1) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8.html
3) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-3.html
4) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-4.html
5) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-5.html
6) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-6.html
ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี
10 ตุลาคม 2019 เขียนโดย Workpoint News
- http://teetwo.blogspot.com/2010/05/blog-post_7850.html
- http://teetwo.blogspot.com/2008/04/perfect-duo.html
- http://teetwo.blogspot.com/2010/04/blog-post_07.html
เจ้าสัวธนินท์ยกตัวอย่างเรื่องยากที่ทำสำเร็จ
ซึ่งเป็นธุรกิจหลักดั้งเดิมของซีพี นั่นคือการทำเกษตรกรรม
โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่
ที่เป็นตัวอย่างที่ดีในสิ่งที่ทำว่าต้องศึกษา
ต้องทำเป็น ต้องรู้ให้จริง
และนำเทคโนโลยีที่ว่ายากเข้ามาช่วยให้ง่าย
“อย่างเลี้ยงไก่ 1 หมื่นตัว ถ้าเป็นอเมริกาเมื่อ 50 ปีก่อน
คนนึงเลี้ยงไก่ได้หมื่นตัว คนไทยเลี้ยงได้ 500 ตัว
ทุกคนดูแล้วบอกเขาจบมัธยม จบมหาวิทยาลัยมาเลี้ยงไก่
เราเอาเกษตรกรมาเลี้ยงไก่ได้ยังไง เขาเลี้ยงได้หมื่นตัว
เราไม่ได้หรอก ไม่มีทาง แต่ผมคิดว่า
ที่ทุกคนบอกว่าไม่ได้
เราต้องศึกษาดู ถ้าเราทำสำเร็จล่ะ ก็เขาทำได้
ทำไมเราจะทำไม่ได้ ก็ไปเอาอาจารย์เขามา
เอาความรู้เขามา แล้วสุดท้ายเราก็ต้องรู้จริง
ตัวเราเองต้องเลี้ยงไก่เป็น ผมรู้จริงว่าที่เขาสำเร็จไม่ใช่เพราะเกษตรกรคนนึงเลี้ยงได้หมื่นตัว
เขามีทีมงานตั้งกี่ทีมมาช่วยเขา เขาถึงสำเร็จ
เราก็มีทีมพวกเราตรงนี้อยู่แล้ว
ตรงนี้แหละที่ผมจึงทำสำเร็จ เมื่อ 50 กว่าปีก่อน
เกษตรกรคนนึงเลี้ยงไก่ได้หมื่นตัว
ตัวนึงกำไร 20 บาท ถ้าเลี้ยง100 ตัว
เดือนนึงได้กำไร 1,000 บาท
ถ้าเลี้ยงหมื่นตัวได้ 30,000 บาท
กำไรตัวละ 3 บาทก็พอ ไม่ต้องถึง 20 บาท
คนจนก็ถึงจะมีโอกาสได้ซื้อไก่ไปกิน
คนส่วนใหญ่ถึงจะมีโอกาส ตอนนั้นส่งไปญี่ปุ่นได้ด้วย
เพราะต้นทุนถูกและคุณภาพสูง
กำไรน้อย ขายมาก ไม่ได้หมายถึงกำไรน้อย,
กำไรมาก ขายน้อย ไม่ได้หมายความว่ากำไรมาก,
กำไรน้อย ขายมาก คือกำไรมาก,
กำไรมาก ขายน้อย คือกำไรน้อย
หมายถึง ไก่แต่ละตัวกำไรไม่เยอะ
แต่จำนวนมันเยอะ
แล้วคนไม่เข้าใจว่าตาสีตาสาจะไปใช้
เทคโนโลยีระดับสูงได้ยังไง นี่เข้าใจผิด
ผู้ผลิตเทคโนโลยีคือยาก
แต่ผู้ใช้เนี่ยมันง่าย
ต้องเข้าใจตรงนี้ว่าเราไม่ได้ไปผลิตเทคโนโลยี
แต่เราเอาความรู้ เอาประสบการณ์ที่เขาสำเร็จ
ที่เขามาถ่ายทอดให้ทำตาม แล้วไม่ใช่เกษตรกรทำทุกเรื่อง
