Custom Search

Oct 17, 2019

ในหลวง ร.10 พระราชินี เสด็จฯ ทรงเจิมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ฐานทัพเรือสัตหีบ

ไทยรัฐออนไลน์ 
16 ต.ค. 2562 21:31 น.  



from http://www.lapluangprangchannel.com



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเจิมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช

เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 16 ต.ค.62 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเจิมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ.ชุมศักดิ์ นาควิจิตร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พล.ร.ท.วราห์ แทนขำ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ พล.ต.ต.ประการ ประจง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี น.ส.นภาวรรณ ขุนอักษร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพัทยา พร้อมด้วยข้าราชการ ทหาร ลูกจ้าง พนักงานราชการกองทัพเรือ รับเสด็จ


from http://www.dailynews.co.th


จากนั้น พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาในการต่อเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จ ไปทรงประกอบพิธีเจิมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือหลวงปิ่นเกล้า ยิงสลุตหลวงถวายความเคารพ จำนวน 21 นัด จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปยังบริเวณหัวเรือ ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมที่แผ่นป้ายชื่อเรือหลวงภูมิพล แล้วทรงคล้องพวงมาลัยบริเวณ ใต้แผ่นชื่อเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานลั่นฆ้องชัย จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเข้าภายในเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรห้องศูนย์ยุทธการ ผู้บัญชาการทหารเรือ ถวายเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชจำลอง ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ทูลเกล้าฯ ถวายลองลูกปืนยิงสลุตนัดแรก ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ ทูลเกล้าฯ ถวายพระมาลา ปักชื่อเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 


from http://www.khaosod.co.th

ต่อมาเสด็จลงจากเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เข้าพลับพลาพิธี เรือหลวงปิ่นเกล้า ยิงสลุตถวายความเคารพ จำนวน 21 นัด ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ประทับพระราชอาสน์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ


สำหรับ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่กองทัพเรือดำเนินการจัดหาจากสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อใช้ในภารกิจการป้องกันประเทศและการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยจัดหามาเพื่อทดแทนเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ได้ปลดระวางประจำการไปแล้ว โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ ระหว่าง ปีงบประมาณ 2556 – 2561 ใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 14,600 ล้านบาท



โดยกองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัท DaewOo Shipbuilding  Marine Engineering หรือ DSME เป็นผู้ดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ต่อเรือบริษัท DSME เขต Okpo เมือง Geoje จังหวัด Gyeongsangnum สาธารณรัฐเกาหลี โดยบริษัท DSME ได้จัดพิธีตัดแผ่นเหล็กตัวเรือแผ่นแรก ตามแบบธรรมเนียมของทหารเรือทั่วโลก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 โดยมี พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิช ผู้บัญชาการทหารเรือ (ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี และได้มีพิธีวางกระดูกงูเรือ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 จากแผ่นเหล็กที่ตัดเป็นรูปต่างๆ ได้นำมาเชื่อมเข้าด้วยกันเป็นบล็อก ประกอบด้วยบล็อกทั้งหมด 63 บล็อก จากนั้นจึงนำบล็อกทั้งหมดมาต่อกันบนพื้นที่ประกอบบล็อกจนเห็นเป็นรูปร่างตัวเรือ และเมื่อเชื่อมบล็อก ทั้งหมด และวางเครื่องยนต์ เครื่องจักร ระบบอาวุธภายในเรือที่มีขนาดใหญ่เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นขั้นตอนของพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ในขณะนั้น) เป็นประธาน และ นางปราณี อารีนิจ เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ในหลวง ร.10 พระราชินี เสด็จฯ ทรงเจิมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ฐานทัพเรือสัตหีบ


from http://www.hilight.kapook.com


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเจิมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 16 ต.ค.62 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเจิมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ.ชุมศักดิ์ นาควิจิตร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พล.ร.ท.วราห์ แทนขำ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ พล.ต.ต.ประการ ประจง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี น.ส.นภาวรรณ ขุนอักษร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพัทยา พร้อมด้วยข้าราชการ ทหาร ลูกจ้าง พนักงานราชการกองทัพเรือ รับเสด็จ

จากนั้น พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาในการต่อเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จ ไปทรงประกอบพิธีเจิมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือหลวงปิ่นเกล้า ยิงสลุตหลวงถวายความเคารพ จำนวน 21 นัด จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปยังบริเวณหัวเรือ ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมที่แผ่นป้ายชื่อเรือหลวงภูมิพล แล้วทรงคล้องพวงมาลัยบริเวณ ใต้แผ่นชื่อเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานลั่นฆ้องชัย ประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเข้าภายในเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรห้องศูนย์ยุทธการ ผู้บัญชาการทหารเรือ ถวายเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชจำลอง ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ทูลเกล้าฯ ถวายลองลูกปืนยิงสลุตนัดแรก ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ ทูลเกล้าฯ ถวายพระมาลา ปักชื่อเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ต่อมาเสด็จลงจากเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เข้าพลับพลาพิธี เรือหลวงปิ่นเกล้า ยิงสลุตถวายความเคารพ จำนวน 21 นัด ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ประทับพระราชอาสน์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ 


