Custom Search

Apr 7, 2010

เดิมพันด้วยชีวิต แอ๊ด คาราบาว






  
อรวรรณ บัณฑิตกุล 
นิตยสารผู้จัดการ 
ตุลาคม 2547
แอ๊ด คาราบาว เป็นศิลปินคนหนึ่งของเมืองไทย
ที่มีแฟนเพลงตั้งแต่ขอทานยันรัฐมนตรีมานานกว่า 20 ปี
ความชื่นชอบในเสียงเพลงกลายเป็นอิทธิพล

ที่ทรงพลังทางความคิดให้กับคนกลุ่มใหญ่อย่างไม่ตั้งใจ
และเมื่อเขาเป็นพ่อค้าขายสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมาย
ซ้อนทับไปกับแฟนเพลง เสียงวิพากษ์
วิจารณ์จึงหนาหู
เป็นการฉวยโอกาสที่ "รับไม่ได้"
ในความคิดของคนหลาย ๆ คน

"ผู้จัดการ" ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสเงื่อนแง่ต่างๆ ในชีวิต
รวมทั้งวิธีคิดของเขาในหลายๆ เรื่อง
เพื่อให้ได้ภาพตัวตนที่แท้จริงของเขา
เรื่องราวของนักธุรกิจที่มีรากมาจาก
นักดนตรีเพื่อชีวิตไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ครั้งนักในสังคมไทย

นัดแรกของ "ผู้จัดการ" กับแอ๊ด คาราบาว
มีขึ้นที่บ้านบนถนนกรุงเทพกรีฑาในเช้าวันหนึ่ง
เขาจัดการกับอาหารมื้อเช้าง่ายๆ
จากฝีมือของ "พี่ป๋อง" ที่ย้ายตำแหน่งจากคนขับรถมาเป็นพ่อครัว
ในขณะที่เราขอตัวเดินชมรอบๆ บริเวณบ้าน

จากแฟลตการเคหะ ย่านคลองจั่น
แอ๊ดย้ายเข้าบ้านหลังนี้เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา
รายได้เป็นกอบเป็นกำจากการขายเทปชุด "เมดอินไทยแลนด์"
ทำให้เขามีบ้านหลังแรกในชีวิต

เริ่มจากการซื้อที่ดินแปลงเล็กๆ สร้างบ้าน
ต่อมาซื้อที่ดินเพิ่มต่อเติมส่วนของตัวบ้านออกไป
เพื่อใช้เป็นห้องอัดเสียงและบริษัท

จนปัจจุบันพื้นที่ทั้งหมดรวมกันประมาณ 3 ไร่
ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้หางนกยูงต้นใหญ่
ริมรั้วนั้นอายุหลายสิบปีทีเดียว

หากดูทรัพย์สินเพียงแค่นี้ด้วยสายตา
และจินตนาการเลยไปถึงคิวคอนเสิร์ต
ที่มีแสดงทุกคืน บ้านหลังใหญ่ในพื้นที่อีก 30 ไร่
ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
และการก้าวไปเป็นหุ้นส่วนใหญ่ของ "คาราบาวแดง"
ที่กำลังเขย่าวงการเครื่องดื่มชูกำลังอยู่ในวันนี้

รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ
ซึ่งหากได้กระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบ
แอ๊ดน่าจะเป็นศิลปินคนหนึ่งที่มีฐานะดีทีเดียว

"ตอนนี้ทั้งบ้านทั้งที่ดินหลังนี้คงผ่อนหมดแล้วใช่ไหมคะ"
"ผู้จัดการ" หันไปถามศิลปินเพลงเพื่อชีวิตที่เดินตามออกมา
"ครับ หมดแล้ว มันเข้าไปอยู่ในแบงก์อีกครั้งทั้งหมดแล้ว
ผมไม่มีเงินสดสักบาทเดียวตอนทำคาราบาวแดง"
เขาตอบกลับมาด้วยใบหน้ายิ้มๆ
ด้วยโทนเสียง ที่ค่อนข้างเบา
นัยว่าเป็นเทคนิคการรักษาเสียงอย่างหนึ่ง

นอกเหนือจากการไม่ดื่มน้ำเย็น
แต่ใบหน้าเริ่มเครียดขึ้นเมื่อพูดต่อว่า

"กิจการของบาวแดงมันเป็นกิจการ
ของเราเองที่แลกมาด้วยทุกสิ่งทุกอย่าง
ความสำเร็จหรือล้มเหลวของมันคือชีวิตของเรา"

แน่นอนทุกคนรู้ว่า 2 ปีที่ผ่านมานี้
เครื่องดื่มชูกำลัง คาราบาวแดง
มาแรงจริงแต่ความเสี่ยงยังมีอีกมาก


บนเส้นทางอันยาวนานกว่า 20 ปี ของถนนสายดนตรี

ที่ไม่มีค่ายใหญ่เป็นคนกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ
เขาจึงไม่เป็นเพียงแค่ศิลปินอย่างเดียว