เรื่องที่ยาก บริษัทใหญ่เป็นคนทำ
เรื่องที่ง่ายเกษตรกรเป็นคนทำ เช่น เรื่องไก่หมื่นตัว
การทำวัคซีนเนี่ยเกษตรกรไม่ต้องทำ
เรามีทีมงานโดยเฉพาะ ถ้าให้เกษตรกรทำเองนี่ไม่มีทาง
กว่าจะจับเสร็จคงทั้งคืน คนก็เหนื่อย ไก่ก็เหนื่อย
เรามีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยทำ ทำความสะอาดให้ด้วย
เอาขี้ไก่ไปขายให้ด้วย นี่เป็นหน้าที่เรา
ความสำเร็จอยู่ตรงนี้มากกว่า
เพราะเราพร้อมทุกขั้นตอน ครบวงจร
ผมเคยพูดว่า
“กำไรมาก ขายน้อย ไม่ได้หมายความว่ากำไรมาก”,
“กำไรน้อย ขายมาก ไม่ได้หมายความว่ากำไรน้อย”
ฉะนั้น ถ้าเป็นสตาร์ทอัพต้องดูว่า ถ้าสำเร็จแล้ว
วันนี้ยังเล็กก็ไม่เป็นไร แต่มันมีโอกาสยิ่งใหญ่
แล้วเวลามันสำเร็จ เราก็จะมีโอกาสยิ่งใหญ่”
ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว, ธนินท์ เจียรวนนท์, เจ้าสัวธนินท์, ซีพี, cp ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก:
โลกเปลี่ยน อาหารเปลี่ยน การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้ข้อมูล
เป็นสิ่งที่เจ้าสัวธนินท์ทำอยู่เสมอ
เพื่อปรับให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลง
อย่างเรื่องเทรนด์อาหาร ที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น
เจ้าสัวก็กำลังพัฒนาสิ่งที่จะนำมาทดแทนเนื้อสัตว์
และหาทางทำให้น้ำมันหมูมีโอเมก้า 3 อยู่
“คนเข้าใจผิดว่าผมทำอาหารสัตว์ คือ
อาหารสัตว์ต้องไปเลี้ยงสัตว์
แต่ผมทำอาหารคน อย่างไก่ เป็ด กุ้ง หมู
คือคนกินถ้ายังมีมนุษย์อยู่ ก็ยังมีธุรกิจตัวนี้คู่อยู่
เพียงแต่เราต้องปรับให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลง
อย่างเวลานี้กำลังสนใจอาหารสุขภาพ
เราก็ต้องตามให้ทันว่าโลกกำลังเปลี่ยน
จะผลิตมังสวิรัติโดยใช้ถั่วอย่างที่อเมริกาเขาทำกัน เราก็ทำได้
กำลังเอายีนส์สร้างเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่จริงๆ
ตัวนี้ต้นทุนยังสูงแต่ก็ไม่ละเลย
เราก็ต้องลงไปศึกษาเกี่ยวกับไบโอเทคโนโลยี
แล้วเข้าไปจับมือกับอเมริกา ฮาร์เวิร์ด ค้นคว้าเรื่องยีนส์ของหมู
แล้วก็มาพัฒนาให้กลายเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่เทียม
ตัวนี้ยังห่างไกล แต่ตัวที่ใช้ถั่วมาทำเป็นเนื้อเทียม
เป็นไส้กรอกหรืออะไร ตัวนี้สำเร็จแน่นอน
แต่ในเวลาเดียวกัน เราก็มีนโยบายชัด
ทำยังไงให้การเลี้ยงหมู ตั้งแต่เรื่องอาหารไปจนถึงสายพันธุ์
ทำยังไงให้น้ำมันหมูเป็นโอเมก้า 3
เหมือนน้ำมันปลา กินแล้วเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
ให้เป็นคอเลสเตอรอลที่ดี ตรงนี้สำเร็จไป 80% แล้ว
