Custom Search

Apr 14, 2010

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รุกจัดแผนพัฒนานศ.มุ่งสู่นานาชาติ



http://intranet.mfu.ac.th/system/mfunews/prnews01.php?newsid=4182
http://teetwo.blogspot.com/2010/03/blog-post_20.html

มฟล. จัดสัมมนาวางแผนพัฒนานักศึกษาสู่ความเป็นสากล
รองรับความต้องการบัณฑิตสู่นานาชาติ นำโดย

ดร.ชูเกียรติ น้อยฉิม ผู้ช่วยอธิการบดี มฟล.
ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ให้แก่หัวหน้าหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
ได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดวางแผนพัฒนา
ในระหว่างสัมมนา ณ ห้องประชุม 306 อาคารกิจกรรมและโรงอาหารนักศึกษา
เมื่อวันที่
1 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา

รศ.ดร.เทอด เทศประทีป
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
(มฟล.)
กล่าวเปิดการสัมมนาว่า
ปัจจุบันมฟล. เปิดสอนใน 10 สำนักวิชา
ซึ่งสำนักวิชามีภารกิจหลักในการพัฒนาด้านวิชาการให้กับนักศึกษา
ให้เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในวิชาการที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง


แต่ขณะเดียวกันนอกจากการพัฒนาด้านวิชาการให้แก่นักศึกษาแล้ว
มหาวิทยาลัยยังมีภ
ารกิจที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่จะ
บ่มเพาะความพร้อมให้แก่นักศึกษา
ก่อนออกไปเผชิญโลกภายนอกอย่างภาคภูมิ
โดย
มหาวิทยาลัยคาดหวังให้นักศึกษาจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ
ในการสื่อสารภาษาต่างชาติ มีความรู้ความเข้าใจ
ยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกันในวัฒนธรรมที่แตกต่าง

และรู้ทันเหตุการณ์โลก ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถเรียกรวมได้ว่า
เป็นบัณฑิตที่มีความพร้อมสู่การเป็นสากลหรือนานาชาติที่ม
ฟล.ต้องการ
หากจะเปรียบเทียบให้เข้าใจชัดเจนคือ
ภารกิจในการให้ความรู้ด้านวิชาการที่มฟล. มีอยู่ 10 สำนักวิชานั้น

เปรียบเป็น “School 10” และภารกิจในการเสริมสร้าง
ความพร้อมสู่การเป็นสากลของนักศึกษา เปรียบได้กับ “School 11”

ดังนั้นเพื่อเ
ตรียมความพร้อมในทุกด้านให้นักศึกษา
มฟล.จึงได้จัดการสัมมนาทำร่างแผนแม่บท
School 11 : แผนพัฒนานักศึกาสู่ความเป็นสากลและ

สร้างเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนานักศึกษาสู่ ความเป็นสากล
โดยระดมความคิดเห็นจากหัวหน้าหน่วยงานสนับสนุนการศึกษา
รวมทั้งเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการจากหลายหน่วยงาน อาทิเช่น
ส่วนพัฒนานักศึกษา ส่วนจัดหางานและฝึกงานของนักศึกษา

ส่วนพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนประชาสัมพันธ์
สำนักงานให้คำปรึษาและช่วยเหลือนักศึกษา และสำนักงานหอพักนักศึกษา

เพื่อจัดเตรียมแผนพัฒนานักศึกษาในการความพร้อมให้แก่
นักศึกษาในด้านต่างๆ ระหว่างวันที่ 1-6 เมษายน 2553

นาวาอากาศเอก ดร.ธงชัย อยู่ญาติวงศ์ รองอธิการบดี มฟล.
นำเสนอ “การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ” ว่า
การจะแปลงแผนสู่การปฏิบัติได้นั้น

จะต้องมีการสร้างความรู้
ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เช่น
วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์ต่างๆ
จากนั้นจะเป็นขั้นตอนในการ
นำแผนไปสู่การปฏิบัติให้เชื่อมโยงกัน
โดยการนำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย

