Custom Search

Sep 8, 2010

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ

ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์
พระราชทานปริญญาบัตรแก่
บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓
ในโอกาสนี้ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงศึกษาธิการ เข้าเฝ้าฯ
รับพระราชทานปริญญาบัตรครุศาสตรดุษฎี
บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
http://www.srunew.sru.ac.th/


นอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในสาขาเศรษฐศาสตร์แล้ว
“อาจารย์วรากรณ์” ยังถือเป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับ
อย่างกว้างขวางในแวดวงของศาสตร์ทางด้านการศึกษาอีกด้วย
อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มาแล้ว
http://www.dpu.ac.th
แต่ที่ทำให้ผู้คนในสังคมรู้จัก “อาจารย์วรากรณ์”
อย่างกว้างขวางเห็นจะมาจากบทความในคอลัมน์ ‘อาหารสมอง’
ที่ตีพิมพ์ในมติชนรายสัปดาห์ภายใต้นามปากกา ‘วีรกร ตรีเศศ’
อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2538

มากไปกว่านั้น คอลัมน์นี้ยังได้รับความนิยม
เมื่อถูกนำมารวมเล่มเป็น หนังสือ ‘โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี’
ที่ถึงวันนี้พิมพ์ออกมาแล้ว 7 เล่ม

นี่ยังไม่นับหนังสือที่รวบรวมจากบทความต่างๆ อาทิ
First, Best, Different, เงินไหลมา, เงินทองของไม่หมู หรือ
เครื่องเคียงอาหารสมอง ซึ่งเป็นเล่มล่าสุด


หากใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ “วรากรณ์ สามโกเศศ” ย่อมตระหนักดีว่า
ข้อเขียนของ “อาจารย์วรากรณ์”
มิใช่เพียงแค่พาคนอ่านท่องไปยังโลกเศรษฐศาสตร์เท่านั้น
แต่ในด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ต่างประเทศ
การเงิน การตลาด ประวัติศาสตร์ ภาษา จิตวิทยา การเกษตร ฯลฯ
เราก็มักจะได้รับการชี้แนะจากงานเขียนของ“วรากรณ์ สามโกเศศ” เป็นประจำ

จนบางครั้งคนอ่านเองคงแปลกใจเหมือนกันว่า...
ทำไม “อาจารย์วรากรณ์” ถึงรู้ไปหมดซะทุกเรื่อง!!!

ไม่หมดแค่นั้น เพราะสองปีที่แล้วชื่อของ “รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ”
ก็ตกเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในครม.“ขิงแก่”
http://teetwo.blogspot.com/2007/05/2.html

“อาจารย์วรากรณ์” ได้กล่าวหลังจากที่ได้รับโปรดเกล้าฯ
ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งปรากฏในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
ฉบับประจำวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 ว่า

“การได้เข้ามาทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.

ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ผมจะตอบแทนประเทศอีก ทางหนึ่ง
เพราะผมเคยเป็นนักเรียนทุน
เพราะผมเคยเป็นนักเรียนทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ
ซึ่งเงินที่ส่งก็เป็นเงินจากภาษีประชาชน...

ในระยะเวลาทำงานที่ยังเหลืออีกเพียง 9 เดือน
ข้างหน้านี้ผมจะทำงานอย่างเต็มที่ 100 %
ผมถือว่าในเวลา 9 เดือนข้างหน้าเป็นโอกาสที่ท้าทายผม
เป็นโอกาสใช้หนี้ทางใจที่ผมเคยได้รับทุนจากเงินภาษีประชาชน
เพราะเงินที่ส่งผมไปเรียนอาจจะใช้สร้างโรงพยาบาลเล็กๆ
ได้แห่งหนึ่งเลยทีเดียว การทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.
ถือเป็นการทำงานเพื่อรับใช้สังคมตามภาระผูกพันทางใจจริงๆ
ไม่ใช่แค่พูดให้ดูเก๋ๆแต่เป็นความรู้สึกจริงๆ”
จำได้ว่า

“ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน”
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เคยให้สัมภาษณ์เปิดเผยถึงเหตุผลในการเสนอชื่อ
“รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ”
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการไว้ว่า...

http://teetwo.blogspot.com/2008/12/blog-post_06.html

ประการแรก เพราะต้องการให้บุคคลจากภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมบริหาร
ในระดับนโยบายเนื่องจากกว่าการศึกษาของเรามีเอกชนร่วมรับภาระมาก
ไม่ว่าจะเป็นระดับโรงเรียนหรือระดับอุดมศึกษา
ซึ่ง ดร.วรากรณ์ สามารถเป็นตัวแทนภาคเอกชนได้เป็นอย่างดี
เพราะปัจจุบันเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน...

