เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Oct 24, 2008
งีบหลับเพิ่ม เพิ่มผลิตภาพ
วรากรณ์ สามโกเศศ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มติชน
วันที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ปีที่ 29 ฉบับที่ 10372
ถ้าการงีบหลับตอนกลางวันไม่ดี นโปเลียน ลีโอนาโด ดาวินชี และคนสำคัญของโลกอีกมากมายคงจะไม่ทำกัน ปัจจุบันคนญี่ปุ่นซึ่งเคยรังเกียจการงีบหลับกลางวันมานานกำลังเปลี่ยนทัศนคติจนทำให้การงีบหลับกลางวันได้กลายเป็นแฟชั่นฮิตตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
ญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นสังคมที่ทำงานหนักและนอนกันน้อยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
การนอนหลังอาหารกลางวันดังที่เรียกกันว่า siesta นั้นสังคมญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าดูหมิ่น เพราะเป็นการบ่งบอกถึงความขี้เกียจ
คลื่นความนิยมการมีสภาพจิตและสมองที่ตื่นตัว (mental alertness)
ในญี่ปุ่นใน 2-3 ปีที่ผ่านมา (คนญี่ปุ่นดูจะนิยมสิ่งที่เรียกว่า fads ซึ่งเป็นความนิยมที่มาเป็นพักๆ มากกว่าสังคมอื่นๆ) เพื่อสร้างข้อได้เปรียบเชิงสมองได้ฉุดให้คนญี่ปุ่นหันมานิยม siesta siesta ซึ่งเป็นคำในภาษาสเปน หมายถึง การหลับช่วงสั้นๆ ในตอนบ่าย
คำนี้มาจากคำว่า Hora-Sexto ในภาษาละติน (The Sixth Hour หรือชั่วโมงที่หก ซึ่งเมื่อนับจากเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงกลางวันก็ตกประมาณ 6 ชั่วโมง)
siesta เป็นเรื่องประจำวันมานมนานของคนสเปน โปรตุเกส อเมริกาใต้
และประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นประเทศเหล่านี้ เช่น ฟิลิปปินส์
การนอนตอนบ่ายมีมานานแล้วในจีน (ไต้หวันปัจจุบันทำกันจริงจังมาก)
อินเดีย เอเชียใต้ กรีก ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ
อันเนื่องมาจากความร้อนในตอนบ่ายทำให้ทำงานไม่ได้
ในปัจจุบันนักเรียนในระดับมัธยม ข้าราชการ ลูกจ้าง
ผู้บริหารบริษัทในทุกระดับของญี่ปุ่นหันมานิยม siesta
จนเกิดสถานที่ที่เรียกว่า Nap Salon "ร้านบริการงีบ" ขึ้นหลายแห่งในเมืองใหญ่
ในโตเกียวมีร้านแห่งหนึ่งชื่อ Napia มีสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนทำงาน
รับบริการถึง 1,500 คน สมาชิกสามารถใช้บริการงีบโดยนอนบนเตียงหลังอาหารกลางวัน
เป็นเวลาสั้น ๆ ในราคา 4.50 เหรียญ
มีงานวิจัยและหนังสือเกี่ยวกับการงีบหลับสั้นๆ ออกมามากมาย
ข้อมูลที่เชื่อกันก็คือไม่ควรงีบหลับในเวลากลางวันเกินกว่า 30 นาที
มิฉะนั้นจะเข้าสู่การหลับลึก (ขั้นตอนที่เรียกว่า REM-Rapid Eye Movement)
ซึ่งเมื่อตื่นขึ้นแล้วจะรู้สึกง่วงหงาวหาวนอนมากกว่าที่จะรู้สึกสดชื่น
เพื่อให้ได้ผลร้าน Napia ให้ลูกค้าดื่มกาแฟ 1 แก้วก่อนนอน
เพราะคาเฟอีนซึ่งมีผลทำให้ตื่นตัวนอนไม่หลับจะออกฤทธิ์ในเวลา 20 นาที
