนนี้เป็นการโยกย้ายตามธรรมดา
ของผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง
ซึ่ง ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ
ได้บอกกับตนว่า ที่ผ่านมา สำนักงานปลัด ศธ.
ได้ช่วย รมว.ศึกษาธิการ ทำงานในหลายๆ เรื่อง
ทั้งเรื่องครบรอบ 1 ปี ศธ.
และทำงานในเรื่องนานาชาติได้พอสมควรแล้ว
ซึ่งต่อไป ศ.ดร.สุชาติ ระบุว่า
อยากให้ความสำคัญเรื่องแผนงาน ยุทธศาสตร์
และนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะในอีก 6 เดือนข้างหน้า
รัฐบาลจะทำงานมาครบ 1 ปี กับ 6 เดือน
เพราะฉะนั้นน่าจะมีแผนงานนโยบายที่เป็น
โครงการออกมา จาก 31 นโยบาย ที่ รมว.ศึกษาธิการ
ได้มอบให้ดำเนินการ รวมทั้งยังมีอีกหลายเรื่อง
ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ
ทั้งในส่วนของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
และในเรื่องของแผนงานต่างๆรวมถึงการศึกษาเอกชน
และอุดมศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามตามที่นายกฯได้แถลงไว้
กับสภาผู้แทนราษฎร เพราะฉะนั้น
ตนก็จะไปทำงานในเชิงยุทธศาสตร์ มากขึ้นโดยตนเอง
ก็จะประสานงานกับ นางพนิตา
และจะมีพิธีมอบงานกันในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

“ในวันดังกล่าวดิฉันก็จะกราบลาสิ่งศักดิ์สิทธิ ของ ศธ.
เพื่อไปอยู่ที่ สกศและจะจัดทำเอกสารรับมอบงานเพื่อส่งมอบให
ในเวลา 10.00 น ซึ่งต้องขอบคุณ นายสุชาติ
ที่ให้ความไว้วางใจ และชื่นชมตลอดเวลา
ที่ดิฉันทำงานในฐานะปลัด ศธ.
และขอตอนรับ นางพนิตา ซึ่งมีความคุ้นเคยกันอย่างดี
เพราะเคยเรียนวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร( วปอ.)
รุ่นเดียวกัน จึงมีความสนิทสนมคุ้นเคย
เชื่อมั่นว่า นางพนิตา ซึ่งเคยเป็นปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)จะสามารถทำงานที่ ศธ.
ได้อย่างสบาย โดย นางพนิตา
จะมีวาระการดำรงตำแหน่ง
กว่าจะเกษียณอายุราชการในอีก 1 ปี
ซึ่งในช่วงระยะเวลา 1 ปีนี้ ศธ.ก็ยินดีตอนรับ
และเชื่อว่า เราจะทำงานร่วมกันทั้ง 5 องค์กรหลักได้อย่างดี”
ปลัด ศธ.กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ศ.ดร.สุชาติ ให้เหตุผลอื่นๆ อีก
หรือไม่ในการโยกย้ายครั้งนี้ น.ส.ศศิธร
 กล่าวว่า รมว.ศึกษาธิการ 
ได้ให้เหตุผลอย่างที่บอกไปว่า นางพนิตา
มีความเหมาะสม และมีความรู้ความสามารถหลายอย่าง
เพราะงานของ พม.และ ศธ.ก็มีความคล้ายคลึงกัน
อยากบอกเพื่อนชาว ศธ.ว่า อย่าน้อยใจไปเลย
เราอยู่ในตำแหน่งระดับสูง
การหมุนเวียนการทำงานเป็นเรื่องธรรมดา
ดูอย่างพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
เป็นตำรวจก็ยังไปอยู่กระทรวงคมนาคมได้

“เดี๋ยวนี้เขาต้องมีความรอบตัว
อยู่ที่ไหนก็ต้องทำงานได้ เมื่อคืนวันที่ 17 กันยายน 
ดิฉันก็อยู่กับ ศ.ดร.สุชาติ จนค่ำมืด
และเป็นคนช่วยพิมพ์เอกสารเอง อะไรเอง
เมื่อเช้าก็เอาเอกสารไปยื่นที่ ครม.เอง
จริง ๆ รู้ว่าเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว
เพราะฉะนั้นไม่มีความขัดแย้ง หรือมีข้อสงสัยอะไรทั้งสิ้น”
ปลัด ศธ.กล่าวและว่า
ส่วนเรื่องการตรวจสอบ
กรณีการทุจริตจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษานั้น
คงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายครั้งนี้












นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา

ด้าน นางพนิตา ว่าที่ปลัด ศธ.ให้สัมภาษณ์ว่า
ต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่ให้เกียรติ
และไว้วางใจอย่างมากในการให้มาทำหน้าที่ที่ ศธ.คิดว่า
งาน พม.ซึ่งมีพื้นฐานงานด้านสังคมครอบคลุม
ทุกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเดียวกับ
กระทรวงศึกษาธิการเช่นกัน
จึงน่าจะเรียนรู้และทำได้ไม่ยาก
โดยเพียงนำหัวใจของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ เป็นตัวตั้ง
เพื่อเรียนรู้และเข้าใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
เพื่อเรียนรู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ
และการบริหารงาน ตนยึดหลักความเมตตาธรรมมากกว่าอำนาจ
จะไม่ทำอะไรที่ผิดระเบียบ ผิดกฎหมาย
ซึ่งรวมถึงไม่สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำในสิ่งที่ไม่ถูก
จึงขอให้สบายใจ
ทั้งนี้ โดยพื้นฐานของการทำงานที่ พม.
ที่เป็นทั้งนักบริหาร และนักพัฒนาสังคม รวมทั้ง 1 ปี
ที่ยังมีอายุราชการเหลืออยู่
จะทำงานให้คุ้มค่ากับที่รัฐบาลให้ตนมาพักอยู่
ในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ฝ่ายข้าราชการประจำถึง 4 เดือน 20 วัน
ผู้สื่อข่าวถามถึงงานการศึกษาที่สนใจเป็นพิเศษ
นางพนิตา กล่าวว่า
ตั้งใจอยากทำงานการศึกษามากมาย
แต่เนื่องจากโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ
ที่แยกเป็นแท่งและมีความเป็นอิสระ
จึงต้องอาศัยหลักการประสานงาน
โดยเฉพาะสิ่งที่ตนอยากทำมากที่สุด คือ
การสร้างเยาวชนพันธุ์ใหม่
ที่เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของ
การพัฒนาบุคลากรชาติในอนาคต
จึงอยากให้มีการบรรจุให้เด็กไทยทุกคนเรียนรู้ความเป็นจิตอาสา
จิตสาธารณะไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แต่หากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ไม่สามารถดำเนินการได้คล่องตัว
ก็อาจจะอาศัยสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด
และกิจกรรมนักเรียน
ภายใต้สำนักงานปลัดกกระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ
นอกจากนี้ตนอยากเห็นนักศึกษาอาชีวะ
มอบดอกไม้ให้กับชุมชนแทนอาวุธ
หรือการจับอุปกรณ์การเรียน
มาเป็นอาวุธก่อเหตุทะเลาะวิวาท
โดยอาจจะประสานให้นักศึกษาอาชีวะ
เข้าไปช่วยเหลือชุมชนด้านต่างๆ
ทั้งการซ่อมแซมบ้านเรือน อุปกรณ์
รวมทั้งร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างความภาคภูมิใจกับความเป็นนักศึกษาอาชีวะกับชุมชน
อย่างไรก็ตามหลังโปรดเกล้าฯ
เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ คงต้องเข้าพบ
รมว.และ รมช.ศึกษาธิการ
เพื่อขอทราบแนวทางการทำงานก่อน



“สุชาติ” โบ้ยโยก “ศศิธารา” เป็นความเห็นของ “ยิ่งลักษณ์”
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
โยก “ศศิธารา” นั่ง เลขา สกศ.เป็นความเห็นนายกฯ ปัดยังไม่คุยกับนายกฯ หลังสื่อยื่นหนังสือร้องเรียนการทำงาน ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่แต่งตั้งโยกย้ายให้ นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แทน ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ที่โยกย้ายไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษา ว่า
เรื่องนี้ได้สอบถามจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และเป็นความเห็นร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี และตนที่มีการขอปรับเปลี่ยนตำแหน่งดังกล่าว และก็เป็นการโยกย้ายตามปกติ เพราะได้ย้าย ดร.ศศิธารา ไปในตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจาก ดร.เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ อดีตเลขาธิการสภาการศึกษาได้ลาออกจากตำแหน่งไปจึงทำให้ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง สำหรับตนไม่มีความเห็น
และยืนยันเป็นความเห็นร่วมกันระหว่างตนและนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ให้เหตุผลการโยกย้ายครั้งนี้แต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้คุยกับนายกรัฐมนตรีเรื่องที่สื่อมวลชนสายการศึกษาได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึงการทำงานของท่านหรือยัง ศ.ดร.สุชาติ กล่าวว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้คุย และยังไม่เจอนายกรัฐมนตรีเลย




การอ่าน โองการอัญเชิญบูรพาจารย์ โดย ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
ตัดมาจาก ถ่ายทอดสด กิจกรรมวันครูคุรุสภา 2555 ช่อง 11
วันที่ 16 มกราคม 2555 ณ หอประชุมคุรุสภา กรุงเทพมหานคร




วันที่ 1 ต.ค. น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้อำลาตำแหน่งปลัดศธ.
เพื่อไปรับตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) โดยน.ส.ศศิธรา กล่าวขอขอบคุณทุกคนที่ร่วมกันทำงานมากว่า 1 ปี 
ต่อจากนี้จะไปรับหน้าที่เป็นเลขาธิการสภาการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 องค์กรหลักของกระทรวง ตามที่ ศ.ดร.สุชาติ ไว้วางใจ
จึงรู้สึกภูมิใจและดีใจ เพราะสภาการศึกษาถือเป็นมันสมองของการศึกษาไทย
ดังนั้นจะพยายามทำให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีเรื่องที่ค้างอยู่คือ
การสรรหาประธานคุรุสภาและต้องรอให้ นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัด ศธ.คนใหม่มาสานงานต่อให้แล้วเสร็จ รมว.ศธ.เลือกและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติต่อไป









ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา
กล่าววัตถุประสงค์และสาระสำคัญการจัดงานปร­ะชุมสัมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี 2556
วันที่ 23 มิถุนายน 2556  

ล้างบางทุจริต กระทรวงศึกษาฯ

ศศิธาราชี้แจงกรณีกล่าวหาทุจริตครุภัณฑ์ รมว.ศธ.รอความจริงปรากฏ


ดีเอสไอเร่งตรวจสอบทุจริตจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา


8 กันยายน 2554


อภิชาติ จีระวุฒิ


จาตุรนต์ ฉายแสง

http://www.thaipost.net/news/230114/84995

อ.ก.พ. สกศ. ต่อลมหายใจ "ศศิธารา"


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000009850
 

 “ศศิธารา” โอดตกเป็นแพะของเกมการเมืองคดีทุจริตครุภัณฑ์ ชี้ยืดเยื้อกว่า 2 ปี ถูกตราหน้าเป็นคนโกง วอนขอความเป็นธรรมบ้าง มั่นใจการขยายเวลา 15 วันให้คณะกรรมการสอบสวนฯ หาข้อมูลเพิ่มส่งผลดี สะท้อนว่าหลักฐานขาดความถูกต้องแม่นยำ จนกรรมการไม่กล้าตัดสิน เผยล่าสุดแจ้งความพร้อมตั้ง กก.สืบข้อเท็จจริง “นภมณฑล” ทำหน้าที่เลขานุการ ก.พ.อ.สกศ.ที่ผ่านมาในข้อหาปลอมแปลงเอกสารราชการ ลั่นไม่ใช่การกลั่นแกล้ง แต่ยึดตามระเบียบราชการ เพราะมีหลักฐานชัด

       น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยถึงกรณีที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง ซึ่งมี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 21 มกราคม ที่ผ่านมา มีวาระการพิจารณาโทษทางวินัย น.ส.ศศิธารา กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนพื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) : ไทยเข้มแข็ง 2555 สูญหายและส่อว่าจะเกิดความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดโครงการดังกล่าวเมื่อ ครั้งดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) โดยที่ประชุมใช้เวลา10 ชั่วโมงก่อนจะมีมติเอกฉันท์ให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ที่มีนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ กพฐ.ไปสอบสวนเพิ่มเติมว่าการกระทำ น.ส.ศศิธารา สร้างความเสียหายต่อราชการอย่างไร โดยให้เวลาสอบสวนเพิ่มเติมและสรุปผลภายใน 15 วัน ว่า ตน ได้ตั้งข้อสังเกตมาแต่ต้นว่าการประชุม อ.ก.พ.สกศ.ที่ผ่านมา มีความไม่ชอบมาพากล ถูกกำหนดให้มีการประชุมอย่างเร่งด่วนทั้งที่อยู่ในช่วงระยะเวลารัฐบาล รักษาการ อีกทั้งการประชุมในวันดังกล่าวองค์ประชุมก็ไม่ครบจำนวน 13 คน มีเพียง 7 คน คือ รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ผู้แทนคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และ ผอ.สำนักของ สกศ.5 คน แต่ขาดผู้แทนจากกรมที่ยังไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการใน อ.ก.พ.สกศ.และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ด้าน คือ การบริหาร กฎหมาย และการจัดการ
น.ส.ศศิธารา กล่าวต่อว่า ยังมีปัญหาเรื่อง ความไม่ชัดเจนของผู้เป็นเลขานุการการประชุม อ.ก.พ.สกศ.คือ นายนภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม ที่ปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่ในด้านการบริหารงานบุคคลแล้ว จึงไม่เป็นไปตามมติที่ประชุม อ.ก.พ.สกศ.เมื่อครั้งนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน อ.ก.พ.สกศ.ครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2555 ซึ่งมีมติรับทราบการตั้งคณะอนุกรรมการสามัญประจำ สกศ.ซึ่งกำหนดให้ผู้ทำหน้าที่เลขานุการ เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมก็ได้รับรองผล การประชุมครั้งนั้น แต่ในการประชุม อ.ก.พ.สกศ.ล่าสุดกลับปรากฏเอกสารวาระการประชุมครั้งดังกล่าว แต่มีการเพิ่มเติมเนื้อหาว่าที่ประชุมรับทราบและเห็นชอบให้ นายนภมณฑล ทำหน้าที่เลขานุการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการปลอมแปลงเอกสารเกิดขึ้นและ แม้ตนจะพยายามโต้แย้งเพื่อขอให้มีการตั้งเลขานุการในการประชุมใหม่แต่ รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ยืนยันที่จะให้ นายนภมณฑล ทำหน้าที่ดังกล่าวต่อเพราะเห็นว่าดำเนินการมาแต่ต้น ขณะเดียวกัน ตนยังพบว่ามีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแจ้งเปลี่ยนผู้แทน ก.พ.ที่แจกในที่ประชุมก็มีการถูกเปลี่ยนแปลง ไม่มีสำเนาลายเซ็นของตนที่เซ็นกำกับไว้ในท้ายหนังสือปรากฏเด่นชัด แต่กลับพบเพียงเลือนลาง

       “ดิฉันได้ไปแจ้งความเอาผิด นายนภมณฑล ที่ สน.สามเสน เมื่อวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมา ในข้อหาปลอมแปลงเอกสารราชการ โดยได้รวบรวมเอกสารทั้งหมดที่มีและยืนยันได้ว่าเป็นเอกสารการประชุมที่มีการ รับรองอย่างถูกต้องรวมทั้งเอกสารที่สงสัยว่าน่าจะมีการปลอมแปลงส่งมอบให้กับ เจ้าหน้าที่เรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกัน ดิฉันจะตั้งคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริงกรณีเดียวกันกับ นายนภมณฑล และจะสืบหาว่ามีผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ อย่างไร เพราะมีหลักฐานค่อนข้างชัดเจนว่าเอกสารมีการปลอมแปลง หากพบว่ามีมูลก็จะไปสู่ขั้นตอนการสอบสวนวินัย ทั้งนี้ ยืนยันว่าการกระทำดังกล่าวไม่ใช่การกลั่นแกล้ง นายนภมณฑล เป็นการทำตามขั้นตอนระเบียบราชการ ดิฉันมีความเป็นมืออาชีพและเข้าใจในระบบ ระเบียบเป็นอย่างดี” น.ส.ศศิธารา กล่าวและว่า ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลา 15 วัน ตนก็จะทำหน้าที่ของตนต่อไป โดยสัปดาห์นี้จะนัดประชุม อ.ก.พ.กรม เพื่อแต่งตั้งกรรมการให้ครบองค์ประชุม เพื่อที่เมื่อมีการเรียกประชุม อ.ก.พ.สกศ.เมื่อใดจะได้มีองค์ประชุมครบ

       ผู้สื่อข่าวถามว่า การพิจารณาและตัดสินโทษทางวินัยในขณะที่เป็นรัฐบาลรักษาสามารถทำได้หรือไม่ น.ส.ศศิธารา กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่สถานการณ์ที่เหมาะสม เพราะเป็นการพิจารณาที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลากร ไม่ใช่การบริหารงานทั่วไป ทั้งจะกลายเป็นการสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งเคยทำหนังสือ ชี้แจงและแย้งในที่ประชุมแล้วแต่ได้รับการยืนยันที่จะเดินหน้าต่อ ซึ่งในที่สุดเมื่อคณะกรรมการสอบสวนฯ สรุปผลให้ อ.ก.พ.สกศ.พิจารณาตัดสิน ตามขั้นตอนหากผลตัดสินว่าตนมีความผิดก็ต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุม ก.พ.ใหญ่ ส่วนตนก็ยื่นอุทธรณ์ได้ตามสิทธิแต่ทั้งหมดนั้นก็ต้องมองย้อนไปสู่จุดเริ่ม ต้นของการสอบสวนด้วยว่าเป็นไปอย่างชอบธรรมหรือไม่

       “อยากจะขอความเป็นธรรมบ้างที่ผ่านมานับแต่เริ่มมีกระบวนการสอบสวน วินัยดิฉันก็ไม่ ได้รับความเป็นธรรมในหลายรูปแบบ อาทิ ถูกตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงโดยที่ยังไม่มีการสืบหาข้อเท็จจริง การทำหนังสือไปขอเอกสารจากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการขอเอกสารข้อมูลแบบ คลุมเครือ เช่น ระบุการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ฯ วงเงิน 1,500 ล้านบาท ทั้งที่วงเงินจริงเพียง 120 ล้านบาท ทำให้หน่วยงานต่างๆ ตอบกลับมาว่าไม่มีเอกสารตามที่ขอไป เป็นต้น ทั้ง นี้ มองว่าการหารือในประชุมยาวนาน 10 ชม.และมีมติให้หาข้อมูลเพิ่มเติมอีก 15 วันก็เป็นผลดีกับตัวดิฉันทำให้คิดได้ว่าหากการสอบสวนชอบธรรมมีข้อมูลครบถ้วน แม่นยำ น่าเชื่อถือให้ อ.ก.พ.สกศ.คงไม่ใช่เวลามากขนาดนี้ แต่คาดว่ากรรมการหลายท่านคงไม่มั่นใจเกรงว่าตัดสินใจใดๆ ไปอาจมีผลทางปกครอง อย่างไรก็ตาม เรื่องที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงหลายฝ่ายรวมถึงในทางการเมือง ดิฉันกลายเป็นเป้าหมายเพราะเป็นผู้บริหารองค์กรหลัก ที่รู้เรื่องของ ศธ.ดีที่สุดคนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้าหากต่อสู้กันในกระบวนการทางเมืองแล้วไม่เอาดิฉันมาเป็นแพะไม่เป็นไร แต่นี่ล่วงเลยไปกว่า 2 ปีกลายเป็นว่าคนก็ตราหน้าหาว่าดิฉันโกงก็ไม่แฟร์ ซึ่งดิฉันพร้อมให้ตรวจสอบทุกอย่าง รวมทั้งลงพื้นที่ไปตรวจสอบครุภัณฑ์ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่ตรงตามทีโออาร์ด้วย” น.ส.ศศิธารา กล่าว

กระทรวงศึกษา ถกปัญหาครูภาคเหนือ





The Orientation ceremony of Thailand English Teaching Project 2012. 23-24 July 2012, 
the Palace Room, 7th Floor, Adriatic Palace Hotel, Bangkok. 
Remarks Session by Dr. Sasithara Pichaicharnnarong, 
Permanent Secretary, Ministry of Education



โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์25 กุมภาพันธ์ 2557 20:33 น

มติ อ.ก.พ.สกศ.เชือด “ศศิธารา” ปลดออกจากราชการ เซ่นคดีทุจริตจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวะมีผลทันทีหลัง กกต.เห็นชอบ 
       
       วันนี้ (25 ก.พ.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่สำนักงานพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา (สสอ.) ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง โดยมี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานประชุมเพื่อหาข้อยุติในการสอบวินัยร้ายแรง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการ สกศ.อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) สูญหายและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง


       ต่อมาเมื่อเวลา 18.35 น.นายจาตุรนต์ กล่าวภายหลังการประชุมเกือบ 5 ชั่วโมง ว่า ที่ประชุม อ.ก.พ.สกศ.มีมติเสียงส่วนใหญ่ให้ปลด น.ส.ศศิธารา ออกจากราชการ กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่2 (SP2) สูญหาย และส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ ในการประชุม อ.ก.พ.สกศ.มีผู้มาประชุมทั้งหมด 8 คน จาก 12 คน มีมติ 6:2 โดยเสียงข้างมาก 6 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ยืนตามผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ที่เสนอให้ปลดออกจากราชการ
       
       นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า กรณีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2554 น.ส.ศศิธารา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กอศ.ได้อนุมัติเบิกจ่ายเงินในการจัดซื้อครุภัณฑ์ของ สอศ.ให้แก่ผู้ขายตามสัญญา 12 ฉบับ จำนวนเงิน 122,468,400 บาท ขณะที่อนุมัติจ่ายเงินนั้นทีโออาร์และเอกสารที่ใช้ในการประกวดจัดซื้อครุภัณฑ์หลายรายการ ราคาสูญหาย โดยไม่มีการตรวจหาสาเหตุที่ทีโออาร์และเอกสารสูญหายเสียก่อน ตามรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงได้พบว่าก่อนการอนุมัติจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายตามสัญญาจัดซื้อครุภัณฑ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 31,500,000 บาท เจ้าหน้าที่พัสดุและนายพันธุ์ศักดิ์ โรจนากาศ อดีตรองเลขาธิการ กอศ.ได้ทักท้วงให้ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบสวนหาสาเหตุที่เอกสารสูญหาย โดยถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลังก่อน หากพบว่าเกิดจากการทุจริตก็จะจ่ายเงินให้ผู้ขายไม่ได้ แต่ น.ส.ศศิธารา ไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและอนุมัติให้จ่ายเงินไป โดยอ้างว่าต้นฉบับสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญารวมถึงทีโออาร์ไม่ได้สูญหาย แต่คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ที่มี นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสำเนาทีโออาร์ที่ใช้ในการประกวดราคาซึ่งต้นฉบับได้สูญหายไป เปรียบเทียบกับทีโออาร์ที่แนบท้ายสัญญา ซึ่งใช้ในการตรวจรับครุภัณฑ์ ปรากฏว่าทีโออาร์ทั้ง 2 ฉบับไม่มีรายการ หรือรายละเอียดใดๆ เหมือนกันเลย ครุภัณฑ์ที่ได้ตรวจรับไว้ตามทีโออาร์ที่แนบท้ายสัญญา จึงไม่เป็นไปตามทีโออาร์ที่ประกาศประกวดราคา
       
       สำหรับสถานศึกษาที่ได้รับครุภัณฑ์ชุดปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมได้แก่วิทยาลัยเทคนิค(วท.) แพร่ วท.พิจิตร วท.สระบุรี วท.สัตหีบ วท.จุฬาลงกรณ์ (ลาดขวาง) วท.หนองคาย วท.ร้อยเอ็ด และ วท.ระยอง รวม 8 แห่ง ทุกแห่งไม่ได้ใช้ประโยชน์จากครุภัณฑ์ที่ น.ส.ศศิธารา ในฐานะเลขาธิการ กอศ.ได้ทำการจัดซื้อ เนื่องจากสถานศึกษาดังกล่าวไม่ได้จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาสิ่งแวดล้อม หรือรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับครุภัณฑ์ที่จัดซื้อ โดยราคาครุภัณฑ์ที่จัดซื้อราคาชุดละ 3,937,500 บาท ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประเมินราคาแล้วเห็นว่าเมื่อเทียบราคาท้องตลาดรวมกำไรแล้วราคาเพียงชุดละ 1,250,000 บาท กรณีดังกล่าวทำให้ทางราชการเสียหายเป็นเงินจำนวน 31,500,000 บาท

       นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ คณะกรรมการสอบสวนได้เสนอความเห็นว่า การกระทำของ น.ส.ศศิธารา เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ และไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีและไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรงให้ลงโทษปลดออกจากราชการ ตามมาตรา 82(2) และ (3) ประกอบกับมาตรา 85(7) แห่ง พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ซึ่ง อ.ก.พ.สำนักงานสภาการศึกษาในฐานะ อ.ก.พ.กระทรวงได้พิจารณาและมีมติให้ปลดออกจากราชการ
       
       “หลังจากนี้จะต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาก่อน มติปลดออกจึงจะมีผลอย่างเป็นทางการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างหนังสือคำสั่งปลดออก เพื่อให้ กกต.พิจารณาและจะต้องหารือกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ว่าจะต้องนำคำสั่งปลดออกให้ ครม.พิจารณาก่อนหรือไม่ เพราะเป็นระดับ 11 และจะต้องหารือกับ สลค.ด้วยว่าจะต้องนำความกราบบังคมทูลฯหรือไม่ ทั้งนี้ น.ส.ศศิธารา มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) แต่คำสั่งปลดจะมีผลล่วงหน้าไปก่อนแล้วทันทีที่ กกต.ให้ความเห็นชอบ ขณะเดียวกัน ถ้า กกต.ให้ความเห็นชอบก็สามารถแต่งตั้งระดับ 11 ทดแทน”นายจาตุรนต์ กล่าว
       
       นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ น.ส.ศศิธารา ยังอยู่ระหว่างการสอบสวนอีก 2 คดี ได้แก่ เรื่องที่ถูกกล่าวหาว่าทำสัญญากำหนดค่าปรับในสัญญาที่แตกต่างกันบางฉบับกำหนดค่าปรับร้อยละ 0.02 บางฉบับ ร้อยละ 0.2 ทั้งที่เป็นการจัดซื้อในคราวเดียวกัน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง และเรื่องการมีพฤติการณ์ในการจัดซื้อครุภัณฑ์ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ กระบวนการจัดซื้อ เป็นต้นว่า การประกวดราคา การทำสัญญา และการตรวจรับครุภัณฑ์เป็นไปโดยมิชอบ ทั้งนี้ หากทั้ง 2 กรณีปรากฎพบว่าเป็นความผิดซึ่งมีโทษสูงกว่าคดีนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษใหม่ได้ 
       
       ผู้สื่อข่าวรายงาน การประชุมครั้งนี้ มีกรรมการเข้าร่วมประชุม รวม 8 คน จากทั้งหมด 12 คน โดยเป็นผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานภายในของ สกศ.แต่ไม่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม ขณะที่การประชุมครั้งนี้ยังคงมี นายนภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม ทำหน้าที่เลขานุการ อ.ก.พ.สกศ.เช่นเดิม


ตามที่คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ(อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง  รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) เป็นประธาน มีมติปลดออก ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์เลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)กรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงใน การจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษาโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะ ที่2(SP2)ที่เอกสารสำคัญสูญหาย แต่ได้มีการอนุมัติเบิกจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใส ในการจัดซื้อจัดจ้างนั้นวันนี้(26ก.พ.) ดร.ศศิธารา กล่าวว่า เรื่องนี้ผิดตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่าง ร้ายแรงที่ไม่มีการตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงก่อนและการตั้งประเด็นใน การสอบสวนก็ไม่สามารถระบุการกระทำผิดระเบียบที่นำไปสู่ความเสียหายแก่ทางการ ราชการอย่างร้ายแรงได้แต่ก็มีความพยายามนำเรื่องไปโยงกับเรื่องอื่นที่อยู่ นอกเหนือคำสั่งในการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยซึ่งเรื่องนี้ตนได้ฟ้องศาล อาญาและศาลปกครองทั้งผู้ออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และตัวคณะกรรมการสอบสวนด้วยซึ่งเชื่อว่าการที่ตนร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว คงเป็นตัวเร่งให้อ.ก.พ.กระทรวงต้องเร่งพิจารณาและตัดสินลงโทษดังกล่าวออกมา

ดร.ศศิธารา กล่าวต่อไปว่าเป็นที่น่าสังเกตว่าเรื่องนี้มีความพยายามที่จะกลั่นแกล้งตน อย่างชัดเจนโดยพยายามหาเหตุให้ได้ว่ามีการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและใน การประชุมอ.ก.พ.กระทรวง ที่จะต้องมีคณะกรรมการ 3 ส่วนคืออนุกรรมการโดยตำแหน่งอนุกรรมการที่มาจากการแต่งตั้ง และอนุกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งแต่ในการประชุมทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา องค์ประกอบของอ.ก.พ.กระทรวงไม่ครบ 3 ส่วนทั้ง2 ครั้ง แต่ก็มีมติออกมาได้ อีกทั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550ระบุว่ารัฐมนตรีรักษาการไม่สามารถใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้า ราชการ ซึ่งมีตำแหน่งเงินเดือนประจำหรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือพ้นจากตำแหน่งหรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน ดังนั้นนายจาตุรนต์ จึงไม่มีอำนาจในเรื่องนี้ ซึ่งตนจะไปร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม(กพค.)และฟ้องคณะ อนุกรรมการที่ลงมติเห็นชอบให้ปลดออกด้วย
 
“ การจัดซื้อครุภัณฑ์ยอดนี้มีกว่า 30 สัญญาในวงเงินงบประมาณ1,500 ล้านบาท  ซึ่งดิฉันดำเนินการเพียง10 กว่าสัญญา เป็นเงิน 122 ล้านบาท ส่วนที่เหลือดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการกอศ.คนปัจจุบัน ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งต่อก็ดำเนินการแบบเดียวกัน เพราะถ้าไม่ทำ บริษัทคู่สัญญาก็จะฟ้องร้องได้ซึ่งมีการสั่งจ่ายเงินไปแล้วเช่นกันเพราะ ฉะนั้นถ้าตั้งกรรมการสอบสวนวินัยดิฉันก็ต้องตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ดร.ชัยพฤกษ์ด้วยเพราะทำเหมือนกัน เอกสารก็หายเหมือนกัน”ดร.ศศิธารา กล่าว

ด้าน นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการประชุมอ.ก.พ.กระทรวง ดร.ศศิธาราได้ทำหนังสือชี้แจงถึงกรรมการทุกคนรวมถึงตนด้วยซึ่งกรรมการทุกคน ก็ต้องพิจาณาตามข้อมูลหลักฐาน ส่วนจะมีการฟ้องร้องก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ก็ต้องว่ากันตามกฎหมาย ส่วนผลการตัดสินของอ.ก.พ.กระทรวงนั้นหากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ขอมากระทรวงศึกษาธิการก็พร้อมที่จะส่งข้อมูลให้


ที่มา : เดลินิวส์ วันพุธ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 14:43 น.