แผนการจัดสรรงบ แผนปฏิบัติการ
และขั้นตอนสุดท้ายคือการติดตามประเมินผล
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณา
แต่ทั้งนี้การนำแผนไปสู่การปฏิบัตินั้น
มักจะมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ อาทิเช่น
1.ขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติ
2.ขาดการเชื่อมโยง ขาดความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่างๆ
3. ขาดข้อมูลที่ถูกต้อง หรือเห็นข้อมูลไม่เท่ากัน
4.ขาดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในหน่วยงาน

5.ขาดจิตใจที่มุ่งมั่น
6.ขาดสำนึกอัตโนมัติ

และสิ่งสุดท้ายคือ
7.การขาดความคิดสร้างสรรค์
ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้นับได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ
ในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

สำหรับข้อคำถามที่ว่าจะมีแนวทางจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไร
ดร.ธงชัย กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาหลักๆ
คงจะเป็นที่ตัวบุคคลหรือ Team Spirit
ในการทำความเข้าใจกับแผนการด้านต่างๆ

การร่วมมือระหว่างหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
การแลกเปลี่ยนด้านข้อมูลสถิติต่างๆ
ซึ่งหากบุคล
ากรไม่มีการประสานงานด้านต่างๆ
แผนการปฏิบัติงานก็จะไม่มีความหมาย

ด้านดร.ร่มเย็น โกไศยกานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มฟล.
นำเสนอแผนพัฒนานักศึกษาสู่ควา
มเป็นสากล
โดยให้นิยามความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยว่า
"การมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการปรับตัว
อยู่ในสิ่งแวดล้อมความเป็นนานาชาติ
ตลอดจนสร้างองค์ความรู้
หรือภูมิคุ้มกันให้บัณฑิตสามารถดำรงอยู่ได้
ในสภาวะที่โลกมีความเป็นนานาชาติ

ซึ่งบทบาทในการสร้างความเป็นนานาชาติของมฟล.นั้น
สามารถสร้างได้จากปัจจัย 3 ด้านคือ
1.ความตระหนักทางวัฒนธรรม

2.ทักษะภาษา และ
3.ความรู้ทางวิชาการเปรียบเทียบ”

อธิการบดีคนใหม่ มฟล.ยกระดับคุณภาพก้าวสู่นานาชาติ

คำมั่นสัญญาของ “รศ.น.สพ.ดร.เทอด เทศประทีป

อธิการบดี คนที่ 2หรืออธิการบดีคนปัจจุบัน

ที่บอกเล่าต่อหน้าคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร มฟล.

ในพิธีส่งมอบตำแหน่งและสถาปนาอธิการบดีเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2552

“รศ.น.สพ.ดร.เทอด เทศประทีป

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สาขาสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

สาขา Veterinary Pathology จาก

The Royal Veterinary College, Stockholm, Sweden

และจบดุษฎีบัณฑิต จาก

College of Veterinary Medicine, Hannover, Germany

อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสัตวแพทย์ ม.เชียงใหม่

และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มฟล.


อธิการบดีคนใหม่ กล่าวว่า อีก 4 ปี ในฐานะอธิการบดี

จะยึดมั่นปรัชญาการบริหารมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ

ที่เน้นการพัฒนาองค์กรให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ

สามารถปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

โดยมุ่งหมายให้ มฟล.เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ

มีคุณภาพบนพื้นฐานของการบริหารจัดการที่ดี

มีการพัฒนาทางวิชาการที่เข้มแข็ง

มีความสามัคคี ปรองดองภายในมหาวิทยาลัย

อันนำไปสู่การตอบสนองความต้องการของชาติและก้าวทัน กระแสโลกาภิวัตน์


“ผมจะบริหาร มฟล.ด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส

เพื่อให้มหาวิทยาลัยเติบโตอย่างมั่นคง มีเสถียรภาพ

ได้รับการยอมรับในทุกๆ ด้าน เพราะตลอดเวลา 11 ปี

ภายใต้การดูแลของ รศ.ดร.วันชัย อธิการบดีผู้มีคุณูปการต่อ มฟล.

