Custom Search

Mar 18, 2010

"หิมะ" ที่ว่าหนาว ยังแพ้ทาง "เกลือ


fah@matichon.co.th
มติชน
วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคมนี้ สหรัฐอเมริกา
ประกาศได้ปรับเวลาเร็วขึ้น
จากเดิมที่ห่างจากเมืองไทย 13 ชั่วโมง
ก็เปลี่ยนมาเป็น 12
ชั่วโมง
กลับตาลปัตรกันระหว่าง
กลางคืน กลางวันของเมืองเมดิสัน รัฐวิสคอนซิน กับเมืองไทย

ปีหนึ่่งๆ ประเทศเขตหนาว
จะประกาศปรับเวลาปีหนึ่งสองครั้ง
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และย่างเข้าฤดูหนาว
ละอองน้ำแข็งโปรยปรายหิมะโปรยปรายลงมา


ที่ประกาศอย่างเป็นทางการชัดว่าเข้าสู่
"ฤดูใบไม้ผลิ" (Spring) อย่างจริงจัง
เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ และหมุนเข็มนาฬิกาเร็วขึ้น
ช่วงเวลาพระอาทิตย์เริ่มส่องแสงยาวนานขึ้น
นั่นทำให้หิมะที่เคยตกหนาเป็นฟุตๆ
วันนี้ละลายกลายเป็นสายน้ำเย็น
บวกเข้ากับ ฝนที่ตกลงมาด้วย


เรียกว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เห็น
ฝนชะหิมะ ด้วย(ตา)ตัวเอง หนาวจนยะเยือก


แต่ความรู้ใหม่ที่ได้ สำหรับคนเขตร้อนอย่างเรา
คงแปลกตาเช่นกัน ยามที่หิมะตกลงมาหนานั้น
วิธีจัดการอย่างที่เห็นกันในซิรีย์ฝรั่ง
หรือหนังฮอลลีวู้ด ก็มักเห็นเขาเอาพลั่วมาตัก มารถโกยหิมะ


เพราะที่อเมริกานี้ มีกฎหมายกำหนดให้เจ้าของบ้าน
อาคารที่พักอาศัยต้องดูแล
กวาดหิมะออกจากทางเท้าหน้าบ้านของตัวเอง (แต่ไม่ใช่ทุกรัฐ) ...
เหตุที่เป็นเช่นนี้ ได้พิสูจน์ด้วยตัวเองแล้วว่า
หิมะตกหนาจนเกาะตัวเป็นแผ่นน้ำแข็งนั้น "ลื่น"จริงๆ
หากไม่ระมัดระวัง ก็ลื่นล้มได้


ที่เมดิสัน รัฐวิสคอนซินนี้ ได้เห็นพนักงานเมืองเมดิสัน
เขากำจัดหิมะ ในวันตกหนัก ...ด้วยการใช้ "เกลือ" ทั้งโรย
ทั้งสาดไปตามทางเท้า หรือถนนคนเดิน
ทางเข้าบ้าน และลานจอดรถ
เหตุที่เป็นเกลือ
นักเรียน นักศึกษาด้านฟิสิกส์
วิทยาศาสตร์ คงตอบได้ ...
เพราะเกลือทำให้หิมะละลายได้


.. คนเมืองร้อนหลายคน มีข้อสงสัยในเรื่องนี้


ถ้าเป็นนักเรียน เขาก็จะแนะนำให้ไป
ทดลองแบบ ซ.ต.พ.(ซึ่งต้องพิสูจน์) ด้วยตัวเองว่า
แล้วมาอธิบายว่า ที่เกลือละลายหิมะได้นั้น
เพราะปกติแล้ว น้ำกลายเป็นน้ำแข็งเมื่ออุณหภูมิศูนย์องศาเซลเซียส
โรยเกลือลงบนหิมะ เกือบทำให้หิมะ
หรือน้ำแข็งค่อยๆ ละลาย
อุณหภูมิลดต่ำลงกว่าศูนย์องศาเซลเซียส
ลงไปติดลบนั่นเอง


ความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ว่านี้ ถูกใช้เป็นประโยชน์
ทำให้เรามี "ไอติม" หรือ "ไอศกรีม" กินนั่นแหละ สังเกตสิว่า!
ตอนปั่นน้ำให้เป็นน้ำแข็ง รอบตัวถังปั่นมีเกลือผสมน้ำหล่อเย็นอยู่
เมื่อโรยเกลือลงไปบนทางเท้า ก็ช่วยให้ไม่ต้องเดินย่ำหิมะ
และไม่ทำให้น้ำแข็งที่ตกลงมาหนาจนเกาะตัวกันได้


ที่เมืองนี้พนักงานกวาดหิมะ ใช้ทั้งมือ และเครื่องจักร
ที่เห็นมีตั้งแต่ พลั่วตักหิมะออก ใช้รถโกย
น่าจะเรียกว่า รถไถ เหมือนไถนา บ้านเรามากกว่า
และรถใหญ่ยักษ์ น้ำหนักมาก ด้านหน้ารถ
เป็นที่กวาด อย่างที่เห็นนี้เลย


ธรรมเนียมของการกวาดหิมะ คือ จัดการให้ไปอยู่สองข้างทาง
เพราะไม่งั้นกวาดเท่าไรก็ไม่หมด
หน้าหนาวๆ อย่างที่เเคยเล่าให้ฟังไปแล้ว


มีรุ่นพี่ รุ่นใหญ่ทั้งหลาย ต่างบอกว่า ช่วงหิมะตกนั้น
จะเย็นน้อยกว่า ก่อนและหลังหิมะตก
อันนี้ก็ ซ.ต.พ.มาแล่้ว ... เป็นความจริงเช่นกัน


มีอีกข้อสงสัยหนึ่ง ที่เห็นแล้วต้องหาคำตอบ
เพราะย่านบริเวณที่พักอาศัย มักจะมี "ถังทราย"ตั้้งอยู่
ตัวเองเห็นถังบรรจุทราย ปิดฝาวางอยู่เป็นระยะ
เมื่อแรกเข้าใจว่า ใช้เช่นเดียวก้บเกลือ


แต่ผิด ... เพราะทรายเขาใช้โรยถนนเช่นกัน
แต่เพื่อป้องกัน มำให้ขับรถแล้ว เกิดการลื่นไถล
เช่นเดียวก้ับเดินทางลื่น เพราะทราย
ช่วยให้ล้อรถเกาะถนนมากขึ้น
ใช้ทรายโรยลงพื้นเมื่อล้อหมุนฟรี
และไม่สามารถออกจากที่จอดรถได้


อย่างหนึ่ง ที่ต้องเรียนรู้จักการใช้ชีวิตท่ามกลางความเยือกเย็น
ในรั้วระดับมหาวิทยาลัยสอนวิชาการแล้่ว
เขายังสอน การใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหนาวด้วย รุ่นพี่ๆ
หลายคนเล่าว่า ส่วนใหญ่เกือบทุกปี
มีการอบรมการขับรถบนท้องถนน ในฤดูหนาว


เหตุเพราะนักศึกษาที่วิสคอนซิน ราว 5% เป็นนักศึกษาต่างชาติ
โดยเฉพาะนักศึกษาจีนมากเป็นอันดับหนึ่ง ถัดมา ก็มี
เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ไทย
และเหล่้านานาชาติในอาเซียน
ซึ่งไม่เคยประสบพบกับหิมะ


ข้อแนะนำสำหรับนักศึกษากระเป๋าหนัก
ควักเงินซื้อรถขับทั้งที ก็ต้องเรียนรู้ทริก ที่ต้องบอกว่า
น่าสนใจมาก ...ขับรถถนนสาดแสงอาทิตย์เป็นเรื่องปกติ
แต่ขับรถไอเย็นอวลรอบรถ
บางเวลาหมอกปกคลุมไปทั้งเมือง
มองไม่เห็นทางข้างหน้าถนัด ..
หนาวปีนี้จึงได้เห็นข่าวต่างประเทศ
เสนอว่ารถยนต์ส่วนบุคคลชนกันเป็นขบวนพังยับเยิน


คำแนะนำข้อหนึ่งนั่นคือ ..
ทิ้งระยะห่างจากการขับตามรถคันข้างหน้ามาก ๆ
เพื่อระยะเบรค นี่สำคัญ อย่าขับรถเร็ว
เมื่อนั่งอยู่หลังพวงมาลัย ต้องมีสติ อย่าประมาท
ต้องตรวจสอบลมยาง เบรคเสมอๆ ทำได้ทุกวันยิ่งดี