ไข่ไก่ก็เป็นคอเลสเตอรอลที่ดี ผมกินอย่างน้อยวันละ 2 ฟอง
ผมรู้ว่าไข่ไก่เป็นประโยชน์มาก”
การทำธุรกิจไม่มีสูตรสำเร็จ
และเทคโนโลยีที่ดีที่สุดก็ไม่จำเป็นเสมอไป
การทำธุรกิจของเจ้าสัวธนินท์ไม่ได้มีสูตรสำเร็จแค่อย่างเดียว
แต่เลือกใช้ให้เหมาะสม อย่างการเลือกใช้เทคโนโลยีก็เช่นกัน เกษตรกรต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงสุด
แต่ขณะเดียวกันตอนที่ทำมอเตอร์ไซค์ขายที่เมืองจีน
เจ้าสัวเลือก เทคโนโลยีที่เหมาะสม
มากกว่าเทคโนโลยีที่ดีที่สุด โดยมองจากความเป็นจริงว่าจีนขาดแคลนมอเตอร์ไซค์ สิ่งที่เจ้าสัวคิดต่อคือ
แล้วมอเตอร์ไซค์แบบไหนที่เหมาะกับคนจีน
เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลจีน
ต้องการเงินตราต่างประเทศ
จึงประกาศหาเอเย่นต์ขายมอเตอร์ไซค์ไปทั่วโลก
เมื่อเจ้าสัวถามว่ามอเตอร์ไซค์นั้นให้คนจีน
ในประเทศใช้ได้หรือไม่ ทางรัฐบาลตอบว่าได้
เจ้าสัวจึงมองว่าเรื่องดังกล่าวเหมือน “เส้นผมบังภูเขา”
แทนที่จะขายออกไป ก็ขายให้คนจีนในเมืองจีนใช้ก็แล้วกัน
โดยนำกลยุทธ์การขายเข้ามาเสริม
เพื่อให้รัฐบาลได้เงินตราต่างประเทศมาใช้
“ผมไปลงทุนโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของจีน ถูกด้วย
แทบจะไม่ต้องเสียอะไร
ว่าใครต้องการมอเตอร์ไซค์ก็ให้บอก
ญาติพี่น้องที่อยู่ต่างประเทศ
ให้เอาเงินส่งมาที่ฮ่องกง แล้วเราก็ส่งเงินไปที่เซี่ยงไฮ้ให้รัฐบาล
แล้วมอเตอร์ไซค์ก็ให้ญาติไปเอาจากเซี่ยงไฮ้ไปใช้
ตอนนั้นเติ้งเสี่ยวผิงบอกว่า
เกษตรกรที่ส่วนเหลือแล้วเอาไปขายเองได้
แต่เกษตรกรเขา ไม่มีรถบรรทุก ถนนก็เล็ก
เขาใช้จักรยานกัน ผมก็เอามอเตอร์ไซค์มาขาย
รีเสิร์ชแล้วว่า มอเตอร์ไซค์ของญี่ปุ่นที่ทนทาน แข็งแรง
ปีนเขาได้ อดทน อะไหล่เป็นของฮอนด้า 4 จังหวะ
ตอนที่ผมไปเจรจา ญี่ปุ่นเขาไม่ใช้แล้ว เขามีคันที่เล็กกว่า
วิ่งได้เร็วกว่ารถน้ำมัน ผมก็เลยไปซื้อตัวนี้มา
คือเหมาะสมที่สุดกับเมืองจีนในตอนนั้น
เวลาเลือกเทคโนโลยีต้องเลือกที่เหมาะสม
ไม่ใช่เอาอย่างดีที่สุด ซ่อมง่าย แข็งแรง ขนของได้ ปีนเขาได้
เลยเอาเทคโนโลยีตัวนี้เข้าไป ซื้อถูกมาก
ก็เอาไปสร้างที่เมืองจีน ขาย 6 หมื่นคันทันที
นี่คือเส้นผมบังภูเขา เราไปรับรู้ว่าตอนนั้นจีนขาดมอเตอร์ไซค์
แล้วคุณจะเอาไปขายต่างประเทศทำไม ก็เอาเงินตราให้คุณ
แล้วคุณก็เอามอเตอร์ไซค์ให้คนจีนใช้ก็หมดเรื่อง
วินวินทุกฝ่าย รัฐบาลก็แฮปปี้ เงินตราก็ได้
ประชาชนก็ได้เอามอเตอร์ไซค์ไปใช้ขนส่ง”
เสี่ยง 30 ชนะ 70 และความเสี่ยงนั้นต้องไม่ทำให้ล้มละลาย
ความคิดของเจ้าสัวธนินท์มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมในแต่ละเรื่อง และไม่มีสูตรสำเร็จที่เหมือนกินยาวิเศษเม็ดเดียวแล้วได้ทั้งหมด