แต่ได้ลงมาสัมผัสกับธุรกิจด้านนี้ด้วยตนเองมาโดยตลอด
เพียงแต่การต้องสู้รบปรบมือกับการพิมพ์ปกเทปปลอม
ปัญหาเรื่องเทปผีซีดีเถื่อน
และการทำธุรกิจของบริษัทมองโกลเกี่ยวกับ
ห้องอัดเสียงก็สู้ห้องอัดเสียงใหม่ๆ
ที่เทคโนโลยีทันสมัยไม่ได้
ทำให้เขาไม่ประสบความสำเร็จ
ในเรื่องธุรกิจนักในช่วงเวลาที่ผ่านมา


"ชีวิตที่เป็นศิลปินมันจะสั้นลงเรื่อยๆ
วันหนึ่งผมก็ได้คำต
อบว่า
ดนตรีมันไม่น่าจะดี
ต่อไปแล้ว
โดยเฉพาะในประเทศเรา

ถ้าเพลงของผมเป็นภาษาอังกฤษ
ผมอาจยอมดิ้นรน
แต่พอมันเป็นแบบนี้
มันเหมือนกับว่า
เราอยู่ในโลกแคบ ๆ ใบเดียว"


อย่าลืมว่าหลายปีมานี้ยอดขายเพลงเพื่อชีวิตลดลงมาก
แม้แต่เพลงคาราบาวที่เคยขายได้ 4-5 แสนม้วนต่อชุด

หรือชุดเมดอินไทยแลนด์ เคยขายได้ถึง 3 ล้านม้ว
ปัจจุบันไต่ยอดขายนั้นไม่เคยถึง
ในขณะที่วงจรชีวิตของศิลปินคนนี้ยังคงเหมือนเดิม

น้อยคนจะรู้ว่าชีวิตของเขาเล่นคอนเสิร์ตปีละไม่ต่ำกว่า 300 คืน
หรือมากกว่า เลิกเที่ยงคืน ตี 1-ตี 2
นอนในรถต่อเพื่อไปตื่นอีกจังหวัดหนึ่งมาตลอด

ในขณะที่ราคาค่าตัวน้อยกว่าศิลปินค่ายใหญ่ๆ หลายคน

แหล่งข่าวในวงคาราบาวเองเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า

"เอาแค่เสก โลโซ คนเดียวไปเล่นตามผับประมาณ 2 แสนบาทต่อคืน
คาราบาวเล่นในผับทั้งวง ราคา 7-8 หมื่นบาท

ผับเล็กหน่อย โต๊ะน้อยหน่อยก็แค่ 3-4 หมื่นบาท
ใหม่โชว์คืนเดียวประมาณ 1-2 แสนบาทไม่ต้องมีแบ็กอัพ"


ส่วนราคาเล่นในต่างจังหวัด งานวัด
งานทั่วไปประมาณ 2 แสนบาทต่อคืน

ในวงคาราบาวมีนักดนตรี 9 คน
คนตั้งเครื่อง 4-5 คน
แอ๊ดได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์
เล็กกับเทียรี่ได้ประมาณคนละ 15 เปอร์เซ็นต์

อย่างดุก พี่อ๊อดได้ 10 เปอร์เซ็นต์
มือกลอง ที่เหลือประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์"

"ดุก" ผู้จัดการวง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
ช่วงหน้าฝนรายได้ต่อเดือนน้อยลงเหลือประมาณ 1-2 ล้านบาท
ในขณะที่ช่วงอื่นๆ อย่างหน้าร้อน
หน้าหนาว รายได้อาจจะสูงขึ้น เท่าตัว


และไม่บ่อยครั้งนักหรอกที่โชคดีมีบริษัทใหญ่ๆ อย่าง
"เดอะพิซซ่า คัมปานี" จ้างวงคาราบาวไปเล่นที่อาคารอารีน่า
เมืองทองธานี ในอัตราค่าจ้างคืนละ 1 แสนบาทติดกัน 2 คืน

คืนละ 1 ชั่วโมง เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
รายได้ที่เหลือจากการแบ่งเปอร์เซ็นต์
ถ้าเหลือถูกนำเข้ากองกลางเพื่อเป็น ค่าใช้จ่าย
ในเรื่องบำรุงรักษาเครื่องดนตรี ยานพาหนะ
เงินเดือนคนขับรถ และพนักงานอีกส่วนหนึ่ง

รายได้อื่นๆ ของแอ๊ดยังมาจากบริษัทมองโกล
ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี 2544
เพื่อดูแลจัดการเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์เพลง

และสัญลักษณ์ต่างๆ ของวงคาราบาว
ก่อนหน้านี้เขาไม่เคยคิดจะต่อยอดเม็ดเงินจากจุดนี้ ด้วยเหตุผลว่า
"ผมคิดว่าเราจะเป็นอมตะ เมื่อมองว่าเราเป็นสาธารณะ"
เพียงแต่ว่าในช่วงระยะหลัง ทั้งเพลงและโลโก

