Custom Search

Sep 26, 2010

มหัศจรรย์แห่งรัก "หมีน้อยแพนด้า" ผลงานเล่มแรกของ "เมตตา อุทกะพันธุ์"


คมชัดลึก : โอกาสฉลองครบรอบ 16 ปี สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก
"ตุ๊ก" เมตตา อุทกะพันธุ์ บอสใหญ่อมรินทร์ จัดเปิดตัวหนังสือ
“หมีน้อยแพนด้า มหัศจรรย์แห่งรักจากใจแม่สู่ห
นังสือภาพสำหรับเด็ก”
พร้อมเปิดนิทรรศการแสดงภาพต้นฉบับหนังสือเด็ก
โดยศิลปินไทยชื่อดังร่วม 30 ท่าน ณ หอศิลป์
กรุงไทย (เยาวราช) เมื่อเร็วๆ นี้


เคยแต่เห็นประธานกรรมการ บริหารและกรรมการผู้จัดการใ
หญ่
บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
เปิดตัวหนังสือคนอื่น คราวนี้ถึงคิวตัวเองบ้าง เห็นรอยยิ้มเขิน
อย่างไม่ตั้งใจ
เพราะงานนี้นอกจากแขกเหรื่อผู้หลักผู้ใหญ่ และศิลปินชั้นแนวหน้าแล้ว
ยังมีคนในครอบครัวมาร่วมยินดีกันพร้อมหน้า
รวมทั้งหลานชายตัวน้อย "น้องปุณณ์"ลูกชายของ
"แพร" ระริน และ "หมี" โชคชัย ปัจจรุ่งโรจน์


และที่ใครๆ อยากรู้นักว่าเพราะเหตุใด เมตตา
ถึงลงมือเขียนหนังสือกับเขาได้ ได้ยินเจ้าของผลงานเฉลยว่า
ได้แรงบันดาลใจคนใกล้ตัวนั่นเอง

"หนังสือหมีน้อยแพนด้าได้รับแรงบันดาลใจมาจาก
เมื่อเดือนพฤษภาคมได้หลานยายคนแรก ชื่อว่าหลานปุณณ์
และพอเดือนถัดมาเจ้าหลินฮุ่ยก็ได้ออกลูกตัวน้อยชื่อว่าหลินปิง
ในระหว่างช่วงการรับประทานข้าวกลางวัน
ก็จะพูดคุยกันถึงความน่ารักของเจ้าตัวน้อยกับ
ความเป็น
Super Mom ของหลินฮุ่ย แทนการคุยเรื่องประเด็นทางการเมือง
ซึ่งทำให้เรามีความสุขมาก... (หัวเราะ)

จนวันหนึ่งเกิดแรงบันดาลใจนั่งลงหยิบกระดาษขึ้นมาเขียน
โดยใช้เวลาเพียง 40 นาทีในการเขียน
และขณะที่เขียนแต่ละช็อตภาพมันจะมาด้วยพร้อมๆ กัน
มันเป็นภาพของหมีน้อยแพนด้ากับภาพครอบครัวของเรา
คือครอบครัวคุณแพร คุณหมี และน้องปุณณ์
เพราะฉะนั้นคำว่า
“โตวันโตคืน ยิ่งกินยิ่งโต
ร่างกายแข็งแรง ทั้งอ้วนทั้งกลม”
มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ
ในครอบครัวของเรา
หรือสิ่งที่เราใส่ลงไปในหนังสือ"

คุณยายเมตตาเล่าไปยิ้มไปอย่างมีความสุข
พลอยให้คนฟังอมยิ้มไปด้วย


จึงเป็นความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก ดังที่คุณตุ๊ก
บอกว่า “ครอบครัวสุขสันต์ พ่อแม่ ลูกหมีผูกพันรักใคร่อาทร”

"มันเป็นความรู้สึกของเราจริงๆ ที่ใส่ลงไปในหนังสือด้วย
เรื่องราวทั้งหมดเป็นเรื่องของหมีหลินฮุ่ย
แต่เราได้ใส่ความเป็นคนในครอบครัวของเรา
เป็นความรู้สึก และภาษาที่เราใช้
เป็นรักแท้ๆ
รักจริงๆ ที่เราเลี้ยงเขา (คุณแพร) มา
พอเราเป็นยายเราก็มองดูเขาเลี้ยงลูก
ให้ความรักกับลูกเช่นเดียวกัน

