ย้อนกลับไปเมื่อไม่นานมานี้ คนในวงการตำรวจคงได้ทราบข่าวว่า รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล นายตำรวจนักวิชาการผู้ซึ่งสร้างผลงานให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติไว้มากมาย ได้ยื่นใบลาออกจากการทำหน้าที่อาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ แม้บทบาทในรั้วสีกากีจะยุติลง แต่อุดมการณ์และความตั้งใจที่จะสานต่อเกี่ยวกับการปฏิรูประบบงานตำรวจยังคงอยู่ รวมทั้งยังทำหน้าที่ในบทบาทนักวิชาการที่ให้ความรู้และแนวคิดทางด้านอาชญาวิทยากับการนำไปใช้แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และล่าสุดกับภารกิจในบทบาทใหม่ของ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิต โดยเข้ามาดูแลในส่วนงานสำนักงานตำรวจแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานพัฒนาวินัยนักศึกษา และคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม
บทบาทและภารกิจใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต
รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวว่า การก่อตั้งฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิต เกิดขึ้นด้วยแนวนโยบายของท่าน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งท่านเป็นคนมีวิสัยทัศน์ เน้นทำงานเชิงรุก สิ่งที่ท่านคิดมิเพียงแต่อยากจะสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในรั้วมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงความสงบสุขของคนในชุมชน โดยมองว่ามหาวิทยาลัยไม่ควรเป็นเพียงแค่สถาบันการศึกษาในการให้ความรู้เท่านั้น แต่ควรเป็นแหล่งขุมพลังปัญญาของคนในประเทศ และต้องร่วมกันในการสร้างสังคมธรรมาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังนั้นองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นประโยชน์แก่ชุมชน สังคม และประเทศ
“มหาวิทยาลัยรังสิตมีความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ กระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ แต่จากนี้ไป ความร่วมมือในการดำเนินงานก็จะมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพราะอย่างที่ทราบคือ ปัญหาอาชญากรรมมีความหลากหลาย สลับซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด ซึ่งตรงนี้ทางจังหวัดก็ได้ให้ความสำคัญ จากที่เคยให้ความเห็นทางวิชาการไว้ก่อนหน้านี้เรื่องการปฏิรูปตำรวจในแง่มุมของการป้องกัน จัดการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมในแง่ของการมีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อช่วยกันสอดส่อง ดูแล ป้องกันอาชญากรรม รักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชนเมืองเอก ทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย การร่วมออกตรวจตรารักษาความปลอดภัยให้แก่ชุมชน หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในด้านต่างๆ นอกจากนี้ ประชาชนยังถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดในการประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ และถือเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ เพราะประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายหรือการปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้ก่อตั้งส่วนงานฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิตขึ้น”
“มหาวิทยาลัยรังสิตมีความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ กระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ แต่จากนี้ไป ความร่วมมือในการดำเนินงานก็จะมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพราะอย่างที่ทราบคือ ปัญหาอาชญากรรมมีความหลากหลาย สลับซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด ซึ่งตรงนี้ทางจังหวัดก็ได้ให้ความสำคัญ จากที่เคยให้ความเห็นทางวิชาการไว้ก่อนหน้านี้เรื่องการปฏิรูปตำรวจในแง่มุมของการป้องกัน จัดการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมในแง่ของการมีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อช่วยกันสอดส่อง ดูแล ป้องกันอาชญากรรม รักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชนเมืองเอก ทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย การร่วมออกตรวจตรารักษาความปลอดภัยให้แก่ชุมชน หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในด้านต่างๆ นอกจากนี้ ประชาชนยังถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดในการประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ และถือเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ เพราะประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายหรือการปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้ก่อตั้งส่วนงานฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิตขึ้น”
“ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต” แห่งแรกในประเทศไทย
