เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Jan 11, 2020
“พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร'” ยอดตำรวจตงฉิน-ปรมาจารย์อาชญนิยาย (2472 - 2561)
ภาพจาก Workpoint News
ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9610000061926
นับเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่อีกครั้งสำหรับประเทศไทย เมื่อ “พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร” นายตำรวจใหญ่ นักเขียนอาชญนิยายระดับตำนาน ผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2541 ถึงแก่อนิจกรรมลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2561เวลาประมาณ 22.35 น. ที่โรงพยาบาลตำรวจ หลังจากเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งตับอ่อน
พล.ต.อ.วสิษฐ ได้รับยกย่องว่าเป็น “ตำรวจตงฉิน” เคยเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทั่ง ตำแหน่งล่าสุดเป็น ประธานมูลนิธิองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย), นายกสมาคมตำรวจตระเวนชายแดนแห่งประเทศไทย, ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ ฯลฯ
เกียรติยศทางวรรณศิลป์ พล.ต.อ.วสิษฐ ถือเป็นนักเขียนที่สร้างงานต่อเนื่องเกือบกึ่งศตวรรษ โดยได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2541 ผลงานที่โดดเด่นได้แก่งานเขียนประเภทหัสคดี นวนิยายแนวการเมือง และอาชญนิยาย เคยใช้นามปากกา “โก้ บางกอก” สร้างผลงาน อาชญนิยายชิ้นโบว์แดงจำนวนมาก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเขียนจากประสบการณ์สายงานตำรวจ นิยายของเขามักมีตัวเอกเป็นตำรวจที่มีอุดมการณ์
พล.ต.อ.วสิษฐ เข้าสู่วงการนักเขียนก่อนรับราชการตำรวจกระทั่งเกษียณ คลุกคลีกับนิตยสารเพลินจิตต์ตั้งแต่วัยเด็ก ชอบอ่านนวนิยายของ ป.อินทรปาลิต (ผู้เขียน พล นิกร กิมหงวน) สมัยเป็น นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนเรื่อง “ปากกาพา (ให้เป็น) ไป” ในวารสาร “มหาวิทยาลัย” ของสโมสรนิสิตจุฬาฯ
นิยมเขียนเรื่องเกี่ยวกับตำรวจที่สั่นสะเทือนให้กับวงการสีกากี เริ่มเขียนนวนิยาย “สารวัตรเถื่อน” เป็นเรื่องแรก ลงในหนังสือมติชนสุดสัปดาห์ มีตัวละครชื่อ “ธนุส นิราลัย” เป็นพระเอก สวมรอยเป็นสารวัตรใหญ่ ตัดหน้าสารวัตรตัวจริงที่จะไปรับตำแหน่งในอำเภอแห่งหนึ่งที่สมมติขึ้น มีเป้าหมายกำจัดอาชญากรรมระดับเจ้าพ่อ หรืออย่างเรื่อง “ลว.สุดท้าย” (ลว. หมายถึง ลาดตระเวน) เรื่องราวของนายตำรวจตงฉินในอุดมการณ์ของ พล.ต.อ.วสิษฐ ทำหน้าที่ปฏิบัติภารกิจเสี่ยงตาย ในฐานะตำรวจตระเวนชายแดน
นอกจากนี้ยังมีผลงานนวนิยายชื่อดัง อาทิ จันทน์หอม, ดงเย็น, ลว.สุดท้าย, แม่ลาวเลือด, หักลิ้นช้าง, เลือดเข้าตา, สันติบาล, สารวัตรใหญ่, เบี้ยล่าง, บ่วงบาศ, ประกาศิตอสูร, พรมแดน, อวสานสายลับ ฯลฯ
และนิยายหลายเรื่องของเขามีผู้นำไปสร้างภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ จนทำให้งานเขียนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย อาทิ สารวัตรเถื่อน, หักลิ้นช้าง, บ่วงบาศ, ประกาศิตอสูร, แม่ลาวเลือด, เลือดเข้าตา ฯลฯ
รวมทั้ง ผลงานความเรียงและอื่นๆ อาทิ รอยพระยุคลบาท, สมาธิกับการทำงาน, อยาก, ปฏิรูปตำรวจ ฝันหรือจะเป็นจริง?, ชีวิตตำรวจ, อีฉุยอีแฉก, สัพเพเหระคดี, เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์, รำลึกชาติ (นี้), รำลึกชาติ (นี้) อีก, พูดจาประสาตำรวจ 1-2, ความผิดพลาดของนายหมาก, ความ (ไม่รู้) เรื่องเมืองจีน ฯลฯ
เอกลักษณ์อันโดดเด่นงานเขียนของ พล.ต.อ.วสิษฐ สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของมนุษย์และความสำนึกทางสังคมผ่านวรรณศิลป์อย่างมรชั้นเชิง งานประพันธ์แต่ละประเภทเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่า สร้างความตระหนักถึงปัญหาตลอดจนหน้าที่ของตนในสังคม
ประวัติโดยสังเขป พล.ต.อ.วสิษฐเกิดวันที่ 14 พ.ย. 2472 ที่ จ.อุดรธานี ครอบครัว สมรสกับคุณหญิงทัศนา บุนนาค (เดชกุญชร) มีบุตร 2 คน คือ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุทรรศน์ เดชกุญชร และร้อยตำรวจตรีหญิงปรีณาภา เดชกุญชร
ด้านการศึกษา
พล.ต.อ.วสิษฐ จบมัธยมศึกษา โรงเรียนประจำจังหวัดขอนแก่น “ขอนแก่นวิทยายน” ปี 2487, ปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2497, ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค ปี 2497, ปริญญาเอก รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2539, แขนงพิเศษอื่นๆ ประกาศนียบัตร โรงเรียนตำรวจนครนิวยอร์ค (หลักสูตรสืบสวน) ปี 2496, ประกาศนียบัตร วิทยาลัยตำรวจแห่งชาติ F.B.I. สหรัฐอเมริกา ปี 2508 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ปี 2523
ด้านการทำงาน
เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2495 ต่อมา ได้ลาออกไปสมัครเข้ารับราชการในกรมประมวลราชการแผ่นดิน (ต่อมาคือกรมประมวลข่าวกลาง) แล้วโอนไปรับราชการที่กองตำรวจสันติบาล กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และย้ายไปเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ ในปี 2513 เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี 2532 และในปี พ.ศ. 2539 - 2543 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นระยะเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ 26 ส.ค. 2533 ถึง 9 ธ.ค. 2533 ตำแหน่งสุดท้ายในกรมตำรวจ ก่อนลาออกไปเป็นรัฐมนตรีเป็น รองอธิบดีกรมตำรวจ ฝ่ายกิจการพิเศษ
กระทั่ง ถึงแก่อนิจกรรมลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2561เวลาประมาณ 22.35 น.