กลายเป็นเครื่องมือทางการค้าของคนอื่นๆ มากขึ้น
การตั้งบริษัทมองโกล มาดูแลเลยเป็นเรื่องจำเป็น
บริษัท AUBARAC เป็นห้องอัดเสียงที่
พัฒนาจากระบบอนาล็อกเป็นระบบดิจิตอล


บริษัท มองโกล พิคเจอร์ ที่ร่วมกับ บริษัทกันตนา
ทำหนังวีซีดีออกมา 3 เรื่อง รวมทั้งทำสารคดีเรื่องไก่ชน

เม็ดเงินจาก 3 บริษัทนี้ไม่น่าจะมากนัก
โดยเฉพาะมองโกล พิคเจอร์
ที่มีการแข่งขันกันมากในปัจจุบัน


ส่วนรายได้จากสินค้าของคาราบาว

ที่ร้านในสวนจตุจักรถูกบริจาคไปยังองค์กร
การกุศลต่างๆ โดยไม่ได้เข้ากระเป๋าสมาชิกในวง
เช่นเดียวกับรายได้จากการขายหนังสือผลงาน

รวมเล่มจากคอลัมน์ "หน้าไมค์สไตล์แอ๊ด"
ที่บริจาคให้กับกลุ่มอีสานใต้


อย่างไรก็ตาม ว่ากันว่ารายได้ต่อเดือนของแอ๊ด

ไม่น่าต่ำกว่าเดือนละ 1 ล้าน บาท

"บอกว่าแอ๊ดไม่มีตังค์ หรือเล็ก รี่ ไม่มีตังค์ คนไม่เชื่อ
เราก็เห็นเขาโลดแล่นอยู่บนเวทีตลอด

จะบอกไม่มีตังค์ก็ไม่ได้ แต่ไม่ได้เยอะอย่างที่คนคิด
ถ้าแกทำงานมา 20 ปี ประสบความสำเร็จสุดท้าย
มีเงินมีทรัพย์สินประมาณ 50 ล้าน ก็ถือว่ารวย
ผมว่าแอ๊ดรวมๆ ทรัพย์สินของเขาก็ไม่น่าต่ำกว่า 50 ล้าน
แต่ไม่ได้รวยเป็น 100 ล้านอย่างที่หลายคนคิด"


"หมอคง" สหายคนหนึ่งของแอ๊ดเคยเล่าให้ฟัง

ในขณะเดียวกันใครๆ ก็รู้ว่า ภาระของเขามีอีกมากมาย
ภรรยา 1 ลูก 3 ที่กำลัง อยู่ในวัยศึกษาในต่างประเทศ
คนในวงและเพื่อนพ้องน้องพี่
ทีมงานอีกกว่า 50 คนคือ ภาระสำคัญ

รังสรรค์ ศรีสุภา "ตุ๋ย" ผู้จัดการส่วนตัวของแอ๊ด คาราบาว
และกรรมการบริหาร บริษัทมองโกล เล่าว่า

"หลายคนไม่เชื่อ เวลาผมบอกว่าแอ๊ดใส่เสื้อยืดราคาไม่กี่ตังค์
ใส่กางเกงยีนส์มือสอง ตัวละ 150 บาท
ซื้อจากจตุจักร รองเท้า เข็มขัด กระเป๋าหนัง มือสองหมด
ก็ผมเป็นคนซื้อให้เองกับมือ ภรรยาแอ๊ดไม่ได้มาดูเรื่องนี้หรอก

ของส่วนตัวที่จ่ายแพงหน่อยก็คงจะเป็นรถฮาร์เลย์คันหนึ่ง
ซื้อมาหลายปีแล้ว 6 แสนบาท รถคันอื่นที่มีก็มือ 2 หมด"

ข้อความที่เขียนด้วยลายมือตนเองในกระดาษ A4
ติดอยู่ตรงประตูบานหนึ่งใกล้ๆ ครัวที่บ้านของเขา ที่ว่า
"ที่นี่มีข้าวให้กิน มีที่ให้นอน แต่ไม่มีเงินให้ยืมแล้ว"
สะท้อนภาพชีวิตของเขาต่อสังคมเพื่อนฝูงได้ระดับหนึ่ง


"นี่คือสาเหตุที่ผมต้องหันไปทำอย่างอื่นด้วยไม่อย่างนั้นอยู่ไม่รอดแน่
เพราะภาระมันเยอะ ตอนนี้องค์กรมันใหญ่
ที่คุณเดินเข้ามาในบริเวณบ้านนี่ ค่าไฟ ผมจ่ายคนเดียว
อย่างบางคืนกลับมาจากเล่นคอนเสิร์ต

ผมต้องคอยเดินไล่ปิดไฟ ปิดแอร์"
จะว่าไปแล้ววิญญาณของคนทำมาหากินอยู่ในตัวของเขา
ตั้งแต่เด็กเพราะมาจาก ครอบครัวที่มีลูกๆ 6 คน
พ่อเป็นครูมาก่อนที่จะลาออกมาเปิดร้านขายของเบ็ดเตล็ด
มีตั้งแต่ยาสีฟัน สบู่ ชุดผ้าไตรจีวร ลูกฟุตบอล บาสเกตบอล

