Custom Search

Oct 26, 2008

พุทธทาสภิกขุ


พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีประเทศไทยคนที่ 24


http://teetwo.blogspot.com/2012/04/blog-post_3799.html






















การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสังคมไทย

ชื่อ-สกุล : พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
ชื่อเล่น : แอ้ด นามแฝง/ฉายา : บิ๊กแอ้ด
วันเกิด : 28 สิงหาคม 2486 ที่ค่ายจักรพงษ์ อ.เมืองปราจีนบุรี
ครอบครัว : เป็นบุตรของ พ.ท.โพยม จุลานนท์ หรือ
สหายคำตัน หรือ ตู้ คำตัน และ นางอัมโภช ท่าราบ
สมรสกับ ท่านผู้หญิงจิตรวดี (ติ๋ม)

นามสกุลเดิมของคู่สมรส สันทัดเวช
มีบุตร 3คน จากภรรยาคนแรก 1 คน คือ
ร.ท.นนท์ จุลานนท์ (นนท์) และจาก
ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ (ติ๋ม) 2 คน คื

สันต์ จุลานนท์ (ข้าว) และ จุล จุลานนท์ (น้ำ)

การศึกษา
:

20 กุมภาพันธ์ 2552
-ปริญญาบัตรระดับปริญญาโท ณ อาคารใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สวนอัมพร2543-ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวางแผนและพัฒนาชนบทจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้

-วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ. รุ่นที่ 36)
2517 หลักสูตร เสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา

2514 หลักสูตร เสนาธิการทหารบก ชุดที่ 52
2511 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่า ร
. ที่ฟอร์ทเบนนิ่ง รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
2509 หลักสูตรส่งกำลังทางอากาศ
2509 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่า ร.2508 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

(จปร. รุ่น 12/นตท.1 : หมายเลขประจำตัว 6893)
2498 ม.4-6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (เลขประจำตัว 12129)
- ม.3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล


การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :
3 ตุลาคม 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไท

1 ตุลาคม 2549 นายกรัฐมนตรี คนที่ 24 (1 ต.ค.2549-29 ม.ค.2551
)
1 ตุลาคม 2545 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (เกษียณ 1
ต.ค.2546)
1 ตุลาคม 2541 ผู้บัญชาการทหารบก (ลำดับที่ 31) (ถึง 30 ก.ย.2545)

1 เมษายน 2541 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก1 ตุลาคม 2540 ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
1 ตุลาคม 2537 แม่ทัพภาคที่ 2 27 กรกฎาคม 2535 ราชองครักษ์เวร

1 เมษายน 2535 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

1 ตุลาคม 2534 รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงคร
ามพิเศษ
11 มีนาคม 2534 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
1 เมษายน 2532 ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่
1 1 ตุลาคม 2531 ประจำกองบัญชาการกองทัพบก
1 ตุลาคม 2529 ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
- 2526 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่1

ตำแหน่งอื่นๆ :
2 กรกฎาคม 2552 นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
21 พฤศจิกายน 2551 นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
8 เมษายน 2551 องคมนตรี1 พฤศจิกายน 2550 ก
รรมการสุขภาพแห่งชาติ
1 เมษายน 2550 นายกสภาสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
18 พฤษภาคม 2548 นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพ
ชรบุรี
1 เมษายน 2548 นายกสภาสถาบันเทคโนโล
ยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
14 พฤศจิกายน 2546 องคมนตรี (ไปเป็นนายกรัฐมนตรี 1 ต.ค.2549)

7 พฤษภาคม 2545 กรรมการป้องกันและปรา
บปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
(ลาออก 2 มี.ค.2547)
22 พฤศจิกายน 2541 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
25 ตุลาคม 2541 ประธานกรรมการบริหารธนาคาร
ทหารไทย
- ประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
- นายกสมาคมฟันดาบแห่งประเทศไทย
19 พฤษภาคม 2541 กรรมการองค์การสื่อสารมวล
ชนแห่งประเทศไทย (ลาออก)
22 มีนาคม 2539 สมาชิกวุฒิสภา (ลาออก 2 ต.ค.2541)
11 เมษายน 2539 เลขานุการคณะกรรมาธิการการท
หาร (วุฒิสภา)
22 มีนาคม 2535 สมาชิกวุฒิสภา
- 2529 นายทหารคนสนิท รัฐมนตรีว่า
การกระทรวงกลาโหม

ถอดรหัสชีวิต “สุรยุทธ์ จุลานนท์”Positioning Magazine ตุลาคม 2549
จากบทความพิเศษ “รู้จักสุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้มากกว่าที่รู้
ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน


1......... บิ๊กแอ๊ดผู้มาจากฟ้า
นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของไทย-พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

ซึ่งกราบถวายบังคมลาจาก
ตำแหน่งองคมนตรีมารับหน้าที่อันสำคัญในช่วง
บ้านเมืองอยู่
ในภาวะปฏิวัติและการใช้กฎอัยการศึก
อีกทั้งแรงกระเพื่อมทั้งผิวน้ำและใต้น้ำของระบอบทักษิณ
ที่อยู่ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย

อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขยังกระเพื่อมอยู่
และยังเป็นที่น่าสงสัยว่า
กำลังมีคนคิดอะไรที่ใหญ่กว่าการปฏิวัติ?
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงเป็น
ทั้งผู้รับพันธกิจ
มาจากคณะปฏิรูปการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ในฐานะที่เป็นทหารอดีตผู้บัญชาการทหารบ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ซึ่งจะต้องมีพันธกิจสอดคล้องต่อเนื่อง
และสนธิกันอย่างเป็นเนื้อเดียว
แล้วยังต้องรับภารกิจของการเป็น
นายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินตามธรรมนูญ

การปกครอง เริ่มภาพใหม่ของความเป็นประชาธิปไตย
ให้ปรากฏ
ทั้ง “พันธกิจ” แล
ะ “ภารกิจ” เช่นนี้
ทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มีความแตกต่างกว่านายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ

เพราะต้องรับสถานการณ์/ปัญหาจาก คปคที่อาจจะต้องเรียกว่า คปค.ต้องพึ่งพารัฐบาล
ให้รัฐบาลเป็นผู้ดูแล คปค.มากกว่า
จะให้ คปค.เป็นผู้ดูแลช่วยเหลือรัฐบาล,
และยังต้องปฏิบัติภารกิจของรัฐบาลเอง

บริหารราชการบ้านเมืองต่อไปโดยที่ผู้จะมารับ
ทั้งพันธกิจและภารกิจพร้อมๆ กันไปทั้ง 2 ด้านอย่างนี้

ความเหมาะสมมาลงตัวอยู่ที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มากกว่าผู้อื่นที่อาจจะรับได้ในภารกิจ

แต่เข้าร่วมพันธกิจกับ คปค.ไม่ได้โดยเหตุผลเช่นนี้
ก็น่าจะเป็นการเพียง
พอแล้ว
ต่อการตัดสินใจของ คปค.ต่อการขอให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยการประชุมของผู้นำ
คปค.ทั้ง 6 คนนั้น
มีความกังวลใจอยู่เพียง 2 อย่างคือ
1. ทางตำแหน่งองคมนตรีนั้น ประธานองคมนตรีคือ
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
จะมีความเห็นอย่างไรในการที่องคมนตรีจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี
คือต้องขอความเห็นชอบจาก “ป๋าเปรม” ก่อน และ

2. ตัว พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์จะยินดีรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่?
จึงเป็นหน้าที่ของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้า คปค.
ต้องไปดำเนินการทั้ง 2 ด้านคือ

ขอความเห็นชอบจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
และขอความกรุณาจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ให้รับหน้าที่นายกรัฐมนตรี
รายงานพิเศษนี้ขอกล่าวถึงพันธกิจและภารกิจของ
พล.อ.สุรยุทธ์ ไว้เพื่อการชี้ให้เห็นประเด็นเท่านั้น
ยังไม่ลงไปสู่รายละเอียดใดๆ
แต่จะขอเป็นรายงานเฉพาะตัวของ พล.อ.สุรยุทธ์

ที่ควรจะรู้รักกันให้มากยิ่งขึ้น คือ
หากว่ารู้จักมากขึ้นเท่าใดก็จะ
ทำให้เกิดความรู้สึกสบายใจกับสถานการณ์ว่า

ต้องคลี่คลายไป และหมดความกังวลใจต่อกระแสต่างๆ
ที่ว่าบ้านเมืองของเราจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้
จะให้มีความวางใจต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างเต็มที่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นเตรียมทหารรุ่น 1 (ตท. 1)
ที่เปลี่ยนจากนักเรียนเตรียมนายร้อย (ตน.)
เมื่อมีการตั้งโรงเรียนเตรียมทหารขึ้นใน
สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
และในรุ่นของนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (ร.ร.จปร.)
คือ จปร.รุ่น 12 มีหมายเลขประจำตัว ร.ร.จปร. 6
893
เมื่อจบการศึกษาแล้วได้เลือกเหล่าทหารราบ (เหล่า ร.)
โดยมีคะแนนสอบที่สามารถจะเลือกกลับเหล่าทหารปืน
ใหญ่ (เหล่า ป.) ได้ แต่ก็เลือกเหล่าทหารราบหรือเหล่าทหารม้า (เหล่า ม.)
เพราะต้องการเป็นทหารที่ทำการรบ
และในที่สุดเลือกเหล่าทหารราบ
เพราะเป็นเหล่าที่ทำการรบแบบประชิดตัว
และเห็นว่าผู้เป็นบิดา (พ.ท.โพยม จุลานนท์)

เป็นเหล่าทหารม้าอยู่แล้วจึงอยากจะเป็นทหารราบบ้าง
พล.อ.สุรยุทธ์ มีญาติสนิดชิดกัน
เป็นทหารอากาศ คือ พล.อ.อ.โยธิน ประยูรโภคราช รองสมุหราชองครักษ์
(ปฏิบัติหน้าที่เป็นกรมวังผู้ใหญ่อยู่วังศุโขทัย
ประจำสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร)
โดยคุณแม่ของ พล.อ.อ.โยธิน
เป็นน้องสาวของคุณแม่ พล.อ.สุรยุทธ์

ทั้ง 2 จึงเป็นลูกพี่ลูกน้องกันทางสายมารดา

พล.อ.อ.โยธิน นั้นเป็นเตรียมทหารรุ่น 6
และเพื่อนนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นเดียวกัน
ที่มีความรักและผูกพันกันอย่าง ยิ่งคือ
พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี รองปลัดกระทรวงกลาโหม

พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ
พล.อ.อ.ไพโรจน์ รัตนพล หัวหน้าสำนักงาน
พล.อ.อ.ธเรศ (เพิ่งเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา)
ดังนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ จึงเป็นพี่ของทั้ง
พล.อ.อ.ธเรศ พล.อ.อ.ชลิต และพล.อ.อ.ไพโรจน์ ด้วย

ซึ่งพล.อ.สุรยุทธ์ ก็รักเพื่อนของน้องคือ
พล.อ.อ.โยธิน เหมือนกับน้องของตัวเองด้วย
บิดาของ

