Custom Search

Dec 9, 2010

กิตติรัตน์ ณ ระนอง



กิตติรัตน์ ณ ระนอง Kittirat Na Ranong

ตำแหน่ง
*อธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร http://www.siu.ac.th
* Deputy Director--Academic Affairs , Sasin ,Corporate Social Responsibility
* คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน

การศึกษา
-ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ (ปริมาณวิเคราะห์) จุฬาฯ (ปี 2519-2523
)
-ปริญญาโทบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ (ปี 2526-2528)

การทำงาน
-ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์และฝ่ายต่างประเทศ
บริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง จำกัด (มหาชน) (ปี 2530-2535)

-กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด (ปี 2535-2537)
-กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์เอกเอเซีย (ปี 2538-2540)
-กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เอกธำรง จำกัด (มหาชน)
-กรรมการบริษัท คาเธ่ย์ แอสเซทแมเนจเม้นท์ (ปี 2541-2544)
-กรรมการบริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด และกรรมการบริหาร บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ปี 2541-2544
-ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 9 กันยายน 2544 แทน นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ
ที่ยื่นใบลาออกตั้งแต่ 1 ก.ย.ซึ่งเป็น
ช่วงสองวันก่อนเหตุวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรด 11 ก.ย.2544
ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดหนัก

ตลาดหุ้นไทยต้องหยุดการซื้อขาย 1 วันเมื่อวันที่ 12 ก.ย.
ซึ่งเป็นการปิดครั้งแรกในรอบ 27 ปี นับตั้งแต่ตั้งตลาดมา

พอเปิดตลาดราคาหุ้นก็ลงมารวดเดียวภายใน 6 วันทำการ
ดัชนีราคาตกลงมาอยู่ที่ระดับ 270 จุด, กลางเดือน พ.ค.2546

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประกาศผลประกอบการ
ไตรมาสแรกมีกำไรรวม 76,000 ล้านบาท

อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 50% จนดัชนีหุ้นทะยานขึ้นมาทะลุ
400 จุด
ในปลายเดือนมาเหนืออยู่ระดับ 550 จุด และซื้อขายกันถล่มทลาย

-24 ส.ค.2548 ที่ประชุม ตลท.มีมติต่ออายุในตำแหน่งกรรมการ-ผู้จัดการ
ตลท.อีก 2 ปี
ซึ่งจะครบวาระ 9 ก.ย.2548
ต่อวาระการดำรงตำแหน่งต่อไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2548 เป็นต้นไป


เหตุผลที่มีการต่ออายุกรรมการ-ผู้จัดการ ตลท.สมัยที่ 2 เนื่องจากมี
การพัฒนาตลาดหุ้นให้ความก้าวหน้า เช่น
มูลค่ารวมตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) เพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านล้านบาท
ในปี 2544 ท
ี่นายกิตติรัตน์ เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็น 4.7 ล้านล้านบาท
ในปี 2548 ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 6,400 ล้านบาท

ในปี 2544 เป็น 17,600 ล้านบาท ในปี 2548 นอกจากนี้
ยังได้ส่งเสริมให้มีการนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้อย่างกว้างขวาง

ทำให้บริษัทจดทะเบียนมีคุณภาพและได้รับความเชื่อถือเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันยังได้มีการพัฒนาตลาดตราสารอนุพันธ์และตลาดตราสารหนี้
ซึ่งเป็นงานสำคัญท
ี่ต้องการให้นายกิตติรัตน์
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
และนายกิตติรัตน์ยังได้มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในหลายรูปแบบ


ตำแหน่งพิเศษ
-ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ สภาฯ (ปี 2542-2543)

-กรรมการคณะกรรมการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (ปี 2543-25
44)
-กรรมการอิสระ บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (ปี 2542-ปัจจุบั
น)

กิตติรัตน์ ณ ระนอง "การจัดการเชิงกลยุทธ์ ทุกคนต้องจินตนาการว่าเป็นซีอีโอ !