และแม่ยังทำขนมให้ลูกช่วยขายในตอนเย็นและวันหยุดอีกด้วย
"ผมได้ไอเดียการทำบาวแดงมาจากคุณเสถียร
ตอนนั้นแกมีสูตรอยู่แล้ว เคยพูดกันมาก่อนหน้านี้
แต่ไม่คิดว่าจะทำได้เพราะไม่มีแรงจูงใจ
แต่พอผมคิดว่าคราวนี้ต้องทำ เราเริ่มคิดทุกอย่างจากศูนย์
ไปเรียนรู้เรื่องเครื่องจักร ออกแบบเครื่องจักร
ออกแบบโลโก กระดาษแบบไหน หนาบางอย่างไร
เป็นเรื่องที่มันมาก เป็นธุรกิจชิ้นแรก
ที่ผมลงไปทำกับมันอย่างจริงจัง"


เจริญ สิริวัฒนภักดี และธนินท์เจียรวนนท์
เป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจคนหนึ่ง
เจริญมีสายสัมพันธ์กันตั้งแต่
การเข้ามาเป็นสปอนเซอร์คนสำคัญ
ในการแสดงคอนเสิร์ตของคาราบาว
การแต่งเพลงโฆษณาและเป็นพรีเซ็นเตอร์

ให้เบียร์ช้างฟรีนั้นเป็นการตอบแทน
ให้กับผู้มีพระคุณคนหนึ่ง


ส่วนธนินท์นั้นรู้จักกันเพราะไก่ชน
ในขณะที่ชีวิตครอบครัวมีโอกาสได้
พร้อมหน้าพร้อมตากันในช่วงปิดเทอม
แอ๊ด คาราบาว มีลูก 3 คน
เมื่อเล็กๆ ทุกคนเรียนในโรงเรียนอนุบาลใกล้บ้าน
ก่อนจะไปต่อที่โรงเรียนนานาชาติจักรวาล เขาใหญ่


ปัจจุบันลูกทั้ง 3 คนเรียนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย
คนโตกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยปี 1
ส่วนลูกชายคนเล็ก "โซโล"
เรียนระดับไฮสคูล โดยมี "ลินจง" ภรรยาไปดูแลอยู่ที่นั่น

"คนเล็กชอบร้องเพลง พรุ่งนี้เขาชวนเพื่อนมาอัดเสียง
(เป็นช่วงปิดเทอมของลูกชาย คนเล็ก)
ตอนเล็กๆ ก็ตามผมไปเล่นดนตรีบ่อย
ส่วนลูกสาวเคยไปเล่นดนตรีกับโจอี้ บอย
ไปกับพวกแกรมมี่บ้าง งานพัทยาเฟสติวัลก็ไป
ผมก็ปล่อยให้ลูกไปหาประสบการณ์เอง
เวลาผมมีคอนเสิร์ตใหญ่ก็จะบินมาดู
แต่ผมก็พยายามห้ามลูกบ้าง 3 คน
บินไปบินกลับนี่หลายตังค์นะลูก
อย่ามาเลย เดี๋ยวพ่อส่งวีซีดีไปให้" (หัวเราะ)


เวลาว่างที่มีน้อยมากหมดไปกับการอ่านหนังสือ
เขาชอบอานหนังสือมาตั้งแต่เด็กๆ
โดยได้รับอิทธิพลมาจากพ่อที่เป็นครู

โตขึ้นมาหน่อยก็เป็นหนังสือพวกท่องไพรของชาลี เอี่ยมกระสินธุ์
หรือร้อยป่า (อรชร พันธุ์บางกอก)
หนังสือของพนมเทียน เมื่อมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ
พักกับพี่เขยซึ่งเป็นนักข่าวประชาชาติ
ก็เป็นบ้านที่เต็มไปด้วยหนังสืออีก


หนังสือ 5 เรื่องที่เคยเป็นหนังสือในดวงใจ คือ
มหาภารตยุทธ คัมภีร์ห่วงทั้ง 5 ขุนเขายะเยือก
ศาสดาขบถ และปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว

เพลงที่ชอบคือเพลง "รอยไถแปร" ของก้าน แก้วสุพรรณ
เพลง "มนต์การเมือง" ของชาย เมืองสิงห์


งานอย่างหนึ่งที่แอ๊ด คาราบาว ทำมาตลอดคือ
การเขียนหนังสือ ปัจจุบันเขามีงานเขียนเกี่ยวกับ
เรื่องราวชีวิตของตนเองที่ร้อยรัดเชื่อมโยง
ไปกับเหตุการณ์บ้านเมืองและบุคคลต่างๆ

เดินเรื่องด้วยภาษาง่ายๆ น่าสนใจหลายเล่ม เช่น
"ก้าวแรกของชีวิต ก้าวที่สองคนดนตรี"
"บางระจันทร์วันเพ็ญ" "ไม่ต้องร้องไห้"
"ไก่ชนที่น่าชัง" "ปั้นเพลงให้เป็นหนัง"


