Custom Search

Oct 26, 2008

พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีประเทศไทยคนที่ 24


http://teetwo.blogspot.com/2012/04/blog-post_3799.html






















การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสังคมไทย

ชื่อ-สกุล : พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
ชื่อเล่น : แอ้ด นามแฝง/ฉายา : บิ๊กแอ้ด
วันเกิด : 28 สิงหาคม 2486 ที่ค่ายจักรพงษ์ อ.เมืองปราจีนบุรี
ครอบครัว : เป็นบุตรของ พ.ท.โพยม จุลานนท์ หรือ
สหายคำตัน หรือ ตู้ คำตัน และ นางอัมโภช ท่าราบ
สมรสกับ ท่านผู้หญิงจิตรวดี (ติ๋ม)

นามสกุลเดิมของคู่สมรส สันทัดเวช
มีบุตร 3คน จากภรรยาคนแรก 1 คน คือ
ร.ท.นนท์ จุลานนท์ (นนท์) และจาก
ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ (ติ๋ม) 2 คน คื

สันต์ จุลานนท์ (ข้าว) และ จุล จุลานนท์ (น้ำ)

การศึกษา
:

20 กุมภาพันธ์ 2552
-ปริญญาบัตรระดับปริญญาโท ณ อาคารใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สวนอัมพร2543-ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวางแผนและพัฒนาชนบทจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้

-วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ. รุ่นที่ 36)
2517 หลักสูตร เสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา

2514 หลักสูตร เสนาธิการทหารบก ชุดที่ 52
2511 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่า ร
. ที่ฟอร์ทเบนนิ่ง รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
2509 หลักสูตรส่งกำลังทางอากาศ
2509 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่า ร.2508 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

(จปร. รุ่น 12/นตท.1 : หมายเลขประจำตัว 6893)
2498 ม.4-6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (เลขประจำตัว 12129)
- ม.3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล


การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :
3 ตุลาคม 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไท

1 ตุลาคม 2549 นายกรัฐมนตรี คนที่ 24 (1 ต.ค.2549-29 ม.ค.2551
)
1 ตุลาคม 2545 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (เกษียณ 1
ต.ค.2546)
1 ตุลาคม 2541 ผู้บัญชาการทหารบก (ลำดับที่ 31) (ถึง 30 ก.ย.2545)

1 เมษายน 2541 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก1 ตุลาคม 2540 ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
1 ตุลาคม 2537 แม่ทัพภาคที่ 2 27 กรกฎาคม 2535 ราชองครักษ์เวร

1 เมษายน 2535 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

1 ตุลาคม 2534 รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงคร
ามพิเศษ
11 มีนาคม 2534 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
1 เมษายน 2532 ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่
1 1 ตุลาคม 2531 ประจำกองบัญชาการกองทัพบก
1 ตุลาคม 2529 ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
- 2526 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่1

ตำแหน่งอื่นๆ :
2 กรกฎาคม 2552 นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
21 พฤศจิกายน 2551 นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
8 เมษายน 2551 องคมนตรี1 พฤศจิกายน 2550 ก
รรมการสุขภาพแห่งชาติ
1 เมษายน 2550 นายกสภาสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
18 พฤษภาคม 2548 นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพ
ชรบุรี
1 เมษายน 2548 นายกสภาสถาบันเทคโนโล
ยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
14 พฤศจิกายน 2546 องคมนตรี (ไปเป็นนายกรัฐมนตรี 1 ต.ค.2549)

7 พฤษภาคม 2545 กรรมการป้องกันและปรา
บปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
(ลาออก 2 มี.ค.2547)
22 พฤศจิกายน 2541 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
25 ตุลาคม 2541 ประธานกรรมการบริหารธนาคาร
ทหารไทย
- ประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
- นายกสมาคมฟันดาบแห่งประเทศไทย
19 พฤษภาคม 2541 กรรมการองค์การสื่อสารมวล
ชนแห่งประเทศไทย (ลาออก)
22 มีนาคม 2539 สมาชิกวุฒิสภา (ลาออก 2 ต.ค.2541)
11 เมษายน 2539 เลขานุการคณะกรรมาธิการการท
หาร (วุฒิสภา)
22 มีนาคม 2535 สมาชิกวุฒิสภา
- 2529 นายทหารคนสนิท รัฐมนตรีว่า
การกระทรวงกลาโหม

ถอดรหัสชีวิต “สุรยุทธ์ จุลานนท์”Positioning Magazine ตุลาคม 2549
จากบทความพิเศษ “รู้จักสุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้มากกว่าที่รู้
ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน


1......... บิ๊กแอ๊ดผู้มาจากฟ้า
นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของไทย-พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

ซึ่งกราบถวายบังคมลาจาก
ตำแหน่งองคมนตรีมารับหน้าที่อันสำคัญในช่วง
บ้านเมืองอยู่
ในภาวะปฏิวัติและการใช้กฎอัยการศึก
อีกทั้งแรงกระเพื่อมทั้งผิวน้ำและใต้น้ำของระบอบทักษิณ
ที่อยู่ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย

อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขยังกระเพื่อมอยู่
และยังเป็นที่น่าสงสัยว่า
กำลังมีคนคิดอะไรที่ใหญ่กว่าการปฏิวัติ?
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงเป็น
ทั้งผู้รับพันธกิจ
มาจากคณะปฏิรูปการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ในฐานะที่เป็นทหารอดีตผู้บัญชาการทหารบ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ซึ่งจะต้องมีพันธกิจสอดคล้องต่อเนื่อง
และสนธิกันอย่างเป็นเนื้อเดียว
แล้วยังต้องรับภารกิจของการเป็น
นายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินตามธรรมนูญ

การปกครอง เริ่มภาพใหม่ของความเป็นประชาธิปไตย
ให้ปรากฏ
ทั้ง “พันธกิจ” แล
ะ “ภารกิจ” เช่นนี้
ทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มีความแตกต่างกว่านายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ

เพราะต้องรับสถานการณ์/ปัญหาจาก คปคที่อาจจะต้องเรียกว่า คปค.ต้องพึ่งพารัฐบาล
ให้รัฐบาลเป็นผู้ดูแล คปค.มากกว่า
จะให้ คปค.เป็นผู้ดูแลช่วยเหลือรัฐบาล,
และยังต้องปฏิบัติภารกิจของรัฐบาลเอง

บริหารราชการบ้านเมืองต่อไปโดยที่ผู้จะมารับ
ทั้งพันธกิจและภารกิจพร้อมๆ กันไปทั้ง 2 ด้านอย่างนี้

ความเหมาะสมมาลงตัวอยู่ที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มากกว่าผู้อื่นที่อาจจะรับได้ในภารกิจ