พล.อ.อ.โยธิน คือ พ.อ.ประกอบ ประยูรโภคราช
เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยเ
ป็นทหารม้าเหล่าเดียวกัน
และเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
อีกทั้ง พ.อ.ประกอบ เป็นเพื่อนกับ พ.ต.โพยม จุลานนท์
บิดาของ พล.อ.สุรยุทธ์ ดังนั้น
ทั้งพล.อ.สุรยุทธ์ และพล.อ.อ.โยธิน
จึงอยู่ในฐานะ “หลาน” หรือจะเป็น “ลูก” ของพล.อ.เปรม ได้
โดยเป็นผู้ที่ พล.อ.เปรม เห็นมาตั้งแต่เกิดก็ว่าได้
นี่เป็นรายงานที่ไม่เชิงจะเป็นการ “ซุบซิบ” คอลั
น์สังคม
แต่เป็นการชี้ให้เห็นความโยงใยสายสัมพันธ์ที่เชื่อว่า
จะเป็นการเปิดเผยครั้งแรกโดยรายงานพิเศษนี้
พล.อ.สุรยุทธ์ นั้นมีชื่อเล่นว่า “แอ๊ด ” คือมาจากชื่อของรถรบสมัยนั้น
ที่ทหารม้าหรือทหารรถรบ (ม้าเหล็ก) ตั้งฉายาว่า “รุ่นไอ้แอ่ด”
คุณพ่อของ พล.อ.สุรยุทธ์ จึงเอาชื่อเล่นของรถถังรุ่นไอ้แอ่ดมา
เป็นชื่อเล่นของลูกชาย ดังนั้น ที่เรียกกันว่า “แอ๊ด” หรือ “บิ๊กแอ๊ด” นั้น
จึงเป็นการเรียกผิดและเขียนผิด เปลี่ยนชื่อกันไปเองโดยความเข้าใจผิด
เพราะชื่อเล่นที่แท้นั้นคือ “แอ่ด” คือออกเสียง
เป็น ไม้เอก ไม่ใช่ไม้ตรีพล.อ.สุรยุทธ์ ถือกำเนิดเป็นชาวเพชรบุรี
ซึ่งเป็นบ้านเดิมของบิดา และสนิทคุ้นเคยกับ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
ในฐานที่เป็น “คนเมืองเพชร” ด้วยกัน
และขณะนี้ ดร.สุเมธ เป็นนายกสมาคมชาวจังหวัดเพชรบุรี
และจากบ้านเกิดก็มาถึงสถาบันการศึกษาคือ
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพราะเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ
แล้วความเป็นสวนกุหลาบฯ ทำให้เป็นศิษย์ร่วม
สถาบันกับ
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ “บิ๊กจ๊อด” ด้วย
ความสัมพันธ์กันในทางลึกของสวนกุหลาบฯ นี้
มีผลความผูกพันกันมากยิ่งขึ้นในหลายๆ ด้านกับ

พล.อ.เปรม และพล.อ.สุนทร ซึ่งเป็นศิษย์เก่า จปร.รุ่นพี่อีกสถาบันหนึ่ง
จากการเป็นทหารพลร่ม/รบพิเศษ มาตั้งแต่เป็นร้อยตรี
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีความผูกพันมากกับหน่วย

และลักษณะทหารที่แตกต่างจากทหารบกอื่นๆ
มีหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อพล.อ.สุรยุทธ์
เป็น พ.อ.(พิเศษ) ผู้บังคับกา
รกรมรบพิเศษที่ 1
ที่เรียกกันว่า “พลร่มป่าหวาย” จะได้เป็น “พลตรี”
ขึ้นเป็นนายทหารคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระ
ทรวงกลาโหม คือ
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย
โดยอัตรา พล.ต.นี้เป็นการได้นายพลนอกเส้นทางปกติ,
การจะได้เป็นนายพล แต่อยู่นอกหน่วยพลร่ม/รบพิเศษนี้ มีความกังวลต่อ

พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นอย่างยิ่ง เพราะเกรงว่า
ถ้าหากออกนอกเส้นทางไปอย่างนั้นแล้วอาจจะไปมีตำแหน่งต่อไปในหน่วยอื่น
ไม่ได้กลับมาสวมหมวกเบเรต์แดงอีกและครั้งนั้น พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
ซึ่งเป็น พล.ท.ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.)
ต้องให้ความมั่นใจว่า “แอ่ดไปอยู่กับป๋าก่อนสักพัก
แล้วพี่จะขอตัวจากป๋ากลับมาอยู่กับพวกเราอีก
ขอรับรองว่าต้องได้กลับ...”
จึงเป็น พล.ต.สุรยุทธ์ จุลานนท์

นายทหารคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อจาก
พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ (ขณะนั้นยศ พล.ต.)
ที่ไปได้ตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี
ต่อมา,
จึงได้ย้ายกลับมาเป็นผู้บัญชากองพลรบพิเศษที่ 1
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ บังคับบัญชากรมรบพิเศษที่ 1
กรมรบพิเศษที่ 2 และกรมรบพิเศษที่ 3 ที่อยู่ลพบุรีทั้งหมด

เป็นไปตามที่ “บิ๊กจ๊อด” บอกไว้ว่า
“ขอรับรองว่า ต้องได้กลับ...”
จากนั้นเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงค
รามพิเศษ
และเป็น พล.ท.ในตำแหน่ง
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษในเวลาต่อมา
จากการเป็นพลร่ม/รบพิเศษนี้,
พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นผู้ที่ผ่านหลักสูตรของกระบวน
ยุทธ์
ทั้งหลายเหล่ของทหารพลร่ม/รบพิเศษมา
ทั้งหมด รวมทั้งหลักสูตรการกระโดดร่มแทรกซึมเบื้องสูงทางยุทธวิธีแบบ “ฮาโล”
ในระยะความสูง 18,000 ฟุต และสูงไปกว่านั้นคือ 3 หมื่นฟุต
ซึ่งระยะความสูงขั้นสูงสุดนี้ ต้องใช้หน้ากากอ
อกซิเจนในการช่วยหายใจด้วย
หลักสูตร “พรานเวหา” นี้ถือเป็นสุดยอดแล้วของทหารพลร่ม/รบพิเศษ
ซึ่งพล.อ.สุรยุทธ์ปฏิบัติได้ตลอดเวลาที่อยู่ในหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
และเมื่อมาเป็นผู้บัญชาการทหารบกแล้ว
ก็ยังกระโดดร่มแบบนี้ได้อยู่จากการเคยเป็นผู้นำหมู่กระโดดร่มลงท้องสนามหล
วง
ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ หรือ 72 พรรษาด้วย2…… สองพี่น้องบ้านป่าหวาย
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สุภาพบุรุษนักรบจาก “พลร่ม-ป่าหวาย”
ผู้มีลักษณะสมคำขวัญ “วินัย ใจเย็น สู้ตาย”
และเป็นพลังเงียบ-เฉียบขาดที่แท้จริง
เป็นผู้นำในการ “เป็นเช่นนั้น”
คือต้องเป็นทหารในลักษณะนั้นให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา และน้องๆ
เช่น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง

ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.)
ได้ก้าวเดินตาม กองพันพลร่ม (พัน.พร.)
ตั้งอยู่ที่บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี
และชื่อบ้านป่าหวาย เป็นที่มาของคำว่า “พลร่ม
ป่าหวาย”
หรือ “พวกป่าหวาย”-“ทหารป่าหวาย”
แม้ว่าเวลานี้มีทหารพลร่ม/รบพิเศษอยู่ทั่วประเทศ
เมื่อคนเห็นทหารใส่เบเรต์สีแดง
ก็จะบอกว่าเป็น “ป่าหวาย” ทั้งหมด

ยกเว้นชาวจังหวัดลพบุรี ที่รู้ว่าทหารหน่วยนี้
ยังมีอยู่ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ค่ายเอราวัณ
ค่ายสฤษดิ์เสนา
ที่อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
และที่อำเภอแ
ม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ป่าหวายนั้น เป็นที่ตั้งของกรมรบพิเศษที่ 1
มีนามค่ายพระราชทานว่า “ค่ายวชิราลงกรณ์”และ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษของทหารหน่วยนี้
ที่อยู่ในค่ายตามพระนามของพระองค์ด้วยจากกองพันพลร่ม กองพันเดียว ทหารเบเรต์แดง
ให้ปฏิบัติภารกิจทั้งเปิดเผยและลับทั้งภายนอก ภายในประเทศ

ทอดร่างพลีชีวิตกันมามากกว่าจะเป็นศูนย์สงครามพิเศษ
แล้วเป็นหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
ทหารพลร่มมีคำว่า “ออกประตูเดียวกัน”
คือ การกระโดดร่มออกมาจากประตูเครื่องบินด้วยกัน มีความเป็นพี่น้องกัน
ใครเก่งคนนั้นก็ได้รับการยอมรับ ดังเช่น พ.อ.(พิเศษ) วิสุทธิ์ กาญจนสิทธิ์
ได้เป็นผู้บังคับการ “ป่าหวาย” ทั้งๆ ที่ไม่ได้จบจากโรงเรียนนายร้อย จปร.
แต่ก็เป็นผู้บังคับบัญชาได้ เพราะว่าเป็นคนเก่
ง รบเก่ง
สำหรับผู้ที่เก่งระดับสั่งสอนผู้อื่นอยู่ในระดับ “ครู” ก็ถูกเรียกว่า “ครู”
แม้ว่าจะไม่ใช่นายทหารสัญญาบัตร หรือเป็นน
ายทหารยศน้อยๆ
ผู้ที่มียศสูงกว่า ก็อาจทำความเคารพก่อนได้
เพราะถือว่าเป็นการแสดงความเคารพต่อ “ครู”
ระหว่างครูกับศิษย์นั้น ไม่มียศและตำแหน่งมากันไว้ ชุดปฏิบัติการ พิเศษ (ชป.)

ในการรบพิเศษ ที่มีจำนวน 12 คนนั้น การเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ
จะเป็นลักษณะใดก็แล้วแต่พื้นที่ อาจจะเดินไป

หรือไปทางเรือยางหรือการกระโดดร่มลงพื้นที่
อันเป็นการเดินทางในลักษณะปกปิด แฝงตัว ซ่อนเร้น
ทั้ง 12 คนมีนายทหารยศร้อยเอกเป็นผู้บังคับชุดมีร้อยโท
หรือร้อยตรีเป็นรองผู้บังคับ
ชุด กำลังประกอบด้วยจ่า และนายสิบ แบ่งหน้าที่
เป็นพลยิง
ทั้งพลแม่นปืน และพลยิงธรรมดา
สำหรับพลแม่นปืนนั้น สามารถยิงเป้าหมายขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว ในระยะ 300 หลา

ได้โดยมีเปอร์เซ็นต์ผิดพลาดเพียง 5%
คือประมาณ 2 เซนติเมตร มีพลพยาบาล พลสื่อสาร ซึ่งยิงปืนได้

ทำการรบได้อย่างทัดเทียมและทดแทนหน้าที่กันได้ด้วย ทั้ง 12 คนนี้
จะหลอมเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อไปปฏิบัติการที่
กล่าวถึงชุดปฏิบัติการพิเศษนี้ ก็เพื่อจะให้เห็นว่า
มีความต่อเนื่องผูกพันกันมา เช่น
พล.อ.วิมล วงศ์วานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก
เคยเป็นผู้บังคับชุดปฏิบัติการพิเศษ และมีน้อง
เช่น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
เคยเป็นรองผู้บังคับชุด หรือรองหัวหน้าทีม

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เขยิบเป็นผู้บังคับชุด
เมื่อเป็นร้อยเอก ก็มีรองผู้บังคับชุดคือพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
ที่เพิ่งจบมาจากโรงเรียนนายร้อย จปร.
เพราะ ต้องเป็นเนื้อเดียวกันมาเช่นนี้ จึงไม่มีการแยกออกจากกัน
ผูกพันกันไปชั่วชีวิต เพราะภารกิจของชุดปฏิบัติการพิเศษที่ 12 คน
จะต้องเป็นร่างเดียวและหัวใจเดียวกันนั้น มีสิ่งที่ต้องตระหนักว่า
ทุกภารกิจคือความตาย คือถ้าหากฝ่ายตรงข้ามไม่ตาย

ฝ่ายเราก็ต้องตาย จะเป็นความตายของใครเท่านั้น?