"เรื่องหนึ่งที่เป็นตัวผลักดันให้องค์กรเดินหน้าไปสู่เป้าหมายโดยไม่สะดุด
นั่นก็คือการจัดการเชิงกลยุทธ์และนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ


"กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ


การจัดการ หมายถึง 2 สิ่ง คือการตัดสินใจและการปฏิบัติ

การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ลักษณะของการจัดการโดยทั่วไปคือการตัดสินใจ
หรือการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
และนำเอาผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ


การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะประกอบด้วย 6 ลักษณะ

1.การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง

องค์กรจะรุ่งเรืองได้ด้วยระบบ 2 วิธีคิด คือจากข้างบนลงล่าง
กับจากข้างล่างขึ้นข้างบน


"จาก ข้างบนลงล่างนี้ผู้บริหารระดับสูงมีนโยบายที่ดี งานขององค์กรมันก็ง่ายขึ้น
ขณะเดียวกันหลายธุรกิจก็สามารถเจริญงอกงามได้เพราะจากข้างล่างขึ้นไปข้างบน"

2.เป็นการใช้ทรัพยากรของบริษัทที่มาก

ทรัพยากรอาจหมายถึง แรงคน แรงความคิด สิ่งของ สถานที่ เงินเป็นเพียงส่วนหนึ่ง
เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำให้ดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องใช้เงิน
บางทีถ้าได้เงินมาแล้วบริหารไม่ถูกต้องก็เสียหาย


"การตัดสินใจเชิง กลยุทธ์จะมีผลกับอนาคตระยะยาว เพราะว่าเป็นการเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา
ขึ้นเขาลงห้วย เมื่อเลี้ยวถูกต้องก็จะส่งผลต่อการเจริญรุ่งเรือง
ถ้าเลี้ยวแล้วเราลงถนนก็จะขรุขระ ลำบากยากเย็น"


3.มีผลกับอนาคตและความมั่งคั่งของบริษัทในระยะยาว

4.เป็นการพิจารณาภาวะในอนาคต การคิดกลยุทธ์ต้องคิดว่าข้างหน้าเราเป็นอย่างไร

5.มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานและหลายหน้าที่งาน

6.นำปัจจัยภายนอกมาพิจารณา

แล้วอะไรคือสิ่งที่เรียกว่าเป็นการจัดการเชิง กลยุทธ์ ?

การจัดการเชิงกลยุทธ์ในระดับองค์กรนั้นแบ่งเป็น 3 ระดับ

"ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับไหนก็ตาม
ขอให้จินตนาการว่าท่านคือซีอีโอของสิ่งที่ท่านรับผิดชอบอยู่"


รวมทั้งต้องทำความเข้าใจด้วยว่าทุกคนมีนายทั้งนั้น

"แม้ ผมเป็นกรรมการผู้จัดการขององค์กร ผมก็ยังพบว่านายเยอะ
มีบอร์ดทั้งบอร์ด แถมยังมีความคาดหวังของคนข้างนอก

ถึงแม้เขาจะไม่ได้เป็นคนจ่ายเงินเดือนของเรา
แต่เขาก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของเราว่าดีหรือไม่ดีได้

เพราะฉะนั้นโดยสรุปทุกคนมีนายทั้งนั้น
ดังนั้นถ้าเราเชื่อว่าเราเป็นซีอีโอในส่วนที่เรารับผิดชอบ

ทำให้หน่วยของเราดีขึ้น ก็จะส่งผลรวมให้องค์กรดีขึ้น"

ในการตัดสิน ใจเชิงกลยุทธ์นั้นควรจะเอาผู้บริหารจำนวนที่เหมาะสมมาช่วยกันคิด
เพราะกำลังจะพานาวาเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาหรือไปทิศเหนือทิศใต้
หากตัดสินใจกันไม่กี่คน โอกาสที่จะเป็นการตัดสินใจที่รอบคอบมันจะน้อย