แต่เข้าร่วมพันธกิจกับ คปค.ไม่ได้โดยเหตุผลเช่นนี้
ก็น่าจะเป็นการเพียง
พอแล้ว
ต่อการตัดสินใจของ คปค.ต่อการขอให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยการประชุมของผู้นำ
คปค.ทั้ง 6 คนนั้น
มีความกังวลใจอยู่เพียง 2 อย่างคือ
1. ทางตำแหน่งองคมนตรีนั้น ประธานองคมนตรีคือ
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
จะมีความเห็นอย่างไรในการที่องคมนตรีจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี
คือต้องขอความเห็นชอบจาก “ป๋าเปรม” ก่อน และ

2. ตัว พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์จะยินดีรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่?
จึงเป็นหน้าที่ของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้า คปค.
ต้องไปดำเนินการทั้ง 2 ด้านคือ

ขอความเห็นชอบจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
และขอความกรุณาจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ให้รับหน้าที่นายกรัฐมนตรี
รายงานพิเศษนี้ขอกล่าวถึงพันธกิจและภารกิจของ
พล.อ.สุรยุทธ์ ไว้เพื่อการชี้ให้เห็นประเด็นเท่านั้น
ยังไม่ลงไปสู่รายละเอียดใดๆ
แต่จะขอเป็นรายงานเฉพาะตัวของ พล.อ.สุรยุทธ์

ที่ควรจะรู้รักกันให้มากยิ่งขึ้น คือ
หากว่ารู้จักมากขึ้นเท่าใดก็จะ
ทำให้เกิดความรู้สึกสบายใจกับสถานการณ์ว่า

ต้องคลี่คลายไป และหมดความกังวลใจต่อกระแสต่างๆ
ที่ว่าบ้านเมืองของเราจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้
จะให้มีความวางใจต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างเต็มที่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นเตรียมทหารรุ่น 1 (ตท. 1)
ที่เปลี่ยนจากนักเรียนเตรียมนายร้อย (ตน.)
เมื่อมีการตั้งโรงเรียนเตรียมทหารขึ้นใน
สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
และในรุ่นของนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (ร.ร.จปร.)
คือ จปร.รุ่น 12 มีหมายเลขประจำตัว ร.ร.จปร. 6
893
เมื่อจบการศึกษาแล้วได้เลือกเหล่าทหารราบ (เหล่า ร.)
โดยมีคะแนนสอบที่สามารถจะเลือกกลับเหล่าทหารปืน
ใหญ่ (เหล่า ป.) ได้ แต่ก็เลือกเหล่าทหารราบหรือเหล่าทหารม้า (เหล่า ม.)
เพราะต้องการเป็นทหารที่ทำการรบ
และในที่สุดเลือกเหล่าทหารราบ
เพราะเป็นเหล่าที่ทำการรบแบบประชิดตัว
และเห็นว่าผู้เป็นบิดา (พ.ท.โพยม จุลานนท์)

เป็นเหล่าทหารม้าอยู่แล้วจึงอยากจะเป็นทหารราบบ้าง
พล.อ.สุรยุทธ์ มีญาติสนิดชิดกัน
เป็นทหารอากาศ คือ พล.อ.อ.โยธิน ประยูรโภคราช รองสมุหราชองครักษ์
(ปฏิบัติหน้าที่เป็นกรมวังผู้ใหญ่อยู่วังศุโขทัย
ประจำสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร)
โดยคุณแม่ของ พล.อ.อ.โยธิน
เป็นน้องสาวของคุณแม่ พล.อ.สุรยุทธ์

ทั้ง 2 จึงเป็นลูกพี่ลูกน้องกันทางสายมารดา

พล.อ.อ.โยธิน นั้นเป็นเตรียมทหารรุ่น 6
และเพื่อนนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นเดียวกัน
ที่มีความรักและผูกพันกันอย่าง ยิ่งคือ
พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี รองปลัดกระทรวงกลาโหม

พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ
พล.อ.อ.ไพโรจน์ รัตนพล หัวหน้าสำนักงาน
พล.อ.อ.ธเรศ (เพิ่งเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา)
ดังนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ จึงเป็นพี่ของทั้ง
พล.อ.อ.ธเรศ พล.อ.อ.ชลิต และพล.อ.อ.ไพโรจน์ ด้วย

ซึ่งพล.อ.สุรยุทธ์ ก็รักเพื่อนของน้องคือ
พล.อ.อ.โยธิน เหมือนกับน้องของตัวเองด้วย
บิดาของ

พล.อ.อ.โยธิน คือ พ.อ.ประกอบ ประยูรโภคราช
เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยเ
ป็นทหารม้าเหล่าเดียวกัน
และเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
อีกทั้ง พ.อ.ประกอบ เป็นเพื่อนกับ พ.ต.โพยม จุลานนท์
บิดาของ พล.อ.สุรยุทธ์ ดังนั้น
ทั้งพล.อ.สุรยุทธ์ และพล.อ.อ.โยธิน
จึงอยู่ในฐานะ “หลาน” หรือจะเป็น “ลูก” ของพล.อ.เปรม ได้
โดยเป็นผู้ที่ พล.อ.เปรม เห็นมาตั้งแต่เกิดก็ว่าได้
นี่เป็นรายงานที่ไม่เชิงจะเป็นการ “ซุบซิบ” คอลั
น์สังคม
แต่เป็นการชี้ให้เห็นความโยงใยสายสัมพันธ์ที่เชื่อว่า
จะเป็นการเปิดเผยครั้งแรกโดยรายงานพิเศษนี้
พล.อ.สุรยุทธ์ นั้นมีชื่อเล่นว่า “แอ๊ด ” คือมาจากชื่อของรถรบสมัยนั้น
ที่ทหารม้าหรือทหารรถรบ (ม้าเหล็ก) ตั้งฉายาว่า “รุ่นไอ้แอ่ด”
คุณพ่อของ พล.อ.สุรยุทธ์ จึงเอาชื่อเล่นของรถถังรุ่นไอ้แอ่ดมา
เป็นชื่อเล่นของลูกชาย ดังนั้น ที่เรียกกันว่า “แอ๊ด” หรือ “บิ๊กแอ๊ด” นั้น
จึงเป็นการเรียกผิดและเขียนผิด เปลี่ยนชื่อกันไปเองโดยความเข้าใจผิด
เพราะชื่อเล่นที่แท้นั้นคือ “แอ่ด” คือออกเสียง
เป็น ไม้เอก ไม่ใช่ไม้ตรีพล.อ.สุรยุทธ์ ถือกำเนิดเป็นชาวเพชรบุรี
ซึ่งเป็นบ้านเดิมของบิดา และสนิทคุ้นเคยกับ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
ในฐานที่เป็น “คนเมืองเพชร” ด้วยกัน
และขณะนี้ ดร.สุเมธ เป็นนายกสมาคมชาวจังหวัดเพชรบุรี
และจากบ้านเกิดก็มาถึงสถาบันการศึกษาคือ
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพราะเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ
แล้วความเป็นสวนกุหลาบฯ ทำให้เป็นศิษย์ร่วม
สถาบันกับ
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ “บิ๊กจ๊อด” ด้วย
ความสัมพันธ์กันในทางลึกของสวนกุหลาบฯ นี้
มีผลความผูกพันกันมากยิ่งขึ้นในหลายๆ ด้านกับ

