Custom Search

Oct 1, 2008

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ : นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทย






ชีวประวัติพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2463
ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
เป็นบุตรคนที่ 6 ของอำมาตย์โท หลวงวินิจฑัณทกรรม
กับนางออด ติณสูลานนท์
พลเอก เปรม เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนวัดบ่อยาง
และศึกษาต่อที่โรงเรียนวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
จากนั้นเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนเทคนิคทหารบก โรงเรียนทหารม้าศูนย์การทหารม้า
โรงเรียนยานเกราะ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา ฟอร์ทน๊อกซ์ เคนตั๊กกี้ สหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยกองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9
พลเอก เปรม เริ่มรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวด ที่กรมรถรบ
จากนั้นมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการมาตามลำดับ กล่าวคือ
ปี 2502 ได้เลื่อนยศเป็นพันเอก
ในตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ
ปี 2506 ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า
เลื่อนยศเป็นพลตรีในตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้าและเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2
ในปี 2516 ได้เป็นแม่ทัพภาคที่ 2
ในปี 2517 เลื่อนยศเป็นพลเอกในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
ในปี 2520 และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
ในปี 2521 พลเอก เปรม เข้ามามีบทบาททางการเมือง
โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2502
เป็นวุฒิสมาชิก ในปี 2511 และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เมื่อปี 2516 พลเอก เปรม เข้าร่วมรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและสมาชิกสภาปฏิรูป
ในปี 2520และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ในปี 2522 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจาก
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523
ตลอดระยะเวลาที่บริหารประเทศได้มีผลงานสำคัญมากมาย เช่น
การปรับปรุงประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎหมายสรรพสินค้า
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.)
การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชน (กรอ.)
เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ
การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ภายในประเทศอย่างได้ผล
โดยนำนโยบายการใช้ "การเมืองนำการทหาร" ตามคำสั่งนโยบายที่ 66/2523
เป็นผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้บริหารประเทศมาจนถึงวันที่ 28 เมษายน 2531
ก็ตัดสินใจยุบสภาอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง
และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531
พร้อมทั้งยุติบทบาททางการเมือง ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2531
และยังได้รับการยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษด้วย
ในปัจจุบันได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานองคมนตรี
แทนนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุคคลที่มีบุคลิกนิสัยที่สังคมยอมรับและยกย่อง
ให้เป็นปูชนียบุคคลของชาติซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
๑. พูดจาสุภาพ ตรงไปตรงมา เสียงดังฟังชัด พูดน้อยและมีสาระ
๒. แต่งการสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับโอกาสและนิยมสมัย
อีกทั้งเป็นผู้ริเริ่มนำใช้ผ้าไทยพระราชทาน เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์การแต่งกาย
ของวัฒนธรรมไทย
๓. ยอมรับเหตุผลของผู้อื่น มีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจปัญหา
จะมีนิสัยสุขุม เยือกเย็น
๔. ให้เกียรติและยกย่องผู้อื่นทุกเพศทุกวัยตามเหมาะสมโอกาส
๕. มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
๖. มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความบริสุทธิ์ใจและมุ่งมั่นในการกระทำความดี๗. เชิดชูเกียรติยศของตนเองและประเทศชาติอยู่เสมอ
๘. ปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างของคนดีตามวัฒนธรรมไทยอย่างแท้จริง
๙. รักเพื่อนพ้อง ญาติพี่น้องอย่างแท้จริงแต่ไม่ยอมให้เรื่องส่วนตัวเข้าเกี่ยวข้อง
กับเรื่องงานของส่วนร่วม ในตำแหน่งหน้าที่โดยเด็ดขาด
๑๐. เชิดชู ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างบริสุทธิ์