ส่วนเรื่องที่กำลังทยอยเขียนเตรียมตีพิมพ์เป็นตอนๆ
ลงในหนังสือ "สีสัน" คือการทัวร์คอนเสิร์ต
ในอเมริกาและยุโรป เมื่อประมาณกลางปี 2547 ที่ผ่านมา


แอ๊ด คาราบาว ยังมีคิวแสดงละคร
ให้กับบริษัทกันตนาอีกด้วย เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
ที่เขาชอบและต้องการศึกษา
เรื่องที่เขาเคยแสดงคือลูกผู้ชายหัวใจเพชร กษัตริยา ฯลฯ


ทุกวันนี้แอ๊ด คาราบาว เป็นเจ้าของบริษัทที่เหนื่อยที่สุด

กลางคืนมีคิวคอนเสิร์ต ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
ส่วนกลางวันต้องช่วยทีมงานมาร์เก็ตติ้งของบริษัท
คาราบาวตะวันแดง เดินสายร่วมกิจกรรมขอบคุณลูกค้า
ยังไม่รวมคิวไปต่างประเทศ และงานกุศลที่ปฏิเสธไม่ได้
รวมทั้งภาระในตำแหน่งนายกสมาคมไก่ชนแห่งประเทศไทย
ที่ต้องติดตามเรื่องไข้หวัดนกตลอดเวลา


"สักวันหนึ่งเมื่อคาราบาวแดงยอดขายนิ่ง

คุณจะปลีกตัวออกมาแสดงคอนเสิร์ต อ่านหนังสือ
เขียนหนังสือเงียบๆ เท่านั้น หรือจะไล่ล่าตัวเลขยอดขายต่อไป"
"ผู้จัดการ" ถามระหว่างรอเครื่องบินเที่ยวกลับเมืองไทย

ณ สนามบินนานาชาติกรุงพนมเปญ
หลังจากตามไปดูคาราบาวแดงทำตลาดในประเทศกัมพูชา
เมื่อวันที่ 16-17 กันยายน 2547 ที่ผ่านมา คำตอบที่ได้รับคือ


"เมื่อลงมาทำธุรกิจนี้เราหยุดไม่ได้แน่นอน
พอหยุดคู่แข่งจะล้ำหน้าเราไปมากขึ้นทุกที
ศิลปินบางคนอาจมีความสุขที่จะอยู่เงียบๆ

ถึงเวลาเล่นดนตรี ว่างอ่านหนังสือ จิบไวน์
แต่ผมไม่ใช่ ผมชอบออกทัวร์ ชอบเจอลูกค้า
ไม่คิดว่างานหนักเลย
เพราะผมได้เรียนรู้วิธีคิดของคนใหม่ๆ ตลอดเวลา
ได้ข้อมูลในการเขียนหนังสือ เขียนเพลง
นี่คือวิธีการต่อสู้อีกทางหนึ่ง ผมไม่ใช่ศิลปินแบบเล็ก
(แอ๊ดพยักเพยิดไปยังเล็ก คาราบาว
ที่กำลังสีไวโอลินอย่างมีความสุข

ไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนกับการนั่งรอ
เครื่องบินที่ดีเลย์ไปเกือบชั่วโมง)
เขาไม่สนใจเรื่องอะไรเลย

แต่ผมภูมิใจในตัวเขาเพราะว่า
เล็กเรียนรู้เรื่องดนตรีอยู่ตลอดเวลา"
เจ้าสัวธนินท์-แอ๊ดคาราบาว
“แอ๊ด-เจ้าสัวธนินท์” เพื่อนซี้ต่างขั้ว
ผู้จัดการรายวัน
12 พฤษภาคม 2551
จะมีกี่คนที่รู้ว่านักธุรกิจ
ที่ร่ำรวยติดอันดับ 1 ใน 3
ของประเทศอย่าง ‘เจ้าสัวธนินท์’
จะมีเพื่อนซี้เป็นนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่ชื่อ
‘แอ๊ด คาราบาว’
ว่ากันว่าเขาทั้งสองซี้ปึ้กกันมาถึง 10 ปี

และไม่มีความแตกต่างใดๆจะมาขวางกั้น
สายสัมพันธ์ของคำว่า
‘เพื่อน’ ลูกผู้ชายกับไก่ชน
สายสัมพันธ์ดังกล่าวถูกถ่ายถอดผ่าน
ถ้อยคำของ‘ ยืนยง โอภากุล’
หรือ ‘แอ๊ด คาราบาว’ ศิลปินเพลงเพื่อชีวิต
ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
ด้วยน้ำเสียงอันก้องกังวาน
และท่วงท่าการชูมือขวาเป็นรูปเขาควาย
แอ๊ดเล่าว่า เขากับประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร
เครือเจริญโภคภัณฑ์ นาม ‘ธนินท์ เจียรวนนท์’
มีโอกาสได้รู้จักกันเมื่อประมาณ 10 ที่ผ่านมา
ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ยิ่งใหญ่
จากสองวงการโคจรมาพบกันก็คือ
กีฬาพื้น บ้านอย่าง ‘ไก่ชน’ ที่คนทั้งคู่ชื่นชอบนั่นเอง
“ ผมกับท่านประธาน (ธนินท์ เจียรวนนท์)
รู้จักกันเมื่อประมาณปี 2540
เราไปเจอกันในงานชนไก่นานาชาติ ที่พนัสนิคม จ.ชลบุรี