พล.อ.เปรม และพล.อ.สุนทร ซึ่งเป็นศิษย์เก่า จปร.รุ่นพี่อีกสถาบันหนึ่ง
จากการเป็นทหารพลร่ม/รบพิเศษ มาตั้งแต่เป็นร้อยตรี
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีความผูกพันมากกับหน่วย

และลักษณะทหารที่แตกต่างจากทหารบกอื่นๆ
มีหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อพล.อ.สุรยุทธ์
เป็น พ.อ.(พิเศษ) ผู้บังคับกา
รกรมรบพิเศษที่ 1
ที่เรียกกันว่า “พลร่มป่าหวาย” จะได้เป็น “พลตรี”
ขึ้นเป็นนายทหารคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระ
ทรวงกลาโหม คือ
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย
โดยอัตรา พล.ต.นี้เป็นการได้นายพลนอกเส้นทางปกติ,
การจะได้เป็นนายพล แต่อยู่นอกหน่วยพลร่ม/รบพิเศษนี้ มีความกังวลต่อ

พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นอย่างยิ่ง เพราะเกรงว่า
ถ้าหากออกนอกเส้นทางไปอย่างนั้นแล้วอาจจะไปมีตำแหน่งต่อไปในหน่วยอื่น
ไม่ได้กลับมาสวมหมวกเบเรต์แดงอีกและครั้งนั้น พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
ซึ่งเป็น พล.ท.ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.)
ต้องให้ความมั่นใจว่า “แอ่ดไปอยู่กับป๋าก่อนสักพัก
แล้วพี่จะขอตัวจากป๋ากลับมาอยู่กับพวกเราอีก
ขอรับรองว่าต้องได้กลับ...”
จึงเป็น พล.ต.สุรยุทธ์ จุลานนท์

นายทหารคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อจาก
พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ (ขณะนั้นยศ พล.ต.)
ที่ไปได้ตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี
ต่อมา,
จึงได้ย้ายกลับมาเป็นผู้บัญชากองพลรบพิเศษที่ 1
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ บังคับบัญชากรมรบพิเศษที่ 1
กรมรบพิเศษที่ 2 และกรมรบพิเศษที่ 3 ที่อยู่ลพบุรีทั้งหมด

เป็นไปตามที่ “บิ๊กจ๊อด” บอกไว้ว่า
“ขอรับรองว่า ต้องได้กลับ...”
จากนั้นเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงค
รามพิเศษ
และเป็น พล.ท.ในตำแหน่ง
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษในเวลาต่อมา
จากการเป็นพลร่ม/รบพิเศษนี้,
พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นผู้ที่ผ่านหลักสูตรของกระบวน
ยุทธ์
ทั้งหลายเหล่ของทหารพลร่ม/รบพิเศษมา
ทั้งหมด รวมทั้งหลักสูตรการกระโดดร่มแทรกซึมเบื้องสูงทางยุทธวิธีแบบ “ฮาโล”
ในระยะความสูง 18,000 ฟุต และสูงไปกว่านั้นคือ 3 หมื่นฟุต
ซึ่งระยะความสูงขั้นสูงสุดนี้ ต้องใช้หน้ากากอ
อกซิเจนในการช่วยหายใจด้วย
หลักสูตร “พรานเวหา” นี้ถือเป็นสุดยอดแล้วของทหารพลร่ม/รบพิเศษ
ซึ่งพล.อ.สุรยุทธ์ปฏิบัติได้ตลอดเวลาที่อยู่ในหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
และเมื่อมาเป็นผู้บัญชาการทหารบกแล้ว
ก็ยังกระโดดร่มแบบนี้ได้อยู่จากการเคยเป็นผู้นำหมู่กระโดดร่มลงท้องสนามหล
วง
ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ หรือ 72 พรรษาด้วย2…… สองพี่น้องบ้านป่าหวาย
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สุภาพบุรุษนักรบจาก “พลร่ม-ป่าหวาย”
ผู้มีลักษณะสมคำขวัญ “วินัย ใจเย็น สู้ตาย”
และเป็นพลังเงียบ-เฉียบขาดที่แท้จริง
เป็นผู้นำในการ “เป็นเช่นนั้น”
คือต้องเป็นทหารในลักษณะนั้นให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา และน้องๆ
เช่น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง

ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.)
ได้ก้าวเดินตาม กองพันพลร่ม (พัน.พร.)
ตั้งอยู่ที่บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี
และชื่อบ้านป่าหวาย เป็นที่มาของคำว่า “พลร่ม
ป่าหวาย”
หรือ “พวกป่าหวาย”-“ทหารป่าหวาย”
แม้ว่าเวลานี้มีทหารพลร่ม/รบพิเศษอยู่ทั่วประเทศ
เมื่อคนเห็นทหารใส่เบเรต์สีแดง
ก็จะบอกว่าเป็น “ป่าหวาย” ทั้งหมด

ยกเว้นชาวจังหวัดลพบุรี ที่รู้ว่าทหารหน่วยนี้
ยังมีอยู่ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ค่ายเอราวัณ
ค่ายสฤษดิ์เสนา
ที่อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
และที่อำเภอแ
ม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ป่าหวายนั้น เป็นที่ตั้งของกรมรบพิเศษที่ 1
มีนามค่ายพระราชทานว่า “ค่ายวชิราลงกรณ์”และ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษของทหารหน่วยนี้
ที่อยู่ในค่ายตามพระนามของพระองค์ด้วยจากกองพันพลร่ม กองพันเดียว ทหารเบเรต์แดง
ให้ปฏิบัติภารกิจทั้งเปิดเผยและลับทั้งภายนอก ภายในประเทศ

ทอดร่างพลีชีวิตกันมามากกว่าจะเป็นศูนย์สงครามพิเศษ
แล้วเป็นหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
ทหารพลร่มมีคำว่า “ออกประตูเดียวกัน”
คือ การกระโดดร่มออกมาจากประตูเครื่องบินด้วยกัน มีความเป็นพี่น้องกัน
ใครเก่งคนนั้นก็ได้รับการยอมรับ ดังเช่น พ.อ.(พิเศษ) วิสุทธิ์ กาญจนสิทธิ์
ได้เป็นผู้บังคับการ “ป่าหวาย” ทั้งๆ ที่ไม่ได้จบจากโรงเรียนนายร้อย จปร.
แต่ก็เป็นผู้บังคับบัญชาได้ เพราะว่าเป็นคนเก่
ง รบเก่ง
สำหรับผู้ที่เก่งระดับสั่งสอนผู้อื่นอยู่ในระดับ “ครู” ก็ถูกเรียกว่า “ครู”
แม้ว่าจะไม่ใช่นายทหารสัญญาบัตร หรือเป็นน
ายทหารยศน้อยๆ
ผู้ที่มียศสูงกว่า ก็อาจทำความเคารพก่อนได้
เพราะถือว่าเป็นการแสดงความเคารพต่อ “ครู”
ระหว่างครูกับศิษย์นั้น ไม่มียศและตำแหน่งมากันไว้ ชุดปฏิบัติการ พิเศษ (ชป.)