ยก ตัวอย่างเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา มีการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของประเทศ
ที่จะดูแลสถานการณ์เรื่องเงินเข้าเงินออก แต่ก็เกิดมีคนสงสัยว่าคิดกันกี่ค
จะรอบคอบหรือเปล่า


"แต่ทำไมธนาคารกลางสหรัฐมีการกำหนดวันประชุม ชัดเจนเป็นรายเดือน และได้รับการจับตาของทั้งโลก
และโลกให้ความเชื่อถือมาก เพราะว่าเขาจะไม่ตัดสินใจก่อนการประชุมครั้งต่อไป
ไม่ต้องมาลือกันว่าเป็นอย่างไร ต้องรอกันวันนั้น
และยังเป็นการตัดสินใจโดยผู้ทรงคุณวุฒิเต็มองค์คณะ
และไม่สงสัยว่าคนที่ตัดสินใจจะไปหวังประโยชน์อื่นใดหรือเปล่า"


เพราะ ฉะนั้นการตัดสินใจโดยการใช้จำนวนผู้บริหารที่เพียงพอหรือเหมาะสม
จะมีข้อดีคือมีข้อมูลการตัดสินใจที่มาก มีความรอบคอบในการตัดสินใจ
มีความเข้าใจที่ดีในผลของการตัดสินใจ
ความเข้าใจที่ดีคืออย่างน้อยมีคนที่อยู่ร่วมประชุมได้ฟัง
ข้อดีข้อเสียการถกแถลงต่างๆ แล้วก็ตัดสินใจร่วมกัน


อีกทั้งจะต้องมีความเข้าใจในการ แบ่งหน้าที่
เพราะเมื่อตัดสินใจแล้วก็ต้องแยกย้ายกันไปทำ
เมื่อมีการประชุมหารืออย่างครบถ้วน เมื่อแยกกันไปทำก็จะเป็นทีมที่ดี


แต่ก็มีข้อที่ต้องระวังคือภาวะถกเถียง !

การ ชี้ให้เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาแล้วบอกให้ตามฉันมา จะไม่เกิดภาวะถกเถียง
จะเกิดภาวะคุกรุ่นต่างหาก เกิดความรู้สึก เลี้ยวซ้ายไม่ถามสักคำ
เลี้ยวขวาไม่ถามสักคำ แต่บางคนก็รู้สึกอีกแบบคือไม่ต้องถามฉัน
เมื่อเลี้ยวซ้ายไม่ถามฉันก็จะได้ไม่รู้สึกปวดหัวด้วย
แต่ความจริงต้องรับกรรม เมื่อเลี้ยวซ้ายแล้วถนนมันขรุขระ


ในการประชุมกันจะพบว่า คนนี้พูดที คนโน้นพูดที
บางคนพูดตรงท้าย บางคนพูดตรงนี้ตรงนั้น ซึ่งจะทำให้มีปัญหาในการจับประเด็น

"วิธี แก้ง่ายนิดเดียวคือเอากระดานมา เสนออะไรที่เป็นสถานการณ์และข้อเท็จจริงอะไร
เขียนใส่กระดานทั้งหมด เป็นการหยิบประเด็นที่อยู่ในสมองไปวางร่วมกันบนกระดาน
เมื่อถกกันเสร็จแล้วให้ทุกคนมองไปที่กระดาน 80 เปอร์เซ็นต์จะมีคำตอบ
เพราะว่าข้อเท็จจริงที่เห็นตรงกันอยู่ตรงนั้น"

อีกอย่างถ้าหากคน ตัดสินใจไม่ใช่คนปฏิบัติ คนปฏิบัติไม่อยู่ในการตัดสินใจก็มีข้อเสีย
เพราะการตัดสินใจจะไม่รอบคอบ รัดกุม บางทีปฏิบัติลำบากหรือปฏิบัติไม่ได้