ประการที่สอง คือการบริหารการศึกษาระดับนโยบาย
มีเรื่องที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐศาสตร์อยู่ไม่น้อย
ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย ด้านแผน
ด้านทรัพยากรทางด้านการเงินรวมไปถึงศธ.
ก็มีงานที่จำเป็นต้องใช้ผู้บริหารที่ เข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์
เช่นเรื่องงานสวัสดิการ สวัสดิภาพครู องค์การค้าของคุรุสภา
ปัญหาหนี้สินครูซึ่งเป็นเรื่องใหญ่
ถ้าได้คนที่เข้าใจเรื่องต่างๆดังกล่าวเข้ามาช่วยดูแลแก้ไข
ก็อาจจะทำให้เราเข้าถึงปัญหาเหล่านี้ได้ดี...

ประการที่สาม คือ ประทับใจผลงานของ ดร.วรากรณ์
และความสามารถทางการบริหารรวมทั้งลักษณะเฉพาะของท่าน
ซึ่งเป็นคนที่เขียนอะไร ก็อ่านง่ายพูดอะไรก็เข้าใจง่าย
มีมนุษยสัมพันธ์ดีเยี่ยมเชื่อมั่นว่าจะทำให้ทีมงานด้านนโยบายแข็งขึ้น”

และคำยืนยันจาก “ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน”
กูรูทางด้านการศึกษาลำดับต้นๆของเมืองไทย
ก็ถือเป็นการ “การันตี” ถึงความรู้ความสามารถของ
“รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ” ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ปัจจุบันนี้ “อาจารย์วรากรณ์”
สวมหมวกอีกใบในฐานะรองประธานคนที่ 2
ของคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2
ซึ่งถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญและมีความหมายอย่างยิ่ง
สำหรับการศึกษาไทยใน อนาคต
สำหรับมุมมองเรื่องการบริหารจัดการด้านการศึกษาอีก 10 ปีข้างหน้า
“อาจารย์วรากรณ์” ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า ...

“การศึกษาของชาติเป็นเรื่องของทุกคน
และสำคัญเกินกว่าจะทิ้งไว้ในมือนักการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
หรือคณะกรรมการปฏิรูปฯ หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น...

การบริหารจัดการด้านการศึกษาอีก 10 ปีข้างหน้า
จะต้องมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ การเกลี่ยอัตรากำลัง
ปัญหาการขาดแคลนครู การมีครูที่เพียงพอต้องให้ความสนใจด้วย
ไม่ใช่เน้นเรื่องของคุณภาพครูเพียงอย่างเดียว
ขณะที่การดึงดูดคนดีมาเป็นครู ด้วยการให้ผลตอบแทน
จะทำอย่างไรให้วิชาชีพครูได้รับผลตอบแทนที่ทัดเทียมกับอาชีพอื่นๆ”

หรือกระทั่งในฐานะครูคนหนึ่ง “อาจารย์วรากรณ์”
มองว่า “การเป็นครูสิ่งสำคัญที่สุดคือการอบรมสั่งสอนเด็ก
โดยมีเป้าหมายผลิตคนดีมี คุณภาพ
นี่ต่างหากคือเป้าหมายของคนเป็นครู
เพราะครูดีสามารถช่วยชดเชยความบกพร่องของพ่อแม่
และสังคมได้เป็นอันมาก และการจะเป็นครูดีได้นั้น
ต้องเริ่มต้นที่มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ปรารถนาจะเป็นครูที่มีคุณค่าเป็นเบื้องต้น
และตั้งใจเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับเด็กทั้งหลาย”

และด้วยผลงานอันหลากหลายและทรงคุณค่านี้เอง
ที่ทำให้ “รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ”
เป็นผู้ที่เหมาะสมกับการเข้ารับพระราชทานครุศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาการบริหารการศึกษา ประจำปี 2552 เป็นอย่างยิ่งครับ