ในการรบพิเศษ ที่มีจำนวน 12 คนนั้น การเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ
จะเป็นลักษณะใดก็แล้วแต่พื้นที่ อาจจะเดินไป

หรือไปทางเรือยางหรือการกระโดดร่มลงพื้นที่
อันเป็นการเดินทางในลักษณะปกปิด แฝงตัว ซ่อนเร้น
ทั้ง 12 คนมีนายทหารยศร้อยเอกเป็นผู้บังคับชุดมีร้อยโท
หรือร้อยตรีเป็นรองผู้บังคับ
ชุด กำลังประกอบด้วยจ่า และนายสิบ แบ่งหน้าที่
เป็นพลยิง
ทั้งพลแม่นปืน และพลยิงธรรมดา
สำหรับพลแม่นปืนนั้น สามารถยิงเป้าหมายขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว ในระยะ 300 หลา

ได้โดยมีเปอร์เซ็นต์ผิดพลาดเพียง 5%
คือประมาณ 2 เซนติเมตร มีพลพยาบาล พลสื่อสาร ซึ่งยิงปืนได้

ทำการรบได้อย่างทัดเทียมและทดแทนหน้าที่กันได้ด้วย ทั้ง 12 คนนี้
จะหลอมเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อไปปฏิบัติการที่
กล่าวถึงชุดปฏิบัติการพิเศษนี้ ก็เพื่อจะให้เห็นว่า
มีความต่อเนื่องผูกพันกันมา เช่น
พล.อ.วิมล วงศ์วานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก
เคยเป็นผู้บังคับชุดปฏิบัติการพิเศษ และมีน้อง
เช่น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
เคยเป็นรองผู้บังคับชุด หรือรองหัวหน้าทีม

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เขยิบเป็นผู้บังคับชุด
เมื่อเป็นร้อยเอก ก็มีรองผู้บังคับชุดคือพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
ที่เพิ่งจบมาจากโรงเรียนนายร้อย จปร.
เพราะ ต้องเป็นเนื้อเดียวกันมาเช่นนี้ จึงไม่มีการแยกออกจากกัน
ผูกพันกันไปชั่วชีวิต เพราะภารกิจของชุดปฏิบัติการพิเศษที่ 12 คน
จะต้องเป็นร่างเดียวและหัวใจเดียวกันนั้น มีสิ่งที่ต้องตระหนักว่า
ทุกภารกิจคือความตาย คือถ้าหากฝ่ายตรงข้ามไม่ตาย

ฝ่ายเราก็ต้องตาย จะเป็นความตายของใครเท่านั้น?

คำว่า “ไปราชการ” เป็นคำที่หน่วยรบพิเศษ ทหารพลร่มสั่งสอนกันมาว่า
ภารกิจต้องปิดลับ แม้กระทั่งลูกเมีย จะไปทำงานที่ไหน อย่างไร
ใช้คำเดียวว่า “ไปราชการ” โดยถือว่า
คำว่า “ราชการ” ก็เป็นสิริมงคลแก่ตัวอยู่แล้ว
คือไปทำการถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตามหน้าที่ มีชัยชนะนำชีวิตกลับมาก็เป็นชัยชนะของราชการ
และหากตาย ก็เป็นการตายโดยหน้าที่ราชการในยามที่ตัวไปราชการแดนไกล
ไปรบในลาวหรือในเขมร ทุกคนจะต้องลาออก จากราชการทหาร
ไม่มีความผูกพันอะไรกับกองทัพ ในการศึกสงครามสู้รบที่ไม่มีการประกาศ
เพราะนี่เป็นงานลับ ตามแบบฉบับของหน่วยรบพิเศษ

เมื่อเสร็จภารกิจก็กลับหน่วยที่ลพบุรี และบางคนก็ไม่ได้เข้าหน่วยแต่ไปอยู่
วัดเสาธงทอง หรือ วัดตองปุ
“เงินเพิ่มพิเศษจากการปฏิบัติการสู้รบ” หรือ พสร.
แม้ จะเป็นเงินไม่มาก ตามขั้นเงินเดือนของตัวเองในขณะนั้น
เช่น พสร. 2 ขั้น หรือ 3 ขั้น
ขณะเป็นร้อยเอก ร้อยโท ก็น้อย

แต่สำหรับผู้ที่อยู่หน่วยรบพิเศษนั้น
แม้ยศและเงินเดือน จะไปถึงระดับใดแล้วก็ตาม เงิน พสร.คือ
สิ่งบ่งบอกของการเป็นนักรบโดยแท้ และจะภูมิใจใน พสร.นี้
มากกว่าอย่างอื่นใครที่มี พสร.น้อยจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นนักรบที่ด้อยกว่าเพื่อน
ใน สัญญาณของหน่วย ได้ปลูกฝังซึมซับให้เป็นวิญญาณหรือ
สัญชาตญาณของคนโดยที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
มิใช่จะมีแต่ผู้น้อย หรือทหารยศต่ำลงไป

ผู้มียศระดับนายพล นายพัน คงไม่เป็นเช่นนั้นกระมัง...
ในความเป็นพลร่ม/รบพิเศษนั้น สิ่งเหล่านี้คือสมบัติติดกาย
อยู่กับลมหายใจของพวกเขา ที่ฝึกหนักรับการ “ใส่”
จนเป็นความรู้สึกที่ตกผลึกไปจนวันตาย ไม่ ว่าจะเป็นหลักสูตรใด
ทั้งการส่งทางอากาศ (พลร่ม)
ที่แยกแขนงออกไปเป็นการกระโดดร่มแบบต่างๆ
รวมทั้งพลาธิการส่งทางอากาศ หลักสูตรจู่โจม “เสือคาบดาบ”
หลักสูตรรบพิเศษ สงครามนอกแบบ การต่อต้านก่อการร้าย
หลักสูตรการทำลาย และอีกมากมายนั้น
เป็นการเข้าหลักสูตรโดยไม่มียศ
ไม่มีตำแหน่งหน้าที่ ไม่มีผู้บังคับบัญชา หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
มีแต่นักเรียนซึ่งทุกคนมีฐานะเป็นนักเรียนเท่ากันหมด

และมี “ครู” ที่ต้องเคารพ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคง
ก็ เคยเป็นอย่างนี้ ได้รับการศึกษาเช่นนี้
และยังคงลักษณะของการเป็นผู้ที่ นิ่ม-นิ่ง-ลึก
และแสดงออกซึ่ง “วินัย ใจเย็น สู้ตาย”
ที่มีความหมายมากจาก “วินัย” คือความรู้สึกที่บอกกับตัวเอง
สอนตัวเอง เตือนตัวเองเป็นพิเศษ