ถือเป็นยุคบุกเบิกสร้างสรรค์ที่จำเป็นต้องสร้างองค์ประกอบของความเป็น

มหาวิทยาลัยให้เกิดขึ้น โดยใช้แบบแผนการบริหารจัดการ

และภาวะความเป็นผู้นำของผู้บริหารมา

พร้อมทั้งยึดดำเนินการตามพระราชปณิธานสมเด็จย่า ปลูกป่า สร้างคน”

แนวทางในการรักษาไว้ซึ่งแนวคิด University in the Park

และ University of Opportunity

รวมถึงแนวทางการบริหารที่ดี เพื่อให้ มฟล.เติบโต กว้างขวาง

รศ.นสพ.ดร.เทอด กล่าวต่อว่า

ได้ยึดหลักการบริหารงานแบบรวมงานบริการไว้ที่ศูนย์กลางในทุกด้าน

ทั้งวิชาการ งานวิจัย เน้นประโยชน์ของมหาวิทยาลัยเป็นหลักในทุกด้าน

พร้อมประสานประโยชน์ในเรื่องผลตอบแทนที่บุคลากรจะได้รับอย่างเป็นธรรม


ขณะที่ด้านการเงิน เน้นมีวินัยในการใช้เงินและงบประมาณ

พัฒนาบุคลากรภายใน เน้นสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลและองค์การภายนอก

เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ที่สำคัญยังคงยึดมั่น

เป็นมหาวิทยาลัยขนาดกลาง มหาวิทยาลัยสีเขียว

เน้นการสอนที่ใช้สื่อภาษาอังกฤษ

พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและความงามอย่างต่อเนื่อง


“มฟล.เติบโตค่อนข้างเร็ว อาจมีช่องว่าง

ผมจะลดช่องว่างที่เกิดขึ้น เพื่อให้ มฟล.ก้าวหน้า

แต่สิ่งไหนที่ดีอยู่แล้ว ผมจะคงไว้

ผมยึดหลักการทำงานเช่นเดียวกับ

รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีผู้ก่อตั้ง มฟล.

มีเมตตาธรรม สุจริตธรรม วิริยะธรรม และกตัญญูตาธรรม”


ไม่เพียงเฉพาะหน้าที่บริหาร ในด้านคุณภาพของบัณฑิตของ มฟล.นั้น

ต้องมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งวิชาการ ทักษะชีวิต และภาษา

เพราะต้องยอมรับว่า การศึกษาไทยมีปัญหาหลายๆ อย่าง


“ปัญหาเรื่องการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

หรือแอดมิชชั่นส์กลาง แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ต้องการให้มีการปรับครั้งใหญ่ แต่สำหรับ

มฟล.แนวทางการรับนักศึกษาที่ดีที่สุด คือ

เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาเข้ามาเรียนได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นระบบการรับนักศึกษาในอนาคต

ควรเป็นระบบที่แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดกว้างรับ

นักศึกษาที่มีความหลากหลายมาก ขึ้น

ผมเชื่อว่าการพัฒนาเด็กที่ไม่เก่งให้พอจะเก่งได้ในสังคม

สำคัญกว่าการทำให้คนที่เก่งอยู่แล้วเก่งยิ่งขึ้น"


การศึกษาไทย มีช่องว่างมากมาย

เด็กต่างจังหวัดกับเด็กในเมืองมีโอกาสแตกต่างกัน

แต่ มฟล.นั้น อธิการบดีมฟล.บอกตบท้ายว่า

ทุกคนที่ต้องการเข้าเรียน มฟล. ไม่ว่าจะยากจนเพียงใด

แต่ถ้ามีความสามารถ ความพร้อมเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาได้

ไม่มีใครที่จะไม่ได้รับการศึกษาเพราะความยากจน


“ปลูกป่า สร้างคน”

แนวคิดหลักของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จ.เชียงราย

มหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในประเทศไทย

เพราะด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าอันกว้างใหญ่

ไปด้วยพืชพันธุ์ไม้นานาชนิด

และต้นกล้าแห่งปัญญาที่อธิการบดีคนใหม่

อย่าง “รศ.น.สพ.ดร.เทอด เทศประทีป

และ รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อดีตอธิการบดีผู้ก่อตั้ง

ยังคงสานต่อปณิธานเพื่อให้ มฟล.เป็นแหล่งปัญญา

การศึกษาของคนเชียงราย และเด็กไทยทั่วประเทศ

ใครสนใจอยากเรียนรู้ผืนป่าแห่งปัญญา

สนใจติดต่อเยี่ยมชม มฟล.