คำว่า “ไปราชการ” เป็นคำที่หน่วยรบพิเศษ ทหารพลร่มสั่งสอนกันมาว่า
ภารกิจต้องปิดลับ แม้กระทั่งลูกเมีย จะไปทำงานที่ไหน อย่างไร
ใช้คำเดียวว่า “ไปราชการ” โดยถือว่า
คำว่า “ราชการ” ก็เป็นสิริมงคลแก่ตัวอยู่แล้ว
คือไปทำการถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตามหน้าที่ มีชัยชนะนำชีวิตกลับมาก็เป็นชัยชนะของราชการ
และหากตาย ก็เป็นการตายโดยหน้าที่ราชการในยามที่ตัวไปราชการแดนไกล
ไปรบในลาวหรือในเขมร ทุกคนจะต้องลาออก จากราชการทหาร
ไม่มีความผูกพันอะไรกับกองทัพ ในการศึกสงครามสู้รบที่ไม่มีการประกาศ
เพราะนี่เป็นงานลับ ตามแบบฉบับของหน่วยรบพิเศษ

เมื่อเสร็จภารกิจก็กลับหน่วยที่ลพบุรี และบางคนก็ไม่ได้เข้าหน่วยแต่ไปอยู่
วัดเสาธงทอง หรือ วัดตองปุ
“เงินเพิ่มพิเศษจากการปฏิบัติการสู้รบ” หรือ พสร.
แม้ จะเป็นเงินไม่มาก ตามขั้นเงินเดือนของตัวเองในขณะนั้น
เช่น พสร. 2 ขั้น หรือ 3 ขั้น
ขณะเป็นร้อยเอก ร้อยโท ก็น้อย

แต่สำหรับผู้ที่อยู่หน่วยรบพิเศษนั้น
แม้ยศและเงินเดือน จะไปถึงระดับใดแล้วก็ตาม เงิน พสร.คือ
สิ่งบ่งบอกของการเป็นนักรบโดยแท้ และจะภูมิใจใน พสร.นี้
มากกว่าอย่างอื่นใครที่มี พสร.น้อยจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นนักรบที่ด้อยกว่าเพื่อน
ใน สัญญาณของหน่วย ได้ปลูกฝังซึมซับให้เป็นวิญญาณหรือ
สัญชาตญาณของคนโดยที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
มิใช่จะมีแต่ผู้น้อย หรือทหารยศต่ำลงไป

ผู้มียศระดับนายพล นายพัน คงไม่เป็นเช่นนั้นกระมัง...
ในความเป็นพลร่ม/รบพิเศษนั้น สิ่งเหล่านี้คือสมบัติติดกาย
อยู่กับลมหายใจของพวกเขา ที่ฝึกหนักรับการ “ใส่”
จนเป็นความรู้สึกที่ตกผลึกไปจนวันตาย ไม่ ว่าจะเป็นหลักสูตรใด
ทั้งการส่งทางอากาศ (พลร่ม)
ที่แยกแขนงออกไปเป็นการกระโดดร่มแบบต่างๆ
รวมทั้งพลาธิการส่งทางอากาศ หลักสูตรจู่โจม “เสือคาบดาบ”
หลักสูตรรบพิเศษ สงครามนอกแบบ การต่อต้านก่อการร้าย
หลักสูตรการทำลาย และอีกมากมายนั้น
เป็นการเข้าหลักสูตรโดยไม่มียศ
ไม่มีตำแหน่งหน้าที่ ไม่มีผู้บังคับบัญชา หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
มีแต่นักเรียนซึ่งทุกคนมีฐานะเป็นนักเรียนเท่ากันหมด

และมี “ครู” ที่ต้องเคารพ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคง
ก็ เคยเป็นอย่างนี้ ได้รับการศึกษาเช่นนี้
และยังคงลักษณะของการเป็นผู้ที่ นิ่ม-นิ่ง-ลึก
และแสดงออกซึ่ง “วินัย ใจเย็น สู้ตาย”
ที่มีความหมายมากจาก “วินัย” คือความรู้สึกที่บอกกับตัวเอง
สอนตัวเอง เตือนตัวเองเป็นพิเศษ

ให้แตกต่างไปจากความรู้สึกของบุคคลทั่วไป
และเป็นความใจเย็น รอบคอบ พินิจพิเคราะห์ความใจเย็น
สร้างวิจารณญาณอย่างพิเศษ
และทำให้เป็นบุคลิกที่ลึกจนยากจะจับทางหรือประเมินได้ถูกว่า
กำลังคิดอย่างไร และกำลังจะทำอะไร ความเป็นคนใจเย็น
ทำให้เป็นคนมีเหตุมีผลมากกว่าคนใจร้อน
และเมื่อต้องเข้าสู่สถานการณ์อันอยู่ในระดับที่ว่า-ไม่เราก็เขาต้องตาย...
ก็เป็นคนกล้าหาญ กล้าเผชิญ กล้าแลก

คือแลกกันถึงสิ่งที่มีค่าที่สุด คือ
แลกกันด้วยความตาย! นี่ เป็นลักษณะโดยทั่วไป

และลักษณะเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ทั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
และ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน มีอยู่
ซึ่งแต่แรกนั้น มีแต่ พล.อ.สนธิ หัวหน้าคณะ คปค.
แต่เวลานี้มีผู้ซึ่งนำคุณลักษณะอย่างเดียวกัน
มาจากเบ้าหลอมเดียวกัน มาจาก “ป่าหวาย”
เหมือนกันเพิ่มขึ้นมาอีกคนหนึ่งคือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
เพื่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ระบอบอื่นๆ เป็นฝ่ายตรงข้าม รวมทั้ง “ระบอบทักษิณ”

3........ เข้าเขมร-กับรัฐบาลเขมร 3 ฝ่าย

ใน ช่วง “เขมรแตก”หลังจากที่เวียดนามถอนกำลัง 7 กองพล
ออกไปจากเขมร เหลืออีก 3 กองพลไว้เป็น
กองกำลังของรัฐบาลหุ่นเปิดระบอบ “เฮง-สัมริน” นั้น
เขมรมีรัฐบาลที่กุมอำนาจอยู่ในพนมเปญและพื้นที่ส่วนใหญ่
แต่ทางด้านที่ติดกับพรมแดนไทย
ตั้งแต่ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
จนถึงคลองใหญ่ จังหวัดตราด
เป็นพื้นที่ของเขมรแดงที่แตกมาจากพนมเปญ
และมีพื้นที่ยึดครองของเขมรฝ่าย “สีหนุ”
เขมรเสรีอีก 2 ฝ่ายอยู่เป็นบางส่วน
และในที่สุด เขมร 3 ฝ่าย คือเขมรแดง เขมรสีหนุ
และเขมรเสรีก็รวมกันทางการเมืองเป็นรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย
หรือรัฐบาลเขมร 3 ฝ่ายโดยแต่ละฝ่าย
ก็มีกองทัพของตัวเองอย่างเป็นอิสระ
ทำการสู้รบกับทหารเวียดนามและเขมรฝ่ายเฮง สัมริน
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
เป็นผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1

ใช้กำลังของกองพล รพศ. 1 นี้เข้าสู่พื้นที่อย่าง “รบพิเศษ”
โดยเฉพาะการใช้กำลังจากกรมรบพิเศษที่ 1
ค่ายวชิราลงกรณ์ “พลร่มป่าหวาย”
ซึ่งขณะนั้น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
เป็นผู้บังคับการกรม เป็นกำลังหลัก
ตอนนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ เป็น พล.ต.
และ พล.อ.สนธิ เป็น พ.อ.(พิเศษ)
การประสานกับ รัฐบาลเขมร 3 ฝ่าย
ซึ่งรัฐบาลไทยและอาเซียนรับรองรัฐบาลนี้
เป็นหน้าที่ของทางกองบัญชาการทหารสูงสุด
และสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ที่ไปตั้งหน่วยประสานงานอยู่ที่อรัญประเทศ
กองทัพบกรับผิดชอบทางยุทธการ
โดยกองกำลังบูรพา (พื้นที่กองทัพภาคที่ 1)
กองกำลังสุรนารี (พื้นที่กองทัพภาคที่ 2)
และกองทัพเรือรับผิดชอบทางด้านจังหวัดจันทบุรีและตราด
โดยกองกำลังจันทบุรี ตราด
กองทัพบกมอบหมายให้หน่วยบัญชาสงคราม พิเศษ (นสศ.)
ดำเนินกลยุทธ์สงครามนอกระบบ
โดยกองพลรบพิเศษที่ 1 “เข้าพื้นที่ส่วนนอก”
โดยมีกองกำลังในพื้นที่กองทัพภาครับผิดชอบส่วน
ของพรมแดนและบริเวณภายใน

และแน่นอนว่าผู้ที่ต้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่ส่วนนอก (ประเทศ) นั้น
ต้องมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
ที่เป็นผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 “ป่าหวาย” อยู่ด้วย
ซึ่งนอกจากจะปฏิบัติในลักษณะปิดลับแล้ว
ยังลึกลงไปถึงการประสานกับเขมรมุสลิมด้วย
เพราะเป็นมุสลิมด้วยกัน
เป็นการสร้างความอ่อนแอให้กับกองกำลังเฮง สัมริน
ที่มีทหารเป็นเขมรมุสลิมจำนวนมากที่ตีตัวออกห่าง
และยังเป็นผู้ประสานอย่างใกล้ชิดกับทางเขมรสีหนุ
ที่มี เจ้านโรดม รณฤทธิ์
เป็นผู้นำกองทัพ เพราะพระชายาของ เจ้านโรดม รณฤทธิ์
เป็นเขมรมุสลิมด้วย
และด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัฐบาลของเขมร 3 ฝ่าย
ได้รับการรับรองอย่างแข็งขันว่า
เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องจากมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย
อันนำไปสู่การเป็นรัฐบาลซึ่งมีที่นั่งอยู่ในองค์การสหประชาชาติ
โดยถือว่ารัฐบาล “เฮง สัมริน” ที่พนมเปญ นั้นเป็นรัฐบาลเถื่อน
เพราะเป็นรัฐบาลหุ่นที่ตั้งโดยเวียดนาม “รบ พิเศษ”

ที่ต้องออกไปยืนอยู่นอกประเทศนั้น
มีอยู่ในกองกำลังของเขมรทั้ง 3 ฝ่ายคือ
เขมรแดง เขมรสีหนุ และเขมรเสรี
โดยที่ทาง “ข่าวกรองทางทหาร” นั้น
ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำยุทธการ
ผู้ที่มีบทบาทในเรื่องของข่าวกรองในขณะนั้นคือ
พล.อ.ธีระเดช มีเพียร อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
และปัจจุบันเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
โดยพล.อ.ธีระเดช
ในขณะนั้นเป็นทหารหน่วยรบพิเศษยศ พ.อ.(พิเศษ)
เป็นหัวหน้าข่าวกรองทางทหาร
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (บกท.นสศ.)
และการส่งกำลังบำรุง (ศอ. 4) นั้น ก็มี
พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
เป็นรอง ศอ. 4 ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษอยู่
เมื่อมียศเป็น พ.อ. และคงเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง-เหตุการณ์ปฏิวัติ
เมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่เกือบจะมีการแยกขบวนเป็น 2 คณะปฏิวัตินั้น

ให้วกกลับมาเป็นขบวนเดียวกัน และแผนของ “ทักษิณ”
ที่จะปฏิวัติตัวเองก็พังพินาศและมีความพยายาม
ที่จะสร้างข้อกล่าวหาว่า “ถูกหักหลัง”
เมื่อ มีการปฏิวัติเพื่อ
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
กับการรักษาระบอบทักษิณที่มี
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำ
ก็ต้องมีการเลือกฝ่าย และใครจะเลือกเป็นฝ่ายทักษิณ?
การ เป็นนักเรียนนายร้อย จปร.มาด้วยกัน ก็เป็นรากลึกแล้ว
ยิ่งเป็นหน่วยรบพิเศษมาด้วยกัน
ออกประตูเครื่องบินในการกระโดดร่มด้วยกัน
การผ่านหลักสูตรที่แต่ละหลักสูตร
แทบจะมีเลือดซึมออกมากับหยาดเหงื่อนั้น
ก็เป็นรากลึกลงไปอีก หมวกเบเรต์แดงนั้น
พล.อ.เรืองโรจน์ ก็ยังสวมอยู่
เพราะรักหมวกใบนี้มากกว่ารักหมวกใบอื่นๆ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประเมินค่าผิดในข้อนี้,
เพราะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตคำว่า “ทหาร”
อยู่เพียงการเป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารอยู่ 2 ปี