และ การไม่สื่อสารจะเป็นข้อเสีย ทำให้ไม่เกิดความเข้าใจว่าเราจะไปทิศไหน
เพราะถ้าคนข้างในมองอย่างไม่เข้าใจ มองอย่างไม่สบายใจ
มองอย่างผิดหวัง มองอย่างไม่เชื่อถือ ก็เป็นเรื่องเสียหาย

และสิ่งที่เรียกว่ากลยุทธ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มกลยุทธ์พื้นฐาน

1.เพิ่ม ประสิทธิภาพ (efficiency) การจัดการ บริหารเวลาก็เป็นสิ่งที่เพิ่มประสิทธิภาพ
การที่จะดูแลไม่ให้เกิดการรั่วไหล ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน หรือวัตถุดิบอะไรก็แล้วแต่
ถ้าเราพยายามคิดว่าทุกอย่างเป็นของเราเอง
แต่ถ้าว่าเป็นของเราเองเราจะปล่อยปละแบบนั้นไหม
ถ้าเป็นของเราเองเราจะพยายามใช้ให้คุ้มค่ากว่านี้ไหม


2.การสร้างความแตกต่าง เพื่อความโดดเด่น (differentiation)

3.การ มุ่งเน้น (focus) คือว่าเมื่อเราจะทำอะไรในองค์กรที่เราทำอยู่ร้อยแปดประการ
แต่เราจะเน้น 2 สิ่ง 3 สิ่งเท่านั้น ซึ่งก็เป็นไปตามกฎ 80/20 (law of 80/20)


"งานที่ท่านทำอยู่ทุกวันนี้ ถ้าท่านจะต้องทำถึง 10 เรื่อง ให้ท่านจับ 2 เรื่องให้ดีนะครับ
ผลลัพธ์ความสำเร็จมันอยู่ 80% ในการที่จะมุ่งเน้นในแต่ละช่วงเวลาเลือกมุ่งเน้นบางเรื่อง
เพราะเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะบอกทุกคนว่า เอาล่ะนะ เรามาปรับปรุงการทำงานของเรา
แล้วก็ทำทั้งหมด 10 เรื่อง ขอให้ความสำคัญเต็มที่ทุกเรื่อง มันเป็นเรื่องยากนะครับ
แต่ถ้าเราบอกว่า เราจะทำเต็มที่ทุกเรื่องนะ
โดยเฉพาะ 2 เรื่องนี้ และถ้าทำ 2 เรื่องนี้ได้ดีจริงๆ ความสำเร็จจะมาแล้ว"


กลุ่มกลยุทธ์เฉพาะ

โดยการกำหนดกลยุทธ์เฉพาะหนีไม่พ้น 15 ข้อ

1.เพิ่ม ความรัดกุม (concentration)
ดูสิว่าตรงนี้คำว่ารัดกุมมันไม่เหมือนกันในแต่ละหน่วยงาน

เพิ่มความรัดกุมในการจัดส่ง ไหนเราลองมาดูสิว่า
แต่ละจุดที่เราจะไปส่งหนังสือพิมพ์ในจุดต่างๆ

ถ้าเรารัดกุมมันคือเส้นทางในการเดินรถหรือในแต่ละจุด
ในการที่เราจะส่งหนังสือให้ถูกต้องในจำนวนที่ว่านี้
เรารัดกุมดีหรือยัง ?