กาแฟจึงทำหน้าที่เหมือนนาฬิกาปลุกไม่ให้หลับเกินกว่า 20 นาที
คนญี่ปุ่นชอบ siesta และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าทำให้สดชื่น
ในหลายบริษัทใหญ่ในเวลาหลังอาหารกลางวันส่งเสริมให้นอนซบหลับกับโต๊ะ หรี่ไฟ
และเปิดเพลงเบาๆ เพราะรู้สึกว่าทำให้คนทำงานสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้นกว่าที่เคยเป็น
ถ้าจะว่าไปแล้ว siesta เป็นผลมาจากข่าวดังในปี 2003
เมื่อมีผู้เห็นว่าพนักงานขับรถไฟด่วน (bullet train) หลับใน
ถึงแม้ว่ารถไฟด่วนจะมีเครื่องช่วยป้องกันอุบัติเหตุในยามที่ไม่มีคนบังคับ
แต่ปรากฏการณ์นี้ก่อให้เกิดประเด็นถกเถียงกันในประเทศอย่างกว้างขวาง
ถึงการนอนหลับไม่เพียงพอของคนญี่ปุ่น
เมื่อผนวกข้อเท็จจริงนี้เข้ากับความปรารถนาที่จะมีข้อได้เปรียบเชิงสมองของคนญี่ปุ่น
siesta ก็เลยเกิดเป็นแฟชั่นไปทั่วประเทศในปัจจุบัน
งานวิจัยพบว่าคนทำงานญี่ปุ่นนอนประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อคืน
ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำงานในตอนเย็นหรือค่ำ siesta ช่วยให้สมองสดชื่น
เด็กนักเรียนจำนวนมากที่ต้องตื่นนอนตั้งแต่ตีห้าครึ่งหรือ 6 โมงเช้า
เพื่อขึ้นรถไฟเดินทางมาโรงเรียนกันนาน 1-2 ชั่วโมง
มีชั่วโมงนอนที่ไม่เพียงพอ
หากให้นักเรียนได้งีบหลับหลังอาหารกลางวันก็จะช่วยให้มีความฉลาดเพิ่มขึ้น
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าในสมัยโบราณคนญี่ปุ่นงีบหลับในตอนบ่ายหลังจาก
ทำงานหนักในช่วงเช้ากันเป็นธรรมดา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 17 ภายหลังจากที่มีมิชชันนารี
(กลุ่มผู้เผยแผ่คริสต์ศาสนา) จาก Iberian Peninsula
เดินทางเอา siesta มาแพร่หลาย
(นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นไม่แน่ใจว่าซามูไรก็นิยมด้วยหรือไม่)
แต่เมื่อญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากประเทศที่ไม่นิยม siesta เช่น เยอรมนี อังกฤษ ฯลฯ
ในเวลาต่อมา การงีบหลับกลางวันจึงกลายเป็นสิ่งไม่น่าชื่นชมในสังคมญี่ปุ่นไป
siesta ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะผู้คนกระทำกันมานานเป็นธรรมชาติ
แต่เมื่อเข้าสู่ยุคทุนนิยมอุตสาหกรรม ความโลภที่เกิดขึ้นในระบบ
ทำให้ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะงีบหลับ ภายใต้ work ethics
หรือกฎกติกาของระบบการทำงานของสังคมลักษณะนี้
การงีบหลับในเวลากลางวันคือสัญลักษณ์แห่งความขี้เกียจและน่าดูถูก
นโปเลียนนั่งงีบหลับบนหลังม้าจนเป็นที่เลื่องลือ
บ้างก็ว่าเป็นการนั่งสมาธิเพื่อระงับความเจ็บปวดอันเกิดจากโรคริดสีดวง
ซึ่งเป็นโรคประจำตัว (คนเป็นโรคนี้แล้วขี่ม้าคงจินตนาการได้ว่าจะเจ็บปวดเพียงใด)
ส่วนลีโอนาโด ดาวินชี จะพักงีบหลับ 15 นาทีทุกๆ 4 ชั่วโมงที่ทำงาน
(ตอนเขียนภาพโมนาลิซ่านั้นเขาอาจเขียนอย่างหลับๆ ตื่นๆ ก็เป็นได้