ซึ่งทางสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย
ของอาจารย์ปรารถนา งามวงศ์วาน เป็นผู้จัด
คือสมัยเด็กๆผมเคยเลี้ยงไก่ชน
พอเห็นข่าวในหนังสือพิมพ์ว่าจะมีงานชนไก่ที่พนัสนิคม
โดยจะมีการนำไก่พันธุ์ต่างๆ ไก่เวียดนาม ไก่จีน ไก่ลาว ไก่พม่า
ไก่ไทยมาจัดแสดงผมก็สนใจ เลยไปดู
แล้วก็ได้พบกับท่าน(คุณธนินท์)
ตั้งแต่นั้นท่านก็ให้ไก่ผมมาเลี้ยง แล้วก็ติดต่อกันเรื่อยมา คือ
คุณธนินท์ ท่านชอบไก่ชนเป็นชีวิตจิตใจ
บางครั้งท่านก็แนะนำเรื่องการดูไก่ชน ให้ดูเกร็ด ดูสายพันธุ์

อย่างสายพันธุ์ไซง่อน จากเวียดนาม
ผมก็ได้สัมผัสครั้งแรกเพราะว่าท่านเป็นคนมอบให้
ท่านให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่สวยมาก
แล้วก็พาไปดูฟาร์มที่ท่านทำไว้
ผมกับท่านก็เจอกันค่อนข้างบ่อยนะ
ช่วงว่างก็เจอกันตลอด ส่วนใหญ่ท่านจะไปชนไก่ที่โบนันซ่า เขาใหญ่
คือที่นั่นเป็นสนามชนไก่ของสมาคมส่งเสริมอาชีพไก่ชนไทย
ซึ่งผมเป็นนายกสมาคมอยู่ และที่ตั้งขึ้นมาก็เพราะ
แรงผลักดันของท่านประธานน่ะแหล่ะ
เราก็ไปเช่าสนามชนไก่ของพี่ไพวงษ์
(ไพวงษ์ เตชะณรงค์ ประธานกรรมการ
โรงแรมโบนันซ่า เขาใหญ่)

แล้วก็ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน
คือต้องการให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางของ
การแลกเปลี่ยนซื้อขายไก่ชนด้วย
แล้วก็เป็นสนามที่ได้มาตรฐานถูกต้อง
ให้เป็นแบบอย่างกับสนามอื่นๆ
เหตุที่สนิทกันก็อาจเป็นเพราะผมกับท่านมีอะไรคล้ายๆกัน
ลูกผู้ชาย จะคบกับใครนี่ให้ใจเต็มร้อยเลย”
แอ๊ด บอกเล่าถึงสายสัมพันธ์อันยาวนาน
เจาะขุมทรัพย์ 1,000 ล้าน
"ป๋าเบิร์ด" VS "แอ๊ดบาว" ซูเปอร์สตาร์ มาร์เก็ตติ้ง
ไผรวยกว่าไผ ?


ถ้า ในวงการเศรษฐีหุ้น ต้องยกให้
เสี่ยตึ๋ง อนันต์ อัศวโภคิน
เจ้าพ่อแลนด์แอนด์เฮ้าส์
แต่ถ้าในการศิลปินนักร้อง ระดับแถวหน้า
ถามว่า ใครรวยกว่าระหว่าง ยืนยง โอภากุล
หรือแอ๊ด ค
าราบาว เจ้าพ่อเพลงเพื่อชีวิต กับ
เสี่ยเบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ซูเปอร์สตาร์ค่ายเพลงดัง ...
เราจะพาไปเปิดกระเป๋าของอภิศิลปินระดับเสี่ย

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาแวดวงศิลปินนักร้องในเมืองไทย
มีนักร้องระดับตำนานอยู่ 2 คน หนึ่ง
ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว
เจ้าพ่อเพลงเพื่อชีวิต อีกหนึ่ง
เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ซูเปอร์สตาร์ค่ายเพลงดัง
บทเพลงข
องคนทั้งคู่ติดหูคนฟังมานาน
แต่ไม่มีเครื่องวัดความดังว่ากี่เดซิเบล และใครดังกว่ากัน
ทั้ง 2 คนต่างมีแฟนคลับทุกเพศทุกวัยนับล้านคน
โดยเฉพาะรายหลังว่ากันว่าไม่สามารถนั่งกินข้าวแกงข้างถนน
หรือเดินไปช็อปปิ้งในเมืองไทยได้
เนื่องจากมีแฟนคลับรุมกรี๊ดรุมตอมคับคั่ง
"แอ๊ด" เป็นเจ้าของบทเพลงเกือบ 100 อัลบั้ม