ผมขออภัยถ้าผมยกตัวอย่างที่มันไม่ตรง แต่ว่า concentration
คือการเอาใจใส่กับจุดนั้น


2.การขยายตลาด (market development) ก็ถือเป็นการดำเนินกลยุทธ์

3.การ พัฒนาสินค้า (product development)
สินค้าที่มีอยู่เดิมนี้เราพัฒนาอะไรได้อีก

เราเปลี่ยน แปลงรูปแบบ เปลี่ยนแปลงสีสัน
หรือแม้ แต่การปรับปรุงรูปแบบบางประการก็ถือเป็นการพัฒนา


4.ค้น คิดสิ่งแปลกใหม่ (innovation) ในทุกองค์กรสามารถมีอะไรใหม่ได้
เราอาจเกิดจากการสังเกตสิ่งอื่น สิ่งอื่นที่อาจจะไม่ใช่อุตสาหกรรมเดียวกัน
แต่เอามาปรับใช้กับองค์กรของตัวเอง


5.รวมกิจการที่แข่งขันเข้ามา เพิ่มธุรกิจ เขาเรียกว่า horizontal integration
รวมกิจการที่เกื้อหนุนกันเพื่อขยายธุรกิจ เช่น
เราซื้อวัตถุดิบกับคู่ค้ารายนี้มากเสียจนคิดว่าถ้ารวมกันเป็นหนึ่งเดียวมัน
จะเกิดประโยชน์มาก


6.รวมกิจการที่เกื้อหนุนเพื่อขยายธุรกิจ (vertical integration)

7.เข้า ร่วมทุนกับผู้อื่น (joint venture) คือเราเห็นว่าเขามีธุรกิจที่ดี
ถ้านำความคิดความรู้ คอนเน็กชั่นของเราเข้าไปรวมกับเขาแล้วเขาก็จะดีขึ้น
ในเมื่อเราเป็นผู้ร่วมทุนกับเขาแล้วเราก็จะดีขึ้น


8.การทำงานร่วมกันกับพันธมิตร (strategic alliances)

9.การ ร่วมทุนเฉพาะโครงการ (consortia)
เพราะการทำงานหลายอย่าง ทำงานเองคนเดียว เหนื่อยยาก ลำบาก

โอกาสน้อยกว่าการที่เราเลือกพันธมิตรที่ถูกต้อง
การทำงานร่วมกับพันธมิตรที่ถูกต้องมันจะมีแต่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้โดย ง่าย


10.การทำธุรกิจใหม่ที่ใกล้เคียงจากที่ท่านทำอยู่ (concentric diversification)

11.การ ทำธุรกิจใหม่ที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิงเลย (conglomerate diversification)
คำว่าแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง ไม่ได้หมายความถึงสิ่งที่ทำไม่ได้
เพราะสามารถใช้ทรัพยากรของท่านที่มีอยู่เดิม
ไปทำธุรกิจใหม่ซึ่งไม่เกี่ยวกับธุรกิจที่ทำอยู่เดิม


12.การฟื้นฟู ธุรกิจให้กลับมาดียิ่งขึ้น (turnaround)
ในบางองค์กร ในบางกรณีองค์กรเขากำลังทรุดโทรมไปจากภาวะการแข่งขัน
จากการบริหารจัดการที่ต้องปรับปรุง

ในการที่จะประกาศกลยุทธ์ว่าเราจะฟื้นฟูธุรกิจให้กลับมา

13.การตัด ขายธุรกิจบางด้าน (divertiture)
คือธุรกิจบางด้านนั้นลองดูแล้วมันไม่ดี

มันไม่ประสบความสำเร็จ อาจจะต้องยอมแพ้ แต่ไม่ใช่ยอมแพ้เพราะธุรกิจมันไม่ดี
แต่ว่าธุรกิจนั้นเราเก่งไม่พอที่จะทำ ของนั้นถ้าไปอยู่ในมือของอีกคนแล้วเขาทำสำเร็จ

14.ฟื้นฟูกิจการให้ อยู่รอด (bankruptcy protection)
คำว่า bankruptcy protection

แปลว่ากิจการบางอย่างในภาวะที่ติดลบมหาศาล
แต่ก็สามารถฟื้นฟูกิจการให้อยู่รอดได้โดยใช้กระบวนการปลดปล่อย

กระบวนการของความน่าเชื่อถือ การเริ่มทำงานใหม่
การเปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆ อย่าง


15.การเลิกกิจการ (liquidation) ก็ถือเป็นกลยุทธ์

และ "กิตติรัตน์" ยังได้ฝากคำพูดหนึ่งไว้ให้ทุนมนุษย์ทุกท่านลองนำไปไตร่ตรองดู

นั่นคือ "ฉันทำ ฉันเข้าใจ" !









หลังจากรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ พร้อมนำพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ มารวมบรรจุในร่างนโยบายของรัฐบาล ทั้งเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ และการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม และจะนำนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่ประกาศหาเสียงไว้ ก็จะนำมาบรรจุในร่างนโยบาย โดยการจัดลำดับความสำคัญ และระยะเวลาดำเนินการตามความเหมาะสม ซึ่งในส่วนของนโยบายการชะลอการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันนั้น หลังการแถลงนโยบายน่าจะนำมาดำเนินการได้ทันที ส่วนนโยบายอื่นๆ น่าจะทำไปพร้อมๆ กัน และน่าจะมีผลในช่วงปีแรกของการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขึ้นค่าแรงรายวันละ 300 บาท เงินเดือนผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 15,000บาท และการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ23%



ชื่อ-นามสกุล : นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง



ชื่อเล่น : โต้ง



นามแฝง/ฉายา : บิ๊กโต้ง



วันเกิด : 3 สิงหาคม 2501



บิดา : นายเก่ง ณ ระนอง (ถึงแก่กรรม)



ชื่อคู่สมรส : เกสรา



การศึกษา และดูงาน
- มีนาคม-มิถุนายน 2527 Kellogg Graduate School of Management. Northwestern University สำหรับวิชา Finance II
- ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2526-2528 ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ (ปริมาณวิเคราะห์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2519-2523 มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา



ตำแหน่งปัจจุบัน
- 21 พฤศจิกายน 2549 กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (แทนนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช)
- 19 ธันวาคม 2549 กรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ



การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่
- 2523-2526 ผู้ช่วยหัวหน้าแผนก บริหารการขาย บริษัทในเครือพูลผล จำกัด
- 2528-2530 ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนส่งเสริมธุรกิจ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ธนาคารกสิกรไทย
- 2530-2535 ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์และฝ่ายต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์เอกเอกธำรง
- 2535-2537 กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณอินเวสเมนต์ จำกัด
- 5 กันยายน 2538 กรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- 28 มีนาคม 2538 กรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- 2538-2540 กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เอกเอเชีย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณอินเวสเมนต์ จำกัด
- กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ เอกเอเชีย จำกัด (มหาชน)
- 2540 กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ เอกธำรง จำกัด (มหาชน)
- กรรมการสมาคมบริษัทหลักทรัพย์
- กรรมการนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
- 2541-2544 กรรมการบริษัทคาเธ่ย์ แอสแซท แมเนจเม้นท์ จำกัด
- 2543 กรรมการบริหาร บริษัทยูนิเวนเจอร์
- 28 พฤศจิกายน 2543 กรรมการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร
- 1 สิงหาคม 2544 กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
- 10 กันยายน 2544 กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ลาออก 31 พ.ค.2549)
- 14 มกราคม 2546 กรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.)
- 2 พฤศจิกายน 2547 กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
- 5 เมษายน 2548 กรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.)
- 2549 กรรมการคณะกรรมการการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์
- 13 กรกฎาคม 2549 รองผู้อำนวยการฝ่่ายวิชาการสถาบันฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ 
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 21 พฤศจิกายน 2549 กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (แทนนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช)
- 19 ธันวาคม 2549 กรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
- ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติไทยชุด เอเชียนคัพ 2007
- 16 ตุลาคม 2550 กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
- 4 พฤศจิกายน 2551 กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตำแหน่งอื่นฯ
- 2546 กรรมการอำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ธันวาคม 2548 นักการเงินแห่งปี จากวารสารการเงินธนาคาร