และเมื่อเป็นตำรวจก็อยู่ในเครื่องแบบเพียง
พ.ต.ท.ตำแหน่งรองผู้กำกับการฯ
ก็รู้รักแต่เพียงใบหรืออย่างมาก
ก็คือกิ่งอ่อนที่เพิ่งแตกมาใหม่ๆ ไม่ได้รู้จัก “ต้น”
และแน่นอนว่าย่อมมองไม่เห็น “ราก” นั้น
ย้อนกลับไปสู่ความลึกและเข้มของ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในการ “เข้าเขมร” ครั้งนั้น
ถ้า หากจะว่ากันโดยกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว
รัฐบาลของเขมร 3 ฝ่าย
หรือรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยที่สมเด็จนโรดมสีหนุ เป็นผู้นำ
ซึ่งสหประชาชาติให้การรับรอง
เป็นการเข้าไปอย่างถูกต้องด้วยความต้องการ
และยินดีของรัฐบาลนั้น
เช่นเดียวกันกับการเข้าไป “ลาว” ในอดีต
ก็ด้วยความยินยอมของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ณ นครเวียงจันทน์เช่นกัน

พล.อ.สุ รยุทธ์ จุลานนท์ เข้าไปเขมรด้วย
ภารกิจแบบ “รบพิเศษ” เช่นเดียวกับ
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในขณะที่ประเทศนั้นอยู่
ในภาวะสงครามเต็มรูปแบบ
และไม่รู้ว่าอนาคตของเขมรจะเป็นอย่างไร
รัฐบาล เขมร 3 ฝ่ายต่างก็ได้รับความช่วยเหลือ
จากบรรดาประเทศที่ถือหางหรือ
เป็นลูกพี่อยู่ คือ เขมรแดงได้รับการสนับสนุนจากจีนล้วนๆ
เขมรเสรีก็ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ
จากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่
โดยกลุ่มนี้เป็นเชื้อสายมาจาก
กลุ่มของจอมพลลอน นอล ซึ่งสหรัฐฯ
หยุดให้ทำการปฏิวัติโค่นกษัตริย์สีหนุ และสถาบันเขมร
เป็นสาธารณรัฐมีจอมพลลอน นอล
เป็นประธานาธิบดี และต่อมาเขมรแดง
ก็เข้ามาขับไล่ประธานาธิบดีลอน นอล ออกไป,
ทั้ง 3 ฝ่ายเป็นศัตรูกันมาก่อน
แต่มารวมกันเป็นรัฐบาลนอกพนมเปญได้
เพราะมีศัตรูร่วมกันคือ เวียดนามและระบบเฮงสัมริน
ในนครพนมเปญ เมืองหลวง

ความช่วยเหลือที่เข้าไปสู่เขมร 3 ฝ่าย
เพื่อทำการต่อสู้กับรัฐบาลเฮง สัมริน นั้น
ต้องผ่านไทย เพราะไม่มีช่องทางอื่นใดที่จะนำเข้าไปถึง
มือทหารของทั้ง 3 ฝ่ายได้การส่งอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าไปนั้น
ทางไทยเป็นผู้ควบคุม ซึ่งก็ต้องทำอย่างเป็นความลับ
และมีความเหมาะสมกับสถานการณ์
เขมรกลุ่มที่ทางไทยจะต้องให้ความดูแลเป็นพิเศษคือ
กลุ่มสีหนุ เพราะกลางๆ อยู่คือ ทางสหรัฐอเมริกาก็ไม่ช่วยเต็มที่
เพราะเห็นว่า สมเด็จสีหนุนั้น สนิทกับทางจีนและเวียดนามเหนือ
ส่วนทางจีนก็ช่วยบ้างแต่ไม่เต็มที่เหมือนกับให้กับเขมรแดง
ซึ่งเป็นบริวารโดยตรง คือ
หยิบยื่นให้ลูกน้องก็ระดับหนึ่ง
และให้กับเพื่อนที่มีไมตรีต่อกัน ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง
พอไม่ให้ขาดไมตรีกันเท่านั้น
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้กำกับและ
เป็นผู้ประสานความช่วยเหลือต่อเขมร 3
ฝ่ายนี้
“คลัง อาวุธ” ลับๆ แห่งหนึ่งถูกตั้งอยู่ในสวนทุเรียนลึกของเขตจังหวัดจันทบุรี
มีตั้งแต่ปืนใหญ่จนถึงอาวุธประจำกายของทหาร และเคยออกเป็นข่าวใหญ่
เมื่อทางตำรวจซึ่งไม่รู้ว่าตาบอดหูหนวกอยู่ที่ไหนบุกเข้าตรวจค้น
ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นฝีมือของตำรวจทางหลวง ที่เห็นผิดสังเกตในการขนย้าย
จึงตามกลิ่นไปจนพบที่ตั้งของคลัง แต่ต่อมาเรื่องก็เงียบหายไป
มี อยู่ระยะหนึ่งที่กองกำลังของเขมร 3 ฝ่าย
ต้องเผชิญกับอำนาจการยิงของรถถัง
ที่ฝ่ายเฮง สัมริน มีอยู่เต็มมือ และจะต้องการอีกเท่าใดก็ได้
เพราะเวียดนามจัดมาให้ได้อย่างเต็มที่
อาวุธสำหรับการต่อสู้รถถังจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก
ขณะนั้น จรวดต่อสู้รถถังโดยตรงมีออกมาหลายรุ่น เช่น
สตริงเกอร์ ของสหรัฐอเมริกา
และคาร์ล สต๊าฟ ของสวีเดน, จรวดต่อสู้รถถังทั้ง 2 แบบ
ถูกส่งเข้ามาโดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา
โดยมีข้อจำกัดอย่างกว้างๆ ว่า

เป็นอาวุธสำหรับเขมรฝ่ายที่มิใช่คอมมิวนิสต์
โดยไม่เจาะจงว่าเป็นเขมรแดง
ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัว ทั้งสตริงเกอร์ และคาร์ล สต๊าฟ
มีการฝึกให้ใช้และส่งมอบให้กับเขมรอีก 2 ฝ่ายคือ เขมรเสรีและเขมรสีหนุ
โดยการตัดสินใจของกองทัพบกไทย
โดยมีการมอบให้ในจำนวนที่จำเป็นต่อสถานการณ์
ทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ยัง มีอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
ซึ่งเป็นภารกิจอันไม่ควรจะเปิดเผยอย่างชัดเจนนัก
แม้ว่าจะทำให้เห็นภาพของความเด็ดขาด เข้มแข็ง
แต่จะกลายเป็นความเข้มข้นเกินไป
จะไม่สอดคล้องกับความอ่อนตัวตามแนว
นโยบายที่ทางรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติต้องการ

4........... “วิ่งวัวต่าง” แบบไม่จำกัดน้ำหนัก
“วิ่ง วัวต่าง” ของทหารนั้น
เป็นการทดสอบวิ่งโดยเป้สนามสะพายหลัง มีสัมภาระเต็มตามพิกัด
ซึ่งมีน้ำหนักต่างกัน แต่สำหรับ “รบพิเศษ” นั้น อยู่ในเกณฑ์ 35 กิโลกรัม
ด้วยน้ำหนักเท่านี้ จะต้องก้าวขาวิ่งในระยะทางที่กำหนด
และภายในเวลาที่กำหนด หากทำไม่ได้ก็ไม่ผ่าน
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในวันนี้
ก็ไม่แตกต่างจากการเข้าสู่สนามวิ่งวัวต่าง เพราะต้องรับภาระที่หนักอึ้ง
แล้วยังมีเวลากำหนดคือในหนึ่งปี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็เช่นกัน
ที่จะต้องออกวิ่งวัวต่างในตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ที่มีน้ำหนักสะพายหลัง ระยะทางและเวลาเท่ากันกับ พล.อ.สุรยุทธ์ “น้ำหนัก”
ก็อาจจะเพิ่มขึ้นด้วยในเวลาต่อไป โดยจะลดน้ำหนักวัวต่าง ปลดวาง
หรือเลิกไม่ได้ ต้องเป็นเช่นนี้ต่อไป...
เพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข
รายงานพิเศษ 3 ตอนที่ผ่านมา ได้เปิดเผยในสิ่งที่ควรเปิดเผยได้
เพื่อให้เห็นว่า บุคคลที่ถูกหล่อหลอมมาอย่าง “มีวินัย ใจเย็น สู้ตาย” เช่นนี้

เป็นผู้ที่มาแก้ไขปัญหาทั้งหลาย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ของชาติ
โดยใช้ความนิ่ม นิ่ง และลึก
ซึ่งจะต้องแปลงยุทธศาสตร์นั้น
เป็นยุทธศาสตร์หลักปฏิบัติของยุทธวิธีอย่างไม่ต้องเครียด
เพราะเตรียมกันมามากเกินพอแล้ว “วิ่งวัว ต่าง”
พร้อมน้ำหนักสัมภาระในระยะทาง 800 เมตร ในเวลา 4 นาที 10 วินาทีนั้น
ต้องเฝ้าดูกันอย่างไม่เครียดด้วย เพราะหากคนดูเครียด
คนที่วิ่งก็จะเครียดและทำให้เหนื่อยเร็ว
ต้อง เอาใจช่วย โดยรายงานพิเศษที่ผ่านมา ทั้ง 3 วันนั้น
ก็บ่งบอกไว้หลายอย่างว่า ต้องมีความมั่นใจและเชื่อใจว่า
ก็ผ่านความเหนื่อยยากกันมาค่อนชีวิตแล้ว
อีกสักครั้งหนึ่งในยามที่เป็นยิ่งกว่าคำว่า-ชาติต้องการ