ให้แตกต่างไปจากความรู้สึกของบุคคลทั่วไป
และเป็นความใจเย็น รอบคอบ พินิจพิเคราะห์ความใจเย็น
สร้างวิจารณญาณอย่างพิเศษ
และทำให้เป็นบุคลิกที่ลึกจนยากจะจับทางหรือประเมินได้ถูกว่า
กำลังคิดอย่างไร และกำลังจะทำอะไร ความเป็นคนใจเย็น
ทำให้เป็นคนมีเหตุมีผลมากกว่าคนใจร้อน
และเมื่อต้องเข้าสู่สถานการณ์อันอยู่ในระดับที่ว่า-ไม่เราก็เขาต้องตาย...
ก็เป็นคนกล้าหาญ กล้าเผชิญ กล้าแลก

คือแลกกันถึงสิ่งที่มีค่าที่สุด คือ
แลกกันด้วยความตาย! นี่ เป็นลักษณะโดยทั่วไป

และลักษณะเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ทั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
และ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน มีอยู่
ซึ่งแต่แรกนั้น มีแต่ พล.อ.สนธิ หัวหน้าคณะ คปค.
แต่เวลานี้มีผู้ซึ่งนำคุณลักษณะอย่างเดียวกัน
มาจากเบ้าหลอมเดียวกัน มาจาก “ป่าหวาย”
เหมือนกันเพิ่มขึ้นมาอีกคนหนึ่งคือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
เพื่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ระบอบอื่นๆ เป็นฝ่ายตรงข้าม รวมทั้ง “ระบอบทักษิณ”

3........ เข้าเขมร-กับรัฐบาลเขมร 3 ฝ่าย

ใน ช่วง “เขมรแตก”หลังจากที่เวียดนามถอนกำลัง 7 กองพล
ออกไปจากเขมร เหลืออีก 3 กองพลไว้เป็น
กองกำลังของรัฐบาลหุ่นเปิดระบอบ “เฮง-สัมริน” นั้น
เขมรมีรัฐบาลที่กุมอำนาจอยู่ในพนมเปญและพื้นที่ส่วนใหญ่
แต่ทางด้านที่ติดกับพรมแดนไทย
ตั้งแต่ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
จนถึงคลองใหญ่ จังหวัดตราด
เป็นพื้นที่ของเขมรแดงที่แตกมาจากพนมเปญ
และมีพื้นที่ยึดครองของเขมรฝ่าย “สีหนุ”
เขมรเสรีอีก 2 ฝ่ายอยู่เป็นบางส่วน
และในที่สุด เขมร 3 ฝ่าย คือเขมรแดง เขมรสีหนุ
และเขมรเสรีก็รวมกันทางการเมืองเป็นรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย
หรือรัฐบาลเขมร 3 ฝ่ายโดยแต่ละฝ่าย
ก็มีกองทัพของตัวเองอย่างเป็นอิสระ
ทำการสู้รบกับทหารเวียดนามและเขมรฝ่ายเฮง สัมริน
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
เป็นผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1

ใช้กำลังของกองพล รพศ. 1 นี้เข้าสู่พื้นที่อย่าง “รบพิเศษ”
โดยเฉพาะการใช้กำลังจากกรมรบพิเศษที่ 1
ค่ายวชิราลงกรณ์ “พลร่มป่าหวาย”
ซึ่งขณะนั้น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
เป็นผู้บังคับการกรม เป็นกำลังหลัก
ตอนนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ เป็น พล.ต.
และ พล.อ.สนธิ เป็น พ.อ.(พิเศษ)
การประสานกับ รัฐบาลเขมร 3 ฝ่าย
ซึ่งรัฐบาลไทยและอาเซียนรับรองรัฐบาลนี้
เป็นหน้าที่ของทางกองบัญชาการทหารสูงสุด
และสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ที่ไปตั้งหน่วยประสานงานอยู่ที่อรัญประเทศ
กองทัพบกรับผิดชอบทางยุทธการ
โดยกองกำลังบูรพา (พื้นที่กองทัพภาคที่ 1)
กองกำลังสุรนารี (พื้นที่กองทัพภาคที่ 2)
และกองทัพเรือรับผิดชอบทางด้านจังหวัดจันทบุรีและตราด
โดยกองกำลังจันทบุรี ตราด
กองทัพบกมอบหมายให้หน่วยบัญชาสงคราม พิเศษ (นสศ.)
ดำเนินกลยุทธ์สงครามนอกระบบ
โดยกองพลรบพิเศษที่ 1 “เข้าพื้นที่ส่วนนอก”
โดยมีกองกำลังในพื้นที่กองทัพภาครับผิดชอบส่วน
ของพรมแดนและบริเวณภายใน

และแน่นอนว่าผู้ที่ต้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่ส่วนนอก (ประเทศ) นั้น
ต้องมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
ที่เป็นผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 “ป่าหวาย” อยู่ด้วย
ซึ่งนอกจากจะปฏิบัติในลักษณะปิดลับแล้ว
ยังลึกลงไปถึงการประสานกับเขมรมุสลิมด้วย
เพราะเป็นมุสลิมด้วยกัน
เป็นการสร้างความอ่อนแอให้กับกองกำลังเฮง สัมริน
ที่มีทหารเป็นเขมรมุสลิมจำนวนมากที่ตีตัวออกห่าง
และยังเป็นผู้ประสานอย่างใกล้ชิดกับทางเขมรสีหนุ
ที่มี เจ้านโรดม รณฤทธิ์
เป็นผู้นำกองทัพ เพราะพระชายาของ เจ้านโรดม รณฤทธิ์
เป็นเขมรมุสลิมด้วย
และด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัฐบาลของเขมร 3 ฝ่าย
ได้รับการรับรองอย่างแข็งขันว่า
เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องจากมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย
อันนำไปสู่การเป็นรัฐบาลซึ่งมีที่นั่งอยู่ในองค์การสหประชาชาติ
โดยถือว่ารัฐบาล “เฮง สัมริน” ที่พนมเปญ นั้นเป็นรัฐบาลเถื่อน
เพราะเป็นรัฐบาลหุ่นที่ตั้งโดยเวียดนาม “รบ พิเศษ”

ที่ต้องออกไปยืนอยู่นอกประเทศนั้น
มีอยู่ในกองกำลังของเขมรทั้ง 3 ฝ่ายคือ
เขมรแดง เขมรสีหนุ และเขมรเสรี
โดยที่ทาง “ข่าวกรองทางทหาร” นั้น
ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำยุทธการ
ผู้ที่มีบทบาทในเรื่องของข่าวกรองในขณะนั้นคือ
พล.อ.ธีระเดช มีเพียร อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
และปัจจุบันเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
โดยพล.อ.ธีระเดช
ในขณะนั้นเป็นทหารหน่วยรบพิเศษยศ พ.อ.(พิเศษ)
เป็นหัวหน้าข่าวกรองทางทหาร
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (บกท.นสศ.)
และการส่งกำลังบำรุง (ศอ. 4) นั้น ก็มี
พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
เป็นรอง ศอ. 4 ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษอยู่
เมื่อมียศเป็น พ.อ. และคงเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง-เหตุการณ์ปฏิวัติ
เมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่เกือบจะมีการแยกขบวนเป็น 2 คณะปฏิวัตินั้น