ขณะที่ผลงานของ "เบิร์ด" มียอดขายสูงลิ่วกว่า 20 ล้านชุด
ทำให้มีฐานะ
ระดับท็อปในหมู่นักร้องด้วยกัน
หากตั้งคำถามว่า "แอ๊ดบาว" กับ "ป่าเบิร์ด" ใครรวยกว่ากัน?
เชื่อว่าหลายคนอยากรู้คำตอบ
"แอ๊ด" เกิดปี 2497 เป็นคนตำบลท่าพี่เลี้ยง จ.สุพรรณบุรี
เป็นลูกแฝดคนเล็ก ครอบครัวมีอาชีพค้าขาย
เรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนวัดสุวรรณภูมิ
ระดับมัธยมโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
ระดับอุดมศึกษาที่อุเทนถวาย
และบินไปเรียนต่อระดับปริญญาที่ประเทศฟิลิปปินส์
ขณะเรียนร่วมกับ กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร
หรือ เขียว คาราบาว เพื่อนสมัยเรียนที่ฟิลิปปินส์
ก่อตั้งวงคาราบาว เรียนจบเข้าทำงานเป็น

สถาปนิกที่การเคหะแห่งชาติ 5 ปี
และเล่นดนตรีตอนกลางคืนไปด้วย
จากนั้นเป็นโปรดิวเซอร์ให้วงแฮมเมอร์
จากการตรวจสอบพบว่า "แอ๊ด"
เปิดห้องบันทึกเสียงครั้งแรก ปี 2528 ชื่อ บริษัท บัฟฟาโล่เฮด
ทุน 4 ล้านบาท อยู่แถวริมคลองวัดพระงาม อ.เมือง จ.นครปฐม 4 ปี
จากนั้นลุยธุรกิจเพลง 4 แห่งรวด
ปี 2532ก่อตั้ง บริษัท วินด์ซอง จำกัด ทุน 12 ล้านบาทเศษ
อยู่ในจังหวัดนครปฐมเช่นเดียวกัน
ปี 2534 ก่อตั้ง บริษัท ออบาแร็ค จำกัด ทุน 12 ล้านบาทเศษ
อยู่ในซอยหลังสนามกอล์ฟ ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก
ถือหุ้นใหญ่ร่วมกับ นายศุภชัย จันท์แสนโรจน์
นางวาสนา ศิลปิกุล เจ้าของบริษัท เทเลซีน,
เขียว-กีรติ, เล็ก-ปรีชา ชนะภัย, เทียรีสุทธิยง เมฆวัฒนา,
ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี, อนุพงษ์ ประถมปัทมะ และ อำนาจ ลูกจันทร์
ปี 2538 ก่อตั้ง บริษัท กระบือแอนด์โค จำกัด ทุน 1 ล้านบาท
อยู่แถวถนนอุดมสุข แขวงหนองบอน เขตประเวศ
นางวาสนา ศิลปิกุล ถือหุ้นใหญ่
ปี 2544 ก่อตั้ง บริษัท มองโกล จำกัด ทุน 1 ล้านบาท
อยู่ในซอยลาดพร้าว 64 กรุงเทพฯ แอ๊ด ลินจง ภรรยา
และเพื่อนวงคาราบาวร่วมถือหุ้น
หลังจากธุรกิจเพลงเริ่มอิ่มตัว "แอ๊ด" แปรวิกฤตเป็นโอกาส แปลง
"ซูเปอร์สตาร์" เป็น "ทุน" ร่วมหุ้นกับเสี่ย เสถียร เศรษฐสิทธิ์
ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อคาราบาวแดง
ในชื่อ บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท
ตัวแอ๊ดถือหุ้น 516,500 หุ้น หรือ 25.8% มูลค่า 51.6 ล้านบาท,
นางสาวณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ 540,000 หุ้น
หรือ 27% มูลค่า 54 ล้านบาท, นายเสถียร 380,000 หุ้น
คือ 19% มูลค่า 38 ล้านบาท, นางดารารัตน์ เศรษฐสิทธิ์ 300,000 หุ้น
หรือ 15% มูลค่า 30 ล้านบาท, นายสุพจน์ ธีระวัฒนชัย 190,000 หุ้น
หรือ 9.5% มูลค่า 19 ล้านบาท "ลิโพ" จับตลาดบน
แต่ "คาราบาวแดง" จับตลาดล่าง ขายถูกกว่า
นอกจากนี้ "แอ๊ด" ยังแต่งเพลงและเป็นพรีเซ็นเตอร์อีกด้วย
ทำให้ยอดขายพุ่งกระฉูด
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า
ปี 2549 เครื่องดื่มคาราบาวแดง มีรายได้ 1,364.7 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 10.3 ล้านบาท
ปี 2550 รายได้ 1,934.5 ล้านบาท กำไรสุทธิ 61.7 ล้านบาท
ปี 2551 รายได้ 2,256.9 ล้านบาท กำไรสุทธิ 145.4 ล้านบาท
