Custom Search

Oct 15, 2008

ตั้งสติกับสึนามิเศรษฐกิจ

วรากรณ์ สามโกเศศ
วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ปีที่ 31 ฉบับที่ 11177
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ดูน่ากลัวเพราะผลร้ายเริ่มลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
ตลาดเงินและตลาดทุนบั่นป่วน อย่างไรก็ดี ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อร้ายนี้
ถ้าคนในบ้านเราไม่ ตื่นตระหนก สดับตรับฟังข่าวต่างๆ อย่างมีสติแล้ว
ผลกระทบในบ้านเราก็ไม่น่าจะหนักหนาสาหัสเท่าวิกฤตเมื่อปี 2540
การรับประกันเงินฝากในธนาคารอย่างไม่จำกัดวงเงินของไอร์แลนด์
เยอรมนี ออสเตรีย เดนมาร์ก พร้อมกับการขยายยอดวงเงินประกันเงินฝากของธนาคาร
ในเกือบทุกประเทศในยุโรปชี้ให้เห็นว่าการตื่นตระหนกถอนเงินจากธนาคาร
ได้เกิดขึ้นแล้วอันเนื่องมาจากหนี้เสียหรือคาดว่าธนาคารมีผลประกอบการที่เลวร้าย
จนจะปิดกิจการสาเหตุของการถอนเงินก็มาจากการกลัวว่าธนาคารจะล้ม
และไม่มีเงินจ่ายคืนให้การออกมาบอกว่าจะรับประกันเงินฝากไม่จำกัดวงเงิน
หรือขยายวงเงินก็ทำให้ผู้ฝากเบาใจ
และหาย ตื่นตระหนกไปได้ในระดับหนึ่ง
และถ้าเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นสถาบันการเงินก็คงพอหายใจสบายขึ้น
การตื่นตระหนกถอนเงินจากธนาคารนั้นน่ากลัวกว่าการตกของดัชนีตลาดหุ้นเป็นอันมาก
การที่คนตกใจก็เนื่องจากเกรงว่าราคาหลักทรัพย์จะตกลงมากไปกว่าที่ซื้อไว้ อย่างไรก็ดี
เมื่อมันตกลงมากๆ ไม่ช้าไม่นานก็จะมีคนมาช้อนซื้อ "ของถูก" (ถ้าไม่ตกไปกว่านี้อีก)
เอาไว้ ดัชนีก็จะฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง จะช้าจะเร็วและจะขึ้นมาสูงหรือต่ำแค่ไหนไม่มีใครทราบ
(ถ้าผู้เขียนรู้ก็ไม่ได้มานั่งเขียนอยู่ตรงนี้)
ส่วนการตื่นตระหนกของผู้ฝากเงินนั้นร้ายกาจกว่ามากมาย
เพราะทุกธนาคารไม่ว่าใหญ่โตแค่ไหนก็สามารถล้มได้
ทั้งนั้นหากผู้คนแห่กันมาถอนเงินเนื่องจากธนาคารได้เอาเงินฝากไปปล่อยกู้เกือบทั้งหมด
(ใครจะกอดเงินฝากอยู่ได้เพราะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ทุกวินาที)
ตามธรรมชาติของธุรกิจธนาคารทั่วโลกเมื่อธนาคารใดธนาคารหนึ่งล้ม
ก็มีโอกาสสูงที่จะดึงธนาคารอื่นลงไปด้วยเนื่องจากโรคกระต่ายตื่นตูม
หรือธนาคารอื่นอาจมีธุรกิจโยงใยอยู่ด้วย
ดังนั้น การยอมให้ธนาคารใดธนาคารหนึ่งล้มจึงเป็นสิ่งต้องห้าม
เมื่อก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 การล้มของธนาคารเป็นเรื่องใหญ่โตน่ากลัว
แต่เมื่อกว่า 2-3 ธนาคารแถมด้วยบริษัทไฟแนนซ์กว่า 40 แห่งล้ม
คนไทยจึงรู้สึกชาชินไปเป็นอันมาก กอปรกับรัฐบาลไทยคุ้มครองเงินฝากไม่จำกัดวงเงิน
(เพียงแต่ได้เงินฝากคืนช้าเท่านั้น) มันจึงไม่เป็นโรคร้ายลามไปทั่วในครั้งนี้
ถึงแม้พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีผลใช้บังคับแล้ว
ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม 2551 ก็ตาม ในปีแรกภาครัฐก็ยังคุ้มครองไม่จำกัดวงเงินอยู่ดี
ในปีต่อไปวงเงินคุ้มครองคือ 100 ล้านบาทต่อคนฝาก 1 คนต่อ 1
สถาบันการเงินและลดหลั่นลงไปเป็น 50 และ 10 ล้านบาท
ในปีต่อๆ ไปพระราชบัญญัติฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เต็มที่ในวันที่ 13 สิงหาคม 2555
เป็นต้นไปคือคุ้มครองวงเงินฝาก 1 ล้านบาทต่อคนฝาก 1 คนต่อ 1