ให้วกกลับมาเป็นขบวนเดียวกัน และแผนของ “ทักษิณ”
ที่จะปฏิวัติตัวเองก็พังพินาศและมีความพยายาม
ที่จะสร้างข้อกล่าวหาว่า “ถูกหักหลัง”
เมื่อ มีการปฏิวัติเพื่อ
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
กับการรักษาระบอบทักษิณที่มี
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำ
ก็ต้องมีการเลือกฝ่าย และใครจะเลือกเป็นฝ่ายทักษิณ?
การ เป็นนักเรียนนายร้อย จปร.มาด้วยกัน ก็เป็นรากลึกแล้ว
ยิ่งเป็นหน่วยรบพิเศษมาด้วยกัน
ออกประตูเครื่องบินในการกระโดดร่มด้วยกัน
การผ่านหลักสูตรที่แต่ละหลักสูตร
แทบจะมีเลือดซึมออกมากับหยาดเหงื่อนั้น
ก็เป็นรากลึกลงไปอีก หมวกเบเรต์แดงนั้น
พล.อ.เรืองโรจน์ ก็ยังสวมอยู่
เพราะรักหมวกใบนี้มากกว่ารักหมวกใบอื่นๆ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประเมินค่าผิดในข้อนี้,
เพราะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตคำว่า “ทหาร”
อยู่เพียงการเป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารอยู่ 2 ปี

และเมื่อเป็นตำรวจก็อยู่ในเครื่องแบบเพียง
พ.ต.ท.ตำแหน่งรองผู้กำกับการฯ
ก็รู้รักแต่เพียงใบหรืออย่างมาก
ก็คือกิ่งอ่อนที่เพิ่งแตกมาใหม่ๆ ไม่ได้รู้จัก “ต้น”
และแน่นอนว่าย่อมมองไม่เห็น “ราก” นั้น
ย้อนกลับไปสู่ความลึกและเข้มของ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในการ “เข้าเขมร” ครั้งนั้น
ถ้า หากจะว่ากันโดยกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว
รัฐบาลของเขมร 3 ฝ่าย
หรือรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยที่สมเด็จนโรดมสีหนุ เป็นผู้นำ
ซึ่งสหประชาชาติให้การรับรอง
เป็นการเข้าไปอย่างถูกต้องด้วยความต้องการ
และยินดีของรัฐบาลนั้น
เช่นเดียวกันกับการเข้าไป “ลาว” ในอดีต
ก็ด้วยความยินยอมของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ณ นครเวียงจันทน์เช่นกัน

พล.อ.สุ รยุทธ์ จุลานนท์ เข้าไปเขมรด้วย
ภารกิจแบบ “รบพิเศษ” เช่นเดียวกับ
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในขณะที่ประเทศนั้นอยู่
ในภาวะสงครามเต็มรูปแบบ
และไม่รู้ว่าอนาคตของเขมรจะเป็นอย่างไร
รัฐบาล เขมร 3 ฝ่ายต่างก็ได้รับความช่วยเหลือ
จากบรรดาประเทศที่ถือหางหรือ
เป็นลูกพี่อยู่ คือ เขมรแดงได้รับการสนับสนุนจากจีนล้วนๆ
เขมรเสรีก็ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ
จากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่
โดยกลุ่มนี้เป็นเชื้อสายมาจาก
กลุ่มของจอมพลลอน นอล ซึ่งสหรัฐฯ
หยุดให้ทำการปฏิวัติโค่นกษัตริย์สีหนุ และสถาบันเขมร
เป็นสาธารณรัฐมีจอมพลลอน นอล
เป็นประธานาธิบดี และต่อมาเขมรแดง
ก็เข้ามาขับไล่ประธานาธิบดีลอน นอล ออกไป,
ทั้ง 3 ฝ่ายเป็นศัตรูกันมาก่อน
แต่มารวมกันเป็นรัฐบาลนอกพนมเปญได้
เพราะมีศัตรูร่วมกันคือ เวียดนามและระบบเฮงสัมริน
ในนครพนมเปญ เมืองหลวง

ความช่วยเหลือที่เข้าไปสู่เขมร 3 ฝ่าย
เพื่อทำการต่อสู้กับรัฐบาลเฮง สัมริน นั้น
ต้องผ่านไทย เพราะไม่มีช่องทางอื่นใดที่จะนำเข้าไปถึง
มือทหารของทั้ง 3 ฝ่ายได้การส่งอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าไปนั้น
ทางไทยเป็นผู้ควบคุม ซึ่งก็ต้องทำอย่างเป็นความลับ
และมีความเหมาะสมกับสถานการณ์
เขมรกลุ่มที่ทางไทยจะต้องให้ความดูแลเป็นพิเศษคือ
กลุ่มสีหนุ เพราะกลางๆ อยู่คือ ทางสหรัฐอเมริกาก็ไม่ช่วยเต็มที่
เพราะเห็นว่า สมเด็จสีหนุนั้น สนิทกับทางจีนและเวียดนามเหนือ
ส่วนทางจีนก็ช่วยบ้างแต่ไม่เต็มที่เหมือนกับให้กับเขมรแดง
ซึ่งเป็นบริวารโดยตรง คือ
หยิบยื่นให้ลูกน้องก็ระดับหนึ่ง
และให้กับเพื่อนที่มีไมตรีต่อกัน ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง
พอไม่ให้ขาดไมตรีกันเท่านั้น
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้กำกับและ
เป็นผู้ประสานความช่วยเหลือต่อเขมร 3
ฝ่ายนี้
“คลัง อาวุธ” ลับๆ แห่งหนึ่งถูกตั้งอยู่ในสวนทุเรียนลึกของเขตจังหวัดจันทบุรี
มีตั้งแต่ปืนใหญ่จนถึงอาวุธประจำกายของทหาร และเคยออกเป็นข่าวใหญ่
เมื่อทางตำรวจซึ่งไม่รู้ว่าตาบอดหูหนวกอยู่ที่ไหนบุกเข้าตรวจค้น
ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นฝีมือของตำรวจทางหลวง ที่เห็นผิดสังเกตในการขนย้าย
จึงตามกลิ่นไปจนพบที่ตั้งของคลัง แต่ต่อมาเรื่องก็เงียบหายไป
มี อยู่ระยะหนึ่งที่กองกำลังของเขมร 3 ฝ่าย
ต้องเผชิญกับอำนาจการยิงของรถถัง
ที่ฝ่ายเฮง สัมริน มีอยู่เต็มมือ และจะต้องการอีกเท่าใดก็ได้
เพราะเวียดนามจัดมาให้ได้อย่างเต็มที่
อาวุธสำหรับการต่อสู้รถถังจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก
ขณะนั้น จรวดต่อสู้รถถังโดยตรงมีออกมาหลายรุ่น เช่น
สตริงเกอร์ ของสหรัฐอเมริกา
และคาร์ล สต๊าฟ ของสวีเดน, จรวดต่อสู้รถถังทั้ง 2 แบบ
ถูกส่งเข้ามาโดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา
โดยมีข้อจำกัดอย่างกว้างๆ ว่า