ที่จะต้องให้เข้ามาต่อสู้กับ “สงคราม” อีกครั้งหนึ่ง
โดยถือภารกิจนี้เป็นสงคราม ก็มาจาก “สงคราม” นั้น
ตามหลักที่เรียกว่า สงครามที่แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
คือ “สงครามตามแบบ” และ “สงครามนอกแบบ”
ที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า “สงครามไม่ตามแบบ”
โดย สงครามตามแบบนั้น แยกเป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ
สงครามพื้นฐานได้แก่ การตั้งรับ การร่นถอย การเข้าตี
และสงครามภายใต้สภาพพิเศษ คือ การเข้าตีข้ามลำน้ำ
การเข้าตีที่มั่นถาวร การเข้าตีสิ่งก่อสร้างถาวร
การปฏิบัติการส่งกำลังทางอากาศ การปฏิบัติการรบในพื้นที่ป่าและภูเขา
การปฏิบัติการรบในพื้นที่ลุ่มน้ำ การปฏิบัติการรบสะเทินน้ำสะเทินบก
การปฏิบัติการรบในสภาพอากาศหนาวจัดคือพื้นที่หิมะ
การปฏิบัติการรบในพื้นที่ทะเลทราย ส่วนสงครามไม่ตามแบบ
หรือสงครามนอกแบบนั้น มีสงครามการเมือง สงครามเศรษฐกิจ
สงครามศาสนา สงครามปรมาณู สงครามอวกาศ และสงครามพิเศษ
ซึ่งจะขอยกรายละเอียดของสงครามพิเศษออกมาเป็นประเด็นเดียว
เพื่อที่จะนำเข้าสู่ประตูการรายงานในวันนี้ คือ สงครามพิเศษได้แยกเป็น
1. การต่อสู้เบ็ดเสร็จ คือ ยุทธศาสตร์การต่อสู้เบ็ดเสร็จ และยุทธศาสตร์พัฒนา
2. สงครามนอกแบบได้แก่ การรบแบบกองโจร การบ่อนทำลาย การเล็ดลอดหลบหนี
3. การปฏิบัติการทางจิตวิทยา (ปจว.)
ที่แยกเป็น ปจว.ทางยุทธศาสตร์ ปจว.ทางยุทธวิธี ปจว.เพื่อเสริมความมั่นคง และ
4. การปราบปรามการก่อความไม่สงบที่มีมาตรการหลักคือ การปราบกองโจร
การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร การปรับปรุงสภาพแวดล้อม
โดยมีมาตรการเสริมคือ การข่าว การปฏิบัติการจิตวิทยา และการประชาสัมพันธ์
ทั้งหมดข้างต้น ทำให้เห็นว่าการเป็นนักรบของหน่วยรบพิเศษ
มิใช่มีแต่ความแกร่งกล้าหาญเท่านั้น
ต้องปรับตัวให้เข้ากับลักษณะและสภาพเหตุการณ์
คือมีทั้งหนักและเบา แข็งและอ่อน สงครามตามแบบนั้น
เมื่อทำการยึดพื้นที่และประชาชนได้แล้ว หน่วยที่ออกตีก็รุกไปข้างหน้า
ได้กำลังอีกส่วนหนึ่งเข้ามาดูแลพื้นที่คือ ฝ่ายกิจการพลเรือน
ที่อาจจะมองได้ว่า เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ ทำการ “ยึด” ได้แล้ว
การสถาปนาความมั่นคงต่อไป ก็ให้เป็นหน้าที่ของทางรัฐบาล
แบบที่ใช้ฝ่ายกิจการพลเรือนในยามสงคราม
แต่ถ้าหากว่ามองในแบบของสงครามไม่ตามแบบ/สงครามพิเศษที่
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
มีความสันทัดเจนจัดอยู่
ได้ทำสงครามพิเศษในระยะต่อไป
ภายใต้หลักของสงครามปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.)
คือการปรับบรรยากาศให้สนองตอบต่อการปฏิรูปการปกครองฯ
โดยจัดเป็นยุทธศาสตร์ปฏิบัติการจิตวิทยา ที่ทำให้เห็นว่า
การปฏิรูปการปกครองฯ เป็นการแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้
และใช้ยุทธวิธีปฏิบัติการทางจิตวิทยา ว่ารัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สามารถแก้ไขและเสริมสร้างความมั่นคงได้
โดยการเสริมสร้างความมั่นคงก็เป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่งในยุทธศาสตร์นั้น
นอกจากจะเข้าสู่สงครามจิตวิทยาด้วยมาตรการที่เห็นว่า
การอ่อนตัว ลดความเข้มและแข็ง สร้างบรรยากาศใหม่ของความสมานฉันท์
ซึ่งรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มีเป้าหมายหรือมีลักษณะยุทธวิธีเช่นนี้แล้ว
การปฏิบัติการอีกแบบหนึ่ง คือการปราบปรามการก่อความไม่สงบนั้น
เมื่อไม่ต้องปราบกองโจร หรือไม่ต้องปราบปรามศัตรู
ก็ใช้มาตรการพิทักษ์ประชาชน และทรัพยากรเข้ามาเป็นตัวเสริม
ก็เป็นการปราบปรามการก่อความไม่สงบได้อีกวิธีหนึ่ง คือ
“ปราบโดยไม่ต้องปราบ”
เมื่อประชาชนเกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือ เชื่อใจแล้ว
การก่อความไม่สงบย่อมไม่มี ดังนั้น มาตรการที่อ่อนตัว
ก็จะเป็นการป้องกันเพื่อที่จะไม่ต้องปราบปรามได้อีกทางหนึ่ง
โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็น
ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งโดยประชาชนเกิดศรัทธา
มีความเชื่อมั่นว่าเป็นคนดี ก็จะต้องให้เกิดความเชื่อถือ
โดยคณะรัฐมนตรีที่จะทำให้เกิดความเชื่อถือได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีที่มี
สมรรถภาพ แล้วความเชื่อถือก็จะเป็นความเชื่อมั่น
แล้วก็จะเป็นความเชื่อใจในที่สุด
พล.อ.สุ รยุทธ์ จุลานนท์
จึงเป็นนายกรัฐมนตรีที่ต้องมาทำงานแบบ “สงครามพิเศษ”
ภายใต้สถานการณ์พิเศษ ซึ่งเป็นครั้งแรกของราชอาณาจักรไทย
ที่เกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น การบริหารราชการแผ่นดินต่อไปนี้
จึงเป็นลักษณะของสงครามพิเศษ
เพื่อเสริมความมั่นคงตามหลักยุทธศาสตร์ปฏิบัติการจิตวิทยา
พร้อมกับเป็นการปราบปรามการก่อความไม่สงบได้พร้อมๆ กันไป
นี่ เป็นการบอกกล่าวให้รู้จักกับ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มากกว่าที่เคยรู้จักหรือรู้กันว่า
การยอมรับเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เพราะเป็นผู้รู้ว่า
สถานการณ์ของบ้านเมืองจะต้อง
ได้รับการแก้ไขโดยหลักสงครามพิเศษเช่นนี้
เมื่อ วันที่ 24 มกราคม 2543 ขณะที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก
และได้เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ (ผบ.เหตุการณ์)
เมื่อกำลังของกะเหรี่ยงก๊อดอาร์มี่เข้ายึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี,
พล.อ.สุรยุทธ์ได้เข้ากำกับแก้ไขเหตุการณ์ตามหลักสงครามนอกแบบ
คือการรบแบบกองโจร พร้อมกับนำหลักสงครามปฏิบัติการจิตวิทยา
และการปราบปรามการก่อความไม่สงบมาใช้อย่างเต็มรูป
ของการต่อต้านการก่อการร้าย
โดยกำลังพลที่เข้าปฏิบัติการนั้น ก็มีความเชื่อมั่น เชื่อถือ
และเชื่อใจของ ผบ.เหตุการณ์เป็นอย่างสูง
จึงเกิดความแน่วแน่ มีสมาธิ จิตใจไม่แกว่ง และพร้อมรับคำสั่ง
เมื่อพล.อ.สุรยุทธ์ นับถอยหลัง สิบ-เก้า-แปด-เจ็ด-หก-ห้า-สี่-สาม-สอง-ปฏิบัติ
เสียงปืนดังขึ้น กะเหรี่ยงก๊อดอาร์มี่ตายหมด เมื่อสิ้นเสียงปืน,
เหตุการณ์ครั้งนั้น นำมาเปรียบเทียบกับสงครามพิเศษในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ก็คงจะไม่ต่างกัน คือความเชื่อมั่น เชื่อถือ
และเชื่อใจต่อ ผบ.เหตุการณ์มีอยู่แล้วเป็นทุน
และต่อไป ผบ.เหตุการณ์จะนับถอยหลัง สิบ-เก้า-แปด-เจ็ด...
จนถึงปฏิบัติ เมื่อได้จัดคณะรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว ก็เชื่อกันว่า
กระสุนจะเข้าเป้าหมายได้ทั้งหมด
เหมือนเหตุการณ์เมื่อ 24 มกราคม 2543 นั้น





ศ. ดร. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

ไทยรัฐ
11 กันยายน 2552

ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์


ระบุ 50 ปีที่ผ่านมา พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดคนหนึ่ง ถือเป็นคนดี คนเก่ง และคนกล้า
วอนอย่าเหยียบย่ำ อย่าทำลาย เพราะกฎแห่งกรรมมีเสมอ...

ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีต รมว.มหาดไทย
เพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร ตท. 9 และ นรต. 25
ร่วมรุ่นพล.ต.อ.พัชรวาท
ได้ออกมาเรียกร้องความชอบธรรมว่า
ต้องบอกว่าตนกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.
ไม่ได้รู้จักกันในตำแหน่ง ผบ.ตร.เท่า
นั้น
แต่มีความสนิทสนมกันทั้งสองครอบครัว
ตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อ พล.ต.ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ
และ พล.ต.ต.ชวน เปี่ยมสมบูรณ์
ก็เป็นเพื่อนร่วมงานกันมานาน
จนถึงรุ่นลูก คือตนและ พล.ต.อ.พัชรวาท
ก็เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกันมานานกว่า 10 ปี
ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.3
จนกระทั่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหารรุ่นที่ 9
และ นรต.รุ่น 25 ใช้ชีวิตร่วมทุกข์ร่วมสุขมาด้วยกัน
เคยรับราชการในพื้นที่เสี่ยงภัยที่หมวด กก.ตชด. เขต 2
รับผิดชอบพื้นที่เขตชายแดนฝั่งอรัญประเทศ
เป็น ตชด.แนวหน้า เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย
เข้าปะทะกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
ซึ่งถือว่าเป็นเพื่อนที่รู้จักกันกว่าครึ่งศตวรรษ
ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา
คิดว่าเป็นคนหนึ่งที่รู้จัก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
ไม่ใช่ในตำแหน่ง ผบ.ตร. แต่ในฐานะเพื่อนที่ดีที่สุดคนหนึ่ง
ตลอดระยะเวลาที่ยาวนานและความสัมพันธ์ที่แนบแน่น
พล.ต.อ.พัชรวาท ถือเป็นคนดี คนเก่ง และคนกล้า

ร.ต.อ.ปุระชัย กล่าวว่า ข้าราชการประจำคนหนึ่งที่รับราชการมากว่า 40 ปี
แทบจะตลอดชีวิตราชการที่ พล.ต.อ.พัชรวาท ทำหน้าที่ตำรวจ
จนมาถึงเดือนสุดท้ายในชีวิตรับราชการผ่านร้อน ผ่านหนาว
ผ่านความเป็นผ่านความตาย ตนได้เห็น
พล.ต.อ.พัชรวาท ตั้งใจ ทุ่มเทเสียสละ
ทุ่มเทชีวิต ร่างกาย เพื่อประเทศชาติ
สมควรได้รับเกียรติ ได้รับการยกย่อง
แต่ถ้าใครไม่ยกย่อง ขอฝากไว้อย่าเหยียบย่ำ
อย่าทำลาย เพราะกฎแห่งกรรมมีเสมอ
ถ้าคิดว่าตนเป็นคนที่มีสัจจะ พูดจริง ทำจริง
สิ่งที่พูดออกมาเป็นคำพูดจากใจของตน พูดด้วยเกียรติ
ไม่อยากเห็นคนในประเทศทำลายคนดีๆ ต่อไปอีก
คนที่รู้จักกันมานานกว่า 50 ปี บอกไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร
คงไม่ปกติแล้ว
ร.ต.อ. ปุระชัยกล่าวว่า
ถึงแม้จะไม่ยกย่องก็ไม่ว่า แต่อย่าเหยียบย่ำ อย่าทำลาย
ประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่มีที่ไหนในโลก ไม่มีใครทำแบบนี้
มีแต่จะให้เกียรติ ยกย่อง
นึกถึงคุณูปการที่ท่านเหล่านั้นทำมาตลอดชีวิต
ในฐานะนายกสภาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
จะจัดพิธีสวนสนามเพื่ออำลาตำแหน่งให้กับ พล.ต.อ.พัชรวาท
ในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ซึ่งได้กำหนดไว้ตั้งแต่เดือน ส.ค.
ไม่ได้คาดคิดว่าจะมีเหตุการณ์แบบนี้ในเดือน ก.ย.
เป็นการจากไปด้วยดี จากไปด้วยการให้เกียรติ รร.นรต.
ยืนยันที่จะมีการจัดงานสวนสนามของ
เหล่านักเรียนนายร้อยตำรวจที่ รร.นรต.
เพื่อเป็นการอำลาตำแหน่งให้กับ พล.ต.อ.พัชรวาท
เป็นการยกย่องในเกียรติยศและศักดิ์ศรี
ของผู้ที่ได้ทำคุณงานความดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และพี่น้องประชาชน
โดยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการที่กำหนดไว้

มจ. ชาตรีเฉลิม ยุคล



Oct 25, 2008

เพื่อความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับหลักกรรม (1) ความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับหลักกรรม


คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก

หลักกรรมเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา แต่น่าประหลาด
ชาวพุทธไทยเข้าใจไม่ตรงกับที่ทรงสั่งสอน จะว่าผิดโดยสิ้นเชิงก็ไม่ใช่
แต่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ความเข้าใจไม่ค่อยถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้
ผมว่ามีอิทธิพลมาจากวรรณคดีไทยส่วนหนึ่ง
มาจากการสอนของผู้รู้
(ที่ไม่รู้จริง) อีกส่วนหนึ่งเข้าใจผิดกันอย่างไรหรือครับ ผมขอว่าเป็นข้อๆ ดังนี้
1.คนไทยส่วนมากเข้าใจว่า กรรม คือผลของความชั่วร้ายที่เราได้กระทำไว้แต่ชาติปางก่อน
2.เชื่อกันว่า กรรมเป็นกฎสำเร็จรูป ตายตัว ที่เราไม่มีโอกาสแก้ไข
หรือทำอะไรไม่ได้มีทางเดียวคือจำต้องยอมรับ
3.เชื่อว่าทำอย่างใด ต้องได้อย่างนั้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีเปลี่ยนแปลงยกมาแค่ 3 ข้อก็พอ
ขอแถลงเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
(1) เรามักเข้าใจผิดว่า "กรรม" คือผลของความชั่วร้าย ที่ทำไว้แต่ชาติก่อน
บันดาลให้เราได้มาเกิด มาเป็น อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
เรื่องร้ายๆ และเรื่องใหญ่ๆ เท่านั้น
(เช่น ถูกถอดออกจากตำแหน่ง โดนฟ้องร้องติดคุก ไฟไหม้บ้าน..)
จึงเรียกว่า กรรม
เรื่องเล็กน้อย (เช่น เดินพลาดตกท่อเทศบาลขาแพลง..) ไม่เรียกว่ากรรม
ส่วนผลของความดีที่ทำไว้แต่ชาติก่อนมาบันดาลให้เป็นไป
(เช่น อยู่ ๆ ก็มีคนมาเชิญให้เป็นนายกฯ..) ไม่เรียกว่ากรรม กลับเรียก "บุญ"
จึงมักมีคำพูดว่า "บุญทำ กรรมแต่ง" หรือ "แล้วแต่บุญแต่กรรม"
นี่คือความเข้าใจผิดของคนไทยส่วนใหญ่ผิดอย่างไร ?
ผิดตรงที่คำว่า "กรรม" มิใช่ผล แต่เป็นเหตุ มิใช่เรื่องที่ล่วงไปแล้ว
แต่เป็นเรื่องปัจจุบัน
มิใช่เรื่องเลวร้ายอย่างเดียว เรื่องดีๆ ก็เป็น "กรรม" ด้วย
และมิใช่เฉพาะเรื่องใหญ่ๆอย่างเดียว เรื่องเล็กๆ ก็เป็น "กรรม" ด้วยกรรมคือ
การกระทำทางกาย วาจา และใจ ที่มีเจตนาเป็นตัวนำ เราตั้งใจทำ พูด คิดเรื่องใด สิ่งใด
ทั้งในแง่ดีและไม่ดี เรียกว่า "กรรม" เช่น- ผมกำลังพิมพ์ต้นฉบับอยู่ ยุงตัวหนึ่งมากัดผม
ผมรำคาญจึงตบให้มันตาย เรียกว่าผมทำกรรมทางกาย เป็นกรรมที่ไม่ดีเรียกว่า
"อกุศลกรรม" หรือ "บาป"- กำลังทำงานง่วนอยู่
ก็มีคนมากดกริ่งอ้างว่ามาจากมูลนิธิการกุศลแห่งหนึ่ง มาขอบริจาค
ผมโมโหด่าไปเจ็บๆ แสบๆ ไม่ให้แม้แต่บาทเดียว
เพราะคนคนนี้เคยมาขอแล้วขออีก เคยสืบได้ว่าไม่มีมูลนิธิดังกล่าวจริง
เรียกว่าผมได้ทำกรรมทางวาจา เป็นกรรมไม่ดีเรียก "อกุศลกรรม" หรือ "บาป"
- อ่านข่าวพบคนที่เป็นศัตรูได้รับตำแหน่งใหญ่โต
ผมทนไม่ได้คิดสาปแช่งให้มันพินาศฉิบหายในเร็ววัน
อย่างนี้ผมกำลังทำกรรมทางใจ เป็นกรรมไม่ดีเรียก "อกุศลกรรม" หรือ "บาป"
ตกลงวันๆ ผมอาจทำกรรมไม่ดีหลายอย่าง หรืออาจทำกรรมดีอีกหลายอย่างก็ได้
ถ้าเป็นกรรมดี ก็เรียกว่า "กุศลกรรม" หรือ "บุญ" กรรมไม่ดี ก็เรียก "อกุศลกรรม"
หรือ "บาป"เพราะฉะนั้น "บุญ" ก็คือกรรมชนิดหนึ่ง "บาป" ก็คือกรรมชนิดหนึ่ง
ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ เป็นเหตุมิใช่ผล เป็นเรื่องปัจจุบัน
มิใช่เรื่องที่ล่วงแล้ว
(2) ความเข้าใจผิดอีกอย่างหนึ่งก็คือ มักจะเข้าใจว่า กรรมเป็นกฎตายตัว
ที่เราแก้ไขไม่ได้ทางเดียวที่ทำได้คือให้ยอมรับสภาพ "ปลงเสียเถอะ"
หรือ "เป็นกรรมของสัตว์" เช่น
เกิดมายากจนก็ยอมรับสภาพว่า เราทำกรรมไม่ดีไว้ มาชาตินี้จึงจน
แล้วก็ยอมรับสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่คิดแก้ไข พัฒนาให้มันดีขึ้น มีแต่ทอดอาลัย
หรืองอมืองอเท้าความเชื่ออย่างนี้ยังไม่ถูกต้อง พุทธศาสนาสอนว่ากรรมเก่ามีจริง
จริงอยู่เราเกิดมาจน อาจเป็นเพราะผลของกรรมเก่าที่เราทำไว้
ทำให้มีผลเกิดมายากจน
แต่มิได้หมายความว่า กรรม จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้
เราเกิดมาจนเพราะกรรมเก่าส่งผล
แต่เราก็สามารถสร้างกรรมใหม่
นั่นคือ พยายามขยันหมั่นเพียรทำงานสร้างเนื้อสร้างตัวอย่างสุดกำลังสามารถ
ในที่สุดเราก็อาจเปลี่ยนฐานะจากคนยากจน กลายเป็นผู้มีอันจะกิน
หรือร่ำรวยได้พระพุทธเจ้าสอนให้ยอมรับความจริง แต่ไม่ให้ยอมรับสภาพ
ผู้ที่เข้าใจหลักกรรมถูกต้อง เมื่อรู้ว่าความจริงเป็นเช่นนี้ๆ ย่อมจะไม่ยอมรับสภาพ
หรือ "ชะงักงัน" อยู่กับที่ หากแต่พยายามแก้ไขปรับปรุง
หรือพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เช่น เกิดมาจน ก็รู้ว่าตนเกิดมาจน อาจเพราะทำกรรมบางอย่างมา
ทำให้เราเกิดมาจนแต่ไม่งอมืองอเท้า หรือจำยอมต่อสภาพนั้น
พยายามขวนขวายทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความวิริยะ อุตสาหะ
ในที่สุดก็อาจตั้งเนื้อตั้งตัวได้อย่างนี้จึงจะเป็นความเชื่อเรื่องกรรมที่ถูกต้อง
(3) ประการสุดท้าย คนมักเข้าใจว่า ทำกรรมอย่างใด ย่อมต้องได้รับผลเช่นนั้น
ทำกรรมดีต้องได้รับผลดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำกรรมชั่วต้องได้รับผลชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์
ไม่มีเปลี่ยนแปลง นี่ก็เข้าใจไม่ถูกต้องเช่นกัน
หน้า 6

Oct 24, 2008

งีบหลับเพิ่ม เพิ่มผลิตภาพ


วรากรณ์ สามโกเศศ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มติชน
วันที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ปีที่ 29 ฉบับที่ 10372

ถ้าการงีบหลับตอนกลางวันไม่ดี นโปเลียน ลีโอนาโด ดาวินชี และคนสำคัญของโลกอีกมากมายคงจะไม่ทำกัน ปัจจุบันคนญี่ปุ่นซึ่งเคยรังเกียจการงีบหลับกลางวันมานานกำลังเปลี่ยนทัศนคติจนทำให้การงีบหลับกลางวันได้กลายเป็นแฟชั่นฮิตตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
ญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นสังคมที่ทำงานหนักและนอนกันน้อยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
การนอนหลังอาหารกลางวันดังที่เรียกกันว่า siesta นั้นสังคมญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าดูหมิ่น เพราะเป็นการบ่งบอกถึงความขี้เกียจ
คลื่นความนิยมการมีสภาพจิตและสมองที่ตื่นตัว (mental alertness)
ในญี่ปุ่นใน 2-3 ปีที่ผ่านมา (คนญี่ปุ่นดูจะนิยมสิ่งที่เรียกว่า fads ซึ่งเป็นความนิยมที่มาเป็นพักๆ มากกว่าสังคมอื่นๆ) เพื่อสร้างข้อได้เปรียบเชิงสมองได้ฉุดให้คนญี่ปุ่นหันมานิยม siesta siesta ซึ่งเป็นคำในภาษาสเปน หมายถึง การหลับช่วงสั้นๆ ในตอนบ่าย
คำนี้มาจากคำว่า Hora-Sexto ในภาษาละติน (The Sixth Hour หรือชั่วโมงที่หก ซึ่งเมื่อนับจากเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงกลางวันก็ตกประมาณ 6 ชั่วโมง)
siesta เป็นเรื่องประจำวันมานมนานของคนสเปน โปรตุเกส อเมริกาใต้
และประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นประเทศเหล่านี้ เช่น ฟิลิปปินส์
การนอนตอนบ่ายมีมานานแล้วในจีน (ไต้หวันปัจจุบันทำกันจริงจังมาก)
อินเดีย เอเชียใต้ กรีก ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ
อันเนื่องมาจากความร้อนในตอนบ่ายทำให้ทำงานไม่ได้

