Custom Search

Mar 20, 2010

การใช้เทคโนโลยี 'ไวแมกซ์' พัฒนา ชุมชนในถิ่นห่างไกล



ปิยุบล ตั้งธนธานิช
itdigest@thairath.co.th


ขณะนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่า
เทคโนโล
ยีด้านไอซีทีที่ก้าวหน้าสุดล้ำสมัย
ได้เข้ามามีบทบาทในการติดต่อสื่อสารและ
ใช้ชีวิตประจำวันแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้
เช่นเดียวกับวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของ
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
หรือ กทช. ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยี

เพื่อนำมาพัฒนาความรู้และชุมชน
จึงร่วมกับกลุ่มกิจการค้าร่วม และ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
จัดทำ โค
รงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา
และได้ทำ
การส่งมอบระบบไปเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 51 ที่จังหวัดเชียงราย

พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์
ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
กล่าวว่าโครงการดังกล่าวเกิดจากความความร่วมมือระหว่าง
กทช.และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ที่ต้องการส่งเสริมและขยายโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ

รวมถึงองค์ความรู้ของครู นักเรียน และประชาชน
ที่อาศัยอยู่ในชนบทที่ห่างไกลความเจริญ
ผ่านเครือข่ายและความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา
หน่วยงานการปกครองท้องถิ่น
และหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม

โดยทำการคัดเลือกโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในบริเวณโดยรอบ
ของม.แม่ฟ้าหลวงกว่า 21 โรงเรียน
เพื่อเข้าร่วมโครงการฯ ด้วยงบประมาณจาก กทช.กว่า 70 ล้านบาท
ภายใต้ระยะเวลา 3 ปีใน
การดำเนินงาน
เพื่อสร้าง
ประโยชน์สูงสุดแก่ครู นักเรียน และชุมชน
ด้าน รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า

ปัญหาสำคัญของบ้านเมืองในระยะที่ผ่านมา คือ
การที่นักเรียนไม่มีคุณภาพ เนื่องจากครูและโรงเรียน
ไม่ได้รับงบประมาณอย่างเพียงพอ
จึงไม่สามารถสอนนักเรียนได้อย่างเต็มที่

โดยเฉพา
ะในท้องถิ่นทุรกันดารหรือชนบทที่อยู่ห่างไกล
ทำให้เกิดช่องว่างในด้านความรู้ความสามารถ
ระหว่างนักเรียนในชนบทกับนักเรียนในเมือง

จึงเป็นที่มาของโครงการดังกล่าว
เพื่อช่วยให้ครูและโรงเรียนได้มีโอกาสพัฒนาตัวเอง

และเป็นตัวช่วยในการเตรียมความพร้อม
เพื่อพัฒนาชุมชนและราษฎร

ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวต่อว่า
งบประ
มาณ 70 ล้านบาท ที่ม.แม่ฟ้าหลวงได้รับจาก กทช.นั้น
จะถูกแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ จำนวน 30 ล้านบาท
และใช้เป็นงบประมาณในการพัฒนาสื่อ การฝึกอบรม

และเป็นค่าบริหารโครงการฯ จำนวน 40 ล้านบาท
ภายในระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี
โดยจะมีการประเมินผลโครงการฯ ทุก 6 เดือน

เพื่อประเมินระบบ นักเรียน และชุมชน
เพื่อสร้างก
ารเปลี่ยนแปลง ในการพัฒนาคุณภาพครู โรงเรียน และนักเรียน
ที่ทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ชัดเจน และ เป็นรูปธรรมมากขึ้น
นาวาอากาศเอก ดร.ธงชัย อยู่ญาติวงศ์
คณบ
ดีสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า
ระบบไวแมกซ์ (WiMax)เป็นเทคโนโลยี
ใหม่
ที่น่าสนใจและมีประโยชน์มาก

เนื่องจากมีราคาถูกและติดตั้งง่ายกว่าเทคโนโลยีระบบอื่นๆ
เพราะระบบไวแมกซ์
ขยายเครือข่ายการสื่อสารไปได้ในวงกว้าง
แต่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุด

โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อน
ขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้น คือ
1.การวางโครงสร้างและทิศทางในระบบไอซีที
2.การพัฒนาบุคลา
กร
3.การพัฒนาสื่อการสอนและองค์ความรู้ต่างๆ
4.การพัฒนาเครือข่ายทางสังคม
ที่ประกอบด้วยโรงเรียน มหาวิทยาลัย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานต่างๆ และ

5.การเกิดผลผลิตที่ยั่งยืน
เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาชุมชน

“โครงการต้นแบบศูนย์การศึกษาและพัฒนา ชนบท

ไม่ได้ตั้งขึ้นเพื่อขยายผลการสื่อสารด้านไอซีที
แต่เราคาดหวังผลด้านการศึกษา
การพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่น
โดยมุ่งเน้นการสร้างอาชีพสร้างรายได้
การให้ข้อมูลในการประกอบอาชีพและอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ

เพื่อให้เกษตรได้รับข้อมูล และ ในไปใช้พัฒนาอาชีพได้ต่อไป
ถือเป็นการกระจายความเจริญและความเข้มแข็งไปสู่ชนบท
และทำให้
ชุมชนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป
แม้จะสิ้นสุดโครงการไปแล้วก็ตาม”

คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศฯ กล่าว
ส่วน นายธีรศักดิ์ จีรอัศวพงศ์
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.ทีทีแอนด์ที จำกัด
(มหาชน)
กล่าวในฐานะผู้ให้บริการด้านไอซีทีแก่โครงการ ว่า

โครงการดังกล่าว เป็นการสื่อสารทางไกล
ที่จะทำให้นักเรียนและชาวบ้าน

ที่อยู่บริเวณโดยรอบ ได้รับประโยชน์
และสามารถพัฒนาความรู้ได้มากขึ้น
จากเครือข่ายไวแมกซ์ที่ใช้งานได้จริง

โดยความร่วมมือระหว่างกลุ่มบริษัทกิจการค้าร่วมและ
บริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
แม้ว่าการเข้าร่วมโครงการนี้ จะไม่ได้ทำให้บริษัทฯ
มีกำไรเพิ่มขึ้น แต่บริษัทฯ ถือเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือ
ทางการศึกษาให้แก่สังคม
เพื่อทำให้เด็กไทยในชนบทได้มีโอกาสใช้เครื่องมือ
ที่มีมาตรฐานอยู่ในระดับสากล
เช่น นายสมบัติ จักรสมศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ข้าวต้มท่าสุด
ผู้รับประโยชน์จากการใช้ระบบไวแมกซ์

ในโครงการต้นแบบศูนย์การศึกษาและพัฒนาชนบท
กล่าวว่า โครงการดังกล่าว
ช่วยสร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากไอซีที
และทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
แตกต่างจากอดีต ที่โรงเรียนมีหน้าที่เพียงแค่สอน

ให้เด็กรู้จักวิธีการใช้คอมพิวเตอร์
แต่ขณะนี้ เด็กนักเรียนใช้คอมพิวเตอร์
เพื่อสืบค้นข้อมูลประกอบการเรียนได้เกือบทั้งหมด

ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่
ต้องรู้ว่าจะสามารถหาข้อมูลได้จากที่ใด
การสอนให้เด็กรู้จักคอมพิวเตอร์
แต่ไม่อาจใช้สืบค้นข้อมูลได้
ก็เป็นการสอนที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์แต่อย่างใด


“การพัฒนาสิ่งแรกที่เห็นได้ชัดภายใน โรงเรียน
คือการพัฒนาครู การใช้โปรแกรม การดูแลระบบ

และเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากมีการอบรม
ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ทางโรงเรียนก็นำมาขยายผลต่อไปยังนักเรียน
เราไม่ได้สอนให้เด็กใช้คอมเป็น
แต่เราจะสอนให้เด็กไปแสวงหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง
ขณะที่ครูก็สามารถทำสื่อการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
ขณะนี้ครูกว่า 70% ในโรงเรียน ก็สามารถทำอีบุ๊คเป็นแล้ว
เรื่องต่อไป คือ การขยายผลไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ

ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้การใช้อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์
ด้วยการผลักดันให้นักเรียนได้ฝึกจัดรายการวิทยุ

เพราะตนเชื่อว่าการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงดังกล่าว
จะช่วยสร้างและเผยแพร่ความรู้ไปสู่ชุมชนได้”
ผอ.โรงเรียนแม่ข้าวต้มท่าสุด กล่าว

พระมหาวิษณุรักษ์ วิโรธรังษี รองเจ้าอาวาสวัดฝั่งหมิ่น

ครูใหญ่โรงเรียนวัดฝั่งหมิ่นวิทยา
โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ
ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

และเป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่ได้ใช้ระบบไวแมกซ์
กล่าวว่า ระบบไวแมกซ์เป็นระบบใหม่ที่ช่วยพัฒนาครู พัฒนาชุมชน
แม้จะเป็นการพัฒนาในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

เพราะเรื่องดังกล่าวถือเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับคนในชุมชนชนบท
แต่ทุกคนควรรู้จักปรับตัวและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีตามยุคสมัย


“ต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันช่วยทำให้
เกิดการรับรู้ที่เปิดกว้างมากขึ้น หากต้องการรู้
หรือค้นหาข้อมูลเรื่องต่างๆ ก็สามารถพิมพ์และค้นหาได้ทันที
ส่วนเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิดนั้น

ขึ้นอยู่กับความคิดและวิจารณญาณของผู้ใช้
ว่าจะทำให้เกิดประโยชน์หรือโทษแก่ตนเอง”

รองเจ้าอาวาสวัดฝั่งหมิ่น
ครูใหญ่โรงเรียนวัดฝั่งหมิ่นวิทยา กล่าวทิ้งท้าย

โครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการ ศึกษาและพัฒนาชนบท
ที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงรายนั้น ถือเป็นการนำร่องในการนำเทคโนโลยีมาใช้
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความรู้ของคนในชนบท

ที่อยู่ห่างไกลความเจริญได้อย่างเป็นรูปธรรม
แต่เนื่องด้วยปัญหาด้านงบประมาณที่จะสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่
อง
ความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่อย่าง
“ไวแมกซ์” รวมถึงการเป็นพื้นที่ห่างไกลความเจริญ
ก็ถือเป็นอุปสรรคขั้นสำคัญ
ที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายต้องร่วมกันพิสูจน์และแสดงศักยภาพ
เพื่อเป็นการยืนยันว่าจะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ
จนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วาดหวังไว้ได้หรือไม่...







นาวาอากาศเอก ดร.ธงชัย อยู่ญาติวงศ์ คณบดีสํานักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


มฟล.จับมือ กทช.ตั้งศูนย์ทางไกลในโรงเรียนชนบททั่วเชียงราย
ที่มา :http://www.ichiangrai.com/community/viewtopic.php?f=1&t=954&start=0

เชียงราย – มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจับมือ กทช.
พัฒนาโรงเรียนชนบท เผย 2 ปีของโครงการ
ติดเน็ตความเร็วสูง พร้อมอุปกรณ์ให้ 21 โรงเรียน
ห่างไกลของเมืองพ่อขุนฯแล้ว

หนุนพัฒนาการศึกษา – ยกระดับครูผู้สอน

รายงานข่าวแจ้งว่ามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.)
ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
ดำเนินโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษา

และพัฒนาชนบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อนำเทคโนโลยีชั้นสูงจาก กทช.
โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตระบบวายเม็กเข้าไปสนับสนุน
การเรียนการสอนให้กับ โรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ชนบท
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับนักเรียน


นาวาอากาศเอก ดร.ธงชัย อยู่ญาติวงศ์
คณบดีสํานักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มฟล.
เปิดเผยว่าตั้งแต่เดือน ก.ย.2550-ก.ย.2552 ที่ผ่านมา
ได้มีการใช้งบประมาณดำเนินการไปแล้วจำนวน 43,746,240 บาท
จากทั้งหมดจำนวน 55,312,400 บาท

ทำให้คงเหลืองบประมาณดำเนินการประมาณ 11.6 ล้านบาท
โดยได้เข้าไปดำเนินการใน 21 โรงเรียนชนบทของ จ.เชียงราย
เพื่อนำเทคโนโลยีทางไกลเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา
โดยเฉพาะการนำเอาระบบอินเตอร์ความเร็วสูง มาใช้ประโยชน์
มีการถ่ายทอดข้อมูลไปสู่โรงเรียนในชนบทโดยตรง

เพื่อให้ครูอาจารย์และนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ
นำไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนการสอนได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังได้นำระบบดังกล่าวไปร่วมกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ชาวบ้านที่เกี่ยวข้องด้วย

การดำเนินการที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงหรือ
ติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง

จัดทำศูนย์ทางไกล ณ โรงเรียนในโครงการทั้ง 21 แห่ง
โดยศูนย์ทางไกลแต่ละศูนย์ประกอบ
ด้วยอุปกรณ์เครือข่าย คอมพิวเตอร์จำนวน 20 เครื่อง และเครื่องพิมพ์ 1 เครื่อง

นอกจากนี้ มฟล.ยังได้รวบรวมและพัฒนาแหล่งข้อมูล

และสื่อการสอนต่างๆ เช่น สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลของเครือข่าย
ติดตั้งระบบให้โรงเรียนในเครือข่ายสามารถใช้ประโยชน์
ทรัพยากรต่างๆ จาก มฟล.
และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย
มีการอบรมครูและบุคลากรให้สามารถใช้ทรัพยากร

และสื่อการศึกษาต่างๆ ในระบบ
ตลอดจนสามารถดูแลบำรุงรักษาระบบ
อบรมและชี้แจงครู นักเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และประชาชนในพื้นที่ ให้ทราบและเข้าใจการใช้ประโยชน์
จากระบบเครือข่าย และเครือข่ายชุมชน
ที่เกิดขึ้นจากโครงการ

และมีการติดตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการอย่างต่อเนื่อง
ด้าน รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ ประธานกรรมการอำนวยการ มฟล.กล่าวว่า
ในพื้นที่ชนบทห่างไกลยังมีโรงเรียนที่ไม่ได้รับการเหลียวแลอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งส่งผลทำให้คุณภาพการศึกษาของเด็กไม่เท่าเทียมกัน
จนทำให้เกิดปัญหาต่อความมั่นคงของชาติ
ดังนั้นโครงการนี้จึงมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพให้กับครูอาจารย์เป็นหลัก
เพราะเราเห็นว่าการจะพัฒนาเด็กนักเรียนได้ต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาครูหรือ

แม่พิมพ์ก่อน แต่ที่ผ่านมาปัญหาที่พบคือครูอาจารย์ในชนบทขาดแคลน
สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย
ดังนั้นโครงการจึงเข้าไปช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว

ขณะ เดียวกัน มฟล.ยังมีโครงการพัฒนาครู
ในโรงเรียนชนบทชายแดนหรือโรงเรียน ตชด.อีกด้วย
โดยตั้งเป็นมูลนิธิพัฒนาครูปัจจุบันมีงบประมาณอยู่ราว 10 ล้านบาท

มุ่งเน้นให้ครูนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดให้นักเรียน
เพื่อให้มีคุณภาพมากขึ้น แต่โครงการทั้งหมดก็เป็นเพียงต้นแบบเท่านั้น
ซึ่งคาดหวังว่ากระทรวง ศึกษาธิการจะนำไปเป็นต้นแบบ
ในการไปดำเนินการทั่วประเทศ
เพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียนชนบทต่อไป