"ศศิธารา"เตรียมเช็คบิลอ.ก.พ.6 คนที่ลงมติปลดออกจากราชการ เตรียมฟ้องศาลทั้งทางแพ่งและอาญาพร้อมร้อง ก.พ.ค.และศาลปกครองด้วย
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 

จากกรณีที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน(อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะ อ.ก.พ.กระทรวง ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมไปเมื่อวันที่ 25 ก.พ.2557 เพื่อหาข้อยุติในการสอบวินัยร้ายแรง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา(กกศ.) อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) สูญหายและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใส่ในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยที่ประชุมได้พิจารณามีมติให้ปลด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ออกจากราชการ นั้น
น.ส.ศศิธารา ได้ชี้แจงในเรื่องนี้ ว่า การถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรงนี้ เป็นเรื่องเอกสารประกวดราคาของอาชีวะสูญหาย แต่ได้อนุมัติเบิกจ่ายเงินให้ผู้รับจ้าง โดยไม่ดำเนินการตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค. 0526.7/ว72 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2541 อาจ มีผลทำให้ราชการเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ในคำสั่งเขียนว่าสอบวินัยร้ายแรงเพราะว่าอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่า ครุภัณฑ์แก่ผู้ขาย
ทั้งที่เอกสารหายและยังไม่ได้ดำเนินการตามหนังสือระเบียบกระทรวงการคลัง ที่ กค. 0526.7/ว72 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2541 ซึ่งระเบียบกระทรวงการคลังนี้ว่าด้วยเรื่องของขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเกิดกรณีเอกสารสูญหายหลังการเบิกจ่ายเงิน แต่ไม่มีระเบียบปฏิบัติกรณีเอกสารสูญหายก่อนการเบิกจ่ายเงิน ในประเด็นนี้จึงไม่สามารถระบุได้ว่า ซึ่งในประเด็นนี้ก็ไม่สามารถจะระบุได้ว่ากระทำผิดระเบียบและนำไปสู่ความเสีย หายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรงได้ แต่ก็ยังมีความพยายามนำเรื่องไปโยงกับเรื่องอื่น ซึ่งอยู่นอกเหนือคำสั่ง เช่น อ้างว่าครุภัณฑ์ที่จัดซื้อในคราวนั้น มีราคาแพงกว่าท้องตลาด ซึ่งตามระเบียบของทางราชการแล้ว ไม่สามารถไปสอบสวนและสรุปผลในประเด็นอื่นนอกเหนือคำสั่งเดิมได้
"ระเบียบกระทรวงฉบับดังกล่าว มีขึ้นก็เพราะส่วนราชการต่างๆ มักประสบปัญหาทำเอกสารสูญหายหลังการเบิกจ่ายเงินโดยสำนักงานตรวจเงินยังมิได้ทำการตรวจสอบ เมื่อเอกสารหายไปจะทำอย่างไร จะเอาอะไรให้แทน เขาก็บอกว่าใช้สำเนาแทนได้ในกรณีที่เอกสารไม่สำคัญ แล้วก็ให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน และสอบสวนให้เรียบร้อย เมื่อสอบสวนแล้วให้นำผลนั้นมาประกอบกัน โดยใน ว.72 ก็ระบุว่าถ้าไม่ทำตามระเบียบนี้ ถือว่าผิดวินัยร้ายแรง เพราะฉะนั้นในประเด็นนี้คือพยายามโยงว่า ตนไม่ทำตามระเบียบกระทรวงการคลัง มิเช่นนั้นจะกล่าวหาไม่ได้ว่า ตนทำผิดวินัยร้ายแรง"น.ส.ศศิธารา กล่าว
น.ส.ศศิธารา กล่าวต่อว่า ขั้นตอนการสอบวินัยตนก็ไม่ถูกต้อง ไม่มีการตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อน และ หลังจากที่ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงโดยปกติแล้ว ก็จะต้องแจ้งคำสั่ง แจ้ง สว.3 สว.4 สว.6 ว่าผิดอย่างไร ผิดเรื่องอะไร และให้แก้ข้อกล่าวหาก็จะมีเวลาไว้ให้เสร็จว่ากี่วัน เสร็จแล้วต้องนำเข้า อ.ก.พ.กระทรวง นี่แต่ละขั้นตอนไม่ได้ตรงตามนั้นเลย ดังนั้นในเรื่องนี้ตนจึงไปแจ้งความไว้เรียบร้อยแล้ว และฟ้องศาลอาญา ทั้งตัวผู้ออกคำสั่งโดยมิชอบ และคณะกรรมการสอบสวน และหลังจากนี้จะไปร้องกับคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม(ก.พ.ค.) ฟ้องศาลปกครอง นและฟ้องอ.ก.พ.ที่ลงคะแนนปลดตนออกจากราชการทั้ง 6 คน ทั้งทางแพ่งและอาญาด้วย
"การออกคำสั่ง ออกไม่ชอบ กระบวนการสอบสวนก็ไม่ชอบ แต่ก็มีการสอบสวนกันมาเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจว่าคำสั่งชอบหรือไม่ชอบ วิธีปฏิบัติถูกหรือไม่ นออกจากนั้น ในเรื่องการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจ้งข้อกล่าวหา ก็ถามมาให้ตอบแต่เพียงเรื่องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังหรือเปล่า ดำเนินการอย่างไร ตนก็ตอบไปเพียงแค่นี้ แต่ปรากฏว่าในการประชุม อกพ.เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ใช้เวลาพิจารณากัน 10 ชม.นั้น กลับให้ไปสอบสวนเพิ่มเติมอีกประเด็นว่า ทีโออาร์ที่ประกาศประกวดราคาและทีโออาร์แนบสัญญาตอนตรวจรับครุภัณฑ์ มีความแตกต่างกันจนก่อให้เกิดความเสียหายมากมายเท่าไร และการเบิกจ่ายเงินในกรณีที่เอกสารสูญหายนี้ทำผิดระเบียบกระทรวงการคลังหรือไม่ ซึ่งทางกระทรวงการคลังก็ตอบมาแล้วว่าไม่มีระเบียบปฏิบัติในกรณีเอกสารสุยหายก่อนการเบิกจ่าย เพราะฉะนั้นจะไปบอกว่าเขาผิดระเบียบนั้นไม่ได้ จึงเป็นจุดหนึ่งที่กรรมการบางคนไม่เห็นด้วยกับการลงโทษให้ปลดออก เพราะเมื่อไม่มีระเบียบจึงไปบอกว่าเขาผิดวินัยร้ายแรงไม่ได้"น.ส.ศศิธารา กล่าว
ส่วนประเด็นเกิดความเสียหายต่อทางราชการนั้น การที่ทางคณะกรรมการสอบสวนวินัยฯนำทีโออาร์ไปให้หน่วยงานอื่นประเมินราคาว่า ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อราคาแพงกว่า ราคาท้องตลาดนั้น ประเด็นเป็นคนละเรื่องกับกรณีเอกสารสูญหายซึ่งจะต้องไปตั้งกรรมการสอบสวนใหม่แยกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และจะต้องไม่ใช่กรรมการชุดเดิมด้วย เพราะถ้าเป็นกรรมการชุดเดิมเขามีสิทธิ์ฟ้อง ว่ากลั่นแกล้งเขา เพราะเอากรรมการชุดเดิมมาสอบ เพราะฉะนั้น จึงไม่สามารถนำประเด็นนี้มาสรุปว่า ตนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการเข้าข่ายผิดวินัยร้ายแรงได้
"เป็นที่น่าสังเกตุ ว่าเรื่องนี้มีความพยายามที่จะกลั่นแกล้งอย่างชัดเจน เช่น ให้มีการจัดทำรายงานการประชุมปลอม ซึ่งตนได้แจ้งความให้ดำเนินคดีตามกฏหมายแล้ว มีการให้ข้อมูลในทางลบแก่กรรมการที่จะมาเข้าประชุม เพราะทราบดีว่า องค์ประกอบของการประชุม อกพ.กระทรวงจะต้องมี 3 ส่วน คือ อนุกรรมการโดยตำแหน่ง อนุกรรมการที่มาจากการแต่งตั้ง อนุกรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ในการประชุมทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาองค์ประกอบของ อกพ.กระทรวงทั้ง 3 ส่วนนี้ไม่ครบ"น.ส.ศศิธารา กล่าว
ทั้งนี้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอนาจักรไทย พ.ศ.2550 ระบุว่า รัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีรักษาการ ไม่สามารถใช้อำนาจแต่ตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่ง เงินเดือนประจำ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน ดังนั้น รัฐมนตรีจึงไม่มีอำนาจในเรื่องนี้ และได้ทราบว่าผลสรุปน่าจะเป็นความรับผิดชอบของอนุกรรมการผู้ลงมติเห็นชอบ ซึ่งจะได้ดำเนินการตามกฏหมายต่อไป
น.ส.ศศิธารา กล่าวด้วยว่า ในการเบิกจ่ายเงินนั้น มีเอกสารสำคัญตัวจริงอยู่ ซึ่งเอกสารสำคัญที่หายไม่ได้เอคือสัญญา และTOR กำหนดคุณลักษณะ ผลการตรวจรับครุภัณฑ์ ซึ่งเคยถามกรมบัญชีกลางไปก็ยันยันว่าทั้งหมดนี้ต้องมี ซึ่งเราก็มีครบ ซึ่งเอกสารที่สูญหายไปมี 4 รายการ คือ 1.รายงานขอความเห็นชอบจัดซื้อครุภัณฑ์ 2.เอกสารประกวดราคา 3.บันทึกส่งเอกสารโฆษณา 5 หน่วยงานประชาสัมพันธ์ 4.ขอบเขตงาน