ทาง www.mfu.ac.th โทร.0-5391-6000, 0-5391-7034


มติชน
วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553

"ม.แม่ฟ้าหลวง"มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มบัณฑิต เน้นภาษา"อังกฤษ-จีน"
-เปิดวิชาอาเซียน เรียนรู้บริบทโลก


รศ.น.สพ.ดร.เทอด เทศประทีป

อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.)

เปิด
เผยว่า มฟล.ตั้งขึ้นด้วยเจตนารมณ์ตามรอยสมเด็จย่าฯ

ภารกิจสำคัญคือ การปลูกป่า สร้างคน

ในส่วนของการสร้างคุณภาพของคน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

คุณภาพด้านวิชาการ และคุณภาพที่เป็นมูลค่าเพิ่ม

มฟล.จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อหลัก

ซึ่งบัณฑิตจะได้ประโยชน์ ทั้งการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ

และบ่มเพาะความเป็นคนที่รู้จักขวนขวายหาความรู้ด้วยตัวเอง เช่น

นักศึกษาที่เข้าเรียนในชั้นเรียนที่สอนด้วยภาษาอังกฤษในช่วงแรกยังฟังไม่ได้

ครบถ้อยความ ต้องอาศัยหาข้อมูลเพิ่มจากหนังสือในห้องสมุด

หรือจากอินเตอร์เน็ต ตามหัวข้อที่อาจารย์สอนในชั้นเรียน

นอกจากนี้ การรวมตัวกันของกลุ่มประเทศต่างๆ

โดยเฉพาะในระดับอาเซียน

ทำให้ มฟล.ฝึกอบรมบัณฑิตให้เป็นพลเมืองอาเซียน

และเป็นก้าวต่อไปในการเป็นพลเมืองของโลก

โดยพัฒนาทักษะด้านภาษา

นอกจากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองแล้ว

จะสนับสนุนให้พัฒนาทักษะภาษาที่สาม

โดยเฉพาะภาษาจีน รวมทั้งเปิดให้มีรายวิชาเกี่ยวกับอาเซียน

มีเนื้อหาตั้งแต่ที่มาของความรวมตัวกันของกลุ่มอาเซียนไปจนถึงกรอบการค้า

และข้อตกลงต่างๆ รวมทั้งบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก

และต่อไปจะต้องออกแบบหลักสูตรให้นักศึกษา

ได้ทำความเข้าใจในบริบทของโลกด้วย


"ไม่เฉพาะภาคทฤษฎีเท่านั้น มฟล.จะสนับสนุนให้นักศึกษา

มีโอกาสสัมผัสโลกในระดับอาเซียนและระดับโลก

ทั้งในรูปแบบโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์

หรือในรูปแบบของการฝึกงาน ดูงานหน่วยงาน

ที่เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย

เพื่อทำความเข้าใจกับบทบาทหน้าที่ขององค์กรนั้นๆ เหล่านี้

นอกจากจะช่วยขยายโอกาสในการทำงานของบัณฑิตให้กว้างขึ้น

การเรียนรู้บริบทของสังคมโลกจะนำมาสู่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ"

รศ.น.สพ.ดร.เทอด
กล่าว

รศ.น.สพ.ดร.เทอด
กล่าวอีกว่า
อย่างไรก็ตาม มฟล.ยังเป็นกล่องปัญญาให้กับชุมชน

โดย มฟล.มีสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์

ซึ่งเป็นเจตนาของมหาวิทยาลัย

ที่จะเอาปัญหาของชุมชนมาศึกษา ทำความเข้าใจ

ไปจนถึงการหาแนวทางในการแก้ไข

โดยเฉพาะเมื่อ มฟล.เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในจุดที่เป็นชายแดน

มีความหลากหลายในหลายด้าน

โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม มีหลายโครงการที่ได้ทำไปแล้ว