ในปัจจุบันนักเรียนในระดับมัธยม ข้าราชการ ลูกจ้าง
ผู้บริหารบริษัทในทุกระดับของญี่ปุ่นหันมานิยม siesta
จนเกิดสถานที่ที่เรียกว่า Nap Salon "ร้านบริการงีบ" ขึ้นหลายแห่งในเมืองใหญ่
ในโตเกียวมีร้านแห่งหนึ่งชื่อ Napia มีสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนทำงาน
รับบริการถึง 1,500 คน สมาชิกสามารถใช้บริการงีบโดยนอนบนเตียงหลังอาหารกลางวัน
เป็นเวลาสั้น ๆ ในราคา 4.50 เหรียญ
มีงานวิจัยและหนังสือเกี่ยวกับการงีบหลับสั้นๆ ออกมามากมาย
ข้อมูลที่เชื่อกันก็คือไม่ควรงีบหลับในเวลากลางวันเกินกว่า 30 นาที
มิฉะนั้นจะเข้าสู่การหลับลึก (ขั้นตอนที่เรียกว่า REM-Rapid Eye Movement)
ซึ่งเมื่อตื่นขึ้นแล้วจะรู้สึกง่วงหงาวหาวนอนมากกว่าที่จะรู้สึกสดชื่น
เพื่อให้ได้ผลร้าน Napia ให้ลูกค้าดื่มกาแฟ 1 แก้วก่อนนอน
เพราะคาเฟอีนซึ่งมีผลทำให้ตื่นตัวนอนไม่หลับจะออกฤทธิ์ในเวลา 20 นาที
กาแฟจึงทำหน้าที่เหมือนนาฬิกาปลุกไม่ให้หลับเกินกว่า 20 นาที
คนญี่ปุ่นชอบ siesta และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าทำให้สดชื่น
ในหลายบริษัทใหญ่ในเวลาหลังอาหารกลางวันส่งเสริมให้นอนซบหลับกับโต๊ะ หรี่ไฟ
และเปิดเพลงเบาๆ เพราะรู้สึกว่าทำให้คนทำงานสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้นกว่าที่เคยเป็น
ถ้าจะว่าไปแล้ว siesta เป็นผลมาจากข่าวดังในปี 2003
เมื่อมีผู้เห็นว่าพนักงานขับรถไฟด่วน (bullet train) หลับใน
ถึงแม้ว่ารถไฟด่วนจะมีเครื่องช่วยป้องกันอุบัติเหตุในยามที่ไม่มีคนบังคับ
แต่ปรากฏการณ์นี้ก่อให้เกิดประเด็นถกเถียงกันในประเทศอย่างกว้างขวาง
ถึงการนอนหลับไม่เพียงพอของคนญี่ปุ่น
เมื่อผนวกข้อเท็จจริงนี้เข้ากับความปรารถนาที่จะมีข้อได้เปรียบเชิงสมองของคนญี่ปุ่น
siesta ก็เลยเกิดเป็นแฟชั่นไปทั่วประเทศในปัจจุบัน
งานวิจัยพบว่าคนทำงานญี่ปุ่นนอนประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อคืน
ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำงานในตอนเย็นหรือค่ำ siesta ช่วยให้สมองสดชื่น
เด็กนักเรียนจำนวนมากที่ต้องตื่นนอนตั้งแต่ตีห้าครึ่งหรือ 6 โมงเช้า
เพื่อขึ้นรถไฟเดินทางมาโรงเรียนกันนาน 1-2 ชั่วโมง
มีชั่วโมงนอนที่ไม่เพียงพอ
หากให้นักเรียนได้งีบหลับหลังอาหารกลางวันก็จะช่วยให้มีความฉลาดเพิ่มขึ้น
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าในสมัยโบราณคนญี่ปุ่นงีบหลับในตอนบ่ายหลังจาก
ทำงานหนักในช่วงเช้ากันเป็นธรรมดา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 17 ภายหลังจากที่มีมิชชันนารี
(กลุ่มผู้เผยแผ่คริสต์ศาสนา) จาก Iberian Peninsula
เดินทางเอา siesta มาแพร่หลาย
(นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นไม่แน่ใจว่าซามูไรก็นิยมด้วยหรือไม่)
แต่เมื่อญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากประเทศที่ไม่นิยม siesta เช่น เยอรมนี อังกฤษ ฯลฯ
ในเวลาต่อมา การงีบหลับกลางวันจึงกลายเป็นสิ่งไม่น่าชื่นชมในสังคมญี่ปุ่นไป

siesta ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะผู้คนกระทำกันมานานเป็นธรรมชาติ
แต่เมื่อเข้าสู่ยุคทุนนิยมอุตสาหกรรม ความโลภที่เกิดขึ้นในระบบ
ทำให้ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะงีบหลับ ภายใต้ work ethics
หรือกฎกติกาของระบบการทำงานของสังคมลักษณะนี้
การงีบหลับในเวลากลางวันคือสัญลักษณ์แห่งความขี้เกียจและน่าดูถูก
นโปเลียนนั่งงีบหลับบนหลังม้าจนเป็นที่เลื่องลือ
บ้างก็ว่าเป็นการนั่งสมาธิเพื่อระงับความเจ็บปวดอันเกิดจากโรคริดสีดวง
ซึ่งเป็นโรคประจำตัว (คนเป็นโรคนี้แล้วขี่ม้าคงจินตนาการได้ว่าจะเจ็บปวดเพียงใด)
ส่วนลีโอนาโด ดาวินชี จะพักงีบหลับ 15 นาทีทุกๆ 4 ชั่วโมงที่ทำงาน
(ตอนเขียนภาพโมนาลิซ่านั้นเขาอาจเขียนอย่างหลับๆ ตื่นๆ ก็เป็นได้
จนดูไม่ชัดว่าเธอยิ้มอย่างมีเลศนัยจริงหรือไม่
ข้อคิดนี้สำหรับแฟนๆ ของนวนิยาย The Da Vinci Code)
หากการงีบหลับตอนกลางวันได้ผลจริงก็จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) หรือความสามารถในการผลิตหรือทำงานซึ่งเป็นหัวใจของความกินดีอยู่ดีของทุกสังคม
(ถ้าทรัพยากรมนุษย์แต่ละคนของสังคมมีความสามารถในการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ
ถึงแม้จะมีจำนวนจำกัดก็ไม่มีความหมาย)
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พิสูจน์ว่า siesta ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
(The Odd Body โดย Dr. Stephen Juan หน้า 249)
งานวิจัยในปี 1991 ของ Socio-Economic Research Institute
ใน Rhinebeck รัฐนิวยอร์ก วิเคราะห์ผลดีและผลเสียของการมี siesta
ของลูกจ้างในบริษัทใหญ่ งานวิจัยพยากรณ์ว่าในศตวรรษที่ 21
จะมีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่มีนโยบายสนับสนุน siesta ในเชิงวิทยาศาสตร์
มนุษย์มีวงจรของการหลับ-ตื่นในหนึ่งวันที่เรียกว่า circadian cycle
ในช่วงวงจร 24 ชั่วโมง มนุษย์จะถูกดึงเข้าสู่การหลับ 2 ครั้ง
โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในตอนกลางของตอนบ่าย
และครั้งที่สองในตอนกลางของช่วงดึกของกลางคืน
ในวงจรนี้อุณหภูมิร่างกาย และการหลั่งของฮอร์โมนต่างๆ
ในร่างกายตลอดจนระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่นๆ
มีผลกระทบต่อการตื่นตัว และวงจรของการตื่นตัวนี้ (ultradian cycle)
มีผลอย่างสำคัญต่อความสามารถในการทำงานของมนุษย์
ซึ่งทั้งหมดนี้หมายความว่าร่างกายของเราอยู่ในจุดแย่สุด
สำหรับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสองครั้งในหนึ่งวัน
ดังนั้น เครื่องมือที่จะช่วยแก้ไขก็คือ siesta
ข้อน่าสังเกตก็คือ คนทำงานที่เผชิญกับสองจุดนี้ก็คือผู้ทำงานเป็นกะ 12 ชั่วโมง
ที่เริ่มทำงานในตอนบ่ายจัด และออกงานในตอนเกือบใกล้รุ่ง
อันตรายต่างๆ จากการทำงานเกิดขึ้นบ่อย ณ จุดนี้ของเวลา ลิงกอริลลา
(ในป่าไม่ใช่ในกรง) นอนมากกว่าวันละ 12 ชั่วโมง
เชื่อกันว่าตลอด เวลา 150,000 ปี ของการยืนสองขาของมนุษย์จนเมื่อไม่กี่ปีมานี้
มนุษย์นอนเฉลี่ยคืนละ 9.5 ชั่วโมง ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นอนเฉลี่ยวันละ 7 ชั่วโมง
การงีบหลับหลังอาหารกลางวันจึงเป็นการแก้ไขการผิดธรรมชาติได้ส่วนหนึ่ง
งานวิจัยพบว่ายิ่งนอนน้อยจะยิ่งกินมาก โดยไม่ได้ระบุว่าการกินนี้รวมไปถึง
กินบ้านกินเมืองด้วยหรือไม่ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการช่วยรักษาให้เหลืออะไรไว้บ้างสำหรับลูกหลาน เราควรเร่งส่งเสริมการนอนกันมากๆ ในหมู่นักการเมืองที่เลว
ส่วนข้าราชการและมือปืนชั่วๆ ที่ร่วมมือด้วยอย่างแข็งขันนั้นคงไม่จำเป็น
เพราะต่อนี้ไปมีโอกาสได้นอนอีกเหลือเฟือในคุก

Oct 23, 2008

หนังสือ The Last Lecture



วรากรณ์ สามโกเศศ
(http://varakorn.com)

มติชน

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ปีที่ 31 ฉบับที่ 11184


เมื่อกลางเดือนกันยายน ปี 2007
Dr. Randy Pausch
ศาสตราจารย์
ด้านคอมพิวเตอร์คนหนึ่งของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon
ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นยอดเยี่ยมของสหรัฐอเมริกา
ในด้านเทคโนโลยีได้รับเชิญให้ตอบคำถามสมมุติว่า

"ถ้าคุณรู้ว่ากำลังจะตาย คุณมีข้อคิดอุดมปัญญา (wisdom)

ใดที่อยากมอบไว้ให้แก่โลก"
คำถามนี้ตั้งให้เหล่านักวิชาการชั้นนำของโลก
ที่ได้รับเชิญขบคิดและนำมาบรรยาย
ในชุดการบรรยายที่เรียกว่า "Last Lecture"

ของมหาวิทยาลัย Camegie Mellon
ในวันนั้นมีนักศึกษาและผู้สนใจเข้าฟังกันแน่นขนัดเป็นพิเศษกว่า 500 คน
เนื่องจาก Randy Pausch ผู้บรรยายมิได้ตอบคำถามสมมุติ
หากกำลังตอบคำถามจริงเพราะเขากำลังจะตาย
เพราะป่วยเป็นมะเร็งในตับอ่อนที่ร้ายแรง
เขาบรรยายได้อย่างประทับใจคนฟังมากในหัวข้อ
"Really Achieving your Childhood Dreams"

ซึ่งต่อมาปรากฏในอินเตอร์เน็ตให้คน
ทั้งโลกได้ชม ภายในเดือนแรกมีคนเข้าชมกว่า 1 ล้านครั้ง

และในปัจจุบันมีผู้เข้าชมกว่า 6 ล้านครั้ง Randy Pausch
เป็นที่ชื่นชมเพราะเขาไม่ได้รอความตาย
หากทำให้ความเจ็บป่วยของเขามีความหมายต่อคนอื่น
เขารณรงค์หาทุนเพื่อวิจัยมะเร็งในตับอ่อน
ให้กำลังใจเพื่อนผู้ป่วยโรคมะเร็งให้สู้ชีวิต
ให้การแก่กรรมาธิการของวุฒิสภาเพื่อสนับสนุนการให้เงินทุน
สำหรับโรคมะเร็งตับอ่อน ฯลฯ รวมถึงตอบคำถามชีวิต
ในนิตยสาร Time ออกโทรทัศน์รายการดังๆ ทั้งหลาย

คนรู้จักเขามากที่สุดจากการบรรยาย Last Lecture
หลังการบรรยายเขาเขียนหนังสือร่วมกับ
Jeffrey Zaslow ชื่อ The Last Lecture
โดยเป็นเรื่องราวของชีวิตของเขาตลอดจน
เนื้อหาจากการบรรยายครั้งนั้น
และหลายสิ่งที่เขาอยากฝากให้บรรดาพ่อแม่
คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนลูกศิษย์อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
และคนทั่วโลกได้รับทราบสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ในชีวิต 47 ปี ของเขา

หนังสือ The Last Lecture ขายดีมาก วางตลาดได้ 13 วัน 400,000 เล่ม
ก็ขาดตลาดจนต้องพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้ง
เป็นเบสเซลเลอร์ของนิวยอร์กอยู่นับสิบอาทิตย์ เป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วโลก
แปลเป็นภาษาต่างประเทศแล้วกว่า 17 ภาษา
เชื่อว่าจะขายได้นับล้านๆ เล่ม

แน่นอนสำหรับบ้านเราได้มีการแปลหนังสือเล่มนี้ออกมาวางตลาดแล้ว
ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่เพิ่งเลิกไป
ผู้แปลคือวนิษา เรซ หรือหนูดี
(หนังสือของเธอที่สอนเด็กให้เรียนหนังสือเป็นชื่อ "อัจฉริยะ.....เรียนสนุก"
ได้รับความนิยมอย่างมากจนมีเล่ม 2 และเล่ม 3 กำลังจะตามมา)