เป็นอาวุธสำหรับเขมรฝ่ายที่มิใช่คอมมิวนิสต์
โดยไม่เจาะจงว่าเป็นเขมรแดง
ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัว ทั้งสตริงเกอร์ และคาร์ล สต๊าฟ
มีการฝึกให้ใช้และส่งมอบให้กับเขมรอีก 2 ฝ่ายคือ เขมรเสรีและเขมรสีหนุ
โดยการตัดสินใจของกองทัพบกไทย
โดยมีการมอบให้ในจำนวนที่จำเป็นต่อสถานการณ์
ทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ยัง มีอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
ซึ่งเป็นภารกิจอันไม่ควรจะเปิดเผยอย่างชัดเจนนัก
แม้ว่าจะทำให้เห็นภาพของความเด็ดขาด เข้มแข็ง
แต่จะกลายเป็นความเข้มข้นเกินไป
จะไม่สอดคล้องกับความอ่อนตัวตามแนว
นโยบายที่ทางรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติต้องการ

4........... “วิ่งวัวต่าง” แบบไม่จำกัดน้ำหนัก
“วิ่ง วัวต่าง” ของทหารนั้น
เป็นการทดสอบวิ่งโดยเป้สนามสะพายหลัง มีสัมภาระเต็มตามพิกัด
ซึ่งมีน้ำหนักต่างกัน แต่สำหรับ “รบพิเศษ” นั้น อยู่ในเกณฑ์ 35 กิโลกรัม
ด้วยน้ำหนักเท่านี้ จะต้องก้าวขาวิ่งในระยะทางที่กำหนด
และภายในเวลาที่กำหนด หากทำไม่ได้ก็ไม่ผ่าน
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในวันนี้
ก็ไม่แตกต่างจากการเข้าสู่สนามวิ่งวัวต่าง เพราะต้องรับภาระที่หนักอึ้ง
แล้วยังมีเวลากำหนดคือในหนึ่งปี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็เช่นกัน
ที่จะต้องออกวิ่งวัวต่างในตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ที่มีน้ำหนักสะพายหลัง ระยะทางและเวลาเท่ากันกับ พล.อ.สุรยุทธ์ “น้ำหนัก”
ก็อาจจะเพิ่มขึ้นด้วยในเวลาต่อไป โดยจะลดน้ำหนักวัวต่าง ปลดวาง
หรือเลิกไม่ได้ ต้องเป็นเช่นนี้ต่อไป...
เพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข
รายงานพิเศษ 3 ตอนที่ผ่านมา ได้เปิดเผยในสิ่งที่ควรเปิดเผยได้
เพื่อให้เห็นว่า บุคคลที่ถูกหล่อหลอมมาอย่าง “มีวินัย ใจเย็น สู้ตาย” เช่นนี้

เป็นผู้ที่มาแก้ไขปัญหาทั้งหลาย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ของชาติ
โดยใช้ความนิ่ม นิ่ง และลึก
ซึ่งจะต้องแปลงยุทธศาสตร์นั้น
เป็นยุทธศาสตร์หลักปฏิบัติของยุทธวิธีอย่างไม่ต้องเครียด
เพราะเตรียมกันมามากเกินพอแล้ว “วิ่งวัว ต่าง”
พร้อมน้ำหนักสัมภาระในระยะทาง 800 เมตร ในเวลา 4 นาที 10 วินาทีนั้น
ต้องเฝ้าดูกันอย่างไม่เครียดด้วย เพราะหากคนดูเครียด
คนที่วิ่งก็จะเครียดและทำให้เหนื่อยเร็ว
ต้อง เอาใจช่วย โดยรายงานพิเศษที่ผ่านมา ทั้ง 3 วันนั้น
ก็บ่งบอกไว้หลายอย่างว่า ต้องมีความมั่นใจและเชื่อใจว่า
ก็ผ่านความเหนื่อยยากกันมาค่อนชีวิตแล้ว
อีกสักครั้งหนึ่งในยามที่เป็นยิ่งกว่าคำว่า-ชาติต้องการ