สำหรับ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่กองทัพเรือดำเนินการจัดหาจากสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อใช้ในภารกิจการป้องกันประเทศและการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยจัดหามาเพื่อทดแทนเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ได้ปลดระวางประจำการไปแล้ว โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ ระหว่าง ปีงบประมาณ 2556 – 2561 ใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 14,600 ล้านบาท โดยกองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัท DaewOo Shipbuilding & Marine Engineering หรือ DSME เป็นผู้ดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ต่อเรือบริษัท DSME เขต Okpo เมือง Geoje จังหวัด Gyeongsangnum สาธารณรัฐเกาหลี โดยบริษัท DSME ได้จัดพิธีตัดแผ่นเหล็กตัวเรือแผ่นแรก ตามแบบธรรมเนียมของทหารเรือทั่วโลก

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 โดยมี พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิช ผู้บัญชาการทหารเรือ (ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี และได้มีพิธีวางกระดูกงูเรือ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 จากแผ่นเหล็กที่ตัดเป็นรูปต่างๆ ได้นำมาเชื่อมเข้าด้วยกันเป็นบล็อก ประกอบด้วยบล็อกทั้งหมด 63 บล็อก จากนั้นจึงนำบล็อกทั้งหมดมาต่อกันบนพื้นที่ประกอบบล็อกจนเห็นเป็นรูปร่างตัวเรือ และเมื่อเชื่อมบล็อก ทั้งหมด และวางเครื่องยนต์ เครื่องจักร ระบบอาวุธภายในเรือที่มีขนาดใหญ่เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นขั้นตอนของพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ในขณะนั้น) เป็นประธาน และ นางปราณี อารีนิจ เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อปล่อยเรือลงน้ำแล้ว จึงได้ประกอบอุปกรณ์ย่อยต่างๆ ทั้งหมดลงเรือ และทำการทดสอบเรือ หน้าท่า หรือ Harbor Acceptance Test (HAT) จนมั่นใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถใช้งานได้ จึงทำการทดสอบ ทดลองในทะเล หรือ Sea Acceptance Test (SAT)

จนกระทั่งระบบทุกระบบทดสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของ NATO และกองทัพเรือเกาหลี บริษัท DSME จึงได้จัดพิธีส่งมอบเรือให้กับกองทัพเรือไทย เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยมี พลเรือเอก พูลศักดิ์ อุบลเทพชัย ประธานคณะที่ปรึกษา กองทัพเรือ (ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี และหลังจากนั้นจึงได้ส่งมอบเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชให้กับกองทัพเรือไทยตามสัญญา เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ทางบริษัท DSME ได้ส่งมอบเรือตาม โดยกำลังพลประจำเรือได้นำเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ออกเดินทางกลับประเทศไทยในเช้าวันเดียวกัน โดยเรือได้เดินทางมาถึงประเทศไทย และเข้าร่วมพิธีรับมอบเรือ ที่ท่าเรือจุกเสม็ด อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2562 โดยมี พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธาน เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช หมายเลขเรือ 471 จัดเป็นเรือรบประเภท เรือฟริเกต

ขึ้นการบังคับบัญชากับกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ จัดเป็นเรือรบชั้น 1 ของกองทัพเรือ มีกำลังพลประจำเรือ 141 นาย ได้รับการออกแบบและสร้างเรือโดยใช้มาตรฐานทางทหารของกองทัพเรือชั้นนำ มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ CODAG (Combined Diesel and Gas Turbine) ทำความเร็วสูงสุดมากกว่า 30 นอต มีระยะปฏิบัติการในทะเลที่ความเร็ว 18 นอต มากกว่า 4,000 ไมล์ทะเล มีความคงทนทะเลสูงถึงภาวะทะเลระดับ 8

หรือความสูงคลื่นอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงไม่น้อยกว่า 21 วัน คุณลักษณะของเรือถูกออกแบบโดยใช้ Stealth Technology เพื่อลดขนาดพื้นที่หน้าตัดการสะท้อนคลื่นเรดาร์ ลดการแผ่รังสีความร้อนจากตัวเรือ และลดการแพร่คลื่นเสียงใต้น้ำ ทำให้ยากต่อการถูกตรวจจับและพิสูจน์ทราบ