สิ่งเหล่านี้พอถ่ายทอดกันไปถ่ายทอดกันมา
กลายเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็กเล่มนี้"

นอกจากในฐานะคุณแม่ และคุณยายคนเก่งแล้ว
ในฐานะของคนทำหนังสือ เมตตายังฝากไปถึงผู้ปกครองด้วยว่า

"สำหรับพ่อแม่ไทยยังรู้จักหนังสือภาพสำหรับเด็กน้อยเกินไป
จึงหวังว่ากระแสของหมีแพนด้าและหนังสือเล่มนี้
จะเป็นตัวจุดประกายให้พ่อแม่ไทย

ได้รู้จักว่าหนังสือภาพ สำหรับเด็กคืออะไร
เหมาะสมกับเด็กๆ อย่างไร
และให้ความสำคัญกับหนังสือภาพสำหรับเด็กมากขึ้น"

ด้านผู้ถ่ายทอดจินตนาการเป็นภาพวาด ตุลย์ สุวรรณกิจ
นักวาดภาพประกอบหนังสือ เจ้าของรางวัลดีเด่นจาก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี พ.ศ. 2551
จากเรื่อง "ทายซิ ทายซิ ฉันคือใคร" และปี พ.ศ. 2552
จากเรื่อง "ทายซิ ทายซิ นั่นตัวอะไร" เล่าถึงช่วงที่ทำง
านเล่มนี้ว่า

" จริงๆ ผมเป็นคนชอบวาดภาพสัตว์อยู่แล้ว
แต่จะไม่เน้นภาพจริง 100% จะยึดหลักความเป็นธรรมชาติของสัตว์ก่อน
แต่ถ้าเหมือนจริงเกินไปก็จะไม่ใช่หนังสือภาพของเด็ก
จะเป็นสารคดีมากกว่า ดังนั้นเราต้องใส่คาแรกเตอร์ไปในตัวละคร
ทั้งการยิ้ม สายตาให้คล้ายการ์ตูน
โดยเริ่มแรกผมจะต้องเรียนรู้นิสัย
และบุคคลิกตัวละครจะทำให้วาดได้เร็วขึ้น

สัปดาห์แรกผมจะไม่ได้ทำอะไรเลยนั่งดู
แต่รูปหมีแพนด้า โดยหาภาพใน google และที่อื่นๆ ดูจนหมด
พอผมจับคาแรกเตอร์ได้แล้วว่า หมีแพนด้าต้องหมุนด้านไหน
หมุนแล้วขนจะฟีบด้านไหน
ก็จะง่ายต่อการทำงาน
จากนั้นจึงเริ่มลงมือวาด"
นี่คือที่มาของแพนด้าสองแม่ลูกที่น่ารักน่าชังในหนังสือ


"หมีน้อยแพนด้า" เป็นเรื่องราวที่เรียบง่าย
แต่มากด้วยจินตนาการและภาพวาด
ที่สื่ออารมณ์ความรักความผูกพันของแม่ลูก
จัดพิมพ์เป็น 3 รูปแบบ คือ ปกแข็งภาษาไทย ราคา 195 บาท
ปกอ่อน ภาษาไทย ราคา 95 บาท
และปกแข็งภาษาอังกฤษ ราคา 250 บาท

โดยตั้งใจจะขายลิขสิทธิ์ไปยังต่างประเทศด้วย

สำหรับ “นิทรรศการแสดงภาพต้นฉบับหนังสือเด็กโดยศิลปินไทย”
เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองและโรงเรียน
ได้เข้าใจถึ
งความสำคัญของการใช้
หนังสือภาพสำหรับเด็ก
ในการส่งเสริมจินตนาการและพัฒนาการของเด็ก


ภาพต้นฉบับที่นำมาแสดงครั้งนี้ มีจำนวน 64 ภาพ
สร้างสรรค์โดยศิลปิน 25 ท่าน อาทิ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ, ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง,
ชัย ราชวัตร, ร.ศ.ทินกร กาษร-สุวรรณ, ผ.ศ.ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง,
ผ.ศ. ธีรวัฒน์ งามเชื้อชิต, เกริกบุระ ยมนาค, สุรเดช แก้วท่าไม้,
เนติกร ชินโย, ธีระวัฒน์ คะนะมะ, จินตนา เปี่ยมศิริ ฯลฯ