จนดูไม่ชัดว่าเธอยิ้มอย่างมีเลศนัยจริงหรือไม่
ข้อคิดนี้สำหรับแฟนๆ ของนวนิยาย The Da Vinci Code)
หากการงีบหลับตอนกลางวันได้ผลจริงก็จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) หรือความสามารถในการผลิตหรือทำงานซึ่งเป็นหัวใจของความกินดีอยู่ดีของทุกสังคม
(ถ้าทรัพยากรมนุษย์แต่ละคนของสังคมมีความสามารถในการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ
ถึงแม้จะมีจำนวนจำกัดก็ไม่มีความหมาย)
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พิสูจน์ว่า siesta ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
(The Odd Body โดย Dr. Stephen Juan หน้า 249)
งานวิจัยในปี 1991 ของ Socio-Economic Research Institute
ใน Rhinebeck รัฐนิวยอร์ก วิเคราะห์ผลดีและผลเสียของการมี siesta
ของลูกจ้างในบริษัทใหญ่ งานวิจัยพยากรณ์ว่าในศตวรรษที่ 21
จะมีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่มีนโยบายสนับสนุน siesta ในเชิงวิทยาศาสตร์
มนุษย์มีวงจรของการหลับ-ตื่นในหนึ่งวันที่เรียกว่า circadian cycle
ในช่วงวงจร 24 ชั่วโมง มนุษย์จะถูกดึงเข้าสู่การหลับ 2 ครั้ง
โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในตอนกลางของตอนบ่าย
และครั้งที่สองในตอนกลางของช่วงดึกของกลางคืน
ในวงจรนี้อุณหภูมิร่างกาย และการหลั่งของฮอร์โมนต่างๆ
ในร่างกายตลอดจนระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่นๆ
มีผลกระทบต่อการตื่นตัว และวงจรของการตื่นตัวนี้ (ultradian cycle)
มีผลอย่างสำคัญต่อความสามารถในการทำงานของมนุษย์
ซึ่งทั้งหมดนี้หมายความว่าร่างกายของเราอยู่ในจุดแย่สุด
สำหรับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสองครั้งในหนึ่งวัน
ดังนั้น เครื่องมือที่จะช่วยแก้ไขก็คือ siesta
ข้อน่าสังเกตก็คือ คนทำงานที่เผชิญกับสองจุดนี้ก็คือผู้ทำงานเป็นกะ 12 ชั่วโมง
ที่เริ่มทำงานในตอนบ่ายจัด และออกงานในตอนเกือบใกล้รุ่ง
อันตรายต่างๆ จากการทำงานเกิดขึ้นบ่อย ณ จุดนี้ของเวลา ลิงกอริลลา
(ในป่าไม่ใช่ในกรง) นอนมากกว่าวันละ 12 ชั่วโมง
เชื่อกันว่าตลอด เวลา 150,000 ปี ของการยืนสองขาของมนุษย์จนเมื่อไม่กี่ปีมานี้
มนุษย์นอนเฉลี่ยคืนละ 9.5 ชั่วโมง ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นอนเฉลี่ยวันละ 7 ชั่วโมง
การงีบหลับหลังอาหารกลางวันจึงเป็นการแก้ไขการผิดธรรมชาติได้ส่วนหนึ่ง
งานวิจัยพบว่ายิ่งนอนน้อยจะยิ่งกินมาก โดยไม่ได้ระบุว่าการกินนี้รวมไปถึง
กินบ้านกินเมืองด้วยหรือไม่ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการช่วยรักษาให้เหลืออะไรไว้บ้างสำหรับลูกหลาน เราควรเร่งส่งเสริมการนอนกันมากๆ ในหมู่นักการเมืองที่เลว
ส่วนข้าราชการและมือปืนชั่วๆ ที่ร่วมมือด้วยอย่างแข็งขันนั้นคงไม่จำเป็น
เพราะต่อนี้ไปมีโอกาสได้นอนอีกเหลือเฟือในคุก