สถาบันการเงินผู้มีเงินฝากนับสิบหรือร้อยล้านบาทและวงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท
เช่นนี้ก็ไม่น่ากลัวเพราะผู้ฝากสามารถฝากในหลายธนาคารได้และคนเช่นนี้ก็มีน้อยมาก
เพราะสถิติปัจจุบันระบุว่าร้อยละ 98.5 ของยอดบัญชีเงินฝากทั้งหมดในประเทศไทย
มีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาทการคุ้มครองเงินฝากหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประกันเงินฝาก
ในบ้านเราจึงไม่ใช่เหตุผลที่ควรจะตื่นตระหนกใดๆ
ทั้งสิ้นและก็ไม่มีเหตุผลใดๆ อีกเช่นกันที่จะต้องหน้าตาตื่นไปถอนเงินฝากจาก
สถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย
ได้ประกาศว่าสถาบันการเงินไทยได้ซื้อตราสารหนี้ชนิดที่มีหลักทรัพย์จำนองหนุน
หลัง (mortgage-back securities)ที่เป็นปัญหาเพราะมูลค่ามันลดลงไปมาก
จากบริษัทการเงินที่มีปัญหาในสหรัฐอเมริกาประมาณ 7 พันล้านบาท
ซึ่งถ้าตัวเลขนี้จริงก็ไม่เป็นปัญหาปัญหาที่จะกระทบคนไทย
จากวิกฤตแฮมเบอเกอร์น่าจะมาจาก
(ก) ปัญหาการส่งออกเนื่องจากคู่ค้ารายใหญ่ของเราคือสหรัฐอเมริกา ยุโรป
(ยังไม่เห็นชัดจากประเทศอาเซียนและจีน) มีปัญหาด้านรายได้จนบริโภคน้อยลง
และมีดีมานด์ของสินค้าออกของเราน้อยลง
(ข) ปัญหาการท่องเที่ยว เป็นธรรมดาเมื่อตนเองจนลงจริงๆ
หรือรู้สึกว่าตนเองจนลงบนกระดาษเพราะราคาหุ้นตกลงมากก็ย่อมออก
ท่องเที่ยวน้อยลงเป็นธรรมดา
(ค) ปัญหาการลงทุนจากต่างประเทศ บริษัทใหญ่ๆ
เมื่อฐานะการเงินถูกกระทบเพราะเศรษฐกิจโตช้าลงหรือประชาชนมีการบริโภคน้อยลง
สินค้าค้างสต๊อคมากขึ้น ก็ย่อมลงทุนน้อยลงกว่าเดิมทั้งในและนอกประเทศ
(ง) ความไม่แน่นอนจากการลามของโรคไปยังประเทศอื่นๆ
ในรูปของหนี้เสียหรือเกิดสภาวะเลวร้ายลงมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาในลักษณะใหม่ๆ เช่น
ค่าเงินเหรียญสหรัฐผันผวน บริษัทที่ได้ช่วยเหลือไปแล้วมีอาการทรุดหนักลงไปอีก
โรคลามไปถึงสถาบันการเงินใหญ่อย่างร้ายแรง ฯลฯ
หรือโรคลามไปถึงสถาบันการเงินของไทยอันเกิดจากหนี้เสีย
(จ) ปัญหาเศรษฐกิจไทยโตช้าลงทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยลง
(แต่รายจ่ายเพิ่มขึ้นทำให้ขาดดุลการคลังมากขึ้นซึ่งหมายถึงหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น)
ภาคเอกชนมีกำไรน้อยลงหรือ ขาดทุนซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการจ้างงาน
(ฉ) ปัญหาดัชนีตลาดหุ้นไทยตกลงไปมากจนทำให้นักลงทุนขาดทุน
นักธุรกิจต้องกู้ยืมด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นเพราะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
(หลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมก็มีมูลค่าลดลงด้วย)
ปัญหาเหล่านี้จะมาถึงอย่างไม่รวดเร็ว พอมีเวลาให้เราปรับตัวได้
แต่ถ้าคนไทยเราตื่นตระหนกและขาดสติในการแก้ไขปัญหา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าตื่นไปถอนเงินฝากหรือขายหุ้นกัน
ลูกเดียวแล้ว เราจะเจ็บตัวกันได้มากในเวลาอันรวดเร็วไม่มีเหตุผลใด
ในปัจจุบันที่คนไทยจะต้องตื่นตูมกังวลกับเงินฝากในสถาบันการเงิน
หรือขายหุ้นทิ้งอย่างไร้สติ เราควรตั้งสติและปรับตัวรับปัญหา
ถ้าจะห่วงใยก็น่าจะเป็นเรื่องการใช้ความรุนแรงของภาครัฐ
ทั้งจากการปลุกระดมและการใช้กลไกของรัฐ
ในการแก้ไขปัญหาชุมนุมประท้วงตามสิทธิในระบอบประชาธิปไตยมากกว่า
หน้า 6