ในชื่อ "เดอะลาสต์เล็กเชอร์" และขายดีมากจนได้ลำดับต้นๆ
ของยอดขายหนังสือใหม่ซึ่งออกในงานนี้เสน่ห์ของ Randy Pausch
อยู่ตรงที่เขาไม่มีความขมขื่นกับชะตาชีวิต
แต่หากเต็มไปด้วยความตื้นตันใจกับความช่วยเหลือที่ทุกคนให้แก่เขา
หลายคนที่อ่านต้องหัวเราะทั้งน้ำตาด้วยอารมณ์ขัน
และความโหดร้ายของชะตากรรม
และด้วยความทึ่งในข้อคิดในเรื่องชีวิตและการใช้ชีวิตเช่น

"คนอย่างผมถ้าไม่ใกล้ตายเขาก็คงไม่เชิญมาพูด Last Lecture แน่นอน"

"ตอนนี้มีก้อนเนื้องอกอยู่บนตับผม 10 จุด
เมื่อเกือบ 2 ปีก่อนหมอเคยบอกว่าอยู่ได้อีกประมาณ 3-6 เดือน
คราวนี้คุณก็ลองใช้คณิตศาสตร์ง่ายๆ ตัดสินแล้วกันว่าผมพอสู้มันได้ไหม"
"คุณไม่มีทางรู้ว่าวันใดคุณจะรู้ว่ามีเวลาเหลืออยู่น้อยกว่าที่คุณคิด"

เขาบอกว่าเขาเกิดมาพร้อมกับลอตเตอรี่ใบที่ถูกรางวัล
พ่อแม่ของเขาเลี้ยงดูเขาอย่างสนับสนุน
การสร้างจินตนาการของลูกท่ามกลางความรัก
(อนุญาตให้ลูกเขียนภาพบนฝาผนังห้องนอนได้ตามจินตนาการ)

เล่าเรื่องราวอย่างสนุกให้ลูกฟัง
พร้อมกับมีพจนานุกรมไว้อ้างอิงเสมอข้างโต๊ะกินข้าวเพื่อยั่วยุให้ลูกค้นคว้า
และสอนเรื่องคุณค่าให้แก่ลูกๆ ในเรื่องความมัธยัสถ์ การให้
เช่น ค้ำประกันการสร้างหอพักในชนบทของประเทศไทย
ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้เด็กหญิงไม่ต้องลาออกจากโรงเรียน
และกลายเป็นหญิงบริการRandy Pausch
เตรียมตัวตายอย่างละเอียดรอบคอบเพราะภรรยาเขาในวัย 41 ปี
ต้องเลี้ยงลูกต่อไปถึง 3 คน คือในวัย 6 ขอบ 3 ขวบ และ 22 เดือน

เขาเล่าว่าต้องแอบซ่อนน้ำตาเมื่อนึกถึงว่าจะไม่มีโอกาสได้เห็นลูกเขาเติบโตเป็นวัยรุ่น
เขาพูดคุยกับคนที่พ่อแม่เสียไปตั้งแต่ยังเล็กๆ
และพบว่าสิ่งสำคัญสำหรับคนเหล่านี้ก็คือการที่เขารู้ว่าพ่อแม่รักเขามาก
และเขาเป็นคนสำคัญและพิเศษของพ่อแม่อย่างแท้จริง
ดังนั้น เขาจึงเขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อให้ลูกอ่านเมื่อโตขึ้น

ร่วมสร้างประสบการณ์แปลกๆ กับลูกเพื่อให้มีความทรงจำ
(ว่ายน้ำร่วมกับลูกและปลาโลมา) มีรูปถ่ายและวิดีโอมากมาย
รวมทั้งจัดทำวิดีโอพิเศษขึ้นเพื่อให้ลูกแต่ละคนได้รู้ว่าเขารักพวกเขามากเพียงใด
หนังสือเล่มนี้ให้วิธีการเลี้ยงลูกที่น่าสนใจ
ตลอดจนวิธีการสอนของเขาในการดำรงชีวิต แก้ไขปัญหา สร้างทีมเวิร์ก
สร้างสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม ฯลฯ หรือแม้แต่การกล่าวคำขอโทษสิ่งสำคัญที่
Pausch ทำให้ผู้อ่านต้องคิดก็คือการตระหนักถึงความตายอยู่เสมอ
การใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและอย่างตระหนักถึงเวลาที่ทุกคนมีอยู่อย่างจำกัดบนโลกใบนี้

เขาบอกว่าในแง่มุมหนึ่งเขาโชคดีที่ยังรู้ว่าจะมีเวลาเหลือเท่าใดอยู่ในโลกนี้
จนมีโอกาสเตรียมการสำหรับครอบครัวซึ่งดีกว่าการตายด้วยอุบัติเหตุเสียชีวิตไปทันที
ดังนั้น ข้อคิดเช่นนี้จึงนำไปสู่ข้อสรุปว่าทุกคนต้องเตรียมตัวตายเสมอ
เพราะอุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นได้เสมอกับทุกคนPausch
บอกว่า
Life is to be lived

(ใช้ชีวิตให้มีชีวิต) ไม่ว่าชีวิตจะยาวหรือสั้นก็ตามที
คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณมากนักเขาได้ตาย
จากไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านไป
โดยทิ้งผลงานทางวิชาการด้าน virtual reality และทิ้ง
"ข้อคิดอันอุดมด้วยปัญญา" ไว้ให้พวกเราขบคิด
ถ้าท่านจะอ่านหนังสือที่มีคุณค่าสักเล่มเดียวในปีนี้
ผมขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ที่แปลได้อย่างงดงามครับ

หน้า 6



หนังสือเรื่อง The Last Lecture
โดย Randy Pausch อาจารย์วิชาคอมพิวเตอร์
ประจำมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน
เป็นอัตชีวประวัติอันยอดเยี่ยมเล่มหนึ่งที่ทุกคนควรเสาะหามาตั้งไว้ใกล้มือ
หรือซื้อแจกเพื่อนๆ ที่กำลังท้อแท้หมดหวังในชีวิตหนังสือเล่มนี้ซึ่ง Pausch
เขียนร่วมกับผู้สื่อข่าว Wall Street Journal ชื่อ Jeffrey Zaslow
เป็นการถอดเทปและขยายความเล็กเชอร์ยาว 76 นาที
ในหัวข้อ “Really Achieving Your Childhood Dreams”
(ทำความฝันวัยเด็กของคุณให้เป็นจริงๆ) ที่
Pausch ไปบรรยายที่คาร์เนกี เมลลอน วันที่ 18 กันยายน 2007
(ดูวิดีโอเล็กเชอร์และติดตามข่าวคราวล่าสุดของ Pausch
ได้จากเว็บไซต์ของเขา-http://download.srv.cs.cmu.edu/pausch)
Pausch ในวัยเพียง 47 ปี ป่วยเป็นมะเร็งตับอ่อนขั้นสุดท้าย
เขาเล็กเชอร์เพื่อลูกๆ 3 คนที่จะเติบโตขึ้นโดยไม่มีพ่อ
แต่เนื้อหาในเล็กเชอร์รวมทั้งทัศนคติเชิงบวกของ Pausch
ที่ไม่เคยสมเพชตัวเอง หากมองโรคร้ายอย่างเปี่ยมอารมณ์ขัน
และถึงพร้อมด้วยมรณานุสติ
(ก่อนจะเล็กเชอร์ Pausch วิดพื้นหลายครั้งบนเวที
เพื่อโชว์คนดูว่าเขา “รู้สึกดี” ขนาดไหน)
ได้สร้างแรงบันดาลใจให้คนนับล้านที่คลิกเข้าไปดูวิดีโอในยูทูบ
ได้รับความนิยมจนเอามาต่อยอดทำหนังสือ
เนื้อหาส่วนใหญ่ในเล็กเชอร์ของ Pausch
และหนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องเกี่ยวกับความฝันในวัยเด็กของเขา
และวิธีที่เขาพยายามบรรลุความฝันเหล่านั้นตอนโต
บางคนอาจจะมองว่า
Pausch โชคดีมากๆ ที่ความฝันของเขาหลายข้อกลายเป็นความจริง
ตั้งแต่ประสบการณ์ลอยตัวในภาวะไร้น้ำหนัก
ในเครื่องฝึกสอนนักบินอวกาศของนาซ่า
การได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม “Imagineer” ของดิสนีย์
และการได้เขียนบทความลง World Book Encyclopedia
Pausch เขียนเรื่อง Virtual Reality ในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกสาขานี้)
แต่ The Last Lecture แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
โชคไม่ได้ช่วยให้ Pausch บรรลุความฝันวัยเด็กของเขา
เท่ากับความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ ความรักในความรู้ ความจริงใจ
และการยึดมั่นในคุณธรรมเรียบง่ายที่หลายคนลืมไปนานแล้ว
โดยเฉพาะความซื่อสัตย์และความโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนมนุษย์
ถึงแม้ว่าเนื้อหาในเล็กเชอร์และหนังสือเล่มนี้จะไม่มีอะไร “ใหม่”
ทัศนคติเชิงบวกอันน่าทึ่งของ Pausch
และความจริงใจของเขาในการถ่ายทอดแง่คิดและประสบการณ์
ทำให้ The Last Lecture เป็นมากกว่าอัตชีวประวัติธรรมดา
ตอนหนึ่งในเล็กเชอร์ และหนังสือที่ผู้เขียนชอบมาก
คือ ตอนที่ Pausch บอกว่า
ให้มองกำแพงที่กั้นขวางระหว่างเรากับความฝันว่าเป็น “โอกาส”
ที่จะแสดงให้ทุกคนเห็นว่าเราต้องการทำความฝันให้เป็นจริงเพียงใด
เขาบอกว่า “เหตุผลที่มีกำแพงก็เพื่อจะแยกแยะคุณออกจากคนอื่นๆ
ที่ไม่ได้อยากบรรลุความฝันนั้นเท่ากับคุณ”
Pausch บอกด้วยความถ่อมตัวด้วยว่า
หลังจากที่เขาทำความฝันให้เป็นความจริงได้แล้ว
เขาก็อยากจะช่วยทำให้ความฝันของคนอื่นๆ เป็นจริงได้ด้วย
ผู้เขียนคิดว่านั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาเลือกเป็นอาจารย์
และแน่นอนว่าเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาเป็นหนึ่งในอาจารย์
ที่นักเรียนรักที่สุดในมหาวิทยาลัยนอกจากจะให้แง่คิดดีๆ
เกี่ยวกับการมองโลก การบริหารจัดการเวลา
และการล่าฝันแล้ว The Last Lecture
ยังเป็นหนังสือที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรอ่านอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะพ่อแม่ที่จดจำความคาดหวังที่ตัวเอง
ตั้งไว้กับลูกได้แม่นยำกว่าความฝันของลูกเอง
ตอนหนึ่งในหนังสือ Pausch
บอกว่าต้องขอบคุณพ่อแม่ของเขา
ที่ยอมให้ระบายสีผนังในห้องนอนของตัวเอง
(เขาวาดจรวด ลิฟต์ สมการคณิตศาสตร์
และกล่องแพนโดรา ฉายแววเนิร์สตั้งแต่เด็ก)
Pausch บอกคนดูอย่างกระตือรือร้นว่า
“ใครก็ตามที่นี่ที่เป็นพ่อแม่นะครับ
ถ้าลูกของคุณอยากระบายผนังห้องนอน ให้เขาทำเถอะครับ
ถือว่าทำให้ผม มันไม่เป็นไรหรอก
อย่าห่วงเรื่องราคาบ้านตอนเอาไปขายเลย”
The Last Lecture มีข้อความที่กินใจหลายตอน
แต่ตอนที่ประทับใจผู้เขียนที่สุด คือ
ตอนที่ Pausch บอกว่า
“ประสบการณ์คือสิ่งที่คุณได้เมื่อคุณไม่ได้สิ่งที่คุณอยากได้”
และตอนที่เขาอธิบายความหมายที่แท้จริงของ The Last Lecture
“ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การบรรลุความฝันของคุณหากอยู่ที่การใช้ชีวิต
ถ้าคุณใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง กรรมจะทำงานของมัน
และความฝันก็จะมาหาคุณเอง”
คอลัมน์ DOG EAR

โดย สฤณี อาชวานันทกุล www.fringer.org