Custom Search

Jul 28, 2007

ศ. เจริญ วรรธนะสิน แนะอ่านสามก๊ก


สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า

คำถามก็คือว่าคนที่อ่านสามก๊ก เกิดความสงสัยว่าจะเอาไหนฉบับไหนมาใช้ดี
มีคนบอกว่าอ่านสามก๊ก 3 จบ คบไม่ได้ ตนอ่าน 7 จบ รับรองว่าคบได้แน่นอน
ถามว่าถ้าอย่างนั้นจะอ่านของใครดี แนะนำว่าให้อ่าน
สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลังหน

แต่ฉบับวณิพกที่ยาขอบเขียนก็มีเสน่ห์มาก
สามก๊กที่ มรว.คึกฤทธิ์ เขียนก็ทำให้ตนรู้สึกทึ่งเหมือนกัน
นอกจากนี้ ยังมีของท่านอื่นอีก ที่น่าสนใจก็คือ
คนเดียวกันอ่านแล้วยังให้ข้อคิดไม่เหมือนกันในแต่ละครั้ง
ส่วนคนที่อ่านพร้อมกับคนอื่นความคิดก็ยังไม่เหมือนกัน
นี่คือเสน่ห์ของสามก๊ก


สามก๊กพูดถึงเสน่ห์ของผู้นำ การทำศึกสงครามเมื่อ 1,800 ปีก่อน
ได้อย่างละเอียดและแยบยล ทำให้คนอ่านเรียนรู้ได้ถึงจุดอ่อนจุดแข็งของผู้นำ
อ่านหลายจบยิ่งดีทำให้เรานึกถึงเรื่องราวของสามก๊กมาเทียบกับคนที่เราเจอ
คิดดูซิว่าเมื่อ 1,800 ปีก่อนไม่มีโทรศัพท์ ดาวเทียม ทางเดียวในการหาข่าวคือ
ส่งคนไปสืบหาความจริงโดยใช้ม้าเร็ว
แต่ที่น่าทึ่งคือ ผู้นำแต่ละคนอ่านความคิดซึ่งกันและกัน ที่อยู่ห่างไกลกันออก
ไม่ว่าจะเป็นผู้นำก๊กไหนก็ตาม จะมีความรู้ในแต่ละก๊กเป็นอย่างดี
พวกกุนซือทั้งหลายเป็นนักอักษรศาสตร์ทั้งนั้น ความรู้ดีของขงเบ้งเป็นยอดอัจฉริยะอยู่แล้ว
ซึ่งอาวุธสำคัญการศึกษาของผู้นำแต่ละคน
ต้องมีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และ จิตวิทยาเป็นอย่างดี
ตนเชื่อว่านักธุรกิจหลายคนที่อยู่ในพื้นที่นี้ มีคุณสมบัติผู้นำเหมือนในเรื่องสามก๊กทั้งนี้
ตนจะยกตัวอย่างเอกลักษณ์หรือจุดเด่นของผู้นำแต่ละคน


เริ่มจากเล่าปี่ ที่ยาขอบให้สมญานามว่า ผู้พนมมือให้แก่ชนทุกชั้น
ควบคุมอารมณ์ได้อย่างยอดเยี่ยม แต่คำพูดของเล่าปี่ท่านสุภาพสตรีอาจไม่ชอบ
โดยได้พูดไว้ว่า พี่น้องเหมือนแขนขา ลูกเมียเหมือนเสื้อผ้า
เพราะเล่าปี่ให้ความสำคัญกับพี่น้องเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ยังอ่อนน้อมถ่อมตน สมถะ มักน้อย ความคิดลึกซึ้ง สายตากว้างไกล
ยึดถือในอุดมการณ์
เล่าปี่บอกว่าเมื่อเราตกอับต้องรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน แม้แต่ศัตตรูก็ยังเมตตา
กวนอู เล่าปี่ เตียวหุย สามพี่น้องร่วมสาบาน