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย ม.รังสิต กล่าวเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิตว่า โดยที่ท่านอธิการบดีเห็นความสำคัญของความสงบเรียบร้อยภายในชุมชนเมืองเอก และต้องการให้เป็นชุมชนต้นแบบในการสนับสนุน ช่วยเหลือ หน่วยงานภาครัฐ และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม จึงได้ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยซึ่งทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในรั้วมหาวิทยาลัยเข้ารับการฝึกฝน อบรม และพัฒนาองค์ความรู้ในการเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจ มีการวางแผนออกตรวจโดยสนธิกำลังร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองในการช่วยเหลือ ดูแล รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษา และผู้ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองเอก โดยตำรวจมหาวิทยาลัยคือผู้ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจตามกฎหมายซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการปัญหาอาชญากรรมของตำรวจทั่วโลก
มหาวิทยาลัยรังสิต ถือเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบในด้านการจัดการความปลอดภัยที่เห็นว่าการจัดการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมจะประสบความสำเร็จได้นั้น ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชนเป็นสำคัญ ที่จะร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งนี้ จากผลการสำรวจสถิติการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ชุมชนเมืองเอกหลังจากที่มีการจัดตั้งตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิตในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 ปีเศษ ผลการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า ปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ลดลงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์
มหาวิทยาลัยรังสิต ถือเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบในด้านการจัดการความปลอดภัยที่เห็นว่าการจัดการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมจะประสบความสำเร็จได้นั้น ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชนเป็นสำคัญ ที่จะร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งนี้ จากผลการสำรวจสถิติการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ชุมชนเมืองเอกหลังจากที่มีการจัดตั้งตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิตในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 ปีเศษ ผลการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า ปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ลดลงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์
“นอกจากนี้ ในระยะแรก ได้มีการจัดทำแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ RSU Police i lert u ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นแรกในประเทศไทย ที่ร่วมมือกันระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานเอกชน มหาวิทยาลัยรังสิต และชุมชนซึ่งให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป สามารถแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น สมาร์ทโฟน โดยขอความช่วยเหลือจากสำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งสามารถส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ โดยการส่งข้อมูลส่วนตัว ภาพถ่าย เวลา และพิกัดที่เกิดเหตุ จะมีบุคลากรที่รับเรื่องและประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ เข้าช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมงและให้บริการได้ทันท่วงที ซึ่งเป็นการสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากในชุมชนเมืองเอกซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวนนักศึกษา และคนในชุมชนมีไม่น้อยกว่า 50,000 คน แต่จำนวนตำรวจสายตรวจในเขตพื้นที่มีเพียงแค่ 2 นาย ซึ่งสัดส่วนไม่สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสากลในการป้องกันอาชญากรรม และระงับเหตุที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การแจ้งเบาะแส และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผู้แจ้งก็อาจจำเป็นที่จะต้องระบุตัวตนของตนเอง เช่น ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูลที่แจ้งในเบื้องต้น หลังจากนั้นสำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิตก็จะประสานงานกับตำรวจ และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เพื่อทำงานร่วมกับคนในชุมชน”
“ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางระจัน มีความรัก สามัคคี ร่วมกันต่อสู้กับข้าศึกศัตรูที่มารุกรานประเทศเรา ลักษณะงานนี้ก็เช่นเดียวกันที่เราจะสร้างชุมชนต้นแบบ มีการบูรณาการทำงานกันอย่างเป็นรูปธรรมกับทางมหาวิทยาลัย ทั้งมิติของการป้องกันอาชญากรรม การรับแจ้งเบาะแสจากภาคประชาชน รวมทั้งการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ซึ่งตรงนี้ทางกระทรวงยุติธรรมก็กำลังดำเนินการร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัยรังสิตด้วย” รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวเพิ่มเติม
“ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางระจัน มีความรัก สามัคคี ร่วมกันต่อสู้กับข้าศึกศัตรูที่มารุกรานประเทศเรา ลักษณะงานนี้ก็เช่นเดียวกันที่เราจะสร้างชุมชนต้นแบบ มีการบูรณาการทำงานกันอย่างเป็นรูปธรรมกับทางมหาวิทยาลัย ทั้งมิติของการป้องกันอาชญากรรม การรับแจ้งเบาะแสจากภาคประชาชน รวมทั้งการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ซึ่งตรงนี้ทางกระทรวงยุติธรรมก็กำลังดำเนินการร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัยรังสิตด้วย” รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวเพิ่มเติม
ความคิด ความฝัน และอุดมการณ์ที่ยังเดินต่อ
นอกจากบทบาทของการเป็นผู้บริหาร ซึ่ง รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล รับหน้าที่ในการดูแลบริหารงานของฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิต โดยบริหารดูแลการดำเนินงานของสำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานพัฒนาวินัยนักศึกษา อีกทั้งยังเป็นประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม และเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยอีกด้วย เรียกว่าในทุกบทบาทและภารกิจที่ทำอยู่ล้วนแล้วแต่สร้างประโยชน์ในหลายส่วนงาน เหนือสิ่งอื่นใดคือ ยังคงยึดมั่นในอุดมการณ์เดิมในการที่จะมุ่งมั่นสานต่อเรื่องการพัฒนาระบบงานตำรวจ
รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า คนเราหากจะทำความดี ไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งไหน ประกอบอาชีพใดก็สามารถทำได้ สำหรับผมวันนี้กับบทบาทหน้าที่ใหม่ ก็จะทำหน้าที่ในส่วนของงานบริหารและการเป็นอาจารย์ให้เต็มที่และดีที่สุด และเชื่อว่าองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับชุมชนจะเป็นส่วนสำคัญในการเป็นโครงการนำร่อง (Pilot Project) ให้กับชุมชนอื่นอีกหลายชุมชนในระดับประเทศ ขณะเดียวกันพื้นที่ศึกษาตรงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่จะตอบโจทย์เรื่องการปฏิรูปตำรวจทั้งในด้านการป้องกันอาชญากรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็จะมีการเก็บ รวบรวม เพื่อนำไปวิเคราะห์ร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ระดับชาติ และนานาชาติเพื่อความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการบริหารงานภาครัฐ (กพร.) ที่สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ ประยุกต์ใช้แนวคิดการทำงานเชิงรุกของภาคเอกชนเพื่อความสำเร็จของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
จากเพชรเม็ดงามในรั้วสีกากี สู่นักวิชาการและนักบริหารในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต
“แม้ว่าวันนี้จะถอดเครื่องแบบ ไม่ได้เป็นตำรวจแล้ว แต่จิตวิญญาณของความเป็นตำรวจยังคงอยู่ในดีเอ็นเอ ผมคิดตลอดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจเกิดการพัฒนา เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่คนในชุมชน สังคม และประเทศ ตำรวจต้องมีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และตอบสนองต่อทุกความเดือดร้อนของประชาชนอย่างแท้จริง ทุกข์ของตำรวจ และทุกข์ของประชาชนต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน หากวันนี้เราเพียงแค่คิดแต่ไม่ลงมือทำ เราก็จะไม่เห็นการพัฒนาอะไรที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน แต่ถ้าเราพัฒนาต่อยอดไปได้ เชื่อว่าปัญหาในหลายเรื่องจะแก้ไขได้ เพราะว่าหลักคิดของตำรวจทั่วโลกบอกว่า ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ไม่ได้เกิดขึ้นจากหน่วยงานภาครัฐแต่เพียงลำพังอีกต่อไป แต่ต้องมาจากการบูรณาการของทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกัน ประการสำคัญ การรักษาความสงบเรียบร้อยก็ถือเป็นนวัตกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวและพัฒนารูปแบบการทำงานเพื่อรองรับกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การจัดตั้งตำรวจศาล (Court Marshal) ในประเทศไทยซึ่งได้ดำเนินการแล้ว การบัญญัติกฎหมายผู้ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดูแลชุมชน สถานบริการต่างๆ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันอาชญากรรมเหมือนกับในต่างประเทศ เป็นต้น”
“เค้าอาจจะหาว่าผมฝัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าผมฝัน ฝันที่อยากเห็นบ้านเมืองเราดีขึ้นเหมือนในหลายๆ ประเทศ ความสำเร็จตรงนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ลงมือทำ และความสำเร็จนี้จะทำเพียงลำพังไม่ได้ถ้าเราไม่ได้สร้างคนเพื่อมาช่วยกันสร้างชาติ” รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวทิ้งท้าย