อย่างการร่วมกับ กทช.หรือตลาดทุน

ในการพัฒนาครูอาจารย์ระดับขั้นพื้นฐาน

ทั้งประเด็นวิธีคิด และทักษะในการผลิตสื่อการเรียนการสอน


รศ.น.สพ.ดร.เทอด
กล่าวว่า
สำหรับแนวการรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2553 นั้น

สัดส่วนการรับตรงกับรับจากระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา

หรือแอดมิสชั่นส์ ใกล้เคียงกัน ประมาณ 50 ต่อ 50

โดยรับตรงจากโควต้า 17 จังหวัดภาคเหนือ

กับรับตรงจากทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ในอนาคตมองว่าระบบการคัดเลือกกลาง

จะทำให้มหาวิทยาลัยใหม่เกิดได้ยาก

เพราะนักเรียนจะสนใจมหาวิทยาลัยที่เปิดมานาน

สิ่งนี้ทำให้ มฟล.มีแนวทางของตัวเองชัดเจน

ไม่ว่าจะเป็นการสอนด้วยภาษาอังกฤษ

หรือการเปิดสอนในสาขาวิชาที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยทั่วไป


"ส่วนที่ผล การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน

หรือโอเน็ต ม.6 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 50% นั้น

อาจมาจาก 2 กรณี คือ ข้อสอบยาก หรือเป็นที่นักเรียนเอง

ซึ่งการแก้ปัญหามีหลายปัจจัยที่จะสนับสนุน อยู่ที่วิธีคิด

ตนคิดว่าครูสำคัญ ทั้งเรื่องวิธีคิดและการทำสื่อการเรียนการสอน

เพื่อช่วยในการถ่ายทอดความคิดนั้นสู่เด็กๆ

มฟล.จึงมีโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาครูต่อเนื่อง

และด้วยความที่ต้องการให้การช่วยเหลือนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

จึงตั้งมูลนิธิมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้น

เพื่อช่วยสนับสนุนงานพัฒนาครูชนบท"
รศ.น.สพ.ดร.เทอด กล่าว


มฟล.เปิด3หลักสูตรวิทย์สุขภาพรับปี53ผ่านแอดมิชชั่นส์-รับตรง

รศ.น.สพ.ดร.เทอด เทศประทีป
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) กล่าวว่า

ในปีการศึกษา 2553 มฟล.เปิดหลักสูตรใหม่เพิ่มอีก 3 สาขาวิชา ได้แก่

1.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอนามัยสิ่งแวดล้อม

ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่ง เน้นให้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับ

การจัดการและการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

โดยใช้ศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

เพื่อทำให้สุขภาพและอนามัยของมนุษย์ดีขึ้น

2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและ
สุขภาพ
มุ่งเน้นผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและ
สุขภาพ
ให้มีความสามารถในการวางแผน ฝึกและสร้างนักกีฬาระดับอาชีพ

3.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้และ

ทักษะในการจัดการทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


"หลักสูตรทั้ง 3 เน้นการสร้างเสริมการเรียนรู้ด้วยทฤษฎี

และการปฏิบัติจากประสบการณ์จริง เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถคิด

วิเคราะห์ ค้นคว้าหาคำตอบ สังเคราะห์เป็นความรู้ ความเข้าใจ

และสามารถปฏิบัติได้จริงในระหว่างการศึกษา

และพัฒนาเพิ่มเติมได้ด้วยตนเองตลอดไป

และจัดให้มีการศึกษาเรียนรู้รวมกันกับกลุ่มวิชาชีพด้านอื่น

เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจรวมกัน

อันจะนำไปสู่การทำงานเป็นกลุ่มคณะที่ดีในอนาคตต่อไป

อย่างไรก็ตาม หลักสูตรที่เปิดใหม่ของ มฟล.นั้น

ล้วนเน้นผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์
สุขภาพ
เพื่อ
สุขภาพที่ดีขึ้นของคนไทย
ทั้งนี้ มฟล.เปิดรับนักศึกษาผ่านระบบแอดมิชชั่นส์กลาง

และระบบรับตรงทั่วประเทศ ในเดือนมีนาคม-เมษายน 2553

หรือสอบถามโทร.0-5391-6103-7 ดูข้อมูล www.mfu.ac.th"

อธิการบดี มฟล.กล่าว