เท่ากับสร้างเม็ดเงินให้เจ้าพ่อเพลงเพื่อชีวิตมากสุดในขณะนี้
และเจ้าตัวยังไม่มีทีท่าที่จะขายหุ้นให้กลุ่ม
นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อเบียร์ช้างแต่อย่างใด
ขณะที่บริษัท มองโกล มีรายได้ไม่มากนัก
ปี 2549-2551 รายได้ 13.8 ล้านบาท, 17.8 ล้านบาท, 21.8 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 1.5 ล้านบาท, 9 แสนบาท, 8 แสนบาท ตามลำดับ
บริษัท กระบือแอนด์โค ปี 2549-2551 รายได้ 10.7 ล้านบาท,
9.6 ล้านบาท, 7 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1 แสนบาทเศษ,
4 แสนบาทเศษ, ขาดทุนสุทธิ 4 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนอีก 3 บริษัทเลิกกิจการนานแล้ว
"แอ๊ด" ยังมีรายได้จากแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ ละคร หลายเรื่อง
งานโฆษณาหลายชิ้น เช่น เพื่อเมืองไทยด้วยใจและใจของโค้ก
เพลงประกอบโฆษณาเบียร์ช้าง รถปิกอัพโตโยต้า
แต่งเพลงให้รายการเกมส์แก้จน
รวมทั้งเล่นหนัง "แอ๊ด" ชอบไก่ชนตัวละนับแสนบาท
จนได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมส่งเสริมอาชีพไก่ชนไทย
มีเครือข่ายนักธุรกิจและนักการเมือง อาทิ
เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งซีพี
สมศักดิ์ เทพสุทิน และมีที่ดินจำนวนมาก
หนึ่งในนั้นคือเมืองกาญจน์
ขณะที่ "เบิร์ด" อายุน้อยกว่า เกิดปี 2501
เป็นลูกคนที่ 9 ใน 10 คน
เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนนิมมานรดี
ระดับมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนปัญญาวรคุณ
ระดับอนุปริญญาที่วิทยาลัยพาณิชยการธนบุรี
เคยทำงานแบงก์กสิกรไทย สาขาท่าพระ ฝ่ายต่างประเทศ
และรับจ๊อบถ่ายแบบ ถ่ายโฆษณา
กระทั่ง ไก่-วรายุทธ มิลินทจินดา
ชักชวนให้เล่นละคร "น้ำตาลไหม้"
ทำให้เป็นที่รู้จักในฐานะนักแสดงหน้าใหม่
กระทั่งเข้าสู่วงการเพลง "เบิร์ด"
เป็นนักร้องไม่กี่คนที่ถือหุ้นและ
นั่งเป็นกรรมการในเครือแกรมมี่ ได้แก่
บริษัท แกรมมี่ ภาพยนตร์ จำกัด,
บริษัท เบิร์ด ไลเซ็นส์ จำกัด,
บริษัท เมจิค ฟิล์ม จำกัด และ
หจก.พรพิริช (ขายสินค้า)
มีธุรกิจส่วนตัว 2 แห่ง ชื่อ บริษัท ยูนิคซัพพลาย
ก่อตั้งปี 2527 ด้วยทุน 1 ล้านบาท
อยู่ในหมู่บ้านสุขใจ ถนนรามคำแหง
โดยมี นางแคธริน-พันโทยงยุทธ นันทิทรรภ นางสุธา พิจิตรคดีพล
ร่วมถือหุ้น และ บริษัท บี.พูล จำกัด ก่อตั้ง ปี 2539 ทุน 1 ล้านบาท
เกือบทั้งหมดเลิกกิจการ ยกเว้น "เมจิค ฟิล์ม"
ซึ่งมีรายได้ปีละไม่กี่ล้านบาทและขาดทุนหลายปีติดต่อกัน
ในยุคขาขึ้น "เบิร์ด" มีรายได้จากโฆษณาสินค้าหลายชิ้น
หนึ่งในนั้นคือมันฝรั่งยี่ห้อหนึ่ง ได้ค่าตัวสูงปรี๊ด
ระยะหลังมีงานโฆษณาน้อยชิ้น
ที่ยังพอเห็นคือพรีเซ็นเตอร์ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
แต่ค่าตัวยังแพงลิ่วกว่า 7 หลัก
"เบิร์ด" มีบ้านหรูและที่ดินกว่า 100 ไร่อยู่ใน
ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
เครือญาติเปิดบริษัทออแกไนซ์อยู่ย่านถนนปิ่นเกล้า
สินทรัพย์รวมนับร้อยล้าน
ขุมข่าย สายป่าน และความเป็นธุรกิจ
อาจไม่ลึกเท่า "แอ๊ด" แต่งานเพลงของคนทั้งคู่
สร้างความสุขให้คนฟังเหมือนกัน
( หมายเหตุ จาก มติชนสุดสัปดาห์ )