ซึ่งเจ้าสัวบอกว่าการทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง
แต่ต้องประเมินความเสี่ยง และความเสี่ยงนั้น
ต้องไม่ทำให้ล้มละลาย “ใครบอกว่าทำธุรกิจไม่มีความเสี่ยง
ไม่มีความเสี่ยงก็อย่าทำครับ ทำต้องเสี่ยง
อย่างซีพีเวลาทำใหญ่เนี่ย เสี่ยงแล้วมันอันตรายก็ต้องคิดว่า
ไอ้ที่เสี่ยงนี่เราหนีไม่พ้นหรอก แต่ก็คิดแล้วว่า
ถ้ามี 70% ได้ 30% มีโอกาสเสี่ยง ผมก็จะลงทุน
ไม่มีอะไรที่ 100% หรือไม่มีอะไรที่ 50/50
แต่ถ้าโครงการนั้นมันใหญ่มากถึงขั้นทำให้ซีพีล้มละลายได้
ผมไม่เอาเลย นโยบายของเครือซีพีคือ เสี่ยงได้
แต่ต้องไม่ล้มละลาย อะไรเสี่ยงเกินตัว เราไม่เอา”
เมื่อเจอวิกฤติต้องทิ้งบางอย่าง เพื่อรักษาส่วนสำคัญให้รอด
คำว่า “มืดแปดด้าน” ก็เคยเกิดขึ้นกับเจ้าสัวธนินท์
ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540
ซึ่งบริษัทมีหนี้ต่างประเทศ
เจ้าสัวจึงต้องเลือกขายธุรกิจบางอย่างทิ้ง และรักษาธุรกิจเกษตร
ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมไว้
“ผมจะขายธุรกิจที่ผมสร้างขึ้นมาใหม่ก่อน ตอนวิกฤตินี่ต้องจำไว้
เรารักษาทุกอย่างไว้ไม่ได้ ต้องทิ้งบางอย่าง
ดูว่าอันไหนสำคัญเราต้องรักษาไว้ แล้วก็สำคัญทั้งนั้นนะ
สำคัญถึงจะขายได้ตอนวิกฤติเนี่ย
ถ้าไม่สำคัญ ไม่ดี ก็ขายไม่ได้อีก
เลยมีบทเรียนเตือนทุกท่านว่า เวลาจะทำอะไร
ต้องทำที่โลกยอมรับ และเป็นธุรกิจที่มีอนาคต
มิฉะนั้นเมื่อวิกฤติแล้วให้เขาฟรีเขายังไม่เอาเลย
บังเอิญเราทำของใหม่ ตอนนั้นมี ทรู, โลตัส, แมคโคร,
เซเว่นอีเลฟเว่น 4 ธุรกิจใหม่
ผมขายโลตัสก่อน
เพราะคนเห็นว่าธุรกิจนี้ดีมาก อังกฤษเป็นคนมาซื้อยังพูดตรงๆ
กับผมว่า คุณทำเหนือกว่าผมที่อังกฤษอีก
ราคาเราขายเท่าไหร่เขาไม่ต่อรองเลย
เขาซื้อแล้วยังเหลือ 25% ให้เราอีก
ผมก็พอใจแล้วว่า อืม ตอนนั้นอังกฤษคบได้ทีเดียว
เราก็ไปคืนหนี้ อันที่สองผมขายแมคโคร
เราต้องคืนหนี้ให้หมด
เพราะบริษัทแม่นี่ถ้าไม่คืนหนี้ให้หมดคือล้มละลาย
เครดิตทั่วโลกหายหมดเลยทีนี้
แต่เจ้าของแมคโครนี่เราต้องบอกว่าเราเลือกคนถูกต้อง
เขาก็เห็นใจ แล้วถ้าตอนนั้นผมขายโทรศัพท์อันเดียวนี่จบเลย
ไม่ต้องขายแมคโครกับโลตัสหรอก
คือตอนนั้นโทรศัพท์ยังดีมาก
พอมีเทคโนโลยีเกิดใหม่
ธุรกิจตัวนี้ไม่มีความหมายไปเลย อันนี้ประเมินผิด
อย่างโลตัสจะซื้อกลับนี่เขา
บอกต้องหมื่นล้าน U.S.
แมคโครซื้อกลับมา 6พันกว่าล้าน U.S. เสียดาย
แต่ไม่ได้ เพราะเรือมันเจอพายุแล้ว
เราต้องทิ้งของบางส่วน
รักษาเรือลำนี้ให้อยู่รอดก่อนแล้วค่อยหาคืนมา
นี่เป็นของจริง ประสบการณ์บอกเราว่า