ที่จะต้องให้เข้ามาต่อสู้กับ “สงคราม” อีกครั้งหนึ่ง
โดยถือภารกิจนี้เป็นสงคราม ก็มาจาก “สงคราม” นั้น
ตามหลักที่เรียกว่า สงครามที่แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
คือ “สงครามตามแบบ” และ “สงครามนอกแบบ”
ที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า “สงครามไม่ตามแบบ”
โดย สงครามตามแบบนั้น แยกเป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ
สงครามพื้นฐานได้แก่ การตั้งรับ การร่นถอย การเข้าตี
และสงครามภายใต้สภาพพิเศษ คือ การเข้าตีข้ามลำน้ำ
การเข้าตีที่มั่นถาวร การเข้าตีสิ่งก่อสร้างถาวร
การปฏิบัติการส่งกำลังทางอากาศ การปฏิบัติการรบในพื้นที่ป่าและภูเขา
การปฏิบัติการรบในพื้นที่ลุ่มน้ำ การปฏิบัติการรบสะเทินน้ำสะเทินบก
การปฏิบัติการรบในสภาพอากาศหนาวจัดคือพื้นที่หิมะ
การปฏิบัติการรบในพื้นที่ทะเลทราย ส่วนสงครามไม่ตามแบบ
หรือสงครามนอกแบบนั้น มีสงครามการเมือง สงครามเศรษฐกิจ
สงครามศาสนา สงครามปรมาณู สงครามอวกาศ และสงครามพิเศษ
ซึ่งจะขอยกรายละเอียดของสงครามพิเศษออกมาเป็นประเด็นเดียว
เพื่อที่จะนำเข้าสู่ประตูการรายงานในวันนี้ คือ สงครามพิเศษได้แยกเป็น
1. การต่อสู้เบ็ดเสร็จ คือ ยุทธศาสตร์การต่อสู้เบ็ดเสร็จ และยุทธศาสตร์พัฒนา
2. สงครามนอกแบบได้แก่ การรบแบบกองโจร การบ่อนทำลาย การเล็ดลอดหลบหนี
3. การปฏิบัติการทางจิตวิทยา (ปจว.)
ที่แยกเป็น ปจว.ทางยุทธศาสตร์ ปจว.ทางยุทธวิธี ปจว.เพื่อเสริมความมั่นคง และ
4. การปราบปรามการก่อความไม่สงบที่มีมาตรการหลักคือ การปราบกองโจร
การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร การปรับปรุงสภาพแวดล้อม
โดยมีมาตรการเสริมคือ การข่าว การปฏิบัติการจิตวิทยา และการประชาสัมพันธ์
ทั้งหมดข้างต้น ทำให้เห็นว่าการเป็นนักรบของหน่วยรบพิเศษ
มิใช่มีแต่ความแกร่งกล้าหาญเท่านั้น
ต้องปรับตัวให้เข้ากับลักษณะและสภาพเหตุการณ์
คือมีทั้งหนักและเบา แข็งและอ่อน สงครามตามแบบนั้น
เมื่อทำการยึดพื้นที่และประชาชนได้แล้ว หน่วยที่ออกตีก็รุกไปข้างหน้า
ได้กำลังอีกส่วนหนึ่งเข้ามาดูแลพื้นที่คือ ฝ่ายกิจการพลเรือน
ที่อาจจะมองได้ว่า เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ ทำการ “ยึด” ได้แล้ว
การสถาปนาความมั่นคงต่อไป ก็ให้เป็นหน้าที่ของทางรัฐบาล
แบบที่ใช้ฝ่ายกิจการพลเรือนในยามสงคราม
แต่ถ้าหากว่ามองในแบบของสงครามไม่ตามแบบ/สงครามพิเศษที่
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
มีความสันทัดเจนจัดอยู่
ได้ทำสงครามพิเศษในระยะต่อไป
ภายใต้หลักของสงครามปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.)
คือการปรับบรรยากาศให้สนองตอบต่อการปฏิรูปการปกครองฯ
โดยจัดเป็นยุทธศาสตร์ปฏิบัติการจิตวิทยา ที่ทำให้เห็นว่า
การปฏิรูปการปกครองฯ เป็นการแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้
และใช้ยุทธวิธีปฏิบัติการทางจิตวิทยา ว่ารัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สามารถแก้ไขและเสริมสร้างความมั่นคงได้
โดยการเสริมสร้างความมั่นคงก็เป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่งในยุทธศาสตร์นั้น
นอกจากจะเข้าสู่สงครามจิตวิทยาด้วยมาตรการที่เห็นว่า
การอ่อนตัว ลดความเข้มและแข็ง สร้างบรรยากาศใหม่ของความสมานฉันท์
ซึ่งรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มีเป้าหมายหรือมีลักษณะยุทธวิธีเช่นนี้แล้ว
การปฏิบัติการอีกแบบหนึ่ง คือการปราบปรามการก่อความไม่สงบนั้น
เมื่อไม่ต้องปราบกองโจร หรือไม่ต้องปราบปรามศัตรู
ก็ใช้มาตรการพิทักษ์ประชาชน และทรัพยากรเข้ามาเป็นตัวเสริม
ก็เป็นการปราบปรามการก่อความไม่สงบได้อีกวิธีหนึ่ง คือ
“ปราบโดยไม่ต้องปราบ”
เมื่อประชาชนเกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือ เชื่อใจแล้ว
การก่อความไม่สงบย่อมไม่มี ดังนั้น มาตรการที่อ่อนตัว
ก็จะเป็นการป้องกันเพื่อที่จะไม่ต้องปราบปรามได้อีกทางหนึ่ง
โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็น
ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งโดยประชาชนเกิดศรัทธา
มีความเชื่อมั่นว่าเป็นคนดี ก็จะต้องให้เกิดความเชื่อถือ
โดยคณะรัฐมนตรีที่จะทำให้เกิดความเชื่อถือได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีที่มี
สมรรถภาพ แล้วความเชื่อถือก็จะเป็นความเชื่อมั่น
แล้วก็จะเป็นความเชื่อใจในที่สุด
พล.อ.สุ รยุทธ์ จุลานนท์
จึงเป็นนายกรัฐมนตรีที่ต้องมาทำงานแบบ “สงครามพิเศษ”
ภายใต้สถานการณ์พิเศษ ซึ่งเป็นครั้งแรกของราชอาณาจักรไทย
ที่เกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น การบริหารราชการแผ่นดินต่อไปนี้
จึงเป็นลักษณะของสงครามพิเศษ
เพื่อเสริมความมั่นคงตามหลักยุทธศาสตร์ปฏิบัติการจิตวิทยา
พร้อมกับเป็นการปราบปรามการก่อความไม่สงบได้พร้อมๆ กันไป
นี่ เป็นการบอกกล่าวให้รู้จักกับ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มากกว่าที่เคยรู้จักหรือรู้กันว่า
การยอมรับเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เพราะเป็นผู้รู้ว่า
สถานการณ์ของบ้านเมืองจะต้อง
ได้รับการแก้ไขโดยหลักสงครามพิเศษเช่นนี้
เมื่อ วันที่ 24 มกราคม 2543 ขณะที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก
และได้เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ (ผบ.เหตุการณ์)
เมื่อกำลังของกะเหรี่ยงก๊อดอาร์มี่เข้ายึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี,
พล.อ.สุรยุทธ์ได้เข้ากำกับแก้ไขเหตุการณ์ตามหลักสงครามนอกแบบ
คือการรบแบบกองโจร พร้อมกับนำหลักสงครามปฏิบัติการจิตวิทยา
และการปราบปรามการก่อความไม่สงบมาใช้อย่างเต็มรูป
ของการต่อต้านการก่อการร้าย
โดยกำลังพลที่เข้าปฏิบัติการนั้น ก็มีความเชื่อมั่น เชื่อถือ
และเชื่อใจของ ผบ.เหตุการณ์เป็นอย่างสูง
จึงเกิดความแน่วแน่ มีสมาธิ จิตใจไม่แกว่ง และพร้อมรับคำสั่ง
เมื่อพล.อ.สุรยุทธ์ นับถอยหลัง สิบ-เก้า-แปด-เจ็ด-หก-ห้า-สี่-สาม-สอง-ปฏิบัติ
เสียงปืนดังขึ้น กะเหรี่ยงก๊อดอาร์มี่ตายหมด เมื่อสิ้นเสียงปืน,
เหตุการณ์ครั้งนั้น นำมาเปรียบเทียบกับสงครามพิเศษในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ก็คงจะไม่ต่างกัน คือความเชื่อมั่น เชื่อถือ
และเชื่อใจต่อ ผบ.เหตุการณ์มีอยู่แล้วเป็นทุน
และต่อไป ผบ.เหตุการณ์จะนับถอยหลัง สิบ-เก้า-แปด-เจ็ด...
จนถึงปฏิบัติ เมื่อได้จัดคณะรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว ก็เชื่อกันว่า
กระสุนจะเข้าเป้าหมายได้ทั้งหมด
เหมือนเหตุการณ์เมื่อ 24 มกราคม 2543 นั้น