ส่วนต้นฉบับสัญญา 21 ฉบับอยู่ครบ รวมทั้ง 1 ประกาศรายชื่อผู้ชนะการประกวดราคา 2. คณะกรรมการดำเนินงาน 3.ประกาศเชิญชวน 4.คุณลักษณะสเป็คเฉพาะครุภัณฑ์ 5,สรุปคณะกรรมการพิจารณาซอง 6.สรุปคณะกรรมการเสนอราคา 7.ประกาศผู้ชนะ 8.เลขาฯอนุมัติให้จัดซื้อ


วันที่ 3 มีนาคม 2557
กรุงเทพธุรกิจ

"จาตุรนต์ " ลุ้น กกต.ตอบกลับกรณีคำสั่งปลด" ศศิธารา "
ในสัปดาห์นี้ ยืนยันผิดวินัยร้ายแรงจริง ไม่ใช่เพราะทำเอกสารหายแต่ผิดที่ละเลย

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการว่าคาดว่าภายในสัปดาห์นี้
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)จะมีหนังสือตอบกลับมายังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
กรณีสอบถามเกี่ยวกับมติที่ประชุม คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.)
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาทำหน้าที่ อ.ก.พ กระทรวงที่ให้ปลด
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษาออกจากราชการ
กรณีเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษาโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (SP2) : ไทยเข้มแข็ง 2555
สูญหายและส่อว่าจะเกิดความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์
โดยได้มีหารร่างคำสั่งหนังสือปลดออกหารือไปยังประธาน กกต.
ทั้งนี้มั่นใจว่า กกต. จะใช้เวลาพิจารณาไม่นานเพราะไม่มีประเด็น
จะต้องพิจารณาคำสั่งปลดครั้งนี้ไม่ได้มีผลต่อการเลือกตั้ง
และไม่ได้เป็นการแต่งตั้งโยกย้ายแทนตำแหน่งว่างในช่วงการเลือกตั้งแต่เป็น
การสอบสวนทางวินัยทางโดย อ.ก.พ.สกศ.จึงไม่อยู่ในประเด็นที่ กกต.
จะต้องพิจารณา หลังจากที่ กกต.มีหนังสือตอบกลับมาแล้วถ้าไม่ต้องนำเรื่องเข้า คณะรัฐมนตรี (ครม.)
เพื่อขอความเห็นชอบ ตนในฐานะรักษาการ รมว.ศธ.
ก็สามารถลงนามในคำสั่งปลดออกจากข้าราชการได้ทันที
อย่างไรก็ตามระหว่างนี้ได้ให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด (ศธ.)
หารือไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ว่ากรณีปลดระดับ 11
ออกจากราชการจำเป็นจะต้องทำเรื่องเข้าพิจารณาใน ครม.
หรือไม่ ส่วนกรณีที่ นางสาวศศิธารา ออกมาโต้แย้งว่า
กรณีเอกสารหายนั้น เจ้าตัวไม่ได้ทำผิดตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค.0526.7/ว.72
เพราะระเบียบดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติใช้ในกรณีเอกสารสูญหายหลังการเบิกจ่าย
แต่กรณีนี้เป็นเอกสารสูญหายก่อนการเบิกจ่ายนั้นโดยข้อเท็จจริงแล้ว
เมื่อพบว่าเอกสารหายเจ้าหน้าที่พัสดุและรองเลขาธิการการอาชีวศึกษาในขณะนั้น
ได้เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีเอกสารหาย
ก่อนที่จะให้มีการเบิกจ่ายซึ่งนางสาวศศิธารา
ก็อนุมัติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนแต่กลับไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นจริง
และปล่อยให้มีการอนุมัติเบิกจ่ายไปตามทีโออาร์แนบท้ายสัญญาหรือ
ทีโออาร์ ที่ใช้ในกาตรวจรับของซึ่งไม่ตรงกับทีโออาร์ที่
ใช้ในการประกวดราคา ทำให้ราชการต้องได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ อ.ก.พ.สกศ.เอง ก็มีการอภิปรายในประเด็นนี้กัน
แต่ได้ข้อสรุปว่าคดีนี้ไม่ใช่เรื่องของการทำเอกสารหาย แต่เป็นเรื่องที่
นางสาวศศิธาราให้เบิกจ่ายเงินไปโดยที่ไม่มีการตรวจสอบก่อน
โดยใช้เอกสารทีโออาร์ที่ไม่ตรงกับของจริงซึ่งก็เป็นผล
จาการที่ไม่มีการตรวจสอบทำให้ราชการเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
"คดีนี้ไม่ใช่เรื่องของการเอาผิดเพราะทำเอกสารหายเรื่องของเอกสารหาย
เป็นเรื่องของคนทำเอกสารซึ่งก็ต้องสอบสวนหาผู้รับผิดชอบต่อไป
แต่กรณีนี้เป็นการเอาผิดกรณีที่นางสาว ศศิธารา อนุมัติเบิกจ่ายโดยไม่มีการตรวจสอบ
ทั้งๆที่ก็รู้กันอยู่ว่าควรจะต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อน
จึงจะมีการเบิกจ่ายผลก็คือมีการเบิกจ่ายไปตามทีโออาร์ที่ไม่ตรงกับทีโออาร์ที่ประกวดราคาส่ง
ผลให้ข้าราชการเสียหายและยังทำให้เกิดการส่งครุภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของวิทยาลัย
ทั้งนี้นางสาวศศิธาราได้ทำเอกสารชี้แจงเรื่องทั้งหมดมายัง อ.ก.พ.สกศ.แล้ว และอ.ก.พ.สกศ.
ทุกคนก็ได้อ่านคำชี้แจงนั้น ก่อนจะมาอภิปรายกันในที่ประชุม และมีมติให้เอาผิดร้ายแรง
นางสาวศศิธารา ปลดออกจากข้าราชการ" นายจาตุรนต์ กล่าว


ศศิธารา'กำลังใจยังดี!แม้โดนปลด เชื่อผู้เกี่ยวข้องให้ความเป็นธรรม


6 มี.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง ที่มี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน มีมติปลด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา ออกจากราชการ กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) สูญหายและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใส่ในการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างแจ้งมติที่ประชุม อ.ก.พ.สกศ.และส่งร่างคำสั่งหนังสือปลดออกหารือยังไปคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นั้น


โดย น.ส.ศศิธารา กล่าวว่า ภายหลังมีมติตนก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และได้เชิญประชุมข้าราชการใน สกศ.เพื่อขอบคุณที่ร่วมมือในการทำงานซึ่งก็ได้รับกำลังใจจากข้าราชการของหน่วยงาน รวมทั้งได้รับกำลังใจจากเพื่อนข้าราชการหน่วยงานอื่นๆ ที่ส่งมาทั้งข้อความ SMS หรือโทรศัพท์เข้ามา อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้กลุ่มพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สกศ.ไปสังเคราะห์กฎหมาย ระเบียบต่างๆ เพราะผู้บริหารและข้าราชการทุกคนควรจะมีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะเรื่องของรัฐธรรมนูญ ที่ดูเป็นเหมือนเรื่องไกลตัวแท้จริงเป็นเรื่องใกล้ตัว



"กำลังใจที่ได้รับมีความหมายสำหรับดิฉัน ส่วนกระบวนการอื่นๆ ต้องว่าไปตามกฎหมาย ความถูกต้องโดยเฉพาะในประเด็นกฎหมายนั้น มีความตีความหลากหลาย แต่เชื่อมั่นว่าผู้เกี่ยวข้องก็จะดำเนินการตามความถูกต้อง เป็นธรรม และความจริงจะปรากฎ ทั้งนี้ ยืนยันว่า ที่ผ่านมาทำตามระเบียบ เพราะรับราชการมาหลายที่และอยู่ในตำแหน่งระดับสูงมานาน ซึ่งหากเป็นเรื่องที่รับผิดชอบอยู่นั้น ดิฉันคิดว่าตนเองรู้ระเบียบกฎหมายดีพอสมควร" น.ส.ศศิธารา กล่าว



ส่วนกรณีที่ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ.ระบุว่าที่ผ่านมาได้มีการตรวจสอบก่อนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ในโครงการฯ แล้วและหากไม่ดำเนินการจะผิดมาตรา 157 ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่นั้น เรื่องดังกล่าวต้องไปถามนายชัยพฤกษ์เอง ส่วนเรื่องของตนก็ว่าไปตามกระบวนการ

“จาตุรนต์” ลั่นพร้อมแจง กกต. กรณี “ศศิธารา” ด้วยตนเอง ยกเว้นติดงานต่างจังหวัด ชี้หากคัดค้านการลงโทษไม่สามารถทำอะไรได้อีก และมติ อ.ก.พ.สกศ.ก็ไม่สามารถกลับมติได้เช่นกัน ยันดำเนินการตามขั้นตอนมั่นใจไม่ขัดการเลือกตั้งเพราะการสอบสวนวินัยทำมาต่อเนื่อง