ในชั่วชีวิตตนบอกได้เลยว่า ไม่มีใครทำเรื่องสามก๊กได้ดีเท่าประเทศจีนอีกแล้ว
จีนใช้งบประมาณในการสร้างกว่า 500 ล้านบาท
ซึ่งผู้ที่เคยศึกษาและเปรียบเทียบบุคลิกภาพผู้นำในสามก๊ก
จะเห็นว่าตัวละครในภาพยนตร์
มีความใกล้เคียงกับตัวละครในภาพยนตร์ที่ทำออกมาเป็นอย่างมาก
โจโฉ ผู้ยอมฆ่าคนทั้งโลก แต่ไม่ยอมให้โลกทรยศ
ถ้าเราได้ดูภาพยนตร์หรืออ่านหนังสือ จะรู้สึกซาบซึ้งมาก
โจโฉสร้างความเป็นผู้นำด้วยลำแข้งของตัวเอง เป็นคนเด็ดขาดแต่ขี้ระแวง
ซุนฮก ยอดเสนาธิการผู้ปรับเปลี่ยนชีวิตของโจโฉ
ตั๋งโต๊ะ จอมทรราชเผด็จการ
ลิโป้ นักรบยอดเยี่ยมแห่งยุค
จอมกตัญญูสามพ่อซุนเช็ก พี่ชายซุนกวน ใช้ความเป็นผู้นำสถาปนารัฐง่อก๊ก
ซุนกวน ผู้นำง่อก๊ก มีความเชื่อว่าผู้นำไม่ต้องทำเองทุกเรื่อง ขอเพียงรู้จักใช้คน
ขงเบ้ง ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ต้นตำหรับยุทธศาสตร์สามก๊ก
คนนี้แหละคืออาจารย์ของตน สามารถทำสงครามได้โดยไม่มีคนเสียชีวิตแม้แต่คนเดียว
ขงเบ้งถือเป็นผู้บัญชาการรบคนแรก ที่ใช้ธรรมชาติมาเป็นข้อได้เปรียบในการทำสงคราม
โดย ได้รับการแนะนำเรื่องนี้จากภรรยา ที่แม้หน้าตาจะไม่สวยงาม แต่ก็มีความฉลาดเฉลียวมาก ตลอดชีวิตของขงเบ้ง เป็นช่วงที่มีการช่วงชิงอำนาจกันสูงมาก ซึ่งขงเบ้งไม่ใช้บัณฑิตที่แค่รู้หนังสือ แต่เป็นปราชญ์ที่เป็นผู้พลิกแผ่นดินก็ว่าได้
ในการทำงานก็เช่นเดียวกัน ทุกวันนี้กุนซือไม่ต้องออกไปทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
แต่สมัยก่อนไม่ใช่ อาจารย์ขงเบ้งฆ่าคนโดยใช้จิตวิทยาการยั่วยุ เป็นนักการพูดที่ฉลาด รู้ชั้นเชิงในการเจรจา แต่จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องการเป็นผู้นำ
การบริหารบุคลากรของขงเบ้ง พบว่าเป็นคนที่ชอบทำอะไรด้วยตนเอง
ฉลาดจนลูกน้องตามไม่ทัน
นอกจากนี้ ขงเบ้งไม่ ได้สร้างตัวแทน และยังขาดศิลปะในการมอบหมายงาน เลือกที่รักมักที่ชัง จุดแข็งของขงเบ้งที่กลายเป็นข้อด้อยคือ เป็นผู้นำที่เข็มงวดเกินไปจะไม่มีบริวาร หรืออาจกล่าวได้ว่า น้ำใสเกินไปปลาอยู่ไม่ได้
กวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ มีความซื่อสัตย์ กล้าหาญ แต่ขาดยุทธศาสตร์จนกลายเป็นความบ้าบิ่น
อิวซิ่ว ผู้คอขาดเพราะซี่โครงไก่ รู้ใจนายได้ แต่อย่ารู้ทันนาย
ตันหลิม ผู้ทรนงในวิชาชีพ เตือนใจนักบริหารทั้งหลายว่า ทำงานอะไรแล้วต้องทำให้เต็มที่ เช่น เป็นนักการตลาด หรือเป็นนักธุรกิจ ก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดทั้งนี้

เมื่อ เสร็จจากบรรยายแล้ว ศ.เจริญ ยังเปิดโอกาสให้มีการซักถาม และได้มีผู้ตั้งคำถามว่า กรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุทธศาสตร์ที่ควรใช้จะเป็นอย่างไร ซึ่ง
ศ.เจริญ ตอบว่า ควรใช้ยุทธศาสตร์ของขงเบ้งกับม้าเจ๊ก เนื่อง จากตนมองว่า 3 จังหวัดก็ต้องการอยู่อย่างสันติเช่นเดียวกัน เพียงแต่เรื่องนี้ต้องอาศัยเวลา และต้องมีการใช้ยุทธศาสตร์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในการแก้ไขปัญหา

อ่าน สามก๊ก ฉบับคนขายชาติ เรือง วิทยาคม




  • Credit : http://www.manager.co.th/Home/samkok.asp (not active)