วันนี้ (7 มี.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีส่งหนังสือแจ้งมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง ที่ให้ปลด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา ออกจากราชการกรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) สูญหายและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใส่ในการจัดซื้อจัดจ้างเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) และส่งร่างคำสั่งหนังสือปลดออกหารือยังไปคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นั้น ว่า ขณะนี้ กกต.ยังไม่มีหนังสือตอบกลับมายังกระทรวงศึกษาฯ แต่ทราบอย่างไม่เป็นทางการว่า กกต.จะขอให้ตนไปชี้แจงแต่ยังไม่รู้ว่าในประเด็นใด อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เลขาธิการ กกต.เคยบอกว่าเรื่องดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการ กกต.ให้อยู่ในอำนาจของ เลขาธิการ กกต.พิจารณาได้เลย ซึ่งเมื่อ กกต.ต้องการให้ชี้แจงตนก็พร้อม ยกเว้นกรณีที่ตนติดไปราชการที่ต่างจังหวัดก็จะมอบผู้แทนไปชี้แจงแทน
รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากจะมีประเด็นคัดค้านเรื่องการพิจารณาโทษของ น.ส.ศศิธารา นั้น ตนหรือ อ.ก.พ.สกศ.ก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้อีกแล้ว เพราะเรื่องนี้ได้ดำเนินการไปตามกระบวนการจนเสร็จสิ้น ซึ่งเมื่อ อ.ก.พ.สกศ.พิจารณาและมีมติให้ลงโทษอย่างใดไป รัฐมนตรีมีหน้าที่เพียงแค่สั่งการให้เป็นไปตามมตินั้น ไม่มีสิทธิ์ที่จะไม่ดำเนินการตามมติ อ.ก.พ.สกศ.ขณะที่ อ.ก.พ.สกศ.ก็ไม่สามารถที่จะกลับมติของตนเองได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น หากผู้ถูกลงโทษต้องการจะอุทธรณ์จริงจะต้องไปรอร้องเรียนต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) หรือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

“ผมเห็นว่าเรื่องของการลงโทษให้ปลด น.ส.ศศิธารา ไม่เป็นการขัดกฎหมายการเลือกตั้งเพราะกรณีของ น.ส.ศศิธารา เป็นการดำเนินการทางวินัยโดย อ.ก.พ.สกศ.และเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาก่อนที่จะมีการยุบสภา เพราะฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงได้สรุปผลสอบเสร็จและเสนอมารัฐมนตรีก็มีหน้าที่ที่จะต้องรีบนำเข้าสู่การพิจารณาใน อ.ก.พ.สกศ.โดยเร็ว ไม่ใช่จะมาชะลอไว้เพราะมีการยุบสภา” นายจาตุรนต์ กล่าว


ศธ.ถามกกต.ย้ำปลดศศิธารา
วันนี้ (10 มี.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.)
เปิดเผยว่า ตามที่คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (อ.ก.พ.สกศ.) ทำหน้าที่
อ.ก.พ.กระทรวงศึกษาธิการ มีมติให้ปลด
ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา
อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.)
ออกจากราชการกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษาภายใต้
โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่2(เอสพี2)
ที่เอกสารสำคัญสูญหายแต่กลับมีการอนุมัติเบิกจ่ายเงินให้ผู้รับจ้าง
ซึ่งส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
ทำให้ราชการได้รับความเสียหายว่า หลังจากที่ ศธ.
ได้ทำหนังสือแจ้งมติดังกล่าว
พร้อมด้วยร่างคำสั่งปลดหารือไปยังประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)แล้ว
และได้ทราบเป็นการภายในว่า กกต.จะให้ ศธ.ไปชี้แจงกรณีดังกล่าวในสัปดาห์นี้
แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้รับหนังสือใด ๆ จาก กกต.เลย 

“เท่าที่ได้ประสานกับทาง กกต.แล้วได้ความเห็นในทำนองว่า
เรื่องนี้ไม่น่าจะอยู่ในอำนาจของ กกต.
แต่ก็ยังไม่ทราบสถานะล่าสุดว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นผมจะมอบให้
ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. สอบถามไปยัง กกต.
ให้ชัดเจนว่า กกต.จะว่าอย่างไร”นายจาตุรนต์ กล่าว


เดลินิวส์ – อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์



กกต.เห็นชอบตามศธ.สั่งปลด ‘ศศิธารา’ – พร้อมเห็นชอบโผทหารตามที่กห.เสนอ 

วันที่ 12 มี.ค. รายงานข่าวจากกกต.แจ้งว่า ที่ประชุม กกต.มีมติ 3 ต่อ 1 เห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ เสนอเรื่องให้กกต.พิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 เพื่อขอความเห็นในกรณี ที่คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (อ.ก.พ.สกศ.) ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวงศึกษาธิการ มีมติให้ปลด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) ออกจากราชการกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษาภายใต้โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2(เอสพี2) ขณะที่ 1 เสียงไม่ได้เป็นการไม่เห็นชอบ แต่ขอสงวนสิทธิเนื่องจากเห็นว่าไม่ควรดำเนินการในช่วงนี้ เพราะอยู่ในช่วงดำเนินการเลือกตั้ง ซึ่งเสียงดังกล่าวนี้คือนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง 


นอกจากนี้ที่ประชุมกกต.ยังมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอให้กกต.พิจารณาความเหมาะสมในเรื่องบัญชีรายชื่อการปรับย้ายนายทหาร อย่างไรก็ตามในการประชุมกกต.วันนี้มีกกต.เข้าประชุมเพียงแค่ 4 คน โดยขาดนายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง เนื่องจากติดภารกิจไปดูการเลือกตั้งที่ประเทศเยอรมนี 

ที่มา ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

@ March 12, 2014

"จาตุรนต์" พร้อมลงนามคำสั่งปลด"ศศิธารา" ทันทีที่ กกต.แจ้งมติอย่างเป็นทางการ คาดไม่เกิน1-2 วัน พร้อมคัดเลือกคนในขึ้นนั่งเก้าอี้ "เลขาธิการ สกศ."ที่ว่างแทน คาด กกต.คงเห็นชอบ
เรื่องโดย Nation Channel 

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลงมติ 3:1 ให้รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ มีอำนาจออกคำสั่งปลด น.ส.ศศิธารารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา ออกจากราชการ ในกรณีสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงกรณีเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (SP2) : ไทยเข้มแข็ง 2555 สูญหายและส่อว่าจะเกิดความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ ว่า ยังไม่ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจาก กกต.แต่ทราบตามที่เป็นข่าวว่า กกต.ลงความเห็นให้ รักษา รมว.ศึกษาธิการ ออกคำสั่งปลดออกจากราชการได้ จริง ๆ แล้วการออกคำสั่งลงโทษ น.ส.ศศิธารา ก็เป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนทางวินัย เมื่อคณะอนุกรรมการข้าราชกาพลเรือน (อ.ก.พ.) สภาการศึกษา มีมติเช่นใดแล้วรัฐมนตรรีต้องดำเนินการตามนั้น 

นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่าขณะเดียวกัน กกต.คงพิจารณาแล้วเห็นว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการเลือกตั้ง เชื่อว่าหลังจากนี้ กกต.จะต้องทำหนังสือแจ้งมติอย่างเป็นทางการมายังตนคาดว่าภายใน 1-2 วันนี้ ซึ่งทันทีที่ได้รับหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการจาก กกต.ตนจะลงนามในคำสั่งปลดออกจากราชการและเสนอชื่อเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเพื่อส่งต่อไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ขอโปรดเกล้าฯ ให้น.ส.ศศิธารา พ้นจากตำแหน่ง เมื่อโปรดเกล้าฯลงมาแล้วคำสั่งปลดออกจากราชการจะมีผลอย่างเป็นทางการย้อนไปตั้งแต่ที่ตนได้ลงนามในคำสั่ง 

"ส่วนระหว่างที่ผมลงนามในคำสั่งและรอการโปรดเกล้าฯ คุณศศิธารา สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้หรือไม่นั้น ผมอยากให้ต่างฝ่ายต่างไปศึกษากฎหมายในเรื่องนี้ดูแต่ผมไม่ควรจะออกมาพูดว่าคุณศศิธารา ควรจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร อย่างไรก็ตาม คดีการสอบสวนของ คุณศศิธารา ยังค้างอยู่อีก 2 คดีก็ยังอยู่ระหว่างการสอบสวนอยู่"นายจาตุรนต์ กล่าว

นายจาตุรนต์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนการแต่งตั้งซี 11 มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สกศ. แทน น.ส.ศศิธารา นั้นตนในฐานะรักษาการ รมว.ศึกษาธิการ สามารถแต่งตั้งได้ แต่หลังจากนำรายชื่อขอความเห็นชอบจาก ครม.แล้วจะต้องเสนอเรื่องขอความเห็นไปจาก กกต.ก่อน แต่การแต่งตั้งตำแหน่งเลขาธิการ สกศ.นั้นเป็นเพียงหน่วยงานทางวิชาการไม่มีผลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ขณะเดียวกัน สกศ.เป็นหน่วยงานทางนโยบายพึงจะต้องมีผู้รับผิดชอบหน่วยงาน เพราะฉะนั้น เชื่อว่า กกต.จะเห็นชอบให้สามารถแต่งตั้งในตำแหน่งนี้ได้ 

"อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้น่าจะเป็นการแต่งตั้งเฉพาะตำแหน่ง เลขาธิการ สกศ.ที่ว่างลงเท่านั้นคงไม่ถือโอกาสโยกย้ายสลับสับเปลี่ยนกับซี 11 คนอื่นเพราะจะเสี่ยงต่อการที่จะถูกมองว่ามีผลต่อการเลือกตั้ง ท้ายสุดอาจทำให้ไม่สามารถแต่งตั้งโยกย้ายใด ๆ ได้สักตำแหน่งและการแต่งตั้งครั้งนี้ตนจะพิจารณาด้วยตนเองและเลือกจากคนในไม่ดึงคนนอกมาขึ้นซี 11 ที่ ศธ.อีก"นายจาตุรนต์ กล่าวในที่สุด


14 มีนาคม 2557 

จาตุรนต์พร้อมลงนาม 'ปลดศศิธารา'

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมลงนาม 'ปลดศศิธารา' ปมทุจริตจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวะ หลังรู้มติ กกต. 3 ต่อ 1 เห็นชอบตามมติ อ.ก.พ.ศธ. คาด กกต.ประกาศผลอย่างเป็นทางการ 1-2 วันนี้

เมื่อวันที่ 13 มี.ค.57 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยหลังจากที่ ศธ.ได้ทำหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับทราบมติคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (อ.ก.พ.สกศ.) ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวงศึกษาธิการที่ให้ปลด ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ออกจากราชการ กรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ อาชีวศึกษา ภายใต้โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ที่เอกสาร สำคัญสูญหาย โดยส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใส ในการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้ราชการได้รับความเสียหายว่า โดยในขณะนี้ ผลอย่างไม่เป็นทางการทราบว่า กกต. มีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 1 เห็นชอบตามมติ อ.ก.พ.ศธ. ซึ่งหมายถึง รมว.ศธ.สามารถลงนามออกคำสั่งปลดได้ ทั้งนี้ คาดว่า กกต.จะแจ้งมติ กกต.อย่างเป็นทางการ ใน 1-2 วันนี้ จากนั้นตนจะลงนาม ออกคำสั่งและส่งเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่รอการโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ศศิธารา พ้นจากตำแหน่งนั้น จะต้องให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนหรือไม่นั้น ไม่แน่ใจต่างฝ่ายต่างต้องไปศึกษากฎหมาย

นายจาตุรนต์ กล่าวต่อไปว่า ในกรณีนายภูมิพิชญ์ วโรดมรุจิรานนท์ อดีตผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง เช่นเดียวกับ ดร.ศศิธารานั้น ขณะนี้ได้มอบให้ฝ่ายกฎหมายไปตรวจสอบแล้ว เนื่องจากนายภูมิพิชญ์เกษียณอายุราชการไปแล้ว และในการประชุม อ.ก.พ.สอศ.ทำหน้า อ.ก.พ.ศธ.ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนนี้คาดว่า จะมีเรื่องเข้าพิจารณาด้วย ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ.ที่ลงนามให้มีการเบิกจ่ายค่าครุภัณฑ์ 884 ล้านบาท ต่อจาก ดร.ศศิธารา นั้น ยังไม่ได้ดูรายละเอียด แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบเช่นกัน.


เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2557 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน กรณีกระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งปลดผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ออกจากราชการ
จากกรณีที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ได้มีมติปลดนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา ออกจากราชการ กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) สูญหายและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งต่อมา ศธ.ได้แจ้งมติที่ประชุม อ.ก.พ.สกศ.และส่งร่างคำสั่งหนังสือปลดออกหารือยังไปคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นั้น
รมว.ศธ.กล่าวว่า กกต.ได้มีหนังสือถึง รมว.ศธ.ลงวันที่ 17 มีนาคม 2557 เรื่อง ขอความเห็นชอบการสั่งลงโทษปลดนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ออกจากราชการ ซึ่งสำนักงาน กกต.ขอเรียนว่า ในการประชุมคณะกรรมการ กกต. ครั้งที่ 35/2557 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557 ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรณีที่ รมว.ศธ.มีคำสั่งลงโทษปลดนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ออกจากราชการ
ดังนั้น รมว.ศธ.จึงได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ เลขที่ สร 269/2557 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2557 เรื่อง ลงโทษปลดนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ออกจากราชการ โดยอ้างถึงข้อกล่าวหา และผลการประชุม อ.ก.พ. กระทรวงศึกษาธิการ และความเห็นชอบของ กกต. จึงให้ลงโทษปลดข้าราชการดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2557 เป็นต้นไป อนึ่ง ผู้ถูกลงโทษมีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งลงโทษนี้ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนี้
ทั้งนี้ ศธ.ได้แจ้งรายงานผลการพิจารณาลงโทษข้าราชการไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อให้มีพระบรมราชโองการให้นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษา นับตั้งแต่วันที่ รมว.ศธ. มีคำสั่งตามรายละเอียดที่ส่งมาด้วย พร้อมกับมีหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (เลขาธิการ ก.พ.) เพื่อทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว


บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
19/3/2557


'จาตุรนต์'เซ็นปลด'ศศิธารา'แล้ว!
คมชัดลึก
วันพุธที่ 19 มีนาคม 2557

'จาตุรนต์' ลงนามปลด 'ศศิธารา' มีผลตั้งแต่ 18 มี.ค. พร้อมย้ำหมดหน้าที่ในฐานะเลขาฯสกศ.แล้ว เตรียมส่งหนังสือคำสั่งทางไปรษณีย์ หลังติดต่อไม่ได้


                      จากกรณีที่ คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง มีมติปลดออกจากราชการ น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง จากกรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) สูญหายและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง และเนื่องจากอยู่ระหว่างรัฐบาลรักษาการ

                      เมื่อวันที่ 19 มีนาคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในฐานะผู้สั่งบรรจุแต่งตั้งตามมาตรา 57 ของพ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนฯ จึงต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยทางกกต. มีหนังสือ ลงวันที่ 17 มีนาคม 2557 แจ้งว่ากกต. มีมติเห็นชอบกรณีรมว.ศึกษาธิการ มีคำสั่งปลด น.ส.ศศิธารา ข้าราชการศธ. ออกจากราชการ

                      ดังนั้น วันที่ 18 มีนาคม จึงได้ลงนามในหนังหนังสือเลขที่ สร.269/2557 เรื่องลงโทษปลดน.ส.ศศิธารา ออกจากราชการ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคมเป็นต้นไป

                      โดยผู้ถูกลงโทษสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ปฏิบัติหน้าที่ขณะเดียวกัน ได้รายงานผลการลงโทษข้าราชการไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้น.ส.ศศิธารา พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสกศ. นับแต่วันที่รมว.ศึกษาธิการ มีคำสั่ง และมีหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้คำสั่งดังกล่าวจะมีผลอย่างสมบูรณ์ เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ลงมา ซึ่งจะให้มีผลนับแต่วันที่รมว.ศึกษาธิการ ลงนามในคำสั่งปลดออกจากราชการ

                      ทั้งนี้ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่นำหนังสือคำสั่งปลด น.ส.ศศิธารา ไปให้เจ้าตัวรับทราบที่สกศ. เมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมาแล้ว แต่ไม่พบน.ส.ศศิธารา ฉะนั้น วันที่ 19 มีนาคม ทางเจ้าหน้าจะส่งหนังสือทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน รวมถึงแจ้งไปยังสำนักอำนวยการสกศ. ว่าคำสั่งปลดออกน.ส.ศศิธารา มีผลแล้ว น.ส.ศศิธารา จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเลขาธิการสกศ. ได้อีก

                      ส่วน 2 คดี ทั้งเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่าทำสัญญากำหนดค่าปรับในสัญญาที่แตกต่างกันบางฉบับกำหนดค่าปรับร้อยละ 0.02 บางฉบับ ร้อยละ 0.2 ทั้งที่เป็นการจัดซื้อในคราวเดียวกันทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง และเรื่องการมีพฤติการณ์ในการจัดซื้อครุภัณฑ์ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ กระบวนการจัดซื้อ เป็นต้นว่า การประกวดราคา การทำสัญญา และการตรวจรับครุภัณฑ์เป็นไปโดยมิชอบ อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ พบว่าเป็นความผิดมีโทษสูงกว่าคดีนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษใหม่ได้ ส่วนมติครั้งนี้จะเชื่อมโยงไปถึงคดีการทุจริต ต่างๆ หรือไม่นั้น เรื่องนี้ถือเป็น คำสั่งลงโทษข้าราชการภายในศธ. เป็นคนละกระบวนการกับการทุจริต แต่หากมีการขอข้อมูลมายังคณะกรรมการสอบสวน ก็ต้องดูข้อกฎหมายว่าสามารถให้ข้อมูลได้หรือไม่

                      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ศศิธารา ได้ยกเลิกกำหนดการ เป็นประธานเปิดการอบรม “Training Workshop for Thai Education Staffs on ISCED 2011 and Education Statistics” ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 19 มีนาคม เวลา 9.00 น. จัดขึ้นที่โรงแรมสุโกศล อย่างกะทันหัน นอกจากนั้นมีรายงานข่าวว่า น.ส.ศศิธารา ได้ให้คนเข้ามาเก็บของใช้ส่วนตัวที่สกศ.ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม และไม่ได้เข้ามาทำงานที่สกศ. อีก ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อไปยังน.ส.ศศิธารา เพื่อสอบถามเรื่องดังกล่าว แต่ไม่สามารถติดต่อได้









โปรดเกล้าฯศศิธาราพ้นเลขาฯสกศ.

เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2557 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ 
เปิดเผยว่าตามที่ตนได้แจ้งผลการพิจารณาลงโทษปลด 
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) 
อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) 
ออกจากราชการกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในการจัดซื้อจัดจ้าง
ครุภัณฑ์ อาชีวศึกษา 
โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (เอสพี 2) 
ที่เอกสารสำคัญสูญหายแต่กลับมีการอนุมัติเบิกจ่ายเงิน 
ซึ่งส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างทำให้ราชการ 
ได้รับความเสียหายไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อ 
นำความกราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้น.ส.ศศิธาราพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษา 
นับตั้งแต่วันที่ รมว.ศึกษาธิการมีคำสั่งซึ่งได้ลงนาม
ในวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น 

ขณะนี้ทราบว่าได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ มาแล้ว 
หลังจากนี้ต้องรอให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี 
ลงนามและส่งเรื่องมายังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ก่อน
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ ก็จะลงมือสรรหาตัวเลขาธิการสภากาศึกษาคนใหม่ทันที 
ซึ่งในเบื้องต้นได้มีการหารือกับผู้บริหารศธ.ไปบ้างแล้ว 
และมีรายชื่อที่อยู่ในใจบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป 
ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะมีการพิจารณาบุคคลที่มีควาใกล้ชิด




เดลินิวส์
วันอังคาร 8 เมษายน 2557

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 เม.ย. เว็บไซต์สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตําแหน่ง ว่า ด้วยกระทรวงศึกษาธิการได้มีคําสั่งลงโทษปลดน.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษา สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.2557 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ น.ส.ศศิธารา พ้นจากตําแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษา สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.2557 ประกาศ ณ วันที่ 4 เม.ย.2557 โดยมี พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีที่มีคําสั่งลงโทษปลดน.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ออกจากราชการนั้น เป็นผลจากการที่น.ส.ศศิธารา มีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) จึงทำให้ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง จนในที่สุดมีการตัดสินว่าการกระทำของน.ส.ศศิธาราเป็นความผิดวินัยอย่างร้าย แรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดี และไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่าง ร้ายแรง จึงเสนอให้ลงโทษปลดออกจากราชการตามพ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551.


ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ วิบาก "ครุภัณฑ์อาชีวะ"
9 เม.ย. 2557

ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ถูกปลดออกจากราชการแล้ว


กระบวนการเป็นอันเสร็จสิ้น หลังคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีมติ


ระบุกระทำผิดวินัยร้ายแรง กรณีจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2

เอกสารสำคัญสูญหาย แต่กลับมีการอนุมัติเบิกจ่ายเงิน ซึ่งส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้ราชการได้รับความเสียหาย

ที่สุดมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ สกศ.


มีผลให้เป็นไปตามที่ จาตุรนต์ ฉายแสง ปฏิบัติหน้าที่ รมว.ศธ. ลงนามให้ออกจากราชการ


วัย 59 เกิดพ.ศ.2498 ปริญญาตรีอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทอักษรศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) และปริญญาเอกอักษรศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยซอร์บอร์น ฝรั่งเศส


เคยเป็นรองอธิบดีกรมพลศึกษา รวมถึงปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา


เคยถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ


2553-2554 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)


ก่อนเป็นปลัดศธ. และเป็นเลขาธิการสกศ.


วิบากตามมาแต่ครั้งคุม สอศ.


จนพาพ้นจากราชการแล้ว
 


ที่มา ข่าวสดออนไลน์

“ศศิธารา” ดิ้นสู้ ! อุทธรณ์ ก.พ.ค.หลังถูกปลดพ้นราชการ
ดิ้นสู้ ! “ศศิธารา” ยื่นอุทธรณ์ ก.พ.ค. หลังถูกปลดพ้นราชการ ขณะที่ ก.พ.ค. เพิ่งยกคำร้องกรณียื่นร้องทุกข์กล่าวอ้างถูกตั้งกรรมการสอบวินัยฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย
      
       นางจรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา ได้รับหนังสืออุทธรณ์จาก น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา หลังถูกคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงศึกษาธิการ มีมติปลดออกจากราชการ เนื่องจากกระทำความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง กรณีเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (เอสพี 2) : ไทยเข้มแข็ง 2555 สูญหายและส่อว่าจะเกิดความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ สมัยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ทั้งนี้ จากนี้จะขอเวลาในการพิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์ คาดว่าจะใช้เวลา 240 วันโดยประมาณ
      
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ น.ส.ศศิธารา ได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. กรณีถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง โดยระบุว่าคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯดังกล่าว เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ง ก.พ.ค. ได้พิจารณายกคำร้องทุกข์ดังกล่าวไปแล้ว


 ที่มา http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000045279

ศาลปกครองสูงสุดไม่รับ"ศศิธารา"ฟ้องอดีตรมว.ศธ. ตั้งกก.สอบวินัย

ศาลปกครองสูงสุด โดย นางมณีวรรณ พรหมน้อย ตุลาการเจ้าของสำนวนและคณะ มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลางที่ไม่รับฟ้องคดีที่ 
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ในข้อหากระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  
จากกรณีที่ออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการกระทำการผิดวินัยอย่างร้ายแรงของน.ส.ศศิธารา 
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา 
ที่ได้อนุมัติให้เบิกจ่ายค่าจัดซื้อครุภัณฑ์ตามโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 งบลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 โดยไม่ได้ดำเนินการตามหนังสือสือแนะนำข้อปฏิบัติจากกระทรวงการคลัง เรื่อง การใช้สำเนาเอกสารเป็นหลักฐานแทนต้นฉบับที่สูญหาย และวินิจฉัยไม่รับเรื่องร้องทุกข์คำสั่งดังกล่าวไว้พิจารณา 

โดยให้เหตุผลว่าแม้คำสั่งของ รมว.ศธ.ที่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงน.ส.ศศิธารา และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ที่ไม่รับเรื่องร้องทุกข์ของ
น.ส.ศศิธารา ไว้พิจารณา จะมีลักษณะเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่คำสั่งดังกล่าวของรมว.ศธ. 
เป็นขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานตามข้อกล่าวหาเพื่อพิจารณาว่า 
น.ส.ศศิธารากระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ เป็นเพียงข้อตอนภายในเพื่อนำไปสู่การออกคำสั่งทางปกครองต่อไปเท่านั้น ยังไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของ น.ส.ศศิธารา แต่อย่างใด น.ส.ศศิธารา จึงไม่ใช่ผู้เดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของ รมว.ศธ. ที่จะสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ 

การที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ นั้น ศาลปกครองสูงสุด เห็นพ้องด้วย

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/641829




เอกอัครราชทูตเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ ดร.ศศิธาราฯ และภาคเอกชนฝรั่งเศส




เมื่อวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2559 ฯพณฯ สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ อดีตรองผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การยูเนสโก อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปัจจุบันเป็นเลขาธิการสมาคมผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ฝรั่งเศสในประเทศไทย (Société des membres de la légion d’honneur: SMLH) นายพล François LOEILLET ผู้ดูแลผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ในต่างประเทศของสมาคม และภริยา พร้อมทั้งตัวแทนภาคเอกชนฝรั่งเศส อาทิ Orange, Renault, BNP และนาง Anne-Elisabeth LEMOINE ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรช่อง France 5

ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูตฯ ได้เน้นย้ำความสัมพันธ์อันยาวนานและแน่นแฟ้นระหว่างไทยกับฝรั่งเศสกว่า 331 ปี
และได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมงานมีส่วนร่วมในแผนการจัดงานฉลอง 160 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ฝรั่งเศส ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ มีดำริจะจัดขึ้นภายในปี 2559 นี้ นอกจากนี้ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองและสังคมฝรั่งเศสกับผู้เข้าร่วมด้วย

ทางภาคเอกชนฝรั่งเศสได้ขอขอบคุณเอกอัครราชทูตฯ และตอบรับคำเชิญเข้าร่วมจัดงานฉลอง 160 ปีความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสด้วยความยินดี พร้อมที่จะช่วยเหลือสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีสในโอกาสต่าง ๆ และเป็นตัวแทนสานสัมพันธไมตรีทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส



'สุชาติ'เชื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ฉาวอาชีวะ สาวไปไม่ถึงต้นตอ
10 ส.ค. 2555 05:15

ไทยรัฐ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เชื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ฉาวอาชีวะอาจสาวไปไม่ถึงต้นตอ ชี้ใครอยากเป็น ผอ.สถาบันการอาชีวศึกษา ต้องรีบทำความดี...

ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติโดยมีผู้อำนวยการวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) กว่า 500 คนเข้าร่วม ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ว่า การจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษาได้ฝากให้
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระจายงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างให้วิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการเอง

ที่ผ่านมาการซื้อของมีข้อน่าสงสัยงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างให้วิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการเอง

ที่ผ่านมาการซื้อของมีข้อน่าสงสัยเรื่องการเอาเปอร์เซ็นต์เพราะเป็นเงินก้อนโต 4-5 พันล้านบาท

เรื่องที่เกิดขึ้นกับอาชีวศึกษา ตนวางอุเบกขา เชื่อว่าการซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษาข้าราชการประจำทำไม่ได้แน่

ถ้านักการเมืองไม่มาบอก หรือขอความร่วมมือให้ทำ ตนไม่รู้ว่าครุภัณฑ์อาชีวศึกษาในโครงการ SP2 แพงหรือไม่แพง
แต่จะให้ความเป็นธรรมกับทุกคน ปล่อยให้สอบข้อเท็จจริงให้ถึงต้นเหตุแห่งคนบาปแต่รู้สึกจะไม่ได้ถึงระดับต้นตอ ดังนั้น คนที่ไม่ได้มีปัญหาก็ขอให้พัฒนาไปข้างหน้า
คนที่มีปัญหาก็เตรียมรับกรรมไป
รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า ขณะนี้ทราบว่ามีการวางตัว 19 ผอ.สถาบันการอาชีวศึกษาเอาไว้แล้ว
ซึ่งตนเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งใครอยากเป็นก็ให้ทำความดี ไม่ใช่มือเต็มไปด้วยคราบสกปรก
ขณะนี้ก็ทราบมาว่ามีความพยายามแอบหาสตางค์
โดยการเปลี่ยนแปลงงบประมาณตรงนั้นตรงนี้เพื่อจัดหาเอาไว้ให้ใครบางคนซึ่งเป็นการเตรียมโกงทั้ง 2 ด้าน
คือคนโง่จะไปจับคนโกงเมื่อครั้งที่แล้ว

และคิดว่าเขาไม่รู้ว่าตัวเองก็จะโกงเหมือนกัน

บอร์ด อ.ก.พ.ศธ. มีมติ ปลดออก "ศศิธารา" อีกกระทง ปมแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่2

ภาพ วิกิพีเดีย

เมื่อวันที่ 14 ม.ค.2562 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ
เปิดเผยว่าในการประชุมคณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงศึกษาธิการ(อ.ก.พ.ศธ.)
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาการสอบสวนทางวินัยการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา
โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่2 (SP2) ที่
ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)
ถูกกล่าวหาว่าทำสัญญากำหนดค่าปรับในสัญญาของโครงการนี้ที่แตกต่างกัน
ซึ่งบางฉบับกำหนดค่าปรับร้อยละ 0.02 บางฉบับร้อยละ 0.2
ทั้งที่เป็นการจัดซื้อในคราวเดียวกัน โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาอย่างรอบด้านจนได้ข้อสรุปว่า
กรณีนี้ ดร.ศศิธารา ไม่ปฎิบัติตามระเบียบแบบแผนและระเบียบของราชการ
ส่งผลทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง
ซึ่งที่ประชุมจึงมีมติให้ปลด ดร.ศศิธารา ออกจากราชการ

"เรื่องนี้มีการเสนอในที่ประชุม อ.ก.พ.ศธ.หลายครั้งแล้ว

ซึ่งในที่สุดเราได้เอกสารข้อมูลทางกฎหมายที่ชัดเจน
และมีการพิจารณาพร้อมกับการซักถามอย่างรอบครอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
จึงได้มีมติปลดออกจากราชการ เพราะไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะไปปรับสัญญาตามใจชอบ
ส่วนประเด็นที่ ดร.ศศิธารา เคยโดนมติที่ประชุม อ.ก.พ.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)
ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีต รมว.ศธ.เป็นประธาน
มีมติให้ปลดออกจากราชการแล้วนั้น ในเรื่องนี้เป็นเรื่องของต่างกรรม ต่างวาระ
มีการสอบสวนมีหลายกระทง ซึ่งที่ประชุมที่มีผมเป็นประธานได้พิจารณากระทงเดียว คือ
การทำสัญญากำหนดค่าปรับซึ่งจะมีผลย้อนหลังเหมือนเดิมเท่านั้น" รมว.ศึกษาธิการ กล่าว